โดย : ปิ่น บุตรี(pinn109@hotmail.com)
“เมี่ยง ฉันคือต้นเมี่ยง
ฉันเลี้ยงชาวบ้าน ให้มีการงาน บันดาลเงินมา
ฉันเกิดเติบโต สุขโขในป่า ชาวบ้านทำชา ทำเมี่ยงจากใบ
ฉันชอบอยู่ป่า ไปหาก็ได้ ที่ใต้ต้นไม้ ใบเขียวขจี
ถ้าเธอรักเมี่ยง ขอเพียงรักดี ป่าไม้ที่มี อย่าตัดทำลาย”
ครู“ยุพิน เตมิยะ” เอื้อยเอ่ยกลอน“เมี่ยง”ที่แต่งขึ้นด้วยใจ(จากประสบการณ์ตรง) ทักทายผมกับเพื่อนๆอาคันตุกะต่างถิ่นผู้มาเยือน ในทันทีที่พวกเรามาถึงยังโรงทำเมี่ยงของหมู่บ้าน“โป่งน้ำร้อน” บ้านเล็กกลางป่าใหญ่อันทรงเสน่ห์แห่งจังหวัดเชียงราย
บ้านโป่งน้ำร้อน
บ้านโป่งน้ำร้อน ตั้งอยู่ที่ ต.ดอยฮาง อ.เมือง จ.เชียงราย บนระดับความสูงประมาณ 1,500 เมตรจากน้ำทะเล และอยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงรายขึ้นไปบนขุนเขาประมาณ 30 กม.
บ้านโป่งน้ำร้อน เป็นหมู่บ้านเล็กกลางป่าใหญ่ทามกลางหุบเขาที่ยังคงสภาพของผืนป่าอันร่มรื่น มีอากาศเย็นสบาย อีกทั้งยังได้รับการคัดเลือกให้เป็นหมู่บ้านเข้มแข็งตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามโครงการ “แผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง” ปี 2558
เหตุที่หมู่บ้านแห่งนี้มีชื่อว่าบ้านโป่งน้ำร้อนก็เนื่องมาจากมีพุน้ำร้อนตั้งอยู่ในละแวกหมู่บ้าน มีข้อมูลระบุว่าหมู่บ้านโป่งน้ำร้อน ก่อตั้งขึ้นในราวปี พ.ศ. 2475 นำโดยกลุ่มคนเมืองที่ขึ้นมาล่าสัตว์ แล้วเห็นว่าในผืนป่าบนดอยสูงแห่งนี้มีต้นเมี่ยง(ต้นชา)ขึ้นอุดมสมบูรณ์ จึงขึ้นมาก่อสร้างบ้านเรือน อพยพครอบครัวชวนเพื่อนฝูงขึ้นมาก่อตั้งเป็นชุนชนเล็กๆ มีอาชีพเก็บใบเมี่ยงขาย
จากแรกๆที่มีอยู่กันไม่กี่หลังคาเรือน เฉพาะกลุ่มบ้านของคนเมือง ก็มีชนเผ่าอื่นๆอพยพเข้ามาอยู่อาศัยตาม จนปัจจุบันชุมชนขยายเติบใหญ่ ภายในหมู่บ้านประกอบด้วย 4 หย่อมบ้านหลักๆ ได้แก่ หย่อมบ้านคนเมือง หย่อมบ้านจีนฮ่อ หย่อมบ้านอาข่า และหย่อมบ้านลีซอ
ด้วยความที่ชุมชนโป่งน้ำร้อนมีความโดดเด่นในเรื่องวิถีการทำเมี่ยงของคนเมืองแล้ว อีก 3 ชนเผ่าคือ จีนฮ่อ อาข่า ลีซอ ต่างก็มีวิถีวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ รวมถึงตัวหมู่บ้านยังตั้งอยู่กลางขุนเขาที่มีป่าไม้ร่มร่น มีอากาศดี มีวิวทิวทัศน์อันสวยงาม และมีสิ่งน่าสนใจในละแวกหมู่บ้านให้เที่ยวชมกันหลายแห่งด้วยกัน
ปัจจุบันทางชุมชนจึงได้จัดตั้งเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ที่ทาง “การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย”(ททท.) ภูมิภาค ภาคเหนือ และ ททท.เชียงราย ได้เข้ามาร่วมส่งเสริมประชาสัมพันธ์ให้รู้จักกันในวงกว้างยิ่งขึ้น
วิถีเมี่ยง-วิถีชา
หลังผมเดินทางมาถึงยังบ้านโป่งน้ำร้อน ครูยุพินกล่าวคำกลอนทักทาย พร้อมให้ข้อมูลเบื้องต้นคร่าวเกี่ยวกับเมี่ยง ก็ได้ส่งไม้ต่อให้พี่ชาย คือพี่“เดชา เตมิยะ” หนึ่งในผู้บุกเบิกด้านการท่องเที่ยวชุมชนของหมู่บ้าน พาไปสัมผัสกับวิถีเมี่ยงและวิถีชาที่ถือเป็นหนึ่งในไฮไลท์ของชุมชนโป่งน้ำร้อนแห่งนี้
พี่เดชา แนะนำตัวเองว่าเขาเป็นลูกชาวเมี่ยงเช่นเดียวกับหลายๆคนในหมู่บ้านแห่งนี้ ที่เกิดและโตมากับการทำเมี่ยง สร้างฐานะ มีเงินส่งลูกเรียน ได้ก็เพราะเมี่ยง เขาบอกว่าถ้าใครขยันนี่ เมี่ยงสามารถสร้างรายได้งามให้แก่ครอบครัวนั้นๆได้เลยทีเดียว
