โดย : ปิ่น บุตรี (pinn109@hotmail.com)
ย้อนอดีตไปกว่า15 ปีที่แล้ว จังหวัดเลยมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติประเภทภู(เขา)ชื่อดัง อยู่ 3 แห่งด้วยกัน คือ ภูกระดึง ภูเรือ ภูหลวง
ครั้นเมื่อเวลาผ่านมาไม่กี่ปีมานี้ จ.เลยเพิ่มภูท่องเที่ยวขึ้นมาอีกหนึ่งแห่งนั่นก็คือ “ภูสวนทราย” หรืออุทยานแห่งชาติภูสวนทรายที่เปลี่ยนชื่อมาจากอุทยานแห่งชาตินาแห้ว เพื่อให้สอดรับกับชื่อ 3 ภูรุ่นพี่
กระทั่งเมื่อเร็วๆนี้ เลยมีแหล่งท่องเที่ยวประเภทภูน้องใหม่เพิ่มอีกหนึ่งแห่งนั่นก็คือ “ภูลมโล” ที่จัดว่างแรงสุดๆ
จากพื้นที่สีแดงสู่ภูเขาสีชมพู
ภูลมโล ตั้งอยู่ในพื้นที่ ต.กกสะทอน อ.ด่านซ้าย จ.เลย เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า บนรอยต่อของสามจังหวัดคือ เลย เพชรบูรณ์ พิษณุโลก
ยอดภูลมโล มีความสูง 1,680 เมตร จากระดับน้ำทะเล มีอากาศหนาวเย็นตลอดปี เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาภูลมโลมีเขตติดต่อกับเทือกภูขี้เถ้า
ภูลมโล เป็นภาษาถิ่น หมายถึง(ยอด)ภูที่มีลมพัดผ่านเยอะ พัดผ่านมาก (โล : ภาษาถิ่น หมายถึง มาก หรือ เยอะ) ซึ่งถ้าจะพูดให้สมู้ธก็คือ ภูที่มีลมแรงพัดผ่านอยู่ตลอด(ทั้งปี)
ในอดีต พื้นที่ภูลมโล ภูหินร่องกล้า ภูขี้เถ้า เป็นพื้นที่สีแดงเพราะเคยเป็นสมรภูมิรบระหว่างฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยที่มีความคิดต่าง
ต่อมาเมื่อเหตุการณ์สงบชาวม้งได้เข้ามาครอบครอง หักล้างถางพง ทำไร่เลื่อนลอย ปลูกพืชผักต่างๆ อาทิ กะหล่ำปลี ขิง ข้าวโพด ถั่ว จนภูลมโลกลายเป็นเขาหัวโล้น
ด้วยเหตุนี้ทางอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า(ประกาศจัดตั้งในปี พ.ศ. 2527) จึงทำการขอพื้นที่คืน โดยตกลงกันให้ชาวม้งปลูกพืชไร่ควบคู่ไปกับต้นพญาเสือโคร่งเป็นระยะเวลา 3 ปี ก่อนออกจากพื้นที่
ส่งผลให้ปัจจุบันภูลมโลถือเป็นแหล่งปลูกต้นนางพญาเสือโคร่งกว่า 1,200 ไร่ มีต้นนางพญาเสือโคร่งที่ยามออกดอก คนไทยนิยมเรียกกันว่า “ซากุระเมืองไทย” กว่า 100,000 ต้น
นับเป็นแหล่งปลูกต้นนางพญาเสือโคร่งที่มีพื้นใหญ่เป็นอันดับต้นๆของเมืองไทย
ครั้นเมื่อต้นนางพญาเสือโคร่งออกดอกชมพูบานเมื่อฤดูกาลมาถึง ในราวๆกลางเดือนมกราคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธุ์(การออกดอกของต้นนางพญาเสือโคร่งแต่ละปีช่วงเวลาอาจคลาดเคลื่อนกันขึ้นอยู่กับสภาพอากาศปีนั้นๆ) ภูลมโลพลันอบอวลสดใสไปด้วยสีชมพูสะพรั่ง
นับเป็นการเปลี่ยนภูลมโลจากอดีตพื้นที่สีแดงให้กลายเป็นหุบเขาสีชมพูอันสวยงามน่าตื่นตาตื่นใจ
ภูลมโลมีมากกว่าซากุระ
