โดย : ปิ่น บุตรี(pinn109@hotmail.com)
...อ.เบตง จ.ยะลา
ในคืนและวันแห่งความทรงจำ
ฟ้าใกล้สว่างแล้ว...แต่ไม่มีเสียงแว่วของสกุณา เพราะเช้ามืดวันนี้ฝนยังคงตกพรำ
หากเป็นยามปกติบรรยากาศอย่างนี้ ผมคงนอนซุกตัวหลับอุตุอยู่ใต้ผ้าห่มแบบจัดเต็มลืมตื่น
แต่ทว่า เช้าวันนี้เป็นวันพิเศษที่ผมกับเพื่อนๆมีนัดกันตื่นแต่เช้ามืด เพื่อไปเฝ้ารอลุ้นชม“ทะเลหมอกอัยเยอร์เวง” ด้วยความหวังว่า ถ้าฝนหยุดตก เช้าวันนี้คงจะมีโอกาสเห็นทะเลหมอกบ้างไม่มากก็น้อย
...เพราะการมีความหวังแม้เพียงเล็กน้อย ยังไงย่อมดีกว่าการสิ้นไร้ในความหวัง...
ทะเลหมอกอัยเยอร์เวง
จุดชมทะเลหมอกอัยเยอร์เวง มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 2,038 ฟุต ตั้งอยู่บนยอด“เขากุนุงซิลิปัต”หรือ“เขาไมโครเวฟ” บริเวณ กม.32(ถนนยะลา-เบตง) ต.อัยเยอร์เวง อ.เบตง(ห่างจาก อบต.อัยเยอร์เวง ประมาณ 7-8 กม.)
ปัจจุบันบริเวณจุดชมวิวแห่งนี้มีการสร้างเป็นอาคารชมวิวให้ขึ้นไปชมทิวทัศน์บนนั้นได้อย่างสวยงามกว้างไกล ส่วนเหตุที่เขาลูกนี้ได้ชื่อว่าเขาไมโครเวฟก็เพราะเป็นที่ตั้งของเสาส่งคลื่นสัญญาณโทรศัพท์ ชาวบ้านจึงตั้งฉายาให้เป็น“เขาไมโครเวฟ”และก็เรียกชื่อนี้กันมาจนติดปาก ก่อนที่ภายหลังจะเปลี่ยนมาเรียกว่าจุดชม“ทะเลหมอกอัยเยอร์เวง” เพื่อโปรโมทแบรนด์อัยเยอร์เวงให้รู้จักกันอย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น
ปกติยามเช้าบนจุดชมวิวเขาไมโครเวฟ คนในพื้นที่บอกกับผมว่า มีโอกาสที่จะได้เห็นทะเลหมอกลอยสวยงามแน่นหนาทึบสูงถึง 70-80 %
แต่...สำหรับเช้าวันนี้ที่ยังคงมีฝนตกพรำ ขอเพียงแค่ให้ฝนหยุดตก ฟ้าเปิด พอมองเห็นวิวทิวทัศน์ก็ดีมากแล้ว
อย่างไรก็ดี เรื่องของธรรมชาติเอาแน่เอานอนไม่ได้ เพราะหลังจากที่พวกเราเดินทางไปถึงยังยอดเขาไมโครเวฟ พอแสงตะวันเริ่มเรื่อเรื่องสาดส่อง ไม่นานนักความโชคดีอย่างร้ายกาจก็เกิดขึ้น เมื่อจู่ๆฝนที่โปรยสายมาครึ่งค่อนคืนพลันมลายหายไป ทิ้งไว้เพียงร่องรอยหยาดน้ำฟ้าอันชุ่มชื่นเย็นฉ่ำท้องฟ้าค่อยๆทยอยเปิด มองเห็นวิวทิวทัศน์ของทะเลภูเขาอันสลับซับซ้อนทอดตัวยาวไกล
หลังจากนั้นเพียงอีกไม่กี่อึดใจ ไอน้ำ ตามพื้นดิน ขุนเขา สายน้ำ ตามสุมทุมพุ่มไม้ในบริเวณนั้น ที่ถูกแสงอาทิตย์โลมไล้ ค่อยๆลอยมาจับตัวกันเป็นสายหมอก ลอยละล่องฟูฟ่องกระจายเป็นหย่อมๆไปทั่วบริเวณ ดูเป็นริ้วเป็นคลื่นลอยระริกหยอกเหย้าเคล้าไปกับขุนเขาน้อยใหญ่
ช่องเขาบางช่วงมีลมแรง พัดสายหมอกลอยกระจาย บัดเดี๋ยวมา บัดเดี๋ยวไป ดูฟุ้งไปทั่วบริเวณ บางช่วงทั้งสายหมอก ก้อนเมฆ ลอยผสมกลมกลืน ท่ามกลางทะเลภูเขาน้อย-ใหญ่ คล้ายๆกับวิวในยามที่มองลงมาจากหน้าต่างเครื่องบิน
นับเป็นบรรยากาศชวนฟุ้งฝันในยามเช้านอกตัวเมืองเบตง ที่แม้จะไม่ใช่วิวของทะเลหมอกที่สวยที่สุดของที่นี่ แต่สำหรับเช้าวันนี้ที่มีความหวังเลือนราง ได้เห็นวิวงามๆเท่านี้ก็ถือว่าดีมากโขแล้ว
ใต้สุดสยาม
นอกจากทะเลหมอกอัยเยอร์เวงที่ถือเป็นจุดไฮไลท์สำคัญในทริปเที่ยวเบตงของผมกับเพื่อนๆแล้ว ในอำเภอเบตงบริเวณนอกตัวเมืองออกไป ยังมีสถานที่น่าสนใจอีกหลากหลายจุดให้ไปสัมผัสเที่ยวชมกัน
เริ่มกันที่ “ป้ายใต้สุดสยาม” ที่ตั้งอยู่ที่ “ด่านพรมแดนเบตง” หรือ “ด่านตรวจคนเข้าเมืองเบตง” บริเวณชายแดนไทย-มาเลเซีย ไปตามถนนสุขยางค์ บนเส้นทางสาย 410 ห่างจากตัวเมืองเบตงประมาณ 7 กม.
