โดย : ปิ่น บุตรี(pinn109@hotmail.com) เฟซบุ๊ก Travel-Unlimited-เที่ยวถึงไหนถึงกัน
“แผ่นดินไหว สะเทือนเลื่อนลั่น อันดามัน วิโยคโหยไห้ ผู้ที่รักพลัดพรากจากไป ไม่เหลือไว้ แม้คำบอกลา
สึนามิ ถาโถมกระหน่ำ สาดซัดซ้ำ บ้านเรือนแหลกสลาย ภาพที่เห็นผู้คนเกลื่อนตาย เปลี่ยนหาดทรายกลายเป็นหาดประหาร...”
เพลง : อยู่เคียงข้างเธออันดามัน : วงคาราวาน (บทเพลงที่แต่งขึ้นเป็นพิเศษในอัลบั้มพิเศษ “ซับน้ำตาอันดามัน” เพื่อไว้อาลัยต่อความสูญเสียจากเหตุการณ์ “สึนามิ” 26 ธ.ค. 2547)
1...
เช้าวันที่ 26 ธ.ค. 2547 นี่อาจเป็นเช้าธรรมดาของคนทั่วๆไป
แต่สำหรับใครอีกหลายๆคนมันคือเช้าแห่งความเศร้าสลด เช้าแห่งความสูญเสีย ทั้ง เสียชีวิต เสียคนรัก เสียบ้านเรือน เสียทรัพย์สิน เสีย ฯลฯ จนทำให้หลายๆคน “เสียศูนย์” จากเหตุการณ์ภัยพิบัติสะเทือนขวัญโลก หลังเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในมหาสมุทรอินเดีย ได้เกิดคลื่นยักษ์ “สึนามิ” พัดถาโถมโหมกระหน่ำในพื้นที่ชายทะเลหลายประเทศ อาทิ อินโดนีเซีย ศรีลังกา อินเดีย พม่า รวมถึง 6 จังหวัดอันดามันในภาคใต้ของบ้านเรา
สำหรับหนึ่งในสถานที่ที่แห่งความสูญเสียหนักก็คือ “เกาะพระทอง” แห่ง จ.พังงา ที่นี่ถูกคลื่นยักษ์สึนามิถั่งโถมโหมกระหน่ำจนย่อยยับ โดยเฉพาะกับ“หมู่บ้านปากจก” ที่ผมเคยมีความหลังอันแสนประทับใจ เพราะเคยไปเที่ยว ไปกิน ไปนอนที่นี่ ที่บ้านเพื่อนชาวเกาะพระทอง(ณรงค์) ซึ่งเช้าวันนั้นหมู่บ้านปากจกได้ถูกคลื่นยักษ์พัดเสียหายทั้งหมู่บ้าน บ้านเรือนราบพนาสูร ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก รวมถึงครอบครัวของณรงค์ซึ่งถูกคลื่นยักษ์พัดทำลายเสียชีวิตเกือบหมด ขณะที่เพื่อนผมนั้นโชคดีเพราะวันนั้นเขาติดทำธุระอยู่บนฝั่ง
มาวันนี้เหตุการณ์สึนามิผ่านพ้นมา 10 ปีแล้ว แต่ความทรงจำอันแสนงามที่เกาะพระทองยังคงอยู่
2...
