xs
xsm
sm
md
lg

แอ่ว “บ้านหนองเงือก” เลือกผ้าฝ้ายทอมือ เลื่องลือวิถีคนยอง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

“พระธาตุบรรรจุพระแก้วมรกต และพระบรมสารีริกธาตุ 101 องค์”
ช่วงหน้าร้อนอย่างนี้การที่จะออกไปเที่ยวไหนก็คงไม่พ้นห้างสรรพสินค้าที่มีแอร์เย็นๆ ไว้ให้คลายร้อน หรือถ้าหากออกต่างจังหวัดก็คงไปดื่มด่ำรับลมทะเลชิลล์ๆ ที่ทะเลก็ว่าไป แต่ร้อนนี้เราขอพาแหวกแนวไปแอ่วเมืองเหนือที่จังหวัดลำพูน กับ “บ้านหนองเงือก” แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาผ้าทอมือและวัฒนธรรมชาวยอง หรือที่เรียกแบบภาษาถิ่นว่า “จาวยอง”

ซึ่งตอนนี้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) มีการจัดโครงการ “วันธรรมดาน่าเที่ยว” เที่ยวสนุกไม่ต้องรอวันหยุดก็เที่ยวได้ เพราะปกติแล้วคนเราก็มักจะเริ่มเที่ยวเมื่อมีวันหยุดหรือหน้าเทศกาล และมักต้องเจอกับคนเยอะแยะ ต้องแย่งกันกินแย่งกันเที่ยวแม้กระทั่งแย่งกันนอน ต่างจากในช่วงวันธรรมดาที่สถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่งนั้นกลับเงียบเหงา ถือได้ว่าเป็นโอกาสของเราที่ต้องกอบโกยดื่มด่ำไปกับธรรมชาติ ซึมซับไปกับศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ค่อยๆ กินไม่ต้องรอ หรือรีบไปไหนและที่สำคัญรูปที่ถ่ายออกมาก็ไม่มีคนอื่นติดเข้ามาอีกด้วย
หนองออกรู จุดกำเนิดบ้านหนองเงือก
บ้านหนองเงือกนั้น แรกเริ่มเดิมทีนั้นเกิดขึ้นจากการอพยพย้ายถิ่นของชาวยอง 5 ครอบครัว จากบ้านม่อน เมืองยอง ประเทศเมียนม่าร์ มาตั้งรกรากอยู่บริเวณบ้านหนองเงือกในปัจจุบัน โดยในช่วงแรกตั้งอยู่ทางทิศเหนือของหมู่บ้านเรียกว่าบ้านม่อน ตามชื่อหมู่บ้านเดิมในเมืองยอง ซึ่งบ้านม่อนถือได้ว่าเป็นจุดศูนย์กลางของหมู่บ้าน มีการสร้าง “ใจบ้าน” ตามแบบฉบับคนยองล้านนา โดยแต่ละครอบครัวก็เรียกชื่อบ้านที่ตนตั้งขึ้นไม่เหมือนกัน และออกไปทางทิศตะวันออกของหมู่บ้านนั้น มีหนองน้ำที่มีน้ำไหลออกมาจากตาน้ำตลอดทั้งปี ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า “หนองออกฮู” หรือ “หนองออกรู” ซึ่งเป็นต้นกำเนิดลำน้ำเหมืองกลาง มีตำนานเล่ากันว่าหนองน้ำนี้ มีเงือกตัวหนึ่งตัวเท่าคน มักผุดขึ้นและคอยฉุดวัวของชาวบ้านลงไป ด้วยเหตุนี้จึงเป็นจุดกำเนิดของชื่อ “บ้านบวกเงือก” (บวกแปลว่า หนอง) หรือ "บ้านหนองเงือก" ในปัจจุบัน
ประตูชัย ต้นโพธิ์อายุกว่า 200 ปี ที่มีลักษณะเป็นพุ่มโค้งรับกัน และ ประตูขุง 3 สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของหมู่บ้าน
เมื่อมาถึงบ้านหนองเงือกแล้ว ก็ขอไปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อความเป็นสิริมงคลเสียก่อน ที่ "วัดหนองเงือก" ก่อนเข้าวัดจะพบกับ "ประตูชัย", "ต้นโพธิ์อายุกว่า 200 ปี" ที่มีลักษณะเป็นพุ่มโค้งรับกัน และ "ประตูขุง" ที่สร้างสมัยครูบาญาณะ 3 สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของหมู่บ้านที่รอต้อนรับแขกผู้มาเยือน โดยวัดหนองเงือกนั้นเป็นวัดประจำชุมชน สร้างขึ้นในป พ.ศ.2371 โดยมีทานครูบาปารมีเปนเจาอาวาสรูปแรก
