โดย : ปิ่น บุตรี(pinn109@hotmail.com)
“ฉันคิดไปเป็นชาวเกาะ
มีชีวิตกลางแดดและคลื่นลม
จะจูบอำลาสังคมแสงสีในเมืองนภา
หากเบื่อชีวิตในเมืองกรุง และคิดใจมุ่งแสวงหา
มีธรรมชาติในวิญญาตามฉันมาเป็นชาวเกาะเอย...”
“คิดไปเป็นชาวเกาะ” เพลงเก่าของน้า “ปานศักดิ์ รังสิพราหมณกุล” ที่ยังคงใช้ได้ดีกับการออกทะเลไปเที่ยวเกาะมาทุกยุคทุกสมัย
สำหรับร้อนนี้ผมมีโอกาสได้กลับไปเยือน “เกาะกูด” จ.ตราด อีกครั้ง
เกาะกูด เป็น 1 ใน 52 เกาะของหมู่เกาะช้าง เป็นเกาะสุดท้ายของน่านน้ำทะเลอ่าวไทยฝั่งตะวันออกของบ้านเรา มีขนาดใหญ่เป็นลำดับที่ 4 ของประเทศ ไล่เรียงรองลำดับลงมาจาก อันดับ 1.เกาะภูเก็ต 2.เกาะช้าง 3.เกาะสมุย(จ.สุราษฎร์ธานี) และ 4.เกาะกูด เพชรเม็ดงามแห่งชายฝั่งตะวันออกที่ผมจะออกไปเป็นชาวเกาะกันในทริปนี้
ธรรมชาติยังสมบูรณ์บนเกาะกูด
ความที่อยู่ไกลชายฝั่ง ทำให้เกาะกูดยังคงมีสภาพธรรมชาติที่สมบูรณ์ บนเกาะกูดมีรีสอร์ท ที่พัก ขึ้นอยู่พอสมควร แต่ยังไม่ถึงกับแน่น เหมาะสำหรับคนที่ชอบเที่ยวพักผ่อนท่ามกลางธรรมชาติ ในบรรยากาศไม่พลุกพล่าน ไม่เน้นในแสงสีและสถานบันเทิงยั่วเย้า
บนเกาะกูดมีป่าต้นน้ำที่สภาพยังดีอยู่จึงมีน้ำจืดค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ ต้นน้ำบางแห่งไหลมารวมกันก่อกำเนิดเป็นน้ำตก 2-3 แห่ง โดยมี “น้ำตกคลองเจ้า” เป็นน้ำตกชื่อดังประจำเกาะ
น้ำตกคลองเจ้าเป็นน้ำตกขนาดกลาง ไม่เพียงสวยงามน่าเล่นเท่านั้น ยังเป็นน้ำตกที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เพราะในสมัยรัชกาลที่ 1 เจ้าญวน“องเชียงสือ”แห่งแคว้นอันนัม(ปัจจุบันคือเวียดนาม) ได้ลี้ภัยสงครามมาพึงพระบรมโพธิสมภาร แล้วรวบรวมพลขึ้นที่เกาะกูดก่อนเดินทางกลับไปกู้บ้านเมืองจนสามารถปราบกบฏไกเซินได้สำเร็จ
ต่อมาในปี พ.ศ. 2454 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้เสด็จประพาสเกาะกูดและเสด็จมายังน้ำตกแห่งนี้ พระองค์ทรงพระราชทานนามน้ำตกนี้ว่า “น้ำตกอนัมก๊ก” เพื่อเป็นที่ระลึกแก่องเชียงสือ
น้ำตกคลองเจ้าเป็นน้ำตกที่มีน้ำไหลตลอดทั้งปี มีต้นกำเนิดจากลำธารบนเนินเขาตอนกลางของเกาะ มีทั้งหมด 3 ชั้นด้วยกัน ชั้นบนมีลักษณะเป็นลำธาร ไหลผ่านหน้าผาหินตกลงมาเป็นยังแอ่งขนาดใหญ่ที่เบื้องล่างที่สามารถลงไปแหวกว่ายได้ เย็นชื่นใจดีแท้
