โดย : หนุ่มลูกทุ่ง
ห่างหายจากการเดินเท้าท่องเที่ยวมาเสียนาน ครั้งนี้ฉันเอาเรื่องราวการท่องเที่ยวเรียนรู้ประวัติศาสตร์ในกิจกรรมสรรพ์สารศิลป์ครั้งที่ 5 “เลียบสถล ยลถิ่น ศิลป์สถาน ตามรอยปราชญ์สยาม 3 รัชกาล” ที่ได้ติดสอยห้อยตามไปฟัง พี่นัท จุลภัสสร พนมวัน ณ อยุธยา และคุณเกริกเกียรติ ไพบูลย์ศิลป ผู้จัดกิจกรรมและวิทยากรเล่าเกร็ดประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ นำมาฝากกันในวันนี้
ทริปครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อเรียนรู้ถึงพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจที่แสดงถึงพระวิสัยทัศน์ของ 3 พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี อันได้แก่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ผ่านสถานที่สำคัญอันเป็นแหล่งเรียนรู้ในย่านถนนหน้าพระลาน ถนนหน้าพระธาตุ และย่านสวนเจ้าเชตุ-วังสราญรมย์ ซึ่งในอดีตเป็นสถานที่ซึ่งมีความสำคัญต่อการบริหารราชการบ้านเมือง เนื่องจากอยู่ใกล้พระบรมมหาราชวังและเป็นที่ตั้งของวังเจ้านายที่สำคัญ
เรามาเรียนรู้เรื่องราวปราชญ์สยามพระองค์แรก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ที่ "วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม" วัดที่เล็กที่สุดในกรุงเทพฯ มีพื้นที่เพียง 2 ไร่ 3 งาน 10 วา เท่านั้น วัดราชประดิษฐ์เป็นวัดประจำรัชกาลที่ 4 พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นตามโบราณราชประเพณีที่ถือกันว่า เมืองหลวงจะต้องมีวัดสำคัญ 3 วัด ด้วยกัน คือวัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ และวัดราชประดิษฐ์ อีกทั้งพระองค์ยังทรงมีพระราชประสงค์ที่จะสร้างวัดธรรมยุติกนิกายขึ้นใกล้กับพระบรมมหาราชวัง
ที่นี่ฉันได้ฟังเรื่องราวมากมายเกี่ยวกับรัชกาลที่ 4 ซึ่งทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีความรอบรู้และเชี่ยวชาญในศาสตร์หลายแขนง ด้วยความที่ทรงผนวชเป็นพระภิกษุนานถึง 27 พรรษา ได้เสด็จออกธุดงค์ไปยังหัวเมืองต่างๆ ทำให้เห็นสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนที่แท้จริง ขณะผนวชทรงเรียนภาษาอังกฤษจนทรงเขียนได้ ตรัสได้ ทำให้รอบรู้เท่าทันต่อเหตุการณ์ของโลกตะวันตกเป็นอย่างดี ประเทศไทยขณะนั้นจึงมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นทั้งทางสังคมและวัฒนธรรมเพื่อให้เห็นว่าไทยเป็นประเทศที่มีอารยธรรมและเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ ทรงแก้ไขเปลี่ยนแปลงประเพณีล้าสมัย และทรงใช้พระบรมราโชบายเป็นสายกลางผสมผสานระหว่าง ตะวันตกและตะวันออก
นอกจากจะได้ทราบพระราชประวัติของพระองค์แล้ว ฉันยังได้มากราบพระประธานในพระวิหารที่มีนามว่า "พระพุทธสิหังคปฏิมากร" ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิขนาดเล็กพอเหมาะกับพระวิหารขนาดกะทัดรัด โดยรัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างจำลองขึ้นจากพระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปที่พระองค์ทรงโปรดในพุทธลักษณะอันงดงาม รวมทั้งมีพระราชศรัทธาเป็นพิเศษ อีกทั้งเบื้องหลังพระประธานก็ยังมีบุษบกน้อยอีก 3 องค์ที่จำลองเอาพระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดา และพระพุทธชินราช