“คะตึก” (หอธัมม์หรือหอพระไตรปิฎก)
ภายในวัดก็มีสถานที่สำคัญอยู่มากมายไม่ว่าจะเป็นโบสถ์ ที่สร้างขึ้นเมื่อพ.ศ.2472 วิหารศิลปะล้านนาประยุกต์ สร้างขึ้นพ.ศ. 2479 รวมถึง “คะตึก” (หอธัมม์หรือหอพระไตรปิฎก) ที่สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2449 สมัยครูบาไชยสิทธิ เป็นสถาปัตยกรรมแบบมอญผสมยุโรปและศิลปะพื้นเมือง โดยภายในเป็นที่เก็บพระคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นการจารึกด้วยอักษรธรรมล้านนาลงไปใบลาน ชั้นล่างนั้น มีจิตกรรมฝาผนังวาดเรื่องราวของพระพุทธเจ้าโปรดสัตว์ ในเมืองมนุษย์ ชั้นฟ้าและเมืองนาค วาดขึ้นในปี พ.ศ.2460
ภาพจิตกรรมฝาผนัง วัดหนองเงือก
โดยแบงพื้นที่ของภาพออกเปน 2 สวน ดานซายมือเขียนเปนเรื่องราวของพระพุทธเจาตอนที่ทรงนําพระอรหันต เสด็จลงมาจากสวรรคชั้นดาวดึงส หลังจากที่พระองคเสด็จขึ้นไปแสดงพระธรรม เทศนาโปรดพุทธมารดา สวนดานขวามือนั้นเขียนเปนภาพเมืองบาดาลมีพระยานาคมารอรับเสด็จพระพุทธองค ดานขวาสุดเขียนเปนภาพเจาวิธูรบัณฑิต นั่งอยูในปราสาท สวนผนังดานขวามือนั้นเขียนเปนเรื่องราวจากนิทานชาดกเรื่อง“พรหมจักรชาดก” ซึ่งเปนนิทานพุทธศาสนาที่มีเคาโครงเรื่องราวมาจากวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ โดยลักษณะของภาพจิตรกรรมฝาผนังนิ้เปนศิลปกรรมที่ไดรับอิทธิพลของศิลปะแบบพมาคอนข้างมาก โดยเฉพาะเครื่องแตงกายของคนในภาพ แตคําอธิบายภาพทั้งหมดเขียนดวยอักขระลานนาทั้งสิ้น
“พระธาตุบรรรจุพระแก้วมรกต และพระบรมสารีริกธาตุ 101 องค์”
ตรงกันข้ามกับคะตึกนั้น เป็นที่ประดิษฐาน “พระธาตุบรรรจุพระแก้วมรกต และพระบรมสารีริกธาตุ 101 องค์” สร้างขึ้นเมือปี พ.ศ.2467 เป็นพระธาตุศักดิ์สิทธิ์ของวัดและของชุมชน โดยมีเรื่องเล่ากันว่า พระธาตุมักแสดงปาฏิหาริย์ปรากฎเป็นลูกไฟสว่างสุกใส เหนือองค์พระธาตุและลอยไปในอากาศ โดยจะเสด็จกลับมาอีกครั้งเมื่อใกล้รุ่งสาง โดยมักเกิดขึ้นในเช้าวันพระที่ 14 หรือ 15 ค่ำ ซึ่งมีการจัดงานประเพณีสรงน้ำพระธาตุในวันแรม 14 ค่ำ เดือน 9 เหนือ (เดือน 7 ภาคกลาง) ของทุกปี
พิพิธภัณฑ์ไทยองบ้านหนองเงือก
ข้าวของเครื่องใช้ในอดีต ของชาวหนองเงือก
ผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอมือ บ้านหนองเงือก
เมื่อสักการะสิ่งศักดิ์ประจำบ้านหนองเงือกแล้วเสร็จ เดินออกมาใกล้ๆ ก็จะพบกับ “พิพิธภัณฑ์ไทยองบ้านหนองเงือก” ที่รวบรวมอนุรักษ์ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี โบราณวัตถุ เครื่องมือเครื่องใช้ในการดําเนินชีวิตของบรรพบุรุษชาวยองในสมัยโบราณ แบ่งเป็นทั้งหมด 3 หมวด คือ หมวดศาสนา หมวดวิถีชีวิตและกระบวนการผลิตผ้าฝ้ายทอมือ และหมวดโบราณวัตถุสิ่งของเครื่องใช้ เปิดให้เข้าชมฟรีทุกวันตั้งแต่เวลา 09.00-17.00 น.
การสาธิต การทอผ้า
ผ้าฝ้ายทอมือ บ้านหนองเงือก
