โดย : หนุ่มลูกทุ่ง
หลังจากมีข่าวพบชิ้นส่วนมนุษย์ในกล่องพัสดุที่เตรียมส่งไปยังสหรัฐอเมริกา และคาดว่ามีการขโมยออกไปจากพิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ซึ่งทางศิริราชพยาบาลก็ได้มีการแจ้งความของหายจำนวน 5 ชิ้น และต้องมีการติดตามตรวจสอบต่อไป
สำหรับ "พิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์" นั้นเป็นอย่างไร ฉันจะชวนมาทำความรู้จักไปพร้อมๆ กัน
พิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์ หรือในชื่อเต็มคือ “พิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์ คองดอน” โรงพยาบาลศิริราช เป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์ทางการแพทย์ที่เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าไปเรียนรู้ อย่างในครั้งนี้ฉันก็ได้เข้าไปชม โดยมี คุณนันท์นภัส ปฐพีธนวิทย์ เจ้าหน้าที่ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ เป็นผู้นำชมและบรรยายให้ฟัง
คุณนันท์นภัสเล่าว่า ในสมัยช่วงแรกๆ ประมาณ พ.ศ.2466 ศิริราชได้รับความร่วมมือจากมูลนิธิรอคกี้เฟลเลอร์ ส่งผู้เชี่ยวชาญมาช่วยจัดการเรียนการสอนที่ศิริราชในหลากหลายสาขาวิชา หนึ่งในนั้นคือกายวิภาคศาสตร์ ซึ่งทางมูลนิธิฯได้ส่งคนมาวางแผนสร้างตึก และต่อมาได้ส่ง ศาสตราจารย์ คองดอน (E.D. Congdon) มาเขียนตำรา เตรียมอุปกรณ์การสอน มาชำแหละอาจารย์ใหญ่ ส่วนต่างๆของร่างกายและระบายสีหลอดเลือดเส้นประสาทด้วยวิธี Albuminous paint ซึ่งสามารถเก็บในแอลกอฮอล์ และจัดห้องไว้สำหรับทำเป็นพิพิธภัณฑ์ และเปิดทำการอย่างจริงจังในปี พ.ศ.2491
นอกจากนี้คุณนันท์นภัสได้พูดถึงการเรียนกายวิภาคศาสตร์ว่า “เป็นการเรียนเรื่องการเป็นปกติของอวัยวะมนุษย์ เรียนเพื่อให้รู้ว่าอวัยวะนี้กำเนิดขึ้นมาจากไหน มีรูปพรรณสัณฐานที่ตั้งอย่างไร มีอวัยวะอะไรอยู่ใกล้ๆกัน เราจะเรียนให้รู้ว่าอวัยวะนี้เจริญมาจากเนื้อเยื้ออย่างไร พอเราเรียนแล้วรู้ว่าอวัยวะนี้เกิดขึ้นมาแบบนี้ พอโตขึ้นมามันจะอยู่ตรงไหน แล้วดูให้เห็นก่อนด้วยการชำแหละออกมาดู"
“ต่อจากนั้นถ้าเราอยากรู้ว่าเนื้อเยื่อที่มาประกอบเป็นอวัยวะนี้มันเป็นลักษณะเซลล์อย่างไร เราก็เอาอวัยวะนั้นมาหั่น มาตัดให้บางด้วยมีด แล้วมาส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ ให้เห็นความแตกต่างของเซลล์ด้วยการย้อมสี อีกอย่างคือดูว่าอวัยวะนั้นมีความสัมพันธ์กันกับอวัยวะข้างเคียงอย่างไร"