เกาะพระทอง ตั้งอยู่ใน อ.คุระบุรี จ.พังงา มีพื้นที่ 102 ตารางกิโลเมตร (ข้อมูลจาก อบต.เกาะพระทอง) เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในพังงาและใหญ่เป็นอันดับ 5 ของเมืองไทย
สภาพพื้นที่บนเกาะพระทองเกิดจากซากปะการังทับถมกันมายาวนานนับล้านๆปี เกิดเป็นเกาะที่มีสภาพภูมิประเทศลักษณะพิเศษ คือมีพื้นที่ส่วนใหญ่ค่อนข้างแบนราบ แต่ก็มีความหลากหลายทางชีวภาพอยู่มากพอตัว บนเกาะมีทั้งชายหาด ป่าชายหาด ป่าชายเลน ป่าพรุ ป่าเสม็ด ทุ่งหญ้า ไม้พุ่ม พืชสังคมทดแทน และกล้วยไม้เฉพาะถิ่นหายาก
ขณะที่พืชเศรษฐกิจบนเกาะนั้น มีหลักๆอยู่ 2 ชนิดคือ มะพร้าวและมะม่วงหิมพานต์(กาหยี) เนื่องจากสภาพดินบนเกาะเป็นดินปนทรายไม่เหมาะต่อการปลูกพืชทั่วๆไป หากแต่สามารถปลูกพืช 2 ชนิดดังกล่าวได้ดี
สำหรับมนต์เสน่ห์ทั้งธรรมชาติและการท่องเที่ยวที่นี่ ทางฝั่งตะวันออกของเกาะ(ที่อยู่ห่างจากคุระบุรีแค่ราว 2 กม.) ถือเป็นแหล่งทรัพยากรสำคัญและคลังอาหาร(จากธรรมชาติ)ชั้นเลิศของชาวเกาะ เนื่องเพราะเป็นผืนป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ อุดมไปด้วย กุ้ง หอย ปู ปลา โดยเฉพาะกับ “ปูดำ” ที่นี่ขึ้นชื่อนัก ถือเป็นสัตว์เศรษฐกิจอันโดดเด่น
ส่วนทางด้านฝั่งตะวันตกจะเป็นแนวชายหาดอันสวยงามทอดยาวมีทิวสนขึ้นประดับในบางช่วง ขณะที่ถัดลึกเข้ามาจะเป็น“ป่าเสม็ด”กับ“ทุ่งหญ้า”ขนาดกว้างใหญ่อันโดดเด่นสวยงาม นับเป็นไฮไลท์สำคัญของการท่องเที่ยวที่นี่ โดยเฉพาะกับการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่จัดการโดยชาวบ้านที่นั่นกับกิจกรรม นั่งรถ“อีแต๊ก” เที่ยวชมธรรมชาติ
โดยเส้นทางหลักๆของการท่องเที่ยวนั้น รถอีแต๊กจะวิ่งลัดเลาะไปบนถนนสุดแคบที่คนขับต้องชำนาญมาก เพราะไม่งั้นอาจขับตกถนนเอาได้ง่ายๆ
เส้นทางท่องเที่ยวสายนี้จะวิ่งผ่านสวนมะม่วงหิมพานต์ ออกไปสู่ป่าบก ผ่านป่าพรุ จากนั้นจึงเข้าสู่ดง “ป่าเสม็ด” บนเส้นทางลำลองในผืนป่าเสม็ดอันกว้างใหญ่บนพื้นที่เกือบหมื่นไร่
ป่าเสม็ดที่นี่เป็นป่าต้นเสม็ดขาว โดยรูปทรงของต้นเสม็ดส่วนใหญ่จะดูแปลกตา หงิกงอ หยึกหยัก ตามพื้นดินมีหญ้าต้นเตี้ยๆขึ้นแซมเต็มไปทั่วบริเวณ นับเป็นทุ่งป่าเสม็ดที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของธรรมชาติอย่างลงตัวสวยงาม นอกจากนี้ตามลำต้นเสม็ดหลายๆต้นยังมีกล้วยไม้ พืชอิงแอบอาศัยต่างๆขึ้นอยู่แบบพึ่งพาอาศัยกัน อีกทั้งยังมีเอื้องปากนกแก้ว กล้วยไม้พันธุ์หายาหให้ชมกันบนเกาะแห่งนี้
ในเส้นทางท่องเที่ยวเมื่อพ้นเลยจากป่าเสม็ดไปเป็นทุ่งหญ้ากว้างที่ได้รับการยกย่องให้เป็นอันซีนไทยแลนด์ ที่คนรู้จักกันดีในนาม“ทุ่งสะวันนาเกาะพระทอง” หรือบางคนก็เรียกว่า “ทุ่งหญ้าซาฟารี”
ทุ่งหญ้าแห่งนี้หากมาในช่วงฤดูแล้งที่หญ้าจะเปลี่ยนสีจากเขียวเป็นเหลืองไปจนถึงน้ำตาลอ่อนๆ จะแลดูสวยงามมาก โดยเฉพาะในยามเช้าหรือยามเย็นเมื่อแสงแดดอ่อนๆส่องอาบไล้ ทุ่งหญ้าเหล่านี้จะกลายเป็นทุ่งหญ้าสีทองเหลืองอร่าม สร้างความน่าหลงใหลตื่นตาตื่นใจแก่ผู้พบเห็นไม่น้อยเลย