ข้างๆตัวน้ำตกมีต้นไม้แขวนเชือกเป็นห่วงไว้ให้นักท่องเที่ยวผู้นิยมความท้าทายกระโดดน้ำเล่น ซึ่งใครถ้ากระโดดเป็น ยามลงมาก็ท่าสวย แต่ถ้าใครที่กระโดดไม่เป็นหล่นลงมาผิดท่า ก็คงได้จุกกันบ้างแหละ
ความอุดมสมบูรณ์ของน้ำท่าบนเกาะกูดยังมีปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัดกับลำคลอง ลำธารที่มีอยู่มากมาย นับเป็นเกาะที่มีคลองเล็กคลองน้อยมากเป็นอันดับต้นๆของเมืองไทย ลำคลองหลายสายน้ำใสแจ๋ว นับเป็นแม่เหล็กดึงดูดให้ฝรั่งนิยมมาพายเรือคายัคชมทิวทัศน์ตามลำคลอง
ขณะที่คนไทยอย่างผมเห็นคลองน้ำใสๆอย่างนี้แล้ว เราอย่างแก้ผ้ากระโดดน้ำเล่นมากกว่า
ทะเลงาม น้ำใสแจ๋ว
ความไกลชายฝั่งทำให้เกาะกูดมีหาดทรายที่ขาวสะอาด น้ำทะเลสวยใสไม่ต่างจากเกาะแถบอันดามัน จนเกาะกูดได้รับฉายาว่าเป็น “อันดามันตะวันออก” ซึ่งประกอบด้วยหาดทรายชายทะเลอันโดดเด่นชวนเที่ยวจำนวนมาก โดยทางฝั่งตะวันออกไล่เรียงจุดเด่นๆจากเหนือลงใต้มาก็มี อ่าวสับปะรด อ่าวสลัด อ่าวยายเกิด อ่าวกล้วย อ่าวจาก เป็นต้น
ส่วนทะเลงามฝั่งตะวันตกจากเหนือลงใต้ที่เด่นๆก็มี อ่าวมะพูด อ่าวตาติ้น หาดคลองยายกี๋ หาดตะเภา หาดคลองเจ้าที่ถือเป็นหาดยอดนิยมอันดับหนึ่งบนเกาะกูด หาดงามโข(ง่ามโข) อ่าวบางเบ้า และอ่าวพร้าว อ่าวสุดท้ายของเกาะกูด ซึ่งเป็นที่พักของผมในทริปนี้
อ่าวพร้าว อยู่ไม่ไกลจากน่านน้ำเขมร มีชายหาดขาว โค้งเว้า ยาวประมาณ 800 เมตร มีน้ำทะเลสวยใส และยังคงมีทิวมะพร้าวที่นับวันยิ่งมายิ่งเหลือน้อยให้สัมผัสกัน
สำหรับหน้ารีสอร์ทที่ผมพักมีสะพานไม้ยื่นออกไปในทะเลเป็นท่าเทียบเรือส่วนตัวของรีสอร์ท ซึ่งนี่ถือเป็นอีกหนึ่งจุดเด่นของเกาะกูด โดยรีสอร์ทที่ติดทะเลส่วนใหญ่จะมีสะพานไม้สำหรับเทียบเรือของตัวเอง ซึ่งแน่นอนว่าสะพานนอกจากจะเอาไว้เทียบเรือ ส่งคนขึ้นท่า ขนข้าวขนของจากเรือมายังรีสอร์ทแล้ว สะพานที่เกาะกูดยังเป็นจุดถ่ายรูปชั้นดี จนกลายเป็นเอกลักษณ์ของคนมาเที่ยวเกาะกูดว่า ถ้ามาเกาะกูดต้องไม่พลาดการถ่ายรูปสะพาน หรือถ่ายรูปคู่กับสะพานกลับไปด้วยประการทั้งปวง
บนเกาะกูดยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่ฟังแล้วน่าสนใจ นั่นก็คือ ชื่อของหาด คลอง อ่าว แหลม รวมถึงชื่อน้ำตก ที่อยู่ในบริเวณเดียวกัน ส่วนใหญ่มักจะเป็นชื่อเดียวกัน ดังตัวอย่าง น้ำตกคลองเจ้า หาดคลองเจ้า อ่าวคลองเจ้า น้ำตกคลองยายกี๋ คลองยายกี๋ อ่าวยายกี๋ หาดคลองยายกี๋ เป็นต้น
