โดย : หนุ่มลูกทุ่ง
หากใครเคยนั่งเรือหรือนั่งรถผ่านแถวสะพานพุทธยอดฟ้าฯ ถ้ามองไปทางฝั่งธนฯ ก็คงจะเคยเห็นเจดีย์สีขาวสะอาดชูยอดแหลมขึ้นสู่ท้องฟ้า เจดีย์องค์ที่เห็นนี้ก็คือ "พระบรมธาตุมหาเจดีย์" ของวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ที่เมื่อปี 2550 เคยมีข่าวพบกรุพระบรมสารีริกธาตุและกรุพระต่างๆ ภายในองค์เจดีย์จนมีผู้ให้ความสนใจกันมากมาย
มาในปีนี้พระบรมธาตุมหาเจดีย์องค์นี้ก็มีชื่อเสียงขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง เมื่อยูเนสโกได้ประกาศผลการประกวดโครงการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ประจำปี 2556 เพื่อยกย่องบุคคลและองค์กรภาคเอกชน หรือโครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ในการบูรณปฏิสังขรณ์อาคารและสิ่งก่อสร้างที่เป็นมรดกอันทรงคุณค่าในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ซึ่งปีนี้มีการส่งเข้าประกวดกว่า 47 โครงการ จาก 16 ประเทศ ผลปรากฏว่า โครงการอนุรักษ์เจดีย์พระประธานของวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ได้รับรางวัลยอดเยี่ยม อันดับ 1 หรือ Award of Excellence ด้วยเหตุผลว่ามีการบูรณปฏิสังขรณ์พระบรมธาตุมหาเจดีย์และพรินทรเปรียญปริยัติธรรมศาลานี้สะท้อนความเข้าใจทางเทคนิค และเป็นโครงการอนุรักษ์ที่สร้างความตระหนักในคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรมในชุมชนรอบข้าง
วันนี้ฉันจึงต้องมาชมองค์พระเจดีย์ที่วัดประยูรฯ ดูเสียหน่อยว่าน่าสนใจอย่างไรจึงได้รับรางวัลอันทรงเกียรตินี้ แต่ก่อนจะไปชมวัดมาทราบประวัติคร่าวๆ ของวัดเป็นพื้นฐานกันก่อน วัดประยูรฯ สร้างขึ้นเมื่อปี 2371 ผู้สร้างคือสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) เมื่อครั้งที่ท่านดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าพระยาพระคลัง ว่าที่กรมท่าและสมุหพระกลาโหม ท่านได้อุทิศสวนกาแฟสร้างเป็นวัดขึ้น และถวายเป็นพระอารามหลวงในสมัยรัชกาลที่ 3 ใช้เวลาก่อสร้างวัดนาน 8 ปีด้วยกัน
ในส่วนขององค์พระบรมธาตุมหาเจดีย์ก็สร้างขึ้นโดยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์เช่นกัน แต่สร้างภายหลังจากการสร้างวัด พระเจดีย์ไม่ทันแล้วเสร็จผู้สร้างก็ถึงแก่พิราลัยไปก่อน ต่อมาสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) จึงได้เป็นผู้สร้างต่อจนพระเจดีย์เสร็จสิ้นสมบูรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 4
พระบรมธาตุมหาเจดีย์เป็นเจดีย์องค์ใหญ่ทรงกลม สัณฐานรูปโอคว่ำ สูง 60.525 เมตร และมีพระเจดีย์องค์เล็ก 18 องค์เรียงรายรอบเจดีย์องค์ใหญ่ พระบรมธาตุมหาเจดีย์นี้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุตั้งแต่ปี 2450 โดยพระปรากรมมุนี (เปลี่ยน) เจ้าอาวาสวัดรูปที่ 10 ได้บูรณะพระเจดีย์องค์เล็ก ซ่อมกำแพงรอบพระเจดีย์องค์ใหญ่ จากนั้นได้จัดงานฉลองพระเจดีย์และอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุขึ้นประดิษฐานในพระเจดีย์องค์ใหญ่
ภายหลังองค์เจดีย์ทรุดโทรมลงเรื่อยๆ จนมาในยุคที่พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) เจ้าอาวาสวัดประยูรฯ รูปปัจจุบัน ได้ดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์พระบรมธาตุมหาเจดีย์ครั้งใหญ่เมื่อปี 2549 และทำให้ค้นพบพระบรมสารีริกธาตุและพระกรุจำนวนมากบนพระเจดีย์เมื่อช่วงปลายปี 2550
