โดย : ปิ่น บุตรี
“ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น”
วาทะยืนยาวของ : ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี
ด้วยความยืนยาวของศิลปะ วันนี้ประเทศขนาดเล็กจิ๋วพอๆกับเกาะภูเก็ตอย่าง“สิงคโปร์”ได้เลือกใช้“ศิลปะ”มาเป็นส่วนสำคัญในการสร้างชาติพัฒนาประเทศ โดยหวังจะใช้ศิลปะมาสร้างรากเหง้าใหม่ให้กับชาวสิงคโปร์
พร้อมกันนี้รัฐบาลสิงคโปร์ยังมองไกลไปถึงการทำให้เมืองลอดช่องกลายเป็นจุดนัดพบทางศิลปวัฒนธรรมของเอเชีย
รวมถึงไม่พลาดที่จะมองในเชิงธุรกิจตามสไตล์ถนัดของคนประเทศนี้ว่า จะใช้ความเป็นเมืองศิลปะ(ในอนาคต)มาเป็นแม่เหล็กตัวใหม่ในภาคธุรกิจการท่องเที่ยว ซึ่งรัฐบาลของประเทศนี้เก่งนักในการสร้างสิ่งต่างๆมาดึงดูด(และหลอก)ให้นักท่องเที่ยวในหลายๆชาติเดินทางเข้ามาละลายทรัพย์ในประเทศของตน โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยว“เสียมตือ”นี่เป็นเป้าหมายอันดับหนึ่งเลยทีเดียว
อย่างไรก็ตามความที่ถูกมองว่าเป็นประเทศที่มีรากเหง้าทางศิลปวัฒนธรรมเพียงน้อยนิด ทำให้สิงคโปร์ต้องพิสูจน์ตัวเองอย่างหนักว่า สิ่งที่พวกเขาทำในวันนี้และวันข้างหน้า
มันจะประสบผลสำเร็จตามคาด
หรือมันจะเป็นการกระทำที่สูญเปล่า!?!
1...
หลังประกาศอิสรภาพในปี ค.ศ.1965 สิงคโปร์ภายใต้การนำของรัฐบาลของนาย ลี กวน ยู ได้เดินหน้าสร้างชาติใหม่อย่างหนัก จนประเทศเล็กกระจิ๋วริ๋วอย่างสิงคโปร์ผงาดขึ้นมาเป็นเสือเศรษฐกิจอันดับต้นๆของเอเชียได้อย่างรวดเร็ว
ต่อจากนั้นทางรัฐบาลได้สานต่อ สร้างความคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนในหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นการวางผังเมืองที่ดี สร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาดสะอ้านให้กับบ้านเมือง สร้างระบบขนส่งมวลชนที่ทันสมัย สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับชาวเมือง โดยเฉพาะการใส่ต้นไม้และสีเขียวลงในไปทั่วเมือง จนรัฐบาลสิงคโปร์คุยนักคุยหนาว่าบ้านเมืองของเราคือ “Green City”
อย่างไรก็ตามแม้สิงคโปร์จะเป็นเมืองแมนเมดที่รัฐบาลพยายามสร้างสิ่งตามๆให้กับประชากรของเขาอย่างมากมาย แต่สิ่งหนึ่งที่ดูเหมือนว่ารัฐบาลของประเทศนี้ลืมไปนั่นก็คือ
ลืมสร้างความมีชีวิตให้กับชาวสิงคโปร์!!!
