โดย : ปิ่น บุตรี(pinn109@hotmail.com)
“อุบลราชธานี” เป็น 1 ใน 8 จังหวัดของเมืองไทยที่มีแม่น้ำโขงไหลเลาะเลียบชายแดน และเป็นจังหวัดสุดท้ายของไทยที่สายน้ำโขงไหลไปสิ้นสุดที่ บ้านเวินบึก อ.โขงเจียม ก่อนจะไหลต่อไปยังสปป.ลาว
สำหรับในเส้นทางที่แม่น้ำโขงไหลเลาะเลียบแนวตะเข็บชายแดน นับจากเชียงรายไหลเข้าลาวไปสู่ อ.เชียงคาน จ.เลย และไหลเลาะเลียบชายแดนอีสานผ่านจังหวัดต่างๆอีก ได้แก่ หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และสิ้นสุดที่อุบลราชธานีเป็นจังหวัดสุดท้าย มีหลายจุดหลายพื้นที่ที่น่ายลไปด้วยวิวทิวทัศน์และบรรยากาศอันงดงามชวนเที่ยว ชวนสัมผัส
โดยเฉพาะในหน้าแล้ง ยามที่น้ำโขงลดระดับลงต่ำ(กรณีที่จีนไม่ปล่อยน้ำจากเขื่อนลงมา) แนวแก่งหิน โขดหินใต้น้ำ สันดอน สันดิน สันทราย หาดทราย ที่จมอยู่ใต้น้ำ จะพร้อมใจกันโผล่ขึ้นมาเป็นจำนวนมาก
ในหลายๆพื้นที่แนวแก่งหิน หาดทราย ยามหน้าแล้งแห่งแม่น้ำโขงจะมีความสวยงามน่าเที่ยวชมเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็น สามเหลี่ยมทองคำ จ.เชียงราย แก่งคุดคู้ จ.เลย หาดทรายทองศรีโคตรบูร จ.นครพนม เป็นต้น
สำหรับริมฝั่งแม่น้ำโขงเมืองอุบลฯ ยามน้ำลดทีไร เป็นต้องได้เห็นวิวสวยๆงามๆของแก่งหิน โบก หาดทราย สันดอนทรายที่ผุดโผล่ขึ้นมาอวดโฉมความงาม อันนำมาสู่เส้นทางไฮไลท์เลาะชายแดนเมืองอุบล ยลเสน่ห์แม่น้ำโขง ที่ชวนตื่นตาตื่นใจไปกับความมหัศจรรย์(เล็กๆ)ของธรรมชาติแห่งลำน้ำโขงได้ไม่น้อยเลย
หาดทรายสูง
จุดแรกผมขอเริ่มที่แหล่งท่องเที่ยวน้องใหม่ที่กำลังมาแรงอย่าง “หาดทรายสูง” ที่ตั้งอยู่ที่ บ้านลาดเจริญ ต.นาแวง อ.เขมราฐ อำเภอสงบงามริมฝั่งโขงที่กำลังเปิดตัวเป็นที่รู้จักมากขึ้นจากวิวทิวทัศน์ริมฝั่งโขงอันสวยงาม
หาดทรายสูง เป็นหาดทราย(น้ำจืด) ตั้งอยู่ริมฝั่งชายแดนไทยบนโค้งลำน้ำโขง ที่มีการสะสมของตะกอนทรายอย่างลงตัวเหมาะเจาะ
ยามน้ำโขงลดจะเกิดแนวหาดทรายยาวขาวเนียนทอดตัวขนาบไปกับลำน้ำโขงยาวร่วมร้อยเมตร ก่อนจะไปบรรจบกับแก่งหิน โขดหิน ที่เป็นความแข็งแกร่งตัดกับความอ่อนนุ่มของหาดทรายที่เม็ดทรายนั้นละเอียดยิบ เดินแน่นเนียนนุ่มเท้ามากๆ