ป้ายใต้สุดสยามทำด้วยหินอ่อน มีตัวหนังสือและรูปแผนที่ประเทศไทยเป็นสีทอง ถือเป็นอีกหนึ่งจุดสำคัญที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่มาเยือนเบตงนิยมมาถ่ายรูป เซลฟี่ วีฟี่ คู่กับป้ายแห่งนี้เป็นจำนวนมาก
บ่อน้ำพุร้อนเบตง
จากนอกเมืองเบตงทางโซนทิศใต้ ขึ้นไปเที่ยวนอกเมืองเบตงทางโซนทิศเหนือกันบ้าง(ทางไป จ.ยะลา)
เส้นทางสายนี้มีสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจหลากหลายให้เที่ยวชม ระหว่างทางมีวิวทิวทัศน์สวยงาม และสามารถเที่ยวชมได้เป็นวงรอบ (แต่ก็ต้องขับรถด้วยความระมัดระวัง เพราะเป็นเส้นทางไต่เลาะขุนเขา ลดเลี้ยวเคี้ยวโค้ง)
สำหรับที่เที่ยวเด่นๆนอกเมืองเบตงโซนทิศเหนือ มี 3 จุดหลักๆอยู่ในเส้นทางเดียวกันให้เลือกเที่ยว โดยโปรแกรมการเที่ยวว่าจะเริ่มจากจุดไหนก่อน-หลังนั้น ขึ้นอยู่กับการวางแผนของแต่ละคน ซึ่งผมขอเลือกแนะนำสถานที่จากจุดใกล้สุดไล่ไปไกลสุด
เริ่มจาก “บ่อน้ำพุร้อนเบตง” ที่ตั้งอยู่ที่ บ้านบ่อน้ำร้อน(ม.2) ต.ตาเนาะแมเราะ อ.เบตง ไปตามเส้นทางสาย 410 (ยะลา-เบตง) ประมาณ กม. 4 แล้วแยกไปตามเส้นทางถนนคอนกรีตอีกประมาณ 8 กม. ก็จะถึงยังบ่อน้ำพุร้อนเบตง
บ่อน้ำพุร้อนเบตง ดั้งเดิมเป็นแหล่งน้ำร้อนตามธรรมชาติขนาดใหญ่ ถูกค้นพบโดยชาวจีนที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่แถวเขตพรมแดนไทย-มาเลเซีย ปัจจุบันได้รับการพัฒนาสร้างเป็นสระน้ำ(ร้อน)สาธารณะขนาดใหญ่ มีอุณหภูมิประมาณ 80 องศาเซลเซียส สามารถลวกไข่ให้สุกได้ใน 7 นาที พร้อมทั้งมีการสร้างสระย่อยที่ลดทอนความร้อนของน้ำลงมา สำหรับแช่เท้าหรือลงอาบน้ำ และมีบ่อเล็กๆให้ลวกไข่ ซึ่งสามารถซื้อไข่ไก่ ไข่นกกระทา จากร้านค้าแถวนั้นมาลวกกินได้
นอกจากนี้ที่บริเวณบ่อพุน้ำร้อนยังมีการตกแต่งภูมิทัศน์อย่างสวยงาม มีการสร้างประติมากรรมพญานาคไว้เป็นจุดเด่นและมุมถ่ายรูป มีการสร้างรูปปั้น“ไข่หินนำโชค”ไว้ที่ป้ายบ่อน้ำพุร้อนเบตง ตรงกลางไข่สลักเป็นภาษาจีนว่า “มีความสุขตลอดกาล” ซึ่งถือเป็นอีกจุดหนึ่งที่มีนักท่องเที่ยวนิยมมาถ่ายรูปกันเป็นจำนวนมาก
ด้วยความที่บ่อน้ำพุร้อนเบตงอุดมไปด้วยแร่ธาตุจากธรรมชาติที่มีคุณประโยชน์หลากหลายต่อร่างกาย(แต่ต้องแช่ในช่วงเวลาที่เหมาะสม) และมีบรรยากาศที่สวยงาม ในแต่ละวันจึงมีทั้งนักท่องเที่ยวและคนในพื้นที่เดินทางมาใช้บริการ แช่เท้า อาบน้ำ พักผ่อน ที่บ่อพุน้ำร้อนแห่งนี้กันไม่ขาดสาย
สวนหมื่นบุปผา
ไฮไลท์ที่เที่ยวนอกเมืองเบตงจุดต่อมาคือ “สวนไม้ดอกเมืองหนาวเบตง” ที่ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านปิยะมิตร 2 ห่างจากตัวเมืองเบตงประมาณ 19 กม. และห่างจากบ่อน้ำพุร้อนเบตงประมาณ 8 กม.