ส่วนที่เบื้องหน้าพระประธานจะมีครอบแก้วเล็กๆ มีพระพุทธรูปอยู่ภายใน นั่นก็คือพระนิรันตราย ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่หล่อด้วยทองคำ มีผู้ขุดพบแล้วนำมาถวายรัชกาลที่ 4 พระองค์ได้ทรงนำมาเก็บรักษาไว้ ณ หอเสถียรธรรมปริตร และได้มีผู้ร้ายเข้ามาขโมยของในหอนี้ แต่ไม่ได้นำพระองค์นี้ไป พระองค์ทรงเห็นว่าพระพุทธรูปองค์นี้พ้นอันตรายมาสองครั้งแล้ว คือผู้ขุดก็ไม่ทำอันตราย และผู้ร้ายก็ไม่ลักไป จึงได้ขนานนามพระองค์นี้ว่าพระนิรันตราย และได้หล่อพระพุทธรูปนี้ขึ้นอีก 18 องค์ เท่าจำนวนปีที่เสวยราชย์ เพื่อถวายเป็นที่ระลึกแก่วัดในธรรมยุติกนิกาย ซึ่งก็รวมถึงวัดราชประดิษฐ์ฯนี้ด้วยเช่นกัน
ภายในพระวิหารยังมีสิ่งที่น่าสนใจอย่างจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับพระราชพิธี 12 เดือน อีกทั้งยังมีภาพวาด บันทึกเหตุการณ์สําคัญทางประวัติศาสตร์ คือเหตุการณ์ในขณะที่รัชกาลที่ 4 ทรงส่องกล้องชมสุริยุปราคา หลังจากที่พระองค์ทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงที่จะเกิดในวันที่ 18 ส.ค. 2411 ที่ ต.หว้ากอ อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ได้อย่างแม่นยำ แสดงให้เห็นถึงพระปรีชาญาณของพระองค์ในด้านวิทยาศาสตร์และการคำนวณ
จากวัดราชประดิษฐ์ เราเดินมาชม “วังสราญรมย์” ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างพระบรมมหาราชวังกับวัดราชประดิษฐ์ พระราชวังแห่งนี้สร้างขึ้นในสมัย รัชกาลที่ 4 เช่นเดียวกัน เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนสองชั้น พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเพื่อใช้เป็นที่ประทับหลังทรงสละราชสมบัติให้พระราชโอรสแล้ว แต่สร้างยังไม่แล้วเสร็จพระองค์ได้เสด็จสวรรคตก่อนที่จะแล้วเสร็จ หลังจากนั้นเมื่อวังสร้างเสร็จในสมัย รัชกาลที่ 5 พระองค์จึงพระราชทานให้ใช้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอหลายพระองค์ ต่อมาใช้เป็นที่ประทับรับรองพระราชอาคันตุกะจากต่างประเทศ อาทิ เจ้าชายออสคาร์ พระราชโอรสแห่งกษัตริย์สวีเดน เจ้าชายแห่งญี่ปุ่น มกุฎราชกุมารแห่งรัสเซีย เจ้าชายจอร์จแห่งกรีซ ต่อมาจึงใช้วังแห่งนี้เป็นที่ทำการของกระทรวงการต่างประเทศ แต่ในปัจจุบัน วังสราญรมย์กำลังอยู่ระหว่างการซ่อมแซมเพื่อเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์
ส่วนปราชญ์สยามพระองค์ต่อมา คือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งหากอยากทราบเรื่องราวพระประวัติของพระองค์ก็ต้องมาที่ “นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” ซึ่งตั้งอยู่ ณ ตึกถาวรวัตถุ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ โดยภายในได้จัดนิทรรศการอันน่าสนใจเกี่ยวกับรัชกาลที่ 5 ทั้งเนื้อหาและภาพเกี่ยวกับพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจที่สำคัญ พระบรมราโชวาทในวาระต่างๆ ที่แสดงถึงพระราชปณิธานของพระองค์ โดยพระราชกรณียกิจที่สำคัญได้แก่ การเลิกทาสที่ทำให้สังคมไทยเกิดความเสมอภาคกันมากขึ้น และยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการศึกษาอย่างเป็นแบบแผน ดังที่ทรงมีพระราชดำรัสในวันพระราชทานประกาศนียบัตร ณ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ว่า “...ตั้งแต่ลูกฉันเป็นต้นลงไป ตลอดจนราษฎรต่ำที่สุด จะได้มีโอกาสได้เล่าเรียนเสมอกัน...”