เอ้อ...กับชื่อหลังนี้ หาดคลองยายกี๋ ยังไงฟังแล้วห้ามผวนเด็ดขาด เอาเป็นว่านี่เป็นเสน่หาภาษาไทยแห่งเกาะกูดที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่น่าสนใจยิ่ง
ปรับตัว-ปรับเปลี่ยน
เดิมชาวบ้านเกาะกูดนอกจากจะมีอาชีพทำประมง ทำสวนมะพร้าว ต่อมาเมื่อการท่องเที่ยวเข้ามา หลายๆคนขายที่ให้นายทุน บางคนที่มีเงินทุนก็หันมาทำรีสอร์ทเล็กๆของตัวเอง นั่นจึงทำให้การทำสวนมะพร้าวค่อยๆร่อยหรอหดหายไป เหลืออยู่เพียงไม่กี่เจ้า ขณะที่ลูกหลานชาวบ้านส่วนหนึ่งก็เปลี่ยนวิถีมาทำอาชีพบริการในภาคธุรกิจท่องเที่ยวแทน
อย่างไรก็ดีบนเกาะกูดก็ยังมีหมู่บ้านชาวประมงหลักอยู่ที่อ่าวสลัด ที่นี่ยังคงมีวิถีชาวประมงให้เห็นควบคู่ไปกับการปรับตัวรับกระแสท่องเที่ยวที่ถาโถม
ชุมชนบ้านอ่าวสลัดวันนี้มีวิถีที่ครึกครื้นไม่น้อย โดยเฉพาะกับการเปิดร้านอาหารขายให้นักท่องเที่ยวอย่างเป็นเรื่องเป็นราวใหญ่โต มีบริการเรือพาเที่ยว พาดำน้ำ รวมไปถึงมีโฮมสเตย์ไว้อีกเป็นทางเลือกของนักท่องเที่ยว
“สถิต เงินโสม” หรือ ผู้ใหญ่นวล ผู้ใหญ่บ้านอ่าวสลัด เคยบอกกับผมว่า ที่ผ่านมาเกาะกูดมีนายทุน ทั้งต่างถิ่น ต่างชาติ เข้ามากอบโกยหาผลประโยชน์เป็นจำนวนมาก หลายเจ้าขายทัวร์กันในราคาแพงๆ เพราะบางทัวร์ต้องหักค่านายหน้า นั่นจึงทำให้ผู้ใหญ่นวลกับลูกบ้านคิดกันว่า น่าจะมีวิธีการที่ให้เม็ดเงินตกกับชาวบ้านโดยตรง
ด้วยเหตุนี้ที่หมู่บ้านชาวประมงอ่าวสลัดจึงมีการจัดทำโฮมสเตย์เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของนักท่องเที่ยว โดยผู้ใหญ่นวลออกตัวว่า พวกเขาแม้จะไม่ใช่ทัวร์อาชีพ แต่เน้นที่มีราคาถูกกว่า มีความจริงใจ มีบรรยากาศกันเองแบบไทยๆ ที่หลับที่นอนย่อมสู้พวกโรงแรมรีสอร์ทหรูๆไม่ได้ แต่จะได้ในเรื่องของอาหารมาทดแทน เพราะที่นี่มีอาหารสดๆจับจากแหล่งให้เลือกกินกันอย่างเต็มที่
ใครที่ชอบเที่ยวในบรรยากาศวิถีชีวิตพื้นบ้าน ราคาไม่แพง โฮมสเตย์บ้านอ่าวสลัดถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจไม่น้อยเลย
และนี่ก็เป็นเรื่องราวส่วนหนึ่งของเกาะกูด ที่วันนี้ยังคงเป็นเพชรเม็ดงามอันทรงเสน่ห์แห่งท้องทะเลตราด ที่นายทุนทั้งตางถิ่น ต่างชาติต่างหมายปองตาเป็นมัน ซึ่งยังไงๆก็ขอให้เกาะกูดอย่าได้เดินตามรอยรุ่นพี่ จนธรรมชาติและวิถีชุมชนเปลี่ยนไปเหมือนกับเกาะช้างในปัจจุบัน