บนเกาะพระทองยังมีหาดทรายชายทะเลอันสวยงามอยู่ ณ บริเวณที่เรียกว่า “สุดขอบฟ้า” ที่ตั้งชื่อตามรีสอร์ทดั้งเดิมของที่นี่
บริเวณทะเลสุดขอบฟ้าจะมีเนินน้อยๆเป็นจุดชมวิวให้ขึ้นไปชมทิวทัศน์ของแนวเวิ้งอ่าว ถือเป็นพื้นที่ธรรมชาติที่สูงสุดบนเกาะแห่งนี้
ขณะที่ตามแนวชายหาดมีหาดตาสุขในบริเวณรีสอร์ทเป็นจุดพักผ่อนสำคัญของชาวต่างชาติ ส่วนจุดชมพระอาทิตย์ตกอันสวยงามในบริเวณนี้ ก็ต้องที่“อ่าวตาแดง” หรือ ที่หลายคนเรียกว่า“อ่าวตาฉุย”เพราะเรียกชื่อตามรีสอร์ท “ทับตาฉุย” ที่ตั้งอยู่หลังแนวหาดนี้
บริเวณอ่าวตาฉุยเมื่อมองออกไปในทะเลจะเห็นเกาะปลิงใหญ่ ปลิงเล็ก ทอดตัวอยู่คู่กันในท้องทะเล นอกจากนี้ยังมีแนวโขดหิน “พ่อตาหินกอง” ที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือ โดยมีการตั้งศาลไว้คู่กับต้นสนหนึ่งเดียวอันโดดเด่นตระหง่าน
พ่อตาหินกองนับเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกที่หาไม่ได้ง่ายๆในเมืองไทย เพราะมีทั้งความงดงามและความศักดิ์สิทธิ์อยู่ในตัว
3…
ธรรมชาติบนเกาะพระทองยังมากมีไปด้วยสัตว์นานาพันธุ์ โดยเฉพาะกับ“กวางม้า” หรือ กวางป่าตัวโตนั้นถือเป็นดังไฮไลท์ของที่นี่เลยทีเดียว แต่สภาพของกวางม้านั้นก็น่าห่วงไม่น้อย เพราะด้านหนึ่งมันถูกหมาไล่ล่า จากหมาบ้านที่เริ่มเปลี่ยนไปเป็นหมาหากินกับป่าเปลี่ยนวิถีมาเป็นหมาผู้ไล่ล่า อันเนื่องมาจากเจ้าของหมาพวกนี้ส่วนหนึ่งเสียชีวิตจากเหตุการณ์สึนามิ ขณะที่เจ้าของหมาอีกส่วนหนึ่งได้อพยพไปอยู่ฝั่งหลังเหตุการณ์สึนามิ ปล่อยทิ้งพวกมันให้หากินตามยถากรรม
ส่วนอีกหนึ่งผู้ล่ากวางที่สำคัญนั้นย่อมหนีไม่พ้น “คน” ที่มีทั้งคนนอกคนใน ซึ่งชาวบ้านในพื้นที่กลุ่มหนึ่งได้ตั้งกลุ่มอนุรักษ์กวางขึ้นมา คอยดูแลไม่ให้ทั้งหมาทั้งคนไล่ล่า และร่วมอยู่กับกวางอย่างเป็นมิตร
นอกจากนี้บนเกาะพระทองยังเป็นแหล่งวางไข่เต่าทะเลที่สำคัญของเมืองไทย ซึ่งชาวบ้านได้ตั้งกลุ่มอนุรักษ์ดูแลเต่าทะเลขึ้นมา อีกทั้งยังเป็นแหล่งดูนกที่สำคัญ เพราะบนเกาะมีนกเกือบ 140 ชนิด ทั้งนกป่า นกน้ำ มีนกที่เด่นๆอย่าง กาน้ำ เหยี่ยวแดง กระสานวล ปากซ่อม รวมถึงนกหายากอย่าง “นกแก๊ก” และ“นกตะกรุม” ที่หายากและใกล้สูญพันธุ์ นับเป็นอีกหนึ่งไฮไลท์อันโดดเด่นที่ตอกย้ำถึงลักษณะเฉพาะและความหลากหลายทางธรรมชาติของเกาะพระทอง
ขณะที่ในด้านวิถีความเป็นอยู่ของชาวบ้านที่ถูกชูขึ้นมาเป็นสิ่งดึงดูทางการท่องเที่ยวก็อย่างเช่น การทำประมงพื้นบ้าน จับเคย แมงกะพรุน(ตามฤดูกาล) เรียนรู้เรื่องการอนุรักษ์เต่าทะเล ชมแหล่งกล้วยไม้ดอนมาลี ชมการทำผ้ามัดย้อมธรรมชาติ การคั่วกาหยี ทำใบจาก การทำกะปิปากจกที่ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในกะปิที่ดีที่สุดในเมืองไทย
4...