นอกจากนั้น ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นช่วงที่ลัทธิล่าอาณานิคมของชาติตะวันตกเข้ามีผลกระทบโดยตรงกับดินแดนในทวีปเอเชีย รวมถึงประเทศไทยของเรา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงดำเนินพระราชวิเทโศบายต่างๆ เพื่อให้ชาติไทยผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปได้ในที่สุด
รัชกาลที่ 5 ยังเป็นมหากษัตริย์ผู้ทรงมีวิสัยทัศน์กว้างไกล ได้นำเอาความเจริญต่างๆ ในโลกตะวันตกมาปรับใช้กับสยาม พระองค์เป็นผู้ทรงวางรากฐานกิจการด้านสาธารณูปโภค ไม่ว่าจะเป็น การไฟฟ้า ประปา การไปรษณีย์ การคมนาคม อันเป็นพื้นฐานในการพัฒนาบ้านเมืองต่อมา
เรียกได้ว่าหากได้มาชมนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ ที่ตึกถาวรวัตถุแล้ว จะได้ร่วมรำลึกถึงถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ รัชกาลที่ 5 ทรงทำเพื่อชาติบ้านเมืองได้เป็นอย่างดี
และที่อยู่ติดกับตึกถาวรวัตถุก็คือ “วัดมหาธาตุยุวราษฎร์รังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร” ฉันแวะเข้าไปกราบพระและสักการะพระบรมสารีริกธาตุ โดยวัดมหาธาตุฯ นี้ เป็นสถานที่ที่ใช้เป็นที่พระราชทานเพลิงพระบุพโพเจ้านายซึ่งดำรงพระเกียรติยศสูง และในสมัย รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ใช้พื้นที่ของวัดสร้างพระเมรุพระราชทานเพลิงพระศพพระบรมวงศ์ชั้นสูง โดยงานพระศพครั้งสำคัญครั้งหนึ่งก็คืองานพระศพของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ในปี 2437 ในครั้งนั้นพระองค์โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ในการบูรณะวัดมหาธาตุ และได้พระราชทานนามต่อท้ายว่า “วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์” ตั้งแต่นั้นมา
และสำหรับปราชญ์สยามอีกพระองค์หนึ่ง คือพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เราไปเรียนรู้ประวัติของพระองค์กันได้ที่ “พิพิธภัณฑ์รัชกาลที่ 6” ซึ่งอยู่ภายในอาคารราชวัลลภ หน่วยบัญชาการกำลังสำรอง หรือกรมการรักษาดินแดนเดิม สวนเจ้าเชตุนั่นเอง โดยแต่เดิมนั้น ร.5 ได้พระราชทานพื้นที่บริเวณนี้ให้กระทรวงกลาโหมเพื่อใช้ในกิจการทหาร แต่พระองค์เสด็จสวรรคตเสียก่อน ต่อมาในปี 2463 รัชกาลที่ 6 จึงสานต่อพระราชดำริเดิม พร้อมพระราชทานนามอาคารหลังนี้ว่า “อาคารราชวัลลภ” และเสด็จมาเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2467
ต่อมาในปี 2509 เจ้ากรมการรักษาดินแดนในสมัยนั้นได้เล็งเห็นความสำคัญและพระมหากรุณาธิคุณ จึงได้ทำหนังสือขอพระราชทานสิ่งของเครื่องใช้ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อจัดตั้งพิพิธภัณฑ์รัชกาลที่ 6 ขึ้น ทางสำนักพระราชวังได้ตอบรับและมอบสิ่งของเครื่องใช้ของพระองค์ที่สามารถจัดรวบรวมได้ให้กับกรมรักษาดินแดน ทำให้พิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีสิ่งของเครื่องใช้ของรัชกาลที่ 6 เป็นจำนวนมาก
เมื่อได้เข้าไปชมภายในพิพิธภัณฑ์ ทำให้ฉันได้ทราบเรื่องราวของพระองค์ตั้งแต่พระราชสมภพเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2423 ในด้านการศึกษา ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ เรื่องราวการทรงผนวช การอภิเษกสมรส จนกระทั่งเสด็จสวรรคต ในปี 2468