ความที่ภูลมโลมีต้นนางพญาเสือโคร่งเป็นจำนวนมาก ทำให้ที่นี่หลังเปิดตัวเป็นแหล่งท่องเที่ยวน้องใหม่ได้ประมาณ 2 ปี(เปิดตัวอย่างเป็นทางการในปีนี้) ซึ่งของภูลมโลก็โด่งดังฮอตฮิตขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ติดอันดับแหล่งดูซากุระในอันดับต้นๆของเมืองไทย มีนักท่องเที่ยวเดินทางไปสัมผัสกับความงามของดอกซากุระที่ภูลมโลนับหมื่นคน
แต่...หลังต้นดอกไม้ร่วงโรยและหายไป นักท่องเที่ยวก็พลอยหายหน้าหายตาไปกับดอกซากุระด้วย ทั้งๆที่ภูลมโลยังมีสิงน่าสนใจให้ชมอีกหลากหลาย ซึ่งนั่นก็เป็นที่มาของการขึ้นภูลมโลของผมในทริปนี้ ที่ดอกนางพญาเสือโคร่งเพิ่งบานผ่านพ้นไปหมาดๆ
อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นภูลมโล แม้จะอยู่ในจังหวัดเลย แต่พื้นที่ได้ตั้งอยู่บนรอยต่อของ 3 จังหวัด คือ เลย เพชรบูรณ์ และพิษณุโลก การขึ้นภูลมโลสามารถขึ้นไปได้ 3 เส้นทางใน 3 จังหวัด ทางพิษณุโลกขึ้นทาง อช.ภูหินร่องกล้า ทางเพชรบูรณ์ขึ้นทางบ้านทับเบิก ส่วนทางเลย ขึ้นทาง ต.กกสะทอน อ.ด่านซ้าย
ทั้งนี้เส้นทางขึ้นที่ใกล้ที่สุด ลำบากน้อยที่สุด หรือพูดง่ายๆก็คือสะดวกที่สุดนั้นก็คือเส้นทางขึ้นจากเมืองเลย ซึ่งตั้งต้นที่ศูนย์ประสานงานชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยว ชุมชนกกสะทอน โดยนักท่องเที่ยวมาจอดรถไว้ที่นี่สนามกีฬาอบต.กกสะทอน(มีคนคอยดูแล) จากนั้นเปลี่ยนมาใช้รถกระบะของชุมชนเดินทางต่อไปบนยอดภูลมโลที่ห่างจากศูนย์ฯประมาณ 22 กม. ในเส้นทางลาดยาง 5 กม. ที่เหลือเป็นทางลูกรังขึ้นเขาสูง ชนิดที่นั่งไปได้สักพัก นักท่องเที่ยวแต่ละคนจะกลายเป็นฝรั่งไปอย่างรวดเร็ว
เพราะแต่ละคนต่างหัวแดงไปตามๆกัน
อนุสรณ์สถานฯบ้านหมากแข้ง-วัดป่าเย็นศิระธรรมประทีป
สำหรับการเดินทางขึ้นไปเที่ยวภูลมโลของผมในครั้งนี้ มี “อ.สมิง สิงขรณ์” ประธานชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวกกสะทอน มาเป็นไกด์นำเที่ยว โดยจุดแรกที่ อ.สมิง พาไปเที่ยวชมก็คือ “อนุสรณ์สถานเทิดพระเกียรติบ้านหมากแข้ง”
อนุสรณ์แห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ ที่เคยเสด็จมาเป็นขวัญและกำลังใจให้กับทหารและชาวบ้านที่ร่วมต่อสู้กับ พคท. ซึ่งบริเวณนี้เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ เป็นสถานที่ตั้งค่ายสู้รบกับพคท. มาช่วงระยะเวลาหนึ่ง
อนุสรณ์สถานฯ มีสิ่งสำคัญให้เที่ยวชม 3 จุดหลัก คือ ประติกรรมอนุสรณ์สถาน อาคารจัดแสดง และค่ายทหารเก่า ซึ่งต่างนำเสนอเรื่องราวความสำคัญของสถานที่แห่งนี้ในการเป็นสมรภูมิในอดีต เชื่อมโยงกับพระราชกรณียกิจของ ในหลวง พระราชินี สมเด็จพระบรมฯ และ พระราชวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ที่เสด็จฯ มา ณ แห่งนี้ โดยในอาคารจัดแสดงมีภาพพระบรมร่วมเสวยข้าวกับทหาร ภาพทรงวิ่งถือปืนร่วมรบกับทหาร และภาพใน อิริยาบถอื่นๆที่มาร่วมรบที่นี่ นับเป็นภาพที่หาชมได้ยากมาก
