โดย : หนุ่มลูกทุ่ง
ท่ามกลางถนนทหารย่านเกียกกายที่มีกรมกองทหารตั้งเรียงรายอยู่นั้น มีวัดเล็กๆที่แทรกตัวอยู่อย่างสงบ ฉันเห็นป้ายรูปพระป่าเลไลยก์องค์ใหญ่ จึงอยากที่จะเข้าไปกราบสักการะดูสักที วันนี้มีโอกาสฉันไม่รอช้าที่จะเลี้ยวเข้าไปยัง “วัดใหม่ทองเสน”
เมื่อเข้ามาถึงวัด ก่อนที่จะเดินสำรวจภายในวัดฉันไปเจอกับ “พระครูโสภณวิริยคุณ” เจ้าอาวาสวัดใหม่ทองเสนเข้าพอดี จึงได้โอกาสถามถึงประวัติความเป็นมาของวัดแห่งนี้ ท่านเล่าให้ฉันฟังว่า “วัดใหม่ทองเสนนี้ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อพ.ศ.2365 โดยท่านเจ้าคุณพระธรรมอุดม (ถึก) เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่โยมบิดาและมารดาที่มีชื่อว่าทองและเสน”
ท่านเจ้าอาวาสเล่าให้ฟังต่อว่า “เดิมที่ในบริเวณย่านนี้เป็นป่าสวน เมื่อจะสร้างวัดจึงมีชาวบ้านในละแวกร่วมกันบริจาคที่ดิน ทำให้เนื้อที่วัดมีขนาดที่ใหญ่มาก หากอยากรู้ว่าใหญ่แค่ไหน ในสมัยนี้ก็คงจะกินเนื้อที่ทั้งของกองพล.ปตอ. เรือนจำทหารที่อยู่ติดวัด ม.พัน4 ทหารม้ายานเกราะทั้งหมด แต่เดิมจึงได้ชื่อว่า “วัดใหญ่ทองเสน”
แต่มาเปลี่ยนแปลงชื่อของวัดเมื่อพ.ศ.2430 โดยพระอธิการปั้น ที่ได้เดินทางมายังวัดใหญ่ทองเสนซึ่งในขณะนั้นเป็นวัดร้าง จึงได้ทำการบำรุงวัดให้ดีขึ้น แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น “วัดใหม่ทองเสน” ในช่วงแผนดินรัชกาลที่ 5”
ตามประวัติ พระธรรมอุดม (ถึก) เป็นพระที่แสดงธรรมเทศนาคู่ปุจฉา-วิสัชนา กับเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ในต้นรัชกาลที่ 3 ซึ่งทั้งสองท่านคงมีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน มีทรรศนะคติที่คลายคลึงกัน และมีความชอบพอรักใคร่กันเป็นอย่างดี จึงได้ร่วมกันสร้างวัดและองค์พระป่าเลไลยก์ที่ใหญ่โต เพื่อเป็นพุทธบูชาและให้เป็นพุทธสถานหรือปูชนียสถานเอาไว้เป็นที่เคารพบูชา บำเพ็ญบุญกุศลของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป
ภายในวัดมีโบราณวัตถุที่สำคัญๆ ได้แก่ “พระป่าเลไลยก์” แต่เดิมก่อสร้างด้วยปูนปั้นเป็นองค์ลงรักสีดำทั้งองค์ สูง 9 เมตร แต่ปัจจุบันได้บูรณะลงรักปิดทองสีเหลืองทองดูสวยงาม เมื่อสร้างพระป่าเลไลยก์แล้วเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 3 จากนั้นจึงได้มาสร้างวิหารเป็นรูปสี่เหลี่ยมหรือรูปมณฑปสี่เหลียมไว้เป็นที่ประทับ กล่าวกันว่าสมเด็จโต ท่านนิยมสร้างพระใหญ่ๆ และท่านก็รับเป็นประธานในการสร้างองค์พระป่าเลไลยก์ด้วย โดยได้จำลองมาจากองค์จริงที่จังหวัดสุพรรณบุรี แต่พระป่าเลไลยก์องค์นี้จะมีขนาดเล็กกว่า