สวนไม้ดอกเมืองหนาวเป็นส่วนหนึ่งของ“โครงการไม้ดอกเมืองหนาว” ตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ให้ทดลองปลูกไม้ดอกเมืองหนาวต่างๆขึ้น เนื่องจากพื้นที่แห่งนี้ มีสภาพพื้นที่เป็นเทือกเขาสูง ตั้งอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 800 เมตร มีอากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี
โครงการไม้ดอกเมืองหนาว เป็นโครงการที่มุ่งเน้นให้ชาวบ้านในพื้นที่รวมกลุ่มกันปลูกพืชเมืองหนาวส่งขายในพื้นที่ภาคใต้ สร้างรายได้เลี้ยงตัวแบบพอเพียงได้ โดยไม่ต้องเดินทางไปทำงานต่างถิ่น สำหรับพืชพรรณเด่นๆของที่นี่ ได้แก่ เบญจมาศ กุหลาบ เยอบีรา หน้าวัว ไฮเดนเยีย ดาวเรือง ทานตะวัน ซัลเวีย เป็นต้น
นอกจากนี้ยังได้พัฒนาพื้นที่ส่วนหนึ่งของโครงการให้เป็น“สวนไม้ดอกเมืองหนาวเบตง” หรือ “สวนหมื่นบุปผา” ที่วันนี้ถือเป็นหนึ่งในไฮไลท์ทางการท่องเที่ยวของ อ.เบตง
สวนหมื่นบุปผา มีการจัดสวนตกแต่งด้วยไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้ยืนต้น ก้อนหิน สระน้ำ และองค์ประกอบอื่นๆอย่างสวยงาม ภายในสวนหมื่นบุปผามีหลากหลายมุมให้เดินชื่นชมในความงาม รวมไปถึงถ่ายรูป เซลฟี่ วีฟี่ กันอย่างเพลิดเพลิน
บริเวณสวนหมื่นบุปผายังมีที่พักท่ามกลางขุนเขาในบรรยากาศดีราคาสมเหตุสมผล มีร้านอาหารของชุมชนขายอาหารเมนูเด็ดขึ้นชื่อของเบตง และของที่ระลึก ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการกินและพักค้างสำหรับผู้ที่มาเที่ยวที่ อ.เบตง
อุโมงค์ปิยะมิตร
มาถึงสถานที่ท่องเที่ยวไฮไลท์ไม่ควรพลาดจุดสุดท้ายในนอกตัวเมืองเบตง ที่ยังคงใช้เส้นทางถนนสายเดิมเดินทางขึ้นเหนือจากสวนหมื่นบุปผาไปอีกประมาณ 7 กม. ก็จะพบกับ “อุโมงค์ปิยะมิตร” ที่ตั้งอยู่ที่ กม. 12 หมู่บ้านปิยะมิตร 1 ซึ่งเป็นหมู่บ้านชาวจีนผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย ที่ได้ก่อตั้งหมู่บ้านขึ้นในยุคเดียวกับหมู่บ้านปิยะมิตร 2
อุโมงค์ปิยะมิตร สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2520(บางข้อมูลบอกปี 2519) ด้วยการใช้แรงงานคนประมาณ 50 คน ขุดเจาะด้วยจอบ-เสียมลึกเข้าไปในพื้นดิน ทำเป็นช่องทางเดิน กว้างประมาณ 5-6 ฟุต ยาวประมาณ 1 กิโลเมตร มีประตูเข้า-ออกทั้งหมด 9 ทาง แต่ปัจจุบันเปิดให้เข้า 6 ทางด้วยกัน
อุโมงค์ปิยะมิตร ตั้งอยู่บนเนินเขาบริเวณตะเข็บชายแดนไทย-มาเลเซีย ปกคลุมด้วยป่าทึบ เป็นอดีตร่องรอยการสู้รบของคอมมิวนิสต์มลายา จุดประสงค์หลักเพื่อใช้เป็นฐานปฏิบัติการ เป็นที่หลบภัยทางอากาศ และที่สะสมเสบียงอาหาร
สำหรับผู้มาเที่ยวอุโมงค์ปิยะมิตร จากจุดเริ่มต้นจะต้องเดินทางขึ้นเนินเขาไปประมาณ 300 เมตร ระหว่างทางจะมี ฐานให้หยุดพักชมสิ่งที่น่าสนใจ(และพักเหนื่อยไปในตัว) ไล่ไปจาก ฐาน 1 “เห็ดหลินจือ” ชมเห็ดหลินจือธรรมชาติดอกไม้ที่อยู่บนต้นไม้ ซึ่ง อ.เบตง ถือเป็นหนึ่งในแหล่งเห็ดหลินจือขึ้นชื่อ
จากนั้นไปชมฐาน 2 “ต้นไม้มีหนาม” ที่เป็นต้นไม้มีหนาม ในยุคสู้รบชาวบ้านที่นี่นำต้นไม้ชนิดนี้ไปตำดำดินปืน เป็นอาวุธจากธรรมชาติที่มีอานุภาพและน่าทึ่งไม่น้อย
ฐานต่อไปเป็น “เตาเผาถ่าน” เป็นเตาที่ใช้เผาถ่านเพื่อหุงหาอาหารและใช้อบผ้าให้แห้ง จากนั้นก็มาถึงยังปากทางเข้าอุโมงค์ปิยะมิตร ที่นี่เป็นฐานให้ข้อมูลเกี่ยวกับ “เตาขงเบ้ง” ก่อนที่จะเข้าไปเดินชมภายในในอุโมงค์
เตาขงเบ้ง เป็นภูมิปัญญาในการหุงหาอาหารเลี้ยงกองกำลังนับร้อยคน เป็นการทำอาหารในอุโมงค์ใต้พื้นดินด้วยเทคนิคพิเศษ ใช้ทั้งทราย น้ำ ใบไม้ แปรเปลี่ยนควันจากเตาไฟให้กลายเป็นหมอกหนา ยามเครื่องบินลาดตระเวนบินตรวจ ไม่เห็นควันไฟ เห็นแต่สายหมอกลอยก็เข้าใจผิดว่าเป็นสายหมอกตามธรรมชาติ เครื่องบินจึงไม่ทิ้งระเบิดบอมบ์ลงมา
ทำให้ทั้งกองกำลังนักรบและอุโมงค์ปิยะมิตรอยู่รอดปลอดภัยมาจนทุกวันนี้ พร้อมกับเปิดให้เราได้เดินเข้าไปเที่ยวชมภายในอุโมงค์ ที่ขุดเจาะเป็นช่องซอกซอนลัดเลาะมากมายคล้ายจอมปลวกขนาดยักษ์
