โดย : ปิ่น บุตรี(pinn109@hotmail.com)

“โง่ชิหา...”
คุณลุงชาวบ้าน(กะเหรี่ยง)คนหนึ่งที่บ้านโละโคะเคยพูดติดตลกให้ผมฟังเมื่อครั้งที่ไปเที่ยวน้ำตกเต่าดำครั้งแรกว่า “...ใครมาเที่ยวน้ำตกเต่าดำครั้งแรกนั้นถือว่า“โง่” แต่ถ้าใครมาเที่ยวน้ำตกเต่าดำครั้งที่ สองถือว่า “โง่ชิ...หา”(โง่ชิปหาย : ภาษาไทยปนสำเนียงกะเหรี่ยง)...”
เรื่องนี้อาจจะมาจากที่น้ำตกเต่าดำอยู่ไกลเข้าถึงลำบาก ทางไปก็โหดสุดๆ(ในยุคนั้น) และทางเดินขึ้น(และลง)ก็เป็นทางเดินป่าชันดิก โดยเฉพาะขาขึ้นที่ในยุคนั้นต้องเดินขึ้นอย่างทุลักทุเลเหนื่อยสุดๆ

มาวันนี้แม้วันเวลาจะล่วงเลยมากว่า 9 ปีแล้ว แต่ผมยังจำคำกล่าวนั้นได้ดี แถมยังทำตัวเป็นคน“โง่ชิหา...”ด้วยการกลับไปเยือนน้ำตกเต่าดำอีกครั้ง เพราะความงามของน้ำตกแห่งนี้ยังคงตราตรึงใจ ชวนให้คิดถึงอยู่เสมอ
1...
“น้ำตกเต่าดำ” ตั้งอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งวันนี้ทาง“การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)สำนักงานสุโขทัย”(พื้นที่รับผิดชอบสุโขทัย กำแพงเพชร) ได้เข้ามาช่วยส่งเสริมประชาสัมพันธ์ให้น้ำตกเต่าดำเป็นที่รู้จักแพร่หลายมากยิ่งขึ้น

สำหรับการเดินทางไปเที่ยวน้ำตกเต่าดำนั้น จากตัวเมืองกำแพงเพชรสามารถไปเที่ยวแบบไปเช้า-เย็นกลับได้ หรือหากใครอยากสัมผัสกับธรรมชาติอย่างใกล้ชิดก็สามารถไปนอนที่ อุทยานฯคลองวังเจ้าได้ หรือหากใครอยากสัมผัสกับธรรมชาติแบบใกล้ชิดยิ่งขึ้นชนิดนอนฟังเสียงน้ำตกเห่กล่อม ทางอุทยานฯได้จัดทำลานกางเต็นท์ไว้บริเวณเหนือทางลงน้ำตกเต่าดำ ให้นักนิยมไพรไปกางเต็นท์นอนกันแบบอิงแอบแนบชิดกับธรรมชาติ

นอกจากนี้ในเส้นทางไปน้ำตกเต่าดำยังมีทางแยกไป “สถานีพัฒนาเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ บ้านป่าคา” ซึ่งเป็นอีกหนึ่งจุดพักนอนค้างแรมและสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจในระหว่างทาง ที่เพิ่งเปิดให้คนเข้ามาเที่ยวและพักค้างแรมภายในสถานีได้ประมาณปีกว่าๆ
สถานีพัฒนาเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ บ้านป่าคา ตั้งอยู่ที่ ต.โป่งน้ำร้อน อ.คลองลาน จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินงานตามแนวพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โดยมุ่งเน้นไปที่การเผยแพร่ความรู้และส่งเสริมอาชีพเกษตรกร เพื่อยกฐานะความเป็นอยู่ขอชาวบ้านในพื้นที่ให้ดีขึ้น รวมถึงสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ เพราะที่ผ่านมามีชาวบ้านบางส่วนยังคงทำการเกษตรปลูกพืชเชิงเดี่ยว(โดยเฉพาะข้าวโพด)แบบถ้ามีโอกาสก็จะบุกรุกผืนป่าเพื่อขยายพื้นที่ทำไร่ของตัวเอง

ภายในสถานีฯบ้านป่าคา มีแปลงพืชผักสาธิต อาทิ กาแฟสด เสาวรส อโวคาโด้ ฟักทองญี่ปุ่น กระเจี๊ยบ หม่อน(มัลเบอรร์รี่) ฯลฯ รวมถึงมีแปลงดอกไม้ และแปลงสตรอว์เบอร์รี่(พันธุ์ 80)ที่ให้รสหวานกรอบอร่อย นับเป็นอีกหนึ่งผลไม้ที่ทางสถานีฯมีแผนจะพัฒนาให้พื้นที่ในละแวกเส้นทางสู่น้ำตกเต่าดำ เป็นแหล่งปลูกสตรอว์เบอร์รี่ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง

นอกจากนี้ภายในสถานีฯยังมีบ้านพักและลานกางเต็นท์ ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถติดต่อเข้ามาขอพักได้ฟรี!!!
แต่ยังไงๆผู้มาพักก็ควรบริจาคเงินช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ในการดูแลเรื่องค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าทำความสะอาด และดูแลพื้นที่ด้วย

2...
สำหรับการเดินทางสู่น้ำตกเต่าดำในครั้งนี้ ก่อนออกสตาร์ทมุ่งหน้าสู่ตัวน้ำตกผมไปแวะหาข้อมูลเพิ่มเติมที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว อช.คลองวังเจ้า ได้พบกับพี่ๆเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าและหัวหน้าอช.คลองวังเจ้าคือ“คุณสมชาย วิเชียรกัลยารัตน์” จึงได้สอบถามเกี่ยวกับที่มาที่ไปของชื่อน้ำตกเต่าดำ ได้ข้อมูลว่า ชื่อน้ำตกเต่าดำมีที่มา 2 ทางด้วยกัน