โดยพระป่าเลไลยก์ เป็นพระพุทธรูปปางปาลิไลยก์ อยู่ในอิริยาบถประทับนั่งบัลลังก์ พระบาททั้งสองวางอยู่บนดอกบัว พระหัตถ์ซ้ายขวาวางคว่ำบนพระชานุ (เข่า) เป็นกิริยารับหม้อน้ำจากพญาช้างปาลิไลยกะ ซึ่งเป็นช้างอยู่ในป่าหลีกหนีจากโขลง มาคอยปรนนิบัติพระพุทธองค์ ส่วนพระหัตถ์ขวาวางหงายบนพระชานุ แสดงกิริยาไม่รับรวงผึ้งจากลิง เนื่องจากรวงผึ้งมีแมลงผึ้งอยู่ ลิงต้องกลับไปเอาแมลงผึ้ง และตัวลูกอ่อนออกหมดก่อน แล้วนำไปถวายใหม่ พระองค์จึงทรงรับประเคน
มีประวัติเล่าว่า ครั้งหนึ่งพระภิกษุในวัดโฆสิตาราม กรุงโกสัมพี ทะเลาะวิวาทกัน ประพฤติตนเป็นผู้ว่านอนสอนยาก พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงระอาพระทัยจึงเสด็จไปจำพรรษาอยู่ในป่าแถบหมู่บ้านปาลิเลยยกะ โดยมีพญาช้าปาลิเลยยกะและลิงตัวหนึ่งเป็นอุปัฏฐาก ครั้นออกพรรษา พระอานนท์พร้อมด้วยคณะพระภิกษุได้มากราบทูลอาราธนาพระพุทธองค์ให้เสด็จกลับพระเชตวันมหาวิหาร หลังจากพระพุทธองค์เสด็จกลับ พญาช้างเสียใจล้มลงขาดใจตาย บรรดาพระภิกษุผู้ว่ายากเมื่อทราบว่าพระพุทธองค์เสด็จกลับมายังพระเชตวันมหาวิหาร ก็รีบเดินทางมาเข้าเฝ้าเพื่อแสดงความสำนึกผิด
สำหรับความศักดิ์สิทธิ์ของพระป่าเลไลยก์องค์นี้มีมากมาย เช่น เล่ากันว่าในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการทิ้งห่าระเบิดลงแถวสะพานพระราม 6 วัดสร้อยทองและวัดวิมุต แต่มีระเบิดหลงมาตกถึงวัดใหม่ทองเสนตรงหน้าหลวงพ่อพระป่าเลไลยก์ แต่ไม่ระเบิด นี่คือความศักดิ์สิทธิ์ของท่าน และพระป่าเลไลยก์องค์นี้นิยมบนโดยการปฏิบัติธรรมมากกว่าการบนด้วยอาหาร ประทัด หรือละครรำ
โดยระหว่างที่ฉันกราบไหว้พระป่าเลไลยก์องค์ใหญ่นี้ ก็มีเหล่าทหารหญิงและชายที่ทำงานอยู่ในย่านนี้แวะเวียนมากราบไหว้ขอพร บางก็มาขอพรให้การงานประสบความสำเร็จ บ้างก็มาทำบุญในวันเกิด บางคนก็มากราบไหว้เพื่อให้สบายจิตสบายใจ
ส่วน “พระอุโบสถ” เป็นพระอุโบสถไม่มีระเบียง ขนาดกว้าง 8 เมตร ยาว 20 เมตร หลังคาสูง 2 ชั้น ยื่นออกมาจากผนังน้อยมาก จึงไม่มีทวยไม้ค้ำรับ ไม่มีช่อฟ้า แต่ตรงขอบยางหลังคาเป็นรูปปั้นลายกนกตลอดแนว หน้าบันพระอุโบสถทำเป็นลวดลายปูนปั้นรูปดอกไม้ประดับด้วยกระจกสีหน้าอุโบสถ