นอกจากนั้น ยังได้ทราบถึงพระปรีชาชาญด้านการทหาร ในการตัดสินพระทัยเข้าร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งมีผลให้ไทยได้แก้ไขสนธิสัญญาอันไม่เป็นธรรม และการทรงก่อตั้งกองกำลัง “เสือป่า” อันถือได้ว่าเป็นรากฐานของกำลังสำรองในปัจจุบัน และยังได้ทราบถึงพระราชกรณียกิจต่างๆ อาทิ ด้านการศึกษาทรงริเริ่มสร้างโรงเรียนแทนวัดประจำรัชกาลนั่นคือโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน และทรงยกฐานะโรงเรียนข้าราชการพลเรือนให้เป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย ด้านการปกครอง ทรงทดลองตั้งเมืองจำลองดุสิตธานี ในพระราชวังดุสิตขึ้น เพื่อทรงทดลองการปกครองระบอบประชาธิปไตย ด้านวรรณกรรม ทรงแต่งวรรณกรรม โครง ฉันท์ กาพย์ กลอง ไว้มากมาย จนได้ชื่อว่าเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือไว้มากที่สุดด้วย
ในพิพิธภัณฑ์ยังจัดแสดงของใช้ส่วนพระองค์ไว้มากมาย ทั้งฉลองพระองค์ ฉลองพระบาท พระมาลา นับร้อย รวมทั้งเครื่องหมายต่างๆ ซึ่งหน่วยบัญชาการกำลังสำรองได้รับมอบจากสำนักพระราชวัง
และนี่ก็คือเรื่องราวของ 3 ปราชญ์แห่งสยาม น่าภูมิใจยิ่งนักที่เรามีพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถนำพาประเทศของเราฟันฝ่าวิกฤตต่างๆ จนกลายเป็นประเทศไทยได้จนทุกวันนี้
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
สำหรับผู้ที่สนใจทริปเดินเท้าท่องเที่ยว สามารถมาร่วมในกิจกรรมสรรพ์สารศิลป์ ครั้งที่ 6 ฟื้นความหลัง ยลวังเจ้านาย เลียบราย “คลองสามเสน” ในวันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน 2555 ร่วมฟังเรื่องราวอันน่าสนใจของวังเจ้านายในบริเวณย่านพระราชวังดุสิตและปริมณฑล นับแต่ยุคสมัยสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงจนถึงการก่อตั้งวังสวนนอก ในช่วงภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ทั้ง “วังวาริชเวสม์” ของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาปีบุษบากร ตำหนักพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศศิพงศ์ประไพ พระราชธิดา ในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและ เจ้าจอมมารดาจันทร์ (ธิดาของพระยาราชสัมภารากร (เทศ)) ปัจจุบันตั้งอยู่ในพื้นที่โรงเรียนอักษรเจริญ สถานศึกษาเก่าแก่และเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายบนถนนสุโขทัย พระราชวังพญาไท ชมหมู่พระที่นั่งสถาปัตยกรรมแบบยุโรปที่โดดเด่น อัตราค่าร่วมกิจกรรม ท่านละ 400 บาท
และกิจกรรม “ภัสสรสัญจร” ครั้งที่ 19 เลียบคลองด่าน ยลอารามงามศิลป์ ถิ่นสวนเก่า (จอมทอง-บางขุนเทียน) ในวันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน 2555 ยลวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร พระอารามหลวงประจำรัชกาลที่ 3 นมัสการพระพุทธไสยาสน์และพระพุทธรูปยืนอันศักดิ์สิทธิ์ สักการะเจดีย์บรรจุอัฐิเจ้าจอมสำคัญท่านหนึ่งในรัชสมัยสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง เจ้าจอมสดับ ลดาวัลย์ นมัสการพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยอันงดงามในพระอุโบสถและพรระเจ้า ๕ พระองค์ในพระวิหารศิลปะแบบประเพณีนิยมในสมัยรัชกาลที่ ๓ และสักการะรูปปั้นหลวงปู่เอี่ยม พระเถระเรืองนามซึ่งพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเคารพนับถืออย่างยิ่ง ณ วัดหนังราชวรวิหาร ตื่นตากับพระพุทธรูปทรงเครื่องอันงดงามราวเทพเนรมิตและจิตรกรรมฝาผนังฝีมือช่างหลวงสมัยรัชกาลที่ 3 ที่งดงามเป็นเลิศ ณ วัดนางนองวรวิหาร ชมวัดบางขุนเทียนนอก-วัดบางขุนเทียนกลาง-วัดบางขุนเทียนใน ที่ล้วนแล้วแต่มีความน่าสนใจทั้งสิ้น อัตราค่าร่วมกิจกรรม ท่านละ 500 บาท
สนใจสอบถามรายละเอียดได้ที่ คุณจุลภัสสร พนมวัน ณ อยุธยา โทร. 08 1343 4261
อาคารนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ตึกถาวรวัตถุ) ตั้งอยู่ข้างวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ (ฝั่งสนามหลวง) เปิดให้เข้าชมวันพุธ-ศุกร์ (หยุดวันจันทร์-อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) เวลา 09.30-16.00 น. โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โทร. 0-2222-4867, 0-2221-6830
