โดย : ปิ่น บุตรี (pinn109@hotmail.com)
“โอ โอ้ โอ ป่าซาง...ดินแดนความหลังนี้ช่างมีมนต์ ใครได้ไปเยือนยากที่ลืมเลือนได้สักคน คล้ายว่าป่านี้มีมนต์ ดลหัวใจให้เฝ้าใฝ่ฝัน
เพียงได้เห็น สาวเจ้าเพียงครั้งเดียว หัวใจโน้มเหนี่ยว รักเดียวแต่เจ้าเท่านั้น ยามเอ่ยอ้างน้ำคำเจ้าช่างฉ่ำหวาน ยางเคยพร่ำสาบาน ว่าจะฮักกันบ่จืดจาง
ลืม ไม่ลง ลืม ไม่ลง ลืมไม่ลงป่าซาง แม้นว่าดวงวิญญาณจะออกจากร่าง ถึงกายจะถูกดินฝัง ก็ลืมป่าซางไม่ลง...”
เพลง“ป่าซาง” : สุรพล สมบัติเจริญ
ผมได้ยินคำร่ำลือมานานแล้วว่าสาว“ป่าซาง”(จ.ลำพูน)นั้นงามนัก ถึงขนาดครู“สุรพล สมบัติเจริญ” ท่านนำมาร้อยรจนาเป็นบทเพลงหลังได้ไปเยือนดินแดนแห่งนี้มา
ป่าซางเมื่อหลายสิบปีที่แล้วเป็นอำเภอที่มีการท่องเที่ยวคึกคักไม่น้อย (ผู้เฒ่าผู้แก่หลายคนในลำพูนบอกกับผมว่าป่าซางยุคนั้นคึกคักกว่าในตัวเมืองลำพูนเสียอีก) สมัยนั้นยังไม่มีถนนหมายเลข 11 ตัดจากลำปาง-ห้างฉัตร ไปลำพูนสู่เชียงใหม่ ใครที่เดินทางจากภาคกลางสู่เชียงใหม่จะต้องใช้ถนนหมายเลข 106 แยกจากเถิน(จ.ลำปาง) ผ่านลี้(จ.ลำพูน)-ป่าซาง เข้าลำพูน ก่อนมุ่งสู่เชียงใหม่ เป็นเส้นทางหลัก
ป่าซางยุคนั้นแม้จะเป็นเมืองผ่านแต่ไม่ใช่เมืองผ่านธรรมดา เพราะที่นี่เป็นจุดแวะพักรถ ซื้อขายสินค้าริมสองข้างทาง ซึ่งมีผ้าทอป่าซางเป็นสินค้าของฝากอันโดดเด่นและโด่งดัง
เมื่อมีร้านขายผ้าจำนวนมาก หลายร้านจึงต้องใช้กลยุทธ์ดึงลูกๆหลานๆ เครือญาติ ที่มีหน้าตาแฉล้มแช่มช้อย จิ้มลิ้มสวยงาม มาเป็นแม่ค้าหน้าร้านดึงดูดลูกค้า โดยเฉพาะกับบรรดาหนุ่มๆทั้งหลาย นั่นจึงทำให้ อ.ป่าซาง มีโอกาสได้โชว์สาวงามให้คนบ้างอื่นเมืองอื่นรับรู้ ว่าเมืองนี้นอกจากจะมีผ้าผ้ายทอมือสวยเลิศขึ้นชื่อแล้ว สาวงามที่นี่ก็สวยเลิศและสวยเริ่ดขึ้นชื่อไม่แพ้กัน
ไม่เพียงเท่านั้น การที่สาวงามเมืองนี้สามารถไปคว้าตำแหน่ง ธิดาลำไย และนางสาวลำพูน มาครองได้หลายต่อหลายคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการที่สาวงามป่าซางอย่าง “นวลสวาท ลังกาพินธุ์”(เปาโรหิตย์)สามารถไปคว้าตำแหน่งรองนางสาวไทย ปี 2496(ปีนั้นเธอเป็นตัวเก็ง) และตามต่อด้วย“สุชีลา ศรีสมบูรณ์” ที่สามารถไปคว้าตำแหน่งนางสาวไทย ปี พ.ศ.2497 มาได้นั้น ช่วยตอกย้ำความเป็นเมืองแห่งสาวงามของป่าซางได้เป็นอย่างดี
ในขณะที่บทเพลงเกี่ยวกับป่าซาง ไม่ว่าจะเป็น “มนต์รักป่าซาง”-“ป่าซาง” ของครู “สุรพล สมบัติเจริญ” เพลง“ร่มฟ้าป่าซาง”- “เดือนหงายที่ป่าซาง” - “ป่าซางกลางใจ” ที่ขับร้องโดยครู“ชรินทร์ นันทนาคร” ถือเป็นการเปิดเมืองป่าซางให้รับรู้กันในวงกว้างได้ไม่น้อยเลย
ส่วนที่ใครสงสัยกันว่าแล้วทำไมเมืองนี้ถึงชื่อ“ป่าซาง” ในข้อมูลของเว็บไซต์อำเภอด็อทคอมระบุไว้ว่า เนื่องจากในอดีตดินแดนอุดมไปด้วย“ดงไม้ซาง” จึงถูกผู้เรียกขานว่า“เมืองป่าซาง” ในเวลาต่อมา
ป่าซางเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนาน มีการขุดค้นพบแนวกำแพงเมืองโบราณหรือกำแพง(เก่า)เวียงป่าซาง อายุมากกว่า 200 ปี ที่สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยพระเจ้ากาวิละ