แม้จะเป็นเกาะขนาดใหญ่ แต่เกาะพระทองกลับมีแค่ 3 หมู่บ้าน คือบ้านปากจก บ้านทุ่งดาบ และบ้านแป๊ะโย้ย เดิมที่เกาะเคยมีประชากรอาศัยอยู่ในหลักหลายร้อย แต่หลังเหตุการณ์สึนามิประชากรหายไปกว่าครึ่ง นั่นจึงทำให้เกาะพระทองวันนี้มีสภาพเงียบเหงาไม่น้อย โดยเฉพาะกับบ้านปากจกที่เคยถูกสึนามิซัดเสียหายหนักนั้น ปัจจุบันสร้างใหม่เป็นหมู่บ้านไลอ้อนที่มีคนอยู่ไม่มาก เพราะชาวบ้านส่วนใหญ่กลัวและยังติดกับภาพฝันร้ายของเหตุการณ์สึนามิเมื่อ 10 ปีก่อน
สำหรับผมการได้กลับไปเยือนหมู่บ้านปากจกแห่งเกาะพระทองเมื่อหนล่าสุดนั้น มันชวนให้สะทกสะท้อนใจไม่ได้ เพราะที่นี่ในอดีตเมื่อปี พ.ศ. 2543 นั้น ณรงค์เพื่อนชาวเกาะพระทองได้ชวนไปเที่ยวบ้านมันที่ “หมู่บ้านปากจก” และนั่นเป็นครั้งแรกที่ผมได้รู้จักกับเกาะพระทอง ซึ่งด้วยความงดงามจากธรรมชาติอันพิสุทธิ์ผสานกับวิถีชีวิตอันเรียบง่ายแต่ทรงเสน่ห์
หลังจากนั้นในปี 2546 ด้วยมนต์เสน่ห์ความงามและความเป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่ โดยเฉพาะกับทุ่งหญ้าสีทองอันงดงามจนได้รับฉายาว่า“สะวันนาเมืองไทย” กับหาดทรายชายทะเลอันสวยงามพิสุทธ์ ทำให้เกาะพระทองถูกยกให้เป็นหนึ่งใน “อันซีนไทยแลนด์” จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) ส่งผลให้เกาะแห่งนี้โด่งดังขึ้นชื่อเพียงชั่วข้ามคืน จนหลายคนอดหวั่นไม่ได้ว่าชื่อเสียง ความโด่งดังที่มาเร็วเกินไป อาจจะทำให้เกาะพระทองต้องเสียศูนย์ในอนาคตอันไม่ไกล
แต่ทว่า...ในวันที่ 26 ธ.ค. 2547 เกิดเหตุการณ์ธรรมชาติวิปโยค คลื่นยักษ์สึนามิที่คนไทยไม่เคยพบพาน ได้ถั่งโถมโหมกระหน่ำเกาะพระทองจนย่อยยับ ส่งผลให้การท่องเที่ยวบนเกาะพระทองที่กำลังมาแรงจากอันซีนไทยแลนด์ต้อง สะดุดล้มโครม
มาจนถึงวันนี้สภาพการณ์ทางการท่องเที่ยวบนเกาะพระทอง(ในสายตาของคนทำธุรกิจท่องเที่ยวและหน่วยงายที่ดูแลด้านการท่องเที่ยว)มองว่ายังไม่ฟื้น แต่กับธรรมชาติบนเกาะพระทองนั้นฟื้นนานแล้ว
สำหรับผมเกาะพระทองแม้จะเป็นดาวรุ่งอับแสงหลังสึนามิ แต่นี่ถือเป็นอีกหนึ่งเกาะงามมากเสน่ห์ที่มีความน่าสนใจน่าไปเที่ยว ไปสัมผัสไม่น้อย
ส่วนที่สำคัญก็คือ เกาะพระทองมันคืออดีตอันแสนประทับใจ
คือความทรงจำชั้นดีที่ผมไม่มีวันลืมเลือน
*****************************************
เกาะพระทอง ตั้งอยู่ที่ อ.คุระบุรี จ.พังงา เป็นเกาะที่เหมาะแก่การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เรียนรู้วิถีชุมชน หรือท่องเที่ยวเชิงจิตอาสา CSR เพราะบนเกาะมีความสงบ มีธรรมชาติที่ยังสมบูรณ์ ไม่ใช่เกาะแห่งแสงสี หรือการท่องเที่ยวแบบสะดวกหรูหรา เพราะการสัญจรบนเกาะ ต้องใช้รถอีแต๊ก รถขับเคลื่อน 4 ล้อ รถจักรยานยนตร์พ่วงข้าง หรือทางเรือ ใกล้ๆกับเกาะพระทองมี เกาะระ และ เกาะคอเขา เป็น 2 เกาะท่องเที่ยวที่น่าสนใจเคียงคู่กัน
ผู้สนใจข้อมูลท่องเที่ยวเกาะพระทองเพิ่มเติมสอบถามได้ที่ ศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยวจังหวัดพังงา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) โทร.0-7648-1900-2
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com
“แผ่นดินไหว สะเทือนเลื่อนลั่น อันดามัน วิโยคโหยไห้ ผู้ที่รักพลัดพรากจากไป ไม่เหลือไว้ แม้คำบอกลา
สึนามิ ถาโถมกระหน่ำ สาดซัดซ้ำ บ้านเรือนแหลกสลาย ภาพที่เห็นผู้คนเกลื่อนตาย เปลี่ยนหาดทรายกลายเป็นหาดประหาร...”