มีประตูเข้าเพียงหนึ่งประตู แต่ทางด้านข้างทั้งสองข้างทำประตูไว้อีกข้างละหนึ่งประตู ด้านข้างสองข้างมีหน้าต่างข้างละ 5 บาน ด้านหลังพระอุโบสถมีประตูเข้าอีกหนึ่งประตู โดยรอบพระอุโบสถมีใบเสมาคู่ทำด้วยหิน ซุ้มประตู และซุ้มหน้าต่างเป็นงานปูนปั้นมีลวดลายสวยงาม เป็นลวดลายศิลปะจีนผสมศิลปะบารอค เพราะในสมัยรัชกาลที่ 3 นั้นกำลังนิยมศิลปะจีนและศิลปะบารอคของฝรั่งเศส
องค์พระประธานสร้างด้วยปูนปั้น เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย อยู่ในพระอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา(ตัก) พระหัตถ์ขวาวางบนพระชานุ(เข่า) นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงพื้นธรณี ที่ฐานพระประธานในพระอุโบสถนั้นเป็นลวดลายบัวจำหลักและมีผ้าทิพย์ แสดงให้เห็นถึงศิลปะในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
พระพุทธรูปที่สำคัญในพระอุโบสถอีกองค์ก็คือ “พระไสยาสน์” หรือ “พระนอน” ที่พระธรรมอุดม (ถึก) ได้สร้างพระนอนองค์จำลองนี้ขึ้น โดยนำแบบมาจากวัดเชตุพนฯ หรือวัดโพธิ์ที่ท่าเตียน มาประดิษฐานไว้ในโบสถ์และได้เอาผงเสกของหลวงปู่โตไปบรรจุใต้ฐานพระนอนองค์นี้ด้วย
ภายในวัดยังมี “หอไตร” หรือ “หอพระไตรปิฎก” สร้างด้วยอิฐถือปูนเช่นเดียวกับพระอุโบสถ ตั้งอยู่ทางด้านหลังพระอุโบสถ แต่เดิมได้ชำรุดทรุดโทรมมาก ต่อมาทางกรมศิลป์ได้มาบูรณะซ่อมแซมใหม่ แล้วเสร็จเมื่อปี2543ที่ผ่านมา บนบานประตูเป็นลายรดน้ำ ตามผนังและเพดานเป็นลวดลายดอกไม้ ส่วน “หอระฆัง” สร้างด้วยอิฐถือปูนตามแบบธรรมดาง่ายๆ เป็นรูปสี่เหลี่ยม มียอดแหลม
เมื่อเข้ามาอยู่ในวัดแห่งนี้ ฉันรู้สึกถึงความเงียบสงบท่ามกลางสถานที่ราชการและตึกสูงใหญ่ แต่ก็มีผู้คนแวะเวียนมากราบไหว้ขอพรอยู่เนืองๆ พี่ผู้หญิงคนหนึ่งบอกฉันว่า “ที่ชอบเข้ามาไหว้พระขอพรที่วัดแห่งนี้ เพราะอยู่ใกล้และชอบความสงบร่มเย็น และความสะอาดสะอ้านของวัด”
ฉันเองก็คิดเช่นนั้น ใครที่มีโอกาสผ่านไปผ่านมาแถวถนนทหารย่านเกียกกาย ก็อย่าลืมแวะมากราบไหว้ขอพร "พระป่าเลไลยก์" ที่ "วัดใหม่ทองเสน" กันได้ ไม่ต้องไปไกลถึงสุพรรณ
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
“วัดใหม่ทองเสน” ตั้งอยู่บริเวณแยกเกียกกาย ตรงข้ามกองพล ปตอ. ถนนทหาร แขวงนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. 0-2241-1561, 0-2241-7914