เมี่ยงหรือชาที่บ้านโป่งน้ำร้อน มีทั้งชาชาพันธุ์อู่หลงที่ชาวบ้านปลูกขึ้นทีหลังในลักษณะของไร่ชา และชาพื้นเมืองพันธุ์อัสสัมที่ขึ้นเติบโตมาในป่าดั้งแต่ดั้งเดิม ก่อนที่ชาวบ้านจะมาปลูกแซมเพิ่มเติมไปในผืนป่าตามต้นไม้ใหญ่ๆ ซึ่งชาวบ้านที่นี่เขาเน้นการอยู่ร่วมกับป่าอย่างอนุรักษ์ มีการแบ่งโซนนิ่งของพื้นที่ป่าไม้ในชุมชน เป็นป่าอนุรักษ์ ป่าต้นน้ำ และป่าใช้สอย อีกทั้งยังมีการปลูกพืชผักผลไม้อื่นๆในลักษณะของสวนผสมร่วมเข้าไปในผืนป่าใช้สอย อันเป็นการเดินตามรอยพ่อในแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
สำหรับวิถีการทำเมี่ยงและชาของบ้านโป่งน้ำร้อนที่ชาวชุมชนแห่งนี้ภูมิใจนำเสนอก็คือการทำเมี่ยงและชาพันธุ์อัสสัม โดยพี่เดชาได้พาเราไปเดินป่าชุมชนชมต้นเมี่ยงดั้งเดิมต้นสูงใหญ่ในผืนป่าริมทางใกล้ๆหมู่บ้าน
“ต้นเมี่ยงดั้งเดิม(พันธุ์อัสสัม)ที่นี่ขึ้นตามธรรมชาติ เติบโตตามธรรมชาติ ปีหนึ่งๆพวกเขาจะเก็บเมี่ยงกันถึง 9 เดือน(มี.ค.-พ.ย.) พัก 3 เดือน(ธ.ค.-ก.พ.) เมี่ยงก็คือชาชนิดหนึ่ง ที่นี่ ชาจะเก็บยอดใบอ่อน ส่วนเมี่ยงจะเก็บใบแก่”
พี่เดชาบอกระหว่างพาเดินป่าดูต้นเมี่ยง พร้อมกับเด็ดใบเมี่ยง(อัสสัม)มาให้ผมลองกินพร้อมกับบอกว่า ใบเมี่ยงกินดิบๆได้ และแก้ง่วงได้ดี ซึ่งก็จริงดังแกว่า พอผมส่งใบเมี่ยงเข้าปาก เจอรส“ขมปี๋” ของเมี่ยงเข้าไป งานนี้เล่นเอาตาสว่างขึ้นมาทันที
สำหรับเมี่ยงของทางภาคเหนือ หรือที่หลายๆคนเรียกว่า“เมี่ยงชา”นั้น เป็นของกินเล่น เป็นการนำใบเมี่ยง(ใบชาแก่)มาหมัก(ผ่านกระบวนการต่างๆ)จนได้ที่ความขมคลาย มีรสเปรี้ยว ฝาด คนเหนือนิยมเคี้ยวกินเล่น ด้วยทำให้ชุ่มคอ แก้กระหาย ช่วยย่อยอาหาร และมีสรรพคุณอีกหลากหลาย
ปัจจุบันแม้การกินเมี่ยงของคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ในภาคเหนือจะลดน้อยถอยลง แต่กิจการการทำเมี่ยงในหลายพื้นที่ก็ยังคงทำรายได้ได้ดีอยู่(ดังเช่นที่บ้านป่าเมี่ยง) แถมบางพื้นที่ยังส่งเมี่ยงไปขายยังประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย
นอกจากนี้ยังมีการนำใบเมี่ยงมาทำเป็นอาหารอีกหลากหลาย รวมถึงมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆได้อีกด้วย ซึ่งการทำเมี่ยงในหลายพื้นที่สามารถสร้างรายได้อย่างงาม
แต่อย่างไรก็ดี การทำเมี่ยงก็เหมือนกับอาชีพจากภูมิปัญญาอื่นๆที่คนรุ่นใหม่ไม่นิยมสานต่อ
“ทำเมี่ยงมันเหนื่อย สู้ทำงานนั่งสบายๆในห้องแอร์สี่เหลี่ยมไม่ได้”
พี่เดชาว่าอย่างนั้นเพราะถึงแม้ว่าการทำเมี่ยงที่นี่จะทำรายได้ดี(เนื่องจากตลาดยังต้องการอยู่มาก) สามารถส่งลูกหลานเรียนจบปริญญา ครอบครัวมีฐานะความเป็นอยู่ที่ดี แต่การทำเมี่ยงมันก็เหนื่อยและดูไม่โก้หรูเท่ากับการทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือนนั่งโต๊ะ
นี่ถือเป็นปัญหาระดับชาติ ที่ระบบการศึกษาบ้านเราวันนี้ยังไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาได้ตรงจุด
เมี่ยง-ชา น่าเรียนรู้
หลังได้ไปชมต้นเมี่ยง(พันธุ์อัสสัม)ต้นสูงใหญ่ในป่าแบบของแท้ดั้งเดิม และลองลิ้มรสใบเมี่ยงสดๆเปล่าๆแล้ว
พี่เดชาพาเรามาชมกระบวนการทำเมี่ยงในแบบภูมิปัญญาดั้งเดิมของบ้านโป่งน้ำร้อน ใช้ไฟ ฟืน ถ่าน เป็นหลักเพื่อให้ได้เมี่ยง-ชา ที่มีกลิ่นหอมคุณภาพดี
โดยการทำเมี่ยงของที่นี่ หลังจากเก็บใบเมี่ยงมาแล้ว จะนำไปนึ่งในถังไม้อังเตาถ่านจนได้ที่ จากนั้นนำออกมาหมักให้มีรสเปรี้ยว ทำเป็นเมี่ยงฝาด เมี่ยงส้ม ส่งขาย
