โดย : ปิ่น บุตรี(pinn109@hotmail.com) เฟซบุ๊ค Travel-Unlimited-เที่ยวถึงไหนถึงกัน
“ข้าพเจ้าไม่ใช่คนอยู่ป่า แต่ข้าพเจ้าชื่นชอบในบรรยากาศการเดินป่า”
ขออนุญาตเลียนแบบอมตะสำนวนสุราของ “โก้วเล้ง - มังกรโบราณ” เพราะนี่เป็นอีกครั้งของการเดินป่าที่ผมประทับใจ อีกทั้งยังการเดินป่าครั้งนี้ยังมีเป้าหมายพิเศษอยู่ที่การไป“ตามหาหัวใจ”กลางผืนป่าใหญ่แห่ง อ.อุ้มผาง จ.ตาก (ซึ่งผมได้เขียนเล่าไปในตอนที่แล้ว)
สำหรับหัวใจดวงนั้น เป็นหัวใจที่เกิดจากความมหัศจรรย์เล็กๆของธรรมชาติ นาม “น้ำตกปิตุโกร” น้ำตกที่สูงที่สุดในเมืองไทย(สูงกว่า 500 เมตร) ที่ในชั้นไฮไลท์นอกจากจะมีความสวยงามและน่าตื่นตาตื่นใจไปด้วยน้ำตกรูปหัวใจที่ชวนเพริศแพร้วกระไรปานนั้นแล้ว ในเส้นทางพิชิตปิตุโกรยังมีอีกหนึ่งเป้าหมายสำคัญคือ การพิชิต“ดอยสามหมื่น” ที่ต้นน้ำ ตาน้ำบนยอดดอย ได้ไหลมารวมกันเป็นสายน้ำตกปิตุโกร
1...
ดอยสามหมื่น หรือ ดอยมะม่วงสามหมื่น เป็นดอยที่มีข้อมูลระบุว่า มียอดสูงสุดสูงราว 1,700 -1,800 เมตร ที่มาที่ไปของชื่อดอยไม่มีข้อมูลระบุชัดเจน ขณะที่การสอบถามคนในพื้นก็ไม่มีความแน่ชัด บ้างก็ว่าเคยมีต้นมะม่วงอยู่บนยอดดอย บ้างก็บอกว่าเรียกมาตามๆกัน
ส่วนคำว่า“สามหมื่น”นั้น มีการให้ข้อมูลว่ามาจากระดับความสูง คือสามหมื่นมาจาก 30,000 ฟุต(ฟิต) แต่ถ้าคำนวณจริงๆ ดอยแห่งนี้สูงพันกว่าเมตร ระดับความสูงยังไงก็ไม่ถึง 30,000 ฟุต จะอยู่ที่ราวๆ 3,000 กว่าฟุต(1 เมตร ประมาณ 3.3 ฟุต) ส่วนถ้าจะอ้างอิงจากระดับความสูง 30,000 ฟุต ความสูงมันก็ปาเข้าไปเกือบ 10,000 เมตร สูงกว่ายอดเขาเอเวอเรสต์เสียอีก (ข้อมูลยอดเขาเอเวอเรสต์ จากวิกิพีเดีย ระบุว่า จากการสำรวจครั้งล่าสุด(พ.ศ.2548) มีความสูง 8,844.43 เมตร หรือ 29,017 ฟุต 2 นิ้ว)
เอาหละ แม้ข้อมูลชื่อดอยสามหมื่นจะไม่ชัดแจ้ง แต่ที่ชัดเจนก็คือ เส้นทางเดินจากน้ำตกปิตุโกรสู่จุดพักที่ตั้งอยู่บนตีนทางขึ้นยอดดอยสามหมื่นนั้นโหดหินเอาเรื่อง ซึ่งความจริงแล้วจุดพักตีนดอยกับน้ำตกปิตุโกรห่างกันไม่มาก แค่ราวๆ 2 กม. แต่ประทานโทษ!!! มันเป็น 2 กม. ที่สูงชันทำให้กว่าจะเดินถึงใช้เวลาปาเข้าไปร่วม 2 ชม. เลยทีเดียว แต่ก็ยังดีที่ระหว่างทางฝนไม่ตก โดยจากน้ำตกเราลงมากินข้าวเที่ยงที่จุดพักกินข้าวแคมป์ 2 จากนั้นก็เดินหน้าดุ่มๆ ขึ้นสู่ยอดเขาชันดิก