ท่ามกลางถนนทหารย่านเกียกกายที่มีกรมกองทหารตั้งเรียงรายอยู่นั้น มีวัดเล็กๆที่แทรกตัวอยู่อย่างสงบ ฉันเห็นป้ายรูปพระป่าเลไลยก์องค์ใหญ่ จึงอยากที่จะเข้าไปกราบสักการะดูสักที วันนี้มีโอกาสฉันไม่รอช้าที่จะเลี้ยวเข้าไปยัง “วัดใหม่ทองเสน”
เมื่อเข้ามาถึงวัด ก่อนที่จะเดินสำรวจภายในวัดฉันไปเจอกับ “พระครูโสภณวิริยคุณ” เจ้าอาวาสวัดใหม่ทองเสนเข้าพอดี จึงได้โอกาสถามถึงประวัติความเป็นมาของวัดแห่งนี้ ท่านเล่าให้ฉันฟังว่า “วัดใหม่ทองเสนนี้ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อพ.ศ.2365 โดยท่านเจ้าคุณพระธรรมอุดม (ถึก) เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่โยมบิดาและมารดาที่มีชื่อว่าทองและเสน”
ท่านเจ้าอาวาสเล่าให้ฟังต่อว่า “เดิมที่ในบริเวณย่านนี้เป็นป่าสวน เมื่อจะสร้างวัดจึงมีชาวบ้านในละแวกร่วมกันบริจาคที่ดิน ทำให้เนื้อที่วัดมีขนาดที่ใหญ่มาก หากอยากรู้ว่าใหญ่แค่ไหน ในสมัยนี้ก็คงจะกินเนื้อที่ทั้งของกองพล.ปตอ. เรือนจำทหารที่อยู่ติดวัด ม.พัน4 ทหารม้ายานเกราะทั้งหมด แต่เดิมจึงได้ชื่อว่า “วัดใหญ่ทองเสน”
แต่มาเปลี่ยนแปลงชื่อของวัดเมื่อพ.ศ.2430 โดยพระอธิการปั้น ที่ได้เดินทางมายังวัดใหญ่ทองเสนซึ่งในขณะนั้นเป็นวัดร้าง จึงได้ทำการบำรุงวัดให้ดีขึ้น แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น “วัดใหม่ทองเสน” ในช่วงแผนดินรัชกาลที่ 5”
ตามประวัติ พระธรรมอุดม (ถึก) เป็นพระที่แสดงธรรมเทศนาคู่ปุจฉา-วิสัชนา กับเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ในต้นรัชกาลที่ 3 ซึ่งทั้งสองท่านคงมีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน มีทรรศนะคติที่คลายคลึงกัน และมีความชอบพอรักใคร่กันเป็นอย่างดี จึงได้ร่วมกันสร้างวัดและองค์พระป่าเลไลยก์ที่ใหญ่โต เพื่อเป็นพุทธบูชาและให้เป็นพุทธสถานหรือปูชนียสถานเอาไว้เป็นที่เคารพบูชา บำเพ็ญบุญกุศลของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป
ภายในวัดมีโบราณวัตถุที่สำคัญๆ ได้แก่ “พระป่าเลไลยก์” แต่เดิมก่อสร้างด้วยปูนปั้นเป็นองค์ลงรักสีดำทั้งองค์ สูง 9 เมตร แต่ปัจจุบันได้บูรณะลงรักปิดทองสีเหลืองทองดูสวยงาม เมื่อสร้างพระป่าเลไลยก์แล้วเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 3 จากนั้นจึงได้มาสร้างวิหารเป็นรูปสี่เหลี่ยมหรือรูปมณฑปสี่เหลียมไว้เป็นที่ประทับ กล่าวกันว่าสมเด็จโต ท่านนิยมสร้างพระใหญ่ๆ และท่านก็รับเป็นประธานในการสร้างองค์พระป่าเลไลยก์ด้วย โดยได้จำลองมาจากองค์จริงที่จังหวัดสุพรรณบุรี แต่พระป่าเลไลยก์องค์นี้จะมีขนาดเล็กกว่า
