โดย : ปิ่น บุตรี (pinn109@hotmail.com)
หลายต่อหลายครั้งที่ขึ้นเหนือไปแอ่วเชียงราย ผมเคยเจอทั้งการ “หลงทาง” และ “หลงเธอ” แถมบางครั้งยังหลงเธอจนทำให้หลงทางอีกต่างหาก
แต่ถ้าหากบอกว่า“หลงถัง”นี่ ผมไม่คุ้นกับชื่อนี้เลยจริงๆพับผ่าสิ
ดอยพญาพิภักดิ์
หลงถังคือชื่อของ “ภูหลงถัง” แหล่งท่องเที่ยวเปิดใหม่ของจังหวัดเชียงราย ซึ่งทางททท.เชียงราย ได้ชูกิจกรรม“เที่ยวสามภู ในหนึ่งวัน”ขึ้น ด้วยการนำเสนอเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยง ระหว่าง ภูชี้ฟ้า-ภูผาตั้งหรือดอยผาตั้ง และภูหลงถัง ที่ตั้งอยู่ ณ ต.ยางฮอม อ.ขุนตาล(อดีตอยู่ใน อ.เทิง)
หลงถังเป็นชื่อเก่าดั้งเดิมของ“ดอยพญาพิภักดิ์” ดอยที่มีชื่อมาจากชื่อของหมู่บ้านพญาพิภักดิ์ หมู่บ้านเก่าแก่ของชุมชนชาวม้งที่มี “พญาพิภักดิ์” หรือ “ปะตุ๊ แซ่ย้ง”(ชาวม้ง)เป็นหัวหน้าชุมชน
ดอยพญาพิภักดิ์นับเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงราย เนื่องจากในยุคสงครามเย็นที่มีการรบพุ่งกันระหว่างรัฐบาล(ทหาร)ไทยกับกลุ่มผู้ฝักใฝ่ในลัทธิคอมมิวนิสต์(พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย-พคท.) และชาวบ้านในพื้นที่ที่หลายๆคนไม่รู้อิโหน่อิเหน่ แต่กลับถูกเจ้าหน้าที่รัฐผลักไสให้ไปอยู่ฝ่ายตรงข้าม ในพื้นที่ดอยยาว-ดอยผาหม่น บนดอยพญาพิภักดิ์ ถือเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ เป็นพื้นที่สีแดง(คนละแดงกับปัจจุบัน)ซึ่งทางรัฐบาลได้ส่งกองกำลังเข้ามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 จนเกิดเสียงปืนแตกนำสู่การต่อสู้ที่ยืดเยื้อขึ้น
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2524 พันโทวิโรจน์ ทองมิตร ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 473 ได้นำกำลังพลเข้าปฏิบัติการในยุทธการยึดเนิน 1188 บนดอยพญาพิภักดิ์ จนสามารถปราบปรามคอมมิวนิสต์ในพื้นที่นั้นลงได้
แต่การสู้รบครั้งนั้น เหล่าทหารหาญก็ได้พลีชีพเพื่อชาติไปเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่เหล่าทหารหาญ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ และพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลีฯ ได้เสด็จฯไปเยี่ยมเยียนเหล่าทหารหาญและพสกนิกรแล้ว ณ ฐานปฏิบัติการพญาพิภักดิ์ บนดอยยาว ท่ามกลางหมู่ชาวบ้านที่เดินทางมาเฝ้ารอรับเสด็จฯเป็นจำนวนมาก ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525