ทางหนึ่งมาจากบริเวณนั้นแต่ก่อนเคยมี“เต่าหก”อยู่เยอะ เจ้าเต่าหกมีกระดองสีดำ คนจึงเรียกว่า “เต่าดำ”อันเป็นที่มาของชื่อน้ำตกเต่าดำ ส่วนอีกทางหนึ่งมาจากการที่น้ำตกแห่งนี้ไหลผ่านผาหินที่มีสีค่อนข้างดำ และมีหินอยู่ก้อนหนึ่งที่หากมองให้ถูกมุมจะดูคล้ายเต่าโผล่หัว เลยเป็นที่มาของชื่อ “น้ำตกเต่าดำ”
เรื่องนี้ใครจะเชื่อข้อมูลไหนก็สุดแท้แต่หรือจะไม่เชื่อเลยก็ไม่เป็นไร เพราะหัวใจสำคัญของน้ำตกเต่าดำจริงๆอยู่ที่ตัวน้ำตกอันสวยงามอลังการ ซึ่งหลังจากนี้ผมก็ได้เวลาออกเดนทางสู่น้ำตกเต่าดำที่เฝ้ารอมานาน

น้ำตกเต่าดำอยู่ห่างจากที่ทำการ อช.คลองวังเจ้า 34 กม. ในอดีตนี่เป็นอีกหนึ่งเส้นทางสายวิบากของบ้านเรา เนื่องจากเป็นทางผ่านป่าเขาสูงชันอันโหดหิน แถมเป็นถนนเลนเดียว รถวิ่งสวนกัน คันหนึ่งต้องหลบเข้าข้างทาง อีกทั้งยังเป็นถนนที่มีความพิเศษ เพราะบางช่วงเป็นถนนอกแตก ที่เทคอนกรีตเป็นทาง 2 เส้นแคบๆแบบผ่าร่องกลาง(ไม่เต็มถนน) เฉพาะแค่ให้ล้อรถวิ่งผ่านแบบพอดิบพอดี หากวิ่งพลาดก็ตกถนนคอนกรีต ดังนั้นพลขับจำเป็นต้องใช้ความระมัดระวังอย่างสูงในการขับขี่บนถนนสายนี้
แต่ด้วยมนต์เสน่ห์ของความสวยงามในสองข้างทางและความโหดท้าทาย ทำให้บรรดาขาออฟโรดและนักขับขี่ที่ชอบลุยชื่นชอบกันมาก

ปัจจุบันถนนสายนี้ได้รับการปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้น โดยจากเดิมที่ส่วนใหญ่เป็นถนนลูกรัง มาวันนี้มีการเทคอนกรีตทำเป็นถนนอกแตกเสียส่วนใหญ่ รวมถึงยังมีสะพานอกแตกเป็นสะพานไม้ ทั้งไม้กระดาน ไม้ซุง วางพาดเป็นทาง 2 เส้น ให้รถวิ่งข้ามผ่าน
งานนี้รถเก๋งหมดสิทธิ์ ต้องใช้รถโฟร์วีล ขับเคลื่อน 4 ล้อ หรือรถกระบะหรือรถปิ๊คอัพที่มีกำลังขับเคลื่อนสูงดังเช่นรถของชาวบ้านในพื้นที่(แต่ว่าถ้าเป็นหน้าฝนอาจต้องพันโซ่)

อย่างไรก็ดีแม้เส้นทางสู่น้ำตกเต่าดำจะได้รับการพัฒนาปรับปรุงขึ้นมา แต่โดยรวมแล้วก็ถือว่ายังวิบากอยู่ดี โดยเฉพาะช่วงที่ขับผ่านสะพานอกแตกนี่ผมลุ้นระทึกน่าดู ขณะที่ยามวิ่งปกติขึ้นเขา-ลงเขา คนที่นั่งกระบะหลังอย่างผมกับเพื่อนๆยังไงงานนี้ก็หนีไม่พ้นการนั่งกระเด็น กระดอน ซึ่งจำเป็นต้องใช้วิชาจอมยุทธ์ เกร็งลมปราณและร่างกายไว้ให้ดีๆยามที่รถแล่นผ่านจุดวิบากสำคัญๆ
สำหรับเส้นทางจากที่ทำการอช.คลองวังเจ้าสู่น้ำตกเต่าดำ ช่วงแรกจะเป็นถนนลาดยางไปได้สักหน่อย จากนั้นก็จะเป็นเส้นทางวิบากถนนลูกรังและถนนคอนกรีตอกแตกไปจนถึงทางลงน้ำตก โดยระหว่างทางจะมีจุดแวะพักสำคัญๆ ได้แก่ ที่ทำการหน่วยพิทักษ์ อช.คลองวังเจ้า (โละโคะ) ที่มีห้องน้ำห้องท่าให้เข้า และมีต้นบอนยักษ์ให้นักท่องเที่ยวได้ถ่ายรูป เซลฟี่กันอย่างสนุกสนาน

ต่อจากนั้นจะเป็น“บ้านโละโคะ” ที่อยู่ห่างจากที่ทำการอช.คลองวังเจ้า 14 กม. และต่อด้วย“บ้านป่าคา” ก่อนไปถึงยังจุดหมายปลายทางคือเส้นทางลงสู่ตัวน้ำตกเต่าดำ ซึ่งระหว่างเส้นทางวิวทิวทัศน์ 2 ข้างทางในหลายๆช่วงถือว่าสวยงามใช่ย่อย

