โดย : ปิ่น บุตรี
ลมหนาวเริ่มโชยมา
ขณะที่ใครหลายคนกำลังติดแรงเงา
“แรงเหงา” กับเป็นตัวกระตุ้นให้ผมขึ้นเหนือไปหาหนาวที่จังหวัดเชียงราย
การไปเชียงรายคราวนี้ผมไล่เที่ยวตั้งแต่เชียงแสน ดินแดนสามเหลี่ยมทองคำ ช้อปปิ้งแม่สาย ดอยตุง สวนแม่ฟ้าหลวง ไร่แม่ฟ้าหลวง ก่อนมาปิดท้ายแบบอิ่มบุญกับการไหว้พระ 3 วัดในเขต อ. เมือง ซึ่งนี่ถือเป็นหนึ่งในโครงการภายใต้การส่งเสริมของ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)ภูมิภาคภาคเหนือและสายการบินแอร์เอเชีย
วัดพระแก้ว
สำหรับวัดแรกในเขต อ.เมืองที่ผมไปประเดิมคือ “วัดพระแก้ว” หนึ่งในวัดสำคัญเก่าแก่ของเชียงราย ตั้งอยู่บนถนนไตรรัตน์ ต.เวียง
เดิมวัดนี้เรียกว่า “วัดป่าญะ” หรือ “วัดป่าเยียะ” เนื่องจากบริเวณนี้มีไม้เยียะที่เป็นไม้ไผ่ชนิดหนึ่ง คล้ายไผ่สีสุกขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก แต่เหตุที่เปลี่ยนมาเรียกวัดพระแก้ว เพราะมีการค้นพบสำคัญโดยบังเอิญนั่นก็คือในช่วงปี พ.ศ. 1977 ในสมัยพระเจ้าสามฝั่งแกนเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ ได้เกิดฟ้าผ่าลงบนเจดีย์ร้างองค์หนึ่ง และได้พบพระพุทธรูปลงรักปิดทองอยู่ภายใน ต่อมารักกะเทาะออก พบว่าเป็น “พระแก้วมรกต” จึงเรียกวัดนี้ใหม่ว่า “วัดพระแก้ว” เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
หลังพระแก้วมรกตถูกอัญเชิญไปยังสถานที่ต่างๆก่อนมาประดิษฐานอยู่ที่ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กทม. จนถึงปัจจุบัน จากนั้นในปี พ.ศ. 2533 เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีพระชนมายุครบ 90 พรรษา ชาวเชียงรายได้ร่วมกันสร้างพระแก้วมรกตองค์ใหม่ชื่อ “พระพุทธรัตนากรนวุติวัสสานุสรณ์” หรือ “พระหยกเชียงราย” ขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ
พระหยกเชียงราย สร้างด้วยหยกสีเขียวคล้ายมรกต มีพุทธลักษณะงดงาม ประดับเครื่องทรงแบบพุกาม มีขนาดเล็กกว่ากระแก้วมรกตองค์จริงที่กรุงเทพฯ 2 นิ้ว นับเป็นหนึ่งพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองเชียงรายที่มีผู้คนเดินทางไปกราบไหว้สักการะและชื่นชมความงามกันไม่ได้ขาด
นอกจากพระหยกเชียงรายแล้ว ภายในพระอุโบสถยังมี “พระเจ้าล้านทอง” ที่มีพุทธลักษณะขรึมขลังเปี่ยมศรัทธาเป็นอีกหนึ่งพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง อีกทั้งยังมีองค์พระธาตุประจำวัดสีทองตั้งตระหง่าน