เพลง : อยู่เคียงข้างเธออันดามัน : วงคาราวาน (บทเพลงที่แต่งขึ้นเป็นพิเศษในอัลบั้มพิเศษ “ซับน้ำตาอันดามัน” เพื่อไว้อาลัยต่อความสูญเสียจากเหตุการณ์ “สึนามิ” 26 ธ.ค. 2547)
1...
เช้าวันที่ 26 ธ.ค. 2547 นี่อาจเป็นเช้าธรรมดาของคนทั่วๆไป
แต่สำหรับใครอีกหลายๆคนมันคือเช้าแห่งความเศร้าสลด เช้าแห่งความสูญเสีย ทั้ง เสียชีวิต เสียคนรัก เสียบ้านเรือน เสียทรัพย์สิน เสีย ฯลฯ จนทำให้หลายๆคน “เสียศูนย์” จากเหตุการณ์ภัยพิบัติสะเทือนขวัญโลก หลังเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในมหาสมุทรอินเดีย ได้เกิดคลื่นยักษ์ “สึนามิ” พัดถาโถมโหมกระหน่ำในพื้นที่ชายทะเลหลายประเทศ อาทิ อินโดนีเซีย ศรีลังกา อินเดีย พม่า รวมถึง 6 จังหวัดอันดามันในภาคใต้ของบ้านเรา
สำหรับหนึ่งในสถานที่ที่แห่งความสูญเสียหนักก็คือ “เกาะพระทอง” แห่ง จ.พังงา ที่นี่ถูกคลื่นยักษ์สึนามิถั่งโถมโหมกระหน่ำจนย่อยยับ โดยเฉพาะกับ“หมู่บ้านปากจก” ที่ผมเคยมีความหลังอันแสนประทับใจ เพราะเคยไปเที่ยว ไปกิน ไปนอนที่นี่ ที่บ้านเพื่อนชาวเกาะพระทอง(ณรงค์) ซึ่งเช้าวันนั้นหมู่บ้านปากจกได้ถูกคลื่นยักษ์พัดเสียหายทั้งหมู่บ้าน บ้านเรือนราบพนาสูร ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก รวมถึงครอบครัวของณรงค์ซึ่งถูกคลื่นยักษ์พัดทำลายเสียชีวิตเกือบหมด ขณะที่เพื่อนผมนั้นโชคดีเพราะวันนั้นเขาติดทำธุระอยู่บนฝั่ง
มาวันนี้เหตุการณ์สึนามิผ่านพ้นมา 10 ปีแล้ว แต่ความทรงจำอันแสนงามที่เกาะพระทองยังคงอยู่
2...
เกาะพระทอง ตั้งอยู่ใน อ.คุระบุรี จ.พังงา มีพื้นที่ 102 ตารางกิโลเมตร (ข้อมูลจาก อบต.เกาะพระทอง) เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในพังงาและใหญ่เป็นอันดับ 5 ของเมืองไทย
สภาพพื้นที่บนเกาะพระทองเกิดจากซากปะการังทับถมกันมายาวนานนับล้านๆปี เกิดเป็นเกาะที่มีสภาพภูมิประเทศลักษณะพิเศษ คือมีพื้นที่ส่วนใหญ่ค่อนข้างแบนราบ แต่ก็มีความหลากหลายทางชีวภาพอยู่มากพอตัว บนเกาะมีทั้งชายหาด ป่าชายหาด ป่าชายเลน ป่าพรุ ป่าเสม็ด ทุ่งหญ้า ไม้พุ่ม พืชสังคมทดแทน และกล้วยไม้เฉพาะถิ่นหายาก
ขณะที่พืชเศรษฐกิจบนเกาะนั้น มีหลักๆอยู่ 2 ชนิดคือ มะพร้าวและมะม่วงหิมพานต์(กาหยี) เนื่องจากสภาพดินบนเกาะเป็นดินปนทรายไม่เหมาะต่อการปลูกพืชทั่วๆไป หากแต่สามารถปลูกพืช 2 ชนิดดังกล่าวได้ดี