จากอนุสรณ์สถานฯ อ.สมิง พาไปไหว้พระเอาฤกษ์เอาชัยที่ “วัดป่าเย็นศิระธรรมประทีป” วัดป่าสายหลวงปู่มั่น เป็นวัดป่าที่สร้างอย่างเรียบง่าย ในเขตพุทธาวาสมีโบสถ์ทรงสง่า ภายในประดิษฐานพระประธานสีทองขรึมขลังให้กราบไหว้ บริเวณที่ผนังทาสีขาวไม่มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง ด้านหลังโบสถ์มีรอยพระพุทธบาทจำลองให้สักการะ ถัดไปเป็นพระมหาเจดีย์ ศรีเย็นศิระพระบริบาล องค์สีทองอร่าม ภายในนอกจากบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าแล้ว ยังบรรจุพระอรหันตธาตุของพระอรหันต์ในเมืองไทยไว้ครบทุกองค์
นับเป็นหนึ่งในเจดีย์ศักดิ์สิทธิ์ที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง
น้ำตกหมันแดง-รอยเท้าไดโนเสาร์
เมื่อไหว้พระ ไหว้เจดีย์แล้ว เป้าหมายต่อไปของเราคือการไปสัมผัสธรรมชาติที่น้ำตกหมันแดง ในพื้นที่เขต อช.ภูหินร่องกล้า
น้ำตกหมันแดง สามารถเข้าทางบ้านหมันขาวได้สะดวกแบบเดินป่าเข้าไปไม่ไกล ประมาณ 1,700 เมตร แต่ก็สามารถเรียกเหงื่อได้ซึมพอตัว สำหรับน้ำตกแห่งนี้หากมาจากทาง อช.ภูหินร่องกล้า จะเป็นการเดินไล่จากชั้น 1 ลงมาสู่ชั้น 9 แต่หากไปทางฝั่งเลย เข้าทางบ้านหมันขาว จะเป็นการเดินจากชั้น 9 ไล่ขึ้นไป
อนึ่งการเที่ยวชมน้ำตกในช่วงหน้าแล้งอย่างนี้ต้องทำใจว่าจะต้องเจอกับสภาพน้ำน้อย ซึ่งก็เป็นจริงดังคาด เพราะเมื่อไปถึงน้ำตกหมันแดงที่มี 9 ชั้น แต่ละชั้นน้ำน้อยมาก โดยเฉพาะชั้น 3 ที่ได้ชื่อว่าสวยที่สุดช่วงนี้น้ำน้อยกระจึ๋งนึง นั่นจึงทำให้ในชั้นที่ 8 ที่มีน้ำไหลอยู่พอสมควร กลายเป็นน้ำตกชั้นที่สวยที่สุดแทน
ขากลับจากน้ำตก อ.สมิง พาไปแวะชมของดีอีกอย่าง นั่นก็คือ “รอยเท้าไดโนเสาร์” ที่ปรากฏอยู่บนลานรอยเท้าไดโนเสาร์ริมลำธารสายน้ำหมันแดง
รอยเท้าไดโนเสาร์ที่นี่ มีให้ชมกว่า 10 รอย เหมือนมันกำลังเดินหากิน สันนิษฐานว่าเป็นรอยเท้าของไดโนเสาร์พันธุ์ “เมกาโลซอรัส” พันธุ์กินเนื้อ มีอายุราว 70-74 ล้านปีก่อน
ไดโนเสาร์พันธุ์กินเนื้อ แม้ได้ชื่อว่าดุร้าย แต่หากเปรียบเทียบกับพฤติกรรมของมนุษย์หลายๆคนแล้ว ผมว่าชิดซ้ายตกขอบไปเลยทีเดียว
สัมผัสความงามบนยอดภูลมโล
หลังดูรอยเท้าไดโนเสาร์กันพอเหม็นปากเหม็นคอแล้ว การเดินทางขึ้นสู่ยอดภูลมโลก็มาถึง
รถกระบะพาผมกับคณะนั่งโขยกไปบนถนนลูกรังให้อวัยวะเคลื่อนในสลับที่สลับทาง ผ่านเส้นทางขึ้นสู่ยอดเขาที่ทิวทัศน์สวยงามมาก เห็นทะเลเขาลูกน้อยใหญ่ทอดตัวสลับซับซ้อน ก่อนที่รถจะแล่นพามาเลี้ยงตัวนิ่งๆอยู่บนแนวสันเขายอดภูลมโล ก่อนรถจะแวะจอดให้พวกเราได้ลงถ่ายภาพกันที่จุดชมวิว “ผาภูลมโล”
ผาภูลมโล เป็นจุดชมวิวหน้าผาสูง มีชะง่อนหินยื่นออกมาให้นั่งยืนแอ๊คท่ากันหลายจุดด้วยกัน ด้านขวาของหน้าผามองไปเห็นภูหมันขาว จุดสูงสุดของแนวเทือกเขาแห่งนี้ที่ความสูง 1,800 เมตร จากระดับน้ำทะเล ส่วนด้านซ้ายมองไปเห็นยอดภูลมโลตั้งตระหง่าน
