โดย : ปิ่น บุตรี (pinn109@hotmail.com)
สุนทรภู่ครูกวีมีชื่อนัก
ว่าเมาเหล้าเมารักเมาอักษร
ทั้งสามเมาเข้าสิงอิง“สุนทร”
ไม่มีวันพักผ่อนหย่อนกายใจ
ถ้าไม่เมาสุราหรือนารี
ก็เมาการกวีเป็นที่หมาย
ในชีวิตตั้งแต่ต้นจนถึงปลาย
“ภู่”ไม่วายว่างเว้นเป็นคนเมา...
กลอนโดย : “พระราชธรรมนิเทศ”
2 บทแรกจากกลอนสรุปชีวประวัติสุนทรภู่ โดย“พระราชธรรมนิเทศ”ที่ร้อยรจนาออกมาได้เห็นภาพเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเรื่องของการเมาเหล้าเพราะในวันลืมตาดูโลกของท่านสุนทรภู่ที่ตรงกับ วันจันทร์ เดือน 8 ปีมะเมีย จุลศักราช 1148 หรือตรงกับวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 เวลาประมาณ 2 โมงเช้า ซึ่งโหรได้ผูกดวงว่าท่านเป็นผู้ที่มี “อาลักษณ์ขี้เมา”(เรื่องนี้บางคนเชื่อว่าอาจจะมีการมาแต่งเติมกันภายหลังตามลักษณะนิสัยคนชอบดื่มของสุนทรภู่)
สำหรับสุนทรภู่ หรือ “พระสุนทรโวหาร” เป็นบุตรชายของนางช้อย(สันนิษฐานว่าเป็นชาวเมืองฉะเชิงเทรา)และนายพลับหรือขุนศรีสังหาร ชาวบ้านกร่ำ เมืองแกลง จ.ระยอง ท่านถือกำเนิดที่ย่านบางกอกน้อย(อาจจะแถวๆริมคลองบางกอกน้อย)ธนบุรี โดยบิดา มารดา ได้ตั้งชื่อให้ว่า“ภู่”
ในช่วงวัยรุ่นนายภู่ได้ฉายแววความเป็นยอดนักกวีเอก เริ่มมีชื่อเสียงด้านเจ้าบทเจ้ากลอน แต่งเพลงยาว และเขียนจดหมายรักได้หวานนัก ถึงขนาดมีคนมาจ้างวานและมีลูกศิษย์ลูกหามาฝากตัว
นอกจากจะมีพรสวรรค์ด้านการกวีและมีอาลักษณ์ขี้เมาเป็นนักดื่มชั้นเซียนแล้ว เรื่องเจ้าชู้นายภู่ก็ไม่ยิ่งหย่อน ในช่วงวัยรุ่นเขาได้พบรักกับ “แม่จัน” ผู้เป็นนางข้าหลวงในวังหลัง
แต่ความรักระหว่างนายภู่กับแม่จันในช่วงแรกเป็นรักที่อาภัพ เพราะการเอื้อมเด็กดอกฟ้าของนายภู่ เมื่อความทราบถึงสมเด็จเจ้าฟ้า กรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ กรมพระราชวังหลัง พระองค์ทรงกริ้ว รับสั่งให้นำนายภู่และแม่จันไปจองจำ แต่ทั้งคู่ถูกจองจำอยู่ได้ไม่นาน สมเจ้าฟ้าฯวังหลังก็เสด็จทิวงคต ทำให้นายภู่และแม่จันพ้นโทษออกมาเป็นอิสระ เพราะสมัยนั้นมีประเพณีแต่โบราณที่จะมีการปล่อยนักโทษ หลังพระมหากษัตริย์เสด็จสวรรคตหรือพระราชวงศ์ชั้นสูงเสด็จทิวงคต เพื่ออุทิศถวายเป็นพระราชกุศล
เมื่อสุนทรภู่พ้นโทษท่านได้เดินทางไปหาบิดาของตัวเองที่บวชอยู่ที่วัดป่าบ้านกร่ำ แห่งบ้านกร่ำ เมืองแกลง จังหวัดระยอง
การเดินทางไปหาพ่อของสุนทรภู่ไม่มีหลักฐานระบุแน่ชัดว่าไปทำไม ทำให้มีเกิดการตีความแบ่งเป็น 3 สายหลัก