นอกจากนี้ผมยังได้เห็นความเปลี่ยนแปลงในการทำการเกษตรของชาวบ้าน จากแต่เดิมเมื่อ 9 ปีที่แล้วที่ผมมาเยือนน้ำตกเต่าดำครั้งแรก เห็นแต่ชาวบ้านปลูกข้าวโพดกับมันสำปะหลังเต็มพรืดไปหมด แต่มาวันนี้ชาวบ้านที่นี่มีการปลูกพืชผักที่หลากหลายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น มะละกอ พริก สตรอว์เบอร์รี่ รวมถึงมะระหวาน(ฟักแม้ว,ซาโยเต้) ที่ผมไปพูดคุยกับชาวม้งที่ปลูกมะระหวานว่าเดือนหนึ่งๆเขาตัดยอดมะระหวานขายทำเงินได้ร่วมแสนบาทเลยทีเดียว
นั่นจึงทำให้ผมนึกอยากเปลี่ยนอาชีพมาปลูกมะระหวานขายบ้าง แต่ว่าติดที่ตัวเองไม่มีที่ดินที่ทางทำกิน หนทางที่จะเป็นไปได้ งานนี้คงต้องขอสมัครเป็น “เขยม้ง” สถานเดียว

3...
หลังนั่งรถจากที่ทำการอช.คลองวังเจ้ามาได้ 2 ชั่วโมงกว่าๆ ผมก็มาถึงยังจุดจอดรถทางลงไปชมตัวน้ำตกคลองวังเจ้า ที่วันนี้บริเวณโดยรอบมีการพัฒนาเป็นลานกางเต็นท์ มีห้องน้ำห้องท่าให้บริการ
ขณะที่ทางเดินลง(และขึ้น)ไปชมตัวน้ำตกนั้นก็มีความเปลี่ยนแปลงเช่นกัน โดยล่าสุดเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมาทางอช.คลองวังเจ้าได้พัฒนาปรับปรุงเส้นทางเดินลงสู่น้ำตกระยะประมาณ 300 เมตรสายนี้ ให้เป็นบันไดปูน มีราวจับ เดินขึ้น-ลง สะดวกสบายขึ้น ซึ่งแต่เดิมทางสายนี้เป็นทางเดินป่าชันดิก ขาเดินลงนะไม่เท่าไหร่ แต่ขาเดินขึ้นนี่สิ เหนื่อยสุดยอด และเดินขึ้น-ลง ค่อนข้างลำบาก เมื่อทางอุทยานฯได้งบมาจึงปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้น เดินขึ้น-ลง สะดวกสบายขึ้น

แต่อย่างไรก็ดีในเรื่องของความชันนั้นยังคงชันดิกอยู่ดี โดยเมื่อเดินลงไปได้ประมาณ 50 เมตร จะมีระเบียงชมวิว มองเห็นตัวน้ำตกเต่าดำในมุมสูงทอดตัวเป็นสายข่าวทิ้งดิ่งหายไปในไพรพฤกษ์เบื้องหน้า เป็นดังการอุ่นเครื่องกระตุ้นอารมณ์ให้ผมรู้สึกอยากเดินลงไปชมความงามของน้ำตกแห่งนี้มากยิ่งขึ้น
จากนั้นอีกไม่นานผมกับเพื่อนๆก็ค่อยๆเดินลงมาถึงจุดหมาย คือตัวน้ำตกเต่าดำในชั้นไฮไลท์ที่ได้ชื่อว่าเป็นน้ำตกงามในระดับจ่าฝูงของน้ำตกในจังหวัดกำแพงเพชร

น้ำตกเต่าดำมีสายน้ำไหลตลอดทั้งปี โดยข้อมูลจากเอกสารส่วนใหญ่ระบุว่า น้ำตกเต่าดำมีทั้งหมด 3 ชั้น(แต่จากการสอบถามจากเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ที่คุ้นเคยกับน้ำตกเต่าดำเป็นอย่างดี ผมได้ข้อมูลใหม่มาว่า น้ำตกเต่าดำจากต้นน้ำสู่ปลายน้ำมีทังหมด 5 ชั้นด้วยกัน) น้ำตกที่เป็นชั้นไฮไลท์คือชั้นที่ 2 (บางข้อมูลบอกว่าชั้นนี้เป็นชั้นที่ 3)ที่ปรากฏภาพผ่านสื่อทั่วไปนั้น มีความสูงกว่า 200 เมตร

โดยน้ำตกเต่าดำในชั้นที่ 2 หรือชั้นไฮไลท์นี้ เมื่อไปยืนชมที่ด้านล่างบนลำธารหน้าน้ำตกจะมองเห็นเป็น 2 ชั้น ชั้นแรกมองเห็นเป็นสายน้ำตกแคบๆมีระยะความสูงไม่มากนัก แต่ว่าไหลรี่ลงมาจากยอดเขาสูง สู่ชั้นที่ 2 ที่มีความสูงกว่า 200 เมตร มองเห็นเป็นม่านน้ำตกอลังการสวยงาม ไหลเป็นทางยาวขาวฟูฟ่องทิ้งดิ่งโจนทะยานจากโตรกผาเบื้องบนแผ่สยายสู่แอ่งน้ำเบื้องล่าง ท่ามกลางต้นไม้รอบข้างที่เขียวครึ้ม ดูยิ่งใหญ่สวยงามเป็นยิ่งนัก

