โดย : ปิ่น บุตรี(pinn109@hotmail.com)
ปี พ.ศ. 2538(ค.ศ.1995) เมือง“หลวงพระบาง”(หลวงพะบาง : ภาษาลาว) แห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว(สปป.ลาว) ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลก
หลังจากนั้นเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว หลวงพระบางได้เปิดตัวรับนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ พร้อมกับชื่อเสียงและมนต์เสน่ห์อันชวนหลงใหลของดินแดนอันสวยงาม ทั้งลักษณะทางกายภาพของวัดวาอาราม ตึกรามบ้านบ้านเรือน ธรรมชาติ และที่สำคัญคือวิถีชีวิตของชาวหลวงพระบางที่สงบงามเรียบง่าย แต่มากไปด้วยเสน่ห์ล้นเหลือ
หลวงพระบางในยุคแรกเริ่มเปิดเมืองเที่ยว ได้ชื่อว่าเป็นดัง ดินแดน“ยูโธเปียของนักอุดมคติ” เป็น “ธัมมิกสังคมแห่งสุดท้าย”
อย่างไรก็ดีหลวงพระบางก็เป็นเฉกเช่นกับเมืองท่องเที่ยวชื่อดังหลายๆเมือง เมื่อมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามามากมาย หลายสิ่งหลายอย่างย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยและสภาพการณ์
หลวงพระบางที่เดิมงดงามดุจดังสาวบริสุทธิ์อันใสซื่อ ไร้ประทินโฉมฉาบทา ได้ถูกการอำนาจแห่งท่องเที่ยวค่อยๆเปลี่ยนเธอให้เป็นสาวสะพรั่งผู้กร้านโลกขึ้น มีจริตจะก้านมากขึ้น หันมานิยมเขียนคิ้วทาปาก ตบแต่งประทินโฉม สู้กับความเป็นจริง แต่ด้วยความที่มีวิถีดั้งเดิมผนวกกับความเป็นเมืองมรดกโลกรองรับเป็นเกราะป้องกัน ทำให้สาวสวยหลวงพระบางในวันนี้ยังโชคดี ยังไม่ถูกกระทำชำเรา หากแต่เป็นสาวงามที่สงวนท่าทีอยู่กับโลกแห่งความเป็นจริงของความเป็นเมืองท่องเที่ยวอันดับต้นๆแห่ง สปป.ลาว
นับเป็นหลวงพระบางยุคร่วมสมัยที่เปลี่ยนผ่านจาก“ยูโธเปียของนักอุดมคติ” เข้าสู่ “เมืองท่องเที่ยวเต็มรูปแบบ” ที่อาจจะไม่สบอารมณ์ ไม่ถูกจริตนักเดินทางบางคน(ที่เคยสัมผัสกับเมืองนี้ในยุคแรกเริ่มเปิดตัวใหม่ๆ) หากแต่นี่คือโลกของความเป็นจริงที่เราไม่อาจปฏิเสธได้ด้วยประการทั้งปวง
เชียงรุ่ง-หลวงพระบาง
สมัยก่อนช่วงแรกเริ่มเปิดเมืองเที่ยวใหม่ๆ เส้นทางล่องเรือจากเมืองไทย เชียงของ(เชียงราย)-ห้วยทราย-หลวงพระบาง ถือเป็นเส้นทางยอดนิยมของนักท่องเที่ยว แต่มาวันนี้เมื่อถนนหนทางดีขึ้น ทำให้ตัวเลือกจากไทยสู่หลวงพระบางมีมากขึ้น
