โดย : ตะลอนเที่ยว (travel_astvmgr@hotmail.com)
“กุ้ยหลิน”
ในอดีตชาวจีนยกให้เมืองนี้เป็นดัง “สวรรค์บนพื้นพิภพ” หรือ “ซื่อไหว้เถ้าหยวน” เพราะว่าอุดมไปด้วยทิวทัศน์ของขุนเขาและสายน้ำที่งดงามปานเนรมิต ถึงขนาดมีคำกล่าวเอาไว้ว่า
"จิตรกรคนใดถ้าไม่เคยมาเยือนกุ้ยหลิน จิตรกรคนนั้นมิอาจวาดภาพภูเขาที่สวยงามได้"
“กุ้ยหลิน”(Guilin) ตั้งอยู่ในเขตปกครองตนเองชนชาติจ้วงกว่างซี หรือที่คนไทยเรานิยมเรียกกันว่า“มณฑลกวางสี” กุ้ยหลินมีฐานะเป็นเมืองใหญ่อันดับสาม แต่เป็นเมืองท่องเที่ยวอันดับหนึ่งของมณฑล ซึ่งถึงแม้ว่าในปัจจุบันเมืองจีนจะมีสถานที่ท่องเที่ยวที่งดงามดุจดังสวรรค์อยู่มากมาย แต่ชื่อชั้นความเป็นสวรรค์บนดินของกุ้ยหลินก็ยังไม่มีตก
ไม่เพียงเท่านั้นการท่องเที่ยวกุ้ยหลินยังตอกย้ำความเป็นเมืองสวรรค์ ด้วยการเปิดโฮกาสให้นักท่องเที่ยวขึ้นไปสัมผัสกับประตูสวรรค์ที่ “ขุนเขาประตูสวรรค์” ที่อยู่นอกเขตเมืองออกไป ถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวใหม่เอี่ยมอ่องอรทัยสำหรับคนไทย ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ “ตะลอนเที่ยว” มีโอกาสได้ร่วมเดินทางไปขึ้นเขาประตูสวรรค์ และสัมผัสสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆอีกหลากหลายในเมืองกุ้ยหลิน-หลิ่วโจว มณฑลกวางสี แบบเป็นวงรอบ กับบริษัททัวร์“เมอร์รี่แลนด์”ที่เป็นโต้โผใหญ่ในการนำคณะคนไทยไปสำรวจแหล่งท่องเที่ยวทั้งเก่า-ใหม่ในทริปนี้
ไต่ขอบสวรรค์ที่เขาประตูสวรรค์
หลังเหินฟ้าข้ามน้ำข้ามทะเลจากเมืองไทยมาถึงยังเมืองกุ้ยหลิน คืนวันแรกเราเข้านอนแต่หัววันเพื่อถนอมแรงไว้ตะลุยในวันรุ่งขึ้น ซึ่งมีโปรแกรมอยู่ที่อำเภอจือหยวน เมืองกุ้ยหลิน ที่อยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 107 กิโลเมตร ใช้เดินเวลาเดินราว 3 ชั่วโมง เนื่องจากเส้นทางส่วนใหญ่ขึ้นเขาคดเคี้ยว
“พาน หมิง จู”(Pan Ming Zhu) หรือ“น้องผึ้ง”ไกด์สาวผู้น่ารักคล่องแคล่วผู้มาทำหน้าที่นำเที่ยวในทริปนี้ ให้ข้อมูลว่า จือหยวนเป็นอำเภอริมเขตแดน ตั้งอยู่เหนือสุดของมณฑลกวางสีติดกับมณฑลหูหนัน มีสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่อุดมไปด้วยเทือกเขาและป่าไม้มากมาย มีแม่น้ำจือ(จือเจียง)เป็นแม่น้ำสายสำคัญ ประชากรในจือหยวนมีทั้งหมด 12 ชนเผ่า มีเผ่าจ้วง เย้า ม้ง และต้ง เป็น 4 ชนเผ่าหลัก
จือหยวนมีผลไม้ขึ้นชื่อคือกีวีและองุ่น องุ่นของที่นี่มีความแปลกตรงที่ ผลขององุ่นต้นฤดูกาลจะไม่มีเมล็ดแต่ผลขององุ่นปลายฤดูกาลกลับมีเมล็ด ซึ่งพอเข้าเขตจือหยวน สารถีคนขับนำรถแวะปั๊มให้แต่ละคนได้ทำธุระกันตามอัตภาพ และตามความสามารถเฉพาะตัวในห้องน้ำสาธารณะจีนที่ปราบเซียนมานักต่อนัก ระหว่างนี้มีแม่ค้าแบกองุ่นจือหยวนมาขายให้ลิ้มลอง กินแก้เซ็ง ที่ถือว่ารสชาติพอใช้ได้เหมาะสมกับราคา(ต่อแล้วได้ กก.ละ 4 หยวน) แต่ยังไงๆก็ควรไปกินไกลห้องน้ำของปั๊มแห่งนี้หน่อย เพราะกลิ่นที่โชยออกมาและภาพที่ยังติดตาอยู่มันช่างชวนให้สยดสยองเสียนี่กระไร
สำหรับสถานที่ท่องเที่ยวในจือหยวนที่เป็นไฮไลท์หลักของเราในทริปนี้อยู่ที่การขึ้นไปพิชิตยอด “เทียนเหมินซาน”หรือ “ขุนเขาประตูสวรรค์” ใครที่เคยขึ้นไปพิชิตเทียนเหมินซาน ที่เมืองจางเจียเจี้ย มณฑลหูหนันมาแล้ว กรุณาอย่าสับสนเพราะมันคือขุนเขาคนละแห่งกัน แต่เหตุที่ได้ชื่อว่าเทียนเหมินซานเหมือนกัน นั่นเป็นเพราะหลังภาพยนตร์เรื่อง“อวตาร”ออกฉาย ขุนเขาประตูสวรรค์ที่ถูกใช้เป็นหนึ่งในฉากของภาพยนตร์เรื่องนี้ โด่งดังฮอตฮิตขึ้นมาทันทีทันควัน ทางเมืองกุ้ยหลินจึงสบช่อง นำชื่อเทียนเหมินซานอันโด่งดังในจางเจียเจี้ยมาตั้งชื่อกับกลุ่มขุนเขาน้อยใหญ่ในเมืองจือหยวน พร้อมเปิดตัวเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ ด้วยเห็นในศักยภาพความงดงามของกลุ่มขุนเขาเหล่านี้
แต่ก่อนที่จะขึ้นพิชิตเทียนเหมินซานกุ้ยหลิน น้องผึ้งเธอพาไปอุ่นเครื่องด้วยการนั่งเรือล่องแม่น้ำจือ(จือเจียง)ชมวิว 2 ฟากฝั่งกันก่อนประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง
ในเส้นทางล่องเรือนี้ นอกจากทิวทัศน์หมู่บ้าน วิถีชีวิต ป่าไม้ ป่าไผ่ และก้อนหินน้อยแล้ว ยังมีภูเขาหินตั้งตระหง่านให้ผู้ล่องเรือได้จินตนาการตาม ไม่ว่าจะเป็นหินรูปเห็ด รูปหอยทาก เห็ด หมวก ฯลฯ มาจนถึง“ช่องเขาประตูสวรรค์” ที่เป็นภูเขาสูงตั้งขนาบข้างในสองฝั่งแม่น้ำ ครั้นเมื่อเรือล่องมาถึงที่นี่ก็เป็นอันสิ้นสุดโปรแกรมล่องเรือ
จากนั้นคณะเรามีคิวต่อไปอยู่ที่การเดินเท้าขึ้นไปพิชิตยอดเขาประตูสวรรค์ ที่ในวันนี้แม้เส้นทางขึ้นสู่ยอดเขาด้วยกระเช้าจะสร้างเสร็จแล้ว แต่อยู่ในระหว่างรอใบอนุญาตเปิดใช้(ให้นั่งขึ้นยอดเขา)อย่างเป็นทางการปลายปีนี้ นั่นจึงทำให้งานนี้เราต้องรวบรวมลมปราณเดินขึ้นยอดเขาสถานเดียว
ยอดเขาประตูสวรรค์ที่เห็นใกล้ตาแต่ไกลตีนมีความสูงจากพื้นดินขึ้นไป 960 เมตร ทางเดินขึ้น-ลงแม้สูงชันแต่ว่ามีการทำทางเดินไว้เป็นอย่างดี มีจุดให้นั่งพักเป็นช่วงๆอยู่ 2-3 จุดด้วยกัน แต่กระนั้นการเดินขึ้นไปพิชิตยอดที่ใช้เวลาร่วมๆ 1 ชั่วโมง(ขาลงจะเร็วกว่าใช้เวลาประมาณ 30-45 นาที)ก็ถือว่าเหนื่อยเลือดตาแทบกระเด็น แต่เมื่อขึ้นไปถึงยอดความเหนื่อยก็หายเป็นปลิดทิ้ง เพราะทิวทัศน์บนนี้เมื่อมองลงไปจะเห็นทะเลภูเขาลูกน้อย-ใหญ่อันสวยงามกว้างไกล คุ้มค่ากับการเดินขึ้นมา
“บนนี้เป็นจุดที่คนจีนเชื่อว่าเป็นดังรอยต่อระหว่างโลกมนุษย์กับสวรรค์” แม้จะเหนื่อยจนเห็นอาการ แต่น้องผึ้งที่ค่อยๆลากสังขารตามขึ้นมาก็พยายามให้ข้อมูลอย่างเต็มที่(นี่เป็นการเดินขึ้นยอดเขาประตูสวรรค์ครั้งแรกในชีวิตของเธอเช่นกัน)
นอกจากวิวทิวทัศน์ชวนตื่นตาตื่นใจแล้ว บนนี้ยังมีสะพานทางเดินลอยฟ้าสร้างลัดเลาะตามภูมิประเทศ มีหอชมวิวให้ขึ้นไปยืนชมวิวรับลมเย็นๆ และ“ระเบียงแก้วลอยฟ้า” ที่ถือเป็นไฮไลท์ของยอดเขาแห่งนี้
ระเบียงแก้วเป็นจุดชมวิวที่สามารถมองลงไปเห็นวิวทิวทัศน์ของทะเลภูเขาเบื้องล่างได้อย่างกว้างไกล แถมยังมีความหวาดเสียวเป็นพิเศษเพราะพื้นล่างโปร่งใส ก้มมองลงไปเห็นดูคล้ายเท้าของเรากำลังยืนลอยอยู่บนท้องฟ้า ซึ่งถ้าได้ขึ้นมาเดินขาสั่นบนระเบียงแก้วในวันที่มีเมฆหมอกขาวโพลนลอยอ้อยอิ่งอยู่เบื้องล่าง บนนี้จะให้ความรู้สึกเหมือนดังกำลังเดินเหินอยู่บนสวรรค์ไม่น้อยเลย
ซานเจียง เมืองต้ง
หลังเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าจากการขึ้น-ลง ขุนเขาประตูสวรรค์ กุ้ยหลิน คืนวันนั้นทำให้เราหลับลืมตาย ก่อนจะตื่นขึ้นมาในเช้าวันใหม่ ออกเดินทางต่อไปข้ามเขตเมืองกุ้ยหลินสู่อำเภอซานเจียง ในเขตเมืองหลิ่วโจว มณฑลกวางสี
“ซานเจียง“ เป็นอำเภอปกครองตนเองของชนชาติต้ง(Dong) มีชาวต้งอาศัยอยู่มากกว่า 80% ชื่อซานเจียง หมายถึงเมืองที่มีแม่น้ำสามสายไหลมาบรรจบกัน(ซาน แปลว่าสาม,เจียงแปลว่าแม่น้ำ) คือแม่น้ำหยง,ฉุน และ เหมียว
ซานเจียง เป็นดินแดนที่อวลไปด้วยเสน่ห์แห่งวิถีชาวต้ง ที่วันนี้ยังคงรักษาประเพณี วัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของพวกเขาไว้ค่อนข้างเหนียวแน่น
ชาวต้งเป็นชนเผ่าที่เชี่ยวชาญในงานไม้ นิยมปลูกบ้านไม้สามชั้นหลังใหญ่ ชั้นล่างเป็นพื้นที่เปิดโล่งใช้เลี้ยงสัตว์ ชั้นสองเป็นที่พักอาศัยหลับนอน ส่วนชั้นสามใช้เป็นที่เก็บข้าวของ หมู่บ้านต้งทุกแห่ง หน้าหมู่บ้านจะต้องมีลำคลองหรือธารน้ำเพื่อไว้ใช้สอย ทำการเกษตร
นอกจากนี้ทุกหมู่บ้านต้งจะต้องมีการสร้าง“สะพานลมฝน” ข้ามผ่านธารน้ำ และมีการสร้าง“หอกลอง”ไว้ประจำหมู่บ้าน
“ที่เรียกว่าสะพานลมฝน เพราะเป็นสะพานมีหลังคาคลุมกันแดด กันลม กันฝน ในอดีตมีชาวต้งเผ่าเดียวที่สร้างสะพานแบบนี้ แถมยังเป็นสะพานไม้ที่สร้างโดยไม่ใช้ตะปูอีกด้วย”
น้องผึ้งเล่าให้ฟัง ส่วนหอกลองที่ถือเป็นหนึ่งในสองของเอกลักษณ์ชาวต้งคู่กับสะพานลมฝนนั้น น้องผึ้งบอกว่าต้องไปเล่าในสถานที่จริงจึงจะได้บรรยากาศ ว่าแล้วเธอก็พาคณะเรามายังจตุรัสซานเจียง เพื่อมาสัมผัสกับหอกลองประจำเมืองที่ตั้งโดดเด่นงามสง่าเป็นสัญลักษณ์ประจำเมือง
หอกลองซานเจียง สร้างเสร็จในปี ค.ศ. 2002 ทำด้วยไม้ทั้งหลัง เป็น 8 เหลี่ยม มีความสูง 43 เมตร มีจำนวนชั้น(ภายนอก) 27 ชั้น ส่วนภายในมีทางเดินขึ้นไปบริเวณส่วนยอดที่ทำเป็นจุดชมวิวกลางเมืองซานเจียง