หาดทรายสูง มีลักษณะเป็นแนวทรายกว้างยาวอันสวยงาม แต่ว่าเป็นแนวสันทรายที่มีความสูงท่วมหัวคน ดูคล้ายหน้าผาทรายเตี้ยๆสมชื่อหาดทรายสูง ที่ตั้งอยู่ในองค์ประกอบของเวิ้งน้ำ แนวโขดหิน ที่ช่วยเติมเต็มให้หาดทรายแห่งนี้น่ายลมากขึ้น
นอกจากนี้ที่หาดทรายสูงยังมี แนวผาทรายที่เกิดจากแรงลมพัดม้วนตัวจากด้านล่างขึ้นไปสะสมเป็นตะกอนทรายที่ด้านบนเกิดเป็นริ้วรอยลวดลายบนพื้นทรายอันสวยงาม
อย่างไรก็ดีทิวทัศน์และรูปร่างของหาดทรายสูงในแต่ละปีนั้นจะแตกต่างกันออกไป ตามแต่ศิลปินนาม“ธรรมชาติ” จะเนรมิตสรรค์สร้างออกมา
หาดชมดาว
จากหาดทรายสูงเลาะริมโขงไปอีกไม่ไกลก็จะเป็น “หาดชมดาว”(หรือที่บางคนเรียกว่า แก่งชมดาว) อีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยวน้องใหม่ของอุบลฯ ที่ตั้งอยู่ที่บ้านโนนตาล ต.นาตาล อ.นาตาล
หาดชมดาวเป็นแนวหาดหิน แก่งหิน อันกว้างใหญ่และยาวมากหลายร้อยเมตร มีลักษณะอันโดดเด่นที่น่าสนใจได้แก่ แนวช่องแคบ(หิน) แนวผาหน้าน้ำไหลผ่าน แคนยอน โบกหินใหญ่น้อยจำนวนมาก รวมถึงโบกหินขนาดใหญ่ที่ถูกขนานนามให้เป็น “บิ๊กโบก” มีหินที่เป็นลักษณะเพิงผาคล้ายถ้ำจนถูกเรียกขานว่า“ถ้ำตาอ้วน”
อีกทั้งยังมีแอ่งน้ำน้อยใหญ่ บางแอ่งใหญ่ขนาดสระน้ำย่อยๆ บางแอ่งน้ำเขียวใสเป็นสีมรกตดูสวยงาม
นอกจากนี้หาดชมดาวก็ยังมีประติมากรรมหินธรรมชาติรูปร่างแปลกตาอีกหลากหลายชวนให้จินตนาการ
ขณะที่แนวแก่งหิน ลานหิน ที่ริมโขงฝั่งบ้านเรานั้นเต็มไปด้วยหินรูปร่างแปลกตา แต่ที่ริมโขงฝั่งตรงข้ามในประเทศลาวนั้นกลับเป็นหาดทรายขาวยาวหลายร้อยเมตร
นับเป็นอีกหนึ่งผลงานจากศิลปินธรรมชาติที่น่าทึ่งไม่น้อยเลย
สามพันโบก
จุดสุดท้ายเป็น “สามพันโบก” ที่ตั้งอยู่ที่บ้านโป่งเป้า ต.เหล่างาม อ.โพธิ์ไทร จ.อุบลราชธานี ที่เมื่อถึงช่วงหน้าแล้งแม่น้ำโขงลดระดับลง แนวโขดหิน ผาหิน โบกหินที่อยู่ใต้น้ำ ก็จะเผยโฉมที่ซุกซ่อนอยู่ ปรากฏสรีระรูปร่างให้เราได้ยลโฉมในความงามแปลกตาอันเกิดจากธรรมชาติสรรค์สร้าง จนกลายเป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวทางธรณีวิทยาอันลือชื่อของเมืองไทย
หลายๆคนอาจสงสัยว่า “โบก” มันคืออะไร???