สายแรก สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่าสุนทรภู่น่าจะเดินทางไปบวชที่บ้านพ่อ เพราะช่วงนั้นอายุครบ 20 ปีพอดี อีกทั้งยังเพิ่งพ้นโทษมาจึงเป็นการดีที่จะบวช(ตามภาษาชาวบ้านเรียกว่า “บวชล้างซวย”
สายที่สอง “ดำรง เฉลิมวงศ์” ผู้เขียนเรื่อง “สุนทรภู่แนวใหม่” เชื่อว่าสุนทรภู่กลับไปหาพ่อเพื่อขอเงินนำมาแต่งงานกับแม่จันสาวคนรัก
สายที่สาม “ปราโมทย์ ทัศนาสุวรรณ” ผู้เขียนหนังสือ “เที่ยวไปกับสุนทรภู่” ตั้งข้อสังเกตว่าสุนทรภู่น่าจะไปปฏิบัติภารกิจตามคำสั่งของเข้านายมากกว่า โดยภารกิจนั้นอยู่ที่บางปลาสร้อย(ชลบุรี) จากนั้นจึงเดินทางต่อเพื่อไปเยี่ยมพ่อที่ระยอง
พูดถึงการไประยองแล้ว สมัยนี้จากกรุงเทพฯใช้เวลาแค่ 2-3 ชั่วโมง แต่สมัยนั้นใช้เวลาหลายวัน โดยพาหนะหลักๆที่สุนทรภู่กับเพื่อนร่วมทางให้สัญจรไปก็คือเรือ ซึ่งการเดินทางที่ต้องรอนแรมนานๆ สุนทรภู่ผู้ที่มีกวีอยู่ในหัวใจ ยามต้องเปลี่ยวสุดเหงาจากการต้องจากแม่จันคนรักมา จึงแต่งบทกลอนนิราศบันทึกอารมณ์และการเดินทาง เกิดเป็น “นิราศเมืองแกลง” ขึ้น
นิราศเมืองแกลงเป็นนิราศเรื่องแรกของสุนทรภู่ แต่งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2349 ถือเป็นนิราศเรื่องยาวที่สุดเรื่องหนึ่ง ซึ่งสุนทรภู่เขียนพรรณนาอารมณ์ และบรรยากาศในการรอนแรมเดินทางไว้ค่อนข้างละเอียด สำนวนกลอนที่ใช้ถือเป็นต้นตำรับของกลอนตลาดแท้ คือไม่ค่อยมีศัพท์แสงสูงส่งหรูหรา แต่เป็นภาษาสามัญชนที่ฟังแล้วเข้าใจง่าย เห็นภาพอย่างชัดแจ้ง ดังตัวอย่างของบทกลอนแสนอาลัยดังความว่า
พี่จากไปได้แต่รักมาฝากน้อง
มากกว่าของอื่นอื่นสักหมื่นแสน
พอเป็นคำผ้าห่มที่ชมแทน
อย่าเคืองแค้นเลยที่ฉันไม่ทันลา
หรือช่วงที่ต้องเดินทางเข้าป่าสุนทรภู่สามารถบรรยายได้อย่างเห็นภาพ
กระโดดเผาะเกาะผับกระหยับคืบ
ถีบกระทืบมิใครหลุดสุดแสยง
ปลดที่ตีนติดขาระอาแรง
ทั้งขาแข้งเลือดโซมชโลมไป
หรืออีกหนึ่งตัวอย่าง
มันเห็นหน้าทำตากระปริบนิ่ง
เห็นหลายสิ่งคอคางทั้งหางหัว
รู้ว่าแรดกินหนามให้คร้ามกลัว
ขยับตัววิ่งพัลวันไป
จากกลอน 2 บทที่บอกเล่าในช่วงเดินป่าแถบไม่น่าเชื่อว่าจากกรุงเทพฯไประยองจะมีป่าดิบชนิดมีแรดอาศัยอยู่แถมอุดมไปด้วยทากอีกต่างหาก
อนึ่งการมากลับมาเยี่ยมบิดาที่เมืองแกลงครั้งนี้ ได้ก่อให้เกิดความเชื่อตกทอดมาจนถึงรุ่นปัจจุบันว่า เกาะเสม็ด จ.ระยอง คือ เกาะแก้วพิสดาร ในวรรณคดีไทยสุดคลาสสิคเรื่อง “พระอภัยมณี” ซึ่งหากใครเคยไปเดินเที่ยวหาดทรายแก้ว บนเกาะเสม็ดก็คงจะสะดุดตากับรูปปั้นนางเงือกและพระอภัยมณีที่เขาสร้างไว้เป็นดังการการันตีว่า ที่นี่คือเกาะแก้วพิสดาร เพราะจะว่าไปมันดูสอดคล้องกับการมาระยองของสุนทรภู่ว่าท่านอาจเคยมาเห็นความงดงามของเกาะเสม็ดจนเกิดเป็นแรงบันดาลใจนำไปเป็นฉากสำคัญในพระอภัยมณีก็เป็นได้
