โดย : หนุ่มลูกทุ่ง
ทุกคนต่างรู้ดีว่าการออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดี ทำให้ร่ายกายแข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ช่วยเผาผลาญไขมันในร่างกาย และยังช่วยคลายเครียดได้อีกด้วย
สำหรับคนกรุงนั้น หลายคนเลือกจ่ายเงินเข้าไปออกกำลังในฟิตเนส ขณะที่ใครอีกหลายคนเลือกที่จะไปออกกำลังกายในสวนสาธารณะ เพราะนอกจากจะไม่ต้องเสียงเงินแล้ว ยังมีธรรมชาติจากต้นไม้ใบหญ้า ดอกไม้ น้ำพุ ศิลปะประดับสวน มาช่วยสร้างความรื่นรมย์ ทำให้การออกกำลังกายได้อรรถรสความเพลิดเพลินมากขึ้น
ดังนั้นในครั้งนี้ฉันจึงขอพาคุณผู้อ่านไปร่วมออกกำลังกาย สัมผัสบรรยากาศสวนสาธารณะกลางใจเมือง ที่ “สวนรมณีนาถ” บนถนนมหาไชย
สวนแห่งนี้มักนิยมเรียกกันติดปากว่า “คุกเก่า” เนื่องจากตั้งอยู่บริเวณเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครเดิม โดยในสมัยนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่า ที่ต้องขังจองจำผู้กระทำความผิดต้องควบคู่ไปกับศาลสถิตยุติธรรม ทรงส่งพระยาไชยวิชิตสิทธิศาสตรา (นาค ณ ป้อมเพชร) ไปดูรูปแบบที่สิงคโปร์ โดยนำแบบเรือนจำ Brixton อันเป็นเรือนจำระดับความมั่นคงสูงสุดมาใช้
พระองค์ทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ให้จัดซื้อที่ดินตำบลตรอกคำ ทำการก่อสร้างเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร เมื่อ ร.ศ. 108 หรือประมาณปีพ.ศ. 2433 เมื่อการก่อสร้างเสร็จสิ้นสามารถย้ายนักโทษเข้าไปอยู่ได้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ร.ศ. 109 และได้รับการขนานนามว่า "คุกกองมหันต์โทษ" หรือเรียกกันว่า "คุกใหม่" มีอายุเก่าแก่ถึง 103 ปี และได้เปลี่ยนชื่อหลายครั้ง ครั้งสุดท้ายใช้ชื่อว่า "เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร"
ต่อมาในพ.ศ. 2534 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติโครงการปรับปรุงทัณฑสถานวัยหนุ่มบางเขน หรือเรือนจำกลางคลองเปรม และได้ย้ายผู้ต้องขังจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครมาควบคุมรวมกัน และให้ปรับปรุงพื้นที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครเป็นสวนสาธารณะ เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสที่ทรงมีพระชนมายุ 60 พรรษา เมื่อปีพ.ศ. 2535 และได้รับพระราชทานนามว่า "รมณีนาถ" ซึ่งมีความหมายว่า "นางผู้เป็นที่พึ่ง"
จากการที่สวนรมณีนาถได้ดัดแปลงมาจากเรือนจำ ภายในบริเวณสวนจึงยังคงอนุรักษ์แนวรั้วกำแพง ป้อมยาม ซุ้มประตูทางเข้าไว้เป็นสัญลักษณ์ และเป็นส่วนประกอบของสวน และยังทำเป็นพิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์อีกด้วย และเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2542 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมงกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดสวนรมณีนาถ และพิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์ อย่างเป็นทางการ
สำหรับ “พิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์” อยู่ด้านถนนมหาไชยประกอบด้วยอาคาร 4 หลังคือ ตึกศาลอาญา ตึกรักษาการณ์ ตึกร้านค้ากรมราชทัณฑ์ และอาคารแดน 9 ภายในจัดแสดงเครื่องมือลงฑัณฑ์และวิวัฒนาการของการราชทัณฑ์ไทย โดย “อาคารศาลอาญา” แสดงเครื่องมือลงทัณฑ์ และวิธีประหารชีวิตสมัยโบราณ รวมทั้งแสดงการประหารชีวิตในปัจจุบัน อุปกรณ์เกี่ยวกับเรือนจำและการหลบหนีของนักโทษ