สำหรับมนต์เสน่ห์ทั้งธรรมชาติและการท่องเที่ยวที่นี่ ทางฝั่งตะวันออกของเกาะ(ที่อยู่ห่างจากคุระบุรีแค่ราว 2 กม.) ถือเป็นแหล่งทรัพยากรสำคัญและคลังอาหาร(จากธรรมชาติ)ชั้นเลิศของชาวเกาะ เนื่องเพราะเป็นผืนป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ อุดมไปด้วย กุ้ง หอย ปู ปลา โดยเฉพาะกับ “ปูดำ” ที่นี่ขึ้นชื่อนัก ถือเป็นสัตว์เศรษฐกิจอันโดดเด่น
ส่วนทางด้านฝั่งตะวันตกจะเป็นแนวชายหาดอันสวยงามทอดยาวมีทิวสนขึ้นประดับในบางช่วง ขณะที่ถัดลึกเข้ามาจะเป็น“ป่าเสม็ด”กับ“ทุ่งหญ้า”ขนาดกว้างใหญ่อันโดดเด่นสวยงาม นับเป็นไฮไลท์สำคัญของการท่องเที่ยวที่นี่ โดยเฉพาะกับการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่จัดการโดยชาวบ้านที่นั่นกับกิจกรรม นั่งรถ“อีแต๊ก” เที่ยวชมธรรมชาติ
โดยเส้นทางหลักๆของการท่องเที่ยวนั้น รถอีแต๊กจะวิ่งลัดเลาะไปบนถนนสุดแคบที่คนขับต้องชำนาญมาก เพราะไม่งั้นอาจขับตกถนนเอาได้ง่ายๆ
เส้นทางท่องเที่ยวสายนี้จะวิ่งผ่านสวนมะม่วงหิมพานต์ ออกไปสู่ป่าบก ผ่านป่าพรุ จากนั้นจึงเข้าสู่ดง “ป่าเสม็ด” บนเส้นทางลำลองในผืนป่าเสม็ดอันกว้างใหญ่บนพื้นที่เกือบหมื่นไร่
ป่าเสม็ดที่นี่เป็นป่าต้นเสม็ดขาว โดยรูปทรงของต้นเสม็ดส่วนใหญ่จะดูแปลกตา หงิกงอ หยึกหยัก ตามพื้นดินมีหญ้าต้นเตี้ยๆขึ้นแซมเต็มไปทั่วบริเวณ นับเป็นทุ่งป่าเสม็ดที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของธรรมชาติอย่างลงตัวสวยงาม นอกจากนี้ตามลำต้นเสม็ดหลายๆต้นยังมีกล้วยไม้ พืชอิงแอบอาศัยต่างๆขึ้นอยู่แบบพึ่งพาอาศัยกัน อีกทั้งยังมีเอื้องปากนกแก้ว กล้วยไม้พันธุ์หายาหให้ชมกันบนเกาะแห่งนี้
ในเส้นทางท่องเที่ยวเมื่อพ้นเลยจากป่าเสม็ดไปเป็นทุ่งหญ้ากว้างที่ได้รับการยกย่องให้เป็นอันซีนไทยแลนด์ ที่คนรู้จักกันดีในนาม“ทุ่งสะวันนาเกาะพระทอง” หรือบางคนก็เรียกว่า “ทุ่งหญ้าซาฟารี”
ทุ่งหญ้าแห่งนี้หากมาในช่วงฤดูแล้งที่หญ้าจะเปลี่ยนสีจากเขียวเป็นเหลืองไปจนถึงน้ำตาลอ่อนๆ จะแลดูสวยงามมาก โดยเฉพาะในยามเช้าหรือยามเย็นเมื่อแสงแดดอ่อนๆส่องอาบไล้ ทุ่งหญ้าเหล่านี้จะกลายเป็นทุ่งหญ้าสีทองเหลืองอร่าม สร้างความน่าหลงใหลตื่นตาตื่นใจแก่ผู้พบเห็นไม่น้อยเลย
บนเกาะพระทองยังมีหาดทรายชายทะเลอันสวยงามอยู่ ณ บริเวณที่เรียกว่า “สุดขอบฟ้า” ที่ตั้งชื่อตามรีสอร์ทดั้งเดิมของที่นี่
บริเวณทะเลสุดขอบฟ้าจะมีเนินน้อยๆเป็นจุดชมวิวให้ขึ้นไปชมทิวทัศน์ของแนวเวิ้งอ่าว ถือเป็นพื้นที่ธรรมชาติที่สูงสุดบนเกาะแห่งนี้