ขณะที่เส้นทางจากเชียงรายสู่หลวงพระบางเองก็มีทางถนน ทางรถยนต์ รถโดยสารมาเป็นอีกหนึ่งทางเลือก ยิ่งเดี๋ยวนี้ “สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4”(เชียงของ-ห้วยทราย) สร้างแล้วเสร็จ ก็ยิ่งทำให้การเดินทางทางถนนจากเชียงรายสู่หลวงพระบางสะดวกสบายขึ้น นั่นจึงทำให้ทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) ภูมิภาคภาคเหนือ ได้จัดกิจกรรมคาราวานรถยนต์ ไทย-ลาว-จีน เพื่อนำร่องรับการเปิด AEC ที่จะมาถึงในปีหน้านี้ โดยพาไปสัมผัสกับ 2 เมืองท่องเที่ยวดังของจีน คือ“เชียงรุ่ง” (ที่นำเสนอไปใน 2 ตอนที่ผ่านมา) กับเมืองหลวงพระบาง แห่ง สปป. ลาวที่ผมจะนำเสนอปิดท้ายกิจกรรมคาราวานในบทความตอนนี้
โดยหลังเที่ยวเชียงรุ่งกันแบบพอหอมปากหอมคอเป็นที่เพลิดเพลินแล้ว คณะของเราเดินทางย้อนกลับมาบนเส้นทางสายเดิม มาแวะพักที่เมืองหล้า 1 คืน จากนั้นเดินทางกลับมายังด่านชายแดนจีน(เมืองบ่อหาน) เพื่อข้ามแดนสู่สปป.ลาวที่เมืองบ่อเต็น เข้าสู่แขวงอุดมไชย แล้วมุ่งหน้าสู่ “หลวงพระบาง” เมืองมรดกโลก อีกหนึ่งเมืองท่องเที่ยวจุดหมายหลักของเราในทริปนี้ ก่อนจะจบทริปกันในเส้นทางหลวงพระบาง-ไชยบุรี-เมืองหงสา-เมืองเงิน และกลับเข้าสู่ไทยอีกครั้งที่ด่านห้วยโกร๋น จ.น่าน
การเที่ยวหลวงพระบางในทริปนี้ แม้หลายๆคนในคณะจะออกเที่ยวหลวงพระบางกันตั้งแต่คืนแรกที่มาถึง แต่ผมจะขอเล่าถึงกิจกรรมท่องเที่ยวหลักๆ พาสัมผัสกับไฮไลท์เมืองหลวงพระบาง 1 วันเต็ม ตั้งแต่เช้าตรู่จนถึงค่ำมืด
ตักบาตรข้าวเหนียว
แน่นอนว่าการมาเที่ยวหลวงพระบางสำหรับคนไทย หากไม่ได้ร่วมตักบาตรข้าวเหนียว มันก็เหมือนกับว่าทริปนั้นยังไม่สมบูรณ์ นั่นจึงทำให้พวกเราตื่นกันแต่รุ่งสางของวันรุ่งขึ้น เพื่อมารอตักบาตรข้าวเหนียวกันแต่เช้าตรู่
สำหรับเส้นทางตักบาตรหลักๆของนักท่องเที่ยวในหลวงพระบางนั้นอยู่บนถนนสีสะหว่างวง ไล่ตั้งแต่หน้าห้องกานไปรษณีย์(ห้องกานไปสะนี) ไปจนถึงหน้าวัดเชียงทอง โดยหลังเสียงย่ำกะลอดังขึ้น(กะลอ : เครื่องตีของลาวมีลักษณะคล้ายกลอง) จากนั้นไม่นาน พระ-เณรตามวัดต่างๆ จะทยอยเดินเป็นแถวยาวเรียงหนึ่งออกมาบิณฑบาต ให้คนลาวทั้งชาวบ้าน ชาวเมือง และนักท่องเที่ยวต่างชาติ จกข้าวเหนียวใส่บาตรกันอย่างอิ่มเอิบใจ
อย่างไรก็ตามด้วยความโด่งดังของการตักบาตรข้าวเหนียว ทำให้วิถีและรูปแบบของการตักบาตรข้าวเหนียวบางอย่างเปลี่ยนไป คือเดี๋ยวนี้การตักบาตรข้าวเหนียวดูคล้ายมหกรรม กลายเป็นแฟชั่นประกอบการถ่ายรูปขึ้นเฟซบุ๊ค ขึ้นไอจี ของนักท่องเที่ยวหลายๆคน แต่นั่นไม่ร้ายกาจเท่ากับพฤติกรรมคนถ่ายรูปหลายๆคน ที่เห็นแก่ตัว สักแต่จะถ่ายรูปเพื่อให้ตัวเองได้มุมดีที่สุด ได้ภาพสวยที่สุด(ตามความคิดของเขา) โดยไม่เกรงใจพระ-เณร ที่เดินบิณฑบาต ไม่เกรงใจคนใส่บาตร และไม่เกรงใจนักท่องเที่ยวด้วยกัน ที่สำคัญคือไม่เกรงใจ ไม่ให้เกียรติกับประเพณีอันดีงามนี้ๆ