พิพิธภัณฑ์รัชกาลที่ 6 ตั้งอยู่ที่ชั้น 2 และ3 อาคารราชวัลลภ(อาคารอุโมงค์) หน่วยบัญชาการกำลังสำรอง เลขที่ 2 ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ เปิดให้เข้าชมทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.00 น. เว้นวันหยุดราชการ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น หากมาเป็นหมู่คณะควรแจ้งให้ทางพิพิธภัณฑ์ทราบลวงหน้าเพื่อจัดหาเจ้าหน้าที่บรรยาย สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ กองยุทธการและการข่าว หน่วยบัญชาการกำลังสำรอง โทร.0-2221-4870, 0-2221-9132
ห่างหายจากการเดินเท้าท่องเที่ยวมาเสียนาน ครั้งนี้ฉันเอาเรื่องราวการท่องเที่ยวเรียนรู้ประวัติศาสตร์ในกิจกรรมสรรพ์สารศิลป์ครั้งที่ 5 “เลียบสถล ยลถิ่น ศิลป์สถาน ตามรอยปราชญ์สยาม 3 รัชกาล” ที่ได้ติดสอยห้อยตามไปฟัง พี่นัท จุลภัสสร พนมวัน ณ อยุธยา และคุณเกริกเกียรติ ไพบูลย์ศิลป ผู้จัดกิจกรรมและวิทยากรเล่าเกร็ดประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ นำมาฝากกันในวันนี้
ทริปครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อเรียนรู้ถึงพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจที่แสดงถึงพระวิสัยทัศน์ของ 3 พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี อันได้แก่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ผ่านสถานที่สำคัญอันเป็นแหล่งเรียนรู้ในย่านถนนหน้าพระลาน ถนนหน้าพระธาตุ และย่านสวนเจ้าเชตุ-วังสราญรมย์ ซึ่งในอดีตเป็นสถานที่ซึ่งมีความสำคัญต่อการบริหารราชการบ้านเมือง เนื่องจากอยู่ใกล้พระบรมมหาราชวังและเป็นที่ตั้งของวังเจ้านายที่สำคัญ
เรามาเรียนรู้เรื่องราวปราชญ์สยามพระองค์แรก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ที่ "วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม" วัดที่เล็กที่สุดในกรุงเทพฯ มีพื้นที่เพียง 2 ไร่ 3 งาน 10 วา เท่านั้น วัดราชประดิษฐ์เป็นวัดประจำรัชกาลที่ 4 พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นตามโบราณราชประเพณีที่ถือกันว่า เมืองหลวงจะต้องมีวัดสำคัญ 3 วัด ด้วยกัน คือวัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ และวัดราชประดิษฐ์ อีกทั้งพระองค์ยังทรงมีพระราชประสงค์ที่จะสร้างวัดธรรมยุติกนิกายขึ้นใกล้กับพระบรมมหาราชวัง
ที่นี่ฉันได้ฟังเรื่องราวมากมายเกี่ยวกับรัชกาลที่ 4 ซึ่งทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีความรอบรู้และเชี่ยวชาญในศาสตร์หลายแขนง ด้วยความที่ทรงผนวชเป็นพระภิกษุนานถึง 27 พรรษา ได้เสด็จออกธุดงค์ไปยังหัวเมืองต่างๆ ทำให้เห็นสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนที่แท้จริง ขณะผนวชทรงเรียนภาษาอังกฤษจนทรงเขียนได้ ตรัสได้ ทำให้รอบรู้เท่าทันต่อเหตุการณ์ของโลกตะวันตกเป็นอย่างดี ประเทศไทยขณะนั้นจึงมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นทั้งทางสังคมและวัฒนธรรมเพื่อให้เห็นว่าไทยเป็นประเทศที่มีอารยธรรมและเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ ทรงแก้ไขเปลี่ยนแปลงประเพณีล้าสมัย และทรงใช้พระบรมราโชบายเป็นสายกลางผสมผสานระหว่าง ตะวันตกและตะวันออก
นอกจากจะได้ทราบพระราชประวัติของพระองค์แล้ว ฉันยังได้มากราบพระประธานในพระวิหารที่มีนามว่า "พระพุทธสิหังคปฏิมากร" ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิขนาดเล็กพอเหมาะกับพระวิหารขนาดกะทัดรัด โดยรัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างจำลองขึ้นจากพระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปที่พระองค์ทรงโปรดในพุทธลักษณะอันงดงาม รวมทั้งมีพระราชศรัทธาเป็นพิเศษ อีกทั้งเบื้องหลังพระประธานก็ยังมีบุษบกน้อยอีก 3 องค์ที่จำลองเอาพระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดา และพระพุทธชินราช