ปัจจุบันป่าซางมีประชากรหลักเป็น“ชาวยอง”(กลุ่มชาติพันธุ์(ไต)ลื้อ) ที่ได้อพยพและถูกกวาดต้อนมาจากเมืองยอง(พม่า)เมื่อ 200 กว่าปีที่แล้ว ใน“ยุคเก็บผักใส่ซ้า(ตะกร้า) เก็บข้าใส่เมือง” โดยมีคนเมืองและชาวมอญอาศัยอยู่ด้วย
ชาวยองถือเป็นผู้ที่มีฝีมือด้านการทอผ้า เมื่ออพยพย้ายมาก็นำฝีมือติดตัวมา ก่อนจะพัฒนาเป็นงานทอผ้าฝ้ายทอมือฝีมือเป็นเลิศของอำเภอป่าซาง โดยเฉพาะที่บ้านดอนหลวง(หมู่บ้านอุตสาหกรรมดีเด่น) ต.แม่แรงนั้น ปัจจุบันถือเป็นแหล่งผลิตงานฝีมือผ้าฝ้ายที่ได้ชื่อว่าใหญ่ที่สุดในเมืองไทยเลยทีเดียว ซึ่งในช่วงเกือบ 10 ปีหลังมานี้ทางจังหวัดลำพูนได้จัดงาน“ผ้าฝ้ายดอนหลวง”ขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมการขายอีกทาง
สำหรับงานฝีมือผ้าฝ้ายของที่นี่ปัจจุบันพัฒนารูปแบบไปไกล ทั้งสีสัน ลวดลาย ดีไซน์ มีทั้งแบบดั้งเดิมและแบบร่วมสมัยที่สาวๆหลายคนเห็นแล้วติดใจ ต้องช้อปกระจายแบบไม่ห่วงเงินในกระเป๋า ขณะที่หนุ่มๆอย่างผม เรื่องผ้าดูจะไม่น่าสนใจเท่าเรื่องของสาวงามป่าซางที่ทำไปทำมา ความงาม ความน่ารักของแม่ค้าสาวๆหลายคนสามารถเรียกเงินในกระเป๋าของเราให้ช้อปกระจายได้ไม่ต่างจากคุณๆสาวเลย
อำเภอป่าซางนอกจากเป็นดินแดนแห่งผ้าฝ้ายทอมือ ลือชื่อสาวงามแล้ว ยังเป็นอำเภอที่มีสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจอยู่พอตัว โดยเฉพาะวัดวาอาราม ศิลปวัฒนธรรม และวิถีชีวิต ไม่ว่าจะเป็น “วัดพระพุทธบาทตากผ้า” ที่มีรอยคล้ายจีวรพระตากอยู่บนผาลาดภายในวัด ซึ่งตามตำนานเล่าว่าพระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาประทับที่นี่แล้วทรงนำจีวรออกมาตากบนหน้าผาแถวนี้
รวมไปถึงกลุ่มวัดขนาดกลางและเล็กอย่าง “วัดหนองเงือก” ที่โดดเด่นไปด้วยงานจิตรกรรมฝาผนังฝีมือช่างโบราณในชั้นล่างของหอไตร งานศิลปะปูนปั้นที่ซุ้มประตูวัด และองค์พระธาตุที่มีหอเตวบุตร(เทวดาไร้รูปเคารพ)สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวยองนับถือ,“วัดเกาะกลาง” วัดเก่าแก่ที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวมอญในพื้นที่ “วัดบ้านเหล่าพระเจ้าตาเขียว” ที่น่ายลไปด้วยพระพุทธรูปองค์โตดวงเนตรสีเขียวสด และยักษ์ 2 ตน ที่ยืนเฝ้าอยู่หน้าโบสถ์ที่สร้างด้วยคติความเชื่อและศิลปะแบบภาคกลาง
นอกจากนี้ป่าซางยังมี“บ้านมะกอก” หรือบ้านยองโบราณเป็นอีกหนึ่งไฮไลท์ของอำเภอแห่งนี้
บ้านมะกอกเป็นสถาปัตยกรรมบ้านยอง(บ้านลื้อ)แบบดั้งเดิม ก่อสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2480 โดยนายวัง และนายปัน ใจจิตร สองพ่อลูก(วัง-พ่อ,ปัน-ลูก)ผู้เป็นช่างไม้ ช่างสร้างบ้าน ยอดสล่าแห่งเมืองลำไย