นอกจากนี้ที่ลำธารหน้าน้ำตกทางอุทยานฯยังทำสะพานไม้ไผ่เล็กๆให้คนเดินข้ามธารน้ำตกไปยังผืนป่าอีกฝั่ง ซึ่งในฝั่งนี้จะมีมุมเฉียงๆที่สามารถมองเห็นน้ำตกเต่าดำชั้นไฮไลท์ไหลยาวเป็นน้ำตกสายเดียวจากเบื้องบนสู่เบื้องล่างดูสวยงามน่ายลไปอีกแบบ
และนี่ก็คือมนต์เสน่ห์ของน้ำตกเต่าดำ น้ำตกงามอลังการที่ซ่อนตัวอยู่กลางหุบเขาพงไพรแห่ง อช.คลองวังเจ้า จ.กำแพงเพชร ดูถือว่าคุ้มค่าต่อความเหนื่อย-โหด ที่ดั้นด้นเดินทางมาชมเป็นอย่างยิ่ง

แต่...การเที่ยวชมน้ำตกเต่าดำของผมยังไม่จบเพียงเท่านี้ เพราะในฉากสุดท้ายก่อนจบ ก่อนจากน้ำตก ผมต้องเดินขึ้นบันไดสูงชัน 600 กว่าขั้นจากที่เดินลงมา กลับไปสู่ที่เดิม งานนี้บอกได้เลยว่า ชีวิตขาขึ้น(จากตัวน้ำตกเต่าดำ)มันทั้งเหนื่อย ทั้งหอบ จนทำให้ผมอดนึกถึงคำพูดของคุณลุงกะเหรี่ยงชาวบ้านบ้านโละโคะที่เคยพูดติดตลกให้ฟัง เมื่อครั้งที่ผมเคยมาเที่ยวน้ำตกเต่าดำเป็นครั้งแรกเมื่อ 9 ปีที่แล้ว ไม่ได้ว่า
“...ใครมาเที่ยวน้ำตกเต่าดำครั้งแรกนั้นถือว่า“โง่” แต่ถ้าใครมาเที่ยวน้ำตกเต่าดำครั้งที่ สองถือว่า “โง่ชิ...หา”

ครับ งานนี้ผมยอมเป็นคน“โง่ชิหา...” ด้วยการเลือกกลับมาเยือนน้ำตกเต่าดำอีกครั้ง เนื่องเพราะความงามอลังการของน้ำตกแห่งนี้ยังคงตราตรึง
ชนิดที่แม้จะต้องเป็นคน“โง่ชิหา...ซ้ำซาก”ก็ยินดี