“อาคารรักษาการณ์” แสดงภาพประวัติและอุปกรณ์เครื่องใช้ของเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร และเอกสารเกี่ยวกับประวัติการราชทัณฑ์ในอดีต “อาคารร้านค้ากรมราชทัณฑ์” จัดจำหน่ายสินค้าราชทัณฑ์และของที่ระลึก
“อาคารแดน 9” เป็นเรือนนอนผู้ต้องขังในอดีต แสดงสภาพการใช้ชีวิตประจำวันของนักโทษ ระบบการคุมขังและลักษณะอาคารตามแบบตะวันตก
อีกทั้งอาคารพิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์แห่งนี้ ยังได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่น จากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ พ.ศ. 2540 ด้วย หากมาถึงสวนรมณีนาถแห่งนี้แล้วห้ามพลาดเลยทีเดียว นอกจากพิพิธภัณฑ์แล้วที่สวนแห่งนี้ยังเป็นที่ออกอกำลังกายที่สำคัญของผู้คนในละแวกนี้
สวนที่จัดตกแต่งไว้อย่างสวยงาม ร่มรื่นไปด้วยต้นไม้ใหญ่สีเขียวสบายตา เป็นที่นิยมในการมาเดิน-วิ่งออกกำลังกายยามเย็นเป็นที่สุด ทั้งยังมีประติมากรรมที่สำคัญๆอย่างอย่างด้วยกัน เช่น “ประติมากรรมสังข์สัมฤทธิ์” ที่ตั้งอยู่กลางสระน้ำพุเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งอยู่บนตำแหน่งที่สูงที่สุดของสวน สังข์และพานหล่อด้วยโลหะทำผิวสัมฤทธิ์ ภายในบรรจุแผ่นยันต์มหาโสฬสมงคลและสังข์องค์จริง
โดยประติมากรรมสังข์สัมฤทธิ์นี้มีความหมาย คือ น้ำที่ไหลออกจากสังข์ แสดงความหมายแทนน้ำพระทัยของ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่บริสุทธิ์ดุจสีของน้ำ แปลงดอกไม้รูปร่างคดเคี้ยวในลักษณะธารน้ำ ที่เชื่อมน้ำพุเฉลิมพระเกียรติกับบ่อน้ำพุด้านล่าง แสดงถึงน้ำพระทัยที่ทรงประทานแก่ชาวไทย
ส่วน บ่อน้ำพุด้านล่าง เทียบได้กับพสกนิกรที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณพร้อมใจกันสรรเสริญ และ ป้อมยามที่เป็นสิ่งก่อสร้างเดิม กลางน้ำพุ เป็นตัวแทนเหล่าผู้กระทำผิดซึ่งยังคงได้รับพระมหากรุณาธิคุณอยู่
ใครที่เดิน หรือวิ่งกันเหนื่อยแล้ว มาแวะเล่นเครื่องเล่นออกกำลังกายเล็กๆน้อยๆพอสนุกสนานกันได้ที่ “สวนสุขภาพ” นอกจากนี้ยังมี “ลานกีฬา” เช่น สนามบาสเกตบอล และลานสเก็ต โดยจัดตำแหน่งไม่ให้เกิดการรบกวนระหว่างกิจกรรม พร้อม “สนามเด็กเล่น” ที่จัดไว้อย่างครบครัน สอดคล้องกับแนวคิดของสวนที่เป็นสวนสุขภาพ
อีกทั้งอาคารพิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์แห่งนี้ ยังได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่น จากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ พ.ศ. 2540 ด้วย หากมาถึงสวนรมณีนาถแห่งนี้แล้วห้ามพลาดเลยทีเดียว นอกจากพิพิธภัณฑ์แล้วที่สวนแห่งนี้ยังเป็นที่ออกอกำลังกายที่สำคัญของผู้คนในละแวกนี้
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
“สวนรมณีนาถ” ตั้งอยู่ที่ ถนนมหาไชย แขวงสำราญราษฏร์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ เปิดทุกวัน เวลา 05.00 -21.00 น. ในส่วนของ “พิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์” เปิดวันอังคาร-เสาร์ เวลา 08.30-16.30 น.
อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง
เที่ยวท่องส่อง "คุก" ที่พิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์
ทุกคนต่างรู้ดีว่าการออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดี ทำให้ร่ายกายแข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ช่วยเผาผลาญไขมันในร่างกาย และยังช่วยคลายเครียดได้อีกด้วย
สำหรับคนกรุงนั้น หลายคนเลือกจ่ายเงินเข้าไปออกกำลังในฟิตเนส ขณะที่ใครอีกหลายคนเลือกที่จะไปออกกำลังกายในสวนสาธารณะ เพราะนอกจากจะไม่ต้องเสียงเงินแล้ว ยังมีธรรมชาติจากต้นไม้ใบหญ้า ดอกไม้ น้ำพุ ศิลปะประดับสวน มาช่วยสร้างความรื่นรมย์ ทำให้การออกกำลังกายได้อรรถรสความเพลิดเพลินมากขึ้น
ดังนั้นในครั้งนี้ฉันจึงขอพาคุณผู้อ่านไปร่วมออกกำลังกาย สัมผัสบรรยากาศสวนสาธารณะกลางใจเมือง ที่ “สวนรมณีนาถ” บนถนนมหาไชย
สวนแห่งนี้มักนิยมเรียกกันติดปากว่า “คุกเก่า” เนื่องจากตั้งอยู่บริเวณเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครเดิม โดยในสมัยนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่า ที่ต้องขังจองจำผู้กระทำความผิดต้องควบคู่ไปกับศาลสถิตยุติธรรม ทรงส่งพระยาไชยวิชิตสิทธิศาสตรา (นาค ณ ป้อมเพชร) ไปดูรูปแบบที่สิงคโปร์ โดยนำแบบเรือนจำ Brixton อันเป็นเรือนจำระดับความมั่นคงสูงสุดมาใช้
พระองค์ทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ให้จัดซื้อที่ดินตำบลตรอกคำ ทำการก่อสร้างเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร เมื่อ ร.ศ. 108 หรือประมาณปีพ.ศ. 2433 เมื่อการก่อสร้างเสร็จสิ้นสามารถย้ายนักโทษเข้าไปอยู่ได้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ร.ศ. 109 และได้รับการขนานนามว่า "คุกกองมหันต์โทษ" หรือเรียกกันว่า "คุกใหม่" มีอายุเก่าแก่ถึง 103 ปี และได้เปลี่ยนชื่อหลายครั้ง ครั้งสุดท้ายใช้ชื่อว่า "เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร"
ต่อมาในพ.ศ. 2534 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติโครงการปรับปรุงทัณฑสถานวัยหนุ่มบางเขน หรือเรือนจำกลางคลองเปรม และได้ย้ายผู้ต้องขังจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครมาควบคุมรวมกัน และให้ปรับปรุงพื้นที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครเป็นสวนสาธารณะ เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสที่ทรงมีพระชนมายุ 60 พรรษา เมื่อปีพ.ศ. 2535 และได้รับพระราชทานนามว่า "รมณีนาถ" ซึ่งมีความหมายว่า "นางผู้เป็นที่พึ่ง"
จากการที่สวนรมณีนาถได้ดัดแปลงมาจากเรือนจำ ภายในบริเวณสวนจึงยังคงอนุรักษ์แนวรั้วกำแพง ป้อมยาม ซุ้มประตูทางเข้าไว้เป็นสัญลักษณ์ และเป็นส่วนประกอบของสวน และยังทำเป็นพิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์อีกด้วย และเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2542 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมงกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดสวนรมณีนาถ และพิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์ อย่างเป็นทางการ
สำหรับ “พิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์” อยู่ด้านถนนมหาไชยประกอบด้วยอาคาร 4 หลังคือ ตึกศาลอาญา ตึกรักษาการณ์ ตึกร้านค้ากรมราชทัณฑ์ และอาคารแดน 9 ภายในจัดแสดงเครื่องมือลงฑัณฑ์และวิวัฒนาการของการราชทัณฑ์ไทย โดย “อาคารศาลอาญา” แสดงเครื่องมือลงทัณฑ์ และวิธีประหารชีวิตสมัยโบราณ รวมทั้งแสดงการประหารชีวิตในปัจจุบัน อุปกรณ์เกี่ยวกับเรือนจำและการหลบหนีของนักโทษ