นอกจากนี้ในการเสด็จฯครั้งนั้นพระเจ้าอยู่หัวฯ ยังได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานประทับรอยพระบาทของพระองค์ลงบนแผ่นปูนปลาสเตอร์ที่ทางทหารได้จัดเตรียมไว้ ตามคำกราบบังคมทูลของพันโทวิโรจน์ ที่ศาลาบนดอยพญาพิภักดิ์
ในเรื่องนี้ทหารที่อยู่ในเหตุการณ์ครั้งนั้นได้บันทึกเอาไว้ว่า(คัดลอกจากหนังสือ “เที่ยวตามพ่อ” สนพ.อัศเจรีย์)
...เมื่อพระองค์ท่านถอดรองพระบาท(รองเท้า)ได้เผยให้เห็นถึงถุงพระบาทที่ขาด ก่อนจะถอดถุงพระบาท และได้ประทับพระบาทลงในเบ้าพิมพ์ที่เป็นปูนปลาสเตอร์ผสมหมาดๆ
ถุงพระบาทนั้น คือสิ่งที่ได้แสดงให้เห็นว่า พระองค์คือ ทรงเป็นทั้งนักทฤษฎีและปฏิบัติ พระองค์น่าจะมิใช้พระมหากษัตริย์ซึ่งทรงครองสิริราชสมบัติยาวนานแต่เพียงสถานเดียว แต่ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงปฏิบัติพระองค์อย่างเรียบง่าย สมถะ รู้จักคุณค่าของการใช้ สิ่งของมากยิ่งกว่าพระมหากษัตริย์ใดในโลก หรือยิ่งกว่าสามัญชนแม้กระทั่งพสกนิกรมากหลายที่ยังดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องมีความพอเพียงเช่นนั้นไม่ได้...
นอกจากนี้ในการเสด็จฯครั้งนั้น แม้สถานการณ์ควันไฟจากการสู้รบจะเพิ่งสงบได้หมาดๆ ยังคงสุ่มเสี่ยงต่อภยันอันตราย เพราะในเขตพื้นที่ดอยพญาพิภักดิ์(เขตงานที่ 8)ถือเป็นหนึ่งในเขตที่มีความรุนแรงที่สุด เพราะเป็นประตูในปฏิบัติการประสานกันระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์ในไทย ลาว และ เวียดนาม แต่ด้วยน้ำพระทัยอันกล้าหาญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระองค์ท่านทรงรับการมอบตัวและมอบอาวุธต่อกองกำลังฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาลเพื่อรับเข้าเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย ทำให้ความขัดแย้งยุติลง ความสงบสันติสุขกลับคืนมา
สำหรับการมอบอาวุธครั้งนั้น หนึ่งในผู้ที่ออกจากป่ามาเข้าร่วมเป็นผู้พัฒนาชาติไทยก็คือ “สหายด้วย” หรือชัยยุทธ อนุสรณ์ศิลปะ ชาวไทยภูเขาเผ่าม้งที่ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านหรือพ่อหลวงแห่ง ม.13 ต.ยางฮอม
สหายด้วยรำลึกความหลังเมื่อครั้งออกจากป่าให้ผมฟังด้วยความซาบซึ้งว่า เป็นเพราะพระบารมีของในหลวงที่ทรงมายุติความขัดแย้ง จึงทำให้เขาได้ออกจากป่ามาใช้ชีวิตตามปกติ นับเป็นพระมหากรุณาอันล้นพ้น
ภูหลงถัง
หลังเหตุการณ์สงบ ดอยพญาพิภักดิ์ก็ได้รับการพัฒนาเรื่อยมา และด้วยสภาพพื้นที่ที่ตั้งอยู่บนเทือกเขาสูงเหนือระดับน้ำทะเลเฉลี่ย 1,200 เมตร ทำให้ดอยพญาพิภักดิ์ที่ตอนหลังนิยมเรียกขานอีกชื่อหนึ่งว่า“ภูหลงถัง” ได้รับการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดเชียงราย
บนยอดภูแห่งนี้น่ายลไปด้วยวิวทิวทัศน์อันงดงาม โดยเฉพาะบนลานชมวิวในวันที่ฟ้าเปิดสามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์เบื้องล่างได้อย่างกว้างไกล อีกทั้งยังสามารถมองไปเห็นยอดแหลมๆที่ชี้ขึ้นไปทิ่มแทงฟ้าของภูชี้ฟ้าได้อย่างชัดเจนอีกด้วย
ขณะที่จุดท่องเที่ยวสำคัญอีกแห่งหนึ่งของภูแห่งนี้ก็คือ “สระมังกร” ที่เป็นตาน้ำผุดตามธรรมชาติบนยอดเขาจนเกิดเป็นสระน้ำขนาดย่อมขึ้นมา
สระมังกรแห่งนี้เป็นที่มาของชื่อภูหลงถัง(ที่ถือเป็นสิ่งคาใจผมนับตั้งแต่ได้ยินชื่อนี้ครั้งแรก) ซึ่งสหายด้วยได้ไขความกระจ่างให้ผมฟังว่า ในยุคที่มีการสู้รบทางกองกำลังชาวทหารจีนคณะชาติ(กองพล 93) ที่อพยพเข้ามาอยู่แถบทางภาคเหนือของเมืองไทยได้นำกำลังพลเข้ามาร่วมรบกับรัฐบาลไทย แล้วเห็นว่าที่นี่มีสระน้ำที่เกิดจากตาน้ำผุดตามธรรมชาติ จึงตั้งชื่อตามความเชื่อแบบคนจีนว่า“หลงถัง”ที่หมายถึง “สระมังกร” อันเป็นที่มาของชื่อภูหลงถังดังในปัจจุบัน
นอกจากลานชมวิวและสระมังกรแล้วบนภูหลงถังยังมี แปลงไร่กุหลาบ สวนกาแฟ วิถีชีวิตวัฒนธรรม และหมู่บ้านประวัติศาสตร์ให้สัมผัสเที่ยวชมกัน รวมไปถึง “วนอุทยานพญาพิภักดิ์” ที่ถือเป็นอีกหนึ่งสถานที่ไฮไลท์สำคัญของภูแห่งนี้
วนอุทยานพญาพิภักดิ์ เป็นสถานที่ที่ในหลวงเคยเสด็จมาพระราชทานประทับรอยพระบาทที่ดอยพญาพิภักดิ์แห่งนี้ ซึ่งชาวบ้านที่นี่ยังได้เรียกขานรอยพระบาทของพ่อหลวงในอีกชื่อหนึ่งว่า “รอยพระบาทแห่งสันติสุข”
สำหรับรอยพระบาทในหลวงที่ประทับ ณ ดอยพญาพิภักดิ์นั้น มี 2 รอยด้วยกัน รอยแรก เกิดจากการประทับรอยครั้งแรก เป็นรอยที่ประทับไม่สมบูรณ์ เพราะปูนมีน้ำมากเกินไป ถูกนำไปเก็บไว้กับครอบครัวหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ ส่วนอีกรอย เป็นการประทับครั้งที่สอง เป็นรอยที่สมบูรณ์ ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่ศาลารอยพระบาท ค่ายเม็งรายมหาราช อ.เมือง จ.เชียงราย
แต่...นับเป็นที่น่าเสียดายยิ่งที่ “ศาลาประทับรอยพระบาท” บนวนอุทยานพญาพิภักดิ์ ไม่มีรอยจริงให้สักการะสักรอย มีแต่จุดที่ในหลวงเสด็จมาประทับรอยพระบาทที่มีการปลูกต้นไม้ล้อมรอบไว้ กับภาพถ่ายรอยพระบาทให้ยลเท่านั้น ซึ่งที่ผ่านมาชาวบ้านที่นี่ภายใต้การนำของสหายด้วยได้พยายามที่จะไปยื่นหนังสือทำเรื่องขอคืนรอยพระบาทรอยแรกยังบ้านที่นำไปเก็บไว้เป็นสมบัติส่วนตัว แต่สุดท้ายสหายด้วยกับโดนแจ้งความในข้อหาบุกรุกเสียนี่