งานนี้ผมเดินไปเหนื่อยไป-พักไป ผ่านป่าโปร่ง และเหล่าบรรดาพวกดอกไม้ พืชพันธุ์ สิ่งเล็กๆน้อยๆ รวมถึงจุดชมน้ำตกปิตุโกรในมุมสูงอยู่ช่วง สองช่วง ซึ่งมองไม่เห็นเป็นรูปหัวใจแล้ว หากแต่มองเห็นเป็นสายน้ำ 2 เส้น ไหลมาบรรจบกันเป็นรูปตัววี(V) แล้วไหลหายไปในผืนป่า
หลังเดินขึ้นเขาไปได้สักพัก สภาพป่าเปลี่ยนจากป่าดิบเป็นป่าโปร่งผสมป่าไผ่ ระหว่างทางมีลูกหาบคนหนึ่งของนักท่องเที่ยวกลุ่มอื่นนอกจากจะแบกของหนักลงมาแล้ว ในมือเขายังถือถุงขนาดย่อมใส่กระป๋องเบียร์เปล่า(ดื่มแล้ว)ลงมาด้วย
หะแรก!?! ที่ผมเห็น นึกว่าเมื่อคืนพี่ลูกหาบแกล่อถองเบียร์เสียเยอะขนาดนี้ จึงร้องทักแซวแก แต่เปล่าเลย นี่เป็นเบียร์ที่นักท่องเที่ยวหลายๆคนดื่มแล้วไม่ยอมนำกลับลงมา แถมยังทิ้งซากไว้เกลื่อนเรี่ยราด พี่ลูกหาบคนนี้จึงเก็บใส่ถุงนำกลับลงมา โดยแกไม่วายบ่นกับผมนิดๆว่า “ทีเอาขึ้นไปกินหนักกว่านี้ เอาขึ้นไปได้ แต่กินแล้วกลับไม่เก็บกลับลงมา แถมทิ้งเป็นขยะไว้เกลื่อนอีก”
ครับงานนี้ก็ขอด่าพวกนักท่องเที่ยวที่ทิ้งกระป๋องเบียร์และขยะเรี่ยราดบนนั้น ขณะพี่ลูกหาบคนนี้ไม่ว่าแกจะเก็บกระป๋องเบียร์ไปขายหรือไปทิ้ง ยังไงๆก็ต้องชมเชยให้กำลังใจกัน
เดินขึ้นเขาพ้นจากจุดยืนคุยกับลูกหาบไปหน่อย เป็นอีกหนึ่งแคมป์พัก มีการทำแคร่ไม้ไผ่ไว้ให้นักพักกับกองไฟที่ยังคุกรุ่นหมาดๆ พร้อมกับมีขยะกับขวดน้ำทิ้งเอาไว้ดูต่างหน้านิดหน่อย เฮ้อ!!! เห็นแล้วน่าเพลียใจแทนเจ้าป่าเจ้าเขาที่นี่อยู่เหมือนกัน
สำหรับเส้นทางข้างหน้าหลังนั่งพักเหนื่อยจากจุดนี้ 2 ข้างทางพืชพันธุ์เริ่มเปลี่ยนแปลงไปเป็นป่าหญ้าที่มีต้นปรงขึ้นแทรกแซมอยู่เป็นจำนวนมาก ยังไงๆก็ขอให้เจ้าปรงพวกนี้รักษาเนื้อรักษาตัวให้ดี อย่าให้ถูกพวกมิจฉาชีพแอบขุดไปขายเหมือนกับป่าปรงหลายๆแห่งในบ้านเรา
ในเส้นทางช่วงนี้มีระดับความชันดิก(ยิ่งกว่าเดิม) แถมทางเดินก็เล็กแคบ ด้านหนึ่งเป็นแนวลาดเชิงเขาไปสู่หุบเหวเบื้องล่าง การเดินต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ แต่บนทางนี้ก็มีจุดเด่นคือทัศนียภาพอันสวยงาม มองลงไปเบื้องล่างเห็นวิวทิวทัศน์ขุนเขาสลับที่ราบอันกว้างไกล แถมด้านขวามือในบางช่วงยังมองเห็นสายน้ำตกปิตุโกรไหลทอดตัวยาวลงมา ให้เรายืนพักเหนื่อย พักสายตา ก่อนที่จะเดินต่ออีกสักพักก็จะถึงยังจุดพักค้างของเราในคืนนี้
2...