ส่วนที่เบื้องหน้าพระประธานจะมีครอบแก้วเล็กๆ มีพระพุทธรูปอยู่ภายใน นั่นก็คือพระนิรันตราย ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่หล่อด้วยทองคำ มีผู้ขุดพบแล้วนำมาถวายรัชกาลที่ 4 พระองค์ได้ทรงนำมาเก็บรักษาไว้ ณ หอเสถียรธรรมปริตร และได้มีผู้ร้ายเข้ามาขโมยของในหอนี้ แต่ไม่ได้นำพระองค์นี้ไป พระองค์ทรงเห็นว่าพระพุทธรูปองค์นี้พ้นอันตรายมาสองครั้งแล้ว คือผู้ขุดก็ไม่ทำอันตราย และผู้ร้ายก็ไม่ลักไป จึงได้ขนานนามพระองค์นี้ว่าพระนิรันตราย และได้หล่อพระพุทธรูปนี้ขึ้นอีก 18 องค์ เท่าจำนวนปีที่เสวยราชย์ เพื่อถวายเป็นที่ระลึกแก่วัดในธรรมยุติกนิกาย ซึ่งก็รวมถึงวัดราชประดิษฐ์ฯนี้ด้วยเช่นกัน
ภายในพระวิหารยังมีสิ่งที่น่าสนใจอย่างจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับพระราชพิธี 12 เดือน อีกทั้งยังมีภาพวาด บันทึกเหตุการณ์สําคัญทางประวัติศาสตร์ คือเหตุการณ์ในขณะที่รัชกาลที่ 4 ทรงส่องกล้องชมสุริยุปราคา หลังจากที่พระองค์ทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงที่จะเกิดในวันที่ 18 ส.ค. 2411 ที่ ต.หว้ากอ อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ได้อย่างแม่นยำ แสดงให้เห็นถึงพระปรีชาญาณของพระองค์ในด้านวิทยาศาสตร์และการคำนวณ
จากวัดราชประดิษฐ์ เราเดินมาชม “วังสราญรมย์” ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างพระบรมมหาราชวังกับวัดราชประดิษฐ์ พระราชวังแห่งนี้สร้างขึ้นในสมัย รัชกาลที่ 4 เช่นเดียวกัน เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนสองชั้น พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเพื่อใช้เป็นที่ประทับหลังทรงสละราชสมบัติให้พระราชโอรสแล้ว แต่สร้างยังไม่แล้วเสร็จพระองค์ได้เสด็จสวรรคตก่อนที่จะแล้วเสร็จ หลังจากนั้นเมื่อวังสร้างเสร็จในสมัย รัชกาลที่ 5 พระองค์จึงพระราชทานให้ใช้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอหลายพระองค์ ต่อมาใช้เป็นที่ประทับรับรองพระราชอาคันตุกะจากต่างประเทศ อาทิ เจ้าชายออสคาร์ พระราชโอรสแห่งกษัตริย์สวีเดน เจ้าชายแห่งญี่ปุ่น มกุฎราชกุมารแห่งรัสเซีย เจ้าชายจอร์จแห่งกรีซ ต่อมาจึงใช้วังแห่งนี้เป็นที่ทำการของกระทรวงการต่างประเทศ แต่ในปัจจุบัน วังสราญรมย์กำลังอยู่ระหว่างการซ่อมแซมเพื่อเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์
ส่วนปราชญ์สยามพระองค์ต่อมา คือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งหากอยากทราบเรื่องราวพระประวัติของพระองค์ก็ต้องมาที่ “นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” ซึ่งตั้งอยู่ ณ ตึกถาวรวัตถุ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ โดยภายในได้จัดนิทรรศการอันน่าสนใจเกี่ยวกับรัชกาลที่ 5 ทั้งเนื้อหาและภาพเกี่ยวกับพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจที่สำคัญ พระบรมราโชวาทในวาระต่างๆ ที่แสดงถึงพระราชปณิธานของพระองค์ โดยพระราชกรณียกิจที่สำคัญได้แก่ การเลิกทาสที่ทำให้สังคมไทยเกิดความเสมอภาคกันมากขึ้น และยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการศึกษาอย่างเป็นแบบแผน ดังที่ทรงมีพระราชดำรัสในวันพระราชทานประกาศนียบัตร ณ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ว่า “...ตั้งแต่ลูกฉันเป็นต้นลงไป ตลอดจนราษฎรต่ำที่สุด จะได้มีโอกาสได้เล่าเรียนเสมอกัน...”