“หอกลองไม้หลังนี้เป็นศิลปะชาวต้งที่ได้ชื่อว่าสูงใหญ่ที่สุดในโลก เพราะชนชาติอื่นเขาไม่ทำกัน”
น้องผึ้งพูดติดตลก ก่อนอธิบายถึงลักษณะเด่นของหอกลองต้งว่า ชาวต้ง(ในอดีต)สร้างขึ้นมาเพื่อใช้เป็นที่ตีกลองส่งสัญญาณระวังภัยและเป็นที่เรียกประชุมหมู่บ้าน การสร้างหอกลองมีความเชื่อในเรื่องยิน(หยิน)-หยาง เข้ามาเกี่ยวข้อง ยิน คือแกนตั้ง ต้องสร้างเป็นเลขคี่ ส่วนหยาง เป็นแกนนอน ต้องสร้างเป็นเลขคี่
จากจัตุรัสหอกลอง เมื่อมองไปยังฝั่งตรงข้าม(ถนน)จะเห็นเป็นอาคารวงกลมทรงคล้ายสนามกีฬาขนาดใหญ่ อาคารแห่งนี้คือ “หอรังนกตงเซียง”
หอรังนกแห่งนี้นำไอเดียมาจากสนามกีฬารังนกที่ปักกิ่ง ก่อสร้างในปี ค.ศ. 2009 มีความพิเศษตรงที่เป็นอาคารขนาดใหญ่ทรงกลม(ทรงสนามกีฬา)ที่สร้างด้วยไม้ทั้งหลัง ใช้เป็นโรงละคร และสถานที่จัดแสดงทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะโชว์ของจางอี้โหมวที่เพิ่งเปิดการแสดงรอบปฐมฤกษ์ไปในวันชาติจีน( 1 ต.ค. 2011)ที่ผ่านมา
สำหรับพื้นที่สร้างหอรังนกเดิมเป็นสนามกีฬาชนวัว-ควายของชาวต้ง บริเวณ 2 ฟากฝั่งประตูทางเข้าจึงทำเป็นรูปปั้นวัวขนาดใหญ่ยักษ์ประดับไว้ ในขณะที่โซนด้านหลังของหอรังนก ทำเป็นสนามกีฬาชนวัว-ควาย(ลานชนวัว)เปิดให้นักท่องเที่ยวและผู้สนใจได้เข้ามาชมกัน
ร่ำสุรา ผูกสัมพันธ์ชาวต้ง ที่ซานเจียง
จากจัตุรัสกลางเมืองซานเจียง น้องผึ้งพาคณะของเราไปสัมผัสกับวิถีชาวต้งอย่างเข้มข้นที่ “หมู่บ้าน(ต้ง)เฉินหยาง” หมู่บ้านท่องเที่ยวที่ยังคงวิถีความเป็นอยู่และเอกลักษณ์อันโดดเด่นของความเป็นต้งเอาไว้ ท่ามกลางความเป็นแปลงของวิถีโลกทุนนิยม
หมู่บ้านเฉินหยาง มีสะพานลมฝนโบราณทางเข้าหมู่บ้านเป็นไฮไลท์ สะพานแห่งนี้สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1916 ตัวสะพานทำด้วยไม้ทั้งหมด มีความยาว 75 เมตร สูง 10 เมตร กว้าง 3 เมตร เป็นสะพานลมฝนต้นฉบับเก่าแก่ที่มีชื่อเสียงที่สุดในจีน ปัจจุบันยังคงอยู่ในสภาพดีเนื่องจากชาวบ้านที่นี่ดูแลอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี
อนึ่งการเดินข้ามสะพานลมฝนเฉินหยางนี้ น้องผึ้งเธอมีเกร็ดความเชื่อมาเล่าสู่กันฟังว่า ผู้ที่เดินข้ามสะพานแห่งนี้เป็นครั้งแรก ให้เดินมองไปข้างหน้าอย่างเดียว อย่าหันหลังกลับมา เดินไปจนพ้นสะพาน แล้วจึงค่อยหันหลังกลับมาจับจ่ายสินค้าพื้นบ้านที่มีวางขายอยู่ริม 2 ข้างสะพาน หรือถ้าใครไม่อยากเดินย้อนกลับหากจะช้อปปิ้งบนสะพานก็ให้มองไปแต่ข้างหน้าอย่ามองย้อนกลับมา
“คนโบราณที่นี่เชื่อว่าการก้าวข้ามสะพานแห่งนี้ เป็นดังความก้าวหน้าของชีวิต ที่ละทิ้งสิ่งชั่วร้ายเอาไว้ข้างหลัง เพราะฉะนั้นจึงห้ามหันหลังกลับมาเพื่อไม่ให้สิ่งชั่วร้ายตามติดตัวเราไปอีก” น้องผึ้งว่าอย่างนั้น
เมื่อเดินข้ามสะพานเฉินหยางแบบไม่เหลียวหลังแล้ว เราได้เข้ามาสัมผัสกับวิถีหมู่บ้านต้งที่“หมู่บ้านหม่าอัน”(เป็น 1 ใน 8 หมู่บ้านย่อยของหมู่บ้านเฉินหยาง)ที่มีการปลูกบ้านเรือนไม้เป็นหลังสูงใหญ่ตั้งเรียงราย ลดหลั่นกันไปสภาพภูมิประเทศที่เป็นเนินและพื้นที่ราบ
ชาวบ้านส่วนใหญ่ของที่นี่ทำการเกษตรทำนา ปลูกผัก กลางหมู่บ้านหอกลองประจำหมู่บ้านที่ดูสุดแสนจะคลาสสิค ตั้งอยู่บริเวณลานเอนกประสงค์ พื้นที่สาธารณะให้ชาวบ้านมาพบปะพูดคุย ตากข้าว ฯลฯ รวมไปถึงการขายสินค้าให้กับนักท่องเที่ยวที่นิยมมาถ่ายรูปบริเวณนี้ด้วย
หลังชาวคณะเพลิดเพลินอยู่ที่หมู่บ้านหม่าอันกันนานโขจนตะวันตกดิน พวกเราเคลื่อนย้ายต่อไปยัง “หมู่บ้านคว้านเฉียว”หมู่บ้านต้งอีกแห่งหนึ่งที่อยู่ไม่ไกลกัน
หมู่บ้านคว้านเฉียว เป็นหมู่บ้านที่ขึ้นชื่อในเรื่องประเพณี “การจัดเลี้ยง 100 ครอบครัว” ที่ใช้รับเลี้ยงอาคันตุกะสำคัญที่ตอนหลังประยุกต์มาเป็นใช้เลี้ยงต้อนรับนักท่องเที่ยว เพื่อเป็นรายได้เสริมให้กับชาวบ้าน
ทันทีที่มาถึงหมู่บ้านแห่งนี้ “ตะลอนเที่ยว” อดตื่นตะลึงกับการต้อนรับของชาวบ้านที่นี่ไม่ได้ พวกเขามาในชุดประจำเผ่ายืนเต็มบันไดทางขึ้นหมู่บ้าน ผู้ชายนุ่งกางเกงสีดำ สวมเสื้อสีขาว ผู้หญิงนุ่งกระโปรงสีดำ สวมเสื้อสีน้ำเงิน ผู้หญิงที่แต่งงานแล้วจะไม่สวมหมวก ส่วนคนที่ยังไม่แต่งงานจะสวมหมวกเงิน ซึ่งเท่าที่เราสอดส่องสายตามองจนทั่วเห็นมีสาวโสดอยู่คนเดียว แถมหน้าตาน่ารักจิ้มลิ้มเสียด้วย(มารู้ทีหลังว่าเธอเป็นดาวของที่นี่)
