Facebook :Travel @ Manager

“อุทยานธรณีสตูล” ตั้งอยู่ที่ภาคใต้ของไทย คลอบคลุม 4 อำเภอของจังหวัดสตูล คือ ทุ่งหว้า มะนัง ละงู และอำเภอเมือง ลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาหินปูน มีเกาะน้อยใหญ่และมีชายหาดที่สวยงาม ด้วยความโดดเด่นทางธรณีวิทยา ภูมิประเทศและธรรมชาติของอุทยานธรณีสตูล ก่อให้เกิดกิจกรรมการท่องเที่ยวทางธรรมชาติหลากหลาย
และหลังจากที่อุทยานธรณีสตูลได้ประกาศขึ้นเป็นอุทยานธรณีโลกแล้ว ทำให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางเพิ่มมากขึ้น ครั้งนี้จึงอยากจะชวนมารู้จักกับแหล่งท่องเที่ยวที่อยู่ในเขตพื้นที่ของอุทยานธรณีโลกแห่งนี้ จะที่มีความน่าสนใจขนาดไหน และมีที่ท่องเที่ยวจุดไหนบ้างมาติดตามกัน

1.สะพานข้ามกาลเวลา
ชมความมหัศจรรย์ของเขาโต๊ะหงาย ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา เขาลูกนี้มีหน้าผาริมทะเลที่สูงชัน ซึ่งมีปรากฏการณ์ธรรมชาติปรากฏอยู่ในบริเวณช่วงหนึ่งของหน้าผา กับการชนกันหรือรอยสัมผัสของหิน 2 ยุค คือหินทรายสีแดงแห่งยุคแคมเบรียน(542-488 ล้านปี) และ หินปูนสีเทาแห่งยุคออร์โดวิเชียน(488-444 ล้านปี) ที่เกิดจากรอยเลื่อนของเปลือกโลกกระทำให้หิน 2 ยุคเคลื่อนตัวมาชนกัน ปัจจุบันทางอช.หมู่เกาะเภตรา ได้ทำสะพานเดินศึกษาธรรมชาติเลียบหน้าผาดังกล่าว ให้ผู้สนใจได้เดินไปเที่ยวชมบริเวณรอยสัมผัสของหิน 2 ยุค จึงเปรียบเสมือนเรากำลังเดินก้าวข้ามกาลเวลาจาก(หิน) ยุคหนึ่งไปสู่อีกยุคหนึ่ง


2.หินหลากสี
นอกจากสะพานข้ามกาลเวลาที่มีหิน 2 ยุคให้ชมแล้ว บริเวณชายหาดเขาโต๊ะหงายยังมีหินทรายสีแดงบริเวณเขาโต๊ะหงายอีกจำนวนมาก และตรงชายหาดมีหินหลากสีโดยก้อนหินแต่ละก้อนจะมีสีสัน รูปร่างและขนาดที่แตกต่างกันไป สีแดง สีเทา สีดำ สีเหลือง และสีน้ำเงินที่มีกระจัดกระจายอยู่เต็มชายหาด ช่วงน้ำลดก็จะสามารถมองเห็นหินหลากสีนี้กระทบกับแสงอาทิตย์มีความสวยงามแปลกตา


3.ถ้ำเจ็ดคต
อีกความมหัศจรรย์หนึ่งที่มีอยู่ในอุทยานธรณีสตูล ก็คือ “ถ้ำเจ็ดคต” เป็นถ้ำที่มีลักษณะถ้ำลอด คือมีลำคลองลำโลนที่มาจากทางอำเภอมะนัง ไหลลอดภูเขาหินปูนออกมาสมทบกับคลองละงูที่ไหลมาจากทางบ้านทับทุง อ ละงู ภายในอุโมงค์ถ้ำมีหินย้อยที่ยังเป็น มีสีเหลืองเคลือบ ตรงบริเวณปากถ้ำที่ลำห้วยมาจากอ.มะนังจะไหลลอดพ้นภูเขาออกมาสมทบกับลำคลองละงูนั้น จะเป็นปากถ้ำขนาดใหญ่ที่กว้างและจะค่อยๆ แคบลง หากว่าใครมาชมในช่วงบ่ายก็จะมีแสงแดดส่องสะท้อนกับสีเขียวจองใบไม้และแสงตกกระทบน้ำ ทำให้น้ำมีสีเขียวมรกตแลดูสวยงามไปด้วย