ขณะที่ตามแนวชายหาดมีหาดตาสุขในบริเวณรีสอร์ทเป็นจุดพักผ่อนสำคัญของชาวต่างชาติ ส่วนจุดชมพระอาทิตย์ตกอันสวยงามในบริเวณนี้ ก็ต้องที่“อ่าวตาแดง” หรือ ที่หลายคนเรียกว่า“อ่าวตาฉุย”เพราะเรียกชื่อตามรีสอร์ท “ทับตาฉุย” ที่ตั้งอยู่หลังแนวหาดนี้
บริเวณอ่าวตาฉุยเมื่อมองออกไปในทะเลจะเห็นเกาะปลิงใหญ่ ปลิงเล็ก ทอดตัวอยู่คู่กันในท้องทะเล นอกจากนี้ยังมีแนวโขดหิน “พ่อตาหินกอง” ที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือ โดยมีการตั้งศาลไว้คู่กับต้นสนหนึ่งเดียวอันโดดเด่นตระหง่าน
พ่อตาหินกองนับเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกที่หาไม่ได้ง่ายๆในเมืองไทย เพราะมีทั้งความงดงามและความศักดิ์สิทธิ์อยู่ในตัว
3…
ธรรมชาติบนเกาะพระทองยังมากมีไปด้วยสัตว์นานาพันธุ์ โดยเฉพาะกับ“กวางม้า” หรือ กวางป่าตัวโตนั้นถือเป็นดังไฮไลท์ของที่นี่เลยทีเดียว แต่สภาพของกวางม้านั้นก็น่าห่วงไม่น้อย เพราะด้านหนึ่งมันถูกหมาไล่ล่า จากหมาบ้านที่เริ่มเปลี่ยนไปเป็นหมาหากินกับป่าเปลี่ยนวิถีมาเป็นหมาผู้ไล่ล่า อันเนื่องมาจากเจ้าของหมาพวกนี้ส่วนหนึ่งเสียชีวิตจากเหตุการณ์สึนามิ ขณะที่เจ้าของหมาอีกส่วนหนึ่งได้อพยพไปอยู่ฝั่งหลังเหตุการณ์สึนามิ ปล่อยทิ้งพวกมันให้หากินตามยถากรรม
ส่วนอีกหนึ่งผู้ล่ากวางที่สำคัญนั้นย่อมหนีไม่พ้น “คน” ที่มีทั้งคนนอกคนใน ซึ่งชาวบ้านในพื้นที่กลุ่มหนึ่งได้ตั้งกลุ่มอนุรักษ์กวางขึ้นมา คอยดูแลไม่ให้ทั้งหมาทั้งคนไล่ล่า และร่วมอยู่กับกวางอย่างเป็นมิตร
นอกจากนี้บนเกาะพระทองยังเป็นแหล่งวางไข่เต่าทะเลที่สำคัญของเมืองไทย ซึ่งชาวบ้านได้ตั้งกลุ่มอนุรักษ์ดูแลเต่าทะเลขึ้นมา อีกทั้งยังเป็นแหล่งดูนกที่สำคัญ เพราะบนเกาะมีนกเกือบ 140 ชนิด ทั้งนกป่า นกน้ำ มีนกที่เด่นๆอย่าง กาน้ำ เหยี่ยวแดง กระสานวล ปากซ่อม รวมถึงนกหายากอย่าง “นกแก๊ก” และ“นกตะกรุม” ที่หายากและใกล้สูญพันธุ์ นับเป็นอีกหนึ่งไฮไลท์อันโดดเด่นที่ตอกย้ำถึงลักษณะเฉพาะและความหลากหลายทางธรรมชาติของเกาะพระทอง
ขณะที่ในด้านวิถีความเป็นอยู่ของชาวบ้านที่ถูกชูขึ้นมาเป็นสิ่งดึงดูทางการท่องเที่ยวก็อย่างเช่น การทำประมงพื้นบ้าน จับเคย แมงกะพรุน(ตามฤดูกาล) เรียนรู้เรื่องการอนุรักษ์เต่าทะเล ชมแหล่งกล้วยไม้ดอนมาลี ชมการทำผ้ามัดย้อมธรรมชาติ การคั่วกาหยี ทำใบจาก การทำกะปิปากจกที่ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในกะปิที่ดีที่สุดในเมืองไทย
4...