ขณะที่แม่ค้าชาวลาวที่หาบกระติ๊บข้าวเหนียวและสิ่งของใส่บาตรขายนักท่องเที่ยว ก็ทำตัวไม่น่ารัก คือ พยายามยื้อแย่งกันขายของ มีการโกงจำนวนกระติ๊บ มีการคิดราคาแพงเกินจริงจนน่าตกใจถ้าไม่สอบถามราคาก่อนล่วงหน้า ดังนั้นใครที่ไม่อยากถูกโกง ไม่อยากเสียความรู้สึก ต้องหาทางรับมือกับพวกแม่ค้าแม่ขายเหล่านี้ให้ดีๆ ทางที่ดีหากไปกับทัวร์ก็สั่งกับทัวร์ หรือหากไปกันเองเป็นกลุ่มก็ให้ทางโรงแรมที่พักจัดเตรียมไว้ให้จะดีกว่า
ดังนั้นใครที่จะตักบาตรข้าวเหนียว ควรหาทางป้องกันรับมือกับเรื่องเหล่านี้ให้ดี หรือหากใครอยากจะกระจายรายได้ช่วยเช้าบ้านก็ต้องสอบถามราคา นับจำนวนข้าวของที่ซื้อ-ขายกันให้ดี เพราะเมื่อตั้งใจตื่นแต่เช้ามาใส่บาตรแล้ว ควรเจอแต่เรื่องจำเริญใจมากกว่าเรื่องชวนหงุดหงิดอารมณ์
ส่วนใครที่อยากสัมผัสกับการตักรบาตรที่ไม่พลุกพล่านและดูเปี่ยมไปด้วยวิถีของชาวลาว ขอแนะนำให้หลบเลี่ยงจากถนนสายหลักไปตักบาตรในซอยหรือในถนนสายรองจะดีกว่า
ตลาดเช้า สีสัน วิถีลาว
อิ่มบุญอิ่มใจจากการตักบาตรข้าวเหนียวแล้ว “ตลาดเช้า”ในซอยข้างๆวัดโพนชัย ดูจะเป็นจุดหมายของนักท่องเที่ยวหลายคนๆ ที่จะได้ซื้ออาหารพื้นเมือง ขนม ของกิน หรือ สินค้าต่างๆ เพราะที่นี่ในทุกๆเช้าจะมีพ่อค้า-แม่ค้านำสินค้าพื้นเมือง พืชผลทางการเกษตร ปลา และอาหารพื้นบ้านต่างๆ มาวางขายให้ชาวบ้านได้ออกมาจับจ่ายซื้อหากันอย่างคึกคัก นับเป็นถนนที่ยังเปี่ยมไปด้วยภาพวิถีของชาวลาวในบรรยากาศพื้นบ้านที่นับวันยิ่งมายิ่งเหลือน้อยเต็มที
หลังเดินตลาดเช้าแล้ว ท้องเริ่มหิว มื้อเช้าของแต่ละคนมีให้เลือกแตกต่างกันออกไป นักท่องเที่ยวที่ไม่กินอาหารในโรงแรม หลายคนอาจเลือกไปหม่ำเฝอตามร้านริมทาง ส่วนฝรั่งอาจไปนั่งตามร้านกาแฟหรืออาหารสไตล์ฝรั่ง ส่วนสำหรับนักท่องเที่ยวไทย หลายๆคนยังคงพุ่งตรงไปที่ร้านกาแฟประชานิยม ที่มีเครื่องดื่มแบะอาหารเช้าขายสารพัด นับเป็นร้านชื่อดังซึ่งที่นี่เราจะไปเจอคนไทยได้อย่างไม่ยากเย็น
พูสี หลักเมืองหลวงพระบาง
เมื่อกินอิ่มแล้วก็ได้เวลาออกเที่ยว สำหรับจุดแรกที่แรงยังดีและอากาศยังไม่ร้อน ผมเลือกเดินขึ้นบน “พูสี” ที่เป็นอีกหนึ่งไฮไลท์ประจำเมือง ที่หากมาหลวงพระบางแล้วไม่ขึ้นพูสี เหมือนกับว่ายังมาไม่ถึง