“นอกเหนือจากมันมีหลอดเลือด มีเส้นประสาทอะไรมาสนับสนุน ถ้าอวัยวะนี้มีความผิดปกติของการเจริญ เราต้องอธิบายให้ได้ว่าความผิดปกติเกิดที่ขั้นตอนใดของการเจริญเติบโต จะส่งผลอย่างไร เกิดความพิการแบบไหน ถ้าเกิดในระบบประสาท สมองส่วนนี้มีความผิดปกติมันจะสะท้อนท่าทางหรือลักษณะของร่างกายออกมาอย่างไร”
เอาล่ะ เมื่อรู้พอสังเขปแล้วว่ากายวิภาคศาสตร์เขาเกี่ยวกับอะไรบ้าง ก็ได้เวลาเข้าไปเห็นของจริงภายในพิพิธภัณฑ์ฯ โดยพิพิธภัณฑ์แห่งนี้แบ่งออกเป็น 2 ห้อง ด้วยกัน ห้องแรกได้แก่ “ห้องกายวิภาคศาสตร์ทั่วไป” จัดแสดงระบบอวัยวะร่างกายของคนทุกระบบ จัดแสดงอวัยวะที่เป็นปกติ และความพิเศษหรือความหลากหลายทางกายวิภาคศาสตร์ ของที่จัดแสดงส่วนใหญ่เป็นของจริงที่ได้จากการบริจาค เป็นเต็มตัวก็มี ชิ้นส่วนอวัยวะก็มี
แต่บางอย่างถ้าเล็กเกินไป เป็นชิ้นส่วนเล็กๆ อวัยวะเล็กๆ เราจะศึกษาด้วยหุ่นจำลองก่อน อย่างหูชั้นในเป็นส่วนที่สำคัญ ส่วนก้นหอยเป็นส่วนของการรับเสียงการได้ยิน ส่วนที่เป็นท่อครึ่งวงกลม3ท่อเป็นส่วนของการทรงตัว ซึ่งมันเล็กมาก ดูด้วยตาเปล่าไม่เห็น เราต้องศึกษาเป็น 3 มิติคู่กัน
โดยตู้ที่จัดแสดงเริ่มตั้งแต่ ตู้แสดงเรื่องของ “อวัยวะรับสัมผัสพิเศษ” ได้แก่ พวกตา หู จมูก ลิ้น และตู้สุดท้ายของแถวแรกเป็นเรื่องของการแสดง “การเจริญเติบโตของใบหน้าและฟัน” เรื่องความผิดปกติของการเจริญบนใบหน้าพบบ่อยมาก ผิดปกติมาตั้งแต่กำเนิด เช่น พวกปากแหว่งเพดานโหว่
ตู้แถวที่สองเป็นเรื่องของ “ระบบประสาท หัวใจ และหลอดเลือด” ตั้งแต่พัฒนาการของระบบสัตว์ ว่าพัฒนามาจากเนื้อเยื่ออะไร สัปดาห์ที่เท่านี้มีอะไรเกิดขึ้น แล้วท้ายที่สุดเจริญไปเป็นสมองทั้งก้อนอย่างไร แล้วสมองทั้งก้อนแบ่งพื้นที่อย่างไร เรียกว่าอะไรบ้าง เราใช้สัตว์มาใช้ในการเปรียบเทียบกับคน สัตว์ที่ใกล้เคียงกับคนเราคือสัตว์มีกระดูกสันหลัง และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ตรงส่วนนี้มีสมองของสัตว์มาให้ดูเปรียบเทียบกันด้วยได้แก่ กระต่าย แมว สุนัข ชะนี
และที่พลาดไม่ได้คือ 3 ตู้ไฮไลท์ของพิพิธภัณฑ์ ได้แก่ ระบบหลอดเลือดแดงทั้งร่างกาย, กล้ามเนื้อและหลอดเลือดดำ และระบบประสาททั้งร่างกาย ซึ่งผลงานชิ้นเด่นๆนี้ถูกชำแหละโดย รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงเพทาย ศิริการุณ ซึ่งเป็นสิ่งแสดงทางกายวิภาคที่มีอยู่ชิ้นเดียวในโลกก็ว่าได้