ภายในอุโมงค์ มีทั้งสถานีวิทยุ ห้องนอน ห้องเก็บเสบียง ห้องประกอบงานใต้ดิน มุมนั่งพัก เตียงนอน ฯลฯ ซึ่งปัจจุบันได้มีการติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างไว้ตลอดแนว อีกทั้งภายในอุโมงค์ยังมีอากาศถ่ายเทเย็นสบายไม่อึดอัด
นอกจากการเดินชมภายในอุโมงค์และฐานต่างๆตามที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว อุโมงค์ปิยะมิตรยังมีสิ่งน่าสนใจอื่นๆในเส้นทางให้เที่ยวชมกันอีก อาทิ
-พิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของกลุ่มคอมมิวนิสต์มลายา พร้อมด้วยอาวุธยุทโธปกรณ์ ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ขณะที่บริเวณผนังด้านนอกของพิพิธภัณฑ์ก็มีการวาดภาพบันทึกเรื่องราวการสู้รบในอดีตของกลุ่มคอมมิวนิสต์มลายาด้วยลายเส้น สีสันอันสวยงาม
-ศาลเจ้าแป๊ะกง อยู่ใกล้ๆกับพิพิธภัณฑ์ เป็นศาลเจ้าจีน(ศาลตายาย)ที่มีเทพเจ้าต่างๆให้สักการบูชา และร่วมทำบุญเพื่อความเป็นสิริมงคล โดยมีคุณลุงผู้ดูแลศาลคอยตีกลอง ตุ้งแช่ ตุ้งแช่ เรียกให้ผู้ผ่านไป-มา ได้แวะเวียนไปกราบไหว้สักการะเทพเจ้าต่างๆที่ศาลแป๊ะกงแห่งนี้
-ต้นไม้พันปี เป็นต้นไทรขนาดใหญ่หลายคนโอบ บริเวณรากไทรเป็นช่องอุโมงค์ที่คนสามารถเข้าไปยืนถ่ายรูปในนั้นได้ นับเป็นอีกหนึ่งไฮไลท์แห่งอุโมงค์ปิยะมิตรที่ไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง
นอกจากนี้จุดน่าสนใจตามที่ได้กล่าวมาแล้ว อุโมงค์ปิยะมิตรยังมีสิ่งน่าสนใจอื่นๆ อาทิ ซุ้มประตูทางเข้า รูปเคารพเจ้าแม่กวนอิม พระพรหมสี่หน้า และ “รูปปั้นนกพิราบ 4 ตัว” สัญลักษณ์แห่งสันติภาพที่อยู่บริเวณสวนด้านหน้าของปากทางเข้าอุโมงค์ปิยะมิตร
สำหรับอุโมงค์ปิยะมิตร ปัจจุบันได้รับการพัฒนาให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวอันสวยงาม มีการจัดตกแต่งภูมิทัศน์อย่างสวยงาม และมีการบริหารจัดการที่ดี
ที่สำคัญคือสถานที่ท่องเที่ยวแห่งนี้ สร้างสรรค์ พัฒนา และดำเนินการจากฝีมือของชาวบ้านในพื้นที่ล้วนๆ ซึ่งผมขอปรบมือให้และกดไลค์รัวๆไปพร้อมๆกัน
และนี่ก็คือมนต์เสน่ห์ของสถานที่น่าสนใจนอกตัวเมืองเบตง ซึ่งการได้กลับไปเยือนเบตงอีกครั้ง นอกจากผมจะพบว่า“เบตง ยังคงโอเค”แล้ว วันนี้เบตงยังคงมากไปด้วยเสน่ห์น่าเที่ยวชม สมดังคำขวัญประจำอำเภอเบตงที่ว่า
“เมืองในหมอก ดอกไม้งาม ใต้สุดสยาม เมืองงามชายแดน”
******************************************
นอกจากนอกตัวเมืองเบตงแล้ว ในตัวเมืองเบตงยังมีสถานที่น่าสนใจอีกหลากหลายให้เที่ยวชมกัน ไม่ว่าจะเป็น หอนาฬิกาเบตง, ตู้ไปรษณีย์สูง-ใหญ่, อุโมงค์เบตงมงคลฤทธิ์, พิพิธภัณฑ์เมืองเบตง ,พระมหาธาตุเจดีย์ พระพุทธธรรมประกาศ-วัดพุทธาธิวาส มัสยิดกลาง วัดกวนอิม และศาลเจ้าแป๊ะกง เป็นต้น...อ่านเรื่องเที่ยวในตัวเมืองเบตงได้ที่ “ใต้สุดแดนสยาม เมืองงามในขุนเขา...“เบตง” ฉันยังคงรักเธอ(เสมอ)”
ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลการท่องเที่ยวใน อ.เบตง จ.ยะลา เพิ่มเติมได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) สำนักงานจังหวัดนราธิวาส(รับผิดชอบพื้นที่นราธิวาส ปัตตานี ยะลา) โทร. 0-7352-2411 , 0-7354-2345
*****************************************
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com
...อ.เบตง จ.ยะลา
ในคืนและวันแห่งความทรงจำ
ฟ้าใกล้สว่างแล้ว...แต่ไม่มีเสียงแว่วของสกุณา เพราะเช้ามืดวันนี้ฝนยังคงตกพรำ
หากเป็นยามปกติบรรยากาศอย่างนี้ ผมคงนอนซุกตัวหลับอุตุอยู่ใต้ผ้าห่มแบบจัดเต็มลืมตื่น
แต่ทว่า เช้าวันนี้เป็นวันพิเศษที่ผมกับเพื่อนๆมีนัดกันตื่นแต่เช้ามืด เพื่อไปเฝ้ารอลุ้นชม“ทะเลหมอกอัยเยอร์เวง” ด้วยความหวังว่า ถ้าฝนหยุดตก เช้าวันนี้คงจะมีโอกาสเห็นทะเลหมอกบ้างไม่มากก็น้อย
...เพราะการมีความหวังแม้เพียงเล็กน้อย ยังไงย่อมดีกว่าการสิ้นไร้ในความหวัง...