*****************************************
“น้ำตกเต่าดำ” ตั้งอยู่ใน อ.คลองลาน ในเขตอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า จ.กำแพงเพชร เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ มีน้ำไหลตลอดทั้งปี ห่างจากที่ทำการ อช.คลองวังเจ้า 34 กม. มีสภาพเส้นทางวิบาก คดเคี้ยว ขึ้นเขา-ลงเขา และเป็นถนนเลนเดียว การขับรถต้องใช้ความระมัดระวังอย่างสูง และต้องบีบแตรส่งสัญญาณเตือนในหลายๆโค้ง รถเก๋งไม่สามารถเดินทางไปได้ ต้องใช้รถโฟร์วีล 4WD หรือรถกระบะที่มีกำลังขับเคลื่อนสูง หรือใช้บริการรถรับจ้างของคนในพื้นที่ หรือรถ 4WD ของทางอุทยานฯ(ไป-กลับ ราคา 3,500 บาท) ผู้สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อุทยานฯคลองวังเจ้า โทร.093-790-0935
นอกจากน้ำตกเต่าดำแล้ว อช.คลองวังเจ้า ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจ อาทิ น้ำตกคลองวังเจ้า น้ำตกสมอกล้วย น้ำตกกระแตไต่ไม้ น้ำตกนาฬิกาทราย น้ำตกคลองโป่ง(เป็นน้ำตกหินชนวนหนึ่งเดียวในเมืองไทย) รวมสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวให้เที่ยวอย่างเป็นทางการในปีนี้(58) คือ “เขาเย็น”(คนละที่กับช่องเย็น อช.แม่วงก์) ซึ่งผมจะขอนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับเขาเย็นในตอนต่อไป
ส่วน“สถานีพัฒนาเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ บ้านป่าคา” อยู่ในเส้นทางระหว่างไปน้ำตกเต่าดำ โดยจะมี 3 แยก หากไปทางซ้ายเป็นน้ำตกเต่าดำระยะทาง 3 กม. หากไปทางขวาเป็น สถานีฯบ้านป่าคา ระยะทาง 3 กม. เช่นกัน ภายในสถานีฯบ้านป่าคา มีบ้านพักให้บริการ และมีลานกางเต็นท์ไว้ให้ผู้สนใจนำเต็นท์ไปกางท่ามกลางบรรยากาศอันสวยงาม อากาศเย็นสบาย โดยสามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 50 คน ทั้งนี้นักท่องเที่ยวสามารถเข้าพักที่บ้านพักหรือนำเต็นท์ไปกางนอนได้ฟรี ผู้สนใจสอบถามเพิ่มเติมที่ 081-953-9547,095-950-4741
นอกจากนี้นักท่องเที่ยวผู้สนใจยังสามารถสอบถามข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับน้ำตกเต่าดำ อช.คลองวังเจ้า ที่พัก ร้านอาหาร และการเดินทางในจังหวัดกำแพงเพชร เพิ่มเติมได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)สำนักงานสุโขทัย (ดูแลพื้นที่สุโขทัย กำแพงเพชร) โทร.0-5561-6228-9
*****************************************
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com
“โง่ชิหา...”
คุณลุงชาวบ้าน(กะเหรี่ยง)คนหนึ่งที่บ้านโละโคะเคยพูดติดตลกให้ผมฟังเมื่อครั้งที่ไปเที่ยวน้ำตกเต่าดำครั้งแรกว่า “...ใครมาเที่ยวน้ำตกเต่าดำครั้งแรกนั้นถือว่า“โง่” แต่ถ้าใครมาเที่ยวน้ำตกเต่าดำครั้งที่ สองถือว่า “โง่ชิ...หา”(โง่ชิปหาย : ภาษาไทยปนสำเนียงกะเหรี่ยง)...”
เรื่องนี้อาจจะมาจากที่น้ำตกเต่าดำอยู่ไกลเข้าถึงลำบาก ทางไปก็โหดสุดๆ(ในยุคนั้น) และทางเดินขึ้น(และลง)ก็เป็นทางเดินป่าชันดิก โดยเฉพาะขาขึ้นที่ในยุคนั้นต้องเดินขึ้นอย่างทุลักทุเลเหนื่อยสุดๆ
มาวันนี้แม้วันเวลาจะล่วงเลยมากว่า 9 ปีแล้ว แต่ผมยังจำคำกล่าวนั้นได้ดี แถมยังทำตัวเป็นคน“โง่ชิหา...”ด้วยการกลับไปเยือนน้ำตกเต่าดำอีกครั้ง เพราะความงามของน้ำตกแห่งนี้ยังคงตราตรึงใจ ชวนให้คิดถึงอยู่เสมอ
1...
“น้ำตกเต่าดำ” ตั้งอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งวันนี้ทาง“การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)สำนักงานสุโขทัย”(พื้นที่รับผิดชอบสุโขทัย กำแพงเพชร) ได้เข้ามาช่วยส่งเสริมประชาสัมพันธ์ให้น้ำตกเต่าดำเป็นที่รู้จักแพร่หลายมากยิ่งขึ้น
สำหรับการเดินทางไปเที่ยวน้ำตกเต่าดำนั้น จากตัวเมืองกำแพงเพชรสามารถไปเที่ยวแบบไปเช้า-เย็นกลับได้ หรือหากใครอยากสัมผัสกับธรรมชาติอย่างใกล้ชิดก็สามารถไปนอนที่ อุทยานฯคลองวังเจ้าได้ หรือหากใครอยากสัมผัสกับธรรมชาติแบบใกล้ชิดยิ่งขึ้นชนิดนอนฟังเสียงน้ำตกเห่กล่อม ทางอุทยานฯได้จัดทำลานกางเต็นท์ไว้บริเวณเหนือทางลงน้ำตกเต่าดำ ให้นักนิยมไพรไปกางเต็นท์นอนกันแบบอิงแอบแนบชิดกับธรรมชาติ