ส่วนการทำชานั้น หลังจากเก็บใบชามาแล้ว จะนำใบสดใบคั่วในเครื่องคั่วชา(อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 100 องศาเซลเซียส)จนชาส่งกลิ่นหอม แล้วนำมานวดรีดน้ำให้ชาขมวดเป็นเส้น เป็นใบชากรอบพร้อมส่งขาย
ทั้งนี้ในกระบวนการทำเมี่ยง-ชา ของที่นี่ ได้เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวผู้สนใจได้ทดลองทำ เป็นการท่องเที่ยวเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ ที่นักท่องเที่ยวจะได้มีโอกาสในกระบวนการเรียนรู้ไปด้วย
หลังชมวิธีการทำเมี่ยงและชาแล้ว กิจกรรมต่อไปถือผมถือเป็นไฮไลท์นั่นก็คือการไปชิมอาหารจากเมี่ยงและชา ทั้งเมี่ยง(หมัก)สดๆใหม่ๆ กินกับเกลือเม็ดให้รสเด็ดทีเดียว(สำหรับคนที่ชอบ) ส่วนที่ถือเป็นทีเด็ดก็คือยำใบชาใส่ปลากระป๋องที่ดูจะเป็นที่ติดออกติดใจพวกเราชาวคณะยิ่งนัก
นอกจากนี้ก็ยังมีอาหารพื้นบ้านอื่นๆตามฤดูกาล ต้ม-แกง น้ำพริก-ผักจิ้ม หน่อไม้ ที่ล้วนแต่ทำจากพืชผักปลอดสารพิษตามฤดูกาลในพื้นที่
นี่ถือเป็นหนึ่งในโปรแกรมกิจกรรมท่องเที่ยวชุมชนของหมู่บ้านโป่งน้ำร้อน(มี 3 โปรแกรมให้เลือก) ซึ่งโดดเด่นไปด้วยวิถีการทำเมี่ยงชา กินอาหารพื้นบ้านอร่อยๆ พาไปชมการทำ“แคบเจ” ของชุมชนสองแคว(หย่อมบ้านชาวจีนยูนนานของบ้านโป่งน้ำร้อน) เที่ยวสัมผัสวิถีชีวิตชนเผ่าชาวอาข่า ชมไร่ชา การทำชา เดินป่า ร่วมเก็บใบเมี่ยง-ใบชา มัดใบชา เที่ยวสวนผลไม้เมืองหนาว เที่ยวน้ำตกห้วยแก้วใสเย็น เที่ยวบ่อน้ำพุร้อน อาบน้ำแร่
รวมไปถึงการพักค้างแบบโฮมสเตย์ในบรรยากาศบ้านเล็กกลางป่าใหญ่(เป็นโฮมสเตย์ที่ไม่ได้พักรวมกับชาวบ้าน แต่ได้สร้างเป็นที่พักชุมชนแยกออกมาต่างหากโดยมีชาวบ้านดูแล) ไปสูดโฮโซนให้ชุ่มปอด ใช้ชีวิตต่อนยอนสโลว์ไลฟ์ สัมผัสถึงความเป็นอยู่อันเรียบง่าย และเรียนรู้ในวิถีพอเพียงตามรอยพ่อ
สำหรับคำว่า“พอ”คำเดียวสั้นๆนี้ พูดง่ายแต่กลับปฏิบัติยากกระไรปานนั้น
โลกของเรา ถ้ามวลมนุษยชาติมีคำว่าพอเป็นแนวทางในการดำรงชีวิต โลกจะน่าอยู่มากขึ้นและดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้มากโข
******************************************
บ้านโป่งน้ำร้อน ตั้งอยู่ที่ ต.ดอยฮาง อ.เมือง จ.เชียงราย บนอยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงรายประมาณ 30 กม. เป็นแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้แนววิถีชุมชนที่โดดเด่นในเรื่องของการทำเมี่ยง-ชา แบบภูมิปัญญาดั้งเดิม
บ้านโป่งน้ำร้อน ปัจจุบันมีกิจกรรมท่องเที่ยว-เรียนรู้ ให้เลือก 3 โปรแกรม ได้แก่
1.“แอ่วม่วน กิ๋นเมี่ยง” 1 วัน ไป-กลับ
10.00 น. : รับฟังข้อมูลท่องเที่ยว ณ ศูนย์การเรียนรู้โดยชุมชน,เที่ยววัฒนธรรมและวิถีชีวิตคนพื้นเมือง,ทานอาหารกลางวัน ชมการแสดง
13.00 น. : ชมน้ำตกห้วยแก้วท่ามกลางขุนเขา,ชมไร่ชาอู่หลง,ชมวัฒนธรรมและวิถีชีวิตชนเผ่าชาวล่าหู และจีนฮ่อ
15.30 น. : พบกันที่ศูนย์ฯ อุดหนุนผลิตภัณฑ์ชุมชน,รับคำขอบคุณ เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ
2. “แอ่ว 2 วัน ได้วัฒนธรรม 4 ชนเผ่า” 2 วัน 1 คืน
วันที่ 1
10.00 น. : แนะนำข้อมูลชุมชน ณ ศูนย์การเรียนรู้โดยชุมชน, ร่วมกิจกรรมวัฒนธรรมชนเผ่าลีซอ ดูน้ำบ่อไก่(บ่อน้ำเล็กๆไม่เคยเหือดแห้ง ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์) เที่ยวชมลานวิว, เก็บบรรยากาศไร่ชาอู่หลง ชมวัฒนธรรม ประเพณีมูเซอ จีนฮ่อ