ภายในวัดพระแก้วยังมีอีกหนึ่งสิ่งน่าสนใจที่ใครหลายๆคนมองข้ามนั่นก็คือ “โฮงหลวงแสงแก้ว” ที่เป็นอาคารพิพิธภัณฑ์ประจำวัด ภายในจัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ข้าวของเครื่องใช้ที่มีค่าต่างๆมาก อาทิ พระพุทธรูปต่างๆ บุษบก ผ้าพระบฏ ศิลปะงานไม้พญาลวงของตัวลวงของล้านนา ตุง เครื่องสูง ผลพระเจ้า 5 พระองค์ พระบรมสารีริกธาตุ และ ฯลฯ นับได้ว่าพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ถือเป็นแหล่งรวมของดี ในระดับค่าควรเมืองที่ไม่ควรมองข้ามหรือเลยผ่านด้วยประการทั้งปวง
วัดพระธาตุดอยทอง
วัดถัดไปที่ผมเดินทางไปรับบุญคือ “วัดพระธาตุดอยทอง” หรือ “วัดดอยทอง”วัดนี้ตั้งอยู่บนถนนอาจำนวย หลังศาลากลางจังหวัด บนดอยจอมทองริมฝั่งแม่น้ำกก
ตามประวัติเล่าว่า วัดพระธาตุดอยทอง สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1483 ในสมัยพระยาเรือนแก้วผู้ครองนครไชยนารายณ์ เพื่อเป็นสถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ที่พระมหาเถระชาวลังกาได้นำมาถวายแด่พระเจ้าพังคราช แห่งราชวงสิงหนวัติ เจ้าเมืองโยนกนาคพันธ์(เชียงแสน) โดยได้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุออกเป็น 3 ส่วน และนำไปประดิษฐานที่พระธาตุเจดีย์สำคัญในเชียงรายได้แก่ วัดพระธาตุดอยตุง วัดพระธาตุจอมกิตติ และที่พระเจดีย์วัดพระธาตุดอยทองแห่งนี้
ต่อมาได้เกิดแผ่นดินไหวทำให้องค์พระธาตุเจดีย์(องค์เก่า)พังทลายลงมา หลังจากนั้นพญามังราย(เม็งราย)ที่ทรงพบชัยภูมิสร้างเมืองเชียงรายจากดอยจอมทอง จึงได้สร้างพระธาตุเจดีย์องค์ใหม่ขึ้นมาพร้อมกับการสร้างเมือง นั่นก็คือองค์พระธาตุดอยทองสีทองอร่ามที่เราเห็นกันในปัจจุบัน
วัดพระธาตุดอยทองเป็นหนึ่งในวัดสำคัญอันดับต้นๆของเมืองเชียงราย วัดแห่งนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดอยู่ 3 ประการ ได้แก่ เป็นวัดที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุแห่งแรกในเชียงราย เป็นต้นกำเนิดและต้นธารประวัติศาสตร์ของเชียงราย และ(เชื่อว่า)เป็นสถานที่สิงสถิตของเจ้าพ่อ เจ้าแม่ดอยทอง เทพารักษ์ประจำเมืองเชียงราย
ที่วัดแห่งนี้ยังมีวิหารศิลปะผสมล้านนารัตนโกสินทร์ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย และมีภาพจิตรกรรมฝาผนังอันสวยงามให้ชมกัน
นอกจากนี้วัดพระธาตุดอยทองยังมีสิ่งสำคัญคือ “เสาสะดือเมือง” เชียงรายที่แปลกแตกต่างแห่งเดียวในเมืองไทย
เสาสะดือเมืองเชียงราย มีทั้งหมด 108 หลัก ชาวเชียงรายพร้อมใจกันสร้างเพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพญามังรายและเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ โดยหลังจากสร้างเสร็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จมาเจิมเสาสะดือเมืองเมื่อวันที่ 27 ม.ค. 2531