อย่างไรก็ตามกับเรื่องนี้ได้มีผู้แนะนำว่า ทางจังหวัดเชียงรายควรทำจดหมายถึงทางสำนักพระราชวังเพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตหล่อรอยพระบาทในหลวงจำลองขึ้นมาใหม่ ที่หากสามารถทำได้ก็ถือเป็นการหาทางออกที่ดีทีเดียว เพราะรอยพระบาทในหลวงถือเป็นสิ่งที่มีคุณค่าทางจิตใจของชาวบ้านที่นี่ อีกทั้งนี่ยังเป็นจุดดึงดูดให้ผู้คนขึ้นมาสักการะเที่ยวชมรอยพระบาทในหลวง(เสมือนจริง)ในสถานที่จริงอีกด้วย
นอกจากรอยพระบาทในหลวงแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ถือเป็นการแสดงถึงความเคารพเทิดทูนต่อในหลวงแบบเป็นรูปธรรมของบ้านที่นี่ก็คือ “ป่าในหลวง”
สหายด้วยบอกกับผมว่า เมื่อครั้งที่ในหลวงเสด็จมาประทับรอยพระบาทบนดอยพญาพิภักดิ์ พระองค์ท่านได้ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันตก แล้วตรัสว่า “นี่คือป่าของฉัน”
นับแต่นั้นมาชาวบ้านก็ช่วยกันดูแลรักษาพื้นป่าแห่งนี้ไว้ให้มีสภาพอุดมสมบูรณ์ มากไปด้วยพืชพรรณไม้ กล้วยไม้ป่า นกนานาชนิด ที่ชาวบ้านที่นี่เขาวางแผนว่าในอนาคตถ้ามีความพร้อม พวกเขาจะเปิดเส้นทางท่องเที่ยวเรียนรู้ ศึกษาธรรมชาติ ในผืนป่าในหลวงเพิ่มอีกจุดหนึ่ง
สำหรับป่าในหลวงเท่าที่ผมไปสัมผัสมาที่นี่เปรียบดังโอเอซิสสีเขียวของชุมชนทีเดียว เพราะในขณะที่บริเวณรอบข้างถูกพักล้างถางพงแต่ผืนป่าแห่งนี้กลับยังคงสภาพร่มรื่นเขียวครึ้ม นับเป็นผืนป่าใต้พระบารมีของพ่อหลวงอย่างแท้จริง
และนี่ก็คือเรื่องราวบางส่วนของภูหลงถังที่แม้หลายสิ่งหลายอย่างอาจจะยังดูขาดตกบกพร่อง ไม่ลงตัวเข้าที่เข้าทาง เพราะนี่เพิ่งเปิดตัวเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่เอี่ยม ชาวบ้านยังไม่มีประสบการณ์ แต่พวกเขาก็มีความตั้งใจและมีความหวังในการที่จะพัฒนาชุมชนของพวกเขาในน่าอยู่น่าเที่ยวยิ่งขึ้น
ที่สำคัญคือการขึ้นมาแอ่วที่นี่มันทำให้ผมได้สัมผัสกับการแสดงออกถึงความเคารพเทิดทูนและซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเมื่อเห็นแล้วผมอดนึกถึงคนกลุ่มหนึ่งในบ้านเราไม่ได้
คนกลุ่มนี้นิยมสร้างวาทะกรรมสวยหรู อ้างสิทธิเสรีภาพ อ้างประชาธิปไตย อ้างเมืองนอก อ้างความเป็นวิชาการ เพื่อให้ตัวเองดูดี แต่ในความเป็นจริงสิ่งที่พวกเขาแสดงออกมาต่อสาธารณะชนคนไทยส่วนใหญ่(ยกเว้นในกลุ่มพวกเขาที่ยกหางกันเอง) กลับเต็มไปด้วยอีโก้ที่ทะลักทะล้น(รูทวาร)
คนกลุ่มนี้แม้หลายคนจะดูเปลือกนอกมีสถานะทางสังคมที่ดีกว่าชาวบ้านที่นี่ แต่ก็ไม่รู้ว่าผีห่าซาตานอะไรดลใจให้พวกเขามีความตรรกะที่บิดเบี้ยวและมีความคิดหลงทางจนสุดกู่
สุดกู่ถึงขนาดกล้าเนรคุณต่อแผ่นดินตัวเองได้