12.00 น. : รับประทานอาหารกลางวัน ลิ้มรสอาหารเจอร่อย และอาหารท้องถิ่นมูเซอ จีนฮ่อ
13.00 น. : ชมวิถีชีวิตชาวอาข่า,ชมน้ำตกห้วยแก้วท่ามกลางขุนเขา,กลับที่พักด้วยรถบริการในชุมชน
18.00 น. : รับประทานอาหารเย็นที่ศูนย์ฯ ชมการแสดง เข้าที่พัก พักผ่อนตามอัธยาศัย
วันที่ 2
07.00 น. : รับประทานอาหารเช้า ณ ที่พัก,ชมผลิตภัณฑ์ชุมชน,ร่วมกิจกรรมเก็บเมี่ยง ชา ณ สวนเมี่ยง
12.00น. : ลิ้มรสอาหารพื้นบ้าน กลางสวนเมี่ยง และชมการผลิตเมี่ยง-ชา,ชมและอุดหนุนผลิตภัณฑ์จากชุมชน
15.30 น. : รับคำขอบคุณ เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ
3.“สืบสานวัฒนธรรมชนเผ่า ฟังเรื่องเล่าน้ำตกห้วยแก้ว” 2 วัน 1 คืน(นอนในป่า)
วันที่ 1
10.00 น. : แนะนำข้อมูลชุมชน ทำความรู้จักกับไกด์ท้องถิ่น,เที่ยวในหมู่บ้านกลุ่มคนเมือง ชมการแปรรูปเมี่ยง-ชา
12.00 น. : พักรับประทานอาหารที่ศูนย์การเรียนรู้โดยชุมชน เตรียมตัวเดินทางทัวร์ป่า
13.00 น. : นั่งรถไปยังจุดเริ่มต้นเดินป่า สัมผัสธรรมชาติสองข้างทาง ชมต้นเมี่ยง น้ำตกห้วยนางหล่อย ชมขุนเขา ป่าไม้ต้นน้ำ,ร่วมกิจกรรมประกอบอาหารแบบธรรมชาติ ณ จุดพักนอน และแปลกเปลี่ยนเรียนรู้รอบกองไฟ พร้อมกิจกรรมจิบชาอัสสัม
21.00 น. : นอนกลางป่าใต้แสงจันทร์,ชมวิวราตรีเห็นแสงสีตัวเมืองเชียงราย
วันที่ 2
06.00 น. : ตื่นนอน ชมพระอาทิตย์ขึ้นจากสันเขา,ลิ้มรสอาหารแบบธรรมชาติกลางขุนเขา เช่น ข้าวหลาม ไข่กระบอก ต้มไก่ป่าใส่ธิดาทะเล น้ำพริกนรกเทพธิดาดอย
08.00 น. ออกเดินทางออกจากป่า ชมธรรมชาติสองข้างทาง,เที่ยวสวนผลไม้เมืองหนาว,เที่ยวน้ำตกห้วยแก้วท่ามกลางขุนเขา,เที่ยวชมวิถีวัฒนธรรมชนเผ่าอาข่า,เก็บบรรยากาศไร่ชาอู่หลง,เที่ยวชมของดีที่หมู่บ้านมูเซอ จีนฮ่อ
12.00 น. : นั่งรถกลับมาที่ศูนย์ฯ,ทานอาหารกลางวัน ชมการแสดง,ชมและอุดหนุนผลิตภัณฑ์ชุมชน
15.30 น. : รับคำขอบคุณ เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ
ผู้สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 081-764-6991,053-163-337,081-179-4319 และสามารถสอบถามข้อมูล สถานที่ท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหาร การเดินทาง ใน จ.เชียงราย เพิ่มเติมได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานเชียงราย (ดูแลพื้นที่เชียงราย,พะเยา) 0-5371-7433
*****************************************
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com
“เมี่ยง ฉันคือต้นเมี่ยง
ฉันเลี้ยงชาวบ้าน ให้มีการงาน บันดาลเงินมา
ฉันเกิดเติบโต สุขโขในป่า ชาวบ้านทำชา ทำเมี่ยงจากใบ
ฉันชอบอยู่ป่า ไปหาก็ได้ ที่ใต้ต้นไม้ ใบเขียวขจี
ถ้าเธอรักเมี่ยง ขอเพียงรักดี ป่าไม้ที่มี อย่าตัดทำลาย”
ครู“ยุพิน เตมิยะ” เอื้อยเอ่ยกลอน“เมี่ยง”ที่แต่งขึ้นด้วยใจ(จากประสบการณ์ตรง) ทักทายผมกับเพื่อนๆอาคันตุกะต่างถิ่นผู้มาเยือน ในทันทีที่พวกเรามาถึงยังโรงทำเมี่ยงของหมู่บ้าน“โป่งน้ำร้อน” บ้านเล็กกลางป่าใหญ่อันทรงเสน่ห์แห่งจังหวัดเชียงราย
บ้านโป่งน้ำร้อน
บ้านโป่งน้ำร้อน ตั้งอยู่ที่ ต.ดอยฮาง อ.เมือง จ.เชียงราย บนระดับความสูงประมาณ 1,500 เมตรจากน้ำทะเล และอยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงรายขึ้นไปบนขุนเขาประมาณ 30 กม.