เสาสะดือเมืองเชียงรายสร้างขึ้นด้วยคติจักรวาล หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ลานรอบนอกหมายถึงแผ่นดิน ล้อมด้วยคูน้ำ เปรียบเสมือนน้ำในขอบจักรวาล รอบในยกขึ้นเป็น 6 ชั้น หมายถึงสวรรค์ทั้ง 6 ของกามภูมิ แล้วยกขึ้นอีก 1 ชั้น หมายถึงรูปภูมิ อรูปภูมิ และนิพพาน
เสาสะดือเมืองเปรียบดังเขาสิเนรุ ตั้งอยู่บนฐาน 3 เหลี่ยม หมายถึง ผา 3 เส้า ล้อมด้วยเสา 108 ต้น เปรียบดังสิ่งสำคัญในจักรวาล ล้อมรอบด้วยร่องน้ำ 5 ร่อง เป็นดังปัญจมหานทีลดหลั่นเป็นชั้นๆ
ขณะที่ต้นเสาสะดือเมืองนั้นสร้างตามคติโบราณของล้านนาที่เชื่อว่า หัวเสาสะดือเมืองใหญ่เท่า 5 กำมือ และสูงเท่ากับความสูงของพระเจ้าแผ่นดิน ดังนั้นเสาสะดือเมืองเชียงรายจึงสูงเท่าพระวรกายของพระเจ้าอยู่หัว และมีขนาดหัวเสาใหญ่เท่ากับ 5 พระหัตถ์กำ(กำปั้น)ของพระองค์ท่าน โดยได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตวัดพระหัตถ์กำ แล้วนำมาขยายสร้าง 5 เท่าด้วยกัน
เสาสะดือเมืองนับเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ชาวเชียงรายให้ความเคารพศรัทธา จึงมีการนำผ้าแพรไปผูก ทองไปปิด และนิยมมาสรงน้ำเพื่อความร่มเย็นเป็นสุข
วัดร่องขุ่น
มาถึงวัดอันดับสุดท้ายที่ผมเข้าไปรับบุญ วัดนี้เดิมเป็นวัดธรรมดาๆประจำชุมชน แต่เมื่อทำการสร้างโบสถ์ใหม่ก็โด่งดังเพียงชั่วข้ามคืน กลายเป็นวัดไฮไลท์ประจำเชียงราย อันเป็นที่หมายปองต้องการชมและสัมผัสในความงามของผู้คนมากมาย
สำหรับวัดนี้ก็ไม่ใช่วัดไหนหากแต่คือ “วัดร่องขุ่น” อันลือลั่น ซึ่งออกแบบโดยศิลปินแห่งชาตินามอุโฆษ “เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์”
วัดร่องขุ่น ตั้งอยู่ที่ ต.ป่าอ้อดอนชัย ห่างจากตัวเมืองเชียงรายประมาณ 12 กม. วัดแห่งนี้เป็นวัดบ้านเกิดของ อ.เฉลิมชัย ซึ่งหลังจากได้กลับไปเยี่ยมบ้านเกิด พบว่าวัดแห่งนี้ชำรุดทรุดโทรมมาก อ.เฉลิมชัย จึงตั้งปณิธานว่า อยากจะสร้างอุโบสถหลังใหม่เมื่อตนเองมีความพร้อม
หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2540 ที่ อ.เฉลิมชัย มีความพร้อมทั้งด้านชีวิต ครอบครัว กำลังทรัพย์ และชื่อเสียง อาจารย์จึงได้ลงมือสร้างโบสถ์วัดแห่งนี้ขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งสุดท้ายแล้วได้กลายเป็นวัดร่องขุ่นโฉมใหม่อันสวยงามอลังการและเป็นที่กล่าวขวัญถึงไปทั่ว
วัดร่องขุ่นสร้างด้วยคติจักรวาลมีสระน้ำรอบล้อมโบสถ์ เปรียบดังมหานทีสีทันดร มีสะพานทอดข้ามผ่านเปรียบดังการเดินข้ามวัฏสงสารมุ่งสู่พุทธภูมิ ตัวพระอุโบสถที่เป็นจุดเด่นสำคัญเป็นดังดินแดนแห่งการหลุดพ้น
วัดร่องขุ่นโดดเด่นด้วยงานปูนปั้นสีขาว ตกแต่งกระจกแวววับ เพื่อแทนพระบริสุทธิคุณและพระปัญญาธิคุณของพระพุทธเจ้าที่เปล่งประกายไปทั่วโลกมนุษย์และจักรวาล