นอกจากนั้น ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นช่วงที่ลัทธิล่าอาณานิคมของชาติตะวันตกเข้ามีผลกระทบโดยตรงกับดินแดนในทวีปเอเชีย รวมถึงประเทศไทยของเรา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงดำเนินพระราชวิเทโศบายต่างๆ เพื่อให้ชาติไทยผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปได้ในที่สุด
รัชกาลที่ 5 ยังเป็นมหากษัตริย์ผู้ทรงมีวิสัยทัศน์กว้างไกล ได้นำเอาความเจริญต่างๆ ในโลกตะวันตกมาปรับใช้กับสยาม พระองค์เป็นผู้ทรงวางรากฐานกิจการด้านสาธารณูปโภค ไม่ว่าจะเป็น การไฟฟ้า ประปา การไปรษณีย์ การคมนาคม อันเป็นพื้นฐานในการพัฒนาบ้านเมืองต่อมา
เรียกได้ว่าหากได้มาชมนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ ที่ตึกถาวรวัตถุแล้ว จะได้ร่วมรำลึกถึงถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ รัชกาลที่ 5 ทรงทำเพื่อชาติบ้านเมืองได้เป็นอย่างดี
และที่อยู่ติดกับตึกถาวรวัตถุก็คือ “วัดมหาธาตุยุวราษฎร์รังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร” ฉันแวะเข้าไปกราบพระและสักการะพระบรมสารีริกธาตุ โดยวัดมหาธาตุฯ นี้ เป็นสถานที่ที่ใช้เป็นที่พระราชทานเพลิงพระบุพโพเจ้านายซึ่งดำรงพระเกียรติยศสูง และในสมัย รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ใช้พื้นที่ของวัดสร้างพระเมรุพระราชทานเพลิงพระศพพระบรมวงศ์ชั้นสูง โดยงานพระศพครั้งสำคัญครั้งหนึ่งก็คืองานพระศพของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ในปี 2437 ในครั้งนั้นพระองค์โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ในการบูรณะวัดมหาธาตุ และได้พระราชทานนามต่อท้ายว่า “วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์” ตั้งแต่นั้นมา
และสำหรับปราชญ์สยามอีกพระองค์หนึ่ง คือพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เราไปเรียนรู้ประวัติของพระองค์กันได้ที่ “พิพิธภัณฑ์รัชกาลที่ 6” ซึ่งอยู่ภายในอาคารราชวัลลภ หน่วยบัญชาการกำลังสำรอง หรือกรมการรักษาดินแดนเดิม สวนเจ้าเชตุนั่นเอง โดยแต่เดิมนั้น ร.5 ได้พระราชทานพื้นที่บริเวณนี้ให้กระทรวงกลาโหมเพื่อใช้ในกิจการทหาร แต่พระองค์เสด็จสวรรคตเสียก่อน ต่อมาในปี 2463 รัชกาลที่ 6 จึงสานต่อพระราชดำริเดิม พร้อมพระราชทานนามอาคารหลังนี้ว่า “อาคารราชวัลลภ” และเสด็จมาเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2467
ต่อมาในปี 2509 เจ้ากรมการรักษาดินแดนในสมัยนั้นได้เล็งเห็นความสำคัญและพระมหากรุณาธิคุณ จึงได้ทำหนังสือขอพระราชทานสิ่งของเครื่องใช้ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อจัดตั้งพิพิธภัณฑ์รัชกาลที่ 6 ขึ้น ทางสำนักพระราชวังได้ตอบรับและมอบสิ่งของเครื่องใช้ของพระองค์ที่สามารถจัดรวบรวมได้ให้กับกรมรักษาดินแดน ทำให้พิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีสิ่งของเครื่องใช้ของรัชกาลที่ 6 เป็นจำนวนมาก
เมื่อได้เข้าไปชมภายในพิพิธภัณฑ์ ทำให้ฉันได้ทราบเรื่องราวของพระองค์ตั้งแต่พระราชสมภพเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2423 ในด้านการศึกษา ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ เรื่องราวการทรงผนวช การอภิเษกสมรส จนกระทั่งเสด็จสวรรคต ในปี 2468
นอกจากนั้น ยังได้ทราบถึงพระปรีชาชาญด้านการทหาร ในการตัดสินพระทัยเข้าร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งมีผลให้ไทยได้แก้ไขสนธิสัญญาอันไม่เป็นธรรม และการทรงก่อตั้งกองกำลัง “เสือป่า” อันถือได้ว่าเป็นรากฐานของกำลังสำรองในปัจจุบัน และยังได้ทราบถึงพระราชกรณียกิจต่างๆ อาทิ ด้านการศึกษาทรงริเริ่มสร้างโรงเรียนแทนวัดประจำรัชกาลนั่นคือโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน และทรงยกฐานะโรงเรียนข้าราชการพลเรือนให้เป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย ด้านการปกครอง ทรงทดลองตั้งเมืองจำลองดุสิตธานี ในพระราชวังดุสิตขึ้น เพื่อทรงทดลองการปกครองระบอบประชาธิปไตย ด้านวรรณกรรม ทรงแต่งวรรณกรรม โครง ฉันท์ กาพย์ กลอง ไว้มากมาย จนได้ชื่อว่าเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือไว้มากที่สุดด้วย