พูดถึงที่เด่นๆ มาแล้ว ขอพูดถึงของดังของหนองเงือกกับ “ผ้าฝ้ายทอมือ” ซึ่งที่นี่นับได้ว่าเป็นแหล่งผลิตผ้าฝ้ายที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือเลยก็ว่าได้ โดยมีรูปแบบให้เลือกหลากหลายรูปแบบ ทั้งเครื่องนุ่งห่ม ของใช้ ของประดับตกแต่ง หรือแม้กระทั่งของสำหรับการใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาหรือตามคติฮีตฮอย ซึ่งเราสามารถชมขั้นตอนการผลิตได้ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงขั้นตอนสุดท้าย หรืออยากจะทดลองทำเองก็ได้ โดยจะมีชาวบ้านที่ชำนาญงานช่วยสอนจนกว่าจะสำเร็จ และสามารถนำกลับบ้านไปเป็นที่ระลึกได้อีกด้วย
ทอหูกคู่รัก
และจากการที่บ้านหนองเงือกมีความโดดเด่นในเรื่องการทอผ้านั้น ทำให้เกิดเรื่องราวของ “ทอหูกคู่รัก” ที่สามารถทอได้พร้อมกันสองคน เดิมทีเป็นกี่ที่พ่อบ้านและแม่บ้านใช้ทอด้วยกัน และเป็นกุศโลบายของชาวบ้านที่ไม่อยากให้ผู้ชายต้องออกไปทำงานนอกหมู่บ้าน กี่คู่รักสามารถทอเป็นผ้าผืนใหญ่ที่มีหน้ากว้างกว่าผ้าปกติ สามารถประยุกต์เป็นผ้าปูที่นอน และผ้าม่านสำหรับการตกแต่งได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นยังเป็นการแสดงออกของคู่รักที่มีร่วมกันผ่านการทอผ้าได้เป็นอย่างดี
อุทยานสมุนไพรและเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง
รองเท้าจาวยาว
นอกจากผ้าฝ้ายทอมือแล้วหนองเงือกยังมี “อุทยานสมุนไพรและเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง” เป็นแหล่งรวบรวมวิชาความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรจากปราชญ์ชาวบ้าน โดย ส.อ.จำเริญ คำสุข ที่ไม่ใช่เป็นเพียงรักษาสุขภาพทางกายเท่านั้น แต่เป็นการเริ่มจากใจโดยเป็นการรักษาและดูแลควบคู่กันไปอีกด้วย ใกล้ๆ กันก็เป็นแหล่งผลิต “รองเท้าจาวยาว” รองเท้าจากยางในรถยนต์ สินค้า OTOP ที่ช่วยลดสภาวะโลกร้อน ราคาจำหน่ายย่อมเยาเริ่มต้นที่ 60 บาทเท่านั้น นอกจากนี้ในบริเวณบ้านหนองเงือกเองนั้น ก็ยังมีโฮมเสตย์อีกหลายแห่งไว้คอยให้บริการนักท่องเที่ยว ให้ได้ลิ้มลองรสมือชาวบ้านแท้ๆ ที่มีความอร่อยแปลกใหม่ แบบที่ไม่เคยได้ลิ้มลองที่ไหน
กระเป๋านกฮูก ผลิตภัณ์ประยุกต์จากผ้าฝ้าย
มาสัมผัสกับวัฒนธรรมชาวยองที่บ้านหนองเงือก ไปกับประเพณีที่สืบทอดกันมาแต่ครั้งบรรพบุรุษไว้ได้จนถึงปัจจุบัน วิถีชีวิตที่ผูกพันธ์กับศาสนาพุทธในรูปแบบล้านนา โดยในช่วงเดือนมิถุนายนนี้ ก็จะมี “พิธีทำบุญสืบชะตาใจ๋บ้าน” สามารถมาสัมผัสได้ด้วยตนเอง ไม่จำเป็นต้องรอให้ถึงวันหยุดก็มาเที่ยวให้สนุกในวันธรรมดาได้เหมือนกัน
 
สำหรับผู้สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เทศบาลตำบลแม่แรง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน โทร 0-5355-6732-3 หรือที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานเชียงใหม่ โทร 0-5324-8604-5
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล travel_astvmgr@hotmail.com

 

กำลังโหลดความคิดเห็น