พูสีเปรียบเสมือนหลักเมืองของหลวงพระบาง การเดินขึ้นยอดพูสีถือว่าเหนื่อยเอาเรื่อง แต่ว่าขึ้นตอนเช้าๆ บรรยากาศดีมาก เส้นทางเดินผ่านซุ้มดอกจำปา(ลั่นทม-ลีลาวดี)สุดขลังอายุนับร้อยปีไปสู่ยอดพูสี ที่บนนั้นโดดเด่นไปด้วย “พระธาตุจอมพูสี” พระธาตุศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองสีทองอร่าม ที่สร้างขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2347
บนยอดพูสียังถือเป็นจุดชมวิวขึ้นชื่อของเมืองหลวงพระบาง บนนี้เมื่อมองลงไปฝั่งหนึ่งจะเห็นสายน้ำคานไหลเลี้ยวเคียงคู่กับทิวทัศน์บ้านเมืองที่แม้จะไม่หนาแน่น แต่ก็เติบโตขึ้นมากว่าเมื่ออดีตอยู่มากโข
ส่วนเมื่อมองไปทางฝั่งตรงข้าม จะเห็นแม่น้ำโขงไหลรี่ มีทิวทัศน์ของเขตเมืองอนุรักษ์ที่เป็นอาคารหลังคาจั่ว ไม่มีตึกสูง เพราะถูกความเป็นมรดกโลกควบคุม ดูสบายตา นอกจากนี้ยังมีมุมมองผ่านซุ้มจำปาลงไปเห็น อาคาร“หอพิพิธภัณฑ์เมืองหลวงพระบาง” ตั้งเด่นอย่างสง่างามริมฝั่งโขง
ไหว้พระบาง พระพุทธรูปสำคัญสูงสุดของลาว
หลังเพลิดเพลินจากวิวบนยอดพูสีแล้ว เมื่อลงมา ผมไม่ได้ไปไหนไกล หากแต่ข้ามฝั่งเข้าไปชมในหอพิพิธภัณฑ์เมืองหลวงพระบาง ที่อนุญาตให้ถ่ายรูปได้เฉพาะภายนอก ส่วนภายในห้ามถ่ายรูป ห้ามนำมือถือหรือกล้องถ่ายรูปเข้ามา
หอพิพิธภัณฑ์ฯ เป็นพระราชวังหลวงเดิมของเจ้ามหาชีวิต พอเปลี่ยนแปลงการปกครองได้ถูกปรับเปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์ ตัวอาคารเป็นสถาปัตยกรรมยุโรปผสมล้านช้าง มีตาลต้นใหญ่ขนาบซ้าย-ขวาในทางเดิน นำสายตาเข้าสู่หน้าพิพิธภัณฑ์ ที่ภายในเก็บโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น พระพุทธรูปทองคำ พระพุทธรูปสำริด กลองมโหระทึก ภาพเก่าแก่ บัลลังก์ ธรรมาสน์ และข้าวของเครื่องใช้อีกหลากหลาย
ในอาณาเขตพิพิธภัณฑ์ยังมีโบราณวัตถุชิ้นสำคัญมาก หาค่ามิได้ นั่นก็คือ “พระบาง” ที่ประดิษฐานอยู่ในหอพระบาง(ตั้งอยู่ด้านหน้า ฝั่งขวา)ที่สร้างด้วยศิลปกรรมล้านช้างอย่างสมส่วนสวยงาม
พระบาง หรือชื่อเต็มคือ พระบางพุทธลาวรรณ เป็นพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร ทุกๆปีในช่วงสงกรานต์(บุญปีใหม่ลาว) จะมีการนำพระบางออกมาให้ชาวลาวและนักท่องเที่ยวได้ร่วมสรงน้ำกันอย่างชื่นมื่น
พระบาง นอกจากจะเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองหลวงพระบางแล้ว ยังเป็นพระพุทธรูปสำคัญที่สุดของสปป.ลาว อีกด้วย...(อ่านเรื่องเที่ยวหลวงพระบาง วัดเชียงทอง น้ำตกกวางสี ต่อได้ตอนหน้า)
*****************************************
เส้นทางในสปป.ลาว จากห้วยทราย-หลวงน้ำทา-บ่อเต็น มีระยะทางกว่า 240 กม. เข้าจีนที่บ่อหาน จากบ่อหานสู่เชียงรุ่งใช้ระยะทางกว่า 180 กม.