นอกจากนี้ในเส้นทางไปน้ำตกเต่าดำยังมีทางแยกไป “สถานีพัฒนาเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ บ้านป่าคา” ซึ่งเป็นอีกหนึ่งจุดพักนอนค้างแรมและสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจในระหว่างทาง ที่เพิ่งเปิดให้คนเข้ามาเที่ยวและพักค้างแรมภายในสถานีได้ประมาณปีกว่าๆ
สถานีพัฒนาเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ บ้านป่าคา ตั้งอยู่ที่ ต.โป่งน้ำร้อน อ.คลองลาน จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินงานตามแนวพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โดยมุ่งเน้นไปที่การเผยแพร่ความรู้และส่งเสริมอาชีพเกษตรกร เพื่อยกฐานะความเป็นอยู่ขอชาวบ้านในพื้นที่ให้ดีขึ้น รวมถึงสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ เพราะที่ผ่านมามีชาวบ้านบางส่วนยังคงทำการเกษตรปลูกพืชเชิงเดี่ยว(โดยเฉพาะข้าวโพด)แบบถ้ามีโอกาสก็จะบุกรุกผืนป่าเพื่อขยายพื้นที่ทำไร่ของตัวเอง
ภายในสถานีฯบ้านป่าคา มีแปลงพืชผักสาธิต อาทิ กาแฟสด เสาวรส อโวคาโด้ ฟักทองญี่ปุ่น กระเจี๊ยบ หม่อน(มัลเบอรร์รี่) ฯลฯ รวมถึงมีแปลงดอกไม้ และแปลงสตรอว์เบอร์รี่(พันธุ์ 80)ที่ให้รสหวานกรอบอร่อย นับเป็นอีกหนึ่งผลไม้ที่ทางสถานีฯมีแผนจะพัฒนาให้พื้นที่ในละแวกเส้นทางสู่น้ำตกเต่าดำ เป็นแหล่งปลูกสตรอว์เบอร์รี่ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง
นอกจากนี้ภายในสถานีฯยังมีบ้านพักและลานกางเต็นท์ ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถติดต่อเข้ามาขอพักได้ฟรี!!!
แต่ยังไงๆผู้มาพักก็ควรบริจาคเงินช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ในการดูแลเรื่องค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าทำความสะอาด และดูแลพื้นที่ด้วย
2...
สำหรับการเดินทางสู่น้ำตกเต่าดำในครั้งนี้ ก่อนออกสตาร์ทมุ่งหน้าสู่ตัวน้ำตกผมไปแวะหาข้อมูลเพิ่มเติมที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว อช.คลองวังเจ้า ได้พบกับพี่ๆเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าและหัวหน้าอช.คลองวังเจ้าคือ“คุณสมชาย วิเชียรกัลยารัตน์” จึงได้สอบถามเกี่ยวกับที่มาที่ไปของชื่อน้ำตกเต่าดำ ได้ข้อมูลว่า ชื่อน้ำตกเต่าดำมีที่มา 2 ทางด้วยกัน
ทางหนึ่งมาจากบริเวณนั้นแต่ก่อนเคยมี“เต่าหก”อยู่เยอะ เจ้าเต่าหกมีกระดองสีดำ คนจึงเรียกว่า “เต่าดำ”อันเป็นที่มาของชื่อน้ำตกเต่าดำ ส่วนอีกทางหนึ่งมาจากการที่น้ำตกแห่งนี้ไหลผ่านผาหินที่มีสีค่อนข้างดำ และมีหินอยู่ก้อนหนึ่งที่หากมองให้ถูกมุมจะดูคล้ายเต่าโผล่หัว เลยเป็นที่มาของชื่อ “น้ำตกเต่าดำ”
เรื่องนี้ใครจะเชื่อข้อมูลไหนก็สุดแท้แต่หรือจะไม่เชื่อเลยก็ไม่เป็นไร เพราะหัวใจสำคัญของน้ำตกเต่าดำจริงๆอยู่ที่ตัวน้ำตกอันสวยงามอลังการ ซึ่งหลังจากนี้ผมก็ได้เวลาออกเดนทางสู่น้ำตกเต่าดำที่เฝ้ารอมานาน
น้ำตกเต่าดำอยู่ห่างจากที่ทำการ อช.คลองวังเจ้า 34 กม. ในอดีตนี่เป็นอีกหนึ่งเส้นทางสายวิบากของบ้านเรา เนื่องจากเป็นทางผ่านป่าเขาสูงชันอันโหดหิน แถมเป็นถนนเลนเดียว รถวิ่งสวนกัน คันหนึ่งต้องหลบเข้าข้างทาง อีกทั้งยังเป็นถนนที่มีความพิเศษ เพราะบางช่วงเป็นถนนอกแตก ที่เทคอนกรีตเป็นทาง 2 เส้นแคบๆแบบผ่าร่องกลาง(ไม่เต็มถนน) เฉพาะแค่ให้ล้อรถวิ่งผ่านแบบพอดิบพอดี หากวิ่งพลาดก็ตกถนนคอนกรีต ดังนั้นพลขับจำเป็นต้องใช้ความระมัดระวังอย่างสูงในการขับขี่บนถนนสายนี้
แต่ด้วยมนต์เสน่ห์ของความสวยงามในสองข้างทางและความโหดท้าทาย ทำให้บรรดาขาออฟโรดและนักขับขี่ที่ชอบลุยชื่นชอบกันมาก
ปัจจุบันถนนสายนี้ได้รับการปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้น โดยจากเดิมที่ส่วนใหญ่เป็นถนนลูกรัง มาวันนี้มีการเทคอนกรีตทำเป็นถนนอกแตกเสียส่วนใหญ่ รวมถึงยังมีสะพานอกแตกเป็นสะพานไม้ ทั้งไม้กระดาน ไม้ซุง วางพาดเป็นทาง 2 เส้น ให้รถวิ่งข้ามผ่าน