4.ถ้ำเลสเตโกดอน
“ถ้ำเลสเตโกดอน” เป็นถ้ำอยู่ในเทือกเขาหินปูนทอดยาว มีลักษณะคล้ายอุโมงค์ใต้ภูเขา ภายในถ้ำมีลักษณะคดเคี้ยว มีระยะทางจากปากถ้ำจนถึงทางอยู่ประมาณ 4 กิโลเมตร สิ่งที่โดดเด่นของถ้ำแห่งนี้คือการพบซากดึกดำบรรพ์ของช้างและแรดสมัยไพลสโตซีน

ที่มาของการเรียกชื่อถ้ำแห่งนี้ว่า "ถ้ำเลสเตโกดอน" มาจากซากดึกดำบรรพ์ที่พบนั้นเป็นซากกระดูกขากรรไกรพร้อมฟันกรามซี่ที่ 2 และ 3 ด้านล่างขวาของช้างดึกดำบรรพ์ เชื่อกันว่าการพบเจอฟันกรามช้างสกุลสเตโกดอน ถือเป็นจุดกำเนิดเรื่องราวการศึกษาค้นคว้าทางธรณีวิทยาในจังหวัดสตูล จนเกิดการจัดตั้งอุทยานธรณีสตูลขึ้นและผลักดันจนให้เป็นอุทยานโลกในวันนี้
การท่องเที่ยวภายในถ้ำเลสเตโกดอนจะต้องพายเรือคายัคลอดถ้ำ ซึ่งจะต้องเช็คระดับน้ำของแต่ละวันด้วย สามารถสอบถามหรือติดต่อท่องเที่ยวได้ที่องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหว้าล่วงหน้า เนื่องจากอุทยานธรณีสตูลจะเน้นการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ และจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวเพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้คงอยู่สืบไป

5.ถ้ำภูผาเพชร
ในพื้นที่อุทยานธรณีโลก สตูล ยังมีอีกหนึ่งถ้ำสำคัญนั่นก็คือ“ถ้ำภูผาเพชร” ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในถ้ำมหัศจรรย์ของเมืองไทย ตั้งอยู่ที่บ้านภูผาเพชร ต.ปาล์มพัฒนา อ.มะนัง มีเนื้อที่ประมาณ 50 ไร่ แบ่งเป็นห้องต่างๆกว่า 20 ห้อง(แต่เปิดให้เที่ยวชมในบางส่วน) อาทิ ห้องปะการัง ห้องม่านเพชร ห้องพญานาค ห้องลานเพลิน เป็นต้น

เมื่อเดินขึ้นเขาแล้วมุดปากถ้ำเล็กๆเข้าไปในในถ้ำแล้ว ก็จะพบกับความยิ่งใหญ่อลังการและความวิจิตรตระการตาของหินงอกหินย้อยน้อยใหญ่อันชวนตื่นตะลึง ไม่ว่าจะเป็น หินงอกที่เป็นเสามหึมาค้ำเพดานถ้ำ หินงอกหินย้อยรูปร่างคล้ายปะการัง ตะกอนหินโบราณที่สะสมเป็นสันเส้นทางยาวมองดูคล้ายลำตัวพญานาค

6.ปราสาทหินพันยอด
“ปราสาทหินพันยอด” ตั้งอยู่บริเวณเกาะเขาใหญ่ ในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา มีชายหาดและน้ำทะเลสีเขียวมรกต ที่ซ่อนตัวอยู่ท่ามกลางหินปูนปลายยอดแหลมหน้าตาประหลาดมองดูคล้ายปราสาทที่มียอดนับพัน โดยเกิดจากการยกตัวของเปลือกโลกมากว่าหลายร้อยล้านปีทำให้หินมีรูปร่างแปลกตา การมาเที่ยวที่นี่ต้องพายเรือคายัคลอดผ่านช่องแคบเข้าไปจะพบกับความอลังการของหินทรงปราสาทแห่งนี้