โดยช่วงที่สุนทรภู่มาเมืองแกลงนั้นมีบทกลอนที่ท่านรำพันออกมาว่า “..มาอยู่บ้านกร่ำระกำใจ ชวนกันไปชมทะเลทุกเวลา...” ซึ่งสถานที่ที่เชื่อว่าสุนทรภู่ท่านชอบมานั่งมองทะเลก็คือบริเวณปลายแหลมแม่พิมนั่นเอง
ส่วนเกาะแก้วพิสดารที่หลายคนเข้าใจว่า คือเกาะเสม็ดนั้น ในเรื่อง “ภูมิศาสตร์สุนทรภู่” ที่เขียนโดยขุนวิจิตรมาตรา หรือ กาญจนาคพันธุ์ มีข้อมูลแย้งว่า ฉากเกาะต่างๆในเรื่องพระอภัยมณีนั้นมาจากทะเลอันดามัน ไม่ใช่ทะเลในแถบระยองแต่อย่างใด
เรื่องนี้ใครจะเชื่ออย่างไรก็สุดแท้แต่ แต่ที่แน่ๆเกาะเสม็ดทุกวันโด่งดังฮอตฮิตชนิดถ้ามีนางเงือก นางยักษ์ผีเสื้อสมุทรอยู่จริง คงจะทนไม่ไหวต้องอพยพย้ายถิ่นหนีความเจริญอันเกินควบคุมเป็นแน่แท้
กลับมาที่บนฝั่งเมืองแกลงกันต่อ สำหรับการมาระยองของสุนทรภู่ในครั้งนั้น หลังเวลาผ่านพ้นไปกว่า 100 ปี ทางจังหวัดระยองได้รำลึกถึงท่านด้วยการดำเนินการจัดสร้างอนุสาวรีย์สุนทรภู่ขึ้น ในปี พ.ศ. 2498 ในบริเวณวัดป่ากร่ำ(ที่กลายเป็นวัดร้าง) ต.บ้านกร่ำ เมืองแกลง ซึ่งเป็นการก่อสร้างที่กินเวลายาวนานมาก เพราะช่วงหนึ่งการก่อสร้างถูกทิ้งค้างเติ่งอยู่กว่า 10 ปีจนถึงปี พ.ศ.2511ผู้ว่าฯระยองยุคนั้นคือนายวิทยา เกษรเสาวภาค ได้เปิดรับบริจาคเงินทั่วประเทศเพื่อดำเนินการก่อสร้างต่อ ทำให้อนุสาวรีย์สุนทรภู่ก่อสร้างจนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2513
นอกจากอนุสาวรีย์สุนทรภู่แล้ว จังหวัดระยองในปัจจุบันยังเชิดชูบรมครูกวีสุนทรภู่ด้วยการยกย่องท่านไว้ในคำขวัญจังหวัด ดังความว่า “ผลไม้รสล้ำ อุตสาหกรรมก้าวหน้า น้ำปลารสเด็ด เกาะเสม็ดสวยหรู สุนทรภู่กวีเอก” ไม่เพียงเท่านั้นจังหวัดระยองยังมีการจัดงานรำลึกถึงสุนทรภู่ในทุกๆปี ในช่วงวันคล้ายวันเกิดของท่าน(26 มิ.ย.)ในทุกๆปี
ด้วยองค์ประกอบเหล่านี้ทำให้ยุคหนึ่งหลายๆคนเกิดความสับสนว่า สุนทรภู่ท่านเป็นคนระยอง เกิดที่ระยอง ก่อนที่ผู้รู้ทั้งหลายจะได้เผยแพร่ข้อมูลให้คนในยุคเราๆท่านๆได้รับรู้กันว่า แท้ที่จริงแล้วสุนทรภู่ท่านเกิดที่ย่านบางกอกน้อย ธนบุรี นั่นเอง
อย่างไรก็ตามความที่จังหวัดระยองให้เกียรติยกย่องสุนทรภู่ด้วยการสร้างอนุสาวรีย์อย่างยิ่งใหญ่ไว้ในเมืองแกลง อานิสงส์ของบรมครูกวีได้ทำให้ทุกวันนี้ “อนุสาวรีย์สุนทรภู่” กลายเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวชั้นนำของระยอง