แม้จะยกพลกันมาต้อนรับจำนวนมาก แต่ประทานโทษ พวกเขากลับไม่ยอมเข้าไปร่วมงานในหมู่บ้านง่ายๆ เพราะพวกเรายังไม่ผ่านด่านการร้องเพลงถาม-ตอบ ซึ่งตามประเพณีดั้งเดิมชาวต้งจะร้องเพลงถามมา แล้วแขกต่างถิ่น(ชาวต้ง)ผู้มาเยือนจะร้องเพลงตอบโต้กลับไปด้วยเนื้อหาที่สอดคล้องกัน แต่เมื่อประเพณีปรับเปลี่ยนมาเป็นกิจกรรมทางการท่องเที่ยว เพลงที่ร้องตอบกลับไปของอาคันตุกะจะเป็นเพลงอะไรก็ได้ ขอเพียงให้ร้องตอบกลับไปเท่านั้นเป็นพอ ซึ่งงานนี้แน่นอนว่าสำหรับคนไทยเราย่อมหนีไม่พ้นเพลงลอยกระทง ที่สุดท้ายร้องถาม-ตอบ กันถึง 3 รอบ ชาวต้งถึงยินยอมให้เข้าหมู่บ้านของเขาด้วยรอยยิ้มพิมพ์ใจ โดยมีกลุ่มนักดนตรีผู้ชายเล่นดนตรีคลอเคล้าต้อนรับไปตลอด
ครั้นเดินขึ้นบันไดมาถึงยังลานเอนกประสงค์ของหมู่บ้านที่ด้านหน้าเป็นโรงละคร ด้านหลังเป็นหอกลอง สาวใหญ่ชาวต้งทั้งหลายต้อนรับพวกเราในเบื้องต้นด้วยชาพื้นเมืองตามแบบฉบับชาวต้งที่มีการใส่ข้าวพองลงไปด้วย ถัดมาเป็นกิจกรรมการแสดงต้อนรับกลางลาน มีทั้งการเต้นรำ การรำแคน และการรำร่มของพวกผู้หญิง
จากนั้นก็เป็นการกินเลี้ยงร่วมกันระหว่างชาวบ้านกับอาคันตุกะแดนไกลจากสยามประเทศ ในประเพณี“จัดเลี้ยงร้อยครอบครัว” อันเป็นเอกลักษณ์ของชาวต้ง ซึ่งน้องผึ้งอธิบายให้ฟังว่า เมื่อมีแขกสำคัญมาเยือนหมู่บ้านต้ง สมัยดั้งเดิม ชาวบ้านจะทำอาหารบ้านละ 1 อย่าง( 1 บ้าน 1 กับข้าว) มาร่วมกันเลี้ยงรับรองแขกแบบไม่ให้ซ้ำกัน ทำให้ในมื้อนั้นประกอบไปด้วยอาหารมากมายจากแต่ละบ้าน จึงเรียกรวมๆเป็นการจัดเลี้ยงร้อยครอบครัว
แต่มาในปัจจุบันที่ประเพณีถูกปรับเปลี่ยนเป็นกิจกรรมด้านการท่องเที่ยว อาหารที่ชาวบ้านแต่ละหลังนำมาจะเป็นอาหารชุด โดยเน้นไปที่อาหารพื้นเมือง ซึ่งในค่ำวันนั้นก็มีสารพัดทั้ง หมู เป็ด ไก่ ไข่เจียว เนื้อ ปลานึ่ง ปลาทอด หอยขมนึ่ง กุ้งฝอยทอด ผักต่างๆ ฟักทอง ฯลฯ และที่ขาดไม่ได้ก็คือเหล้าข้าวเหนียว
สำหรับการร่วมกินอาหารกับชาวบ้านนั้น อาคันตุกะสามารถเดินเวียนไปร่วมกินร่วมแจมในแต่ละโต๊ะตามความพึงพอใจได้
ครั้นพอกินเสร็จสิ้นจนอิ่มแปล้ งานก็เข้า“ตะลอนเที่ยว”ทันที เมื่อสาวๆนำโดยน้องหมวกเงินคนโสด เดินปรี่เข้ามาหา พร้อมระดมจอกเหล้า 10 กว่าจอกมายื่นจ่อปากให้ดื่มกินให้หมด ชนิดที่เราตั้งตัวแทบไม่ทัน กว่าจะฝืนยกจอกจำนวนมากแบบตั้งใจให้หกเรี่ยราดไปเสียครึ่งหนึ่ง ก็เล่นเอามึนเมาไปพอตัว
หลังเสร็จจากคิวของ “ตะลอนเที่ยว”เหล่าทีมงานมอมเหล้าก็เดินล่าเหยื่อรายต่อไป ซึ่งไม่เฉพาะแค่ผู้ชายเท่านั้นที่โดน แต่ผู้หญิงก็โดนเหมือนกันด้วยฝีมือของเหล่าหนุ่มใหญ่ชาวต้งที่นำเหล้ามายกจอกจ่อถึงริมฝีปากของสาวๆบางคน(ที่พวกเขาเลือกแล้ว)
และนี่ก็คือประเพณีต้อนรับของชาวต้งที่สร้างความสนุกสนานครื้นเครงและเฮฮาผสมมึนเมาได้เป็นอย่างดี ที่สุดท้าย ท้ายสุดของงานจะเป็นการร่วมเต้นรำกันระหว่างแขกผู้มาเยือนกับหญิง-ชายชาวต้งส่งท้ายล่ำลากันกันอย่างประทับใจ ยากที่จะลืมเลือน
งานนี้แม้จะคุยกันคนละภาษาแต่นั่นหาใช่เรื่องสำคัญไม่ เพราะการบ่มเพาะมิตรภาพนั้น สามารถใช้ภาษาใจสื่อสารกันได้ และเมื่อเราใช้ภาษาใจคุยกัน ความสัมพันธ์มันก็ก่อกำเนิดขึ้นมาอย่างไม่ยากเย็น...(อ่านต่อตอนหน้า)
*****************************************
หลายปีที่แล้ว กุ้ยหลินถือเป็นหนึ่งในเมืองท่องเที่ยวยอดนิยมของเมืองจีนสำหรับคนไทย ทัวร์ไทย แต่หลังจากการยกเลิกเส้นทางการบิน(ตรง)ของสายการบินที่บินประจำ “กรุงเทพฯ-กุ้ยหลิน” ก็ทำให้ความนิยมต่อการเดินทางไปเที่ยวเมืองกุ้ยหลินของคนไทยลดน้อยลงไป
กระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ สายการบินโอเรียนไทยแอร์ไลนส์ได้เปิดเที่ยวบินตรง(ชาร์เตอร์ไฟลท์) กรุงเทพฯ-กุ้ยหลิน ขึ้นในทุกๆ 6 วัน นั่นก็ทำให้การทำทัวร์ไทยไปกุ้ยหลิน(และทัวร์จีนมาไทย)เริ่มกลับมาคึกคักอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งผู้ที่สนใจไปทัวร์เมืองกุ้ยหลิน สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริษัทเมอรร์รี่แลนด์ โทร. 0-2249-8216-20