แม้จะมาถึงจุดพักค้างที่ทำเอาบางคนนอนแผ่หราหมดเรี่ยวหมดแรง แต่นี่เป็นแค่ตีนดอยสามหมื่น จากจุดๆนี้ต้องเดินขึ้นเขาไปอีกประมาณ 1 กม. ในเส้นทางป่าหญ้าสูงชัน(เหมือนตอนขาขึ้น) เดินกับเหนื่อยลิ้นห้อย ซึ่งเมื่อขึ้นไปถึงจุดชมวิวบนสันดอยที่ระดับความสูง ประมาณ 1,367เมตร ก็จะได้สัมผัสกับวิวทิวทัศน์อันสวยงามกว้างไกล
บนนี้นอกจากจะเป็นจุดชมวิวชั้นดีแล้ว ยังเป็นจุดชมทะเลหมอกยามเช้าอันสวยงาม(ในวันที่ฟ้าเป็นใจ) แต่ถ้าเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตก จุดชมแสงสุดท้าย ผมไม่ขอแนะนำ เพราะการเดินลงในช่วงค่ำมืดหลังพระอาทิตย์ตกมันค่อนข้างอันตรายเนื่องจากเส้นทาง สูงชันและลื่น!!!
สำหรับจุดชมวิวดอยสามหมื่นแห่งนี้ไม่ใช่ยอดสูงสุดของดอยสามหมื่น แต่เป็นจุดที่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่นิยมขึ้นมาถึงกันเพียงแค่จุดนี้ ส่วนยอดสูงสุดเราต้องเดินขึ้นเขาไปอีกบนเส้นทางสูงชันและลำบาก เพราะเป็นการเดินบนสันเขา อีกทั้งยังสุ่มเสี่ยงเนื่องจากอยู่ใกล้กับชายแดนพม่า หากเผลอเดินหลุดเขตเข้าไป ได้ไปโผล่รับเออีซีก่อนเวลาอันควร
นั่นจึงทำให้ในเย็นวันนั้น ไม่มีใครรอถ่ายพระอาทิตย์ตก แสงสุดท้าย บนจุดชมวิว หากแต่เฝ้ารอเวลาค่ำคืน เลือกถ่ายดวงดาวบนท้องฟ้าแทน ซึ่งแม้คืนนั้นอากาศจะเปลี่ยนแปลงบ่อย คือมีฝนตกสลับกับฟ้าเปิดมีดาวโผล่ให้เห็นเป็นระยะๆ แต่กับพวกนักถ่ายดาวก็บ่ยั่น รอเวลาที่เหมาะสมออกไปตั้งกล้อง ถ่ายดาว แถมบางคนยังมีเป้าหมายสูงกว่านั้นกับภารกิจ“ล่าช้าง” ซึ่งก็คือการเฝ้ารอถ่ายทางช้างเผือกนั่นเอง...
ทำให้ค่ำคืนนั้นผมอดครวญเพลง“คืนที่ดาวเต็มฟ้า” กับ “หมอกหรือควัน” สลับกันไป-มา ก่อนมุดเต็นท์เข้านอนไม่ได้
3…
เช้าวันลงดอย(วันที่ 3)...ผมตื่นขึ้นมาประมาณ 6 โมงเช้า บริเวณที่พักเต็มไปด้วยม่านหมอกหนาทึบ ทัศนียภาพมองเห็นได้แค่ในระยะไม่เกิน 10 เมตร จนบางคนถอดใจเข้านอนต่อ
แต่สักพักเท่านั้นแหละ อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยอีกแล้ว ท้องฟ้าได้เข้าสู่โหมดไม่แน่นอน เดี๋ยวเปิด เดี๋ยวปิด ให้เราได้หยิบกล้องถ่ายรูปทะเลหมอกที่ลอยอย่างเร่งรีบอยู่เบื้องล่างกันเป็นช่วงๆ สำหรับสายหมอกเช้านี้ความงามจัดอยู่ในระดับพอใช้ได้ แต่ความลวงหลอกของมันเช่นเดียวกับท้องฟ้า คือ เดี๋ยวมา เดี๋ยวไป คล้ายกับหัวใจของใครหลายคนไม่น้อย ที่ไม่แน่นอน ไม่เหมือนกับหัวใจอันเกิดจากน้ำตกปิตุโกรที่มีสายน้ำไหลสวยงามให้ชมกันในช่วงหน้าฝนของทุกๆปี
4...