โบกเป็นภาษาลาวและภาษาถิ่น เป็นลักษะธรรมชาติที่เกิดจากการที่กระแสน้ำได้พัดพาก้อนกรวด หิน ทราย และเศษไม้ กัดเซาะขัดแผ่นหินทรายให้เกิดเป็นหลุมแอ่งขึ้น มีทั้งโบกขนาดเล็กไปจนถึงโบกขนาดกว้างใหญ่
เดิมที่นี่ก่อนที่จะมีชื่อสามพันโบก ชาวบ้านแถบนี้ได้เรียกขานสถานที่แห่งนี้ว่า “ปู่จกปู” พร้อมกับมี ตำนานนิทานพื้นบ้านเล่าขานประกอบว่า...กาลครั้งหนึ่งมีปู่-หลานคู่หนึ่ง ล่องเรือหาปลาตามลำน้ำโขง และได้มาแวะพักยังบริเวณนี้ ครั้นเมื่อฝ่ายหลานเกิดอาการหิวขึ้นมา ปู่จึงเอามือล้วงไปในโบก จับปูขึ้นมาทำเป็นอาหารให้หลานกิน...ขณะที่อีกตำนานเล่าว่าปู่-กับหลานได้มาจับปลา ณ ที่แห่งนี้ แต่จับปลาไม่ได้ จึงใช้มือล้วงปูในลำน้ำโขงเกิดเป็นโบกขึ้นมามากมาย...ซึ่งตำนานทั้งคู่ต่างก็เป็นที่มาของชื่อ “ปู่จกปู”
จากนั้นเมื่อไม่นานมานี้ หลังโบกหินปู่จกปูเริ่มพอเป็นที่รู้จักทางการท่องเที่ยว อ.เรืองประทิน เขียวสด หนึ่งในคนสำคัญผู้บุกเบิกการท่องเที่ยว ณ ที่แห่งนี้ ก็ได้เรียกขานที่นี่ใหม่ว่า “สามพันโบก” โดยตั้งชื่อตามโบกที่มีอยู่มากมาย พร้อมทั้งให้มันสอดรับกับสี่พันดอนใน สปป.ลาว
สามพันโบก มีขนาดพื้นที่ใหญ่ราวๆ 10 ตารางกิโลเมตร ซึ่งใครหลายๆคนตั้งฉายาให้ที่นี่ว่า “แกรนด์แคนยอนน้ำโขง”
สามพันโบกเป็นลานหินและผาหินขนาดใหญ่ที่ชวนตะลึงไม่น้อย เพราะเป็นอีกหนึ่งประติมากรรมธรรมชาติสรรค์สร้างอันชวนทึ่ง สร้างให้ที่นี่เต็มไปด้วยโบกน้อยใหญ่ โดยมีไฮไลท์อยู่ที่ “สระมรกต” หรือที่ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า “บุ่งน้ำใส” กับโบกขนาดยักษ์หรือสระน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่กลางลานหิน ที่ไม่ว่าฤดูไหนน้ำในนี้ก็ดูเป็นสีเขียวมรกต โดยช่วงที่น้ำใสที่สุดคือในช่วงเดือนธันวาคม ส่วนที่ดูน่ามหัศจรรย์ก็คือไม่ว่าระดับแม่น้ำโขงจะเพิ่มจะลดอย่างไร น้ำในสระมรกตก็จะคงที่อยู่ในระดับเต็มโบกอยู่เสมอ
ส่วนจุดน่าสนใจอื่นๆในสามพันโบกก็อย่างเช่น โบกมิกกี้เมาต์ โบกรูปหัวใจ หินรูปหัวสุนัข(พุดเดิ้ล) สะพานหิน ช่องแคบ หินผา รวมไปถึงโบกน้อยใหญ่อีกมากมาย และก้อนหิน หลุมแอ่ง อีกหลากหลายรูปทรง ขึ้นอยู่กับจินตนาการของเราว่าจะมองเห็นเป็นรูปอะไร
หาดหงส์
ในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวสามพันโบก ยังมีอีกหนึ่งจุดไฮไลท์ไม่ควรพลาดนั่นก็คือ “หาดหงส์” ที่อยู่ใกล้ๆกับสามพันโบกใช้เวลาล่องเรือถึงกันในไม่กี่นาที ที่นี่มีลักษณะเป็นเนินทรายน้ำจืดขนาดใหญ่อันเกิดจากการพัดพาของของลมและน้ำนำตะกอนทรายมากองทับถมเป็นเนินทราย หาดทรายขนาดใหญ่จนหลายๆคนเรียกที่นี่ว่า (ทะเลทราย)“ซาฮาร่าเมืองไทย” เพราะมันมีบรรยากาศดูคล้ายทะเลทรายไม่น้อยเลย
ทรายที่หาดหงส์เป็นทรายละเอียดยิบเดินแน่นเนียนนุ่มเท้า(เพียงแต่ว่าอย่าไปเดินช่วงแดดร้อนเปรี้ยง เพราะจะทำให้เท้าพองเอาได้ง่ายๆ)
บนพื้นทรายจะดูสวยงามไปด้วยลวดลายริ้วรอยจากลมที่พัดพาและธรรมชาติสรรค์สร้าง นอกจากนี้ในพื้นที่หาดหงส์ยังมีสระน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ มีพื้นหาดลาดเอียงเทตัดลงไป กลายเป็นจุดกระโดดหาดทรายเล่นของเหล่าผู้กล้า
นับได้ว่า หาดทรายสูง หาดชมดาว สามพันโบก หาดหงส์ เป็นอีกหนึ่งความน่าทึ่งของธรรมชาติที่ได้สร้างสรรค์ความมหัศจรรย์(เล็กๆ)ให้เราๆท่านๆได้สัมผัสชื่นชมในความงาม
ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องช่วยกันรักษาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้ไว้ให้คงอยู่อย่างยั่งยืน
ตราบนานเท่านาน...