บ้านหลังนี้เป็นการจำลองแบบของบ้านชาวยองผู้มีฐานะดีในเมืองยองมาก่อสร้าง เป็นบ้านไม้หลังใหญ่ใต้ถุนสูง เสาเกือบทั้งหมดเป็นเสาปูน แต่มีเสาพิเศษโทนๆต้นหนึ่งเป็นไม้ตั้งตระหง่านผ่านทะลุจากพื้นดินขึ้นมากลางห้องครัว เสาไม้พิเศษต้นนี้มีไว้สำหรับรองครกเวลาตำน้ำพริก รองเขียงเวลาสับผัก หมู ไก่ มันช่วยให้ไม่เกิดเสียงดังเวลาตำหรือสับ นับเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่ยอดเยี่ยมไม่เบา
บนชั้นสองของบ้านมีโถงโล่งกว้างเชื่อมห้องนอน 2 ห้อง ที่ผู้สร้างทำเป็นบานเฟี้ยมสามารถเปิดเชื่อมต่อระหว่างห้องนอนทั้งสองได้ หลังคาเป็นจั่วมุงด้วยกระเบื้องว่าวที่ช่างวังทำขึ้นเอง เนื่องจากแกมีอาชีพผลิตกระเบื้องขายด้วยอีกทาง โดยกระเบื้องโบราณส่วนหนึ่งจัดแสดงไว้บริเวณใต้ถุนบ้าน ร่วมกับข้าวของเก่าแก่จำนวนหนึ่ง
ขณะที่ส่วนของห้องน้ำดั้งเดิมนั้น ทำเป็นปูนตั้งอยู่นอกบ้านแบบเปิดโล่ง เวลาใครเข้าไปอาบน้ำทำธุระจะมีการแขวนผ้าขาวม้า ผ้าถุง บอกให้รู้ว่ามีคนอยู่ นอกจากนี้ยังมีบ่อน้ำบาดาลตั้งอยู่ใกล้ๆ เพื่อสะดวกในการนำแบกยกน้ำมาใช้
เดิมบ้านมะกอกมีบันไดทางขึ้นอยู่ด้านข้าง แต่ต่อมาได้มีการต่อยุ้งฉางเพิ่ม จึงย้ายบันไดมาอยู่ด้านหน้าดังในปัจจุบัน และด้วยความเป็นช่าง สองพ่อลูกต่างช่วยกันสร้างบ้านอย่างเนี้ยบประณีต มีการทำบัวประดับหัวเสาปูน มีการใส่ลวดลายตกแต่งลงไปในงานไม้อยู่หลายจุดให้สวยงามน่ายลมากขึ้น รวมถึงมีการนำวิธีเข้าไม้เข้าเดือยแบบโบราณที่ไม่ใช้ตะปูมาใช้ในการก่อสร้างด้วย
บ้านมะกอกได้รับรางวัลอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจำปี 2550 จากสมาคมสถาปนิกสยามฯ ปัจจุบันมีมีนางสาว”บัวลา ใจจิตร”เป็นเจ้าของบ้าน ได้รับมรดกตกทอดต่อมาจากคุณพ่อ(ช่างปัน)อีกที
“นางสาวบัวลา” แรกที่ผมได้ยินชื่อนี้ ภาพของสาวงามแรกแย้มแห่งเมืองป่าซางที่ปรากฏในเนื้อเพลงของครูสุรพลลอยเด่นขึ้นมาในจิตใจทันที แต่ประทานโทษนางสาวบัวลาวันนี้ เธอก็คือคุณป้าบัวลาที่มีอายุถึง 78 ปีแล้ว
แต่ประทานโทษอีกครั้ง ถึงแม้คุณป้าจะมีอายุเยอะแล้วแต่แกยังคงแข็งแรงและมีหน้าตาตึงเต่งเด้งเนียนอ่อนกว่าวัยมาก ซึ่งหากใครมีโอกาสไปแวะเวียนไปเยือนบ้านหลังนี้ ส่วนใหญ่จะได้พบกับคุณป้า(วันที่ไม่มีธุระ)มาทำหน้าที่เป็นไกด์กิตติมศักดิ์ นำชมสิ่งละอันพันละน้อยภายในบ้าน ผ่านการบอกเล่าอย่างสนุกสนานเป็นกันเอง(สมกับคำกล่าวที่ว่า“สาวยองอู่ม่าน” คือสาวยองคุยเก่ง คุยสนุก นั่นเอง)
ส่วนเหตุที่หน้าตาของคุณป้าดูเด็กดูอ่อนกว่าวัยมากนั้น มาจากการที่แกดูแลรักษาผิวพรรณและใบหน้าเป็นอย่างดีมาตั้งแต่สมัยเป็นสาวๆแล้ว
สำหรับเรื่องนี้คงต้องย้อนอดีตไปเมื่อหลายสิบปีที่แล้ว สมัยคุณป้ายังสาวๆว่าทำไมแกถึงไม่แต่งงานและรักษาผิวพรรณได้เต่งเนียนถึงขนาดนี้ ซึ่งคุณป้าได้เล่าให้ผมฟังว่า
“ป้าเป็นลูกคนโต เมื่อพ่อ-แม่เสียไปก็ต้องทำหน้าที่ดูแลน้องๆ(ถึง 9 คนแทนแม่) เราจึงเหมือนเป็นแม่ของน้องไปในตัว”
และนั่นก็เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้คุณป้าต้องดูแลน้องๆ จนต้องครองความเป็นโสดอยู่จนถึงทุกวันนี้ ทั้งที่ในช่วงสาวๆนั้นคุณป้าก็หน้าตาดีสมศักดิ์ศรีสาวป่าซาง อีกทั้งยังมีหนุ่มๆมาจีบอีกมากหลาย หากแต่ว่าภาระหน้าที่ในการดูแลน้องๆนั้นสำคัญที่กว่าการตกแต่งสามี