จากนั้นเราไปแวะถ่ายรูปกันที่สวนหินภูลมโล ที่มีก้อนหินลูกโตขึ้นตามธรรมชาติอยู่ประปราย ในพื้นที่มีการประดับประดาด้วยดอกไม้สีสวยเป็นจุดดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมาถ่ายภาพ จากจุดนี้มองไปฝั่งพิษรูโลกจะเป็นภูร่องกล้า แหล่งท่องเที่ยว(เปิด)ใหม่ตั้งตระหง่าน
จุดต่อไปเราแวะชมวิวกันบนยอดก้อนหินใหญ่ที่เมื่อขึ้นไปแล้วมองลงไป เห็นวิวอันสวยงามของ อ.ด่านซ้าย และทะเลภูเขาที่ทอดยาว
ครั้นเมื่อถึงเวลา ฤกษ์การขึ้นยอดภูลมโลก็มาถึง จากจุดจอดรถบนสันภูต้องเดินขึ้นบนยอดภูไปอีกประมาณ 1 กม. เป็น 1 กม. ที่ชันเอาเรื่อง และเหนื่อยเอาเรื่อง
บนยอดภูลมโลเป็นจุดลมวิวชั้นดี นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นมาเฝ้ารอชมพระอาทิตย์ขึ้นได้ในยามเช้ามืด ส่วนยาวเย็นเช่นนี้ ต้องมาดักเฝ้ารอชมพระอาทิตย์ตกในเส้นทางเดินขึ้น
ณ จุดนี้เมื่อมองลงไปเบื้องล่างจะเห็นทิวทัศน์ของแนวเทือกเขาเป็นลูกๆในเบื้องล่างได้อย่างสวยงาม ก่อนที่พระอาทิตย์ดวงกลมโตจะค่อยๆลาลับขอบฟ้าไป นำภูลมโลเดินทางเข้าสู่ยามราตรีในท่ามกลางเดือนดาว อากาศหนาวเย็น และสายลมแรงที่พัดปะทะร่างอยู่ตลอดเวลา สมดังชื่อภูลมโล
สำหรับการขึ้นไปสัมผัสภูลมโลของผมในทริปนี้ แม้จะไร่ซึ่งวี่แววดอกนางพญาเสือโคร่งหรือดอกซากุระเมืองไทย แต่ภูลมโลของยังมีความงามของทิวทัศน์และธรรมชาติให้สัมผัสกันอย่างเต็มอิ่ม ซึ่งเราคงต้องตามดูกันต่อไปว่าในอนาคตข้างหน้า ภูลมโล ที่มีสายลมพัดแรงตลอดจะถูกกระแสลมแห่งการท่องเที่ยวพัดพาไปในทิศทางใด?
***********************************************************
ในพื้นที่ ต.กกสะทอน นอกจากภูลมโล และสถานที่ท่องเที่ยวเด่นๆตามที่กล่าวมาในเนื้อเรื่องแล้ว ยังมีแหล่งท่องเที่ยวน่าสนใจ อาทิ วัดป่าพุทธประทีป ถ้ำโค้ง ถ้ำเสา หมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้ง(บ้านตูบค้อ) น้ำตกตาดหมอก เกษตรที่สูงบ้านหัวนา
สำหรับการเดินทางสู่ภูลมโลนั้น เนื่องจากเส้นทางส่วนใหญ่เป็นลูกรังค่อนข้างชันและขรุขระ ไม่สะดวกสำหรับรถเก๋ง ทางอุทยานฯ และ อบต.กกสะทอน จึงไม่อนุญาตให้นำรถขึ้นไป แต่จะมีบริการรถพาขึ้นชมไป-กลับ คันละ 1,500 บาท คันละไม่เกิน 10 คน(รถส่วนตัวจอดได้ที่สนามกีฬา อบต.กกสะทอน มีเจ้าหน้าที่ดูแล) ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อบต.กกสะทอน โทร. 0-4280-1714 หรือที่ อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า 0-5535-6607
และสามารถสอบถามข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหาร ในจังหวัดเลย เชื่อมโยงกับภูลมโลได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) สำนักงานเลย โทร. 0-4281-2812