บ้านโป่งน้ำร้อน เป็นหมู่บ้านเล็กกลางป่าใหญ่ทามกลางหุบเขาที่ยังคงสภาพของผืนป่าอันร่มรื่น มีอากาศเย็นสบาย อีกทั้งยังได้รับการคัดเลือกให้เป็นหมู่บ้านเข้มแข็งตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามโครงการ “แผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง” ปี 2558
เหตุที่หมู่บ้านแห่งนี้มีชื่อว่าบ้านโป่งน้ำร้อนก็เนื่องมาจากมีพุน้ำร้อนตั้งอยู่ในละแวกหมู่บ้าน มีข้อมูลระบุว่าหมู่บ้านโป่งน้ำร้อน ก่อตั้งขึ้นในราวปี พ.ศ. 2475 นำโดยกลุ่มคนเมืองที่ขึ้นมาล่าสัตว์ แล้วเห็นว่าในผืนป่าบนดอยสูงแห่งนี้มีต้นเมี่ยง(ต้นชา)ขึ้นอุดมสมบูรณ์ จึงขึ้นมาก่อสร้างบ้านเรือน อพยพครอบครัวชวนเพื่อนฝูงขึ้นมาก่อตั้งเป็นชุนชนเล็กๆ มีอาชีพเก็บใบเมี่ยงขาย
จากแรกๆที่มีอยู่กันไม่กี่หลังคาเรือน เฉพาะกลุ่มบ้านของคนเมือง ก็มีชนเผ่าอื่นๆอพยพเข้ามาอยู่อาศัยตาม จนปัจจุบันชุมชนขยายเติบใหญ่ ภายในหมู่บ้านประกอบด้วย 4 หย่อมบ้านหลักๆ ได้แก่ หย่อมบ้านคนเมือง หย่อมบ้านจีนฮ่อ หย่อมบ้านอาข่า และหย่อมบ้านลีซอ
ด้วยความที่ชุมชนโป่งน้ำร้อนมีความโดดเด่นในเรื่องวิถีการทำเมี่ยงของคนเมืองแล้ว อีก 3 ชนเผ่าคือ จีนฮ่อ อาข่า ลีซอ ต่างก็มีวิถีวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ รวมถึงตัวหมู่บ้านยังตั้งอยู่กลางขุนเขาที่มีป่าไม้ร่มร่น มีอากาศดี มีวิวทิวทัศน์อันสวยงาม และมีสิ่งน่าสนใจในละแวกหมู่บ้านให้เที่ยวชมกันหลายแห่งด้วยกัน
ปัจจุบันทางชุมชนจึงได้จัดตั้งเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ที่ทาง “การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย”(ททท.) ภูมิภาค ภาคเหนือ และ ททท.เชียงราย ได้เข้ามาร่วมส่งเสริมประชาสัมพันธ์ให้รู้จักกันในวงกว้างยิ่งขึ้น
วิถีเมี่ยง-วิถีชา
หลังผมเดินทางมาถึงยังบ้านโป่งน้ำร้อน ครูยุพินกล่าวคำกลอนทักทาย พร้อมให้ข้อมูลเบื้องต้นคร่าวเกี่ยวกับเมี่ยง ก็ได้ส่งไม้ต่อให้พี่ชาย คือพี่“เดชา เตมิยะ” หนึ่งในผู้บุกเบิกด้านการท่องเที่ยวชุมชนของหมู่บ้าน พาไปสัมผัสกับวิถีเมี่ยงและวิถีชาที่ถือเป็นหนึ่งในไฮไลท์ของชุมชนโป่งน้ำร้อนแห่งนี้
พี่เดชา แนะนำตัวเองว่าเขาเป็นลูกชาวเมี่ยงเช่นเดียวกับหลายๆคนในหมู่บ้านแห่งนี้ ที่เกิดและโตมากับการทำเมี่ยง สร้างฐานะ มีเงินส่งลูกเรียน ได้ก็เพราะเมี่ยง เขาบอกว่าถ้าใครขยันนี่ เมี่ยงสามารถสร้างรายได้งามให้แก่ครอบครัวนั้นๆได้เลยทีเดียว
เมี่ยงหรือชาที่บ้านโป่งน้ำร้อน มีทั้งชาชาพันธุ์อู่หลงที่ชาวบ้านปลูกขึ้นทีหลังในลักษณะของไร่ชา และชาพื้นเมืองพันธุ์อัสสัมที่ขึ้นเติบโตมาในป่าดั้งแต่ดั้งเดิม ก่อนที่ชาวบ้านจะมาปลูกแซมเพิ่มเติมไปในผืนป่าตามต้นไม้ใหญ่ๆ ซึ่งชาวบ้านที่นี่เขาเน้นการอยู่ร่วมกับป่าอย่างอนุรักษ์ มีการแบ่งโซนนิ่งของพื้นที่ป่าไม้ในชุมชน เป็นป่าอนุรักษ์ ป่าต้นน้ำ และป่าใช้สอย อีกทั้งยังมีการปลูกพืชผักผลไม้อื่นๆในลักษณะของสวนผสมร่วมเข้าไปในผืนป่าใช้สอย อันเป็นการเดินตามรอยพ่อในแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