หลายต่อหลายครั้งที่ขึ้นเหนือไปแอ่วเชียงราย ผมเคยเจอทั้งการ “หลงทาง” และ “หลงเธอ” แถมบางครั้งยังหลงเธอจนทำให้หลงทางอีกต่างหาก
แต่ถ้าหากบอกว่า“หลงถัง”นี่ ผมไม่คุ้นกับชื่อนี้เลยจริงๆพับผ่าสิ
ดอยพญาพิภักดิ์
หลงถังคือชื่อของ “ภูหลงถัง” แหล่งท่องเที่ยวเปิดใหม่ของจังหวัดเชียงราย ซึ่งทางททท.เชียงราย ได้ชูกิจกรรม“เที่ยวสามภู ในหนึ่งวัน”ขึ้น ด้วยการนำเสนอเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยง ระหว่าง ภูชี้ฟ้า-ภูผาตั้งหรือดอยผาตั้ง และภูหลงถัง ที่ตั้งอยู่ ณ ต.ยางฮอม อ.ขุนตาล(อดีตอยู่ใน อ.เทิง)
หลงถังเป็นชื่อเก่าดั้งเดิมของ“ดอยพญาพิภักดิ์” ดอยที่มีชื่อมาจากชื่อของหมู่บ้านพญาพิภักดิ์ หมู่บ้านเก่าแก่ของชุมชนชาวม้งที่มี “พญาพิภักดิ์” หรือ “ปะตุ๊ แซ่ย้ง”(ชาวม้ง)เป็นหัวหน้าชุมชน
ดอยพญาพิภักดิ์นับเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงราย เนื่องจากในยุคสงครามเย็นที่มีการรบพุ่งกันระหว่างรัฐบาล(ทหาร)ไทยกับกลุ่มผู้ฝักใฝ่ในลัทธิคอมมิวนิสต์(พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย-พคท.) และชาวบ้านในพื้นที่ที่หลายๆคนไม่รู้อิโหน่อิเหน่ แต่กลับถูกเจ้าหน้าที่รัฐผลักไสให้ไปอยู่ฝ่ายตรงข้าม ในพื้นที่ดอยยาว-ดอยผาหม่น บนดอยพญาพิภักดิ์ ถือเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ เป็นพื้นที่สีแดง(คนละแดงกับปัจจุบัน)ซึ่งทางรัฐบาลได้ส่งกองกำลังเข้ามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 จนเกิดเสียงปืนแตกนำสู่การต่อสู้ที่ยืดเยื้อขึ้น
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2524 พันโทวิโรจน์ ทองมิตร ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 473 ได้นำกำลังพลเข้าปฏิบัติการในยุทธการยึดเนิน 1188 บนดอยพญาพิภักดิ์ จนสามารถปราบปรามคอมมิวนิสต์ในพื้นที่นั้นลงได้
แต่การสู้รบครั้งนั้น เหล่าทหารหาญก็ได้พลีชีพเพื่อชาติไปเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่เหล่าทหารหาญ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ และพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลีฯ ได้เสด็จฯไปเยี่ยมเยียนเหล่าทหารหาญและพสกนิกรแล้ว ณ ฐานปฏิบัติการพญาพิภักดิ์ บนดอยยาว ท่ามกลางหมู่ชาวบ้านที่เดินทางมาเฝ้ารอรับเสด็จฯเป็นจำนวนมาก ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525