“กุ้ยหลิน”
ในอดีตชาวจีนยกให้เมืองนี้เป็นดัง “สวรรค์บนพื้นพิภพ” หรือ “ซื่อไหว้เถ้าหยวน” เพราะว่าอุดมไปด้วยทิวทัศน์ของขุนเขาและสายน้ำที่งดงามปานเนรมิต ถึงขนาดมีคำกล่าวเอาไว้ว่า
"จิตรกรคนใดถ้าไม่เคยมาเยือนกุ้ยหลิน จิตรกรคนนั้นมิอาจวาดภาพภูเขาที่สวยงามได้"
“กุ้ยหลิน”(Guilin) ตั้งอยู่ในเขตปกครองตนเองชนชาติจ้วงกว่างซี หรือที่คนไทยเรานิยมเรียกกันว่า“มณฑลกวางสี” กุ้ยหลินมีฐานะเป็นเมืองใหญ่อันดับสาม แต่เป็นเมืองท่องเที่ยวอันดับหนึ่งของมณฑล ซึ่งถึงแม้ว่าในปัจจุบันเมืองจีนจะมีสถานที่ท่องเที่ยวที่งดงามดุจดังสวรรค์อยู่มากมาย แต่ชื่อชั้นความเป็นสวรรค์บนดินของกุ้ยหลินก็ยังไม่มีตก
ไม่เพียงเท่านั้นการท่องเที่ยวกุ้ยหลินยังตอกย้ำความเป็นเมืองสวรรค์ ด้วยการเปิดโฮกาสให้นักท่องเที่ยวขึ้นไปสัมผัสกับประตูสวรรค์ที่ “ขุนเขาประตูสวรรค์” ที่อยู่นอกเขตเมืองออกไป ถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวใหม่เอี่ยมอ่องอรทัยสำหรับคนไทย ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ “ตะลอนเที่ยว” มีโอกาสได้ร่วมเดินทางไปขึ้นเขาประตูสวรรค์ และสัมผัสสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆอีกหลากหลายในเมืองกุ้ยหลิน-หลิ่วโจว มณฑลกวางสี แบบเป็นวงรอบ กับบริษัททัวร์“เมอร์รี่แลนด์”ที่เป็นโต้โผใหญ่ในการนำคณะคนไทยไปสำรวจแหล่งท่องเที่ยวทั้งเก่า-ใหม่ในทริปนี้
ไต่ขอบสวรรค์ที่เขาประตูสวรรค์
หลังเหินฟ้าข้ามน้ำข้ามทะเลจากเมืองไทยมาถึงยังเมืองกุ้ยหลิน คืนวันแรกเราเข้านอนแต่หัววันเพื่อถนอมแรงไว้ตะลุยในวันรุ่งขึ้น ซึ่งมีโปรแกรมอยู่ที่อำเภอจือหยวน เมืองกุ้ยหลิน ที่อยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 107 กิโลเมตร ใช้เดินเวลาเดินราว 3 ชั่วโมง เนื่องจากเส้นทางส่วนใหญ่ขึ้นเขาคดเคี้ยว
“พาน หมิง จู”(Pan Ming Zhu) หรือ“น้องผึ้ง”ไกด์สาวผู้น่ารักคล่องแคล่วผู้มาทำหน้าที่นำเที่ยวในทริปนี้ ให้ข้อมูลว่า จือหยวนเป็นอำเภอริมเขตแดน ตั้งอยู่เหนือสุดของมณฑลกวางสีติดกับมณฑลหูหนัน มีสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่อุดมไปด้วยเทือกเขาและป่าไม้มากมาย มีแม่น้ำจือ(จือเจียง)เป็นแม่น้ำสายสำคัญ ประชากรในจือหยวนมีทั้งหมด 12 ชนเผ่า มีเผ่าจ้วง เย้า ม้ง และต้ง เป็น 4 ชนเผ่าหลัก
จือหยวนมีผลไม้ขึ้นชื่อคือกีวีและองุ่น องุ่นของที่นี่มีความแปลกตรงที่ ผลขององุ่นต้นฤดูกาลจะไม่มีเมล็ดแต่ผลขององุ่นปลายฤดูกาลกลับมีเมล็ด ซึ่งพอเข้าเขตจือหยวน สารถีคนขับนำรถแวะปั๊มให้แต่ละคนได้ทำธุระกันตามอัตภาพ และตามความสามารถเฉพาะตัวในห้องน้ำสาธารณะจีนที่ปราบเซียนมานักต่อนัก ระหว่างนี้มีแม่ค้าแบกองุ่นจือหยวนมาขายให้ลิ้มลอง กินแก้เซ็ง ที่ถือว่ารสชาติพอใช้ได้เหมาะสมกับราคา(ต่อแล้วได้ กก.ละ 4 หยวน) แต่ยังไงๆก็ควรไปกินไกลห้องน้ำของปั๊มแห่งนี้หน่อย เพราะกลิ่นที่โชยออกมาและภาพที่ยังติดตาอยู่มันช่างชวนให้สยดสยองเสียนี่กระไร
สำหรับสถานที่ท่องเที่ยวในจือหยวนที่เป็นไฮไลท์หลักของเราในทริปนี้อยู่ที่การขึ้นไปพิชิตยอด “เทียนเหมินซาน”หรือ “ขุนเขาประตูสวรรค์” ใครที่เคยขึ้นไปพิชิตเทียนเหมินซาน ที่เมืองจางเจียเจี้ย มณฑลหูหนันมาแล้ว กรุณาอย่าสับสนเพราะมันคือขุนเขาคนละแห่งกัน แต่เหตุที่ได้ชื่อว่าเทียนเหมินซานเหมือนกัน นั่นเป็นเพราะหลังภาพยนตร์เรื่อง“อวตาร”ออกฉาย ขุนเขาประตูสวรรค์ที่ถูกใช้เป็นหนึ่งในฉากของภาพยนตร์เรื่องนี้ โด่งดังฮอตฮิตขึ้นมาทันทีทันควัน ทางเมืองกุ้ยหลินจึงสบช่อง นำชื่อเทียนเหมินซานอันโด่งดังในจางเจียเจี้ยมาตั้งชื่อกับกลุ่มขุนเขาน้อยใหญ่ในเมืองจือหยวน พร้อมเปิดตัวเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ ด้วยเห็นในศักยภาพความงดงามของกลุ่มขุนเขาเหล่านี้
แต่ก่อนที่จะขึ้นพิชิตเทียนเหมินซานกุ้ยหลิน น้องผึ้งเธอพาไปอุ่นเครื่องด้วยการนั่งเรือล่องแม่น้ำจือ(จือเจียง)ชมวิว 2 ฟากฝั่งกันก่อนประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง
ในเส้นทางล่องเรือนี้ นอกจากทิวทัศน์หมู่บ้าน วิถีชีวิต ป่าไม้ ป่าไผ่ และก้อนหินน้อยแล้ว ยังมีภูเขาหินตั้งตระหง่านให้ผู้ล่องเรือได้จินตนาการตาม ไม่ว่าจะเป็นหินรูปเห็ด รูปหอยทาก เห็ด หมวก ฯลฯ มาจนถึง“ช่องเขาประตูสวรรค์” ที่เป็นภูเขาสูงตั้งขนาบข้างในสองฝั่งแม่น้ำ ครั้นเมื่อเรือล่องมาถึงที่นี่ก็เป็นอันสิ้นสุดโปรแกรมล่องเรือ
จากนั้นคณะเรามีคิวต่อไปอยู่ที่การเดินเท้าขึ้นไปพิชิตยอดเขาประตูสวรรค์ ที่ในวันนี้แม้เส้นทางขึ้นสู่ยอดเขาด้วยกระเช้าจะสร้างเสร็จแล้ว แต่อยู่ในระหว่างรอใบอนุญาตเปิดใช้(ให้นั่งขึ้นยอดเขา)อย่างเป็นทางการปลายปีนี้ นั่นจึงทำให้งานนี้เราต้องรวบรวมลมปราณเดินขึ้นยอดเขาสถานเดียว
ยอดเขาประตูสวรรค์ที่เห็นใกล้ตาแต่ไกลตีนมีความสูงจากพื้นดินขึ้นไป 960 เมตร ทางเดินขึ้น-ลงแม้สูงชันแต่ว่ามีการทำทางเดินไว้เป็นอย่างดี มีจุดให้นั่งพักเป็นช่วงๆอยู่ 2-3 จุดด้วยกัน แต่กระนั้นการเดินขึ้นไปพิชิตยอดที่ใช้เวลาร่วมๆ 1 ชั่วโมง(ขาลงจะเร็วกว่าใช้เวลาประมาณ 30-45 นาที)ก็ถือว่าเหนื่อยเลือดตาแทบกระเด็น แต่เมื่อขึ้นไปถึงยอดความเหนื่อยก็หายเป็นปลิดทิ้ง เพราะทิวทัศน์บนนี้เมื่อมองลงไปจะเห็นทะเลภูเขาลูกน้อย-ใหญ่อันสวยงามกว้างไกล คุ้มค่ากับการเดินขึ้นมา
“บนนี้เป็นจุดที่คนจีนเชื่อว่าเป็นดังรอยต่อระหว่างโลกมนุษย์กับสวรรค์” แม้จะเหนื่อยจนเห็นอาการ แต่น้องผึ้งที่ค่อยๆลากสังขารตามขึ้นมาก็พยายามให้ข้อมูลอย่างเต็มที่(นี่เป็นการเดินขึ้นยอดเขาประตูสวรรค์ครั้งแรกในชีวิตของเธอเช่นกัน)
นอกจากวิวทิวทัศน์ชวนตื่นตาตื่นใจแล้ว บนนี้ยังมีสะพานทางเดินลอยฟ้าสร้างลัดเลาะตามภูมิประเทศ มีหอชมวิวให้ขึ้นไปยืนชมวิวรับลมเย็นๆ และ“ระเบียงแก้วลอยฟ้า” ที่ถือเป็นไฮไลท์ของยอดเขาแห่งนี้
ระเบียงแก้วเป็นจุดชมวิวที่สามารถมองลงไปเห็นวิวทิวทัศน์ของทะเลภูเขาเบื้องล่างได้อย่างกว้างไกล แถมยังมีความหวาดเสียวเป็นพิเศษเพราะพื้นล่างโปร่งใส ก้มมองลงไปเห็นดูคล้ายเท้าของเรากำลังยืนลอยอยู่บนท้องฟ้า ซึ่งถ้าได้ขึ้นมาเดินขาสั่นบนระเบียงแก้วในวันที่มีเมฆหมอกขาวโพลนลอยอ้อยอิ่งอยู่เบื้องล่าง บนนี้จะให้ความรู้สึกเหมือนดังกำลังเดินเหินอยู่บนสวรรค์ไม่น้อยเลย
ซานเจียง เมืองต้ง
หลังเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าจากการขึ้น-ลง ขุนเขาประตูสวรรค์ กุ้ยหลิน คืนวันนั้นทำให้เราหลับลืมตาย ก่อนจะตื่นขึ้นมาในเช้าวันใหม่ ออกเดินทางต่อไปข้ามเขตเมืองกุ้ยหลินสู่อำเภอซานเจียง ในเขตเมืองหลิ่วโจว มณฑลกวางสี
“ซานเจียง“ เป็นอำเภอปกครองตนเองของชนชาติต้ง(Dong) มีชาวต้งอาศัยอยู่มากกว่า 80% ชื่อซานเจียง หมายถึงเมืองที่มีแม่น้ำสามสายไหลมาบรรจบกัน(ซาน แปลว่าสาม,เจียงแปลว่าแม่น้ำ) คือแม่น้ำหยง,ฉุน และ เหมียว
ซานเจียง เป็นดินแดนที่อวลไปด้วยเสน่ห์แห่งวิถีชาวต้ง ที่วันนี้ยังคงรักษาประเพณี วัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของพวกเขาไว้ค่อนข้างเหนียวแน่น
ชาวต้งเป็นชนเผ่าที่เชี่ยวชาญในงานไม้ นิยมปลูกบ้านไม้สามชั้นหลังใหญ่ ชั้นล่างเป็นพื้นที่เปิดโล่งใช้เลี้ยงสัตว์ ชั้นสองเป็นที่พักอาศัยหลับนอน ส่วนชั้นสามใช้เป็นที่เก็บข้าวของ หมู่บ้านต้งทุกแห่ง หน้าหมู่บ้านจะต้องมีลำคลองหรือธารน้ำเพื่อไว้ใช้สอย ทำการเกษตร
นอกจากนี้ทุกหมู่บ้านต้งจะต้องมีการสร้าง“สะพานลมฝน” ข้ามผ่านธารน้ำ และมีการสร้าง“หอกลอง”ไว้ประจำหมู่บ้าน
“ที่เรียกว่าสะพานลมฝน เพราะเป็นสะพานมีหลังคาคลุมกันแดด กันลม กันฝน ในอดีตมีชาวต้งเผ่าเดียวที่สร้างสะพานแบบนี้ แถมยังเป็นสะพานไม้ที่สร้างโดยไม่ใช้ตะปูอีกด้วย”
น้องผึ้งเล่าให้ฟัง ส่วนหอกลองที่ถือเป็นหนึ่งในสองของเอกลักษณ์ชาวต้งคู่กับสะพานลมฝนนั้น น้องผึ้งบอกว่าต้องไปเล่าในสถานที่จริงจึงจะได้บรรยากาศ ว่าแล้วเธอก็พาคณะเรามายังจตุรัสซานเจียง เพื่อมาสัมผัสกับหอกลองประจำเมืองที่ตั้งโดดเด่นงามสง่าเป็นสัญลักษณ์ประจำเมือง
หอกลองซานเจียง สร้างเสร็จในปี ค.ศ. 2002 ทำด้วยไม้ทั้งหลัง เป็น 8 เหลี่ยม มีความสูง 43 เมตร มีจำนวนชั้น(ภายนอก) 27 ชั้น ส่วนภายในมีทางเดินขึ้นไปบริเวณส่วนยอดที่ทำเป็นจุดชมวิวกลางเมืองซานเจียง
“หอกลองไม้หลังนี้เป็นศิลปะชาวต้งที่ได้ชื่อว่าสูงใหญ่ที่สุดในโลก เพราะชนชาติอื่นเขาไม่ทำกัน”