สำหรับวิถีการทำเมี่ยงและชาของบ้านโป่งน้ำร้อนที่ชาวชุมชนแห่งนี้ภูมิใจนำเสนอก็คือการทำเมี่ยงและชาพันธุ์อัสสัม โดยพี่เดชาได้พาเราไปเดินป่าชุมชนชมต้นเมี่ยงดั้งเดิมต้นสูงใหญ่ในผืนป่าริมทางใกล้ๆหมู่บ้าน
“ต้นเมี่ยงดั้งเดิม(พันธุ์อัสสัม)ที่นี่ขึ้นตามธรรมชาติ เติบโตตามธรรมชาติ ปีหนึ่งๆพวกเขาจะเก็บเมี่ยงกันถึง 9 เดือน(มี.ค.-พ.ย.) พัก 3 เดือน(ธ.ค.-ก.พ.) เมี่ยงก็คือชาชนิดหนึ่ง ที่นี่ ชาจะเก็บยอดใบอ่อน ส่วนเมี่ยงจะเก็บใบแก่”
พี่เดชาบอกระหว่างพาเดินป่าดูต้นเมี่ยง พร้อมกับเด็ดใบเมี่ยง(อัสสัม)มาให้ผมลองกินพร้อมกับบอกว่า ใบเมี่ยงกินดิบๆได้ และแก้ง่วงได้ดี ซึ่งก็จริงดังแกว่า พอผมส่งใบเมี่ยงเข้าปาก เจอรส“ขมปี๋” ของเมี่ยงเข้าไป งานนี้เล่นเอาตาสว่างขึ้นมาทันที
สำหรับเมี่ยงของทางภาคเหนือ หรือที่หลายๆคนเรียกว่า“เมี่ยงชา”นั้น เป็นของกินเล่น เป็นการนำใบเมี่ยง(ใบชาแก่)มาหมัก(ผ่านกระบวนการต่างๆ)จนได้ที่ความขมคลาย มีรสเปรี้ยว ฝาด คนเหนือนิยมเคี้ยวกินเล่น ด้วยทำให้ชุ่มคอ แก้กระหาย ช่วยย่อยอาหาร และมีสรรพคุณอีกหลากหลาย
ปัจจุบันแม้การกินเมี่ยงของคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ในภาคเหนือจะลดน้อยถอยลง แต่กิจการการทำเมี่ยงในหลายพื้นที่ก็ยังคงทำรายได้ได้ดีอยู่(ดังเช่นที่บ้านป่าเมี่ยง) แถมบางพื้นที่ยังส่งเมี่ยงไปขายยังประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย
นอกจากนี้ยังมีการนำใบเมี่ยงมาทำเป็นอาหารอีกหลากหลาย รวมถึงมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆได้อีกด้วย ซึ่งการทำเมี่ยงในหลายพื้นที่สามารถสร้างรายได้อย่างงาม
แต่อย่างไรก็ดี การทำเมี่ยงก็เหมือนกับอาชีพจากภูมิปัญญาอื่นๆที่คนรุ่นใหม่ไม่นิยมสานต่อ
“ทำเมี่ยงมันเหนื่อย สู้ทำงานนั่งสบายๆในห้องแอร์สี่เหลี่ยมไม่ได้”
พี่เดชาว่าอย่างนั้นเพราะถึงแม้ว่าการทำเมี่ยงที่นี่จะทำรายได้ดี(เนื่องจากตลาดยังต้องการอยู่มาก) สามารถส่งลูกหลานเรียนจบปริญญา ครอบครัวมีฐานะความเป็นอยู่ที่ดี แต่การทำเมี่ยงมันก็เหนื่อยและดูไม่โก้หรูเท่ากับการทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือนนั่งโต๊ะ
นี่ถือเป็นปัญหาระดับชาติ ที่ระบบการศึกษาบ้านเราวันนี้ยังไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาได้ตรงจุด
เมี่ยง-ชา น่าเรียนรู้
หลังได้ไปชมต้นเมี่ยง(พันธุ์อัสสัม)ต้นสูงใหญ่ในป่าแบบของแท้ดั้งเดิม และลองลิ้มรสใบเมี่ยงสดๆเปล่าๆแล้ว
พี่เดชาพาเรามาชมกระบวนการทำเมี่ยงในแบบภูมิปัญญาดั้งเดิมของบ้านโป่งน้ำร้อน ใช้ไฟ ฟืน ถ่าน เป็นหลักเพื่อให้ได้เมี่ยง-ชา ที่มีกลิ่นหอมคุณภาพดี
โดยการทำเมี่ยงของที่นี่ หลังจากเก็บใบเมี่ยงมาแล้ว จะนำไปนึ่งในถังไม้อังเตาถ่านจนได้ที่ จากนั้นนำออกมาหมักให้มีรสเปรี้ยว ทำเป็นเมี่ยงฝาด เมี่ยงส้ม ส่งขาย