นั่นจึงทำให้สาวๆชาวสิงคโปร์แอบเมาท์หนุ่มในประเทศของเขาว่า ช่างเป็นผู้ชายที่ไร้ความโรแมนติกเสียเหลือเกิน ขณะที่หนุ่มเมืองลอดช่องก็โต้กลับมาว่า ผู้หญิงสิงคโปร์ส่วนใหญ่เป็นแต่พวก“หิวเงิน”ทั้งนั้น(อันนี้เป็นการเมาท์กันของหนุ่ม-สาวสิงคโปร์กลุ่มหนึ่ง ไม่ได้เหมารวมทั้งหมด)
เรื่องนี้ดูเหมือนว่ารัฐบาลเมืองลอดช่องจะรู้ดี นั่นจึงทำให้ตั้งแต่หลังปี 2000 เป็นต้นมา สิงคโปร์พยายามสร้างภาพลักษณ์ใหม่ของเมืองขึ้นมา ว่าเป็นเมืองที่ให้ความสำคัญกับศิลปะและการออกแบบอย่างสูง
สถาปัตยกรรมยุคใหม่ในสิงคโปร์(ราวๆหลังปี 2000 เป็นต้นมา) ส่วนใหญ่จะเน้นดีไซน์หวือหวาแปลกตา ในลักษณะสถาปัตยกรรมกึ่งประติมากรรมที่มีเอกลักษณ์ สร้างความน่าตื่นตาตื่นใจให้กับเมืองควบคู่ไปกับประโยชน์ใช้สอยของคน ไม่ว่าจะเป็น
ตึกยูเอฟโอหรือตึกจานบิน(อาคารรัฐสภาหลังใหม่) ที่ก็ไม่รู้ว่านักการเมืองที่นี่กลัวประชาชนไปปิดล้อมหรือเปล่า จึงสร้างอาคารนับสภาออกมาเป็นแบบนี้ เพราะเมื่อโกงกินทำผิดจนประชาชนทนไม่ได้ต้องไปปิดล้อมนักการเมืองก็ถือโอกาสขึ้นจานบินหนีซะเลย
ตึกทุเรียน(เอสพลานาด) อาคารเพื่อศิลปะการแสดงที่รัฐบาลคิดและวางแผนมายาวนาน นับเป็นอาคารที่มีระบบเสียงดีมากๆแห่งหนึ่งในเอเชีย ขณะที่รูปร่างภายนอก ตึกนี้น่าจะเป็นตึกเดียวในโลกที่สไปเดอร์แมนไม่กล้าชักใยมาเกาะ เพราะเป็นตึกที่มีหนามแหลมคมเต็มไปหมด เติมนั้นตึกเอสพลานาดได้ไอเดียมาจากตาของแมลงวันแต่เมื่อทำเสร็จออกมา ด้วยลักษณะของตึกที่เป็นลูกกลมมีหนามแหลมเต็มไปหมด คนจึงพร้อมใจกันมองเป็นตึกทุเรียนแทน แบบน่าเจ็บใจแทนคนออกแบบยิ่งนัก
อาคารธูปและเรือยักษ์(มารีน่าเบย์แซนด์ คอมเพล็กซ์) คอมเพล็กซ์แห่งใหม่ ที่มีทั้งห้างสรรพสินค้า โรงละคร และแหล่งดูดเงินคนไทยอย่างกาสิโน ในรูปแบบอาคารสูง 3 หลัง มีลักษณะคล้ายธูปยักษ์ 3 ดอก มีอาคารรูปเรือตั้งลอยเด่นอยู่บนธูปยักษ์ 3 ดอกอีกที ซึ่งพอผมเห็นเจ้าตึกทรงคล้ายเรือยักษ์ลำนี้ มันอดนึกเล่นๆไม่ได้ว่า ถ้าน้ำท่วมโลก ตึกเรือลำนี้มันอาจจะลอยฉิวเหมือนในหนังก็ได้ ดังนั้นเขาจึงคัดแต่พวกอีลิทมีตั้งเยอะๆไปนอนอยู่บนตึก ส่วนพวกเราก็ทำได้เพียงแหงนมองคอตั้งบ่า พร้อมกับชักภาพเก็บไว้เป็นที่ระทึก เอ้ย!!! ที่ระลึก เท่านั้นเอง
สำหรับสิ่งก่อสร้างใหม่ๆเหล่านี้ แม้จะดูแปลกตาน่าทึ่ง แต่หากใครรู้เบื้องหลังของการก่อสร้างคงจะต้องทึ่งยิ่งกว่า
เพราะบรรดาอาคารต่างๆในสิงคโปร์ที่แสดงถึงความทันสมัยล้ำหน้าแห่งเทคโนโลยีนั้น มันแฝงไว้ด้วยความเชื่อในเรื่อง“ฮวงจุ้ย”อย่างร้ายกาจ แบบไม่สามารถแยกออกจากกันได้
2...