ย้อนอดีตไปกว่า15 ปีที่แล้ว จังหวัดเลยมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติประเภทภู(เขา)ชื่อดัง อยู่ 3 แห่งด้วยกัน คือ ภูกระดึง ภูเรือ ภูหลวง
ครั้นเมื่อเวลาผ่านมาไม่กี่ปีมานี้ จ.เลยเพิ่มภูท่องเที่ยวขึ้นมาอีกหนึ่งแห่งนั่นก็คือ “ภูสวนทราย” หรืออุทยานแห่งชาติภูสวนทรายที่เปลี่ยนชื่อมาจากอุทยานแห่งชาตินาแห้ว เพื่อให้สอดรับกับชื่อ 3 ภูรุ่นพี่
กระทั่งเมื่อเร็วๆนี้ เลยมีแหล่งท่องเที่ยวประเภทภูน้องใหม่เพิ่มอีกหนึ่งแห่งนั่นก็คือ “ภูลมโล” ที่จัดว่างแรงสุดๆ
จากพื้นที่สีแดงสู่ภูเขาสีชมพู
ภูลมโล ตั้งอยู่ในพื้นที่ ต.กกสะทอน อ.ด่านซ้าย จ.เลย เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า บนรอยต่อของสามจังหวัดคือ เลย เพชรบูรณ์ พิษณุโลก
ยอดภูลมโล มีความสูง 1,680 เมตร จากระดับน้ำทะเล มีอากาศหนาวเย็นตลอดปี เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาภูลมโลมีเขตติดต่อกับเทือกภูขี้เถ้า
ภูลมโล เป็นภาษาถิ่น หมายถึง(ยอด)ภูที่มีลมพัดผ่านเยอะ พัดผ่านมาก (โล : ภาษาถิ่น หมายถึง มาก หรือ เยอะ) ซึ่งถ้าจะพูดให้สมู้ธก็คือ ภูที่มีลมแรงพัดผ่านอยู่ตลอด(ทั้งปี)
ในอดีต พื้นที่ภูลมโล ภูหินร่องกล้า ภูขี้เถ้า เป็นพื้นที่สีแดงเพราะเคยเป็นสมรภูมิรบระหว่างฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยที่มีความคิดต่าง
ต่อมาเมื่อเหตุการณ์สงบชาวม้งได้เข้ามาครอบครอง หักล้างถางพง ทำไร่เลื่อนลอย ปลูกพืชผักต่างๆ อาทิ กะหล่ำปลี ขิง ข้าวโพด ถั่ว จนภูลมโลกลายเป็นเขาหัวโล้น
ด้วยเหตุนี้ทางอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า(ประกาศจัดตั้งในปี พ.ศ. 2527) จึงทำการขอพื้นที่คืน โดยตกลงกันให้ชาวม้งปลูกพืชไร่ควบคู่ไปกับต้นพญาเสือโคร่งเป็นระยะเวลา 3 ปี ก่อนออกจากพื้นที่
ส่งผลให้ปัจจุบันภูลมโลถือเป็นแหล่งปลูกต้นนางพญาเสือโคร่งกว่า 1,200 ไร่ มีต้นนางพญาเสือโคร่งที่ยามออกดอก คนไทยนิยมเรียกกันว่า “ซากุระเมืองไทย” กว่า 100,000 ต้น
นับเป็นแหล่งปลูกต้นนางพญาเสือโคร่งที่มีพื้นใหญ่เป็นอันดับต้นๆของเมืองไทย
ครั้นเมื่อต้นนางพญาเสือโคร่งออกดอกชมพูบานเมื่อฤดูกาลมาถึง ในราวๆกลางเดือนมกราคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธุ์(การออกดอกของต้นนางพญาเสือโคร่งแต่ละปีช่วงเวลาอาจคลาดเคลื่อนกันขึ้นอยู่กับสภาพอากาศปีนั้นๆ) ภูลมโลพลันอบอวลสดใสไปด้วยสีชมพูสะพรั่ง
นับเป็นการเปลี่ยนภูลมโลจากอดีตพื้นที่สีแดงให้กลายเป็นหุบเขาสีชมพูอันสวยงามน่าตื่นตาตื่นใจ
ภูลมโลมีมากกว่าซากุระ