ต่อไปเป็นตู้จัดแสดง “การเจริญเติบโตของทารก” แสดงการเจริญเติบโตตามอายุตั้งแต่เอ็มบริโอ (Embryo) ขนาดเล็ก ทารกในครรภ์ จนถึงคลอด รวมถึงมดลูกและรก
ถัดไปเป็น “โครงกระดูกของศาสตราจารย์นายแพทย์สุด แสงวิเชียร” อ.หมอสุดเป็นนักเรียนแพทย์ของศิริราช ท่านเรียนเก่งมากจนได้เป็นครูผู้ช่วยของ อ.คองดอน พอเรียนจบแล้วได้ไปเรียนต่อที่เมืองนอก โดยเรียนวิชาแพทย์และเรียนวิชาการทำสื่อการเรียนการสอน เรียนว่าโมเดลทำอย่างไร สไลด์ลูกไก่ทำอย่างไร
ต่อด้วย “ตู้เด็กที่ผิดปกติตั้งแต่กำเนิด” ชนิดต่างๆ และเรื่องของ “ฝาแฝด” โดยฝาแฝดที่รู้จักกันมี 2 แบบ คือ แฝดที่มาจากไข่ใบเดียวกัน หรือแฝดแท้ มีโครโมโซมเหมือนกัน หน้าตาเหมือนกัน เพศเดียวกัน กับแฝดที่มาจากไข่คนละใบ โครโมโซมไม่เหมือนกัน หน้าตาไม่เหมือนกัน คนละเพศก็ได้ ถ้าตัวอ่อนเจริญช้า แยกออกจากกันช้า มีบางส่วนซ้อนทับกันอยู่ แม่จะได้ลูกอ่อนที่ตัวติดกัน ซึ่งติดกันได้ตั้งแต่ศีรษะไปจนถึงก้น และมีแฝดสยามหรืออิน-จัน ด้วย
นอกจากนี้ยังมีตู้แสดงอวัยวะภายในร่างกายเรา ระบบหายใจ ระบบขับถ่าย ระบบย่อยอาหาร ระบบสืบพันธุ์ ระบบน้ำเหลือง ต่อมต่างๆ ตู้แสดงร่างกายตัดขวางตั้งแต่ศีรษะจนถึงปลายเท้า เพื่อดูอวัยวะที่อยู่ในระนาบเดียวกัน ตัดหนาประมาณ 1 นิ้ว ดูว่าในแต่ละระดับที่ตัดผ่านอวัยวะอะไรบ้าง ซึ่งใช้ประโยชน์มากใน C.T. Scan ด้วย
ส่วนอีกหนึ่งห้องที่อยู่ติดกันคือ “ห้องกระดูกและข้อ” แสดงเรื่องราวเกี่ยวกับกระดูกทุกชิ้นของร่างกาย รวมทั้งกะโหลกซึ่งแยกเป็นชิ้นๆ แสดงส่วนประกอบของกระดูก การคาดคะเนอายุจากกระดูก แสดงกระดูกที่ผิดปกติเนื่องจากความผิดปกติของสารที่หลั่งจากต่อมไร้ท่อ แสดงข้อต่อชนิดต่างๆของร่างกาย
นอกจากนี้ยังมีโครงกระดูกของบุคคลสำคัญในวงการแพทย์แสดงอยู่ด้วย เช่น อาจารย์หมอโกศล กันตะบุตร, พระยาศราภัยพิพัฒ, พระยาอุปกิตศิลปสาร ซึ่งท่านเป็นผู้บริจาคร่างกายคนแรก เป็นอาจารย์ใหญ่คนแรกของศิริราช ท่านเหล่านี้เมื่อก่อนใช้เรียนจริงๆ กระดูกอาจารย์ถูกจับถูกเรียนมาเยอะ เมื่อมีคนบริจาคเยอะขึ้น และอาจารย์เป็นบุคคลสำคัญ เราจึงเชิญอาจารย์มาไว้ในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้