ในพิพิธภัณฑ์ยังจัดแสดงของใช้ส่วนพระองค์ไว้มากมาย ทั้งฉลองพระองค์ ฉลองพระบาท พระมาลา นับร้อย รวมทั้งเครื่องหมายต่างๆ ซึ่งหน่วยบัญชาการกำลังสำรองได้รับมอบจากสำนักพระราชวัง
และนี่ก็คือเรื่องราวของ 3 ปราชญ์แห่งสยาม น่าภูมิใจยิ่งนักที่เรามีพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถนำพาประเทศของเราฟันฝ่าวิกฤตต่างๆ จนกลายเป็นประเทศไทยได้จนทุกวันนี้
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
สำหรับผู้ที่สนใจทริปเดินเท้าท่องเที่ยว สามารถมาร่วมในกิจกรรมสรรพ์สารศิลป์ ครั้งที่ 6 ฟื้นความหลัง ยลวังเจ้านาย เลียบราย “คลองสามเสน” ในวันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน 2555 ร่วมฟังเรื่องราวอันน่าสนใจของวังเจ้านายในบริเวณย่านพระราชวังดุสิตและปริมณฑล นับแต่ยุคสมัยสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงจนถึงการก่อตั้งวังสวนนอก ในช่วงภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ทั้ง “วังวาริชเวสม์” ของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาปีบุษบากร ตำหนักพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศศิพงศ์ประไพ พระราชธิดา ในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและ เจ้าจอมมารดาจันทร์ (ธิดาของพระยาราชสัมภารากร (เทศ)) ปัจจุบันตั้งอยู่ในพื้นที่โรงเรียนอักษรเจริญ สถานศึกษาเก่าแก่และเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายบนถนนสุโขทัย พระราชวังพญาไท ชมหมู่พระที่นั่งสถาปัตยกรรมแบบยุโรปที่โดดเด่น อัตราค่าร่วมกิจกรรม ท่านละ 400 บาท
และกิจกรรม “ภัสสรสัญจร” ครั้งที่ 19 เลียบคลองด่าน ยลอารามงามศิลป์ ถิ่นสวนเก่า (จอมทอง-บางขุนเทียน) ในวันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน 2555 ยลวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร พระอารามหลวงประจำรัชกาลที่ 3 นมัสการพระพุทธไสยาสน์และพระพุทธรูปยืนอันศักดิ์สิทธิ์ สักการะเจดีย์บรรจุอัฐิเจ้าจอมสำคัญท่านหนึ่งในรัชสมัยสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง เจ้าจอมสดับ ลดาวัลย์ นมัสการพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยอันงดงามในพระอุโบสถและพรระเจ้า ๕ พระองค์ในพระวิหารศิลปะแบบประเพณีนิยมในสมัยรัชกาลที่ ๓ และสักการะรูปปั้นหลวงปู่เอี่ยม พระเถระเรืองนามซึ่งพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเคารพนับถืออย่างยิ่ง ณ วัดหนังราชวรวิหาร ตื่นตากับพระพุทธรูปทรงเครื่องอันงดงามราวเทพเนรมิตและจิตรกรรมฝาผนังฝีมือช่างหลวงสมัยรัชกาลที่ 3 ที่งดงามเป็นเลิศ ณ วัดนางนองวรวิหาร ชมวัดบางขุนเทียนนอก-วัดบางขุนเทียนกลาง-วัดบางขุนเทียนใน ที่ล้วนแล้วแต่มีความน่าสนใจทั้งสิ้น อัตราค่าร่วมกิจกรรม ท่านละ 500 บาท
สนใจสอบถามรายละเอียดได้ที่ คุณจุลภัสสร พนมวัน ณ อยุธยา โทร. 08 1343 4261
อาคารนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ตึกถาวรวัตถุ) ตั้งอยู่ข้างวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ (ฝั่งสนามหลวง) เปิดให้เข้าชมวันพุธ-ศุกร์ (หยุดวันจันทร์-อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) เวลา 09.30-16.00 น. โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โทร. 0-2222-4867, 0-2221-6830
พิพิธภัณฑ์รัชกาลที่ 6 ตั้งอยู่ที่ชั้น 2 และ3 อาคารราชวัลลภ(อาคารอุโมงค์) หน่วยบัญชาการกำลังสำรอง เลขที่ 2 ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ เปิดให้เข้าชมทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.00 น. เว้นวันหยุดราชการ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น หากมาเป็นหมู่คณะควรแจ้งให้ทางพิพิธภัณฑ์ทราบลวงหน้าเพื่อจัดหาเจ้าหน้าที่บรรยาย สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ กองยุทธการและการข่าว หน่วยบัญชาการกำลังสำรอง โทร.0-2221-4870, 0-2221-9132