ทะเลหมอกอัยเยอร์เวง
จุดชมทะเลหมอกอัยเยอร์เวง มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 2,038 ฟุต ตั้งอยู่บนยอด“เขากุนุงซิลิปัต”หรือ“เขาไมโครเวฟ” บริเวณ กม.32(ถนนยะลา-เบตง) ต.อัยเยอร์เวง อ.เบตง(ห่างจาก อบต.อัยเยอร์เวง ประมาณ 7-8 กม.)
ปัจจุบันบริเวณจุดชมวิวแห่งนี้มีการสร้างเป็นอาคารชมวิวให้ขึ้นไปชมทิวทัศน์บนนั้นได้อย่างสวยงามกว้างไกล ส่วนเหตุที่เขาลูกนี้ได้ชื่อว่าเขาไมโครเวฟก็เพราะเป็นที่ตั้งของเสาส่งคลื่นสัญญาณโทรศัพท์ ชาวบ้านจึงตั้งฉายาให้เป็น“เขาไมโครเวฟ”และก็เรียกชื่อนี้กันมาจนติดปาก ก่อนที่ภายหลังจะเปลี่ยนมาเรียกว่าจุดชม“ทะเลหมอกอัยเยอร์เวง” เพื่อโปรโมทแบรนด์อัยเยอร์เวงให้รู้จักกันอย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น
ปกติยามเช้าบนจุดชมวิวเขาไมโครเวฟ คนในพื้นที่บอกกับผมว่า มีโอกาสที่จะได้เห็นทะเลหมอกลอยสวยงามแน่นหนาทึบสูงถึง 70-80 %
แต่...สำหรับเช้าวันนี้ที่ยังคงมีฝนตกพรำ ขอเพียงแค่ให้ฝนหยุดตก ฟ้าเปิด พอมองเห็นวิวทิวทัศน์ก็ดีมากแล้ว
อย่างไรก็ดี เรื่องของธรรมชาติเอาแน่เอานอนไม่ได้ เพราะหลังจากที่พวกเราเดินทางไปถึงยังยอดเขาไมโครเวฟ พอแสงตะวันเริ่มเรื่อเรื่องสาดส่อง ไม่นานนักความโชคดีอย่างร้ายกาจก็เกิดขึ้น เมื่อจู่ๆฝนที่โปรยสายมาครึ่งค่อนคืนพลันมลายหายไป ทิ้งไว้เพียงร่องรอยหยาดน้ำฟ้าอันชุ่มชื่นเย็นฉ่ำท้องฟ้าค่อยๆทยอยเปิด มองเห็นวิวทิวทัศน์ของทะเลภูเขาอันสลับซับซ้อนทอดตัวยาวไกล
หลังจากนั้นเพียงอีกไม่กี่อึดใจ ไอน้ำ ตามพื้นดิน ขุนเขา สายน้ำ ตามสุมทุมพุ่มไม้ในบริเวณนั้น ที่ถูกแสงอาทิตย์โลมไล้ ค่อยๆลอยมาจับตัวกันเป็นสายหมอก ลอยละล่องฟูฟ่องกระจายเป็นหย่อมๆไปทั่วบริเวณ ดูเป็นริ้วเป็นคลื่นลอยระริกหยอกเหย้าเคล้าไปกับขุนเขาน้อยใหญ่
ช่องเขาบางช่วงมีลมแรง พัดสายหมอกลอยกระจาย บัดเดี๋ยวมา บัดเดี๋ยวไป ดูฟุ้งไปทั่วบริเวณ บางช่วงทั้งสายหมอก ก้อนเมฆ ลอยผสมกลมกลืน ท่ามกลางทะเลภูเขาน้อย-ใหญ่ คล้ายๆกับวิวในยามที่มองลงมาจากหน้าต่างเครื่องบิน
นับเป็นบรรยากาศชวนฟุ้งฝันในยามเช้านอกตัวเมืองเบตง ที่แม้จะไม่ใช่วิวของทะเลหมอกที่สวยที่สุดของที่นี่ แต่สำหรับเช้าวันนี้ที่มีความหวังเลือนราง ได้เห็นวิวงามๆเท่านี้ก็ถือว่าดีมากโขแล้ว
ใต้สุดสยาม
นอกจากทะเลหมอกอัยเยอร์เวงที่ถือเป็นจุดไฮไลท์สำคัญในทริปเที่ยวเบตงของผมกับเพื่อนๆแล้ว ในอำเภอเบตงบริเวณนอกตัวเมืองออกไป ยังมีสถานที่น่าสนใจอีกหลากหลายจุดให้ไปสัมผัสเที่ยวชมกัน
เริ่มกันที่ “ป้ายใต้สุดสยาม” ที่ตั้งอยู่ที่ “ด่านพรมแดนเบตง” หรือ “ด่านตรวจคนเข้าเมืองเบตง” บริเวณชายแดนไทย-มาเลเซีย ไปตามถนนสุขยางค์ บนเส้นทางสาย 410 ห่างจากตัวเมืองเบตงประมาณ 7 กม.