7.อ่าวฟอสซิล
บริเวณเกาะเขาใหญ่แห่งนี้ เคยเป็นทะเลโบราณของยุคออรโดวิเชียน ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตมากมายย้อนอดีตไปประมาณ 470 ล้านปีก่อน เมื่อสิ่งเหล่านี้ตายลงไป โครงสร้างบางส่วนได้แข็งตัวกลายเป็นหิน หรือที่เรียกว่าซากดึกดำบรรพ์ และบริเวณอ่าวฟอสซิลนี้เอง หากใครได้มาเที่ยวและสังเกตให้ดี จะพบซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์ทะเลอย่างจำพวก “นอติลอยด์” มากมายแทรกตัวอยู่ในเนื้อหินปูน จะมีรูปแบบลักษณะไหนนั้นลองมาค้นหาดูกัน

“นอติลอยด์” เป็นสัตว์จำพวกหอย กลุ่มเดียวกับปลาหมึก ลำตัวภายในเปลือกจะมีช่องว่างที่มีผนังปิดแบ่งเป็นห้องๆ มีท่อกลางลำตัวทะลุเชื่อมห้องว่างทุกห้องในเปลือก ลักษณะเปลือกมีทั้งแบบเป็นแท่งตรงคล้ายกรวย และแบบม้วนขดเกลียวเป็นวง มีอายุอยู่ในยุคแคมเบรียนตอนปลายต่อเนื่องมาจนถึงยุคออร์โดวิเชียนตอนต้น พบมากที่จังหวัดสตูล เนื่องจากสตูลเคยเป็นทะเลเมื่อประมาณ 495 ล้านปี เพราะมีหินปูนยุคออร์โดวิเชียนโผล่ให้เห็นกระจัดกระจายทั้งบนฝั่งและบริเวณเกาะ
ทั้ง 7 แหล่งท่องเที่ยวอันโดดเด่นที่อยู่ในเขตพื้นที่ของอุทยานธรณีโลกสตูลแห่งนี้ ถือเป็นสถานที่อันงดงามและมีคุณค่า ที่ชาวไทยทุกคนต้องช่วยกันดูแลรักษาไว้ให้คงอยู่คู่กับโลกใบนี้ตลอดไป
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
“อุทยานธรณีสตูล” ตั้งอยู่ที่ภาคใต้ของไทย คลอบคลุม 4 อำเภอของจังหวัดสตูล คือ ทุ่งหว้า มะนัง ละงู และอำเภอเมือง ลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาหินปูน มีเกาะน้อยใหญ่และมีชายหาดที่สวยงาม ด้วยความโดดเด่นทางธรณีวิทยา ภูมิประเทศและธรรมชาติของอุทยานธรณีสตูล ก่อให้เกิดกิจกรรมการท่องเที่ยวทางธรรมชาติหลากหลาย
และหลังจากที่อุทยานธรณีสตูลได้ประกาศขึ้นเป็นอุทยานธรณีโลกแล้ว ทำให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางเพิ่มมากขึ้น ครั้งนี้จึงอยากจะชวนมารู้จักกับแหล่งท่องเที่ยวที่อยู่ในเขตพื้นที่ของอุทยานธรณีโลกแห่งนี้ จะที่มีความน่าสนใจขนาดไหน และมีที่ท่องเที่ยวจุดไหนบ้างมาติดตามกัน
1.สะพานข้ามกาลเวลา
ชมความมหัศจรรย์ของเขาโต๊ะหงาย ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา เขาลูกนี้มีหน้าผาริมทะเลที่สูงชัน ซึ่งมีปรากฏการณ์ธรรมชาติปรากฏอยู่ในบริเวณช่วงหนึ่งของหน้าผา กับการชนกันหรือรอยสัมผัสของหิน 2 ยุค คือหินทรายสีแดงแห่งยุคแคมเบรียน(542-488 ล้านปี) และ หินปูนสีเทาแห่งยุคออร์โดวิเชียน(488-444 ล้านปี) ที่เกิดจากรอยเลื่อนของเปลือกโลกกระทำให้หิน 2 ยุคเคลื่อนตัวมาชนกัน ปัจจุบันทางอช.หมู่เกาะเภตรา ได้ทำสะพานเดินศึกษาธรรมชาติเลียบหน้าผาดังกล่าว ให้ผู้สนใจได้เดินไปเที่ยวชมบริเวณรอยสัมผัสของหิน 2 ยุค จึงเปรียบเสมือนเรากำลังเดินก้าวข้ามกาลเวลาจาก(หิน) ยุคหนึ่งไปสู่อีกยุคหนึ่ง