ขนาดของโบสถ์ไม่ใหญ่โตนักแต่ก็ทุกส่วนล้วนต่างมีความหมาย โดยลวดลายปูนปั้นต่างๆอันอ่อนช้อยละเมียดละไมนั้น แสดงถึงความเป็น อ.เฉลิมชัย อย่างชัดเจน
จิตรกรรมฝาผนังภายในโบสถ์เป็นผลงานการสร้างสรรค์ของ อ. เฉลิมชัย ที่วาดเห็นเป็นเรื่องราวในผนังด้านซ้าย(มือจากทางเข้า) บอกเล่าถึงการ เกิด แก่ เจ็บ ตาย อีกทั้งยังมีการประยุกต์ภาพเหตุการณ์ร่วมสมัย อาทิ สไปเดอร์แมน ซุปเปอร์แมน เบนเท็น จอร์จ บุช บิลลาเดน ใส่เข้าไปร่วมกับงานจิตรกรรมไทยอันลือลั่นของ อ.เฉลิมชัย
ในบริเวณวัดร่องขุ่นยังมีงานศิลปสถาปัตยกรรมอันวิจิตรอ่อนช้อยให้ทัศนากันเป็นจุดๆ ไม่เว้นแม้แต่ห้องน้ำที่สร้างอย่างสวยงาม ชนิดที่เหมาะสมกับสถานที่ปลดทุกข์เป็นยิ่งนัก
นอกจากตัวงานพุทธศิลป์แล้ว อ.เฉลิมชัยก็ถือเป็นสิ่งเรียกแขกได้ไม่น้อย ใครและใครหลายๆคนที่ไปวัดแห่งนี้ ต้องการไปกระทบไหล่ ถ่ายรูป ผู้คุย กับผู้สร้างวัด ชนิดไม่ต่างอะไรกับการไปพบซุปเปอร์สตาร์ ซึ่งใครโชคดีก็จะได้พบกับอาจารย์ ส่วนถ้าวันไหนอาจารย์ไม่ว่าง แต่ถ้าใครอยากถ่ายรูปด้วย อ.เฉลิมชัย ก็มีภาพของตัวเอง ขนาดเท่าตัวจริงจัดเตรียมไว้ให้แฟนคลับถ่ายรูปด้วย ในท่าทาง ลีลา ฮากระจาย ที่ถือเป็นอีกหนึ่งคาแรคเตอร์อันเป็นเอกลักษณ์ของศิลปินแห่งชาตินามอุโฆษคนนี้
..............
และนั่นก็เป็น 3 วัดเด่นในตัวเมืองเชียงราย ที่มีหลายสิ่งหลายอย่างให้ค้นหาทั้งทางโลก ทางธรรม ทางใจ และทางจิตวิญญาณ
ลมหนาวเริ่มโชยมา
ขณะที่ใครหลายคนกำลังติดแรงเงา
“แรงเหงา” กับเป็นตัวกระตุ้นให้ผมขึ้นเหนือไปหาหนาวที่จังหวัดเชียงราย
การไปเชียงรายคราวนี้ผมไล่เที่ยวตั้งแต่เชียงแสน ดินแดนสามเหลี่ยมทองคำ ช้อปปิ้งแม่สาย ดอยตุง สวนแม่ฟ้าหลวง ไร่แม่ฟ้าหลวง ก่อนมาปิดท้ายแบบอิ่มบุญกับการไหว้พระ 3 วัดในเขต อ. เมือง ซึ่งนี่ถือเป็นหนึ่งในโครงการภายใต้การส่งเสริมของ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)ภูมิภาคภาคเหนือและสายการบินแอร์เอเชีย
วัดพระแก้ว
สำหรับวัดแรกในเขต อ.เมืองที่ผมไปประเดิมคือ “วัดพระแก้ว” หนึ่งในวัดสำคัญเก่าแก่ของเชียงราย ตั้งอยู่บนถนนไตรรัตน์ ต.เวียง
เดิมวัดนี้เรียกว่า “วัดป่าญะ” หรือ “วัดป่าเยียะ” เนื่องจากบริเวณนี้มีไม้เยียะที่เป็นไม้ไผ่ชนิดหนึ่ง คล้ายไผ่สีสุกขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก แต่เหตุที่เปลี่ยนมาเรียกวัดพระแก้ว เพราะมีการค้นพบสำคัญโดยบังเอิญนั่นก็คือในช่วงปี พ.ศ. 1977 ในสมัยพระเจ้าสามฝั่งแกนเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ ได้เกิดฟ้าผ่าลงบนเจดีย์ร้างองค์หนึ่ง และได้พบพระพุทธรูปลงรักปิดทองอยู่ภายใน ต่อมารักกะเทาะออก พบว่าเป็น “พระแก้วมรกต” จึงเรียกวัดนี้ใหม่ว่า “วัดพระแก้ว” เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