ส่วนอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องติดตามแบบไม่กระพริบตาก็คือ สถานะภาพของเกาะกูดในอนาคต เพราะที่ผ่านมามีนักการเมืองขายชาติจำนวนหนึ่ง ได้คิดแลกเนื้อที่ในประเทศไทย ทั้งบนบก ในทะเล และใต้ทะเลบางส่วน เพื่อแลกกับผลประโยชน์ของตัวเอง ซึ่งเกาะกูดนับเป็นหนึ่งพื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบจากความเลวร้ายของนักการเมืองขายชาติแบบเต็มๆ!!!
***********************************************************
เกาะกูด ตั้งอยู่ตะวันออกสุดของน่านน้ำไทย มีฐานะเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดตราด บนเกาะกูดยังมีจุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจ(นอกเหนือจากในเนื้อเรื่อง) ได้แก่ ต้นมะค่ายักษ์อายุกว่า 500 ปี ต้นไทรยักษ์ ป่าชายเลนคลองเจ้า แหล่งอาหารทะเลสดที่บ้านอ่าวใหญ่ หมู่บ้านคลองมาดหมู่บ้านที่เก่าแก่ที่สุดบนเกาะ
ข้างเกาะกูดมีเกาะเล็กๆอย่างเกาะแรด และเกาะไม้ซี้ที่มีการทำฟาร์มเลี้ยงหอยมุกตั้งอยู่ ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถติดต่อเข้าชมได้ ส่วนจุดดำน้ำชมปะการังใกล้ๆเกาะกูดที่นิยมกันก็คือที่ เกาะรังและเกาะยักษ์ เกาะกูดมีฤดูกาลท่องเที่ยวใกล้เคียงกับฝั่งอันดามัน คือ ช่วงเดือน ต.ค. - พ.ค. เพราะเป็นช่วงที่คลื่นลมสงบ
สำหรับการท่องเที่ยวเกาะกูดที่ได้รับความนิยมก็คือการซื้อเป็นแพ็กเกจท่องเที่ยวจากบริษัททัวร์และที่พักต่างๆที่มีอยู่บนเกาะกูดมากกว่า 40 แห่ง สนนราคาตั้งแต่คืนละประมาณ 500 บาทขึ้นไป ถึงหลายแสนบาท
โดยการเดินทางสู่เกาะกูดจากฝั่งท่าเรือแหลมศอก(ท่าเรือหลักสู่เกาะกูด) มีเรือเร็วสู่เกาะกูด เวลา 9.00 น.,13.00 น. และมีเรือกลับจากเกาะกูดสู่ท่าแหลมศอกเวลา 10.00 น.,13.00 น. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง นอกจากนี้เกาะกูดยังไปขึ้นเรือได้ที่ท่าเรือแหลมงอบ ท่าเรือด่านเก่า รวมถึงมีแพกเกจรถตู้+เรือเร็ว จากกรุงเทพฯไปยังเกาะกูดอีกด้วย
ทั้งนี้ผู้สนใจท่องเที่ยวเกาะกูด เกาะช้าง เกาะหมาก และเกาะอื่นๆในหมู่เกาะช้าง รวมถึงแหล่งท่องเที่ยวต่างๆใน จ.ตราด สามารถสอบถามข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร ได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)สำนักงานตราด โทร. 0-3959-7259-60
“ฉันคิดไปเป็นชาวเกาะ
มีชีวิตกลางแดดและคลื่นลม
จะจูบอำลาสังคมแสงสีในเมืองนภา
หากเบื่อชีวิตในเมืองกรุง และคิดใจมุ่งแสวงหา
มีธรรมชาติในวิญญาตามฉันมาเป็นชาวเกาะเอย...”