2.หินหลากสี
นอกจากสะพานข้ามกาลเวลาที่มีหิน 2 ยุคให้ชมแล้ว บริเวณชายหาดเขาโต๊ะหงายยังมีหินทรายสีแดงบริเวณเขาโต๊ะหงายอีกจำนวนมาก และตรงชายหาดมีหินหลากสีโดยก้อนหินแต่ละก้อนจะมีสีสัน รูปร่างและขนาดที่แตกต่างกันไป สีแดง สีเทา สีดำ สีเหลือง และสีน้ำเงินที่มีกระจัดกระจายอยู่เต็มชายหาด ช่วงน้ำลดก็จะสามารถมองเห็นหินหลากสีนี้กระทบกับแสงอาทิตย์มีความสวยงามแปลกตา
3.ถ้ำเจ็ดคต
อีกความมหัศจรรย์หนึ่งที่มีอยู่ในอุทยานธรณีสตูล ก็คือ “ถ้ำเจ็ดคต” เป็นถ้ำที่มีลักษณะถ้ำลอด คือมีลำคลองลำโลนที่มาจากทางอำเภอมะนัง ไหลลอดภูเขาหินปูนออกมาสมทบกับคลองละงูที่ไหลมาจากทางบ้านทับทุง อ ละงู ภายในอุโมงค์ถ้ำมีหินย้อยที่ยังเป็น มีสีเหลืองเคลือบ ตรงบริเวณปากถ้ำที่ลำห้วยมาจากอ.มะนังจะไหลลอดพ้นภูเขาออกมาสมทบกับลำคลองละงูนั้น จะเป็นปากถ้ำขนาดใหญ่ที่กว้างและจะค่อยๆ แคบลง หากว่าใครมาชมในช่วงบ่ายก็จะมีแสงแดดส่องสะท้อนกับสีเขียวจองใบไม้และแสงตกกระทบน้ำ ทำให้น้ำมีสีเขียวมรกตแลดูสวยงามไปด้วย
4.ถ้ำเลสเตโกดอน
“ถ้ำเลสเตโกดอน” เป็นถ้ำอยู่ในเทือกเขาหินปูนทอดยาว มีลักษณะคล้ายอุโมงค์ใต้ภูเขา ภายในถ้ำมีลักษณะคดเคี้ยว มีระยะทางจากปากถ้ำจนถึงทางอยู่ประมาณ 4 กิโลเมตร สิ่งที่โดดเด่นของถ้ำแห่งนี้คือการพบซากดึกดำบรรพ์ของช้างและแรดสมัยไพลสโตซีน
ที่มาของการเรียกชื่อถ้ำแห่งนี้ว่า "ถ้ำเลสเตโกดอน" มาจากซากดึกดำบรรพ์ที่พบนั้นเป็นซากกระดูกขากรรไกรพร้อมฟันกรามซี่ที่ 2 และ 3 ด้านล่างขวาของช้างดึกดำบรรพ์ เชื่อกันว่าการพบเจอฟันกรามช้างสกุลสเตโกดอน ถือเป็นจุดกำเนิดเรื่องราวการศึกษาค้นคว้าทางธรณีวิทยาในจังหวัดสตูล จนเกิดการจัดตั้งอุทยานธรณีสตูลขึ้นและผลักดันจนให้เป็นอุทยานโลกในวันนี้
การท่องเที่ยวภายในถ้ำเลสเตโกดอนจะต้องพายเรือคายัคลอดถ้ำ ซึ่งจะต้องเช็คระดับน้ำของแต่ละวันด้วย สามารถสอบถามหรือติดต่อท่องเที่ยวได้ที่องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหว้าล่วงหน้า เนื่องจากอุทยานธรณีสตูลจะเน้นการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ และจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวเพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้คงอยู่สืบไป
5.ถ้ำภูผาเพชร