เมื่อชมพิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์ คองดอนเสร็จแล้ว ทำให้เรารู้จักร่างกายของเราเองมากขึ้นสมกับชื่อของพิพิธภัณฑ์โดยแท้ ใครที่สนใจก็สามารถมาชมมาเห็นของจริงๆด้วยตาตนเองได้ ซึ่งนอกจากนี้ศิริราชยังมีพิพิธภัณฑ์อีกหลายแห่งด้วยกัน ได้แก่ พิพิธภัณฑ์นิติเวชศาสตร์ สงกรานต์ นิยมเสน, พิพิธภัณฑ์พยาธิวิทยาเอลลิส, พิพิธภัณฑ์ปรสิตวิทยา, พิพิธภัณฑ์ประวัติการแพทย์ไทย อวย เกตุสิงห์, พิพิธภัณฑ์และห้องปฏิบัติการเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์ สุด แสงวิเชียร ซึ่งฉันขอเก็บไว้นำเสนอในครั้งต่อๆไป
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
“พิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์ คองดอน” ตั้งอยู่ที่ชั้น 3 อาคารกายวิภาคศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช ถ.พรานนก แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ เปิดวันจันทร์-เสาร์ เวลา 9.00-16.00 น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ อัตราค่าเข้าชม(ทั้ง 6 พิพิธภัณฑ์ของศิริราช) คนไทย 20 บ. ชาวต่างชาติ 40 บ. เด็ก, นักเรียน และภิกษุ ชมฟรี สอบถามโทร. 0-2419-6363
* * * คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของผู้จัดการท่องเที่ยว Travel @ Manager on Facebook รับข่าวสารทั้งเรื่องกินเรื่องเที่ยวแบบรวดเร็วทันใจ และร่วมสนุกกับกิจกรรมลุ้นรับของรางวัลมากมาย คลิกที่นี่เลย!!
หลังจากมีข่าวพบชิ้นส่วนมนุษย์ในกล่องพัสดุที่เตรียมส่งไปยังสหรัฐอเมริกา และคาดว่ามีการขโมยออกไปจากพิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ซึ่งทางศิริราชพยาบาลก็ได้มีการแจ้งความของหายจำนวน 5 ชิ้น และต้องมีการติดตามตรวจสอบต่อไป
สำหรับ "พิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์" นั้นเป็นอย่างไร ฉันจะชวนมาทำความรู้จักไปพร้อมๆ กัน
พิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์ หรือในชื่อเต็มคือ “พิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์ คองดอน” โรงพยาบาลศิริราช เป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์ทางการแพทย์ที่เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าไปเรียนรู้ อย่างในครั้งนี้ฉันก็ได้เข้าไปชม โดยมี คุณนันท์นภัส ปฐพีธนวิทย์ เจ้าหน้าที่ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ เป็นผู้นำชมและบรรยายให้ฟัง