รถในจีน ลาว วิ่งเลนขวา การขับขี่ของคนไทยควรระมัดระวังเป็นพิเศษ
ปัจจุบันมีรถโดยสาร บขส.เปิดให้บริการ ระหว่างประเทศในเส้นทางภาคเหนือ คือ เชียงราย-เชียงของ-บ่อแก้ว.เชียงราย-หลวงพระบาง,เชียงใหม่หลวงพระบาง
ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลการข้ามแดน สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 ได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)สำนักงานเชียงราย โทร. 0-5371-7433 และ 0-5374-4674-5
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com
ปี พ.ศ. 2538(ค.ศ.1995) เมือง“หลวงพระบาง”(หลวงพะบาง : ภาษาลาว) แห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว(สปป.ลาว) ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลก
หลังจากนั้นเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว หลวงพระบางได้เปิดตัวรับนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ พร้อมกับชื่อเสียงและมนต์เสน่ห์อันชวนหลงใหลของดินแดนอันสวยงาม ทั้งลักษณะทางกายภาพของวัดวาอาราม ตึกรามบ้านบ้านเรือน ธรรมชาติ และที่สำคัญคือวิถีชีวิตของชาวหลวงพระบางที่สงบงามเรียบง่าย แต่มากไปด้วยเสน่ห์ล้นเหลือ
หลวงพระบางในยุคแรกเริ่มเปิดเมืองเที่ยว ได้ชื่อว่าเป็นดัง ดินแดน“ยูโธเปียของนักอุดมคติ” เป็น “ธัมมิกสังคมแห่งสุดท้าย”
อย่างไรก็ดีหลวงพระบางก็เป็นเฉกเช่นกับเมืองท่องเที่ยวชื่อดังหลายๆเมือง เมื่อมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามามากมาย หลายสิ่งหลายอย่างย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยและสภาพการณ์
หลวงพระบางที่เดิมงดงามดุจดังสาวบริสุทธิ์อันใสซื่อ ไร้ประทินโฉมฉาบทา ได้ถูกการอำนาจแห่งท่องเที่ยวค่อยๆเปลี่ยนเธอให้เป็นสาวสะพรั่งผู้กร้านโลกขึ้น มีจริตจะก้านมากขึ้น หันมานิยมเขียนคิ้วทาปาก ตบแต่งประทินโฉม สู้กับความเป็นจริง แต่ด้วยความที่มีวิถีดั้งเดิมผนวกกับความเป็นเมืองมรดกโลกรองรับเป็นเกราะป้องกัน ทำให้สาวสวยหลวงพระบางในวันนี้ยังโชคดี ยังไม่ถูกกระทำชำเรา หากแต่เป็นสาวงามที่สงวนท่าทีอยู่กับโลกแห่งความเป็นจริงของความเป็นเมืองท่องเที่ยวอันดับต้นๆแห่ง สปป.ลาว
นับเป็นหลวงพระบางยุคร่วมสมัยที่เปลี่ยนผ่านจาก“ยูโธเปียของนักอุดมคติ” เข้าสู่ “เมืองท่องเที่ยวเต็มรูปแบบ” ที่อาจจะไม่สบอารมณ์ ไม่ถูกจริตนักเดินทางบางคน(ที่เคยสัมผัสกับเมืองนี้ในยุคแรกเริ่มเปิดตัวใหม่ๆ) หากแต่นี่คือโลกของความเป็นจริงที่เราไม่อาจปฏิเสธได้ด้วยประการทั้งปวง
เชียงรุ่ง-หลวงพระบาง
สมัยก่อนช่วงแรกเริ่มเปิดเมืองเที่ยวใหม่ๆ เส้นทางล่องเรือจากเมืองไทย เชียงของ(เชียงราย)-ห้วยทราย-หลวงพระบาง ถือเป็นเส้นทางยอดนิยมของนักท่องเที่ยว แต่มาวันนี้เมื่อถนนหนทางดีขึ้น ทำให้ตัวเลือกจากไทยสู่หลวงพระบางมีมากขึ้น