***************************************
หาดทรายสูง ตั้งอยู่ที่ บ้านลาดเจริญ ต.นาแวง อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี จากเมืองอุบลฯ ใช้เส้นทาง ทางหลวงหมายเลข 2050 ผ่าน อ.ตระการพืชผล เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 2337 ถึงทางแยกที่ทางหลวงหมายเลข 2337 มาตัดกับทางหลวงหมายเลข 2112 เป็นทางแยกโขงเจียม-เขมราฐ ให้เลี้ยวซ้าย ประมาณ 22 กิโลเมตร จะมีทางแยกขวามือเข้าสู่บ้านลาดเจริญ ไปตามเส้นทางหลักจนสุดถนนก็จะพบกับหาดทรายสูง
หาดชมดาวหรือแก่งชมดาว ตั้งอยู่ที่บ้านโนนตาล ต.นาตาล อ.นาตาล จากอุบลฯใช้เส้นทางเดียวกับหาดรายสูง โดยไปตามทางหลวงหมายเลข 2050 ผ่าน อ.ตระการพืชผล เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 2337 ถึงทางแยกที่ทางหลวงหมายเลข 2337 มาตัดกับทางหลวงหมายเลข 2112 เป็นทางแยกโขงเจียม-เขมราฐ ให้เลี้ยวซ้าย ประมาณ 12 กิโลเมตร จะมีทางแยกขวามือเข้าสู่หาดชมดาว ซึ่งถนนหนทางบางช่วงไม่ดีควรขับด้วยความระมัดระวัง
สามพันโบก ตั้งอยู่ที่บ้านโป่งเป้า ต.เหล่างาม อ.โพธิ์ไทร จ.อุบลราชธานี ผู้สนใจท่องเที่ยวสามพันโบก และล่องเรือแหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อบต.สองคอน อ.โพธิ์ไทร โทร.0-4533-8057, 0-4533-8015
สำหรับหาดทรายสูง หาดชมดาว รวมไปถึงสามพันโบก ปกติจะสวยงามน่าเที่ยวในช่วงหน้าแล้ง ราว พ.ย.-เม.ย. แต่หากวันไหนจีนปล่อยน้ำจากเขื่อนที่กักเก็บไว้ สถานที่ท่องเที่ยวเหล่านี้ก็จะจมอยู่ใต้น้ำมากบ้างน้อยบ้างขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำที่ปล่อยมา
สามารถสอบถามข้อมูลที่พัก ร้านอาหาร สินค้าโอทอป การเดินทาง และสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ ใน จ.อุบลราชธานี เชื่อมโยงกับหาดทรายสูง หาดชมดาว ได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานอุบลราชธานี โทร.0-4524-3770, 0-4525-0714
หมายเหตุ : โบก เกิดจากการที่กระแสน้ำได้พัดพาก้อนกรวด หิน ทราย และเศษไม้ กัดเซาะขัดแผ่นหินทรายให้เกิดเป็นหลุมแอ่งขึ้น มีขนาดเล็กๆจนถึงขนาดใหญ่จำนวนมากมาย