งานนี้รถเก๋งหมดสิทธิ์ ต้องใช้รถโฟร์วีล ขับเคลื่อน 4 ล้อ หรือรถกระบะหรือรถปิ๊คอัพที่มีกำลังขับเคลื่อนสูงดังเช่นรถของชาวบ้านในพื้นที่(แต่ว่าถ้าเป็นหน้าฝนอาจต้องพันโซ่)
อย่างไรก็ดีแม้เส้นทางสู่น้ำตกเต่าดำจะได้รับการพัฒนาปรับปรุงขึ้นมา แต่โดยรวมแล้วก็ถือว่ายังวิบากอยู่ดี โดยเฉพาะช่วงที่ขับผ่านสะพานอกแตกนี่ผมลุ้นระทึกน่าดู ขณะที่ยามวิ่งปกติขึ้นเขา-ลงเขา คนที่นั่งกระบะหลังอย่างผมกับเพื่อนๆยังไงงานนี้ก็หนีไม่พ้นการนั่งกระเด็น กระดอน ซึ่งจำเป็นต้องใช้วิชาจอมยุทธ์ เกร็งลมปราณและร่างกายไว้ให้ดีๆยามที่รถแล่นผ่านจุดวิบากสำคัญๆ
สำหรับเส้นทางจากที่ทำการอช.คลองวังเจ้าสู่น้ำตกเต่าดำ ช่วงแรกจะเป็นถนนลาดยางไปได้สักหน่อย จากนั้นก็จะเป็นเส้นทางวิบากถนนลูกรังและถนนคอนกรีตอกแตกไปจนถึงทางลงน้ำตก โดยระหว่างทางจะมีจุดแวะพักสำคัญๆ ได้แก่ ที่ทำการหน่วยพิทักษ์ อช.คลองวังเจ้า (โละโคะ) ที่มีห้องน้ำห้องท่าให้เข้า และมีต้นบอนยักษ์ให้นักท่องเที่ยวได้ถ่ายรูป เซลฟี่กันอย่างสนุกสนาน
ต่อจากนั้นจะเป็น“บ้านโละโคะ” ที่อยู่ห่างจากที่ทำการอช.คลองวังเจ้า 14 กม. และต่อด้วย“บ้านป่าคา” ก่อนไปถึงยังจุดหมายปลายทางคือเส้นทางลงสู่ตัวน้ำตกเต่าดำ ซึ่งระหว่างเส้นทางวิวทิวทัศน์ 2 ข้างทางในหลายๆช่วงถือว่าสวยงามใช่ย่อย
นอกจากนี้ผมยังได้เห็นความเปลี่ยนแปลงในการทำการเกษตรของชาวบ้าน จากแต่เดิมเมื่อ 9 ปีที่แล้วที่ผมมาเยือนน้ำตกเต่าดำครั้งแรก เห็นแต่ชาวบ้านปลูกข้าวโพดกับมันสำปะหลังเต็มพรืดไปหมด แต่มาวันนี้ชาวบ้านที่นี่มีการปลูกพืชผักที่หลากหลายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น มะละกอ พริก สตรอว์เบอร์รี่ รวมถึงมะระหวาน(ฟักแม้ว,ซาโยเต้) ที่ผมไปพูดคุยกับชาวม้งที่ปลูกมะระหวานว่าเดือนหนึ่งๆเขาตัดยอดมะระหวานขายทำเงินได้ร่วมแสนบาทเลยทีเดียว
นั่นจึงทำให้ผมนึกอยากเปลี่ยนอาชีพมาปลูกมะระหวานขายบ้าง แต่ว่าติดที่ตัวเองไม่มีที่ดินที่ทางทำกิน หนทางที่จะเป็นไปได้ งานนี้คงต้องขอสมัครเป็น “เขยม้ง” สถานเดียว
3...
หลังนั่งรถจากที่ทำการอช.คลองวังเจ้ามาได้ 2 ชั่วโมงกว่าๆ ผมก็มาถึงยังจุดจอดรถทางลงไปชมตัวน้ำตกคลองวังเจ้า ที่วันนี้บริเวณโดยรอบมีการพัฒนาเป็นลานกางเต็นท์ มีห้องน้ำห้องท่าให้บริการ
ขณะที่ทางเดินลง(และขึ้น)ไปชมตัวน้ำตกนั้นก็มีความเปลี่ยนแปลงเช่นกัน โดยล่าสุดเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมาทางอช.คลองวังเจ้าได้พัฒนาปรับปรุงเส้นทางเดินลงสู่น้ำตกระยะประมาณ 300 เมตรสายนี้ ให้เป็นบันไดปูน มีราวจับ เดินขึ้น-ลง สะดวกสบายขึ้น ซึ่งแต่เดิมทางสายนี้เป็นทางเดินป่าชันดิก ขาเดินลงนะไม่เท่าไหร่ แต่ขาเดินขึ้นนี่สิ เหนื่อยสุดยอด และเดินขึ้น-ลง ค่อนข้างลำบาก เมื่อทางอุทยานฯได้งบมาจึงปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้น เดินขึ้น-ลง สะดวกสบายขึ้น
แต่อย่างไรก็ดีในเรื่องของความชันนั้นยังคงชันดิกอยู่ดี โดยเมื่อเดินลงไปได้ประมาณ 50 เมตร จะมีระเบียงชมวิว มองเห็นตัวน้ำตกเต่าดำในมุมสูงทอดตัวเป็นสายข่าวทิ้งดิ่งหายไปในไพรพฤกษ์เบื้องหน้า เป็นดังการอุ่นเครื่องกระตุ้นอารมณ์ให้ผมรู้สึกอยากเดินลงไปชมความงามของน้ำตกแห่งนี้มากยิ่งขึ้น
จากนั้นอีกไม่นานผมกับเพื่อนๆก็ค่อยๆเดินลงมาถึงจุดหมาย คือตัวน้ำตกเต่าดำในชั้นไฮไลท์ที่ได้ชื่อว่าเป็นน้ำตกงามในระดับจ่าฝูงของน้ำตกในจังหวัดกำแพงเพชร
น้ำตกเต่าดำมีสายน้ำไหลตลอดทั้งปี โดยข้อมูลจากเอกสารส่วนใหญ่ระบุว่า น้ำตกเต่าดำมีทั้งหมด 3 ชั้น(แต่จากการสอบถามจากเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ที่คุ้นเคยกับน้ำตกเต่าดำเป็นอย่างดี ผมได้ข้อมูลใหม่มาว่า น้ำตกเต่าดำจากต้นน้ำสู่ปลายน้ำมีทังหมด 5 ชั้นด้วยกัน) น้ำตกที่เป็นชั้นไฮไลท์คือชั้นที่ 2 (บางข้อมูลบอกว่าชั้นนี้เป็นชั้นที่ 3)ที่ปรากฏภาพผ่านสื่อทั่วไปนั้น มีความสูงกว่า 200 เมตร
โดยน้ำตกเต่าดำในชั้นที่ 2 หรือชั้นไฮไลท์นี้ เมื่อไปยืนชมที่ด้านล่างบนลำธารหน้าน้ำตกจะมองเห็นเป็น 2 ชั้น ชั้นแรกมองเห็นเป็นสายน้ำตกแคบๆมีระยะความสูงไม่มากนัก แต่ว่าไหลรี่ลงมาจากยอดเขาสูง สู่ชั้นที่ 2 ที่มีความสูงกว่า 200 เมตร มองเห็นเป็นม่านน้ำตกอลังการสวยงาม ไหลเป็นทางยาวขาวฟูฟ่องทิ้งดิ่งโจนทะยานจากโตรกผาเบื้องบนแผ่สยายสู่แอ่งน้ำเบื้องล่าง ท่ามกลางต้นไม้รอบข้างที่เขียวครึ้ม ดูยิ่งใหญ่สวยงามเป็นยิ่งนัก