แม้จะเป็นเกาะขนาดใหญ่ แต่เกาะพระทองกลับมีแค่ 3 หมู่บ้าน คือบ้านปากจก บ้านทุ่งดาบ และบ้านแป๊ะโย้ย เดิมที่เกาะเคยมีประชากรอาศัยอยู่ในหลักหลายร้อย แต่หลังเหตุการณ์สึนามิประชากรหายไปกว่าครึ่ง นั่นจึงทำให้เกาะพระทองวันนี้มีสภาพเงียบเหงาไม่น้อย โดยเฉพาะกับบ้านปากจกที่เคยถูกสึนามิซัดเสียหายหนักนั้น ปัจจุบันสร้างใหม่เป็นหมู่บ้านไลอ้อนที่มีคนอยู่ไม่มาก เพราะชาวบ้านส่วนใหญ่กลัวและยังติดกับภาพฝันร้ายของเหตุการณ์สึนามิเมื่อ 10 ปีก่อน
สำหรับผมการได้กลับไปเยือนหมู่บ้านปากจกแห่งเกาะพระทองเมื่อหนล่าสุดนั้น มันชวนให้สะทกสะท้อนใจไม่ได้ เพราะที่นี่ในอดีตเมื่อปี พ.ศ. 2543 นั้น ณรงค์เพื่อนชาวเกาะพระทองได้ชวนไปเที่ยวบ้านมันที่ “หมู่บ้านปากจก” และนั่นเป็นครั้งแรกที่ผมได้รู้จักกับเกาะพระทอง ซึ่งด้วยความงดงามจากธรรมชาติอันพิสุทธิ์ผสานกับวิถีชีวิตอันเรียบง่ายแต่ทรงเสน่ห์
หลังจากนั้นในปี 2546 ด้วยมนต์เสน่ห์ความงามและความเป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่ โดยเฉพาะกับทุ่งหญ้าสีทองอันงดงามจนได้รับฉายาว่า“สะวันนาเมืองไทย” กับหาดทรายชายทะเลอันสวยงามพิสุทธ์ ทำให้เกาะพระทองถูกยกให้เป็นหนึ่งใน “อันซีนไทยแลนด์” จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) ส่งผลให้เกาะแห่งนี้โด่งดังขึ้นชื่อเพียงชั่วข้ามคืน จนหลายคนอดหวั่นไม่ได้ว่าชื่อเสียง ความโด่งดังที่มาเร็วเกินไป อาจจะทำให้เกาะพระทองต้องเสียศูนย์ในอนาคตอันไม่ไกล
แต่ทว่า...ในวันที่ 26 ธ.ค. 2547 เกิดเหตุการณ์ธรรมชาติวิปโยค คลื่นยักษ์สึนามิที่คนไทยไม่เคยพบพาน ได้ถั่งโถมโหมกระหน่ำเกาะพระทองจนย่อยยับ ส่งผลให้การท่องเที่ยวบนเกาะพระทองที่กำลังมาแรงจากอันซีนไทยแลนด์ต้อง สะดุดล้มโครม
มาจนถึงวันนี้สภาพการณ์ทางการท่องเที่ยวบนเกาะพระทอง(ในสายตาของคนทำธุรกิจท่องเที่ยวและหน่วยงายที่ดูแลด้านการท่องเที่ยว)มองว่ายังไม่ฟื้น แต่กับธรรมชาติบนเกาะพระทองนั้นฟื้นนานแล้ว
สำหรับผมเกาะพระทองแม้จะเป็นดาวรุ่งอับแสงหลังสึนามิ แต่นี่ถือเป็นอีกหนึ่งเกาะงามมากเสน่ห์ที่มีความน่าสนใจน่าไปเที่ยว ไปสัมผัสไม่น้อย
ส่วนที่สำคัญก็คือ เกาะพระทองมันคืออดีตอันแสนประทับใจ
คือความทรงจำชั้นดีที่ผมไม่มีวันลืมเลือน
*****************************************
เกาะพระทอง ตั้งอยู่ที่ อ.คุระบุรี จ.พังงา เป็นเกาะที่เหมาะแก่การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เรียนรู้วิถีชุมชน หรือท่องเที่ยวเชิงจิตอาสา CSR เพราะบนเกาะมีความสงบ มีธรรมชาติที่ยังสมบูรณ์ ไม่ใช่เกาะแห่งแสงสี หรือการท่องเที่ยวแบบสะดวกหรูหรา เพราะการสัญจรบนเกาะ ต้องใช้รถอีแต๊ก รถขับเคลื่อน 4 ล้อ รถจักรยานยนตร์พ่วงข้าง หรือทางเรือ ใกล้ๆกับเกาะพระทองมี เกาะระ และ เกาะคอเขา เป็น 2 เกาะท่องเที่ยวที่น่าสนใจเคียงคู่กัน
ผู้สนใจข้อมูลท่องเที่ยวเกาะพระทองเพิ่มเติมสอบถามได้ที่ ศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยวจังหวัดพังงา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) โทร.0-7648-1900-2
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com