ขณะที่เส้นทางจากเชียงรายสู่หลวงพระบางเองก็มีทางถนน ทางรถยนต์ รถโดยสารมาเป็นอีกหนึ่งทางเลือก ยิ่งเดี๋ยวนี้ “สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4”(เชียงของ-ห้วยทราย) สร้างแล้วเสร็จ ก็ยิ่งทำให้การเดินทางทางถนนจากเชียงรายสู่หลวงพระบางสะดวกสบายขึ้น นั่นจึงทำให้ทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) ภูมิภาคภาคเหนือ ได้จัดกิจกรรมคาราวานรถยนต์ ไทย-ลาว-จีน เพื่อนำร่องรับการเปิด AEC ที่จะมาถึงในปีหน้านี้ โดยพาไปสัมผัสกับ 2 เมืองท่องเที่ยวดังของจีน คือ“เชียงรุ่ง” (ที่นำเสนอไปใน 2 ตอนที่ผ่านมา) กับเมืองหลวงพระบาง แห่ง สปป. ลาวที่ผมจะนำเสนอปิดท้ายกิจกรรมคาราวานในบทความตอนนี้
โดยหลังเที่ยวเชียงรุ่งกันแบบพอหอมปากหอมคอเป็นที่เพลิดเพลินแล้ว คณะของเราเดินทางย้อนกลับมาบนเส้นทางสายเดิม มาแวะพักที่เมืองหล้า 1 คืน จากนั้นเดินทางกลับมายังด่านชายแดนจีน(เมืองบ่อหาน) เพื่อข้ามแดนสู่สปป.ลาวที่เมืองบ่อเต็น เข้าสู่แขวงอุดมไชย แล้วมุ่งหน้าสู่ “หลวงพระบาง” เมืองมรดกโลก อีกหนึ่งเมืองท่องเที่ยวจุดหมายหลักของเราในทริปนี้ ก่อนจะจบทริปกันในเส้นทางหลวงพระบาง-ไชยบุรี-เมืองหงสา-เมืองเงิน และกลับเข้าสู่ไทยอีกครั้งที่ด่านห้วยโกร๋น จ.น่าน
การเที่ยวหลวงพระบางในทริปนี้ แม้หลายๆคนในคณะจะออกเที่ยวหลวงพระบางกันตั้งแต่คืนแรกที่มาถึง แต่ผมจะขอเล่าถึงกิจกรรมท่องเที่ยวหลักๆ พาสัมผัสกับไฮไลท์เมืองหลวงพระบาง 1 วันเต็ม ตั้งแต่เช้าตรู่จนถึงค่ำมืด
ตักบาตรข้าวเหนียว
แน่นอนว่าการมาเที่ยวหลวงพระบางสำหรับคนไทย หากไม่ได้ร่วมตักบาตรข้าวเหนียว มันก็เหมือนกับว่าทริปนั้นยังไม่สมบูรณ์ นั่นจึงทำให้พวกเราตื่นกันแต่รุ่งสางของวันรุ่งขึ้น เพื่อมารอตักบาตรข้าวเหนียวกันแต่เช้าตรู่
สำหรับเส้นทางตักบาตรหลักๆของนักท่องเที่ยวในหลวงพระบางนั้นอยู่บนถนนสีสะหว่างวง ไล่ตั้งแต่หน้าห้องกานไปรษณีย์(ห้องกานไปสะนี) ไปจนถึงหน้าวัดเชียงทอง โดยหลังเสียงย่ำกะลอดังขึ้น(กะลอ : เครื่องตีของลาวมีลักษณะคล้ายกลอง) จากนั้นไม่นาน พระ-เณรตามวัดต่างๆ จะทยอยเดินเป็นแถวยาวเรียงหนึ่งออกมาบิณฑบาต ให้คนลาวทั้งชาวบ้าน ชาวเมือง และนักท่องเที่ยวต่างชาติ จกข้าวเหนียวใส่บาตรกันอย่างอิ่มเอิบใจ
อย่างไรก็ตามด้วยความโด่งดังของการตักบาตรข้าวเหนียว ทำให้วิถีและรูปแบบของการตักบาตรข้าวเหนียวบางอย่างเปลี่ยนไป คือเดี๋ยวนี้การตักบาตรข้าวเหนียวดูคล้ายมหกรรม กลายเป็นแฟชั่นประกอบการถ่ายรูปขึ้นเฟซบุ๊ค ขึ้นไอจี ของนักท่องเที่ยวหลายๆคน แต่นั่นไม่ร้ายกาจเท่ากับพฤติกรรมคนถ่ายรูปหลายๆคน ที่เห็นแก่ตัว สักแต่จะถ่ายรูปเพื่อให้ตัวเองได้มุมดีที่สุด ได้ภาพสวยที่สุด(ตามความคิดของเขา) โดยไม่เกรงใจพระ-เณร ที่เดินบิณฑบาต ไม่เกรงใจคนใส่บาตร และไม่เกรงใจนักท่องเที่ยวด้วยกัน ที่สำคัญคือไม่เกรงใจ ไม่ให้เกียรติกับประเพณีอันดีงามนี้ๆ