น้องผึ้งพูดติดตลก ก่อนอธิบายถึงลักษณะเด่นของหอกลองต้งว่า ชาวต้ง(ในอดีต)สร้างขึ้นมาเพื่อใช้เป็นที่ตีกลองส่งสัญญาณระวังภัยและเป็นที่เรียกประชุมหมู่บ้าน การสร้างหอกลองมีความเชื่อในเรื่องยิน(หยิน)-หยาง เข้ามาเกี่ยวข้อง ยิน คือแกนตั้ง ต้องสร้างเป็นเลขคี่ ส่วนหยาง เป็นแกนนอน ต้องสร้างเป็นเลขคี่
จากจัตุรัสหอกลอง เมื่อมองไปยังฝั่งตรงข้าม(ถนน)จะเห็นเป็นอาคารวงกลมทรงคล้ายสนามกีฬาขนาดใหญ่ อาคารแห่งนี้คือ “หอรังนกตงเซียง”
หอรังนกแห่งนี้นำไอเดียมาจากสนามกีฬารังนกที่ปักกิ่ง ก่อสร้างในปี ค.ศ. 2009 มีความพิเศษตรงที่เป็นอาคารขนาดใหญ่ทรงกลม(ทรงสนามกีฬา)ที่สร้างด้วยไม้ทั้งหลัง ใช้เป็นโรงละคร และสถานที่จัดแสดงทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะโชว์ของจางอี้โหมวที่เพิ่งเปิดการแสดงรอบปฐมฤกษ์ไปในวันชาติจีน( 1 ต.ค. 2011)ที่ผ่านมา
สำหรับพื้นที่สร้างหอรังนกเดิมเป็นสนามกีฬาชนวัว-ควายของชาวต้ง บริเวณ 2 ฟากฝั่งประตูทางเข้าจึงทำเป็นรูปปั้นวัวขนาดใหญ่ยักษ์ประดับไว้ ในขณะที่โซนด้านหลังของหอรังนก ทำเป็นสนามกีฬาชนวัว-ควาย(ลานชนวัว)เปิดให้นักท่องเที่ยวและผู้สนใจได้เข้ามาชมกัน
ร่ำสุรา ผูกสัมพันธ์ชาวต้ง ที่ซานเจียง
จากจัตุรัสกลางเมืองซานเจียง น้องผึ้งพาคณะของเราไปสัมผัสกับวิถีชาวต้งอย่างเข้มข้นที่ “หมู่บ้าน(ต้ง)เฉินหยาง” หมู่บ้านท่องเที่ยวที่ยังคงวิถีความเป็นอยู่และเอกลักษณ์อันโดดเด่นของความเป็นต้งเอาไว้ ท่ามกลางความเป็นแปลงของวิถีโลกทุนนิยม
หมู่บ้านเฉินหยาง มีสะพานลมฝนโบราณทางเข้าหมู่บ้านเป็นไฮไลท์ สะพานแห่งนี้สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1916 ตัวสะพานทำด้วยไม้ทั้งหมด มีความยาว 75 เมตร สูง 10 เมตร กว้าง 3 เมตร เป็นสะพานลมฝนต้นฉบับเก่าแก่ที่มีชื่อเสียงที่สุดในจีน ปัจจุบันยังคงอยู่ในสภาพดีเนื่องจากชาวบ้านที่นี่ดูแลอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี
อนึ่งการเดินข้ามสะพานลมฝนเฉินหยางนี้ น้องผึ้งเธอมีเกร็ดความเชื่อมาเล่าสู่กันฟังว่า ผู้ที่เดินข้ามสะพานแห่งนี้เป็นครั้งแรก ให้เดินมองไปข้างหน้าอย่างเดียว อย่าหันหลังกลับมา เดินไปจนพ้นสะพาน แล้วจึงค่อยหันหลังกลับมาจับจ่ายสินค้าพื้นบ้านที่มีวางขายอยู่ริม 2 ข้างสะพาน หรือถ้าใครไม่อยากเดินย้อนกลับหากจะช้อปปิ้งบนสะพานก็ให้มองไปแต่ข้างหน้าอย่ามองย้อนกลับมา
“คนโบราณที่นี่เชื่อว่าการก้าวข้ามสะพานแห่งนี้ เป็นดังความก้าวหน้าของชีวิต ที่ละทิ้งสิ่งชั่วร้ายเอาไว้ข้างหลัง เพราะฉะนั้นจึงห้ามหันหลังกลับมาเพื่อไม่ให้สิ่งชั่วร้ายตามติดตัวเราไปอีก” น้องผึ้งว่าอย่างนั้น
เมื่อเดินข้ามสะพานเฉินหยางแบบไม่เหลียวหลังแล้ว เราได้เข้ามาสัมผัสกับวิถีหมู่บ้านต้งที่“หมู่บ้านหม่าอัน”(เป็น 1 ใน 8 หมู่บ้านย่อยของหมู่บ้านเฉินหยาง)ที่มีการปลูกบ้านเรือนไม้เป็นหลังสูงใหญ่ตั้งเรียงราย ลดหลั่นกันไปสภาพภูมิประเทศที่เป็นเนินและพื้นที่ราบ
ชาวบ้านส่วนใหญ่ของที่นี่ทำการเกษตรทำนา ปลูกผัก กลางหมู่บ้านหอกลองประจำหมู่บ้านที่ดูสุดแสนจะคลาสสิค ตั้งอยู่บริเวณลานเอนกประสงค์ พื้นที่สาธารณะให้ชาวบ้านมาพบปะพูดคุย ตากข้าว ฯลฯ รวมไปถึงการขายสินค้าให้กับนักท่องเที่ยวที่นิยมมาถ่ายรูปบริเวณนี้ด้วย
หลังชาวคณะเพลิดเพลินอยู่ที่หมู่บ้านหม่าอันกันนานโขจนตะวันตกดิน พวกเราเคลื่อนย้ายต่อไปยัง “หมู่บ้านคว้านเฉียว”หมู่บ้านต้งอีกแห่งหนึ่งที่อยู่ไม่ไกลกัน
หมู่บ้านคว้านเฉียว เป็นหมู่บ้านที่ขึ้นชื่อในเรื่องประเพณี “การจัดเลี้ยง 100 ครอบครัว” ที่ใช้รับเลี้ยงอาคันตุกะสำคัญที่ตอนหลังประยุกต์มาเป็นใช้เลี้ยงต้อนรับนักท่องเที่ยว เพื่อเป็นรายได้เสริมให้กับชาวบ้าน
ทันทีที่มาถึงหมู่บ้านแห่งนี้ “ตะลอนเที่ยว” อดตื่นตะลึงกับการต้อนรับของชาวบ้านที่นี่ไม่ได้ พวกเขามาในชุดประจำเผ่ายืนเต็มบันไดทางขึ้นหมู่บ้าน ผู้ชายนุ่งกางเกงสีดำ สวมเสื้อสีขาว ผู้หญิงนุ่งกระโปรงสีดำ สวมเสื้อสีน้ำเงิน ผู้หญิงที่แต่งงานแล้วจะไม่สวมหมวก ส่วนคนที่ยังไม่แต่งงานจะสวมหมวกเงิน ซึ่งเท่าที่เราสอดส่องสายตามองจนทั่วเห็นมีสาวโสดอยู่คนเดียว แถมหน้าตาน่ารักจิ้มลิ้มเสียด้วย(มารู้ทีหลังว่าเธอเป็นดาวของที่นี่)