ป้ายใต้สุดสยามทำด้วยหินอ่อน มีตัวหนังสือและรูปแผนที่ประเทศไทยเป็นสีทอง ถือเป็นอีกหนึ่งจุดสำคัญที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่มาเยือนเบตงนิยมมาถ่ายรูป เซลฟี่ วีฟี่ คู่กับป้ายแห่งนี้เป็นจำนวนมาก
บ่อน้ำพุร้อนเบตง
จากนอกเมืองเบตงทางโซนทิศใต้ ขึ้นไปเที่ยวนอกเมืองเบตงทางโซนทิศเหนือกันบ้าง(ทางไป จ.ยะลา)
เส้นทางสายนี้มีสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจหลากหลายให้เที่ยวชม ระหว่างทางมีวิวทิวทัศน์สวยงาม และสามารถเที่ยวชมได้เป็นวงรอบ (แต่ก็ต้องขับรถด้วยความระมัดระวัง เพราะเป็นเส้นทางไต่เลาะขุนเขา ลดเลี้ยวเคี้ยวโค้ง)
สำหรับที่เที่ยวเด่นๆนอกเมืองเบตงโซนทิศเหนือ มี 3 จุดหลักๆอยู่ในเส้นทางเดียวกันให้เลือกเที่ยว โดยโปรแกรมการเที่ยวว่าจะเริ่มจากจุดไหนก่อน-หลังนั้น ขึ้นอยู่กับการวางแผนของแต่ละคน ซึ่งผมขอเลือกแนะนำสถานที่จากจุดใกล้สุดไล่ไปไกลสุด
เริ่มจาก “บ่อน้ำพุร้อนเบตง” ที่ตั้งอยู่ที่ บ้านบ่อน้ำร้อน(ม.2) ต.ตาเนาะแมเราะ อ.เบตง ไปตามเส้นทางสาย 410 (ยะลา-เบตง) ประมาณ กม. 4 แล้วแยกไปตามเส้นทางถนนคอนกรีตอีกประมาณ 8 กม. ก็จะถึงยังบ่อน้ำพุร้อนเบตง
บ่อน้ำพุร้อนเบตง ดั้งเดิมเป็นแหล่งน้ำร้อนตามธรรมชาติขนาดใหญ่ ถูกค้นพบโดยชาวจีนที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่แถวเขตพรมแดนไทย-มาเลเซีย ปัจจุบันได้รับการพัฒนาสร้างเป็นสระน้ำ(ร้อน)สาธารณะขนาดใหญ่ มีอุณหภูมิประมาณ 80 องศาเซลเซียส สามารถลวกไข่ให้สุกได้ใน 7 นาที พร้อมทั้งมีการสร้างสระย่อยที่ลดทอนความร้อนของน้ำลงมา สำหรับแช่เท้าหรือลงอาบน้ำ และมีบ่อเล็กๆให้ลวกไข่ ซึ่งสามารถซื้อไข่ไก่ ไข่นกกระทา จากร้านค้าแถวนั้นมาลวกกินได้
นอกจากนี้ที่บริเวณบ่อพุน้ำร้อนยังมีการตกแต่งภูมิทัศน์อย่างสวยงาม มีการสร้างประติมากรรมพญานาคไว้เป็นจุดเด่นและมุมถ่ายรูป มีการสร้างรูปปั้น“ไข่หินนำโชค”ไว้ที่ป้ายบ่อน้ำพุร้อนเบตง ตรงกลางไข่สลักเป็นภาษาจีนว่า “มีความสุขตลอดกาล” ซึ่งถือเป็นอีกจุดหนึ่งที่มีนักท่องเที่ยวนิยมมาถ่ายรูปกันเป็นจำนวนมาก
ด้วยความที่บ่อน้ำพุร้อนเบตงอุดมไปด้วยแร่ธาตุจากธรรมชาติที่มีคุณประโยชน์หลากหลายต่อร่างกาย(แต่ต้องแช่ในช่วงเวลาที่เหมาะสม) และมีบรรยากาศที่สวยงาม ในแต่ละวันจึงมีทั้งนักท่องเที่ยวและคนในพื้นที่เดินทางมาใช้บริการ แช่เท้า อาบน้ำ พักผ่อน ที่บ่อพุน้ำร้อนแห่งนี้กันไม่ขาดสาย
สวนหมื่นบุปผา
ไฮไลท์ที่เที่ยวนอกเมืองเบตงจุดต่อมาคือ “สวนไม้ดอกเมืองหนาวเบตง” ที่ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านปิยะมิตร 2 ห่างจากตัวเมืองเบตงประมาณ 19 กม. และห่างจากบ่อน้ำพุร้อนเบตงประมาณ 8 กม.