คุณนันท์นภัสเล่าว่า ในสมัยช่วงแรกๆ ประมาณ พ.ศ.2466 ศิริราชได้รับความร่วมมือจากมูลนิธิรอคกี้เฟลเลอร์ ส่งผู้เชี่ยวชาญมาช่วยจัดการเรียนการสอนที่ศิริราชในหลากหลายสาขาวิชา หนึ่งในนั้นคือกายวิภาคศาสตร์ ซึ่งทางมูลนิธิฯได้ส่งคนมาวางแผนสร้างตึก และต่อมาได้ส่ง ศาสตราจารย์ คองดอน (E.D. Congdon) มาเขียนตำรา เตรียมอุปกรณ์การสอน มาชำแหละอาจารย์ใหญ่ ส่วนต่างๆของร่างกายและระบายสีหลอดเลือดเส้นประสาทด้วยวิธี Albuminous paint ซึ่งสามารถเก็บในแอลกอฮอล์ และจัดห้องไว้สำหรับทำเป็นพิพิธภัณฑ์ และเปิดทำการอย่างจริงจังในปี พ.ศ.2491
นอกจากนี้คุณนันท์นภัสได้พูดถึงการเรียนกายวิภาคศาสตร์ว่า “เป็นการเรียนเรื่องการเป็นปกติของอวัยวะมนุษย์ เรียนเพื่อให้รู้ว่าอวัยวะนี้กำเนิดขึ้นมาจากไหน มีรูปพรรณสัณฐานที่ตั้งอย่างไร มีอวัยวะอะไรอยู่ใกล้ๆกัน เราจะเรียนให้รู้ว่าอวัยวะนี้เจริญมาจากเนื้อเยื้ออย่างไร พอเราเรียนแล้วรู้ว่าอวัยวะนี้เกิดขึ้นมาแบบนี้ พอโตขึ้นมามันจะอยู่ตรงไหน แล้วดูให้เห็นก่อนด้วยการชำแหละออกมาดู"
“ต่อจากนั้นถ้าเราอยากรู้ว่าเนื้อเยื่อที่มาประกอบเป็นอวัยวะนี้มันเป็นลักษณะเซลล์อย่างไร เราก็เอาอวัยวะนั้นมาหั่น มาตัดให้บางด้วยมีด แล้วมาส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ ให้เห็นความแตกต่างของเซลล์ด้วยการย้อมสี อีกอย่างคือดูว่าอวัยวะนั้นมีความสัมพันธ์กันกับอวัยวะข้างเคียงอย่างไร"
“นอกเหนือจากมันมีหลอดเลือด มีเส้นประสาทอะไรมาสนับสนุน ถ้าอวัยวะนี้มีความผิดปกติของการเจริญ เราต้องอธิบายให้ได้ว่าความผิดปกติเกิดที่ขั้นตอนใดของการเจริญเติบโต จะส่งผลอย่างไร เกิดความพิการแบบไหน ถ้าเกิดในระบบประสาท สมองส่วนนี้มีความผิดปกติมันจะสะท้อนท่าทางหรือลักษณะของร่างกายออกมาอย่างไร”
เอาล่ะ เมื่อรู้พอสังเขปแล้วว่ากายวิภาคศาสตร์เขาเกี่ยวกับอะไรบ้าง ก็ได้เวลาเข้าไปเห็นของจริงภายในพิพิธภัณฑ์ฯ โดยพิพิธภัณฑ์แห่งนี้แบ่งออกเป็น 2 ห้อง ด้วยกัน ห้องแรกได้แก่ “ห้องกายวิภาคศาสตร์ทั่วไป” จัดแสดงระบบอวัยวะร่างกายของคนทุกระบบ จัดแสดงอวัยวะที่เป็นปกติ และความพิเศษหรือความหลากหลายทางกายวิภาคศาสตร์ ของที่จัดแสดงส่วนใหญ่เป็นของจริงที่ได้จากการบริจาค เป็นเต็มตัวก็มี ชิ้นส่วนอวัยวะก็มี
แต่บางอย่างถ้าเล็กเกินไป เป็นชิ้นส่วนเล็กๆ อวัยวะเล็กๆ เราจะศึกษาด้วยหุ่นจำลองก่อน อย่างหูชั้นในเป็นส่วนที่สำคัญ ส่วนก้นหอยเป็นส่วนของการรับเสียงการได้ยิน ส่วนที่เป็นท่อครึ่งวงกลม3ท่อเป็นส่วนของการทรงตัว ซึ่งมันเล็กมาก ดูด้วยตาเปล่าไม่เห็น เราต้องศึกษาเป็น 3 มิติคู่กัน