หลังพระแก้วมรกตถูกอัญเชิญไปยังสถานที่ต่างๆก่อนมาประดิษฐานอยู่ที่ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กทม. จนถึงปัจจุบัน จากนั้นในปี พ.ศ. 2533 เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีพระชนมายุครบ 90 พรรษา ชาวเชียงรายได้ร่วมกันสร้างพระแก้วมรกตองค์ใหม่ชื่อ “พระพุทธรัตนากรนวุติวัสสานุสรณ์” หรือ “พระหยกเชียงราย” ขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ
พระหยกเชียงราย สร้างด้วยหยกสีเขียวคล้ายมรกต มีพุทธลักษณะงดงาม ประดับเครื่องทรงแบบพุกาม มีขนาดเล็กกว่ากระแก้วมรกตองค์จริงที่กรุงเทพฯ 2 นิ้ว นับเป็นหนึ่งพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองเชียงรายที่มีผู้คนเดินทางไปกราบไหว้สักการะและชื่นชมความงามกันไม่ได้ขาด
นอกจากพระหยกเชียงรายแล้ว ภายในพระอุโบสถยังมี “พระเจ้าล้านทอง” ที่มีพุทธลักษณะขรึมขลังเปี่ยมศรัทธาเป็นอีกหนึ่งพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง อีกทั้งยังมีองค์พระธาตุประจำวัดสีทองตั้งตระหง่าน
ภายในวัดพระแก้วยังมีอีกหนึ่งสิ่งน่าสนใจที่ใครหลายๆคนมองข้ามนั่นก็คือ “โฮงหลวงแสงแก้ว” ที่เป็นอาคารพิพิธภัณฑ์ประจำวัด ภายในจัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ข้าวของเครื่องใช้ที่มีค่าต่างๆมาก อาทิ พระพุทธรูปต่างๆ บุษบก ผ้าพระบฏ ศิลปะงานไม้พญาลวงของตัวลวงของล้านนา ตุง เครื่องสูง ผลพระเจ้า 5 พระองค์ พระบรมสารีริกธาตุ และ ฯลฯ นับได้ว่าพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ถือเป็นแหล่งรวมของดี ในระดับค่าควรเมืองที่ไม่ควรมองข้ามหรือเลยผ่านด้วยประการทั้งปวง
วัดพระธาตุดอยทอง
วัดถัดไปที่ผมเดินทางไปรับบุญคือ “วัดพระธาตุดอยทอง” หรือ “วัดดอยทอง”วัดนี้ตั้งอยู่บนถนนอาจำนวย หลังศาลากลางจังหวัด บนดอยจอมทองริมฝั่งแม่น้ำกก
ตามประวัติเล่าว่า วัดพระธาตุดอยทอง สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1483 ในสมัยพระยาเรือนแก้วผู้ครองนครไชยนารายณ์ เพื่อเป็นสถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ที่พระมหาเถระชาวลังกาได้นำมาถวายแด่พระเจ้าพังคราช แห่งราชวงสิงหนวัติ เจ้าเมืองโยนกนาคพันธ์(เชียงแสน) โดยได้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุออกเป็น 3 ส่วน และนำไปประดิษฐานที่พระธาตุเจดีย์สำคัญในเชียงรายได้แก่ วัดพระธาตุดอยตุง วัดพระธาตุจอมกิตติ และที่พระเจดีย์วัดพระธาตุดอยทองแห่งนี้
ต่อมาได้เกิดแผ่นดินไหวทำให้องค์พระธาตุเจดีย์(องค์เก่า)พังทลายลงมา หลังจากนั้นพญามังราย(เม็งราย)ที่ทรงพบชัยภูมิสร้างเมืองเชียงรายจากดอยจอมทอง จึงได้สร้างพระธาตุเจดีย์องค์ใหม่ขึ้นมาพร้อมกับการสร้างเมือง นั่นก็คือองค์พระธาตุดอยทองสีทองอร่ามที่เราเห็นกันในปัจจุบัน