หลังกินข้าวอิ่มหนำ พวกเราก็ได้เวลาล่ำลาดอยสามหมื่น ใช้เวลาเดินรวดเดียวประมาณ 3 ชั่วโมงกลับมาสู่เบื้องล่าง ณ จุดเริ่มออกเดินที่ทางแยกเข้าหมู่บ้านกุยเลอตอ ก่อนเดินทางกลับที่พักตูกะสูในอุ้มผาง กลับมาใช้ชีวิตปกติ ไม่ต้องใช้ชีวิตในป่า ที่นับได้ว่า ภารกิจตามหาหัวใจ พิชิตน้ำตกปิตุโกร ดอยสามหมื่น ในระยะเวลา 3 วัน 2 คืน ก็ได้เสร็จสิ้นลง แต่ในเช้าวันรุ่งก่อนลาจากอุ้มผาง เรามีอีกหนึ่งโปรแกรมสั้นๆ คือการไปชมทุ่งดอกเทียนบน“ดอยหัวหมด”ที่ช่วงนี้กำลังออกดอกสะพรั่งเต็มท้องทุ่ง ซึ่งหากว่าพลาดไปก็ต้องถือว่าน่าเสียดายแย่ เพราะอุ้มผางไม่ใช่ไปกันง่ายๆ ไหนเมื่อไปแล้วจึงไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง
สำหรับดอยหัวหมด เป็นดอยที่มีลักษณะพิเศษ คือมีสภาพเตียนโล่งปราศจากต้นไม้ใหญ่ทอดแนวยาวติดต่อกันหลายลูกราว 30 กม. ซึ่งความเตียนโล่งสมชื่อ“หัวหมด”นั้น ไม่ได้เกิดจากการตัดไม้ทำลายป่า แต่เกิดจากการที่ดอยหัวหมดเป็นแหล่งแร่โดโลไมต์ที่ต้นไม้ใหญ่ไม่สามารถขึ้นได้มีเพียงต้นไม้เล็กๆ เตี้ยๆ และต้นหญ้าขึ้นอยู่เท่านั้น
ดอยหัวหมด เป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในอำเภออุ้มผาง บนยอดดอยหลายลูกจัดเป็นจุดชมวิวชั้นดี บนนั้นสามารถขึ้นไปชมวิวทิวทัศน์ของเมืองอุ้มผางได้อย่างสวยงามกว้างไกล นอกจากนี้ดอยหัวหมดยังเป็นจุดชมชมพระอาทิตย์ตกยามเย็น พระอาทิตย์ขึ้นและทะเลหมอกยามเช้าที่สวยงามมากอีกแห่งหนึ่ง
นอกจากเป็นดอยที่มีลักษณะพิเศษแล้ว ในช่วงนี้ดอยหัวหมดยังเต็มไปด้วยต้นเทียนที่ออกดอกบานสะพรั่งเป็นทุ่งๆไปทั่วในหลายจุดหลายพื้นที่ของดอย ต้นเทียนเหล่านี้ เป็น “เทียนปีกผีเสื้อ” ซึ่งจะออกดอกบานเป็นทุ่งๆบนดอยหัวหมดให้สีชมพูอมม่วงสดใสในช่วงหน้าอย่างนี้ไปจนถึงเดือนกันยายน(ดอกเทียนบานราวเดือน ก.ค.-ก.ย.)
เทียนปีกผีเสื้อ เป็นพืชเฉพาะถิ่นพบเฉพาะที่ตากและกาญจนบุรี นิยมขึ้นตามหินปูน ที่โล่ง หรือในระดับความสูงจนถึง 1,000 เมตร ซึ่งวันนั้นผมได้พบกับความงามของดอกเทียนที่ขึ้นเป็นทุ่งทั้งขนาดย่อมและขนาดเล็กบนเชิงดอยหัวหมดอยู่เป็นจำนวนมาก
นับเป็นโลกสีชมพูน้อยๆส่งท้ายทริป “ตามหาหัวใจ พิชิตน้ำตกปิตุโกร ดอยสามหมื่น ดอยหัวหมด” ที่แม้จะเหน็ดเหนื่อยสมบุกสมบัน แต่ว่าเมื่อได้ขึ้นไปพิชิตสัมผัสในความงามแล้ว สิ่งที่ได้กลับไปนอกความความประทับใจแล้ว
นี่ยังถือเป็นการพิสูจน์“ใจ”ตัวเองอีกครั้งว่า เมื่อ“ใจ” กล้าฟันฝ่า ไม่ย่นย่อท้อต่อความยากลำบาก อุปสรรคเป้าหมายก็ย่อมถูกพิชิตได้โดยมีพลังขับเคลื่อนสำคัญคือ “ใจ”ของเรา
*****************************************
สำหรับโปรแกรมท่องเที่ยวเดินป่าในบทความนี้เป็นเส้นทาง พิชิตน้ำตกปิตุโกร-ดอยสามหมื่น ระยะเวลา 3 วัน 2 คืน ส่วนกิจกรรมเที่ยวดอยหัวหมดนักท่องเที่ยวที่ไปอุ้มผาง สามารถไปแวะชมวิวทิวทัศน์และความงามของทุ่งดอกเทียนได้ตามสะดวก โดยผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)สำนักงานตาก โทร.055-514341-3