“คิดไปเป็นชาวเกาะ” เพลงเก่าของน้า “ปานศักดิ์ รังสิพราหมณกุล” ที่ยังคงใช้ได้ดีกับการออกทะเลไปเที่ยวเกาะมาทุกยุคทุกสมัย
สำหรับร้อนนี้ผมมีโอกาสได้กลับไปเยือน “เกาะกูด” จ.ตราด อีกครั้ง
เกาะกูด เป็น 1 ใน 52 เกาะของหมู่เกาะช้าง เป็นเกาะสุดท้ายของน่านน้ำทะเลอ่าวไทยฝั่งตะวันออกของบ้านเรา มีขนาดใหญ่เป็นลำดับที่ 4 ของประเทศ ไล่เรียงรองลำดับลงมาจาก อันดับ 1.เกาะภูเก็ต 2.เกาะช้าง 3.เกาะสมุย(จ.สุราษฎร์ธานี) และ 4.เกาะกูด เพชรเม็ดงามแห่งชายฝั่งตะวันออกที่ผมจะออกไปเป็นชาวเกาะกันในทริปนี้
ธรรมชาติยังสมบูรณ์บนเกาะกูด
ความที่อยู่ไกลชายฝั่ง ทำให้เกาะกูดยังคงมีสภาพธรรมชาติที่สมบูรณ์ บนเกาะกูดมีรีสอร์ท ที่พัก ขึ้นอยู่พอสมควร แต่ยังไม่ถึงกับแน่น เหมาะสำหรับคนที่ชอบเที่ยวพักผ่อนท่ามกลางธรรมชาติ ในบรรยากาศไม่พลุกพล่าน ไม่เน้นในแสงสีและสถานบันเทิงยั่วเย้า
บนเกาะกูดมีป่าต้นน้ำที่สภาพยังดีอยู่จึงมีน้ำจืดค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ ต้นน้ำบางแห่งไหลมารวมกันก่อกำเนิดเป็นน้ำตก 2-3 แห่ง โดยมี “น้ำตกคลองเจ้า” เป็นน้ำตกชื่อดังประจำเกาะ
น้ำตกคลองเจ้าเป็นน้ำตกขนาดกลาง ไม่เพียงสวยงามน่าเล่นเท่านั้น ยังเป็นน้ำตกที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เพราะในสมัยรัชกาลที่ 1 เจ้าญวน“องเชียงสือ”แห่งแคว้นอันนัม(ปัจจุบันคือเวียดนาม) ได้ลี้ภัยสงครามมาพึงพระบรมโพธิสมภาร แล้วรวบรวมพลขึ้นที่เกาะกูดก่อนเดินทางกลับไปกู้บ้านเมืองจนสามารถปราบกบฏไกเซินได้สำเร็จ
ต่อมาในปี พ.ศ. 2454 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้เสด็จประพาสเกาะกูดและเสด็จมายังน้ำตกแห่งนี้ พระองค์ทรงพระราชทานนามน้ำตกนี้ว่า “น้ำตกอนัมก๊ก” เพื่อเป็นที่ระลึกแก่องเชียงสือ
น้ำตกคลองเจ้าเป็นน้ำตกที่มีน้ำไหลตลอดทั้งปี มีต้นกำเนิดจากลำธารบนเนินเขาตอนกลางของเกาะ มีทั้งหมด 3 ชั้นด้วยกัน ชั้นบนมีลักษณะเป็นลำธาร ไหลผ่านหน้าผาหินตกลงมาเป็นยังแอ่งขนาดใหญ่ที่เบื้องล่างที่สามารถลงไปแหวกว่ายได้ เย็นชื่นใจดีแท้
ข้างๆตัวน้ำตกมีต้นไม้แขวนเชือกเป็นห่วงไว้ให้นักท่องเที่ยวผู้นิยมความท้าทายกระโดดน้ำเล่น ซึ่งใครถ้ากระโดดเป็น ยามลงมาก็ท่าสวย แต่ถ้าใครที่กระโดดไม่เป็นหล่นลงมาผิดท่า ก็คงได้จุกกันบ้างแหละ