ความที่ภูลมโลมีต้นนางพญาเสือโคร่งเป็นจำนวนมาก ทำให้ที่นี่หลังเปิดตัวเป็นแหล่งท่องเที่ยวน้องใหม่ได้ประมาณ 2 ปี(เปิดตัวอย่างเป็นทางการในปีนี้) ซึ่งของภูลมโลก็โด่งดังฮอตฮิตขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ติดอันดับแหล่งดูซากุระในอันดับต้นๆของเมืองไทย มีนักท่องเที่ยวเดินทางไปสัมผัสกับความงามของดอกซากุระที่ภูลมโลนับหมื่นคน
แต่...หลังต้นดอกไม้ร่วงโรยและหายไป นักท่องเที่ยวก็พลอยหายหน้าหายตาไปกับดอกซากุระด้วย ทั้งๆที่ภูลมโลยังมีสิงน่าสนใจให้ชมอีกหลากหลาย ซึ่งนั่นก็เป็นที่มาของการขึ้นภูลมโลของผมในทริปนี้ ที่ดอกนางพญาเสือโคร่งเพิ่งบานผ่านพ้นไปหมาดๆ
อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นภูลมโล แม้จะอยู่ในจังหวัดเลย แต่พื้นที่ได้ตั้งอยู่บนรอยต่อของ 3 จังหวัด คือ เลย เพชรบูรณ์ และพิษณุโลก การขึ้นภูลมโลสามารถขึ้นไปได้ 3 เส้นทางใน 3 จังหวัด ทางพิษณุโลกขึ้นทาง อช.ภูหินร่องกล้า ทางเพชรบูรณ์ขึ้นทางบ้านทับเบิก ส่วนทางเลย ขึ้นทาง ต.กกสะทอน อ.ด่านซ้าย
ทั้งนี้เส้นทางขึ้นที่ใกล้ที่สุด ลำบากน้อยที่สุด หรือพูดง่ายๆก็คือสะดวกที่สุดนั้นก็คือเส้นทางขึ้นจากเมืองเลย ซึ่งตั้งต้นที่ศูนย์ประสานงานชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยว ชุมชนกกสะทอน โดยนักท่องเที่ยวมาจอดรถไว้ที่นี่สนามกีฬาอบต.กกสะทอน(มีคนคอยดูแล) จากนั้นเปลี่ยนมาใช้รถกระบะของชุมชนเดินทางต่อไปบนยอดภูลมโลที่ห่างจากศูนย์ฯประมาณ 22 กม. ในเส้นทางลาดยาง 5 กม. ที่เหลือเป็นทางลูกรังขึ้นเขาสูง ชนิดที่นั่งไปได้สักพัก นักท่องเที่ยวแต่ละคนจะกลายเป็นฝรั่งไปอย่างรวดเร็ว
เพราะแต่ละคนต่างหัวแดงไปตามๆกัน
อนุสรณ์สถานฯบ้านหมากแข้ง-วัดป่าเย็นศิระธรรมประทีป
สำหรับการเดินทางขึ้นไปเที่ยวภูลมโลของผมในครั้งนี้ มี “อ.สมิง สิงขรณ์” ประธานชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวกกสะทอน มาเป็นไกด์นำเที่ยว โดยจุดแรกที่ อ.สมิง พาไปเที่ยวชมก็คือ “อนุสรณ์สถานเทิดพระเกียรติบ้านหมากแข้ง”
อนุสรณ์แห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ ที่เคยเสด็จมาเป็นขวัญและกำลังใจให้กับทหารและชาวบ้านที่ร่วมต่อสู้กับ พคท. ซึ่งบริเวณนี้เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ เป็นสถานที่ตั้งค่ายสู้รบกับพคท. มาช่วงระยะเวลาหนึ่ง
อนุสรณ์สถานฯ มีสิ่งสำคัญให้เที่ยวชม 3 จุดหลัก คือ ประติกรรมอนุสรณ์สถาน อาคารจัดแสดง และค่ายทหารเก่า ซึ่งต่างนำเสนอเรื่องราวความสำคัญของสถานที่แห่งนี้ในการเป็นสมรภูมิในอดีต เชื่อมโยงกับพระราชกรณียกิจของ ในหลวง พระราชินี สมเด็จพระบรมฯ และ พระราชวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ที่เสด็จฯ มา ณ แห่งนี้ โดยในอาคารจัดแสดงมีภาพพระบรมร่วมเสวยข้าวกับทหาร ภาพทรงวิ่งถือปืนร่วมรบกับทหาร และภาพใน อิริยาบถอื่นๆที่มาร่วมรบที่นี่ นับเป็นภาพที่หาชมได้ยากมาก