*****************************************
อ่านเรื่องพิชิตน้ำตกปิตุโกรได้ตามลิงค์ในบทความนี้ แอ่ว“อุ้มผาง”ตามหาหัวใจกลางป่า...พิชิต“ปิตุโกร” น้ำตกสูงที่สุดในเมืองไทย
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com
“ข้าพเจ้าไม่ใช่คนอยู่ป่า แต่ข้าพเจ้าชื่นชอบในบรรยากาศการเดินป่า”
ขออนุญาตเลียนแบบอมตะสำนวนสุราของ “โก้วเล้ง - มังกรโบราณ” เพราะนี่เป็นอีกครั้งของการเดินป่าที่ผมประทับใจ อีกทั้งยังการเดินป่าครั้งนี้ยังมีเป้าหมายพิเศษอยู่ที่การไป“ตามหาหัวใจ”กลางผืนป่าใหญ่แห่ง อ.อุ้มผาง จ.ตาก (ซึ่งผมได้เขียนเล่าไปในตอนที่แล้ว)
สำหรับหัวใจดวงนั้น เป็นหัวใจที่เกิดจากความมหัศจรรย์เล็กๆของธรรมชาติ นาม “น้ำตกปิตุโกร” น้ำตกที่สูงที่สุดในเมืองไทย(สูงกว่า 500 เมตร) ที่ในชั้นไฮไลท์นอกจากจะมีความสวยงามและน่าตื่นตาตื่นใจไปด้วยน้ำตกรูปหัวใจที่ชวนเพริศแพร้วกระไรปานนั้นแล้ว ในเส้นทางพิชิตปิตุโกรยังมีอีกหนึ่งเป้าหมายสำคัญคือ การพิชิต“ดอยสามหมื่น” ที่ต้นน้ำ ตาน้ำบนยอดดอย ได้ไหลมารวมกันเป็นสายน้ำตกปิตุโกร
1...
ดอยสามหมื่น หรือ ดอยมะม่วงสามหมื่น เป็นดอยที่มีข้อมูลระบุว่า มียอดสูงสุดสูงราว 1,700 -1,800 เมตร ที่มาที่ไปของชื่อดอยไม่มีข้อมูลระบุชัดเจน ขณะที่การสอบถามคนในพื้นก็ไม่มีความแน่ชัด บ้างก็ว่าเคยมีต้นมะม่วงอยู่บนยอดดอย บ้างก็บอกว่าเรียกมาตามๆกัน
ส่วนคำว่า“สามหมื่น”นั้น มีการให้ข้อมูลว่ามาจากระดับความสูง คือสามหมื่นมาจาก 30,000 ฟุต(ฟิต) แต่ถ้าคำนวณจริงๆ ดอยแห่งนี้สูงพันกว่าเมตร ระดับความสูงยังไงก็ไม่ถึง 30,000 ฟุต จะอยู่ที่ราวๆ 3,000 กว่าฟุต(1 เมตร ประมาณ 3.3 ฟุต) ส่วนถ้าจะอ้างอิงจากระดับความสูง 30,000 ฟุต ความสูงมันก็ปาเข้าไปเกือบ 10,000 เมตร สูงกว่ายอดเขาเอเวอเรสต์เสียอีก (ข้อมูลยอดเขาเอเวอเรสต์ จากวิกิพีเดีย ระบุว่า จากการสำรวจครั้งล่าสุด(พ.ศ.2548) มีความสูง 8,844.43 เมตร หรือ 29,017 ฟุต 2 นิ้ว)
เอาหละ แม้ข้อมูลชื่อดอยสามหมื่นจะไม่ชัดแจ้ง แต่ที่ชัดเจนก็คือ เส้นทางเดินจากน้ำตกปิตุโกรสู่จุดพักที่ตั้งอยู่บนตีนทางขึ้นยอดดอยสามหมื่นนั้นโหดหินเอาเรื่อง ซึ่งความจริงแล้วจุดพักตีนดอยกับน้ำตกปิตุโกรห่างกันไม่มาก แค่ราวๆ 2 กม. แต่ประทานโทษ!!! มันเป็น 2 กม. ที่สูงชันทำให้กว่าจะเดินถึงใช้เวลาปาเข้าไปร่วม 2 ชม. เลยทีเดียว แต่ก็ยังดีที่ระหว่างทางฝนไม่ตก โดยจากน้ำตกเราลงมากินข้าวเที่ยงที่จุดพักกินข้าวแคมป์ 2 จากนั้นก็เดินหน้าดุ่มๆ ขึ้นสู่ยอดเขาชันดิก
งานนี้ผมเดินไปเหนื่อยไป-พักไป ผ่านป่าโปร่ง และเหล่าบรรดาพวกดอกไม้ พืชพันธุ์ สิ่งเล็กๆน้อยๆ รวมถึงจุดชมน้ำตกปิตุโกรในมุมสูงอยู่ช่วง สองช่วง ซึ่งมองไม่เห็นเป็นรูปหัวใจแล้ว หากแต่มองเห็นเป็นสายน้ำ 2 เส้น ไหลมาบรรจบกันเป็นรูปตัววี(V) แล้วไหลหายไปในผืนป่า