ความอุดมสมบูรณ์ของน้ำท่าบนเกาะกูดยังมีปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัดกับลำคลอง ลำธารที่มีอยู่มากมาย นับเป็นเกาะที่มีคลองเล็กคลองน้อยมากเป็นอันดับต้นๆของเมืองไทย ลำคลองหลายสายน้ำใสแจ๋ว นับเป็นแม่เหล็กดึงดูดให้ฝรั่งนิยมมาพายเรือคายัคชมทิวทัศน์ตามลำคลอง
ขณะที่คนไทยอย่างผมเห็นคลองน้ำใสๆอย่างนี้แล้ว เราอย่างแก้ผ้ากระโดดน้ำเล่นมากกว่า
ทะเลงาม น้ำใสแจ๋ว
ความไกลชายฝั่งทำให้เกาะกูดมีหาดทรายที่ขาวสะอาด น้ำทะเลสวยใสไม่ต่างจากเกาะแถบอันดามัน จนเกาะกูดได้รับฉายาว่าเป็น “อันดามันตะวันออก” ซึ่งประกอบด้วยหาดทรายชายทะเลอันโดดเด่นชวนเที่ยวจำนวนมาก โดยทางฝั่งตะวันออกไล่เรียงจุดเด่นๆจากเหนือลงใต้มาก็มี อ่าวสับปะรด อ่าวสลัด อ่าวยายเกิด อ่าวกล้วย อ่าวจาก เป็นต้น
ส่วนทะเลงามฝั่งตะวันตกจากเหนือลงใต้ที่เด่นๆก็มี อ่าวมะพูด อ่าวตาติ้น หาดคลองยายกี๋ หาดตะเภา หาดคลองเจ้าที่ถือเป็นหาดยอดนิยมอันดับหนึ่งบนเกาะกูด หาดงามโข(ง่ามโข) อ่าวบางเบ้า และอ่าวพร้าว อ่าวสุดท้ายของเกาะกูด ซึ่งเป็นที่พักของผมในทริปนี้
อ่าวพร้าว อยู่ไม่ไกลจากน่านน้ำเขมร มีชายหาดขาว โค้งเว้า ยาวประมาณ 800 เมตร มีน้ำทะเลสวยใส และยังคงมีทิวมะพร้าวที่นับวันยิ่งมายิ่งเหลือน้อยให้สัมผัสกัน
สำหรับหน้ารีสอร์ทที่ผมพักมีสะพานไม้ยื่นออกไปในทะเลเป็นท่าเทียบเรือส่วนตัวของรีสอร์ท ซึ่งนี่ถือเป็นอีกหนึ่งจุดเด่นของเกาะกูด โดยรีสอร์ทที่ติดทะเลส่วนใหญ่จะมีสะพานไม้สำหรับเทียบเรือของตัวเอง ซึ่งแน่นอนว่าสะพานนอกจากจะเอาไว้เทียบเรือ ส่งคนขึ้นท่า ขนข้าวขนของจากเรือมายังรีสอร์ทแล้ว สะพานที่เกาะกูดยังเป็นจุดถ่ายรูปชั้นดี จนกลายเป็นเอกลักษณ์ของคนมาเที่ยวเกาะกูดว่า ถ้ามาเกาะกูดต้องไม่พลาดการถ่ายรูปสะพาน หรือถ่ายรูปคู่กับสะพานกลับไปด้วยประการทั้งปวง
บนเกาะกูดยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่ฟังแล้วน่าสนใจ นั่นก็คือ ชื่อของหาด คลอง อ่าว แหลม รวมถึงชื่อน้ำตก ที่อยู่ในบริเวณเดียวกัน ส่วนใหญ่มักจะเป็นชื่อเดียวกัน ดังตัวอย่าง น้ำตกคลองเจ้า หาดคลองเจ้า อ่าวคลองเจ้า น้ำตกคลองยายกี๋ คลองยายกี๋ อ่าวยายกี๋ หาดคลองยายกี๋ เป็นต้น