โดยพระป่าเลไลยก์ เป็นพระพุทธรูปปางปาลิไลยก์ อยู่ในอิริยาบถประทับนั่งบัลลังก์ พระบาททั้งสองวางอยู่บนดอกบัว พระหัตถ์ซ้ายขวาวางคว่ำบนพระชานุ (เข่า) เป็นกิริยารับหม้อน้ำจากพญาช้างปาลิไลยกะ ซึ่งเป็นช้างอยู่ในป่าหลีกหนีจากโขลง มาคอยปรนนิบัติพระพุทธองค์ ส่วนพระหัตถ์ขวาวางหงายบนพระชานุ แสดงกิริยาไม่รับรวงผึ้งจากลิง เนื่องจากรวงผึ้งมีแมลงผึ้งอยู่ ลิงต้องกลับไปเอาแมลงผึ้ง และตัวลูกอ่อนออกหมดก่อน แล้วนำไปถวายใหม่ พระองค์จึงทรงรับประเคน
มีประวัติเล่าว่า ครั้งหนึ่งพระภิกษุในวัดโฆสิตาราม กรุงโกสัมพี ทะเลาะวิวาทกัน ประพฤติตนเป็นผู้ว่านอนสอนยาก พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงระอาพระทัยจึงเสด็จไปจำพรรษาอยู่ในป่าแถบหมู่บ้านปาลิเลยยกะ โดยมีพญาช้าปาลิเลยยกะและลิงตัวหนึ่งเป็นอุปัฏฐาก ครั้นออกพรรษา พระอานนท์พร้อมด้วยคณะพระภิกษุได้มากราบทูลอาราธนาพระพุทธองค์ให้เสด็จกลับพระเชตวันมหาวิหาร หลังจากพระพุทธองค์เสด็จกลับ พญาช้างเสียใจล้มลงขาดใจตาย บรรดาพระภิกษุผู้ว่ายากเมื่อทราบว่าพระพุทธองค์เสด็จกลับมายังพระเชตวันมหาวิหาร ก็รีบเดินทางมาเข้าเฝ้าเพื่อแสดงความสำนึกผิด
สำหรับความศักดิ์สิทธิ์ของพระป่าเลไลยก์องค์นี้มีมากมาย เช่น เล่ากันว่าในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการทิ้งห่าระเบิดลงแถวสะพานพระราม 6 วัดสร้อยทองและวัดวิมุต แต่มีระเบิดหลงมาตกถึงวัดใหม่ทองเสนตรงหน้าหลวงพ่อพระป่าเลไลยก์ แต่ไม่ระเบิด นี่คือความศักดิ์สิทธิ์ของท่าน และพระป่าเลไลยก์องค์นี้นิยมบนโดยการปฏิบัติธรรมมากกว่าการบนด้วยอาหาร ประทัด หรือละครรำ
โดยระหว่างที่ฉันกราบไหว้พระป่าเลไลยก์องค์ใหญ่นี้ ก็มีเหล่าทหารหญิงและชายที่ทำงานอยู่ในย่านนี้แวะเวียนมากราบไหว้ขอพร บางก็มาขอพรให้การงานประสบความสำเร็จ บ้างก็มาทำบุญในวันเกิด บางคนก็มากราบไหว้เพื่อให้สบายจิตสบายใจ
ส่วน “พระอุโบสถ” เป็นพระอุโบสถไม่มีระเบียง ขนาดกว้าง 8 เมตร ยาว 20 เมตร หลังคาสูง 2 ชั้น ยื่นออกมาจากผนังน้อยมาก จึงไม่มีทวยไม้ค้ำรับ ไม่มีช่อฟ้า แต่ตรงขอบยางหลังคาเป็นรูปปั้นลายกนกตลอดแนว หน้าบันพระอุโบสถทำเป็นลวดลายปูนปั้นรูปดอกไม้ประดับด้วยกระจกสีหน้าอุโบสถ