แม้จะยกพลกันมาต้อนรับจำนวนมาก แต่ประทานโทษ พวกเขากลับไม่ยอมเข้าไปร่วมงานในหมู่บ้านง่ายๆ เพราะพวกเรายังไม่ผ่านด่านการร้องเพลงถาม-ตอบ ซึ่งตามประเพณีดั้งเดิมชาวต้งจะร้องเพลงถามมา แล้วแขกต่างถิ่น(ชาวต้ง)ผู้มาเยือนจะร้องเพลงตอบโต้กลับไปด้วยเนื้อหาที่สอดคล้องกัน แต่เมื่อประเพณีปรับเปลี่ยนมาเป็นกิจกรรมทางการท่องเที่ยว เพลงที่ร้องตอบกลับไปของอาคันตุกะจะเป็นเพลงอะไรก็ได้ ขอเพียงให้ร้องตอบกลับไปเท่านั้นเป็นพอ ซึ่งงานนี้แน่นอนว่าสำหรับคนไทยเราย่อมหนีไม่พ้นเพลงลอยกระทง ที่สุดท้ายร้องถาม-ตอบ กันถึง 3 รอบ ชาวต้งถึงยินยอมให้เข้าหมู่บ้านของเขาด้วยรอยยิ้มพิมพ์ใจ โดยมีกลุ่มนักดนตรีผู้ชายเล่นดนตรีคลอเคล้าต้อนรับไปตลอด
ครั้นเดินขึ้นบันไดมาถึงยังลานเอนกประสงค์ของหมู่บ้านที่ด้านหน้าเป็นโรงละคร ด้านหลังเป็นหอกลอง สาวใหญ่ชาวต้งทั้งหลายต้อนรับพวกเราในเบื้องต้นด้วยชาพื้นเมืองตามแบบฉบับชาวต้งที่มีการใส่ข้าวพองลงไปด้วย ถัดมาเป็นกิจกรรมการแสดงต้อนรับกลางลาน มีทั้งการเต้นรำ การรำแคน และการรำร่มของพวกผู้หญิง
จากนั้นก็เป็นการกินเลี้ยงร่วมกันระหว่างชาวบ้านกับอาคันตุกะแดนไกลจากสยามประเทศ ในประเพณี“จัดเลี้ยงร้อยครอบครัว” อันเป็นเอกลักษณ์ของชาวต้ง ซึ่งน้องผึ้งอธิบายให้ฟังว่า เมื่อมีแขกสำคัญมาเยือนหมู่บ้านต้ง สมัยดั้งเดิม ชาวบ้านจะทำอาหารบ้านละ 1 อย่าง( 1 บ้าน 1 กับข้าว) มาร่วมกันเลี้ยงรับรองแขกแบบไม่ให้ซ้ำกัน ทำให้ในมื้อนั้นประกอบไปด้วยอาหารมากมายจากแต่ละบ้าน จึงเรียกรวมๆเป็นการจัดเลี้ยงร้อยครอบครัว
แต่มาในปัจจุบันที่ประเพณีถูกปรับเปลี่ยนเป็นกิจกรรมด้านการท่องเที่ยว อาหารที่ชาวบ้านแต่ละหลังนำมาจะเป็นอาหารชุด โดยเน้นไปที่อาหารพื้นเมือง ซึ่งในค่ำวันนั้นก็มีสารพัดทั้ง หมู เป็ด ไก่ ไข่เจียว เนื้อ ปลานึ่ง ปลาทอด หอยขมนึ่ง กุ้งฝอยทอด ผักต่างๆ ฟักทอง ฯลฯ และที่ขาดไม่ได้ก็คือเหล้าข้าวเหนียว
สำหรับการร่วมกินอาหารกับชาวบ้านนั้น อาคันตุกะสามารถเดินเวียนไปร่วมกินร่วมแจมในแต่ละโต๊ะตามความพึงพอใจได้
ครั้นพอกินเสร็จสิ้นจนอิ่มแปล้ งานก็เข้า“ตะลอนเที่ยว”ทันที เมื่อสาวๆนำโดยน้องหมวกเงินคนโสด เดินปรี่เข้ามาหา พร้อมระดมจอกเหล้า 10 กว่าจอกมายื่นจ่อปากให้ดื่มกินให้หมด ชนิดที่เราตั้งตัวแทบไม่ทัน กว่าจะฝืนยกจอกจำนวนมากแบบตั้งใจให้หกเรี่ยราดไปเสียครึ่งหนึ่ง ก็เล่นเอามึนเมาไปพอตัว
หลังเสร็จจากคิวของ “ตะลอนเที่ยว”เหล่าทีมงานมอมเหล้าก็เดินล่าเหยื่อรายต่อไป ซึ่งไม่เฉพาะแค่ผู้ชายเท่านั้นที่โดน แต่ผู้หญิงก็โดนเหมือนกันด้วยฝีมือของเหล่าหนุ่มใหญ่ชาวต้งที่นำเหล้ามายกจอกจ่อถึงริมฝีปากของสาวๆบางคน(ที่พวกเขาเลือกแล้ว)
และนี่ก็คือประเพณีต้อนรับของชาวต้งที่สร้างความสนุกสนานครื้นเครงและเฮฮาผสมมึนเมาได้เป็นอย่างดี ที่สุดท้าย ท้ายสุดของงานจะเป็นการร่วมเต้นรำกันระหว่างแขกผู้มาเยือนกับหญิง-ชายชาวต้งส่งท้ายล่ำลากันกันอย่างประทับใจ ยากที่จะลืมเลือน
งานนี้แม้จะคุยกันคนละภาษาแต่นั่นหาใช่เรื่องสำคัญไม่ เพราะการบ่มเพาะมิตรภาพนั้น สามารถใช้ภาษาใจสื่อสารกันได้ และเมื่อเราใช้ภาษาใจคุยกัน ความสัมพันธ์มันก็ก่อกำเนิดขึ้นมาอย่างไม่ยากเย็น...(อ่านต่อตอนหน้า)
*****************************************
หลายปีที่แล้ว กุ้ยหลินถือเป็นหนึ่งในเมืองท่องเที่ยวยอดนิยมของเมืองจีนสำหรับคนไทย ทัวร์ไทย แต่หลังจากการยกเลิกเส้นทางการบิน(ตรง)ของสายการบินที่บินประจำ “กรุงเทพฯ-กุ้ยหลิน” ก็ทำให้ความนิยมต่อการเดินทางไปเที่ยวเมืองกุ้ยหลินของคนไทยลดน้อยลงไป
กระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ สายการบินโอเรียนไทยแอร์ไลนส์ได้เปิดเที่ยวบินตรง(ชาร์เตอร์ไฟลท์) กรุงเทพฯ-กุ้ยหลิน ขึ้นในทุกๆ 6 วัน นั่นก็ทำให้การทำทัวร์ไทยไปกุ้ยหลิน(และทัวร์จีนมาไทย)เริ่มกลับมาคึกคักอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งผู้ที่สนใจไปทัวร์เมืองกุ้ยหลิน สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริษัทเมอรร์รี่แลนด์ โทร. 0-2249-8216-20