นอกจากนี้ที่ลำธารหน้าน้ำตกทางอุทยานฯยังทำสะพานไม้ไผ่เล็กๆให้คนเดินข้ามธารน้ำตกไปยังผืนป่าอีกฝั่ง ซึ่งในฝั่งนี้จะมีมุมเฉียงๆที่สามารถมองเห็นน้ำตกเต่าดำชั้นไฮไลท์ไหลยาวเป็นน้ำตกสายเดียวจากเบื้องบนสู่เบื้องล่างดูสวยงามน่ายลไปอีกแบบ
และนี่ก็คือมนต์เสน่ห์ของน้ำตกเต่าดำ น้ำตกงามอลังการที่ซ่อนตัวอยู่กลางหุบเขาพงไพรแห่ง อช.คลองวังเจ้า จ.กำแพงเพชร ดูถือว่าคุ้มค่าต่อความเหนื่อย-โหด ที่ดั้นด้นเดินทางมาชมเป็นอย่างยิ่ง
แต่...การเที่ยวชมน้ำตกเต่าดำของผมยังไม่จบเพียงเท่านี้ เพราะในฉากสุดท้ายก่อนจบ ก่อนจากน้ำตก ผมต้องเดินขึ้นบันไดสูงชัน 600 กว่าขั้นจากที่เดินลงมา กลับไปสู่ที่เดิม งานนี้บอกได้เลยว่า ชีวิตขาขึ้น(จากตัวน้ำตกเต่าดำ)มันทั้งเหนื่อย ทั้งหอบ จนทำให้ผมอดนึกถึงคำพูดของคุณลุงกะเหรี่ยงชาวบ้านบ้านโละโคะที่เคยพูดติดตลกให้ฟัง เมื่อครั้งที่ผมเคยมาเที่ยวน้ำตกเต่าดำเป็นครั้งแรกเมื่อ 9 ปีที่แล้ว ไม่ได้ว่า
“...ใครมาเที่ยวน้ำตกเต่าดำครั้งแรกนั้นถือว่า“โง่” แต่ถ้าใครมาเที่ยวน้ำตกเต่าดำครั้งที่ สองถือว่า “โง่ชิ...หา”
ครับ งานนี้ผมยอมเป็นคน“โง่ชิหา...” ด้วยการเลือกกลับมาเยือนน้ำตกเต่าดำอีกครั้ง เนื่องเพราะความงามอลังการของน้ำตกแห่งนี้ยังคงตราตรึง
ชนิดที่แม้จะต้องเป็นคน“โง่ชิหา...ซ้ำซาก”ก็ยินดี
*****************************************
“น้ำตกเต่าดำ” ตั้งอยู่ใน อ.คลองลาน ในเขตอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า จ.กำแพงเพชร เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ มีน้ำไหลตลอดทั้งปี ห่างจากที่ทำการ อช.คลองวังเจ้า 34 กม. มีสภาพเส้นทางวิบาก คดเคี้ยว ขึ้นเขา-ลงเขา และเป็นถนนเลนเดียว การขับรถต้องใช้ความระมัดระวังอย่างสูง และต้องบีบแตรส่งสัญญาณเตือนในหลายๆโค้ง รถเก๋งไม่สามารถเดินทางไปได้ ต้องใช้รถโฟร์วีล 4WD หรือรถกระบะที่มีกำลังขับเคลื่อนสูง หรือใช้บริการรถรับจ้างของคนในพื้นที่ หรือรถ 4WD ของทางอุทยานฯ(ไป-กลับ ราคา 3,500 บาท) ผู้สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อุทยานฯคลองวังเจ้า โทร.093-790-0935
นอกจากน้ำตกเต่าดำแล้ว อช.คลองวังเจ้า ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจ อาทิ น้ำตกคลองวังเจ้า น้ำตกสมอกล้วย น้ำตกกระแตไต่ไม้ น้ำตกนาฬิกาทราย น้ำตกคลองโป่ง(เป็นน้ำตกหินชนวนหนึ่งเดียวในเมืองไทย) รวมสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวให้เที่ยวอย่างเป็นทางการในปีนี้(58) คือ “เขาเย็น”(คนละที่กับช่องเย็น อช.แม่วงก์) ซึ่งผมจะขอนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับเขาเย็นในตอนต่อไป
ส่วน“สถานีพัฒนาเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ บ้านป่าคา” อยู่ในเส้นทางระหว่างไปน้ำตกเต่าดำ โดยจะมี 3 แยก หากไปทางซ้ายเป็นน้ำตกเต่าดำระยะทาง 3 กม. หากไปทางขวาเป็น สถานีฯบ้านป่าคา ระยะทาง 3 กม. เช่นกัน ภายในสถานีฯบ้านป่าคา มีบ้านพักให้บริการ และมีลานกางเต็นท์ไว้ให้ผู้สนใจนำเต็นท์ไปกางท่ามกลางบรรยากาศอันสวยงาม อากาศเย็นสบาย โดยสามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 50 คน ทั้งนี้นักท่องเที่ยวสามารถเข้าพักที่บ้านพักหรือนำเต็นท์ไปกางนอนได้ฟรี ผู้สนใจสอบถามเพิ่มเติมที่ 081-953-9547,095-950-4741
นอกจากนี้นักท่องเที่ยวผู้สนใจยังสามารถสอบถามข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับน้ำตกเต่าดำ อช.คลองวังเจ้า ที่พัก ร้านอาหาร และการเดินทางในจังหวัดกำแพงเพชร เพิ่มเติมได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)สำนักงานสุโขทัย (ดูแลพื้นที่สุโขทัย กำแพงเพชร) โทร.0-5561-6228-9
*****************************************
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com