นอกจากนี้คุณป้ายังเล่าถึงชีวิตช่วงวัยรุ่นและวัยทำงานให้ฟังว่า คุณปู่ คุณพ่อของแกนอกจากเป็นช่างแล้วยังมีอาชีพผลิตกระเบื้องมุงหลังคาขายอีกด้วย ทำให้ป้าบัวลาเมื่อโตมาเป็นวัยรุ่นได้ประกอบอาชีพขายกระเบื้องที่ตกทอดมา ร่วมด้วยการขายดีปลีจากสวนของแกไปอีกทาง
นับเป็น 2 อาชีพที่ทำให้คุณป้ามีฐานะอยู่ในระดับที่ดี จนสามารถไปร่ำเรียนเสริมสวย(ที่นครสวรรค์)ตามที่ใจตนเองรักได้
หลังจากร่ำเรียนได้วิชาเสริมสวยกลับมา คุณป้าก็มาประกอบอาชีพช่างเสริมสวยตั้งแต่อายุประมาณ 20 ปี ส่งน้องๆร่ำเรียน โดยภายหลังมีร้านเสริมสวยลาวัลย์เป็นของตัวเอง ก่อนจะเพิ่งเลิกราไปเมื่อปีที่แล้วนี่เอง เนื่องๆจากน้องๆบอกให้หยุดพักผ่อน เพราะเห็นคุณป้ามีอายุมากแล้ว
สำหรับฝีมือของช่างเสริมสวยบัวลา(คุณป้าบัวลาสมัยสาวๆ)นั้น ถือว่าไม่ธรรมดาเอาเสียเลย ฝีมือชื่อชั้นของคุณป้าโดดเด่น ได้รับการยอมรับ จนถูกทาบทามให้เป็นพี่เลี้ยงนางงามนางงามลำพูนอยู่หลายรุ่นหลายปีทีเดียว
และการเป็นช่างเสริมสวย เป็นพี่เลี้ยงนางงามนี่แหละ ทำให้คุณป้ารู้จักดูและผิวพรรณหน้าตา รู้จักเคล็ดลับในการถนอมผิวและการเลือกใช้เครื่องสำอางให้ถูกกับผิวมาตั้งแต่สาวๆ ชนิดที่สาวๆหลายคนในคณะผมสนใจสอบถามถึงวิธีรักษาผิวอย่างตั้งอกตั้งใจ ซึ่งคุณป้าก็แนะนำและสาธิตของจริงให้ชมกันอย่างเต็มที่ไม่มีกั๊ก
ส่วนคำถามที่ถือเป็นว่าตอบยากที่สุด(ในชีวิต)ของคุณป้า ก็เห็นจะเป็นคำถามที่ใครบางคนในคณะเราถามว่า สาวๆในกลุ่มมีคนไหนที่พอเป็นนางงามได้บ้าง
คำถามนี้เล่นเอาคุณป้าถึงกับอึ้งเฉไฉไปคุยเรื่องอื่น ก่อนที่พวกเราจะล่ำราบ้านมะกอกมาด้วยความประทับใจ ซึ่งโดยส่วนตัวผมแล้วบ้านมะกอกหลังนี้ถือเป็นหนึ่งในบ้านทรงคุณค่าอันน่ายลที่มีความพิเศษอยู่หลายประการด้วยกัน
แต่สิ่งที่พิเศษสุดในบ้านหลังนี้สำหรับผมเห็นจะหนีไม่พ้น การที่บ้านหลังนี้มีนางสาว”บัวลา ใจจิตร”เป็นเจ้าของบ้านนั่นเอง
*****************************************
บ้านมะกอกหรือบ้านชาวยองโบราณ ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 48 บ้านมะกอก หมู่ 4 ตำบลมะกอก อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน เปิดทุกวัน เวลา 09.00 - 17.00 น. ไม่เก็บค่าเข้าชม แต่ควรบริจาคเพื่อช่วยเหลือคุณป้าเอาไว้เป็นค่าดูแลรักษาบ้าน ก่อนเข้าชมควรนัดหมายล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ โทร. 0-5357-2066
“โอ โอ้ โอ ป่าซาง...ดินแดนความหลังนี้ช่างมีมนต์ ใครได้ไปเยือนยากที่ลืมเลือนได้สักคน คล้ายว่าป่านี้มีมนต์ ดลหัวใจให้เฝ้าใฝ่ฝัน
เพียงได้เห็น สาวเจ้าเพียงครั้งเดียว หัวใจโน้มเหนี่ยว รักเดียวแต่เจ้าเท่านั้น ยามเอ่ยอ้างน้ำคำเจ้าช่างฉ่ำหวาน ยางเคยพร่ำสาบาน ว่าจะฮักกันบ่จืดจาง
ลืม ไม่ลง ลืม ไม่ลง ลืมไม่ลงป่าซาง แม้นว่าดวงวิญญาณจะออกจากร่าง ถึงกายจะถูกดินฝัง ก็ลืมป่าซางไม่ลง...”