จากอนุสรณ์สถานฯ อ.สมิง พาไปไหว้พระเอาฤกษ์เอาชัยที่ “วัดป่าเย็นศิระธรรมประทีป” วัดป่าสายหลวงปู่มั่น เป็นวัดป่าที่สร้างอย่างเรียบง่าย ในเขตพุทธาวาสมีโบสถ์ทรงสง่า ภายในประดิษฐานพระประธานสีทองขรึมขลังให้กราบไหว้ บริเวณที่ผนังทาสีขาวไม่มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง ด้านหลังโบสถ์มีรอยพระพุทธบาทจำลองให้สักการะ ถัดไปเป็นพระมหาเจดีย์ ศรีเย็นศิระพระบริบาล องค์สีทองอร่าม ภายในนอกจากบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าแล้ว ยังบรรจุพระอรหันตธาตุของพระอรหันต์ในเมืองไทยไว้ครบทุกองค์
นับเป็นหนึ่งในเจดีย์ศักดิ์สิทธิ์ที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง
น้ำตกหมันแดง-รอยเท้าไดโนเสาร์
เมื่อไหว้พระ ไหว้เจดีย์แล้ว เป้าหมายต่อไปของเราคือการไปสัมผัสธรรมชาติที่น้ำตกหมันแดง ในพื้นที่เขต อช.ภูหินร่องกล้า
น้ำตกหมันแดง สามารถเข้าทางบ้านหมันขาวได้สะดวกแบบเดินป่าเข้าไปไม่ไกล ประมาณ 1,700 เมตร แต่ก็สามารถเรียกเหงื่อได้ซึมพอตัว สำหรับน้ำตกแห่งนี้หากมาจากทาง อช.ภูหินร่องกล้า จะเป็นการเดินไล่จากชั้น 1 ลงมาสู่ชั้น 9 แต่หากไปทางฝั่งเลย เข้าทางบ้านหมันขาว จะเป็นการเดินจากชั้น 9 ไล่ขึ้นไป
อนึ่งการเที่ยวชมน้ำตกในช่วงหน้าแล้งอย่างนี้ต้องทำใจว่าจะต้องเจอกับสภาพน้ำน้อย ซึ่งก็เป็นจริงดังคาด เพราะเมื่อไปถึงน้ำตกหมันแดงที่มี 9 ชั้น แต่ละชั้นน้ำน้อยมาก โดยเฉพาะชั้น 3 ที่ได้ชื่อว่าสวยที่สุดช่วงนี้น้ำน้อยกระจึ๋งนึง นั่นจึงทำให้ในชั้นที่ 8 ที่มีน้ำไหลอยู่พอสมควร กลายเป็นน้ำตกชั้นที่สวยที่สุดแทน
ขากลับจากน้ำตก อ.สมิง พาไปแวะชมของดีอีกอย่าง นั่นก็คือ “รอยเท้าไดโนเสาร์” ที่ปรากฏอยู่บนลานรอยเท้าไดโนเสาร์ริมลำธารสายน้ำหมันแดง
รอยเท้าไดโนเสาร์ที่นี่ มีให้ชมกว่า 10 รอย เหมือนมันกำลังเดินหากิน สันนิษฐานว่าเป็นรอยเท้าของไดโนเสาร์พันธุ์ “เมกาโลซอรัส” พันธุ์กินเนื้อ มีอายุราว 70-74 ล้านปีก่อน
ไดโนเสาร์พันธุ์กินเนื้อ แม้ได้ชื่อว่าดุร้าย แต่หากเปรียบเทียบกับพฤติกรรมของมนุษย์หลายๆคนแล้ว ผมว่าชิดซ้ายตกขอบไปเลยทีเดียว
สัมผัสความงามบนยอดภูลมโล
หลังดูรอยเท้าไดโนเสาร์กันพอเหม็นปากเหม็นคอแล้ว การเดินทางขึ้นสู่ยอดภูลมโลก็มาถึง
รถกระบะพาผมกับคณะนั่งโขยกไปบนถนนลูกรังให้อวัยวะเคลื่อนในสลับที่สลับทาง ผ่านเส้นทางขึ้นสู่ยอดเขาที่ทิวทัศน์สวยงามมาก เห็นทะเลเขาลูกน้อยใหญ่ทอดตัวสลับซับซ้อน ก่อนที่รถจะแล่นพามาเลี้ยงตัวนิ่งๆอยู่บนแนวสันเขายอดภูลมโล ก่อนรถจะแวะจอดให้พวกเราได้ลงถ่ายภาพกันที่จุดชมวิว “ผาภูลมโล”
ผาภูลมโล เป็นจุดชมวิวหน้าผาสูง มีชะง่อนหินยื่นออกมาให้นั่งยืนแอ๊คท่ากันหลายจุดด้วยกัน ด้านขวาของหน้าผามองไปเห็นภูหมันขาว จุดสูงสุดของแนวเทือกเขาแห่งนี้ที่ความสูง 1,800 เมตร จากระดับน้ำทะเล ส่วนด้านซ้ายมองไปเห็นยอดภูลมโลตั้งตระหง่าน