สวนไม้ดอกเมืองหนาวเป็นส่วนหนึ่งของ“โครงการไม้ดอกเมืองหนาว” ตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ให้ทดลองปลูกไม้ดอกเมืองหนาวต่างๆขึ้น เนื่องจากพื้นที่แห่งนี้ มีสภาพพื้นที่เป็นเทือกเขาสูง ตั้งอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 800 เมตร มีอากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี
โครงการไม้ดอกเมืองหนาว เป็นโครงการที่มุ่งเน้นให้ชาวบ้านในพื้นที่รวมกลุ่มกันปลูกพืชเมืองหนาวส่งขายในพื้นที่ภาคใต้ สร้างรายได้เลี้ยงตัวแบบพอเพียงได้ โดยไม่ต้องเดินทางไปทำงานต่างถิ่น สำหรับพืชพรรณเด่นๆของที่นี่ ได้แก่ เบญจมาศ กุหลาบ เยอบีรา หน้าวัว ไฮเดนเยีย ดาวเรือง ทานตะวัน ซัลเวีย เป็นต้น
นอกจากนี้ยังได้พัฒนาพื้นที่ส่วนหนึ่งของโครงการให้เป็น“สวนไม้ดอกเมืองหนาวเบตง” หรือ “สวนหมื่นบุปผา” ที่วันนี้ถือเป็นหนึ่งในไฮไลท์ทางการท่องเที่ยวของ อ.เบตง
สวนหมื่นบุปผา มีการจัดสวนตกแต่งด้วยไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้ยืนต้น ก้อนหิน สระน้ำ และองค์ประกอบอื่นๆอย่างสวยงาม ภายในสวนหมื่นบุปผามีหลากหลายมุมให้เดินชื่นชมในความงาม รวมไปถึงถ่ายรูป เซลฟี่ วีฟี่ กันอย่างเพลิดเพลิน
บริเวณสวนหมื่นบุปผายังมีที่พักท่ามกลางขุนเขาในบรรยากาศดีราคาสมเหตุสมผล มีร้านอาหารของชุมชนขายอาหารเมนูเด็ดขึ้นชื่อของเบตง และของที่ระลึก ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการกินและพักค้างสำหรับผู้ที่มาเที่ยวที่ อ.เบตง
อุโมงค์ปิยะมิตร
มาถึงสถานที่ท่องเที่ยวไฮไลท์ไม่ควรพลาดจุดสุดท้ายในนอกตัวเมืองเบตง ที่ยังคงใช้เส้นทางถนนสายเดิมเดินทางขึ้นเหนือจากสวนหมื่นบุปผาไปอีกประมาณ 7 กม. ก็จะพบกับ “อุโมงค์ปิยะมิตร” ที่ตั้งอยู่ที่ กม. 12 หมู่บ้านปิยะมิตร 1 ซึ่งเป็นหมู่บ้านชาวจีนผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย ที่ได้ก่อตั้งหมู่บ้านขึ้นในยุคเดียวกับหมู่บ้านปิยะมิตร 2
อุโมงค์ปิยะมิตร สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2520(บางข้อมูลบอกปี 2519) ด้วยการใช้แรงงานคนประมาณ 50 คน ขุดเจาะด้วยจอบ-เสียมลึกเข้าไปในพื้นดิน ทำเป็นช่องทางเดิน กว้างประมาณ 5-6 ฟุต ยาวประมาณ 1 กิโลเมตร มีประตูเข้า-ออกทั้งหมด 9 ทาง แต่ปัจจุบันเปิดให้เข้า 6 ทางด้วยกัน
อุโมงค์ปิยะมิตร ตั้งอยู่บนเนินเขาบริเวณตะเข็บชายแดนไทย-มาเลเซีย ปกคลุมด้วยป่าทึบ เป็นอดีตร่องรอยการสู้รบของคอมมิวนิสต์มลายา จุดประสงค์หลักเพื่อใช้เป็นฐานปฏิบัติการ เป็นที่หลบภัยทางอากาศ และที่สะสมเสบียงอาหาร
สำหรับผู้มาเที่ยวอุโมงค์ปิยะมิตร จากจุดเริ่มต้นจะต้องเดินทางขึ้นเนินเขาไปประมาณ 300 เมตร ระหว่างทางจะมี ฐานให้หยุดพักชมสิ่งที่น่าสนใจ(และพักเหนื่อยไปในตัว) ไล่ไปจาก ฐาน 1 “เห็ดหลินจือ” ชมเห็ดหลินจือธรรมชาติดอกไม้ที่อยู่บนต้นไม้ ซึ่ง อ.เบตง ถือเป็นหนึ่งในแหล่งเห็ดหลินจือขึ้นชื่อ
จากนั้นไปชมฐาน 2 “ต้นไม้มีหนาม” ที่เป็นต้นไม้มีหนาม ในยุคสู้รบชาวบ้านที่นี่นำต้นไม้ชนิดนี้ไปตำดำดินปืน เป็นอาวุธจากธรรมชาติที่มีอานุภาพและน่าทึ่งไม่น้อย
ฐานต่อไปเป็น “เตาเผาถ่าน” เป็นเตาที่ใช้เผาถ่านเพื่อหุงหาอาหารและใช้อบผ้าให้แห้ง จากนั้นก็มาถึงยังปากทางเข้าอุโมงค์ปิยะมิตร ที่นี่เป็นฐานให้ข้อมูลเกี่ยวกับ “เตาขงเบ้ง” ก่อนที่จะเข้าไปเดินชมภายในในอุโมงค์
เตาขงเบ้ง เป็นภูมิปัญญาในการหุงหาอาหารเลี้ยงกองกำลังนับร้อยคน เป็นการทำอาหารในอุโมงค์ใต้พื้นดินด้วยเทคนิคพิเศษ ใช้ทั้งทราย น้ำ ใบไม้ แปรเปลี่ยนควันจากเตาไฟให้กลายเป็นหมอกหนา ยามเครื่องบินลาดตระเวนบินตรวจ ไม่เห็นควันไฟ เห็นแต่สายหมอกลอยก็เข้าใจผิดว่าเป็นสายหมอกตามธรรมชาติ เครื่องบินจึงไม่ทิ้งระเบิดบอมบ์ลงมา