ในช่วงนั้นข่าวกรุพระวัดประยูรฯ แตกเป็นข่าวโด่งดังอยู่ช่วงหนึ่ง ประชาชนผู้ศรัทธาต่างมุ่งหน้าไปกราบไหว้พระบรมสารีริกธาตุที่ทางวัดได้นำไปประดิษฐานไว้ในวิหารพุทธนาค และในปัจจุบันก็ได้นำพระบรมสารีริกธาตุบางส่วน พระพุทธรูป และโบราณวัตถุต่างๆ ที่พบในกรุมาจัดแสดงไว้ในหอสมุดพรินทร์ปริยัติธรรมศาลา ซึ่งอยู่ติดกับพระบรมธาตุมหาเจดีย์
พรินทร์ปริยัติธรรมศาลาแห่งนี้ก็มีความน่าสนใจไม่น้อย ศาลาแห่งนี้สร้างขึ้นโดยเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) ซึ่งสร้างต่อจากมุขพระบรมธาตุมหาเจดีย์ขึ้นเพื่อเป็นที่ศึกษาพระปริยัติธรรมของพระภิกษุสามเณร สร้างเป็นตึกชั้นเดียวในสไตล์ตะวันตก ศาลาแห่งนี้ยังถูกใช้เป็นห้องอ่านหนังสือสำหรับประชาชนแห่งแรกของไทย และได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของกรมศิลปากรอีกด้วย ปัจจุบันจัดเป็นพิพิธภัณฑ์เก็บรวบรวมของล้ำค่าที่พบในกรุบนองค์เจดีย์ และสิ่งของต่างๆ ที่มีผู้ถวายสมทบภายหลังด้วย คนที่มาเยือนวัดประยูรฯ ไม่ควรพลาดชมพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เด็ดขาด
กลับมาต่อกันที่องค์เจดีย์กันอีกครั้ง โดยหลังจากการค้นพบพระบรมสารีริกธาตุแล้ว ทางวัดยังได้บูรณะองค์พระบรมธาตุมหาเจดีย์อย่างยิ่งใหญ่ โดยคนทั่วไปอาจไม่รู้ว่า ภายในองค์เจดีย์นั้นมีเสาแกนกลาง หรือเสาครูขนาดใหญ่ มีขนาดกว้างด้านละ 2 ม. สูง 18 ม. หนักถึง 144 ตัน ก่อด้วยอิฐโบราณ สอด้วยปูนหมักน้ำอ้อยและกาวหนัง เสาแกนกลางดังกล่าวใช้เป็นศูนย์กลางรัศมีวงกลมของเจดีย์ และเป็นเสาหลักสำหรับวางพาดไม้นั่งร้านในขณะก่อสร้างองค์เจดีย์ และยังเป็นเสาค้ำบัลลังก์ปลียอดเจดีย์อีกด้วย ซึ่งเจดีย์ที่มีเสาอิฐเป็นแกนกลางเช่นนี้ นับเป็นหนึ่งเดียวของเจดีย์ในยุครัตนโกสินทร์เลยทีเดียว
แต่จากที่ได้มีการสำรวจตั้งแต่ปี 2535 พบว่าเสาแกนกลางนี้ได้ล้มเอียงพิงผนังภายในองค์เจดีย์ ทำให้เจดีย์เอียงไปทางฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม ทางวัดจึงเริ่มซ่อมแซมเสาแกนกลางนี้เมื่อปี 2553 หลังจากที่มีการศึกษาและออกแบบวิธีการบูรณะเสาแกนกลางมาเป็นปี
การซ่อมแซมจึงไม่มีการรื้ออิฐออกแต่อย่างใด แต่ใช้ก่ออิฐเสริมฐานเสาแกนให้เต็มฐานและเข้าเผือกที่แกนเสาก่อนบูรณะ แล้วจึงใช้แม่แรงดีดแกนเสาให้ตั้งตรง นับเป็นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มาช่วยอนุรักษ์โบราณสถานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้โครงการอนุรักษ์พระบรมธาตุมหาเจดีย์ได้รับรางวัลจากยูเนสโก
และนอกจากนั้น การบูรณะและอนุรักษ์องค์เจดีย์ยังได้รับความร่วมมือที่สำคัญจากชุมชนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นชุมชนกะดีจีน ชุมชนคลองสาน และชุมชนต่างๆ ใกล้เคียง ที่ได้มาร่วมแสดงความคิดเห็น ร่วมบริจาคเงินและบริจาคข้าวของพระพุทธรูปต่างๆ ให้แก่พิพิธภัณฑ์ ซึ่งถือว่าพวกเขามีส่วนสำคัญที่ช่วยให้การบูรณะครั้งนี้สำเร็จไปได้ด้วยดี จนมีผลทำให้ชุมชนเองมีแหล่งเรียนรู้ ทั้งพิพิธภัณฑ์ ทั้งโบราณสถานอันงดงามสมบูรณ์ และเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ยูเนสโกมองเห็นความร่วมมือนี้ จนนำมาสู่รางวัลอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมในครั้งนี้