หลังเดินขึ้นเขาไปได้สักพัก สภาพป่าเปลี่ยนจากป่าดิบเป็นป่าโปร่งผสมป่าไผ่ ระหว่างทางมีลูกหาบคนหนึ่งของนักท่องเที่ยวกลุ่มอื่นนอกจากจะแบกของหนักลงมาแล้ว ในมือเขายังถือถุงขนาดย่อมใส่กระป๋องเบียร์เปล่า(ดื่มแล้ว)ลงมาด้วย
หะแรก!?! ที่ผมเห็น นึกว่าเมื่อคืนพี่ลูกหาบแกล่อถองเบียร์เสียเยอะขนาดนี้ จึงร้องทักแซวแก แต่เปล่าเลย นี่เป็นเบียร์ที่นักท่องเที่ยวหลายๆคนดื่มแล้วไม่ยอมนำกลับลงมา แถมยังทิ้งซากไว้เกลื่อนเรี่ยราด พี่ลูกหาบคนนี้จึงเก็บใส่ถุงนำกลับลงมา โดยแกไม่วายบ่นกับผมนิดๆว่า “ทีเอาขึ้นไปกินหนักกว่านี้ เอาขึ้นไปได้ แต่กินแล้วกลับไม่เก็บกลับลงมา แถมทิ้งเป็นขยะไว้เกลื่อนอีก”
ครับงานนี้ก็ขอด่าพวกนักท่องเที่ยวที่ทิ้งกระป๋องเบียร์และขยะเรี่ยราดบนนั้น ขณะพี่ลูกหาบคนนี้ไม่ว่าแกจะเก็บกระป๋องเบียร์ไปขายหรือไปทิ้ง ยังไงๆก็ต้องชมเชยให้กำลังใจกัน
เดินขึ้นเขาพ้นจากจุดยืนคุยกับลูกหาบไปหน่อย เป็นอีกหนึ่งแคมป์พัก มีการทำแคร่ไม้ไผ่ไว้ให้นักพักกับกองไฟที่ยังคุกรุ่นหมาดๆ พร้อมกับมีขยะกับขวดน้ำทิ้งเอาไว้ดูต่างหน้านิดหน่อย เฮ้อ!!! เห็นแล้วน่าเพลียใจแทนเจ้าป่าเจ้าเขาที่นี่อยู่เหมือนกัน
สำหรับเส้นทางข้างหน้าหลังนั่งพักเหนื่อยจากจุดนี้ 2 ข้างทางพืชพันธุ์เริ่มเปลี่ยนแปลงไปเป็นป่าหญ้าที่มีต้นปรงขึ้นแทรกแซมอยู่เป็นจำนวนมาก ยังไงๆก็ขอให้เจ้าปรงพวกนี้รักษาเนื้อรักษาตัวให้ดี อย่าให้ถูกพวกมิจฉาชีพแอบขุดไปขายเหมือนกับป่าปรงหลายๆแห่งในบ้านเรา
ในเส้นทางช่วงนี้มีระดับความชันดิก(ยิ่งกว่าเดิม) แถมทางเดินก็เล็กแคบ ด้านหนึ่งเป็นแนวลาดเชิงเขาไปสู่หุบเหวเบื้องล่าง การเดินต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ แต่บนทางนี้ก็มีจุดเด่นคือทัศนียภาพอันสวยงาม มองลงไปเบื้องล่างเห็นวิวทิวทัศน์ขุนเขาสลับที่ราบอันกว้างไกล แถมด้านขวามือในบางช่วงยังมองเห็นสายน้ำตกปิตุโกรไหลทอดตัวยาวลงมา ให้เรายืนพักเหนื่อย พักสายตา ก่อนที่จะเดินต่ออีกสักพักก็จะถึงยังจุดพักค้างของเราในคืนนี้
2...
แม้จะมาถึงจุดพักค้างที่ทำเอาบางคนนอนแผ่หราหมดเรี่ยวหมดแรง แต่นี่เป็นแค่ตีนดอยสามหมื่น จากจุดๆนี้ต้องเดินขึ้นเขาไปอีกประมาณ 1 กม. ในเส้นทางป่าหญ้าสูงชัน(เหมือนตอนขาขึ้น) เดินกับเหนื่อยลิ้นห้อย ซึ่งเมื่อขึ้นไปถึงจุดชมวิวบนสันดอยที่ระดับความสูง ประมาณ 1,367เมตร ก็จะได้สัมผัสกับวิวทิวทัศน์อันสวยงามกว้างไกล
บนนี้นอกจากจะเป็นจุดชมวิวชั้นดีแล้ว ยังเป็นจุดชมทะเลหมอกยามเช้าอันสวยงาม(ในวันที่ฟ้าเป็นใจ) แต่ถ้าเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตก จุดชมแสงสุดท้าย ผมไม่ขอแนะนำ เพราะการเดินลงในช่วงค่ำมืดหลังพระอาทิตย์ตกมันค่อนข้างอันตรายเนื่องจากเส้นทาง สูงชันและลื่น!!!