ขณะที่แม่ค้าชาวลาวที่หาบกระติ๊บข้าวเหนียวและสิ่งของใส่บาตรขายนักท่องเที่ยว ก็ทำตัวไม่น่ารัก คือ พยายามยื้อแย่งกันขายของ มีการโกงจำนวนกระติ๊บ มีการคิดราคาแพงเกินจริงจนน่าตกใจถ้าไม่สอบถามราคาก่อนล่วงหน้า ดังนั้นใครที่ไม่อยากถูกโกง ไม่อยากเสียความรู้สึก ต้องหาทางรับมือกับพวกแม่ค้าแม่ขายเหล่านี้ให้ดีๆ ทางที่ดีหากไปกับทัวร์ก็สั่งกับทัวร์ หรือหากไปกันเองเป็นกลุ่มก็ให้ทางโรงแรมที่พักจัดเตรียมไว้ให้จะดีกว่า
ดังนั้นใครที่จะตักบาตรข้าวเหนียว ควรหาทางป้องกันรับมือกับเรื่องเหล่านี้ให้ดี หรือหากใครอยากจะกระจายรายได้ช่วยเช้าบ้านก็ต้องสอบถามราคา นับจำนวนข้าวของที่ซื้อ-ขายกันให้ดี เพราะเมื่อตั้งใจตื่นแต่เช้ามาใส่บาตรแล้ว ควรเจอแต่เรื่องจำเริญใจมากกว่าเรื่องชวนหงุดหงิดอารมณ์
ส่วนใครที่อยากสัมผัสกับการตักรบาตรที่ไม่พลุกพล่านและดูเปี่ยมไปด้วยวิถีของชาวลาว ขอแนะนำให้หลบเลี่ยงจากถนนสายหลักไปตักบาตรในซอยหรือในถนนสายรองจะดีกว่า
ตลาดเช้า สีสัน วิถีลาว
อิ่มบุญอิ่มใจจากการตักบาตรข้าวเหนียวแล้ว “ตลาดเช้า”ในซอยข้างๆวัดโพนชัย ดูจะเป็นจุดหมายของนักท่องเที่ยวหลายคนๆ ที่จะได้ซื้ออาหารพื้นเมือง ขนม ของกิน หรือ สินค้าต่างๆ เพราะที่นี่ในทุกๆเช้าจะมีพ่อค้า-แม่ค้านำสินค้าพื้นเมือง พืชผลทางการเกษตร ปลา และอาหารพื้นบ้านต่างๆ มาวางขายให้ชาวบ้านได้ออกมาจับจ่ายซื้อหากันอย่างคึกคัก นับเป็นถนนที่ยังเปี่ยมไปด้วยภาพวิถีของชาวลาวในบรรยากาศพื้นบ้านที่นับวันยิ่งมายิ่งเหลือน้อยเต็มที
หลังเดินตลาดเช้าแล้ว ท้องเริ่มหิว มื้อเช้าของแต่ละคนมีให้เลือกแตกต่างกันออกไป นักท่องเที่ยวที่ไม่กินอาหารในโรงแรม หลายคนอาจเลือกไปหม่ำเฝอตามร้านริมทาง ส่วนฝรั่งอาจไปนั่งตามร้านกาแฟหรืออาหารสไตล์ฝรั่ง ส่วนสำหรับนักท่องเที่ยวไทย หลายๆคนยังคงพุ่งตรงไปที่ร้านกาแฟประชานิยม ที่มีเครื่องดื่มแบะอาหารเช้าขายสารพัด นับเป็นร้านชื่อดังซึ่งที่นี่เราจะไปเจอคนไทยได้อย่างไม่ยากเย็น
พูสี หลักเมืองหลวงพระบาง
เมื่อกินอิ่มแล้วก็ได้เวลาออกเที่ยว สำหรับจุดแรกที่แรงยังดีและอากาศยังไม่ร้อน ผมเลือกเดินขึ้นบน “พูสี” ที่เป็นอีกหนึ่งไฮไลท์ประจำเมือง ที่หากมาหลวงพระบางแล้วไม่ขึ้นพูสี เหมือนกับว่ายังมาไม่ถึง
พูสีเปรียบเสมือนหลักเมืองของหลวงพระบาง การเดินขึ้นยอดพูสีถือว่าเหนื่อยเอาเรื่อง แต่ว่าขึ้นตอนเช้าๆ บรรยากาศดีมาก เส้นทางเดินผ่านซุ้มดอกจำปา(ลั่นทม-ลีลาวดี)สุดขลังอายุนับร้อยปีไปสู่ยอดพูสี ที่บนนั้นโดดเด่นไปด้วย “พระธาตุจอมพูสี” พระธาตุศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองสีทองอร่าม ที่สร้างขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2347