นอกจากนี้ในการเสด็จฯครั้งนั้นพระเจ้าอยู่หัวฯ ยังได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานประทับรอยพระบาทของพระองค์ลงบนแผ่นปูนปลาสเตอร์ที่ทางทหารได้จัดเตรียมไว้ ตามคำกราบบังคมทูลของพันโทวิโรจน์ ที่ศาลาบนดอยพญาพิภักดิ์
ในเรื่องนี้ทหารที่อยู่ในเหตุการณ์ครั้งนั้นได้บันทึกเอาไว้ว่า(คัดลอกจากหนังสือ “เที่ยวตามพ่อ” สนพ.อัศเจรีย์)
...เมื่อพระองค์ท่านถอดรองพระบาท(รองเท้า)ได้เผยให้เห็นถึงถุงพระบาทที่ขาด ก่อนจะถอดถุงพระบาท และได้ประทับพระบาทลงในเบ้าพิมพ์ที่เป็นปูนปลาสเตอร์ผสมหมาดๆ
ถุงพระบาทนั้น คือสิ่งที่ได้แสดงให้เห็นว่า พระองค์คือ ทรงเป็นทั้งนักทฤษฎีและปฏิบัติ พระองค์น่าจะมิใช้พระมหากษัตริย์ซึ่งทรงครองสิริราชสมบัติยาวนานแต่เพียงสถานเดียว แต่ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงปฏิบัติพระองค์อย่างเรียบง่าย สมถะ รู้จักคุณค่าของการใช้ สิ่งของมากยิ่งกว่าพระมหากษัตริย์ใดในโลก หรือยิ่งกว่าสามัญชนแม้กระทั่งพสกนิกรมากหลายที่ยังดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องมีความพอเพียงเช่นนั้นไม่ได้...
นอกจากนี้ในการเสด็จฯครั้งนั้น แม้สถานการณ์ควันไฟจากการสู้รบจะเพิ่งสงบได้หมาดๆ ยังคงสุ่มเสี่ยงต่อภยันอันตราย เพราะในเขตพื้นที่ดอยพญาพิภักดิ์(เขตงานที่ 8)ถือเป็นหนึ่งในเขตที่มีความรุนแรงที่สุด เพราะเป็นประตูในปฏิบัติการประสานกันระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์ในไทย ลาว และ เวียดนาม แต่ด้วยน้ำพระทัยอันกล้าหาญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระองค์ท่านทรงรับการมอบตัวและมอบอาวุธต่อกองกำลังฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาลเพื่อรับเข้าเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย ทำให้ความขัดแย้งยุติลง ความสงบสันติสุขกลับคืนมา
สำหรับการมอบอาวุธครั้งนั้น หนึ่งในผู้ที่ออกจากป่ามาเข้าร่วมเป็นผู้พัฒนาชาติไทยก็คือ “สหายด้วย” หรือชัยยุทธ อนุสรณ์ศิลปะ ชาวไทยภูเขาเผ่าม้งที่ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านหรือพ่อหลวงแห่ง ม.13 ต.ยางฮอม
สหายด้วยรำลึกความหลังเมื่อครั้งออกจากป่าให้ผมฟังด้วยความซาบซึ้งว่า เป็นเพราะพระบารมีของในหลวงที่ทรงมายุติความขัดแย้ง จึงทำให้เขาได้ออกจากป่ามาใช้ชีวิตตามปกติ นับเป็นพระมหากรุณาอันล้นพ้น
ภูหลงถัง
หลังเหตุการณ์สงบ ดอยพญาพิภักดิ์ก็ได้รับการพัฒนาเรื่อยมา และด้วยสภาพพื้นที่ที่ตั้งอยู่บนเทือกเขาสูงเหนือระดับน้ำทะเลเฉลี่ย 1,200 เมตร ทำให้ดอยพญาพิภักดิ์ที่ตอนหลังนิยมเรียกขานอีกชื่อหนึ่งว่า“ภูหลงถัง” ได้รับการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดเชียงราย
บนยอดภูแห่งนี้น่ายลไปด้วยวิวทิวทัศน์อันงดงาม โดยเฉพาะบนลานชมวิวในวันที่ฟ้าเปิดสามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์เบื้องล่างได้อย่างกว้างไกล อีกทั้งยังสามารถมองไปเห็นยอดแหลมๆที่ชี้ขึ้นไปทิ่มแทงฟ้าของภูชี้ฟ้าได้อย่างชัดเจนอีกด้วย
ขณะที่จุดท่องเที่ยวสำคัญอีกแห่งหนึ่งของภูแห่งนี้ก็คือ “สระมังกร” ที่เป็นตาน้ำผุดตามธรรมชาติบนยอดเขาจนเกิดเป็นสระน้ำขนาดย่อมขึ้นมา
สระมังกรแห่งนี้เป็นที่มาของชื่อภูหลงถัง(ที่ถือเป็นสิ่งคาใจผมนับตั้งแต่ได้ยินชื่อนี้ครั้งแรก) ซึ่งสหายด้วยได้ไขความกระจ่างให้ผมฟังว่า ในยุคที่มีการสู้รบทางกองกำลังชาวทหารจีนคณะชาติ(กองพล 93) ที่อพยพเข้ามาอยู่แถบทางภาคเหนือของเมืองไทยได้นำกำลังพลเข้ามาร่วมรบกับรัฐบาลไทย แล้วเห็นว่าที่นี่มีสระน้ำที่เกิดจากตาน้ำผุดตามธรรมชาติ จึงตั้งชื่อตามความเชื่อแบบคนจีนว่า“หลงถัง”ที่หมายถึง “สระมังกร” อันเป็นที่มาของชื่อภูหลงถังดังในปัจจุบัน
นอกจากลานชมวิวและสระมังกรแล้วบนภูหลงถังยังมี แปลงไร่กุหลาบ สวนกาแฟ วิถีชีวิตวัฒนธรรม และหมู่บ้านประวัติศาสตร์ให้สัมผัสเที่ยวชมกัน รวมไปถึง “วนอุทยานพญาพิภักดิ์” ที่ถือเป็นอีกหนึ่งสถานที่ไฮไลท์สำคัญของภูแห่งนี้
วนอุทยานพญาพิภักดิ์ เป็นสถานที่ที่ในหลวงเคยเสด็จมาพระราชทานประทับรอยพระบาทที่ดอยพญาพิภักดิ์แห่งนี้ ซึ่งชาวบ้านที่นี่ยังได้เรียกขานรอยพระบาทของพ่อหลวงในอีกชื่อหนึ่งว่า “รอยพระบาทแห่งสันติสุข”
สำหรับรอยพระบาทในหลวงที่ประทับ ณ ดอยพญาพิภักดิ์นั้น มี 2 รอยด้วยกัน รอยแรก เกิดจากการประทับรอยครั้งแรก เป็นรอยที่ประทับไม่สมบูรณ์ เพราะปูนมีน้ำมากเกินไป ถูกนำไปเก็บไว้กับครอบครัวหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ ส่วนอีกรอย เป็นการประทับครั้งที่สอง เป็นรอยที่สมบูรณ์ ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่ศาลารอยพระบาท ค่ายเม็งรายมหาราช อ.เมือง จ.เชียงราย
แต่...นับเป็นที่น่าเสียดายยิ่งที่ “ศาลาประทับรอยพระบาท” บนวนอุทยานพญาพิภักดิ์ ไม่มีรอยจริงให้สักการะสักรอย มีแต่จุดที่ในหลวงเสด็จมาประทับรอยพระบาทที่มีการปลูกต้นไม้ล้อมรอบไว้ กับภาพถ่ายรอยพระบาทให้ยลเท่านั้น ซึ่งที่ผ่านมาชาวบ้านที่นี่ภายใต้การนำของสหายด้วยได้พยายามที่จะไปยื่นหนังสือทำเรื่องขอคืนรอยพระบาทรอยแรกยังบ้านที่นำไปเก็บไว้เป็นสมบัติส่วนตัว แต่สุดท้ายสหายด้วยกับโดนแจ้งความในข้อหาบุกรุกเสียนี่