มีประตูเข้าเพียงหนึ่งประตู แต่ทางด้านข้างทั้งสองข้างทำประตูไว้อีกข้างละหนึ่งประตู ด้านข้างสองข้างมีหน้าต่างข้างละ 5 บาน ด้านหลังพระอุโบสถมีประตูเข้าอีกหนึ่งประตู โดยรอบพระอุโบสถมีใบเสมาคู่ทำด้วยหิน ซุ้มประตู และซุ้มหน้าต่างเป็นงานปูนปั้นมีลวดลายสวยงาม เป็นลวดลายศิลปะจีนผสมศิลปะบารอค เพราะในสมัยรัชกาลที่ 3 นั้นกำลังนิยมศิลปะจีนและศิลปะบารอคของฝรั่งเศส
องค์พระประธานสร้างด้วยปูนปั้น เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย อยู่ในพระอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา(ตัก) พระหัตถ์ขวาวางบนพระชานุ(เข่า) นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงพื้นธรณี ที่ฐานพระประธานในพระอุโบสถนั้นเป็นลวดลายบัวจำหลักและมีผ้าทิพย์ แสดงให้เห็นถึงศิลปะในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
พระพุทธรูปที่สำคัญในพระอุโบสถอีกองค์ก็คือ “พระไสยาสน์” หรือ “พระนอน” ที่พระธรรมอุดม (ถึก) ได้สร้างพระนอนองค์จำลองนี้ขึ้น โดยนำแบบมาจากวัดเชตุพนฯ หรือวัดโพธิ์ที่ท่าเตียน มาประดิษฐานไว้ในโบสถ์และได้เอาผงเสกของหลวงปู่โตไปบรรจุใต้ฐานพระนอนองค์นี้ด้วย
ภายในวัดยังมี “หอไตร” หรือ “หอพระไตรปิฎก” สร้างด้วยอิฐถือปูนเช่นเดียวกับพระอุโบสถ ตั้งอยู่ทางด้านหลังพระอุโบสถ แต่เดิมได้ชำรุดทรุดโทรมมาก ต่อมาทางกรมศิลป์ได้มาบูรณะซ่อมแซมใหม่ แล้วเสร็จเมื่อปี2543ที่ผ่านมา บนบานประตูเป็นลายรดน้ำ ตามผนังและเพดานเป็นลวดลายดอกไม้ ส่วน “หอระฆัง” สร้างด้วยอิฐถือปูนตามแบบธรรมดาง่ายๆ เป็นรูปสี่เหลี่ยม มียอดแหลม
เมื่อเข้ามาอยู่ในวัดแห่งนี้ ฉันรู้สึกถึงความเงียบสงบท่ามกลางสถานที่ราชการและตึกสูงใหญ่ แต่ก็มีผู้คนแวะเวียนมากราบไหว้ขอพรอยู่เนืองๆ พี่ผู้หญิงคนหนึ่งบอกฉันว่า “ที่ชอบเข้ามาไหว้พระขอพรที่วัดแห่งนี้ เพราะอยู่ใกล้และชอบความสงบร่มเย็น และความสะอาดสะอ้านของวัด”
ฉันเองก็คิดเช่นนั้น ใครที่มีโอกาสผ่านไปผ่านมาแถวถนนทหารย่านเกียกกาย ก็อย่าลืมแวะมากราบไหว้ขอพร "พระป่าเลไลยก์" ที่ "วัดใหม่ทองเสน" กันได้ ไม่ต้องไปไกลถึงสุพรรณ
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
“วัดใหม่ทองเสน” ตั้งอยู่บริเวณแยกเกียกกาย ตรงข้ามกองพล ปตอ. ถนนทหาร แขวงนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. 0-2241-1561, 0-2241-7914