มาในวันนี้ องค์พระบรมธาตุมหาเจดีย์ได้รับการบูรณะจนสำเร็จงดงาม และเปิดให้ประชาชนเข้าไปชมภายในองค์เจดีย์กันได้ ซึ่งนอกจากจะได้เข้าไปสักการะพระบรมสารีริกธาตุกันถึงภายในแล้ว ยังจะได้ชมภูมิปัญญาที่ผสมผสานกันระหว่างช่างสมัยเก่าและช่างสมัยใหม่ที่สร้างและอนุรักษ์ไว้ให้เราได้ชมกันถึงวันนี้
นอกจากพระบรมธาตุมหาเจดีย์และพิพิธภัณฑ์ของวัดที่ไม่ควรพลาดชมแล้ว ในวัดประยูรฯ ก็ยังมีสิ่งที่น่าสนใจอื่นๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น พระอุโบสถที่ประดิษฐาน “พระพุทธธรรมวิเชษฐศาสดา” ซึ่งนับเป็นพระพุทธรูปองค์แรกที่นำช่างฝีมือปิดทองเป็นชาวญี่ปุ่น ส่วนพระวิหาร ประดิษฐาน “พระพุทธนาค” พระพุทธรูปโบราณสมัยสุโขทัยคู่กับพระศรีศากยมุนี และยังมีภูเขามอ หรือเขาเต่า ซึ่งเป็นภูเขาจำลองขนาดเล็กก่อด้วยหิน ตั้งอยู่กลางสระน้ำบริเวณด้านหน้าวัด ซึ่งในสระน้ำก็มีเต่าและตะพาบน้ำอยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจในบรรยากาศสงบของวัดประยูรฯ แห่งนี้
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
“วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร” ตั้งอยู่ใกล้เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า ฝั่งธนบุรี ถนนประชาธิปก แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพฯ สอบถามรายละเอียดโทร. 0 2465 5592
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล travel_astvmgr@hotmail.com
หากใครเคยนั่งเรือหรือนั่งรถผ่านแถวสะพานพุทธยอดฟ้าฯ ถ้ามองไปทางฝั่งธนฯ ก็คงจะเคยเห็นเจดีย์สีขาวสะอาดชูยอดแหลมขึ้นสู่ท้องฟ้า เจดีย์องค์ที่เห็นนี้ก็คือ "พระบรมธาตุมหาเจดีย์" ของวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ที่เมื่อปี 2550 เคยมีข่าวพบกรุพระบรมสารีริกธาตุและกรุพระต่างๆ ภายในองค์เจดีย์จนมีผู้ให้ความสนใจกันมากมาย
มาในปีนี้พระบรมธาตุมหาเจดีย์องค์นี้ก็มีชื่อเสียงขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง เมื่อยูเนสโกได้ประกาศผลการประกวดโครงการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ประจำปี 2556 เพื่อยกย่องบุคคลและองค์กรภาคเอกชน หรือโครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ในการบูรณปฏิสังขรณ์อาคารและสิ่งก่อสร้างที่เป็นมรดกอันทรงคุณค่าในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ซึ่งปีนี้มีการส่งเข้าประกวดกว่า 47 โครงการ จาก 16 ประเทศ ผลปรากฏว่า โครงการอนุรักษ์เจดีย์พระประธานของวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ได้รับรางวัลยอดเยี่ยม อันดับ 1 หรือ Award of Excellence ด้วยเหตุผลว่ามีการบูรณปฏิสังขรณ์พระบรมธาตุมหาเจดีย์และพรินทรเปรียญปริยัติธรรมศาลานี้สะท้อนความเข้าใจทางเทคนิค และเป็นโครงการอนุรักษ์ที่สร้างความตระหนักในคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรมในชุมชนรอบข้าง