ส่วนการทำชานั้น หลังจากเก็บใบชามาแล้ว จะนำใบสดใบคั่วในเครื่องคั่วชา(อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 100 องศาเซลเซียส)จนชาส่งกลิ่นหอม แล้วนำมานวดรีดน้ำให้ชาขมวดเป็นเส้น เป็นใบชากรอบพร้อมส่งขาย
ทั้งนี้ในกระบวนการทำเมี่ยง-ชา ของที่นี่ ได้เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวผู้สนใจได้ทดลองทำ เป็นการท่องเที่ยวเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ ที่นักท่องเที่ยวจะได้มีโอกาสในกระบวนการเรียนรู้ไปด้วย
หลังชมวิธีการทำเมี่ยงและชาแล้ว กิจกรรมต่อไปถือผมถือเป็นไฮไลท์นั่นก็คือการไปชิมอาหารจากเมี่ยงและชา ทั้งเมี่ยง(หมัก)สดๆใหม่ๆ กินกับเกลือเม็ดให้รสเด็ดทีเดียว(สำหรับคนที่ชอบ) ส่วนที่ถือเป็นทีเด็ดก็คือยำใบชาใส่ปลากระป๋องที่ดูจะเป็นที่ติดออกติดใจพวกเราชาวคณะยิ่งนัก
นอกจากนี้ก็ยังมีอาหารพื้นบ้านอื่นๆตามฤดูกาล ต้ม-แกง น้ำพริก-ผักจิ้ม หน่อไม้ ที่ล้วนแต่ทำจากพืชผักปลอดสารพิษตามฤดูกาลในพื้นที่
นี่ถือเป็นหนึ่งในโปรแกรมกิจกรรมท่องเที่ยวชุมชนของหมู่บ้านโป่งน้ำร้อน(มี 3 โปรแกรมให้เลือก) ซึ่งโดดเด่นไปด้วยวิถีการทำเมี่ยงชา กินอาหารพื้นบ้านอร่อยๆ พาไปชมการทำ“แคบเจ” ของชุมชนสองแคว(หย่อมบ้านชาวจีนยูนนานของบ้านโป่งน้ำร้อน) เที่ยวสัมผัสวิถีชีวิตชนเผ่าชาวอาข่า ชมไร่ชา การทำชา เดินป่า ร่วมเก็บใบเมี่ยง-ใบชา มัดใบชา เที่ยวสวนผลไม้เมืองหนาว เที่ยวน้ำตกห้วยแก้วใสเย็น เที่ยวบ่อน้ำพุร้อน อาบน้ำแร่
รวมไปถึงการพักค้างแบบโฮมสเตย์ในบรรยากาศบ้านเล็กกลางป่าใหญ่(เป็นโฮมสเตย์ที่ไม่ได้พักรวมกับชาวบ้าน แต่ได้สร้างเป็นที่พักชุมชนแยกออกมาต่างหากโดยมีชาวบ้านดูแล) ไปสูดโฮโซนให้ชุ่มปอด ใช้ชีวิตต่อนยอนสโลว์ไลฟ์ สัมผัสถึงความเป็นอยู่อันเรียบง่าย และเรียนรู้ในวิถีพอเพียงตามรอยพ่อ
สำหรับคำว่า“พอ”คำเดียวสั้นๆนี้ พูดง่ายแต่กลับปฏิบัติยากกระไรปานนั้น
โลกของเรา ถ้ามวลมนุษยชาติมีคำว่าพอเป็นแนวทางในการดำรงชีวิต โลกจะน่าอยู่มากขึ้นและดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้มากโข
******************************************
บ้านโป่งน้ำร้อน ตั้งอยู่ที่ ต.ดอยฮาง อ.เมือง จ.เชียงราย บนอยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงรายประมาณ 30 กม. เป็นแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้แนววิถีชุมชนที่โดดเด่นในเรื่องของการทำเมี่ยง-ชา แบบภูมิปัญญาดั้งเดิม
บ้านโป่งน้ำร้อน ปัจจุบันมีกิจกรรมท่องเที่ยว-เรียนรู้ ให้เลือก 3 โปรแกรม ได้แก่
1.“แอ่วม่วน กิ๋นเมี่ยง” 1 วัน ไป-กลับ
10.00 น. : รับฟังข้อมูลท่องเที่ยว ณ ศูนย์การเรียนรู้โดยชุมชน,เที่ยววัฒนธรรมและวิถีชีวิตคนพื้นเมือง,ทานอาหารกลางวัน ชมการแสดง
13.00 น. : ชมน้ำตกห้วยแก้วท่ามกลางขุนเขา,ชมไร่ชาอู่หลง,ชมวัฒนธรรมและวิถีชีวิตชนเผ่าชาวล่าหู และจีนฮ่อ