*****************************************
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com
“อุบลราชธานี” เป็น 1 ใน 8 จังหวัดของเมืองไทยที่มีแม่น้ำโขงไหลเลาะเลียบชายแดน และเป็นจังหวัดสุดท้ายของไทยที่สายน้ำโขงไหลไปสิ้นสุดที่ บ้านเวินบึก อ.โขงเจียม ก่อนจะไหลต่อไปยังสปป.ลาว
สำหรับในเส้นทางที่แม่น้ำโขงไหลเลาะเลียบแนวตะเข็บชายแดน นับจากเชียงรายไหลเข้าลาวไปสู่ อ.เชียงคาน จ.เลย และไหลเลาะเลียบชายแดนอีสานผ่านจังหวัดต่างๆอีก ได้แก่ หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และสิ้นสุดที่อุบลราชธานีเป็นจังหวัดสุดท้าย มีหลายจุดหลายพื้นที่ที่น่ายลไปด้วยวิวทิวทัศน์และบรรยากาศอันงดงามชวนเที่ยว ชวนสัมผัส
โดยเฉพาะในหน้าแล้ง ยามที่น้ำโขงลดระดับลงต่ำ(กรณีที่จีนไม่ปล่อยน้ำจากเขื่อนลงมา) แนวแก่งหิน โขดหินใต้น้ำ สันดอน สันดิน สันทราย หาดทราย ที่จมอยู่ใต้น้ำ จะพร้อมใจกันโผล่ขึ้นมาเป็นจำนวนมาก
ในหลายๆพื้นที่แนวแก่งหิน หาดทราย ยามหน้าแล้งแห่งแม่น้ำโขงจะมีความสวยงามน่าเที่ยวชมเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็น สามเหลี่ยมทองคำ จ.เชียงราย แก่งคุดคู้ จ.เลย หาดทรายทองศรีโคตรบูร จ.นครพนม เป็นต้น
สำหรับริมฝั่งแม่น้ำโขงเมืองอุบลฯ ยามน้ำลดทีไร เป็นต้องได้เห็นวิวสวยๆงามๆของแก่งหิน โบก หาดทราย สันดอนทรายที่ผุดโผล่ขึ้นมาอวดโฉมความงาม อันนำมาสู่เส้นทางไฮไลท์เลาะชายแดนเมืองอุบล ยลเสน่ห์แม่น้ำโขง ที่ชวนตื่นตาตื่นใจไปกับความมหัศจรรย์(เล็กๆ)ของธรรมชาติแห่งลำน้ำโขงได้ไม่น้อยเลย
หาดทรายสูง
จุดแรกผมขอเริ่มที่แหล่งท่องเที่ยวน้องใหม่ที่กำลังมาแรงอย่าง “หาดทรายสูง” ที่ตั้งอยู่ที่ บ้านลาดเจริญ ต.นาแวง อ.เขมราฐ อำเภอสงบงามริมฝั่งโขงที่กำลังเปิดตัวเป็นที่รู้จักมากขึ้นจากวิวทิวทัศน์ริมฝั่งโขงอันสวยงาม
หาดทรายสูง เป็นหาดทราย(น้ำจืด) ตั้งอยู่ริมฝั่งชายแดนไทยบนโค้งลำน้ำโขง ที่มีการสะสมของตะกอนทรายอย่างลงตัวเหมาะเจาะ
ยามน้ำโขงลดจะเกิดแนวหาดทรายยาวขาวเนียนทอดตัวขนาบไปกับลำน้ำโขงยาวร่วมร้อยเมตร ก่อนจะไปบรรจบกับแก่งหิน โขดหิน ที่เป็นความแข็งแกร่งตัดกับความอ่อนนุ่มของหาดทรายที่เม็ดทรายนั้นละเอียดยิบ เดินแน่นเนียนนุ่มเท้ามากๆ