สำหรับจุดชมวิวดอยสามหมื่นแห่งนี้ไม่ใช่ยอดสูงสุดของดอยสามหมื่น แต่เป็นจุดที่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่นิยมขึ้นมาถึงกันเพียงแค่จุดนี้ ส่วนยอดสูงสุดเราต้องเดินขึ้นเขาไปอีกบนเส้นทางสูงชันและลำบาก เพราะเป็นการเดินบนสันเขา อีกทั้งยังสุ่มเสี่ยงเนื่องจากอยู่ใกล้กับชายแดนพม่า หากเผลอเดินหลุดเขตเข้าไป ได้ไปโผล่รับเออีซีก่อนเวลาอันควร
นั่นจึงทำให้ในเย็นวันนั้น ไม่มีใครรอถ่ายพระอาทิตย์ตก แสงสุดท้าย บนจุดชมวิว หากแต่เฝ้ารอเวลาค่ำคืน เลือกถ่ายดวงดาวบนท้องฟ้าแทน ซึ่งแม้คืนนั้นอากาศจะเปลี่ยนแปลงบ่อย คือมีฝนตกสลับกับฟ้าเปิดมีดาวโผล่ให้เห็นเป็นระยะๆ แต่กับพวกนักถ่ายดาวก็บ่ยั่น รอเวลาที่เหมาะสมออกไปตั้งกล้อง ถ่ายดาว แถมบางคนยังมีเป้าหมายสูงกว่านั้นกับภารกิจ“ล่าช้าง” ซึ่งก็คือการเฝ้ารอถ่ายทางช้างเผือกนั่นเอง...
ทำให้ค่ำคืนนั้นผมอดครวญเพลง“คืนที่ดาวเต็มฟ้า” กับ “หมอกหรือควัน” สลับกันไป-มา ก่อนมุดเต็นท์เข้านอนไม่ได้
3…
เช้าวันลงดอย(วันที่ 3)...ผมตื่นขึ้นมาประมาณ 6 โมงเช้า บริเวณที่พักเต็มไปด้วยม่านหมอกหนาทึบ ทัศนียภาพมองเห็นได้แค่ในระยะไม่เกิน 10 เมตร จนบางคนถอดใจเข้านอนต่อ
แต่สักพักเท่านั้นแหละ อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยอีกแล้ว ท้องฟ้าได้เข้าสู่โหมดไม่แน่นอน เดี๋ยวเปิด เดี๋ยวปิด ให้เราได้หยิบกล้องถ่ายรูปทะเลหมอกที่ลอยอย่างเร่งรีบอยู่เบื้องล่างกันเป็นช่วงๆ สำหรับสายหมอกเช้านี้ความงามจัดอยู่ในระดับพอใช้ได้ แต่ความลวงหลอกของมันเช่นเดียวกับท้องฟ้า คือ เดี๋ยวมา เดี๋ยวไป คล้ายกับหัวใจของใครหลายคนไม่น้อย ที่ไม่แน่นอน ไม่เหมือนกับหัวใจอันเกิดจากน้ำตกปิตุโกรที่มีสายน้ำไหลสวยงามให้ชมกันในช่วงหน้าฝนของทุกๆปี
4...