เพลง“ป่าซาง” : สุรพล สมบัติเจริญ
ผมได้ยินคำร่ำลือมานานแล้วว่าสาว“ป่าซาง”(จ.ลำพูน)นั้นงามนัก ถึงขนาดครู“สุรพล สมบัติเจริญ” ท่านนำมาร้อยรจนาเป็นบทเพลงหลังได้ไปเยือนดินแดนแห่งนี้มา
ป่าซางเมื่อหลายสิบปีที่แล้วเป็นอำเภอที่มีการท่องเที่ยวคึกคักไม่น้อย (ผู้เฒ่าผู้แก่หลายคนในลำพูนบอกกับผมว่าป่าซางยุคนั้นคึกคักกว่าในตัวเมืองลำพูนเสียอีก) สมัยนั้นยังไม่มีถนนหมายเลข 11 ตัดจากลำปาง-ห้างฉัตร ไปลำพูนสู่เชียงใหม่ ใครที่เดินทางจากภาคกลางสู่เชียงใหม่จะต้องใช้ถนนหมายเลข 106 แยกจากเถิน(จ.ลำปาง) ผ่านลี้(จ.ลำพูน)-ป่าซาง เข้าลำพูน ก่อนมุ่งสู่เชียงใหม่ เป็นเส้นทางหลัก
ป่าซางยุคนั้นแม้จะเป็นเมืองผ่านแต่ไม่ใช่เมืองผ่านธรรมดา เพราะที่นี่เป็นจุดแวะพักรถ ซื้อขายสินค้าริมสองข้างทาง ซึ่งมีผ้าทอป่าซางเป็นสินค้าของฝากอันโดดเด่นและโด่งดัง
เมื่อมีร้านขายผ้าจำนวนมาก หลายร้านจึงต้องใช้กลยุทธ์ดึงลูกๆหลานๆ เครือญาติ ที่มีหน้าตาแฉล้มแช่มช้อย จิ้มลิ้มสวยงาม มาเป็นแม่ค้าหน้าร้านดึงดูดลูกค้า โดยเฉพาะกับบรรดาหนุ่มๆทั้งหลาย นั่นจึงทำให้ อ.ป่าซาง มีโอกาสได้โชว์สาวงามให้คนบ้างอื่นเมืองอื่นรับรู้ ว่าเมืองนี้นอกจากจะมีผ้าผ้ายทอมือสวยเลิศขึ้นชื่อแล้ว สาวงามที่นี่ก็สวยเลิศและสวยเริ่ดขึ้นชื่อไม่แพ้กัน
ไม่เพียงเท่านั้น การที่สาวงามเมืองนี้สามารถไปคว้าตำแหน่ง ธิดาลำไย และนางสาวลำพูน มาครองได้หลายต่อหลายคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการที่สาวงามป่าซางอย่าง “นวลสวาท ลังกาพินธุ์”(เปาโรหิตย์)สามารถไปคว้าตำแหน่งรองนางสาวไทย ปี 2496(ปีนั้นเธอเป็นตัวเก็ง) และตามต่อด้วย“สุชีลา ศรีสมบูรณ์” ที่สามารถไปคว้าตำแหน่งนางสาวไทย ปี พ.ศ.2497 มาได้นั้น ช่วยตอกย้ำความเป็นเมืองแห่งสาวงามของป่าซางได้เป็นอย่างดี
ในขณะที่บทเพลงเกี่ยวกับป่าซาง ไม่ว่าจะเป็น “มนต์รักป่าซาง”-“ป่าซาง” ของครู “สุรพล สมบัติเจริญ” เพลง“ร่มฟ้าป่าซาง”- “เดือนหงายที่ป่าซาง” - “ป่าซางกลางใจ” ที่ขับร้องโดยครู“ชรินทร์ นันทนาคร” ถือเป็นการเปิดเมืองป่าซางให้รับรู้กันในวงกว้างได้ไม่น้อยเลย
ส่วนที่ใครสงสัยกันว่าแล้วทำไมเมืองนี้ถึงชื่อ“ป่าซาง” ในข้อมูลของเว็บไซต์อำเภอด็อทคอมระบุไว้ว่า เนื่องจากในอดีตดินแดนอุดมไปด้วย“ดงไม้ซาง” จึงถูกผู้เรียกขานว่า“เมืองป่าซาง” ในเวลาต่อมา
ป่าซางเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนาน มีการขุดค้นพบแนวกำแพงเมืองโบราณหรือกำแพง(เก่า)เวียงป่าซาง อายุมากกว่า 200 ปี ที่สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยพระเจ้ากาวิละ
ปัจจุบันป่าซางมีประชากรหลักเป็น“ชาวยอง”(กลุ่มชาติพันธุ์(ไต)ลื้อ) ที่ได้อพยพและถูกกวาดต้อนมาจากเมืองยอง(พม่า)เมื่อ 200 กว่าปีที่แล้ว ใน“ยุคเก็บผักใส่ซ้า(ตะกร้า) เก็บข้าใส่เมือง” โดยมีคนเมืองและชาวมอญอาศัยอยู่ด้วย