“อาคารรักษาการณ์” แสดงภาพประวัติและอุปกรณ์เครื่องใช้ของเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร และเอกสารเกี่ยวกับประวัติการราชทัณฑ์ในอดีต “อาคารร้านค้ากรมราชทัณฑ์” จัดจำหน่ายสินค้าราชทัณฑ์และของที่ระลึก
“อาคารแดน 9” เป็นเรือนนอนผู้ต้องขังในอดีต แสดงสภาพการใช้ชีวิตประจำวันของนักโทษ ระบบการคุมขังและลักษณะอาคารตามแบบตะวันตก
อีกทั้งอาคารพิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์แห่งนี้ ยังได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่น จากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ พ.ศ. 2540 ด้วย หากมาถึงสวนรมณีนาถแห่งนี้แล้วห้ามพลาดเลยทีเดียว นอกจากพิพิธภัณฑ์แล้วที่สวนแห่งนี้ยังเป็นที่ออกอกำลังกายที่สำคัญของผู้คนในละแวกนี้
สวนที่จัดตกแต่งไว้อย่างสวยงาม ร่มรื่นไปด้วยต้นไม้ใหญ่สีเขียวสบายตา เป็นที่นิยมในการมาเดิน-วิ่งออกกำลังกายยามเย็นเป็นที่สุด ทั้งยังมีประติมากรรมที่สำคัญๆอย่างอย่างด้วยกัน เช่น “ประติมากรรมสังข์สัมฤทธิ์” ที่ตั้งอยู่กลางสระน้ำพุเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งอยู่บนตำแหน่งที่สูงที่สุดของสวน สังข์และพานหล่อด้วยโลหะทำผิวสัมฤทธิ์ ภายในบรรจุแผ่นยันต์มหาโสฬสมงคลและสังข์องค์จริง
โดยประติมากรรมสังข์สัมฤทธิ์นี้มีความหมาย คือ น้ำที่ไหลออกจากสังข์ แสดงความหมายแทนน้ำพระทัยของ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่บริสุทธิ์ดุจสีของน้ำ แปลงดอกไม้รูปร่างคดเคี้ยวในลักษณะธารน้ำ ที่เชื่อมน้ำพุเฉลิมพระเกียรติกับบ่อน้ำพุด้านล่าง แสดงถึงน้ำพระทัยที่ทรงประทานแก่ชาวไทย
ส่วน บ่อน้ำพุด้านล่าง เทียบได้กับพสกนิกรที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณพร้อมใจกันสรรเสริญ และ ป้อมยามที่เป็นสิ่งก่อสร้างเดิม กลางน้ำพุ เป็นตัวแทนเหล่าผู้กระทำผิดซึ่งยังคงได้รับพระมหากรุณาธิคุณอยู่
ใครที่เดิน หรือวิ่งกันเหนื่อยแล้ว มาแวะเล่นเครื่องเล่นออกกำลังกายเล็กๆน้อยๆพอสนุกสนานกันได้ที่ “สวนสุขภาพ” นอกจากนี้ยังมี “ลานกีฬา” เช่น สนามบาสเกตบอล และลานสเก็ต โดยจัดตำแหน่งไม่ให้เกิดการรบกวนระหว่างกิจกรรม พร้อม “สนามเด็กเล่น” ที่จัดไว้อย่างครบครัน สอดคล้องกับแนวคิดของสวนที่เป็นสวนสุขภาพ
อีกทั้งอาคารพิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์แห่งนี้ ยังได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่น จากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ พ.ศ. 2540 ด้วย หากมาถึงสวนรมณีนาถแห่งนี้แล้วห้ามพลาดเลยทีเดียว นอกจากพิพิธภัณฑ์แล้วที่สวนแห่งนี้ยังเป็นที่ออกอกำลังกายที่สำคัญของผู้คนในละแวกนี้
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
“สวนรมณีนาถ” ตั้งอยู่ที่ ถนนมหาไชย แขวงสำราญราษฏร์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ เปิดทุกวัน เวลา 05.00 -21.00 น. ในส่วนของ “พิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์” เปิดวันอังคาร-เสาร์ เวลา 08.30-16.30 น.
อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง
เที่ยวท่องส่อง "คุก" ที่พิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์