อย่างไรก็ตามกับเรื่องนี้ได้มีผู้แนะนำว่า ทางจังหวัดเชียงรายควรทำจดหมายถึงทางสำนักพระราชวังเพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตหล่อรอยพระบาทในหลวงจำลองขึ้นมาใหม่ ที่หากสามารถทำได้ก็ถือเป็นการหาทางออกที่ดีทีเดียว เพราะรอยพระบาทในหลวงถือเป็นสิ่งที่มีคุณค่าทางจิตใจของชาวบ้านที่นี่ อีกทั้งนี่ยังเป็นจุดดึงดูดให้ผู้คนขึ้นมาสักการะเที่ยวชมรอยพระบาทในหลวง(เสมือนจริง)ในสถานที่จริงอีกด้วย
นอกจากรอยพระบาทในหลวงแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ถือเป็นการแสดงถึงความเคารพเทิดทูนต่อในหลวงแบบเป็นรูปธรรมของบ้านที่นี่ก็คือ “ป่าในหลวง”
สหายด้วยบอกกับผมว่า เมื่อครั้งที่ในหลวงเสด็จมาประทับรอยพระบาทบนดอยพญาพิภักดิ์ พระองค์ท่านได้ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันตก แล้วตรัสว่า “นี่คือป่าของฉัน”
นับแต่นั้นมาชาวบ้านก็ช่วยกันดูแลรักษาพื้นป่าแห่งนี้ไว้ให้มีสภาพอุดมสมบูรณ์ มากไปด้วยพืชพรรณไม้ กล้วยไม้ป่า นกนานาชนิด ที่ชาวบ้านที่นี่เขาวางแผนว่าในอนาคตถ้ามีความพร้อม พวกเขาจะเปิดเส้นทางท่องเที่ยวเรียนรู้ ศึกษาธรรมชาติ ในผืนป่าในหลวงเพิ่มอีกจุดหนึ่ง
สำหรับป่าในหลวงเท่าที่ผมไปสัมผัสมาที่นี่เปรียบดังโอเอซิสสีเขียวของชุมชนทีเดียว เพราะในขณะที่บริเวณรอบข้างถูกพักล้างถางพงแต่ผืนป่าแห่งนี้กลับยังคงสภาพร่มรื่นเขียวครึ้ม นับเป็นผืนป่าใต้พระบารมีของพ่อหลวงอย่างแท้จริง
และนี่ก็คือเรื่องราวบางส่วนของภูหลงถังที่แม้หลายสิ่งหลายอย่างอาจจะยังดูขาดตกบกพร่อง ไม่ลงตัวเข้าที่เข้าทาง เพราะนี่เพิ่งเปิดตัวเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่เอี่ยม ชาวบ้านยังไม่มีประสบการณ์ แต่พวกเขาก็มีความตั้งใจและมีความหวังในการที่จะพัฒนาชุมชนของพวกเขาในน่าอยู่น่าเที่ยวยิ่งขึ้น
ที่สำคัญคือการขึ้นมาแอ่วที่นี่มันทำให้ผมได้สัมผัสกับการแสดงออกถึงความเคารพเทิดทูนและซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเมื่อเห็นแล้วผมอดนึกถึงคนกลุ่มหนึ่งในบ้านเราไม่ได้
คนกลุ่มนี้นิยมสร้างวาทะกรรมสวยหรู อ้างสิทธิเสรีภาพ อ้างประชาธิปไตย อ้างเมืองนอก อ้างความเป็นวิชาการ เพื่อให้ตัวเองดูดี แต่ในความเป็นจริงสิ่งที่พวกเขาแสดงออกมาต่อสาธารณะชนคนไทยส่วนใหญ่(ยกเว้นในกลุ่มพวกเขาที่ยกหางกันเอง) กลับเต็มไปด้วยอีโก้ที่ทะลักทะล้น(รูทวาร)
คนกลุ่มนี้แม้หลายคนจะดูเปลือกนอกมีสถานะทางสังคมที่ดีกว่าชาวบ้านที่นี่ แต่ก็ไม่รู้ว่าผีห่าซาตานอะไรดลใจให้พวกเขามีความตรรกะที่บิดเบี้ยวและมีความคิดหลงทางจนสุดกู่
สุดกู่ถึงขนาดกล้าเนรคุณต่อแผ่นดินตัวเองได้