เอ้อ...กับชื่อหลังนี้ หาดคลองยายกี๋ ยังไงฟังแล้วห้ามผวนเด็ดขาด เอาเป็นว่านี่เป็นเสน่หาภาษาไทยแห่งเกาะกูดที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่น่าสนใจยิ่ง
ปรับตัว-ปรับเปลี่ยน
เดิมชาวบ้านเกาะกูดนอกจากจะมีอาชีพทำประมง ทำสวนมะพร้าว ต่อมาเมื่อการท่องเที่ยวเข้ามา หลายๆคนขายที่ให้นายทุน บางคนที่มีเงินทุนก็หันมาทำรีสอร์ทเล็กๆของตัวเอง นั่นจึงทำให้การทำสวนมะพร้าวค่อยๆร่อยหรอหดหายไป เหลืออยู่เพียงไม่กี่เจ้า ขณะที่ลูกหลานชาวบ้านส่วนหนึ่งก็เปลี่ยนวิถีมาทำอาชีพบริการในภาคธุรกิจท่องเที่ยวแทน
อย่างไรก็ดีบนเกาะกูดก็ยังมีหมู่บ้านชาวประมงหลักอยู่ที่อ่าวสลัด ที่นี่ยังคงมีวิถีชาวประมงให้เห็นควบคู่ไปกับการปรับตัวรับกระแสท่องเที่ยวที่ถาโถม
ชุมชนบ้านอ่าวสลัดวันนี้มีวิถีที่ครึกครื้นไม่น้อย โดยเฉพาะกับการเปิดร้านอาหารขายให้นักท่องเที่ยวอย่างเป็นเรื่องเป็นราวใหญ่โต มีบริการเรือพาเที่ยว พาดำน้ำ รวมไปถึงมีโฮมสเตย์ไว้อีกเป็นทางเลือกของนักท่องเที่ยว
“สถิต เงินโสม” หรือ ผู้ใหญ่นวล ผู้ใหญ่บ้านอ่าวสลัด เคยบอกกับผมว่า ที่ผ่านมาเกาะกูดมีนายทุน ทั้งต่างถิ่น ต่างชาติ เข้ามากอบโกยหาผลประโยชน์เป็นจำนวนมาก หลายเจ้าขายทัวร์กันในราคาแพงๆ เพราะบางทัวร์ต้องหักค่านายหน้า นั่นจึงทำให้ผู้ใหญ่นวลกับลูกบ้านคิดกันว่า น่าจะมีวิธีการที่ให้เม็ดเงินตกกับชาวบ้านโดยตรง
ด้วยเหตุนี้ที่หมู่บ้านชาวประมงอ่าวสลัดจึงมีการจัดทำโฮมสเตย์เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของนักท่องเที่ยว โดยผู้ใหญ่นวลออกตัวว่า พวกเขาแม้จะไม่ใช่ทัวร์อาชีพ แต่เน้นที่มีราคาถูกกว่า มีความจริงใจ มีบรรยากาศกันเองแบบไทยๆ ที่หลับที่นอนย่อมสู้พวกโรงแรมรีสอร์ทหรูๆไม่ได้ แต่จะได้ในเรื่องของอาหารมาทดแทน เพราะที่นี่มีอาหารสดๆจับจากแหล่งให้เลือกกินกันอย่างเต็มที่
ใครที่ชอบเที่ยวในบรรยากาศวิถีชีวิตพื้นบ้าน ราคาไม่แพง โฮมสเตย์บ้านอ่าวสลัดถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจไม่น้อยเลย
และนี่ก็เป็นเรื่องราวส่วนหนึ่งของเกาะกูด ที่วันนี้ยังคงเป็นเพชรเม็ดงามอันทรงเสน่ห์แห่งท้องทะเลตราด ที่นายทุนทั้งตางถิ่น ต่างชาติต่างหมายปองตาเป็นมัน ซึ่งยังไงๆก็ขอให้เกาะกูดอย่าได้เดินตามรอยรุ่นพี่ จนธรรมชาติและวิถีชุมชนเปลี่ยนไปเหมือนกับเกาะช้างในปัจจุบัน