ทำให้ทั้งกองกำลังนักรบและอุโมงค์ปิยะมิตรอยู่รอดปลอดภัยมาจนทุกวันนี้ พร้อมกับเปิดให้เราได้เดินเข้าไปเที่ยวชมภายในอุโมงค์ ที่ขุดเจาะเป็นช่องซอกซอนลัดเลาะมากมายคล้ายจอมปลวกขนาดยักษ์
ภายในอุโมงค์ มีทั้งสถานีวิทยุ ห้องนอน ห้องเก็บเสบียง ห้องประกอบงานใต้ดิน มุมนั่งพัก เตียงนอน ฯลฯ ซึ่งปัจจุบันได้มีการติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างไว้ตลอดแนว อีกทั้งภายในอุโมงค์ยังมีอากาศถ่ายเทเย็นสบายไม่อึดอัด
นอกจากการเดินชมภายในอุโมงค์และฐานต่างๆตามที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว อุโมงค์ปิยะมิตรยังมีสิ่งน่าสนใจอื่นๆในเส้นทางให้เที่ยวชมกันอีก อาทิ
-พิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของกลุ่มคอมมิวนิสต์มลายา พร้อมด้วยอาวุธยุทโธปกรณ์ ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ขณะที่บริเวณผนังด้านนอกของพิพิธภัณฑ์ก็มีการวาดภาพบันทึกเรื่องราวการสู้รบในอดีตของกลุ่มคอมมิวนิสต์มลายาด้วยลายเส้น สีสันอันสวยงาม
-ศาลเจ้าแป๊ะกง อยู่ใกล้ๆกับพิพิธภัณฑ์ เป็นศาลเจ้าจีน(ศาลตายาย)ที่มีเทพเจ้าต่างๆให้สักการบูชา และร่วมทำบุญเพื่อความเป็นสิริมงคล โดยมีคุณลุงผู้ดูแลศาลคอยตีกลอง ตุ้งแช่ ตุ้งแช่ เรียกให้ผู้ผ่านไป-มา ได้แวะเวียนไปกราบไหว้สักการะเทพเจ้าต่างๆที่ศาลแป๊ะกงแห่งนี้
-ต้นไม้พันปี เป็นต้นไทรขนาดใหญ่หลายคนโอบ บริเวณรากไทรเป็นช่องอุโมงค์ที่คนสามารถเข้าไปยืนถ่ายรูปในนั้นได้ นับเป็นอีกหนึ่งไฮไลท์แห่งอุโมงค์ปิยะมิตรที่ไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง
นอกจากนี้จุดน่าสนใจตามที่ได้กล่าวมาแล้ว อุโมงค์ปิยะมิตรยังมีสิ่งน่าสนใจอื่นๆ อาทิ ซุ้มประตูทางเข้า รูปเคารพเจ้าแม่กวนอิม พระพรหมสี่หน้า และ “รูปปั้นนกพิราบ 4 ตัว” สัญลักษณ์แห่งสันติภาพที่อยู่บริเวณสวนด้านหน้าของปากทางเข้าอุโมงค์ปิยะมิตร
สำหรับอุโมงค์ปิยะมิตร ปัจจุบันได้รับการพัฒนาให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวอันสวยงาม มีการจัดตกแต่งภูมิทัศน์อย่างสวยงาม และมีการบริหารจัดการที่ดี
ที่สำคัญคือสถานที่ท่องเที่ยวแห่งนี้ สร้างสรรค์ พัฒนา และดำเนินการจากฝีมือของชาวบ้านในพื้นที่ล้วนๆ ซึ่งผมขอปรบมือให้และกดไลค์รัวๆไปพร้อมๆกัน
และนี่ก็คือมนต์เสน่ห์ของสถานที่น่าสนใจนอกตัวเมืองเบตง ซึ่งการได้กลับไปเยือนเบตงอีกครั้ง นอกจากผมจะพบว่า“เบตง ยังคงโอเค”แล้ว วันนี้เบตงยังคงมากไปด้วยเสน่ห์น่าเที่ยวชม สมดังคำขวัญประจำอำเภอเบตงที่ว่า
“เมืองในหมอก ดอกไม้งาม ใต้สุดสยาม เมืองงามชายแดน”
******************************************
นอกจากนอกตัวเมืองเบตงแล้ว ในตัวเมืองเบตงยังมีสถานที่น่าสนใจอีกหลากหลายให้เที่ยวชมกัน ไม่ว่าจะเป็น หอนาฬิกาเบตง, ตู้ไปรษณีย์สูง-ใหญ่, อุโมงค์เบตงมงคลฤทธิ์, พิพิธภัณฑ์เมืองเบตง ,พระมหาธาตุเจดีย์ พระพุทธธรรมประกาศ-วัดพุทธาธิวาส มัสยิดกลาง วัดกวนอิม และศาลเจ้าแป๊ะกง เป็นต้น...อ่านเรื่องเที่ยวในตัวเมืองเบตงได้ที่ “ใต้สุดแดนสยาม เมืองงามในขุนเขา...“เบตง” ฉันยังคงรักเธอ(เสมอ)”
ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลการท่องเที่ยวใน อ.เบตง จ.ยะลา เพิ่มเติมได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) สำนักงานจังหวัดนราธิวาส(รับผิดชอบพื้นที่นราธิวาส ปัตตานี ยะลา) โทร. 0-7352-2411 , 0-7354-2345
*****************************************
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com