ชาวยองถือเป็นผู้ที่มีฝีมือด้านการทอผ้า เมื่ออพยพย้ายมาก็นำฝีมือติดตัวมา ก่อนจะพัฒนาเป็นงานทอผ้าฝ้ายทอมือฝีมือเป็นเลิศของอำเภอป่าซาง โดยเฉพาะที่บ้านดอนหลวง(หมู่บ้านอุตสาหกรรมดีเด่น) ต.แม่แรงนั้น ปัจจุบันถือเป็นแหล่งผลิตงานฝีมือผ้าฝ้ายที่ได้ชื่อว่าใหญ่ที่สุดในเมืองไทยเลยทีเดียว ซึ่งในช่วงเกือบ 10 ปีหลังมานี้ทางจังหวัดลำพูนได้จัดงาน“ผ้าฝ้ายดอนหลวง”ขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมการขายอีกทาง
สำหรับงานฝีมือผ้าฝ้ายของที่นี่ปัจจุบันพัฒนารูปแบบไปไกล ทั้งสีสัน ลวดลาย ดีไซน์ มีทั้งแบบดั้งเดิมและแบบร่วมสมัยที่สาวๆหลายคนเห็นแล้วติดใจ ต้องช้อปกระจายแบบไม่ห่วงเงินในกระเป๋า ขณะที่หนุ่มๆอย่างผม เรื่องผ้าดูจะไม่น่าสนใจเท่าเรื่องของสาวงามป่าซางที่ทำไปทำมา ความงาม ความน่ารักของแม่ค้าสาวๆหลายคนสามารถเรียกเงินในกระเป๋าของเราให้ช้อปกระจายได้ไม่ต่างจากคุณๆสาวเลย
อำเภอป่าซางนอกจากเป็นดินแดนแห่งผ้าฝ้ายทอมือ ลือชื่อสาวงามแล้ว ยังเป็นอำเภอที่มีสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจอยู่พอตัว โดยเฉพาะวัดวาอาราม ศิลปวัฒนธรรม และวิถีชีวิต ไม่ว่าจะเป็น “วัดพระพุทธบาทตากผ้า” ที่มีรอยคล้ายจีวรพระตากอยู่บนผาลาดภายในวัด ซึ่งตามตำนานเล่าว่าพระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาประทับที่นี่แล้วทรงนำจีวรออกมาตากบนหน้าผาแถวนี้
รวมไปถึงกลุ่มวัดขนาดกลางและเล็กอย่าง “วัดหนองเงือก” ที่โดดเด่นไปด้วยงานจิตรกรรมฝาผนังฝีมือช่างโบราณในชั้นล่างของหอไตร งานศิลปะปูนปั้นที่ซุ้มประตูวัด และองค์พระธาตุที่มีหอเตวบุตร(เทวดาไร้รูปเคารพ)สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวยองนับถือ,“วัดเกาะกลาง” วัดเก่าแก่ที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวมอญในพื้นที่ “วัดบ้านเหล่าพระเจ้าตาเขียว” ที่น่ายลไปด้วยพระพุทธรูปองค์โตดวงเนตรสีเขียวสด และยักษ์ 2 ตน ที่ยืนเฝ้าอยู่หน้าโบสถ์ที่สร้างด้วยคติความเชื่อและศิลปะแบบภาคกลาง
นอกจากนี้ป่าซางยังมี“บ้านมะกอก” หรือบ้านยองโบราณเป็นอีกหนึ่งไฮไลท์ของอำเภอแห่งนี้
บ้านมะกอกเป็นสถาปัตยกรรมบ้านยอง(บ้านลื้อ)แบบดั้งเดิม ก่อสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2480 โดยนายวัง และนายปัน ใจจิตร สองพ่อลูก(วัง-พ่อ,ปัน-ลูก)ผู้เป็นช่างไม้ ช่างสร้างบ้าน ยอดสล่าแห่งเมืองลำไย