หาดทรายสูง มีลักษณะเป็นแนวทรายกว้างยาวอันสวยงาม แต่ว่าเป็นแนวสันทรายที่มีความสูงท่วมหัวคน ดูคล้ายหน้าผาทรายเตี้ยๆสมชื่อหาดทรายสูง ที่ตั้งอยู่ในองค์ประกอบของเวิ้งน้ำ แนวโขดหิน ที่ช่วยเติมเต็มให้หาดทรายแห่งนี้น่ายลมากขึ้น
นอกจากนี้ที่หาดทรายสูงยังมี แนวผาทรายที่เกิดจากแรงลมพัดม้วนตัวจากด้านล่างขึ้นไปสะสมเป็นตะกอนทรายที่ด้านบนเกิดเป็นริ้วรอยลวดลายบนพื้นทรายอันสวยงาม
อย่างไรก็ดีทิวทัศน์และรูปร่างของหาดทรายสูงในแต่ละปีนั้นจะแตกต่างกันออกไป ตามแต่ศิลปินนาม“ธรรมชาติ” จะเนรมิตสรรค์สร้างออกมา
หาดชมดาว
จากหาดทรายสูงเลาะริมโขงไปอีกไม่ไกลก็จะเป็น “หาดชมดาว”(หรือที่บางคนเรียกว่า แก่งชมดาว) อีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยวน้องใหม่ของอุบลฯ ที่ตั้งอยู่ที่บ้านโนนตาล ต.นาตาล อ.นาตาล
หาดชมดาวเป็นแนวหาดหิน แก่งหิน อันกว้างใหญ่และยาวมากหลายร้อยเมตร มีลักษณะอันโดดเด่นที่น่าสนใจได้แก่ แนวช่องแคบ(หิน) แนวผาหน้าน้ำไหลผ่าน แคนยอน โบกหินใหญ่น้อยจำนวนมาก รวมถึงโบกหินขนาดใหญ่ที่ถูกขนานนามให้เป็น “บิ๊กโบก” มีหินที่เป็นลักษณะเพิงผาคล้ายถ้ำจนถูกเรียกขานว่า“ถ้ำตาอ้วน”
อีกทั้งยังมีแอ่งน้ำน้อยใหญ่ บางแอ่งใหญ่ขนาดสระน้ำย่อยๆ บางแอ่งน้ำเขียวใสเป็นสีมรกตดูสวยงาม
นอกจากนี้หาดชมดาวก็ยังมีประติมากรรมหินธรรมชาติรูปร่างแปลกตาอีกหลากหลายชวนให้จินตนาการ
ขณะที่แนวแก่งหิน ลานหิน ที่ริมโขงฝั่งบ้านเรานั้นเต็มไปด้วยหินรูปร่างแปลกตา แต่ที่ริมโขงฝั่งตรงข้ามในประเทศลาวนั้นกลับเป็นหาดทรายขาวยาวหลายร้อยเมตร
นับเป็นอีกหนึ่งผลงานจากศิลปินธรรมชาติที่น่าทึ่งไม่น้อยเลย
สามพันโบก
จุดสุดท้ายเป็น “สามพันโบก” ที่ตั้งอยู่ที่บ้านโป่งเป้า ต.เหล่างาม อ.โพธิ์ไทร จ.อุบลราชธานี ที่เมื่อถึงช่วงหน้าแล้งแม่น้ำโขงลดระดับลง แนวโขดหิน ผาหิน โบกหินที่อยู่ใต้น้ำ ก็จะเผยโฉมที่ซุกซ่อนอยู่ ปรากฏสรีระรูปร่างให้เราได้ยลโฉมในความงามแปลกตาอันเกิดจากธรรมชาติสรรค์สร้าง จนกลายเป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวทางธรณีวิทยาอันลือชื่อของเมืองไทย
หลายๆคนอาจสงสัยว่า “โบก” มันคืออะไร???