โดยตู้ที่จัดแสดงเริ่มตั้งแต่ ตู้แสดงเรื่องของ “อวัยวะรับสัมผัสพิเศษ” ได้แก่ พวกตา หู จมูก ลิ้น และตู้สุดท้ายของแถวแรกเป็นเรื่องของการแสดง “การเจริญเติบโตของใบหน้าและฟัน” เรื่องความผิดปกติของการเจริญบนใบหน้าพบบ่อยมาก ผิดปกติมาตั้งแต่กำเนิด เช่น พวกปากแหว่งเพดานโหว่
ตู้แถวที่สองเป็นเรื่องของ “ระบบประสาท หัวใจ และหลอดเลือด” ตั้งแต่พัฒนาการของระบบสัตว์ ว่าพัฒนามาจากเนื้อเยื่ออะไร สัปดาห์ที่เท่านี้มีอะไรเกิดขึ้น แล้วท้ายที่สุดเจริญไปเป็นสมองทั้งก้อนอย่างไร แล้วสมองทั้งก้อนแบ่งพื้นที่อย่างไร เรียกว่าอะไรบ้าง เราใช้สัตว์มาใช้ในการเปรียบเทียบกับคน สัตว์ที่ใกล้เคียงกับคนเราคือสัตว์มีกระดูกสันหลัง และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ตรงส่วนนี้มีสมองของสัตว์มาให้ดูเปรียบเทียบกันด้วยได้แก่ กระต่าย แมว สุนัข ชะนี
และที่พลาดไม่ได้คือ 3 ตู้ไฮไลท์ของพิพิธภัณฑ์ ได้แก่ ระบบหลอดเลือดแดงทั้งร่างกาย, กล้ามเนื้อและหลอดเลือดดำ และระบบประสาททั้งร่างกาย ซึ่งผลงานชิ้นเด่นๆนี้ถูกชำแหละโดย รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงเพทาย ศิริการุณ ซึ่งเป็นสิ่งแสดงทางกายวิภาคที่มีอยู่ชิ้นเดียวในโลกก็ว่าได้
ต่อไปเป็นตู้จัดแสดง “การเจริญเติบโตของทารก” แสดงการเจริญเติบโตตามอายุตั้งแต่เอ็มบริโอ (Embryo) ขนาดเล็ก ทารกในครรภ์ จนถึงคลอด รวมถึงมดลูกและรก
ถัดไปเป็น “โครงกระดูกของศาสตราจารย์นายแพทย์สุด แสงวิเชียร” อ.หมอสุดเป็นนักเรียนแพทย์ของศิริราช ท่านเรียนเก่งมากจนได้เป็นครูผู้ช่วยของ อ.คองดอน พอเรียนจบแล้วได้ไปเรียนต่อที่เมืองนอก โดยเรียนวิชาแพทย์และเรียนวิชาการทำสื่อการเรียนการสอน เรียนว่าโมเดลทำอย่างไร สไลด์ลูกไก่ทำอย่างไร
ต่อด้วย “ตู้เด็กที่ผิดปกติตั้งแต่กำเนิด” ชนิดต่างๆ และเรื่องของ “ฝาแฝด” โดยฝาแฝดที่รู้จักกันมี 2 แบบ คือ แฝดที่มาจากไข่ใบเดียวกัน หรือแฝดแท้ มีโครโมโซมเหมือนกัน หน้าตาเหมือนกัน เพศเดียวกัน กับแฝดที่มาจากไข่คนละใบ โครโมโซมไม่เหมือนกัน หน้าตาไม่เหมือนกัน คนละเพศก็ได้ ถ้าตัวอ่อนเจริญช้า แยกออกจากกันช้า มีบางส่วนซ้อนทับกันอยู่ แม่จะได้ลูกอ่อนที่ตัวติดกัน ซึ่งติดกันได้ตั้งแต่ศีรษะไปจนถึงก้น และมีแฝดสยามหรืออิน-จัน ด้วย
นอกจากนี้ยังมีตู้แสดงอวัยวะภายในร่างกายเรา ระบบหายใจ ระบบขับถ่าย ระบบย่อยอาหาร ระบบสืบพันธุ์ ระบบน้ำเหลือง ต่อมต่างๆ ตู้แสดงร่างกายตัดขวางตั้งแต่ศีรษะจนถึงปลายเท้า เพื่อดูอวัยวะที่อยู่ในระนาบเดียวกัน ตัดหนาประมาณ 1 นิ้ว ดูว่าในแต่ละระดับที่ตัดผ่านอวัยวะอะไรบ้าง ซึ่งใช้ประโยชน์มากใน C.T. Scan ด้วย