วันนี้ฉันจึงต้องมาชมองค์พระเจดีย์ที่วัดประยูรฯ ดูเสียหน่อยว่าน่าสนใจอย่างไรจึงได้รับรางวัลอันทรงเกียรตินี้ แต่ก่อนจะไปชมวัดมาทราบประวัติคร่าวๆ ของวัดเป็นพื้นฐานกันก่อน วัดประยูรฯ สร้างขึ้นเมื่อปี 2371 ผู้สร้างคือสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) เมื่อครั้งที่ท่านดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าพระยาพระคลัง ว่าที่กรมท่าและสมุหพระกลาโหม ท่านได้อุทิศสวนกาแฟสร้างเป็นวัดขึ้น และถวายเป็นพระอารามหลวงในสมัยรัชกาลที่ 3 ใช้เวลาก่อสร้างวัดนาน 8 ปีด้วยกัน
ในส่วนขององค์พระบรมธาตุมหาเจดีย์ก็สร้างขึ้นโดยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์เช่นกัน แต่สร้างภายหลังจากการสร้างวัด พระเจดีย์ไม่ทันแล้วเสร็จผู้สร้างก็ถึงแก่พิราลัยไปก่อน ต่อมาสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) จึงได้เป็นผู้สร้างต่อจนพระเจดีย์เสร็จสิ้นสมบูรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 4
พระบรมธาตุมหาเจดีย์เป็นเจดีย์องค์ใหญ่ทรงกลม สัณฐานรูปโอคว่ำ สูง 60.525 เมตร และมีพระเจดีย์องค์เล็ก 18 องค์เรียงรายรอบเจดีย์องค์ใหญ่ พระบรมธาตุมหาเจดีย์นี้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุตั้งแต่ปี 2450 โดยพระปรากรมมุนี (เปลี่ยน) เจ้าอาวาสวัดรูปที่ 10 ได้บูรณะพระเจดีย์องค์เล็ก ซ่อมกำแพงรอบพระเจดีย์องค์ใหญ่ จากนั้นได้จัดงานฉลองพระเจดีย์และอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุขึ้นประดิษฐานในพระเจดีย์องค์ใหญ่
ภายหลังองค์เจดีย์ทรุดโทรมลงเรื่อยๆ จนมาในยุคที่พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) เจ้าอาวาสวัดประยูรฯ รูปปัจจุบัน ได้ดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์พระบรมธาตุมหาเจดีย์ครั้งใหญ่เมื่อปี 2549 และทำให้ค้นพบพระบรมสารีริกธาตุและพระกรุจำนวนมากบนพระเจดีย์เมื่อช่วงปลายปี 2550
ในช่วงนั้นข่าวกรุพระวัดประยูรฯ แตกเป็นข่าวโด่งดังอยู่ช่วงหนึ่ง ประชาชนผู้ศรัทธาต่างมุ่งหน้าไปกราบไหว้พระบรมสารีริกธาตุที่ทางวัดได้นำไปประดิษฐานไว้ในวิหารพุทธนาค และในปัจจุบันก็ได้นำพระบรมสารีริกธาตุบางส่วน พระพุทธรูป และโบราณวัตถุต่างๆ ที่พบในกรุมาจัดแสดงไว้ในหอสมุดพรินทร์ปริยัติธรรมศาลา ซึ่งอยู่ติดกับพระบรมธาตุมหาเจดีย์
พรินทร์ปริยัติธรรมศาลาแห่งนี้ก็มีความน่าสนใจไม่น้อย ศาลาแห่งนี้สร้างขึ้นโดยเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) ซึ่งสร้างต่อจากมุขพระบรมธาตุมหาเจดีย์ขึ้นเพื่อเป็นที่ศึกษาพระปริยัติธรรมของพระภิกษุสามเณร สร้างเป็นตึกชั้นเดียวในสไตล์ตะวันตก ศาลาแห่งนี้ยังถูกใช้เป็นห้องอ่านหนังสือสำหรับประชาชนแห่งแรกของไทย และได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของกรมศิลปากรอีกด้วย ปัจจุบันจัดเป็นพิพิธภัณฑ์เก็บรวบรวมของล้ำค่าที่พบในกรุบนองค์เจดีย์ และสิ่งของต่างๆ ที่มีผู้ถวายสมทบภายหลังด้วย คนที่มาเยือนวัดประยูรฯ ไม่ควรพลาดชมพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เด็ดขาด
กลับมาต่อกันที่องค์เจดีย์กันอีกครั้ง โดยหลังจากการค้นพบพระบรมสารีริกธาตุแล้ว ทางวัดยังได้บูรณะองค์พระบรมธาตุมหาเจดีย์อย่างยิ่งใหญ่ โดยคนทั่วไปอาจไม่รู้ว่า ภายในองค์เจดีย์นั้นมีเสาแกนกลาง หรือเสาครูขนาดใหญ่ มีขนาดกว้างด้านละ 2 ม. สูง 18 ม. หนักถึง 144 ตัน ก่อด้วยอิฐโบราณ สอด้วยปูนหมักน้ำอ้อยและกาวหนัง เสาแกนกลางดังกล่าวใช้เป็นศูนย์กลางรัศมีวงกลมของเจดีย์ และเป็นเสาหลักสำหรับวางพาดไม้นั่งร้านในขณะก่อสร้างองค์เจดีย์ และยังเป็นเสาค้ำบัลลังก์ปลียอดเจดีย์อีกด้วย ซึ่งเจดีย์ที่มีเสาอิฐเป็นแกนกลางเช่นนี้ นับเป็นหนึ่งเดียวของเจดีย์ในยุครัตนโกสินทร์เลยทีเดียว