อนุสาวรีย์สุนทรภู่ เป็นสวนหย่อมสถานที่ท่องเที่ยวของคนต่างถิ่น และสถานที่พักผ่อนของชาวเมืองระยอง มีรูปปั้นของบรมครูกวีสุนทรภู่ตั้งเด่นอยู่บนเนินหญ้าสีเขียวในท่วงท่าที่ทั่งน่าอย่างสง่าในมือซ้ายถือกระดานชนวน ซึ่งกลายภาพโพสต์กันทั่วไปในโลกไซเบอร์ว่าท่านนั้นใช้ไอแพดมาก่อนพวกฝรั่งเสียอีก
แม้สุนทรภู่จะมีฐานะเป็นยอดกวีระดับโลก แต่สำหรับที่นี่ท่านมีอีกหนึ่งบริบทเป็น“สิ่งศักดิ์สิทธิ์” หรือ “ปูชนียบุคคลศักดิ์สิทธิ์” มีใครและใครหลายคนเดินทางมากราบไหว้ สักการบูชาไม่ว่างเว้น
โดยชาวบ้านที่นี่นิยมเรียกท่านว่า “พ่อปู่ภู่” ซึ่งผมได้สอบถามคุณป้าผู้ทำหน้าที่ดูแล ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสุนทรภู่ของที่นี่ บอกกับผมว่า พ่อปู่ภู่ท่านเด่นการงาน การศึกษา ขอให้สอบได้ ขอให้สอบเข้าทำงานได้ โดยเฉพาะงานราชการ ส่วนรองลงมาก็คือเรื่องของคู่ครอง แต่ก็มีหลายคนที่มาขอพรเรื่องอื่นแล้วสมหวังกับไป
สำหรับเรื่องนี้ถือเป็นความเชื่อส่วนบุคคลที่ใครจะคิดอย่างไรก็สุดแท้แต่ แต่สิ่งหนึ่งก็คือเราควรเคารพในความเชื่อที่แตกต่างของคนอื่น ถ้าความเชื่อนั้นไม่ทำให้ใครเดือดร้อน และไม่ได้เป็นผลร้ายต่อสังคม ประเทศชาติ
นอกจากรูปปั้นสุนทรภู่ที่เป็นดังจุดศูนย์รวมหลักของพื้นที่แล้ว รอบๆท่านยังมีสิ่งน่าสนใจอย่าง รูปปั้นพระอภัยมณีเป่าที่ที่ด้านหน้าท่าน รูปปั้นผีเสื้อสมุทร นางเงือก ในสระน้ำ หลักมุดกวี และเหล่ารูปปั้น(คนละสไตล์กับรูปปั้นที่กล่าวมาข้างต้น) ตัวละครสำคัญในวรรณคดีเรื่องพระอภัยมณีที่ด้านหน้าลานอนุสาวรีย์ ซึ่งตั้งเด่นด้วยรูปปั้นนางยักษ์ขนาดใหญ่มือขวาถือตะบอง มือซ้ายอุ้มพระอภัยมณีไว้ในซอกอกที่สาวๆหลายคนเห็นแล้วอย่างมีอกคัพนี้บางจัง
ขณะที่ใกล้ๆกันก็มีรูปสินสมุทรและชีเปลือย
ชีเปลือยนั้นแม้จะเป็นตัวโกง แต่จากเห็นเขาถือเป็นรูปปั้นดาวเด่นรูปหนึ่งที่นักท่องเที่ยวนิยมมาถ่ายรูปคู่เป็นจำนวนมากโดยเฉพาะบรรดาสาวๆทั้งหลาย ที่บางคนยามเมื่อมาถ่ายรูปคู่กับชีเปลือยไปก็“กรี๊ด”ไป ปานประหนึ่งว่าเธอเชียร์ทีม “กรีซ”ในยูโร 2012
สำหรับเหตุผลที่ชีเปลือยเป็นดาวดังดาราหน้ากล้องเหนือตัวละครอื่นๆในที่นี้นั่นก็เป็นเพราะ ชีเปลือยไม่นุ่งผ้าแถมยังมีอาวุธห้อยโต่งเต่งโผล่แหลมออกมา ให้สาวๆที่เห็นได้อายม้วนหน้าแดงกัน
แต่ประทานโทษ!?! แม้จะอายหน้าม้านแต่พวกเธอหลายคนก็ยังชื่นชมชอบถ่ายรูปกับชีเปลือยอยู่ดี
สุนทรภู่ครูกวีมีชื่อนัก
ว่าเมาเหล้าเมารักเมาอักษร
ทั้งสามเมาเข้าสิงอิง“สุนทร”
ไม่มีวันพักผ่อนหย่อนกายใจ
ถ้าไม่เมาสุราหรือนารี
ก็เมาการกวีเป็นที่หมาย
ในชีวิตตั้งแต่ต้นจนถึงปลาย
“ภู่”ไม่วายว่างเว้นเป็นคนเมา...