วัดพระธาตุดอยทองเป็นหนึ่งในวัดสำคัญอันดับต้นๆของเมืองเชียงราย วัดแห่งนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดอยู่ 3 ประการ ได้แก่ เป็นวัดที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุแห่งแรกในเชียงราย เป็นต้นกำเนิดและต้นธารประวัติศาสตร์ของเชียงราย และ(เชื่อว่า)เป็นสถานที่สิงสถิตของเจ้าพ่อ เจ้าแม่ดอยทอง เทพารักษ์ประจำเมืองเชียงราย
ที่วัดแห่งนี้ยังมีวิหารศิลปะผสมล้านนารัตนโกสินทร์ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย และมีภาพจิตรกรรมฝาผนังอันสวยงามให้ชมกัน
นอกจากนี้วัดพระธาตุดอยทองยังมีสิ่งสำคัญคือ “เสาสะดือเมือง” เชียงรายที่แปลกแตกต่างแห่งเดียวในเมืองไทย
เสาสะดือเมืองเชียงราย มีทั้งหมด 108 หลัก ชาวเชียงรายพร้อมใจกันสร้างเพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพญามังรายและเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ โดยหลังจากสร้างเสร็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จมาเจิมเสาสะดือเมืองเมื่อวันที่ 27 ม.ค. 2531
เสาสะดือเมืองเชียงรายสร้างขึ้นด้วยคติจักรวาล หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ลานรอบนอกหมายถึงแผ่นดิน ล้อมด้วยคูน้ำ เปรียบเสมือนน้ำในขอบจักรวาล รอบในยกขึ้นเป็น 6 ชั้น หมายถึงสวรรค์ทั้ง 6 ของกามภูมิ แล้วยกขึ้นอีก 1 ชั้น หมายถึงรูปภูมิ อรูปภูมิ และนิพพาน
เสาสะดือเมืองเปรียบดังเขาสิเนรุ ตั้งอยู่บนฐาน 3 เหลี่ยม หมายถึง ผา 3 เส้า ล้อมด้วยเสา 108 ต้น เปรียบดังสิ่งสำคัญในจักรวาล ล้อมรอบด้วยร่องน้ำ 5 ร่อง เป็นดังปัญจมหานทีลดหลั่นเป็นชั้นๆ
ขณะที่ต้นเสาสะดือเมืองนั้นสร้างตามคติโบราณของล้านนาที่เชื่อว่า หัวเสาสะดือเมืองใหญ่เท่า 5 กำมือ และสูงเท่ากับความสูงของพระเจ้าแผ่นดิน ดังนั้นเสาสะดือเมืองเชียงรายจึงสูงเท่าพระวรกายของพระเจ้าอยู่หัว และมีขนาดหัวเสาใหญ่เท่ากับ 5 พระหัตถ์กำ(กำปั้น)ของพระองค์ท่าน โดยได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตวัดพระหัตถ์กำ แล้วนำมาขยายสร้าง 5 เท่าด้วยกัน
เสาสะดือเมืองนับเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ชาวเชียงรายให้ความเคารพศรัทธา จึงมีการนำผ้าแพรไปผูก ทองไปปิด และนิยมมาสรงน้ำเพื่อความร่มเย็นเป็นสุข
วัดร่องขุ่น
มาถึงวัดอันดับสุดท้ายที่ผมเข้าไปรับบุญ วัดนี้เดิมเป็นวัดธรรมดาๆประจำชุมชน แต่เมื่อทำการสร้างโบสถ์ใหม่ก็โด่งดังเพียงชั่วข้ามคืน กลายเป็นวัดไฮไลท์ประจำเชียงราย อันเป็นที่หมายปองต้องการชมและสัมผัสในความงามของผู้คนมากมาย