บ้านหลังนี้เป็นการจำลองแบบของบ้านชาวยองผู้มีฐานะดีในเมืองยองมาก่อสร้าง เป็นบ้านไม้หลังใหญ่ใต้ถุนสูง เสาเกือบทั้งหมดเป็นเสาปูน แต่มีเสาพิเศษโทนๆต้นหนึ่งเป็นไม้ตั้งตระหง่านผ่านทะลุจากพื้นดินขึ้นมากลางห้องครัว เสาไม้พิเศษต้นนี้มีไว้สำหรับรองครกเวลาตำน้ำพริก รองเขียงเวลาสับผัก หมู ไก่ มันช่วยให้ไม่เกิดเสียงดังเวลาตำหรือสับ นับเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่ยอดเยี่ยมไม่เบา
บนชั้นสองของบ้านมีโถงโล่งกว้างเชื่อมห้องนอน 2 ห้อง ที่ผู้สร้างทำเป็นบานเฟี้ยมสามารถเปิดเชื่อมต่อระหว่างห้องนอนทั้งสองได้ หลังคาเป็นจั่วมุงด้วยกระเบื้องว่าวที่ช่างวังทำขึ้นเอง เนื่องจากแกมีอาชีพผลิตกระเบื้องขายด้วยอีกทาง โดยกระเบื้องโบราณส่วนหนึ่งจัดแสดงไว้บริเวณใต้ถุนบ้าน ร่วมกับข้าวของเก่าแก่จำนวนหนึ่ง
ขณะที่ส่วนของห้องน้ำดั้งเดิมนั้น ทำเป็นปูนตั้งอยู่นอกบ้านแบบเปิดโล่ง เวลาใครเข้าไปอาบน้ำทำธุระจะมีการแขวนผ้าขาวม้า ผ้าถุง บอกให้รู้ว่ามีคนอยู่ นอกจากนี้ยังมีบ่อน้ำบาดาลตั้งอยู่ใกล้ๆ เพื่อสะดวกในการนำแบกยกน้ำมาใช้
เดิมบ้านมะกอกมีบันไดทางขึ้นอยู่ด้านข้าง แต่ต่อมาได้มีการต่อยุ้งฉางเพิ่ม จึงย้ายบันไดมาอยู่ด้านหน้าดังในปัจจุบัน และด้วยความเป็นช่าง สองพ่อลูกต่างช่วยกันสร้างบ้านอย่างเนี้ยบประณีต มีการทำบัวประดับหัวเสาปูน มีการใส่ลวดลายตกแต่งลงไปในงานไม้อยู่หลายจุดให้สวยงามน่ายลมากขึ้น รวมถึงมีการนำวิธีเข้าไม้เข้าเดือยแบบโบราณที่ไม่ใช้ตะปูมาใช้ในการก่อสร้างด้วย
บ้านมะกอกได้รับรางวัลอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจำปี 2550 จากสมาคมสถาปนิกสยามฯ ปัจจุบันมีมีนางสาว”บัวลา ใจจิตร”เป็นเจ้าของบ้าน ได้รับมรดกตกทอดต่อมาจากคุณพ่อ(ช่างปัน)อีกที
“นางสาวบัวลา” แรกที่ผมได้ยินชื่อนี้ ภาพของสาวงามแรกแย้มแห่งเมืองป่าซางที่ปรากฏในเนื้อเพลงของครูสุรพลลอยเด่นขึ้นมาในจิตใจทันที แต่ประทานโทษนางสาวบัวลาวันนี้ เธอก็คือคุณป้าบัวลาที่มีอายุถึง 78 ปีแล้ว
แต่ประทานโทษอีกครั้ง ถึงแม้คุณป้าจะมีอายุเยอะแล้วแต่แกยังคงแข็งแรงและมีหน้าตาตึงเต่งเด้งเนียนอ่อนกว่าวัยมาก ซึ่งหากใครมีโอกาสไปแวะเวียนไปเยือนบ้านหลังนี้ ส่วนใหญ่จะได้พบกับคุณป้า(วันที่ไม่มีธุระ)มาทำหน้าที่เป็นไกด์กิตติมศักดิ์ นำชมสิ่งละอันพันละน้อยภายในบ้าน ผ่านการบอกเล่าอย่างสนุกสนานเป็นกันเอง(สมกับคำกล่าวที่ว่า“สาวยองอู่ม่าน” คือสาวยองคุยเก่ง คุยสนุก นั่นเอง)
ส่วนเหตุที่หน้าตาของคุณป้าดูเด็กดูอ่อนกว่าวัยมากนั้น มาจากการที่แกดูแลรักษาผิวพรรณและใบหน้าเป็นอย่างดีมาตั้งแต่สมัยเป็นสาวๆแล้ว
สำหรับเรื่องนี้คงต้องย้อนอดีตไปเมื่อหลายสิบปีที่แล้ว สมัยคุณป้ายังสาวๆว่าทำไมแกถึงไม่แต่งงานและรักษาผิวพรรณได้เต่งเนียนถึงขนาดนี้ ซึ่งคุณป้าได้เล่าให้ผมฟังว่า
“ป้าเป็นลูกคนโต เมื่อพ่อ-แม่เสียไปก็ต้องทำหน้าที่ดูแลน้องๆ(ถึง 9 คนแทนแม่) เราจึงเหมือนเป็นแม่ของน้องไปในตัว”