โบกเป็นภาษาลาวและภาษาถิ่น เป็นลักษะธรรมชาติที่เกิดจากการที่กระแสน้ำได้พัดพาก้อนกรวด หิน ทราย และเศษไม้ กัดเซาะขัดแผ่นหินทรายให้เกิดเป็นหลุมแอ่งขึ้น มีทั้งโบกขนาดเล็กไปจนถึงโบกขนาดกว้างใหญ่
เดิมที่นี่ก่อนที่จะมีชื่อสามพันโบก ชาวบ้านแถบนี้ได้เรียกขานสถานที่แห่งนี้ว่า “ปู่จกปู” พร้อมกับมี ตำนานนิทานพื้นบ้านเล่าขานประกอบว่า...กาลครั้งหนึ่งมีปู่-หลานคู่หนึ่ง ล่องเรือหาปลาตามลำน้ำโขง และได้มาแวะพักยังบริเวณนี้ ครั้นเมื่อฝ่ายหลานเกิดอาการหิวขึ้นมา ปู่จึงเอามือล้วงไปในโบก จับปูขึ้นมาทำเป็นอาหารให้หลานกิน...ขณะที่อีกตำนานเล่าว่าปู่-กับหลานได้มาจับปลา ณ ที่แห่งนี้ แต่จับปลาไม่ได้ จึงใช้มือล้วงปูในลำน้ำโขงเกิดเป็นโบกขึ้นมามากมาย...ซึ่งตำนานทั้งคู่ต่างก็เป็นที่มาของชื่อ “ปู่จกปู”
จากนั้นเมื่อไม่นานมานี้ หลังโบกหินปู่จกปูเริ่มพอเป็นที่รู้จักทางการท่องเที่ยว อ.เรืองประทิน เขียวสด หนึ่งในคนสำคัญผู้บุกเบิกการท่องเที่ยว ณ ที่แห่งนี้ ก็ได้เรียกขานที่นี่ใหม่ว่า “สามพันโบก” โดยตั้งชื่อตามโบกที่มีอยู่มากมาย พร้อมทั้งให้มันสอดรับกับสี่พันดอนใน สปป.ลาว
สามพันโบก มีขนาดพื้นที่ใหญ่ราวๆ 10 ตารางกิโลเมตร ซึ่งใครหลายๆคนตั้งฉายาให้ที่นี่ว่า “แกรนด์แคนยอนน้ำโขง”
สามพันโบกเป็นลานหินและผาหินขนาดใหญ่ที่ชวนตะลึงไม่น้อย เพราะเป็นอีกหนึ่งประติมากรรมธรรมชาติสรรค์สร้างอันชวนทึ่ง สร้างให้ที่นี่เต็มไปด้วยโบกน้อยใหญ่ โดยมีไฮไลท์อยู่ที่ “สระมรกต” หรือที่ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า “บุ่งน้ำใส” กับโบกขนาดยักษ์หรือสระน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่กลางลานหิน ที่ไม่ว่าฤดูไหนน้ำในนี้ก็ดูเป็นสีเขียวมรกต โดยช่วงที่น้ำใสที่สุดคือในช่วงเดือนธันวาคม ส่วนที่ดูน่ามหัศจรรย์ก็คือไม่ว่าระดับแม่น้ำโขงจะเพิ่มจะลดอย่างไร น้ำในสระมรกตก็จะคงที่อยู่ในระดับเต็มโบกอยู่เสมอ
ส่วนจุดน่าสนใจอื่นๆในสามพันโบกก็อย่างเช่น โบกมิกกี้เมาต์ โบกรูปหัวใจ หินรูปหัวสุนัข(พุดเดิ้ล) สะพานหิน ช่องแคบ หินผา รวมไปถึงโบกน้อยใหญ่อีกมากมาย และก้อนหิน หลุมแอ่ง อีกหลากหลายรูปทรง ขึ้นอยู่กับจินตนาการของเราว่าจะมองเห็นเป็นรูปอะไร
หาดหงส์
ในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวสามพันโบก ยังมีอีกหนึ่งจุดไฮไลท์ไม่ควรพลาดนั่นก็คือ “หาดหงส์” ที่อยู่ใกล้ๆกับสามพันโบกใช้เวลาล่องเรือถึงกันในไม่กี่นาที ที่นี่มีลักษณะเป็นเนินทรายน้ำจืดขนาดใหญ่อันเกิดจากการพัดพาของของลมและน้ำนำตะกอนทรายมากองทับถมเป็นเนินทราย หาดทรายขนาดใหญ่จนหลายๆคนเรียกที่นี่ว่า (ทะเลทราย)“ซาฮาร่าเมืองไทย” เพราะมันมีบรรยากาศดูคล้ายทะเลทรายไม่น้อยเลย
ทรายที่หาดหงส์เป็นทรายละเอียดยิบเดินแน่นเนียนนุ่มเท้า(เพียงแต่ว่าอย่าไปเดินช่วงแดดร้อนเปรี้ยง เพราะจะทำให้เท้าพองเอาได้ง่ายๆ)
บนพื้นทรายจะดูสวยงามไปด้วยลวดลายริ้วรอยจากลมที่พัดพาและธรรมชาติสรรค์สร้าง นอกจากนี้ในพื้นที่หาดหงส์ยังมีสระน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ มีพื้นหาดลาดเอียงเทตัดลงไป กลายเป็นจุดกระโดดหาดทรายเล่นของเหล่าผู้กล้า
นับได้ว่า หาดทรายสูง หาดชมดาว สามพันโบก หาดหงส์ เป็นอีกหนึ่งความน่าทึ่งของธรรมชาติที่ได้สร้างสรรค์ความมหัศจรรย์(เล็กๆ)ให้เราๆท่านๆได้สัมผัสชื่นชมในความงาม
ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องช่วยกันรักษาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้ไว้ให้คงอยู่อย่างยั่งยืน
ตราบนานเท่านาน...