แต่จากที่ได้มีการสำรวจตั้งแต่ปี 2535 พบว่าเสาแกนกลางนี้ได้ล้มเอียงพิงผนังภายในองค์เจดีย์ ทำให้เจดีย์เอียงไปทางฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม ทางวัดจึงเริ่มซ่อมแซมเสาแกนกลางนี้เมื่อปี 2553 หลังจากที่มีการศึกษาและออกแบบวิธีการบูรณะเสาแกนกลางมาเป็นปี
การซ่อมแซมจึงไม่มีการรื้ออิฐออกแต่อย่างใด แต่ใช้ก่ออิฐเสริมฐานเสาแกนให้เต็มฐานและเข้าเผือกที่แกนเสาก่อนบูรณะ แล้วจึงใช้แม่แรงดีดแกนเสาให้ตั้งตรง นับเป็นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มาช่วยอนุรักษ์โบราณสถานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้โครงการอนุรักษ์พระบรมธาตุมหาเจดีย์ได้รับรางวัลจากยูเนสโก
และนอกจากนั้น การบูรณะและอนุรักษ์องค์เจดีย์ยังได้รับความร่วมมือที่สำคัญจากชุมชนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นชุมชนกะดีจีน ชุมชนคลองสาน และชุมชนต่างๆ ใกล้เคียง ที่ได้มาร่วมแสดงความคิดเห็น ร่วมบริจาคเงินและบริจาคข้าวของพระพุทธรูปต่างๆ ให้แก่พิพิธภัณฑ์ ซึ่งถือว่าพวกเขามีส่วนสำคัญที่ช่วยให้การบูรณะครั้งนี้สำเร็จไปได้ด้วยดี จนมีผลทำให้ชุมชนเองมีแหล่งเรียนรู้ ทั้งพิพิธภัณฑ์ ทั้งโบราณสถานอันงดงามสมบูรณ์ และเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ยูเนสโกมองเห็นความร่วมมือนี้ จนนำมาสู่รางวัลอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมในครั้งนี้
มาในวันนี้ องค์พระบรมธาตุมหาเจดีย์ได้รับการบูรณะจนสำเร็จงดงาม และเปิดให้ประชาชนเข้าไปชมภายในองค์เจดีย์กันได้ ซึ่งนอกจากจะได้เข้าไปสักการะพระบรมสารีริกธาตุกันถึงภายในแล้ว ยังจะได้ชมภูมิปัญญาที่ผสมผสานกันระหว่างช่างสมัยเก่าและช่างสมัยใหม่ที่สร้างและอนุรักษ์ไว้ให้เราได้ชมกันถึงวันนี้
นอกจากพระบรมธาตุมหาเจดีย์และพิพิธภัณฑ์ของวัดที่ไม่ควรพลาดชมแล้ว ในวัดประยูรฯ ก็ยังมีสิ่งที่น่าสนใจอื่นๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น พระอุโบสถที่ประดิษฐาน “พระพุทธธรรมวิเชษฐศาสดา” ซึ่งนับเป็นพระพุทธรูปองค์แรกที่นำช่างฝีมือปิดทองเป็นชาวญี่ปุ่น ส่วนพระวิหาร ประดิษฐาน “พระพุทธนาค” พระพุทธรูปโบราณสมัยสุโขทัยคู่กับพระศรีศากยมุนี และยังมีภูเขามอ หรือเขาเต่า ซึ่งเป็นภูเขาจำลองขนาดเล็กก่อด้วยหิน ตั้งอยู่กลางสระน้ำบริเวณด้านหน้าวัด ซึ่งในสระน้ำก็มีเต่าและตะพาบน้ำอยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจในบรรยากาศสงบของวัดประยูรฯ แห่งนี้
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
“วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร” ตั้งอยู่ใกล้เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า ฝั่งธนบุรี ถนนประชาธิปก แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพฯ สอบถามรายละเอียดโทร. 0 2465 5592
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล travel_astvmgr@hotmail.com