กลอนโดย : “พระราชธรรมนิเทศ”
2 บทแรกจากกลอนสรุปชีวประวัติสุนทรภู่ โดย“พระราชธรรมนิเทศ”ที่ร้อยรจนาออกมาได้เห็นภาพเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเรื่องของการเมาเหล้าเพราะในวันลืมตาดูโลกของท่านสุนทรภู่ที่ตรงกับ วันจันทร์ เดือน 8 ปีมะเมีย จุลศักราช 1148 หรือตรงกับวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 เวลาประมาณ 2 โมงเช้า ซึ่งโหรได้ผูกดวงว่าท่านเป็นผู้ที่มี “อาลักษณ์ขี้เมา”(เรื่องนี้บางคนเชื่อว่าอาจจะมีการมาแต่งเติมกันภายหลังตามลักษณะนิสัยคนชอบดื่มของสุนทรภู่)
สำหรับสุนทรภู่ หรือ “พระสุนทรโวหาร” เป็นบุตรชายของนางช้อย(สันนิษฐานว่าเป็นชาวเมืองฉะเชิงเทรา)และนายพลับหรือขุนศรีสังหาร ชาวบ้านกร่ำ เมืองแกลง จ.ระยอง ท่านถือกำเนิดที่ย่านบางกอกน้อย(อาจจะแถวๆริมคลองบางกอกน้อย)ธนบุรี โดยบิดา มารดา ได้ตั้งชื่อให้ว่า“ภู่”
ในช่วงวัยรุ่นนายภู่ได้ฉายแววความเป็นยอดนักกวีเอก เริ่มมีชื่อเสียงด้านเจ้าบทเจ้ากลอน แต่งเพลงยาว และเขียนจดหมายรักได้หวานนัก ถึงขนาดมีคนมาจ้างวานและมีลูกศิษย์ลูกหามาฝากตัว
นอกจากจะมีพรสวรรค์ด้านการกวีและมีอาลักษณ์ขี้เมาเป็นนักดื่มชั้นเซียนแล้ว เรื่องเจ้าชู้นายภู่ก็ไม่ยิ่งหย่อน ในช่วงวัยรุ่นเขาได้พบรักกับ “แม่จัน” ผู้เป็นนางข้าหลวงในวังหลัง
แต่ความรักระหว่างนายภู่กับแม่จันในช่วงแรกเป็นรักที่อาภัพ เพราะการเอื้อมเด็กดอกฟ้าของนายภู่ เมื่อความทราบถึงสมเด็จเจ้าฟ้า กรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ กรมพระราชวังหลัง พระองค์ทรงกริ้ว รับสั่งให้นำนายภู่และแม่จันไปจองจำ แต่ทั้งคู่ถูกจองจำอยู่ได้ไม่นาน สมเจ้าฟ้าฯวังหลังก็เสด็จทิวงคต ทำให้นายภู่และแม่จันพ้นโทษออกมาเป็นอิสระ เพราะสมัยนั้นมีประเพณีแต่โบราณที่จะมีการปล่อยนักโทษ หลังพระมหากษัตริย์เสด็จสวรรคตหรือพระราชวงศ์ชั้นสูงเสด็จทิวงคต เพื่ออุทิศถวายเป็นพระราชกุศล
เมื่อสุนทรภู่พ้นโทษท่านได้เดินทางไปหาบิดาของตัวเองที่บวชอยู่ที่วัดป่าบ้านกร่ำ แห่งบ้านกร่ำ เมืองแกลง จังหวัดระยอง
การเดินทางไปหาพ่อของสุนทรภู่ไม่มีหลักฐานระบุแน่ชัดว่าไปทำไม ทำให้มีเกิดการตีความแบ่งเป็น 3 สายหลัก
สายแรก สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่าสุนทรภู่น่าจะเดินทางไปบวชที่บ้านพ่อ เพราะช่วงนั้นอายุครบ 20 ปีพอดี อีกทั้งยังเพิ่งพ้นโทษมาจึงเป็นการดีที่จะบวช(ตามภาษาชาวบ้านเรียกว่า “บวชล้างซวย”