ส่วนอีกหนึ่งห้องที่อยู่ติดกันคือ “ห้องกระดูกและข้อ” แสดงเรื่องราวเกี่ยวกับกระดูกทุกชิ้นของร่างกาย รวมทั้งกะโหลกซึ่งแยกเป็นชิ้นๆ แสดงส่วนประกอบของกระดูก การคาดคะเนอายุจากกระดูก แสดงกระดูกที่ผิดปกติเนื่องจากความผิดปกติของสารที่หลั่งจากต่อมไร้ท่อ แสดงข้อต่อชนิดต่างๆของร่างกาย
นอกจากนี้ยังมีโครงกระดูกของบุคคลสำคัญในวงการแพทย์แสดงอยู่ด้วย เช่น อาจารย์หมอโกศล กันตะบุตร, พระยาศราภัยพิพัฒ, พระยาอุปกิตศิลปสาร ซึ่งท่านเป็นผู้บริจาคร่างกายคนแรก เป็นอาจารย์ใหญ่คนแรกของศิริราช ท่านเหล่านี้เมื่อก่อนใช้เรียนจริงๆ กระดูกอาจารย์ถูกจับถูกเรียนมาเยอะ เมื่อมีคนบริจาคเยอะขึ้น และอาจารย์เป็นบุคคลสำคัญ เราจึงเชิญอาจารย์มาไว้ในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้
เมื่อชมพิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์ คองดอนเสร็จแล้ว ทำให้เรารู้จักร่างกายของเราเองมากขึ้นสมกับชื่อของพิพิธภัณฑ์โดยแท้ ใครที่สนใจก็สามารถมาชมมาเห็นของจริงๆด้วยตาตนเองได้ ซึ่งนอกจากนี้ศิริราชยังมีพิพิธภัณฑ์อีกหลายแห่งด้วยกัน ได้แก่ พิพิธภัณฑ์นิติเวชศาสตร์ สงกรานต์ นิยมเสน, พิพิธภัณฑ์พยาธิวิทยาเอลลิส, พิพิธภัณฑ์ปรสิตวิทยา, พิพิธภัณฑ์ประวัติการแพทย์ไทย อวย เกตุสิงห์, พิพิธภัณฑ์และห้องปฏิบัติการเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์ สุด แสงวิเชียร ซึ่งฉันขอเก็บไว้นำเสนอในครั้งต่อๆไป
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
“พิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์ คองดอน” ตั้งอยู่ที่ชั้น 3 อาคารกายวิภาคศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช ถ.พรานนก แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ เปิดวันจันทร์-เสาร์ เวลา 9.00-16.00 น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ อัตราค่าเข้าชม(ทั้ง 6 พิพิธภัณฑ์ของศิริราช) คนไทย 20 บ. ชาวต่างชาติ 40 บ. เด็ก, นักเรียน และภิกษุ ชมฟรี สอบถามโทร. 0-2419-6363
* * * คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของผู้จัดการท่องเที่ยว Travel @ Manager on Facebook รับข่าวสารทั้งเรื่องกินเรื่องเที่ยวแบบรวดเร็วทันใจ และร่วมสนุกกับกิจกรรมลุ้นรับของรางวัลมากมาย คลิกที่นี่เลย!!