15.30 น. : พบกันที่ศูนย์ฯ อุดหนุนผลิตภัณฑ์ชุมชน,รับคำขอบคุณ เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ
2. “แอ่ว 2 วัน ได้วัฒนธรรม 4 ชนเผ่า” 2 วัน 1 คืน
วันที่ 1
10.00 น. : แนะนำข้อมูลชุมชน ณ ศูนย์การเรียนรู้โดยชุมชน, ร่วมกิจกรรมวัฒนธรรมชนเผ่าลีซอ ดูน้ำบ่อไก่(บ่อน้ำเล็กๆไม่เคยเหือดแห้ง ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์) เที่ยวชมลานวิว, เก็บบรรยากาศไร่ชาอู่หลง ชมวัฒนธรรม ประเพณีมูเซอ จีนฮ่อ
12.00 น. : รับประทานอาหารกลางวัน ลิ้มรสอาหารเจอร่อย และอาหารท้องถิ่นมูเซอ จีนฮ่อ
13.00 น. : ชมวิถีชีวิตชาวอาข่า,ชมน้ำตกห้วยแก้วท่ามกลางขุนเขา,กลับที่พักด้วยรถบริการในชุมชน
18.00 น. : รับประทานอาหารเย็นที่ศูนย์ฯ ชมการแสดง เข้าที่พัก พักผ่อนตามอัธยาศัย
วันที่ 2
07.00 น. : รับประทานอาหารเช้า ณ ที่พัก,ชมผลิตภัณฑ์ชุมชน,ร่วมกิจกรรมเก็บเมี่ยง ชา ณ สวนเมี่ยง
12.00น. : ลิ้มรสอาหารพื้นบ้าน กลางสวนเมี่ยง และชมการผลิตเมี่ยง-ชา,ชมและอุดหนุนผลิตภัณฑ์จากชุมชน
15.30 น. : รับคำขอบคุณ เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ
3.“สืบสานวัฒนธรรมชนเผ่า ฟังเรื่องเล่าน้ำตกห้วยแก้ว” 2 วัน 1 คืน(นอนในป่า)
วันที่ 1
10.00 น. : แนะนำข้อมูลชุมชน ทำความรู้จักกับไกด์ท้องถิ่น,เที่ยวในหมู่บ้านกลุ่มคนเมือง ชมการแปรรูปเมี่ยง-ชา
12.00 น. : พักรับประทานอาหารที่ศูนย์การเรียนรู้โดยชุมชน เตรียมตัวเดินทางทัวร์ป่า
13.00 น. : นั่งรถไปยังจุดเริ่มต้นเดินป่า สัมผัสธรรมชาติสองข้างทาง ชมต้นเมี่ยง น้ำตกห้วยนางหล่อย ชมขุนเขา ป่าไม้ต้นน้ำ,ร่วมกิจกรรมประกอบอาหารแบบธรรมชาติ ณ จุดพักนอน และแปลกเปลี่ยนเรียนรู้รอบกองไฟ พร้อมกิจกรรมจิบชาอัสสัม
21.00 น. : นอนกลางป่าใต้แสงจันทร์,ชมวิวราตรีเห็นแสงสีตัวเมืองเชียงราย
วันที่ 2
06.00 น. : ตื่นนอน ชมพระอาทิตย์ขึ้นจากสันเขา,ลิ้มรสอาหารแบบธรรมชาติกลางขุนเขา เช่น ข้าวหลาม ไข่กระบอก ต้มไก่ป่าใส่ธิดาทะเล น้ำพริกนรกเทพธิดาดอย
08.00 น. ออกเดินทางออกจากป่า ชมธรรมชาติสองข้างทาง,เที่ยวสวนผลไม้เมืองหนาว,เที่ยวน้ำตกห้วยแก้วท่ามกลางขุนเขา,เที่ยวชมวิถีวัฒนธรรมชนเผ่าอาข่า,เก็บบรรยากาศไร่ชาอู่หลง,เที่ยวชมของดีที่หมู่บ้านมูเซอ จีนฮ่อ
12.00 น. : นั่งรถกลับมาที่ศูนย์ฯ,ทานอาหารกลางวัน ชมการแสดง,ชมและอุดหนุนผลิตภัณฑ์ชุมชน
15.30 น. : รับคำขอบคุณ เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ
ผู้สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 081-764-6991,053-163-337,081-179-4319 และสามารถสอบถามข้อมูล สถานที่ท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหาร การเดินทาง ใน จ.เชียงราย เพิ่มเติมได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานเชียงราย (ดูแลพื้นที่เชียงราย,พะเยา) 0-5371-7433
*****************************************
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com