สายที่สอง “ดำรง เฉลิมวงศ์” ผู้เขียนเรื่อง “สุนทรภู่แนวใหม่” เชื่อว่าสุนทรภู่กลับไปหาพ่อเพื่อขอเงินนำมาแต่งงานกับแม่จันสาวคนรัก
สายที่สาม “ปราโมทย์ ทัศนาสุวรรณ” ผู้เขียนหนังสือ “เที่ยวไปกับสุนทรภู่” ตั้งข้อสังเกตว่าสุนทรภู่น่าจะไปปฏิบัติภารกิจตามคำสั่งของเข้านายมากกว่า โดยภารกิจนั้นอยู่ที่บางปลาสร้อย(ชลบุรี) จากนั้นจึงเดินทางต่อเพื่อไปเยี่ยมพ่อที่ระยอง
พูดถึงการไประยองแล้ว สมัยนี้จากกรุงเทพฯใช้เวลาแค่ 2-3 ชั่วโมง แต่สมัยนั้นใช้เวลาหลายวัน โดยพาหนะหลักๆที่สุนทรภู่กับเพื่อนร่วมทางให้สัญจรไปก็คือเรือ ซึ่งการเดินทางที่ต้องรอนแรมนานๆ สุนทรภู่ผู้ที่มีกวีอยู่ในหัวใจ ยามต้องเปลี่ยวสุดเหงาจากการต้องจากแม่จันคนรักมา จึงแต่งบทกลอนนิราศบันทึกอารมณ์และการเดินทาง เกิดเป็น “นิราศเมืองแกลง” ขึ้น
นิราศเมืองแกลงเป็นนิราศเรื่องแรกของสุนทรภู่ แต่งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2349 ถือเป็นนิราศเรื่องยาวที่สุดเรื่องหนึ่ง ซึ่งสุนทรภู่เขียนพรรณนาอารมณ์ และบรรยากาศในการรอนแรมเดินทางไว้ค่อนข้างละเอียด สำนวนกลอนที่ใช้ถือเป็นต้นตำรับของกลอนตลาดแท้ คือไม่ค่อยมีศัพท์แสงสูงส่งหรูหรา แต่เป็นภาษาสามัญชนที่ฟังแล้วเข้าใจง่าย เห็นภาพอย่างชัดแจ้ง ดังตัวอย่างของบทกลอนแสนอาลัยดังความว่า
พี่จากไปได้แต่รักมาฝากน้อง
มากกว่าของอื่นอื่นสักหมื่นแสน
พอเป็นคำผ้าห่มที่ชมแทน
อย่าเคืองแค้นเลยที่ฉันไม่ทันลา
หรือช่วงที่ต้องเดินทางเข้าป่าสุนทรภู่สามารถบรรยายได้อย่างเห็นภาพ
กระโดดเผาะเกาะผับกระหยับคืบ
ถีบกระทืบมิใครหลุดสุดแสยง
ปลดที่ตีนติดขาระอาแรง
ทั้งขาแข้งเลือดโซมชโลมไป
หรืออีกหนึ่งตัวอย่าง
มันเห็นหน้าทำตากระปริบนิ่ง
เห็นหลายสิ่งคอคางทั้งหางหัว
รู้ว่าแรดกินหนามให้คร้ามกลัว
ขยับตัววิ่งพัลวันไป
จากกลอน 2 บทที่บอกเล่าในช่วงเดินป่าแถบไม่น่าเชื่อว่าจากกรุงเทพฯไประยองจะมีป่าดิบชนิดมีแรดอาศัยอยู่แถมอุดมไปด้วยทากอีกต่างหาก
อนึ่งการมากลับมาเยี่ยมบิดาที่เมืองแกลงครั้งนี้ ได้ก่อให้เกิดความเชื่อตกทอดมาจนถึงรุ่นปัจจุบันว่า เกาะเสม็ด จ.ระยอง คือ เกาะแก้วพิสดาร ในวรรณคดีไทยสุดคลาสสิคเรื่อง “พระอภัยมณี” ซึ่งหากใครเคยไปเดินเที่ยวหาดทรายแก้ว บนเกาะเสม็ดก็คงจะสะดุดตากับรูปปั้นนางเงือกและพระอภัยมณีที่เขาสร้างไว้เป็นดังการการันตีว่า ที่นี่คือเกาะแก้วพิสดาร เพราะจะว่าไปมันดูสอดคล้องกับการมาระยองของสุนทรภู่ว่าท่านอาจเคยมาเห็นความงดงามของเกาะเสม็ดจนเกิดเป็นแรงบันดาลใจนำไปเป็นฉากสำคัญในพระอภัยมณีก็เป็นได้
โดยช่วงที่สุนทรภู่มาเมืองแกลงนั้นมีบทกลอนที่ท่านรำพันออกมาว่า “..มาอยู่บ้านกร่ำระกำใจ ชวนกันไปชมทะเลทุกเวลา...” ซึ่งสถานที่ที่เชื่อว่าสุนทรภู่ท่านชอบมานั่งมองทะเลก็คือบริเวณปลายแหลมแม่พิมนั่นเอง
ส่วนเกาะแก้วพิสดารที่หลายคนเข้าใจว่า คือเกาะเสม็ดนั้น ในเรื่อง “ภูมิศาสตร์สุนทรภู่” ที่เขียนโดยขุนวิจิตรมาตรา หรือ กาญจนาคพันธุ์ มีข้อมูลแย้งว่า ฉากเกาะต่างๆในเรื่องพระอภัยมณีนั้นมาจากทะเลอันดามัน ไม่ใช่ทะเลในแถบระยองแต่อย่างใด
เรื่องนี้ใครจะเชื่ออย่างไรก็สุดแท้แต่ แต่ที่แน่ๆเกาะเสม็ดทุกวันโด่งดังฮอตฮิตชนิดถ้ามีนางเงือก นางยักษ์ผีเสื้อสมุทรอยู่จริง คงจะทนไม่ไหวต้องอพยพย้ายถิ่นหนีความเจริญอันเกินควบคุมเป็นแน่แท้
กลับมาที่บนฝั่งเมืองแกลงกันต่อ สำหรับการมาระยองของสุนทรภู่ในครั้งนั้น หลังเวลาผ่านพ้นไปกว่า 100 ปี ทางจังหวัดระยองได้รำลึกถึงท่านด้วยการดำเนินการจัดสร้างอนุสาวรีย์สุนทรภู่ขึ้น ในปี พ.ศ. 2498 ในบริเวณวัดป่ากร่ำ(ที่กลายเป็นวัดร้าง) ต.บ้านกร่ำ เมืองแกลง ซึ่งเป็นการก่อสร้างที่กินเวลายาวนานมาก เพราะช่วงหนึ่งการก่อสร้างถูกทิ้งค้างเติ่งอยู่กว่า 10 ปีจนถึงปี พ.ศ.2511ผู้ว่าฯระยองยุคนั้นคือนายวิทยา เกษรเสาวภาค ได้เปิดรับบริจาคเงินทั่วประเทศเพื่อดำเนินการก่อสร้างต่อ ทำให้อนุสาวรีย์สุนทรภู่ก่อสร้างจนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2513
นอกจากอนุสาวรีย์สุนทรภู่แล้ว จังหวัดระยองในปัจจุบันยังเชิดชูบรมครูกวีสุนทรภู่ด้วยการยกย่องท่านไว้ในคำขวัญจังหวัด ดังความว่า “ผลไม้รสล้ำ อุตสาหกรรมก้าวหน้า น้ำปลารสเด็ด เกาะเสม็ดสวยหรู สุนทรภู่กวีเอก” ไม่เพียงเท่านั้นจังหวัดระยองยังมีการจัดงานรำลึกถึงสุนทรภู่ในทุกๆปี ในช่วงวันคล้ายวันเกิดของท่าน(26 มิ.ย.)ในทุกๆปี
ด้วยองค์ประกอบเหล่านี้ทำให้ยุคหนึ่งหลายๆคนเกิดความสับสนว่า สุนทรภู่ท่านเป็นคนระยอง เกิดที่ระยอง ก่อนที่ผู้รู้ทั้งหลายจะได้เผยแพร่ข้อมูลให้คนในยุคเราๆท่านๆได้รับรู้กันว่า แท้ที่จริงแล้วสุนทรภู่ท่านเกิดที่ย่านบางกอกน้อย ธนบุรี นั่นเอง
อย่างไรก็ตามความที่จังหวัดระยองให้เกียรติยกย่องสุนทรภู่ด้วยการสร้างอนุสาวรีย์อย่างยิ่งใหญ่ไว้ในเมืองแกลง อานิสงส์ของบรมครูกวีได้ทำให้ทุกวันนี้ “อนุสาวรีย์สุนทรภู่” กลายเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวชั้นนำของระยอง
อนุสาวรีย์สุนทรภู่ เป็นสวนหย่อมสถานที่ท่องเที่ยวของคนต่างถิ่น และสถานที่พักผ่อนของชาวเมืองระยอง มีรูปปั้นของบรมครูกวีสุนทรภู่ตั้งเด่นอยู่บนเนินหญ้าสีเขียวในท่วงท่าที่ทั่งน่าอย่างสง่าในมือซ้ายถือกระดานชนวน ซึ่งกลายภาพโพสต์กันทั่วไปในโลกไซเบอร์ว่าท่านนั้นใช้ไอแพดมาก่อนพวกฝรั่งเสียอีก
แม้สุนทรภู่จะมีฐานะเป็นยอดกวีระดับโลก แต่สำหรับที่นี่ท่านมีอีกหนึ่งบริบทเป็น“สิ่งศักดิ์สิทธิ์” หรือ “ปูชนียบุคคลศักดิ์สิทธิ์” มีใครและใครหลายคนเดินทางมากราบไหว้ สักการบูชาไม่ว่างเว้น
โดยชาวบ้านที่นี่นิยมเรียกท่านว่า “พ่อปู่ภู่” ซึ่งผมได้สอบถามคุณป้าผู้ทำหน้าที่ดูแล ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสุนทรภู่ของที่นี่ บอกกับผมว่า พ่อปู่ภู่ท่านเด่นการงาน การศึกษา ขอให้สอบได้ ขอให้สอบเข้าทำงานได้ โดยเฉพาะงานราชการ ส่วนรองลงมาก็คือเรื่องของคู่ครอง แต่ก็มีหลายคนที่มาขอพรเรื่องอื่นแล้วสมหวังกับไป
สำหรับเรื่องนี้ถือเป็นความเชื่อส่วนบุคคลที่ใครจะคิดอย่างไรก็สุดแท้แต่ แต่สิ่งหนึ่งก็คือเราควรเคารพในความเชื่อที่แตกต่างของคนอื่น ถ้าความเชื่อนั้นไม่ทำให้ใครเดือดร้อน และไม่ได้เป็นผลร้ายต่อสังคม ประเทศชาติ
นอกจากรูปปั้นสุนทรภู่ที่เป็นดังจุดศูนย์รวมหลักของพื้นที่แล้ว รอบๆท่านยังมีสิ่งน่าสนใจอย่าง รูปปั้นพระอภัยมณีเป่าที่ที่ด้านหน้าท่าน รูปปั้นผีเสื้อสมุทร นางเงือก ในสระน้ำ หลักมุดกวี และเหล่ารูปปั้น(คนละสไตล์กับรูปปั้นที่กล่าวมาข้างต้น) ตัวละครสำคัญในวรรณคดีเรื่องพระอภัยมณีที่ด้านหน้าลานอนุสาวรีย์ ซึ่งตั้งเด่นด้วยรูปปั้นนางยักษ์ขนาดใหญ่มือขวาถือตะบอง มือซ้ายอุ้มพระอภัยมณีไว้ในซอกอกที่สาวๆหลายคนเห็นแล้วอย่างมีอกคัพนี้บางจัง
ขณะที่ใกล้ๆกันก็มีรูปสินสมุทรและชีเปลือย
ชีเปลือยนั้นแม้จะเป็นตัวโกง แต่จากเห็นเขาถือเป็นรูปปั้นดาวเด่นรูปหนึ่งที่นักท่องเที่ยวนิยมมาถ่ายรูปคู่เป็นจำนวนมากโดยเฉพาะบรรดาสาวๆทั้งหลาย ที่บางคนยามเมื่อมาถ่ายรูปคู่กับชีเปลือยไปก็“กรี๊ด”ไป ปานประหนึ่งว่าเธอเชียร์ทีม “กรีซ”ในยูโร 2012
สำหรับเหตุผลที่ชีเปลือยเป็นดาวดังดาราหน้ากล้องเหนือตัวละครอื่นๆในที่นี้นั่นก็เป็นเพราะ ชีเปลือยไม่นุ่งผ้าแถมยังมีอาวุธห้อยโต่งเต่งโผล่แหลมออกมา ให้สาวๆที่เห็นได้อายม้วนหน้าแดงกัน
แต่ประทานโทษ!?! แม้จะอายหน้าม้านแต่พวกเธอหลายคนก็ยังชื่นชมชอบถ่ายรูปกับชีเปลือยอยู่ดี