ส่วนอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องติดตามแบบไม่กระพริบตาก็คือ สถานะภาพของเกาะกูดในอนาคต เพราะที่ผ่านมามีนักการเมืองขายชาติจำนวนหนึ่ง ได้คิดแลกเนื้อที่ในประเทศไทย ทั้งบนบก ในทะเล และใต้ทะเลบางส่วน เพื่อแลกกับผลประโยชน์ของตัวเอง ซึ่งเกาะกูดนับเป็นหนึ่งพื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบจากความเลวร้ายของนักการเมืองขายชาติแบบเต็มๆ!!!
***********************************************************
เกาะกูด ตั้งอยู่ตะวันออกสุดของน่านน้ำไทย มีฐานะเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดตราด บนเกาะกูดยังมีจุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจ(นอกเหนือจากในเนื้อเรื่อง) ได้แก่ ต้นมะค่ายักษ์อายุกว่า 500 ปี ต้นไทรยักษ์ ป่าชายเลนคลองเจ้า แหล่งอาหารทะเลสดที่บ้านอ่าวใหญ่ หมู่บ้านคลองมาดหมู่บ้านที่เก่าแก่ที่สุดบนเกาะ
ข้างเกาะกูดมีเกาะเล็กๆอย่างเกาะแรด และเกาะไม้ซี้ที่มีการทำฟาร์มเลี้ยงหอยมุกตั้งอยู่ ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถติดต่อเข้าชมได้ ส่วนจุดดำน้ำชมปะการังใกล้ๆเกาะกูดที่นิยมกันก็คือที่ เกาะรังและเกาะยักษ์ เกาะกูดมีฤดูกาลท่องเที่ยวใกล้เคียงกับฝั่งอันดามัน คือ ช่วงเดือน ต.ค. - พ.ค. เพราะเป็นช่วงที่คลื่นลมสงบ
สำหรับการท่องเที่ยวเกาะกูดที่ได้รับความนิยมก็คือการซื้อเป็นแพ็กเกจท่องเที่ยวจากบริษัททัวร์และที่พักต่างๆที่มีอยู่บนเกาะกูดมากกว่า 40 แห่ง สนนราคาตั้งแต่คืนละประมาณ 500 บาทขึ้นไป ถึงหลายแสนบาท
โดยการเดินทางสู่เกาะกูดจากฝั่งท่าเรือแหลมศอก(ท่าเรือหลักสู่เกาะกูด) มีเรือเร็วสู่เกาะกูด เวลา 9.00 น.,13.00 น. และมีเรือกลับจากเกาะกูดสู่ท่าแหลมศอกเวลา 10.00 น.,13.00 น. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง นอกจากนี้เกาะกูดยังไปขึ้นเรือได้ที่ท่าเรือแหลมงอบ ท่าเรือด่านเก่า รวมถึงมีแพกเกจรถตู้+เรือเร็ว จากกรุงเทพฯไปยังเกาะกูดอีกด้วย
ทั้งนี้ผู้สนใจท่องเที่ยวเกาะกูด เกาะช้าง เกาะหมาก และเกาะอื่นๆในหมู่เกาะช้าง รวมถึงแหล่งท่องเที่ยวต่างๆใน จ.ตราด สามารถสอบถามข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร ได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)สำนักงานตราด โทร. 0-3959-7259-60