หลังกินข้าวอิ่มหนำ พวกเราก็ได้เวลาล่ำลาดอยสามหมื่น ใช้เวลาเดินรวดเดียวประมาณ 3 ชั่วโมงกลับมาสู่เบื้องล่าง ณ จุดเริ่มออกเดินที่ทางแยกเข้าหมู่บ้านกุยเลอตอ ก่อนเดินทางกลับที่พักตูกะสูในอุ้มผาง กลับมาใช้ชีวิตปกติ ไม่ต้องใช้ชีวิตในป่า ที่นับได้ว่า ภารกิจตามหาหัวใจ พิชิตน้ำตกปิตุโกร ดอยสามหมื่น ในระยะเวลา 3 วัน 2 คืน ก็ได้เสร็จสิ้นลง แต่ในเช้าวันรุ่งก่อนลาจากอุ้มผาง เรามีอีกหนึ่งโปรแกรมสั้นๆ คือการไปชมทุ่งดอกเทียนบน“ดอยหัวหมด”ที่ช่วงนี้กำลังออกดอกสะพรั่งเต็มท้องทุ่ง ซึ่งหากว่าพลาดไปก็ต้องถือว่าน่าเสียดายแย่ เพราะอุ้มผางไม่ใช่ไปกันง่ายๆ ไหนเมื่อไปแล้วจึงไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง
สำหรับดอยหัวหมด เป็นดอยที่มีลักษณะพิเศษ คือมีสภาพเตียนโล่งปราศจากต้นไม้ใหญ่ทอดแนวยาวติดต่อกันหลายลูกราว 30 กม. ซึ่งความเตียนโล่งสมชื่อ“หัวหมด”นั้น ไม่ได้เกิดจากการตัดไม้ทำลายป่า แต่เกิดจากการที่ดอยหัวหมดเป็นแหล่งแร่โดโลไมต์ที่ต้นไม้ใหญ่ไม่สามารถขึ้นได้มีเพียงต้นไม้เล็กๆ เตี้ยๆ และต้นหญ้าขึ้นอยู่เท่านั้น
ดอยหัวหมด เป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในอำเภออุ้มผาง บนยอดดอยหลายลูกจัดเป็นจุดชมวิวชั้นดี บนนั้นสามารถขึ้นไปชมวิวทิวทัศน์ของเมืองอุ้มผางได้อย่างสวยงามกว้างไกล นอกจากนี้ดอยหัวหมดยังเป็นจุดชมชมพระอาทิตย์ตกยามเย็น พระอาทิตย์ขึ้นและทะเลหมอกยามเช้าที่สวยงามมากอีกแห่งหนึ่ง
นอกจากเป็นดอยที่มีลักษณะพิเศษแล้ว ในช่วงนี้ดอยหัวหมดยังเต็มไปด้วยต้นเทียนที่ออกดอกบานสะพรั่งเป็นทุ่งๆไปทั่วในหลายจุดหลายพื้นที่ของดอย ต้นเทียนเหล่านี้ เป็น “เทียนปีกผีเสื้อ” ซึ่งจะออกดอกบานเป็นทุ่งๆบนดอยหัวหมดให้สีชมพูอมม่วงสดใสในช่วงหน้าอย่างนี้ไปจนถึงเดือนกันยายน(ดอกเทียนบานราวเดือน ก.ค.-ก.ย.)
เทียนปีกผีเสื้อ เป็นพืชเฉพาะถิ่นพบเฉพาะที่ตากและกาญจนบุรี นิยมขึ้นตามหินปูน ที่โล่ง หรือในระดับความสูงจนถึง 1,000 เมตร ซึ่งวันนั้นผมได้พบกับความงามของดอกเทียนที่ขึ้นเป็นทุ่งทั้งขนาดย่อมและขนาดเล็กบนเชิงดอยหัวหมดอยู่เป็นจำนวนมาก
นับเป็นโลกสีชมพูน้อยๆส่งท้ายทริป “ตามหาหัวใจ พิชิตน้ำตกปิตุโกร ดอยสามหมื่น ดอยหัวหมด” ที่แม้จะเหน็ดเหนื่อยสมบุกสมบัน แต่ว่าเมื่อได้ขึ้นไปพิชิตสัมผัสในความงามแล้ว สิ่งที่ได้กลับไปนอกความความประทับใจแล้ว
นี่ยังถือเป็นการพิสูจน์“ใจ”ตัวเองอีกครั้งว่า เมื่อ“ใจ” กล้าฟันฝ่า ไม่ย่นย่อท้อต่อความยากลำบาก อุปสรรคเป้าหมายก็ย่อมถูกพิชิตได้โดยมีพลังขับเคลื่อนสำคัญคือ “ใจ”ของเรา
*****************************************
สำหรับโปรแกรมท่องเที่ยวเดินป่าในบทความนี้เป็นเส้นทาง พิชิตน้ำตกปิตุโกร-ดอยสามหมื่น ระยะเวลา 3 วัน 2 คืน ส่วนกิจกรรมเที่ยวดอยหัวหมดนักท่องเที่ยวที่ไปอุ้มผาง สามารถไปแวะชมวิวทิวทัศน์และความงามของทุ่งดอกเทียนได้ตามสะดวก โดยผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)สำนักงานตาก โทร.055-514341-3
*****************************************
อ่านเรื่องพิชิตน้ำตกปิตุโกรได้ตามลิงค์ในบทความนี้ แอ่ว“อุ้มผาง”ตามหาหัวใจกลางป่า...พิชิต“ปิตุโกร” น้ำตกสูงที่สุดในเมืองไทย
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com