สำหรับวัดนี้ก็ไม่ใช่วัดไหนหากแต่คือ “วัดร่องขุ่น” อันลือลั่น ซึ่งออกแบบโดยศิลปินแห่งชาตินามอุโฆษ “เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์”
วัดร่องขุ่น ตั้งอยู่ที่ ต.ป่าอ้อดอนชัย ห่างจากตัวเมืองเชียงรายประมาณ 12 กม. วัดแห่งนี้เป็นวัดบ้านเกิดของ อ.เฉลิมชัย ซึ่งหลังจากได้กลับไปเยี่ยมบ้านเกิด พบว่าวัดแห่งนี้ชำรุดทรุดโทรมมาก อ.เฉลิมชัย จึงตั้งปณิธานว่า อยากจะสร้างอุโบสถหลังใหม่เมื่อตนเองมีความพร้อม
หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2540 ที่ อ.เฉลิมชัย มีความพร้อมทั้งด้านชีวิต ครอบครัว กำลังทรัพย์ และชื่อเสียง อาจารย์จึงได้ลงมือสร้างโบสถ์วัดแห่งนี้ขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งสุดท้ายแล้วได้กลายเป็นวัดร่องขุ่นโฉมใหม่อันสวยงามอลังการและเป็นที่กล่าวขวัญถึงไปทั่ว
วัดร่องขุ่นสร้างด้วยคติจักรวาลมีสระน้ำรอบล้อมโบสถ์ เปรียบดังมหานทีสีทันดร มีสะพานทอดข้ามผ่านเปรียบดังการเดินข้ามวัฏสงสารมุ่งสู่พุทธภูมิ ตัวพระอุโบสถที่เป็นจุดเด่นสำคัญเป็นดังดินแดนแห่งการหลุดพ้น
วัดร่องขุ่นโดดเด่นด้วยงานปูนปั้นสีขาว ตกแต่งกระจกแวววับ เพื่อแทนพระบริสุทธิคุณและพระปัญญาธิคุณของพระพุทธเจ้าที่เปล่งประกายไปทั่วโลกมนุษย์และจักรวาล
ขนาดของโบสถ์ไม่ใหญ่โตนักแต่ก็ทุกส่วนล้วนต่างมีความหมาย โดยลวดลายปูนปั้นต่างๆอันอ่อนช้อยละเมียดละไมนั้น แสดงถึงความเป็น อ.เฉลิมชัย อย่างชัดเจน
จิตรกรรมฝาผนังภายในโบสถ์เป็นผลงานการสร้างสรรค์ของ อ. เฉลิมชัย ที่วาดเห็นเป็นเรื่องราวในผนังด้านซ้าย(มือจากทางเข้า) บอกเล่าถึงการ เกิด แก่ เจ็บ ตาย อีกทั้งยังมีการประยุกต์ภาพเหตุการณ์ร่วมสมัย อาทิ สไปเดอร์แมน ซุปเปอร์แมน เบนเท็น จอร์จ บุช บิลลาเดน ใส่เข้าไปร่วมกับงานจิตรกรรมไทยอันลือลั่นของ อ.เฉลิมชัย
ในบริเวณวัดร่องขุ่นยังมีงานศิลปสถาปัตยกรรมอันวิจิตรอ่อนช้อยให้ทัศนากันเป็นจุดๆ ไม่เว้นแม้แต่ห้องน้ำที่สร้างอย่างสวยงาม ชนิดที่เหมาะสมกับสถานที่ปลดทุกข์เป็นยิ่งนัก
นอกจากตัวงานพุทธศิลป์แล้ว อ.เฉลิมชัยก็ถือเป็นสิ่งเรียกแขกได้ไม่น้อย ใครและใครหลายๆคนที่ไปวัดแห่งนี้ ต้องการไปกระทบไหล่ ถ่ายรูป ผู้คุย กับผู้สร้างวัด ชนิดไม่ต่างอะไรกับการไปพบซุปเปอร์สตาร์ ซึ่งใครโชคดีก็จะได้พบกับอาจารย์ ส่วนถ้าวันไหนอาจารย์ไม่ว่าง แต่ถ้าใครอยากถ่ายรูปด้วย อ.เฉลิมชัย ก็มีภาพของตัวเอง ขนาดเท่าตัวจริงจัดเตรียมไว้ให้แฟนคลับถ่ายรูปด้วย ในท่าทาง ลีลา ฮากระจาย ที่ถือเป็นอีกหนึ่งคาแรคเตอร์อันเป็นเอกลักษณ์ของศิลปินแห่งชาตินามอุโฆษคนนี้
..............
และนั่นก็เป็น 3 วัดเด่นในตัวเมืองเชียงราย ที่มีหลายสิ่งหลายอย่างให้ค้นหาทั้งทางโลก ทางธรรม ทางใจ และทางจิตวิญญาณ