และนั่นก็เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้คุณป้าต้องดูแลน้องๆ จนต้องครองความเป็นโสดอยู่จนถึงทุกวันนี้ ทั้งที่ในช่วงสาวๆนั้นคุณป้าก็หน้าตาดีสมศักดิ์ศรีสาวป่าซาง อีกทั้งยังมีหนุ่มๆมาจีบอีกมากหลาย หากแต่ว่าภาระหน้าที่ในการดูแลน้องๆนั้นสำคัญที่กว่าการตกแต่งสามี
นอกจากนี้คุณป้ายังเล่าถึงชีวิตช่วงวัยรุ่นและวัยทำงานให้ฟังว่า คุณปู่ คุณพ่อของแกนอกจากเป็นช่างแล้วยังมีอาชีพผลิตกระเบื้องมุงหลังคาขายอีกด้วย ทำให้ป้าบัวลาเมื่อโตมาเป็นวัยรุ่นได้ประกอบอาชีพขายกระเบื้องที่ตกทอดมา ร่วมด้วยการขายดีปลีจากสวนของแกไปอีกทาง
นับเป็น 2 อาชีพที่ทำให้คุณป้ามีฐานะอยู่ในระดับที่ดี จนสามารถไปร่ำเรียนเสริมสวย(ที่นครสวรรค์)ตามที่ใจตนเองรักได้
หลังจากร่ำเรียนได้วิชาเสริมสวยกลับมา คุณป้าก็มาประกอบอาชีพช่างเสริมสวยตั้งแต่อายุประมาณ 20 ปี ส่งน้องๆร่ำเรียน โดยภายหลังมีร้านเสริมสวยลาวัลย์เป็นของตัวเอง ก่อนจะเพิ่งเลิกราไปเมื่อปีที่แล้วนี่เอง เนื่องๆจากน้องๆบอกให้หยุดพักผ่อน เพราะเห็นคุณป้ามีอายุมากแล้ว
สำหรับฝีมือของช่างเสริมสวยบัวลา(คุณป้าบัวลาสมัยสาวๆ)นั้น ถือว่าไม่ธรรมดาเอาเสียเลย ฝีมือชื่อชั้นของคุณป้าโดดเด่น ได้รับการยอมรับ จนถูกทาบทามให้เป็นพี่เลี้ยงนางงามนางงามลำพูนอยู่หลายรุ่นหลายปีทีเดียว
และการเป็นช่างเสริมสวย เป็นพี่เลี้ยงนางงามนี่แหละ ทำให้คุณป้ารู้จักดูและผิวพรรณหน้าตา รู้จักเคล็ดลับในการถนอมผิวและการเลือกใช้เครื่องสำอางให้ถูกกับผิวมาตั้งแต่สาวๆ ชนิดที่สาวๆหลายคนในคณะผมสนใจสอบถามถึงวิธีรักษาผิวอย่างตั้งอกตั้งใจ ซึ่งคุณป้าก็แนะนำและสาธิตของจริงให้ชมกันอย่างเต็มที่ไม่มีกั๊ก
ส่วนคำถามที่ถือเป็นว่าตอบยากที่สุด(ในชีวิต)ของคุณป้า ก็เห็นจะเป็นคำถามที่ใครบางคนในคณะเราถามว่า สาวๆในกลุ่มมีคนไหนที่พอเป็นนางงามได้บ้าง
คำถามนี้เล่นเอาคุณป้าถึงกับอึ้งเฉไฉไปคุยเรื่องอื่น ก่อนที่พวกเราจะล่ำราบ้านมะกอกมาด้วยความประทับใจ ซึ่งโดยส่วนตัวผมแล้วบ้านมะกอกหลังนี้ถือเป็นหนึ่งในบ้านทรงคุณค่าอันน่ายลที่มีความพิเศษอยู่หลายประการด้วยกัน
แต่สิ่งที่พิเศษสุดในบ้านหลังนี้สำหรับผมเห็นจะหนีไม่พ้น การที่บ้านหลังนี้มีนางสาว”บัวลา ใจจิตร”เป็นเจ้าของบ้านนั่นเอง
*****************************************
บ้านมะกอกหรือบ้านชาวยองโบราณ ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 48 บ้านมะกอก หมู่ 4 ตำบลมะกอก อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน เปิดทุกวัน เวลา 09.00 - 17.00 น. ไม่เก็บค่าเข้าชม แต่ควรบริจาคเพื่อช่วยเหลือคุณป้าเอาไว้เป็นค่าดูแลรักษาบ้าน ก่อนเข้าชมควรนัดหมายล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ โทร. 0-5357-2066