ในพื้นที่อุทยานธรณีโลก สตูล ยังมีอีกหนึ่งถ้ำสำคัญนั่นก็คือ“ถ้ำภูผาเพชร” ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในถ้ำมหัศจรรย์ของเมืองไทย ตั้งอยู่ที่บ้านภูผาเพชร ต.ปาล์มพัฒนา อ.มะนัง มีเนื้อที่ประมาณ 50 ไร่ แบ่งเป็นห้องต่างๆกว่า 20 ห้อง(แต่เปิดให้เที่ยวชมในบางส่วน) อาทิ ห้องปะการัง ห้องม่านเพชร ห้องพญานาค ห้องลานเพลิน เป็นต้น
เมื่อเดินขึ้นเขาแล้วมุดปากถ้ำเล็กๆเข้าไปในในถ้ำแล้ว ก็จะพบกับความยิ่งใหญ่อลังการและความวิจิตรตระการตาของหินงอกหินย้อยน้อยใหญ่อันชวนตื่นตะลึง ไม่ว่าจะเป็น หินงอกที่เป็นเสามหึมาค้ำเพดานถ้ำ หินงอกหินย้อยรูปร่างคล้ายปะการัง ตะกอนหินโบราณที่สะสมเป็นสันเส้นทางยาวมองดูคล้ายลำตัวพญานาค
6.ปราสาทหินพันยอด
“ปราสาทหินพันยอด” ตั้งอยู่บริเวณเกาะเขาใหญ่ ในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา มีชายหาดและน้ำทะเลสีเขียวมรกต ที่ซ่อนตัวอยู่ท่ามกลางหินปูนปลายยอดแหลมหน้าตาประหลาดมองดูคล้ายปราสาทที่มียอดนับพัน โดยเกิดจากการยกตัวของเปลือกโลกมากว่าหลายร้อยล้านปีทำให้หินมีรูปร่างแปลกตา การมาเที่ยวที่นี่ต้องพายเรือคายัคลอดผ่านช่องแคบเข้าไปจะพบกับความอลังการของหินทรงปราสาทแห่งนี้
7.อ่าวฟอสซิล
บริเวณเกาะเขาใหญ่แห่งนี้ เคยเป็นทะเลโบราณของยุคออรโดวิเชียน ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตมากมายย้อนอดีตไปประมาณ 470 ล้านปีก่อน เมื่อสิ่งเหล่านี้ตายลงไป โครงสร้างบางส่วนได้แข็งตัวกลายเป็นหิน หรือที่เรียกว่าซากดึกดำบรรพ์ และบริเวณอ่าวฟอสซิลนี้เอง หากใครได้มาเที่ยวและสังเกตให้ดี จะพบซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์ทะเลอย่างจำพวก “นอติลอยด์” มากมายแทรกตัวอยู่ในเนื้อหินปูน จะมีรูปแบบลักษณะไหนนั้นลองมาค้นหาดูกัน
“นอติลอยด์” เป็นสัตว์จำพวกหอย กลุ่มเดียวกับปลาหมึก ลำตัวภายในเปลือกจะมีช่องว่างที่มีผนังปิดแบ่งเป็นห้องๆ มีท่อกลางลำตัวทะลุเชื่อมห้องว่างทุกห้องในเปลือก ลักษณะเปลือกมีทั้งแบบเป็นแท่งตรงคล้ายกรวย และแบบม้วนขดเกลียวเป็นวง มีอายุอยู่ในยุคแคมเบรียนตอนปลายต่อเนื่องมาจนถึงยุคออร์โดวิเชียนตอนต้น พบมากที่จังหวัดสตูล เนื่องจากสตูลเคยเป็นทะเลเมื่อประมาณ 495 ล้านปี เพราะมีหินปูนยุคออร์โดวิเชียนโผล่ให้เห็นกระจัดกระจายทั้งบนฝั่งและบริเวณเกาะ
ทั้ง 7 แหล่งท่องเที่ยวอันโดดเด่นที่อยู่ในเขตพื้นที่ของอุทยานธรณีโลกสตูลแห่งนี้ ถือเป็นสถานที่อันงดงามและมีคุณค่า ที่ชาวไทยทุกคนต้องช่วยกันดูแลรักษาไว้ให้คงอยู่คู่กับโลกใบนี้ตลอดไป
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager