โดย : หนุ่มลูกทุ่ง
“มืดๆค่ำๆอย่าออกไปเล่นนอกบ้าน เดี๋ยวซีอุยมากินตับ”
ประโยคนี้เป็นประโยคที่แม่ใช้ขู่ฉันบ่อยๆเมื่อสมัยยังเด็ก ทั้งที่ฉันยังไม่รู้จักเลยว่าซีอุยคือใครแต่ก็กลัวทุกครั้งที่ได้ยิน เมื่อโตขึ้นเรื่องราวของซีอุยค่อยๆลบเลือนไป จนฉันได้มาพบกับเขาอีกครั้งใน “พิพิธภัณฑ์ซีอุย” หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า “พิพิธภัณฑ์นิติเวชศาสตร์ สงกรานต์ นิยมเสน” โรงพยาบาลศิริราช
โดยพิพิธภัณฑ์แห่งนี้จัดตั้งขึ้นในสมัยที่ศาสตราจารย์นายแพทย์สงกรานต์ นิยมเสน ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าสาขานิติเวชศาสตร์ เพื่อใช้เป็นสถานที่เก็บรวบรวมและแสดงในวิชานิติเวชศาสตร์แขนงต่างๆ รวมทั้งคดีที่น่าสนใจบางคดีทางอาญาและทางแพ่ง
โดยคดีฆาตกรรมที่ครึกโครมในอดีตอย่าง “คดีซีอุย” ก็ได้ถูกจัดแสดงไว้ในส่วนแรกก็คือ “สิ่งแสดงเกี่ยวกับศพ” โดยคดีซีอุยนี้เป็นคดีระทึกขวัญในช่วง พ.ศ. 2497-2501 ที่สร้างความหวาดกลัวไปทั่วประเทศ รายละเอียดของคดีมีอยู่ว่า ซีอุยอาศัยอยู่ในประเทศจีน มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ลำบากตั้งแต่เด็ก ตัวเล็กและมักถูกคนอื่นรังแก จนวันหนึ่งเขาได้พบนักบวชรูปหนึ่งที่แนะนำเขาว่า ถ้าอยากจะมีร่างกายแข็งแรงต้องกินเนื้อหรืออวัยวะมนุษย์ ซึ่งคำสอนนี้ได้ฝังอยู่ในใจซีอุยเสมอมา
ต่อมาซีอุยถูกเกณฑ์ไปเป็นทหารและถูกส่งไปในสมรภูมิรบ เขาต้องเผชิญกับความลำบากและเสี่ยงเป็นเสี่ยงตายเป็นเวลานาน เพื่อนทหารก็ทยอยตายไปเรื่อยๆ อาหารก็ขาดแคลน ซีอุยหิวกระหายอย่างหนักจนทนไม่ไหว ท่ามกลางศพที่ตายเกลื่อน เขาคิดได้ว่านี่แหละคืออาหารชั้นหนึ่ง เขาจึงใช้มีดพกคู่กายกรีดศพเพื่อนทหารด้วยกันอย่างเลือดเย็นตั้งแต่หน้าอกจนถึงหน้าท้อง ควักหัวใจ ตับ และไส้ออก มาต้มกิน อย่างไม่สนใจใคร
เมื่อสงครามสงบแต่บ้านเมืองยากจนข้นแค้น ซีอุยจึงได้อพยพมาหางานทำในเมืองไทยโดยการรับจ้างทำสวนผัก และรับจ้างทั่วไปเป็นเวลานานถึง 8 ปี ก่อนที่ซีอุยจะก่ออาชญากรรมขึ้น จากการทำงานหนัก ร่างกายของเขาทรุดลง จิตใจหงุดหงิด คำแนะนำของนักบวชจึงผุดขึ้นมาในสมองอีกครั้งหนึ่ง
ซีอุยได้จับเด็กมาผ่าเอาตับมากินโดยเชื่อว่าเป็นยาอายุวัฒนะ โดยได้ทำการฆ่าเด็ก 3 รายแรก ที่อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ก่อนที่จะหลบหนีไป และก่อเหตุอีกหลายครั้งที่กรุงเทพฯ นครปฐม และระยอง จนถูกจบได้คาที่เกิดเหตุ ซีอุยยอมรับสารภาพว่าเป็นคนลงมือทั้ง 7 คดี มีเด็กอย่างน้อย 6 คนที่ถูกซีอุยสังหาร และจิตแพทย์ลงความเห็นว่า ซีอุยไม่ได้เป็นบ้า สุดท้ายเขาถูกจับขังคุกและประหารชีวิตด้วยการยิงเป้า
หลังจากนั้นมีผู้สนใจศึกษาเรื่องราวและคดีนี้มากมาย มีหลักฐานพยานและรูปคดีที่บ่งชี้ว่า ซีอุยไม่ได้ฆ่าเด็กทุกคน มีเพียงเด็กคนสุดท้ายเท่านั้นที่เป็นหลักฐานมัดตัว และยังมีข้อกังขาเกี่ยวกับรูปคดีอีกหลายอย่าง ซึ่งเรื่องจริงทั้งหมดจะเป็นอย่างไรนั้นเราก็ไม่อยากทราบได้แน่ชัด
แต่ที่รู้แน่ๆก็คือ ปัจจุบันศพของซีอุยถูกเก็บเพื่อนำมาตรวจสอบ โดยเก็บรักษาไว้ที่โรงพยาบาลศิริราช โดยนอกจากซีอุยแล้วยังมีนักโทษประหารคดีข่มขืนแล้วฆ่าอีกด้วย ซึ่งศพเหล่านี้จะถูกฉีดน้ำยาฟอร์มาลินเข้าในหลอดเลือด มีลักษณะผิวหนังแห้งแต่ยังคงรูปร่างอยู่ได้
ส่วนต่อไปจัดแสดงเรื่อง “พิพิธภัณฑ์ทางวัตถุพยาน” ได้มีการแสดงวัตถุพยานในคดีสำคัญ เช่น คดีนวลฉวี ซึ่งถูกฆาตกรรมอย่างโหดเหี้ยม เป็นคดีที่โด่งดังมากในสมัยนั้นเลยทีเดียว เพราะเป็นคดีแรกที่คนอาชีพหมอฆ่าคนเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของไทย
เรื่องราวในคดีนี้ เริ่มจากการที่นางพยาบาลสาวนวลฉวี เพชรรุ่ง และหมออธิป สุญาณเศรษฐกรได้บังเอิญเจอกันและพบรักกันที่จังหวัดลำปาง ทั้งสองคนอยู่กันคนละจังหวัดแต่ก็ติดต่อกันเรื่อยมาจนได้กลับมาเจอกันอีกครั้งที่กรุงเทพฯ ความรักของคนสองคนดำเนินไปอย่างหวานชื่น จนเมื่อหมออธิปปันใจให้กับนางสาวสมบูรณ์ สืบสมาน นักศึกษาสาวสวย และเป็นเพื่อนตั้งแต่เด็กของหมออธิป
ฝ่ายนวลฉวีเริ่มระแคะระคายในความรัก ด้วยความหึงหวงเธอถึงกลับใช้วิธีต่างๆ เพื่อจับหมออธิปให้อยู่หมัด โดยการตามไปนั่งเฝ้าหมอในที่ทำงาน ตามทุกหนทุกแห่งเหมือนเงาตามตัว จนหมออธิปยอมจดทะเบียนสมรสด้วย แต่เมื่อสมบูรณ์รู้ หมออธิปก็จดทะเบียนซ้อนกับสมบูรณ์ด้วย
จากนั้นมานวลฉวีและสมบูรณ์ก็มีเรื่องระหองระแหงกันเรื่อยมา นวลฉวีพยายามทำทุกอย่างเพื่อให้ความรักอันแสนหวานของเธอกลับคืนมา โดยบอกครอบครัวว่าเธอกับหมออธิปจะแต่งงานกัน แต่หมออธิปไม่รู้เรื่อง บ้างก็บอกพ่อว่าเธอได้เสียกับหมอแล้ว หมออธิปรู้ข่าวเลยบอกว่าจะเลี้ยงดูนวลฉวีให้ บ้างก็ใช้วิธีขนของจะไปอยู่กับครอบครัวของหมออธิป โดยที่หมอไม่รู้เรื่อง
เหตุการณ์ต่างๆสร้างความหงุดหงิดรำคาญใจให้กับหมออธิปเป็นอย่างมาก จนบางครั้งมีการทะเลาะกันจนถึงขั้นทำร้ายร่างกาย เรื่องถึงตำรวจหลายครั้ง จนหมออดรนทนไม่ไหวจึงได้วางแผนกับเพื่อนๆเพื่อกำจัดนวลฉวีให้พ้นทาง ในที่สุดนวลฉวีก็ได้ถูกลวงให้ไปพบและถูกฆาตกรรมโดยถูกแทงจนเลือดตกในมากและสิ้นใจก่อนถูกโยนลงแม่น้ำที่จังหวัดนนทบุรี
จากการสืบสวนต่างๆนานา พิพากษาตัดสินว่าหมออธิปฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และฐานก่อให้คนอื่นกระทำความผิดให้ต้องโทษประหารชีวิต แต่ครอบครัวของหมอก็วิ่งเต้นช่วยอย่างหนัก กอปรกับมีวันมงคลได้รับอานิสงค์ในการอภัยโทษ หมออธิปจึงถูกจำคุกเพียง 1 ปีเศษเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม หลังหมออธิปพ้นโทษ หมอป่วยต้องเข้าออกโรงพยาบาลอยู่ตลอดจนสิ้นใจตายคาเตียง
โดยวัตถุพยานในคดีนวลฉวีที่ได้จัดแสดงไว้ก็คือ ชุดที่สวมใส่ตอนเสียชีวิต และมีดของกลาง นาฬิกาข้อมือ และสมุดบันทึกของนวลฉวี นอกจากนั้นในส่วนนี้ยังมีการจัดแสดงการหาระยะยิงต่างๆ ด้วยปืนขนาด 11 มม. ที่กะโหลกศีรษะ ในการพิสูจน์คดีลอบปลงพระชนม์รัชกาลที่ 8 โดยศาสตราจารย์นายแพทย์สงกรานต์ นิยมเสน เป็นผู้ทำการทดลองทางนิติเวชศาสตร์เป็นครั้งแรกในประเทศไทย รวมทั้งยังมีตู้เก็บเครื่องมือที่ใช้ตรวจพระบรมศพในครั้งนั้นด้วย
ต่อไปเป็นส่วนจัดแสดงเรื่อง “พิพิธภัณฑ์ทางพิษวิทยา” แสดงยาเสพติด ฝิ่น เฮโรอีน ใบกระท่อม กัญชา รวมถึงอุปกรณ์ที่ใช้ดูดฝิ่น และเครื่องมือในการใช้ยาเสพติดฉีดเข้าหลอดเลือด อีกทั้งยังแสดงอวัยวะที่ได้รับอันตรายจากสารพิษ เช่น กรด และด่างอย่างแรงในกระเพาะอาหาร พิษสารฆ่าวัชพืช เป็นต้น
ต่อด้วย “พิพิธภัณฑ์ทางนิติพยาธิ” ในส่วนนี้ได้จัดเก็บชิ้นส่วนอวัยวะต่างๆของบุคคลที่ตายโดยธรรมชาติและผิดธรรมชาติชนิดต่างๆ แสดงให้เห็นโรคชนิดต่างๆที่ทำให้คนตาย เช่น เลือดออกในสมองจากความดันโลหิตสูง โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย โรคปอดอักเสบ โรงตับแข็ง เป็นต้น
และในส่วนสุดท้าย จัดแสดงเรื่อง “พิพิธภัณฑ์ทางนิติกระดูก” แสดงการเปรียบเทียบกระดูกของสัตว์กับกระดูกของคน เปรียบเทียบอายุคนจากลักษณะของกะโหลก และยังจัดแสดงโครงกระดูกของศาสตราจารย์นายแพทย์สงกรานต์ นิยมเสน ผู้บุกเบิกวิชานิติเวชศาสตร์ในประเทศไทย ด้วย
ซึ่งนอกจากนี้ ศิริราชยังมีพิพิธภัณฑ์อีกหลายแห่งด้วยกัน ได้แก่ พิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์ คองดอน, พิพิธภัณฑ์พยาธิวิทยาเอลลิส, พิพิธภัณฑ์ปรสิตวิทยา, พิพิธภัณฑ์ประวัติการแพทย์ไทย อวย เกตุสิงห์, พิพิธภัณฑ์และห้องปฏิบัติการเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์ สุด แสงวิเชียร
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
“พิพิธภัณฑ์นิติเวชศาสตร์ สงกรานต์ นิยมเสน” ตั้งอยู่ที่ชั้น 2 ตึกอดุลยเดชวิกรม โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพฯ เปิดวันจันทร์-เสาร์ เวลา 9.00-16.00 น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ อัตราค่าเข้าชม(ทั้ง 6 พิพิธภัณฑ์ของศิริราช) คนไทย 20 บ. ชาวต่างชาติ 40 บ. เด็ก, นักเรียน และภิกษุ ชมฟรี สอบถามโทร. 0-2419-6363
* * * คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของผู้จัดการท่องเที่ยว Travel @ Manager on Facebook รับข่าวสารทั้งเรื่องกินเรื่องเที่ยวแบบรวดเร็วทันใจ และร่วมสนุกกับกิจกรรมลุ้นรับของรางวัลมากมาย คลิกที่นี่เลย!!
“มืดๆค่ำๆอย่าออกไปเล่นนอกบ้าน เดี๋ยวซีอุยมากินตับ”
ประโยคนี้เป็นประโยคที่แม่ใช้ขู่ฉันบ่อยๆเมื่อสมัยยังเด็ก ทั้งที่ฉันยังไม่รู้จักเลยว่าซีอุยคือใครแต่ก็กลัวทุกครั้งที่ได้ยิน เมื่อโตขึ้นเรื่องราวของซีอุยค่อยๆลบเลือนไป จนฉันได้มาพบกับเขาอีกครั้งใน “พิพิธภัณฑ์ซีอุย” หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า “พิพิธภัณฑ์นิติเวชศาสตร์ สงกรานต์ นิยมเสน” โรงพยาบาลศิริราช
โดยพิพิธภัณฑ์แห่งนี้จัดตั้งขึ้นในสมัยที่ศาสตราจารย์นายแพทย์สงกรานต์ นิยมเสน ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าสาขานิติเวชศาสตร์ เพื่อใช้เป็นสถานที่เก็บรวบรวมและแสดงในวิชานิติเวชศาสตร์แขนงต่างๆ รวมทั้งคดีที่น่าสนใจบางคดีทางอาญาและทางแพ่ง
โดยคดีฆาตกรรมที่ครึกโครมในอดีตอย่าง “คดีซีอุย” ก็ได้ถูกจัดแสดงไว้ในส่วนแรกก็คือ “สิ่งแสดงเกี่ยวกับศพ” โดยคดีซีอุยนี้เป็นคดีระทึกขวัญในช่วง พ.ศ. 2497-2501 ที่สร้างความหวาดกลัวไปทั่วประเทศ รายละเอียดของคดีมีอยู่ว่า ซีอุยอาศัยอยู่ในประเทศจีน มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ลำบากตั้งแต่เด็ก ตัวเล็กและมักถูกคนอื่นรังแก จนวันหนึ่งเขาได้พบนักบวชรูปหนึ่งที่แนะนำเขาว่า ถ้าอยากจะมีร่างกายแข็งแรงต้องกินเนื้อหรืออวัยวะมนุษย์ ซึ่งคำสอนนี้ได้ฝังอยู่ในใจซีอุยเสมอมา
ต่อมาซีอุยถูกเกณฑ์ไปเป็นทหารและถูกส่งไปในสมรภูมิรบ เขาต้องเผชิญกับความลำบากและเสี่ยงเป็นเสี่ยงตายเป็นเวลานาน เพื่อนทหารก็ทยอยตายไปเรื่อยๆ อาหารก็ขาดแคลน ซีอุยหิวกระหายอย่างหนักจนทนไม่ไหว ท่ามกลางศพที่ตายเกลื่อน เขาคิดได้ว่านี่แหละคืออาหารชั้นหนึ่ง เขาจึงใช้มีดพกคู่กายกรีดศพเพื่อนทหารด้วยกันอย่างเลือดเย็นตั้งแต่หน้าอกจนถึงหน้าท้อง ควักหัวใจ ตับ และไส้ออก มาต้มกิน อย่างไม่สนใจใคร
เมื่อสงครามสงบแต่บ้านเมืองยากจนข้นแค้น ซีอุยจึงได้อพยพมาหางานทำในเมืองไทยโดยการรับจ้างทำสวนผัก และรับจ้างทั่วไปเป็นเวลานานถึง 8 ปี ก่อนที่ซีอุยจะก่ออาชญากรรมขึ้น จากการทำงานหนัก ร่างกายของเขาทรุดลง จิตใจหงุดหงิด คำแนะนำของนักบวชจึงผุดขึ้นมาในสมองอีกครั้งหนึ่ง
ซีอุยได้จับเด็กมาผ่าเอาตับมากินโดยเชื่อว่าเป็นยาอายุวัฒนะ โดยได้ทำการฆ่าเด็ก 3 รายแรก ที่อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ก่อนที่จะหลบหนีไป และก่อเหตุอีกหลายครั้งที่กรุงเทพฯ นครปฐม และระยอง จนถูกจบได้คาที่เกิดเหตุ ซีอุยยอมรับสารภาพว่าเป็นคนลงมือทั้ง 7 คดี มีเด็กอย่างน้อย 6 คนที่ถูกซีอุยสังหาร และจิตแพทย์ลงความเห็นว่า ซีอุยไม่ได้เป็นบ้า สุดท้ายเขาถูกจับขังคุกและประหารชีวิตด้วยการยิงเป้า
หลังจากนั้นมีผู้สนใจศึกษาเรื่องราวและคดีนี้มากมาย มีหลักฐานพยานและรูปคดีที่บ่งชี้ว่า ซีอุยไม่ได้ฆ่าเด็กทุกคน มีเพียงเด็กคนสุดท้ายเท่านั้นที่เป็นหลักฐานมัดตัว และยังมีข้อกังขาเกี่ยวกับรูปคดีอีกหลายอย่าง ซึ่งเรื่องจริงทั้งหมดจะเป็นอย่างไรนั้นเราก็ไม่อยากทราบได้แน่ชัด
แต่ที่รู้แน่ๆก็คือ ปัจจุบันศพของซีอุยถูกเก็บเพื่อนำมาตรวจสอบ โดยเก็บรักษาไว้ที่โรงพยาบาลศิริราช โดยนอกจากซีอุยแล้วยังมีนักโทษประหารคดีข่มขืนแล้วฆ่าอีกด้วย ซึ่งศพเหล่านี้จะถูกฉีดน้ำยาฟอร์มาลินเข้าในหลอดเลือด มีลักษณะผิวหนังแห้งแต่ยังคงรูปร่างอยู่ได้
ส่วนต่อไปจัดแสดงเรื่อง “พิพิธภัณฑ์ทางวัตถุพยาน” ได้มีการแสดงวัตถุพยานในคดีสำคัญ เช่น คดีนวลฉวี ซึ่งถูกฆาตกรรมอย่างโหดเหี้ยม เป็นคดีที่โด่งดังมากในสมัยนั้นเลยทีเดียว เพราะเป็นคดีแรกที่คนอาชีพหมอฆ่าคนเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของไทย
เรื่องราวในคดีนี้ เริ่มจากการที่นางพยาบาลสาวนวลฉวี เพชรรุ่ง และหมออธิป สุญาณเศรษฐกรได้บังเอิญเจอกันและพบรักกันที่จังหวัดลำปาง ทั้งสองคนอยู่กันคนละจังหวัดแต่ก็ติดต่อกันเรื่อยมาจนได้กลับมาเจอกันอีกครั้งที่กรุงเทพฯ ความรักของคนสองคนดำเนินไปอย่างหวานชื่น จนเมื่อหมออธิปปันใจให้กับนางสาวสมบูรณ์ สืบสมาน นักศึกษาสาวสวย และเป็นเพื่อนตั้งแต่เด็กของหมออธิป
ฝ่ายนวลฉวีเริ่มระแคะระคายในความรัก ด้วยความหึงหวงเธอถึงกลับใช้วิธีต่างๆ เพื่อจับหมออธิปให้อยู่หมัด โดยการตามไปนั่งเฝ้าหมอในที่ทำงาน ตามทุกหนทุกแห่งเหมือนเงาตามตัว จนหมออธิปยอมจดทะเบียนสมรสด้วย แต่เมื่อสมบูรณ์รู้ หมออธิปก็จดทะเบียนซ้อนกับสมบูรณ์ด้วย
จากนั้นมานวลฉวีและสมบูรณ์ก็มีเรื่องระหองระแหงกันเรื่อยมา นวลฉวีพยายามทำทุกอย่างเพื่อให้ความรักอันแสนหวานของเธอกลับคืนมา โดยบอกครอบครัวว่าเธอกับหมออธิปจะแต่งงานกัน แต่หมออธิปไม่รู้เรื่อง บ้างก็บอกพ่อว่าเธอได้เสียกับหมอแล้ว หมออธิปรู้ข่าวเลยบอกว่าจะเลี้ยงดูนวลฉวีให้ บ้างก็ใช้วิธีขนของจะไปอยู่กับครอบครัวของหมออธิป โดยที่หมอไม่รู้เรื่อง
เหตุการณ์ต่างๆสร้างความหงุดหงิดรำคาญใจให้กับหมออธิปเป็นอย่างมาก จนบางครั้งมีการทะเลาะกันจนถึงขั้นทำร้ายร่างกาย เรื่องถึงตำรวจหลายครั้ง จนหมออดรนทนไม่ไหวจึงได้วางแผนกับเพื่อนๆเพื่อกำจัดนวลฉวีให้พ้นทาง ในที่สุดนวลฉวีก็ได้ถูกลวงให้ไปพบและถูกฆาตกรรมโดยถูกแทงจนเลือดตกในมากและสิ้นใจก่อนถูกโยนลงแม่น้ำที่จังหวัดนนทบุรี
จากการสืบสวนต่างๆนานา พิพากษาตัดสินว่าหมออธิปฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และฐานก่อให้คนอื่นกระทำความผิดให้ต้องโทษประหารชีวิต แต่ครอบครัวของหมอก็วิ่งเต้นช่วยอย่างหนัก กอปรกับมีวันมงคลได้รับอานิสงค์ในการอภัยโทษ หมออธิปจึงถูกจำคุกเพียง 1 ปีเศษเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม หลังหมออธิปพ้นโทษ หมอป่วยต้องเข้าออกโรงพยาบาลอยู่ตลอดจนสิ้นใจตายคาเตียง
โดยวัตถุพยานในคดีนวลฉวีที่ได้จัดแสดงไว้ก็คือ ชุดที่สวมใส่ตอนเสียชีวิต และมีดของกลาง นาฬิกาข้อมือ และสมุดบันทึกของนวลฉวี นอกจากนั้นในส่วนนี้ยังมีการจัดแสดงการหาระยะยิงต่างๆ ด้วยปืนขนาด 11 มม. ที่กะโหลกศีรษะ ในการพิสูจน์คดีลอบปลงพระชนม์รัชกาลที่ 8 โดยศาสตราจารย์นายแพทย์สงกรานต์ นิยมเสน เป็นผู้ทำการทดลองทางนิติเวชศาสตร์เป็นครั้งแรกในประเทศไทย รวมทั้งยังมีตู้เก็บเครื่องมือที่ใช้ตรวจพระบรมศพในครั้งนั้นด้วย
ต่อไปเป็นส่วนจัดแสดงเรื่อง “พิพิธภัณฑ์ทางพิษวิทยา” แสดงยาเสพติด ฝิ่น เฮโรอีน ใบกระท่อม กัญชา รวมถึงอุปกรณ์ที่ใช้ดูดฝิ่น และเครื่องมือในการใช้ยาเสพติดฉีดเข้าหลอดเลือด อีกทั้งยังแสดงอวัยวะที่ได้รับอันตรายจากสารพิษ เช่น กรด และด่างอย่างแรงในกระเพาะอาหาร พิษสารฆ่าวัชพืช เป็นต้น
ต่อด้วย “พิพิธภัณฑ์ทางนิติพยาธิ” ในส่วนนี้ได้จัดเก็บชิ้นส่วนอวัยวะต่างๆของบุคคลที่ตายโดยธรรมชาติและผิดธรรมชาติชนิดต่างๆ แสดงให้เห็นโรคชนิดต่างๆที่ทำให้คนตาย เช่น เลือดออกในสมองจากความดันโลหิตสูง โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย โรคปอดอักเสบ โรงตับแข็ง เป็นต้น
และในส่วนสุดท้าย จัดแสดงเรื่อง “พิพิธภัณฑ์ทางนิติกระดูก” แสดงการเปรียบเทียบกระดูกของสัตว์กับกระดูกของคน เปรียบเทียบอายุคนจากลักษณะของกะโหลก และยังจัดแสดงโครงกระดูกของศาสตราจารย์นายแพทย์สงกรานต์ นิยมเสน ผู้บุกเบิกวิชานิติเวชศาสตร์ในประเทศไทย ด้วย
ซึ่งนอกจากนี้ ศิริราชยังมีพิพิธภัณฑ์อีกหลายแห่งด้วยกัน ได้แก่ พิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์ คองดอน, พิพิธภัณฑ์พยาธิวิทยาเอลลิส, พิพิธภัณฑ์ปรสิตวิทยา, พิพิธภัณฑ์ประวัติการแพทย์ไทย อวย เกตุสิงห์, พิพิธภัณฑ์และห้องปฏิบัติการเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์ สุด แสงวิเชียร
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
“พิพิธภัณฑ์นิติเวชศาสตร์ สงกรานต์ นิยมเสน” ตั้งอยู่ที่ชั้น 2 ตึกอดุลยเดชวิกรม โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพฯ เปิดวันจันทร์-เสาร์ เวลา 9.00-16.00 น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ อัตราค่าเข้าชม(ทั้ง 6 พิพิธภัณฑ์ของศิริราช) คนไทย 20 บ. ชาวต่างชาติ 40 บ. เด็ก, นักเรียน และภิกษุ ชมฟรี สอบถามโทร. 0-2419-6363
* * * คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของผู้จัดการท่องเที่ยว Travel @ Manager on Facebook รับข่าวสารทั้งเรื่องกินเรื่องเที่ยวแบบรวดเร็วทันใจ และร่วมสนุกกับกิจกรรมลุ้นรับของรางวัลมากมาย คลิกที่นี่เลย!!