***************************************
หาดทรายสูง ตั้งอยู่ที่ บ้านลาดเจริญ ต.นาแวง อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี จากเมืองอุบลฯ ใช้เส้นทาง ทางหลวงหมายเลข 2050 ผ่าน อ.ตระการพืชผล เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 2337 ถึงทางแยกที่ทางหลวงหมายเลข 2337 มาตัดกับทางหลวงหมายเลข 2112 เป็นทางแยกโขงเจียม-เขมราฐ ให้เลี้ยวซ้าย ประมาณ 22 กิโลเมตร จะมีทางแยกขวามือเข้าสู่บ้านลาดเจริญ ไปตามเส้นทางหลักจนสุดถนนก็จะพบกับหาดทรายสูง
หาดชมดาวหรือแก่งชมดาว ตั้งอยู่ที่บ้านโนนตาล ต.นาตาล อ.นาตาล จากอุบลฯใช้เส้นทางเดียวกับหาดรายสูง โดยไปตามทางหลวงหมายเลข 2050 ผ่าน อ.ตระการพืชผล เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 2337 ถึงทางแยกที่ทางหลวงหมายเลข 2337 มาตัดกับทางหลวงหมายเลข 2112 เป็นทางแยกโขงเจียม-เขมราฐ ให้เลี้ยวซ้าย ประมาณ 12 กิโลเมตร จะมีทางแยกขวามือเข้าสู่หาดชมดาว ซึ่งถนนหนทางบางช่วงไม่ดีควรขับด้วยความระมัดระวัง
สามพันโบก ตั้งอยู่ที่บ้านโป่งเป้า ต.เหล่างาม อ.โพธิ์ไทร จ.อุบลราชธานี ผู้สนใจท่องเที่ยวสามพันโบก และล่องเรือแหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อบต.สองคอน อ.โพธิ์ไทร โทร.0-4533-8057, 0-4533-8015
สำหรับหาดทรายสูง หาดชมดาว รวมไปถึงสามพันโบก ปกติจะสวยงามน่าเที่ยวในช่วงหน้าแล้ง ราว พ.ย.-เม.ย. แต่หากวันไหนจีนปล่อยน้ำจากเขื่อนที่กักเก็บไว้ สถานที่ท่องเที่ยวเหล่านี้ก็จะจมอยู่ใต้น้ำมากบ้างน้อยบ้างขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำที่ปล่อยมา
สามารถสอบถามข้อมูลที่พัก ร้านอาหาร สินค้าโอทอป การเดินทาง และสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ ใน จ.อุบลราชธานี เชื่อมโยงกับหาดทรายสูง หาดชมดาว ได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานอุบลราชธานี โทร.0-4524-3770, 0-4525-0714
หมายเหตุ : โบก เกิดจากการที่กระแสน้ำได้พัดพาก้อนกรวด หิน ทราย และเศษไม้ กัดเซาะขัดแผ่นหินทรายให้เกิดเป็นหลุมแอ่งขึ้น มีขนาดเล็กๆจนถึงขนาดใหญ่จำนวนมากมาย
*****************************************
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com