บนยอดพูสียังถือเป็นจุดชมวิวขึ้นชื่อของเมืองหลวงพระบาง บนนี้เมื่อมองลงไปฝั่งหนึ่งจะเห็นสายน้ำคานไหลเลี้ยวเคียงคู่กับทิวทัศน์บ้านเมืองที่แม้จะไม่หนาแน่น แต่ก็เติบโตขึ้นมากว่าเมื่ออดีตอยู่มากโข
ส่วนเมื่อมองไปทางฝั่งตรงข้าม จะเห็นแม่น้ำโขงไหลรี่ มีทิวทัศน์ของเขตเมืองอนุรักษ์ที่เป็นอาคารหลังคาจั่ว ไม่มีตึกสูง เพราะถูกความเป็นมรดกโลกควบคุม ดูสบายตา นอกจากนี้ยังมีมุมมองผ่านซุ้มจำปาลงไปเห็น อาคาร“หอพิพิธภัณฑ์เมืองหลวงพระบาง” ตั้งเด่นอย่างสง่างามริมฝั่งโขง
ไหว้พระบาง พระพุทธรูปสำคัญสูงสุดของลาว
หลังเพลิดเพลินจากวิวบนยอดพูสีแล้ว เมื่อลงมา ผมไม่ได้ไปไหนไกล หากแต่ข้ามฝั่งเข้าไปชมในหอพิพิธภัณฑ์เมืองหลวงพระบาง ที่อนุญาตให้ถ่ายรูปได้เฉพาะภายนอก ส่วนภายในห้ามถ่ายรูป ห้ามนำมือถือหรือกล้องถ่ายรูปเข้ามา
หอพิพิธภัณฑ์ฯ เป็นพระราชวังหลวงเดิมของเจ้ามหาชีวิต พอเปลี่ยนแปลงการปกครองได้ถูกปรับเปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์ ตัวอาคารเป็นสถาปัตยกรรมยุโรปผสมล้านช้าง มีตาลต้นใหญ่ขนาบซ้าย-ขวาในทางเดิน นำสายตาเข้าสู่หน้าพิพิธภัณฑ์ ที่ภายในเก็บโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น พระพุทธรูปทองคำ พระพุทธรูปสำริด กลองมโหระทึก ภาพเก่าแก่ บัลลังก์ ธรรมาสน์ และข้าวของเครื่องใช้อีกหลากหลาย
ในอาณาเขตพิพิธภัณฑ์ยังมีโบราณวัตถุชิ้นสำคัญมาก หาค่ามิได้ นั่นก็คือ “พระบาง” ที่ประดิษฐานอยู่ในหอพระบาง(ตั้งอยู่ด้านหน้า ฝั่งขวา)ที่สร้างด้วยศิลปกรรมล้านช้างอย่างสมส่วนสวยงาม
พระบาง หรือชื่อเต็มคือ พระบางพุทธลาวรรณ เป็นพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร ทุกๆปีในช่วงสงกรานต์(บุญปีใหม่ลาว) จะมีการนำพระบางออกมาให้ชาวลาวและนักท่องเที่ยวได้ร่วมสรงน้ำกันอย่างชื่นมื่น
พระบาง นอกจากจะเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองหลวงพระบางแล้ว ยังเป็นพระพุทธรูปสำคัญที่สุดของสปป.ลาว อีกด้วย...(อ่านเรื่องเที่ยวหลวงพระบาง วัดเชียงทอง น้ำตกกวางสี ต่อได้ตอนหน้า)
*****************************************
เส้นทางในสปป.ลาว จากห้วยทราย-หลวงน้ำทา-บ่อเต็น มีระยะทางกว่า 240 กม. เข้าจีนที่บ่อหาน จากบ่อหานสู่เชียงรุ่งใช้ระยะทางกว่า 180 กม.
รถในจีน ลาว วิ่งเลนขวา การขับขี่ของคนไทยควรระมัดระวังเป็นพิเศษ
ปัจจุบันมีรถโดยสาร บขส.เปิดให้บริการ ระหว่างประเทศในเส้นทางภาคเหนือ คือ เชียงราย-เชียงของ-บ่อแก้ว.เชียงราย-หลวงพระบาง,เชียงใหม่หลวงพระบาง
ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลการข้ามแดน สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 ได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)สำนักงานเชียงราย โทร. 0-5371-7433 และ 0-5374-4674-5
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com