จากนั้นเราไปแวะถ่ายรูปกันที่สวนหินภูลมโล ที่มีก้อนหินลูกโตขึ้นตามธรรมชาติอยู่ประปราย ในพื้นที่มีการประดับประดาด้วยดอกไม้สีสวยเป็นจุดดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมาถ่ายภาพ จากจุดนี้มองไปฝั่งพิษรูโลกจะเป็นภูร่องกล้า แหล่งท่องเที่ยว(เปิด)ใหม่ตั้งตระหง่าน
จุดต่อไปเราแวะชมวิวกันบนยอดก้อนหินใหญ่ที่เมื่อขึ้นไปแล้วมองลงไป เห็นวิวอันสวยงามของ อ.ด่านซ้าย และทะเลภูเขาที่ทอดยาว
ครั้นเมื่อถึงเวลา ฤกษ์การขึ้นยอดภูลมโลก็มาถึง จากจุดจอดรถบนสันภูต้องเดินขึ้นบนยอดภูไปอีกประมาณ 1 กม. เป็น 1 กม. ที่ชันเอาเรื่อง และเหนื่อยเอาเรื่อง
บนยอดภูลมโลเป็นจุดลมวิวชั้นดี นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นมาเฝ้ารอชมพระอาทิตย์ขึ้นได้ในยามเช้ามืด ส่วนยาวเย็นเช่นนี้ ต้องมาดักเฝ้ารอชมพระอาทิตย์ตกในเส้นทางเดินขึ้น
ณ จุดนี้เมื่อมองลงไปเบื้องล่างจะเห็นทิวทัศน์ของแนวเทือกเขาเป็นลูกๆในเบื้องล่างได้อย่างสวยงาม ก่อนที่พระอาทิตย์ดวงกลมโตจะค่อยๆลาลับขอบฟ้าไป นำภูลมโลเดินทางเข้าสู่ยามราตรีในท่ามกลางเดือนดาว อากาศหนาวเย็น และสายลมแรงที่พัดปะทะร่างอยู่ตลอดเวลา สมดังชื่อภูลมโล
สำหรับการขึ้นไปสัมผัสภูลมโลของผมในทริปนี้ แม้จะไร่ซึ่งวี่แววดอกนางพญาเสือโคร่งหรือดอกซากุระเมืองไทย แต่ภูลมโลของยังมีความงามของทิวทัศน์และธรรมชาติให้สัมผัสกันอย่างเต็มอิ่ม ซึ่งเราคงต้องตามดูกันต่อไปว่าในอนาคตข้างหน้า ภูลมโล ที่มีสายลมพัดแรงตลอดจะถูกกระแสลมแห่งการท่องเที่ยวพัดพาไปในทิศทางใด?
***********************************************************
ในพื้นที่ ต.กกสะทอน นอกจากภูลมโล และสถานที่ท่องเที่ยวเด่นๆตามที่กล่าวมาในเนื้อเรื่องแล้ว ยังมีแหล่งท่องเที่ยวน่าสนใจ อาทิ วัดป่าพุทธประทีป ถ้ำโค้ง ถ้ำเสา หมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้ง(บ้านตูบค้อ) น้ำตกตาดหมอก เกษตรที่สูงบ้านหัวนา
สำหรับการเดินทางสู่ภูลมโลนั้น เนื่องจากเส้นทางส่วนใหญ่เป็นลูกรังค่อนข้างชันและขรุขระ ไม่สะดวกสำหรับรถเก๋ง ทางอุทยานฯ และ อบต.กกสะทอน จึงไม่อนุญาตให้นำรถขึ้นไป แต่จะมีบริการรถพาขึ้นชมไป-กลับ คันละ 1,500 บาท คันละไม่เกิน 10 คน(รถส่วนตัวจอดได้ที่สนามกีฬา อบต.กกสะทอน มีเจ้าหน้าที่ดูแล) ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อบต.กกสะทอน โทร. 0-4280-1714 หรือที่ อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า 0-5535-6607
และสามารถสอบถามข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหาร ในจังหวัดเลย เชื่อมโยงกับภูลมโลได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) สำนักงานเลย โทร. 0-4281-2812