นอกจากลักษณะทางกายภาพของอาคาร สิ่งก่อสร้าง ที่แสดงให้เห็นถึงความมีดีไซน์แล้ว บนถนน ทางเท้า ในสวนสาธารณะ หรือตามที่ว่างของเมือง รัฐบาลสิงคโปร์ได้พยายามใส่งานศิลปะเข้าไปทั้งประติมากรรม สตรีทเฟอร์นิเจอร์ เพื่อสร้างความจรรโลงใจให้กับชาวเมืองลอดช่อง อีกทั้งยังได้เปิดโรงเรียน มหาวิทยาลัยทางศิลปะ เพิ่มขึ้นอีกหลายแห่ง ซึ่งก็ค่อนข้างไปได้สวย เพราะในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา วิชาด้านศิลปะกับการบริการ ถือเป็นเทรนด์ที่มาแรงมากในการเลือกสอบเข้ามหาวิทยาลัยของนักศึกษาในสิงคโปร์
ไม่เพียงเท่านั้น ในประเทศสิงคโปร์ยังเต็มไปด้วยอาร์ทแกลลอรีและพิพิธภัณฑ์ศิลปะมากมาย ผลงานของศิลปินไทยหลายคนก็ถูกทางสิงคโปร์คัดเลือกให้มาจัดแสดงที่นี่ ยกตัวอย่าง งานของคุณวสันต์ สิทธิเขตต์ ที่คนไทยจำนวนมากดูงานของเขาไม่รู้เรื่อง แต่เขากลับเป็นที่นิยมไม่น้อยในสิงคโปร์
ในขณะที่วิถีของเยาวชนชาวสิงคโปร์วันนี้ แม้พวกเขาจะติดมือถือไม่ต่างจากเด็กไทย แต่ไลฟ์สไตล์อย่างหนึ่งที่ต่างไปจากเด็กไทยก็คือ เด็กสิงคโปร์นิยมเข้าพิพิธภัณฑ์ไม่น้อย นั่นคงเป็นเพราะเขาถูกทางรัฐบาลวางรากฐานให้เข้าพิพิธภัณฑ์มาตั้งแต่เด็ก ในขณะที่เด็กไทยนั้นเห็นได้ชัดว่านิยมเข้าห้างสรรพสินค้าหรือร้านเกมส์มากกว่าเข้าพิพิธภัณฑ์ชนิดที่เทียบกันไม่เห็นฝุ่น
ความพยายามอีกอย่างหนึ่งที่น่ายกย่องของสิงคโปร์ ก็คือวันนี้ทางรัฐบาลของเขาได้พยายามนำงานศิลปะมาประเคนให้ประชาชนของเขาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ในสิงคโปร์มีการจัดอีเวนต์งานศิลปะการแสดงใหญ่เล็กๆเกิดขึ้นอยู่อย่างต่อเนื่อง
สำหรับในส่วนของงานดนตรีและศิลปะการแสดงนั้น นับเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่รัฐบาลเมืองลอดช่องได้พยายามผลักดันอย่างหนักในรอบหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งมันก็เห็นผลชัดเจนว่าไปได้สวยมาก เพราะจากคอนเสิร์ตของวง SSO ที่ผมได้มีโอกาสไปร่วมชมมาด้วยตัวเองนั้น มีคนดูเต็มฮอลล์ของเอสพลานาด ส่วนในการแสดงละครเพลง“ไลอ้อนคิง”ที่มารีน่าเบย์แซนด์นั้น คนก็แน่นไม่แพ้กัน
นับได้ว่าไลฟ์สไตล์ของชาวสิงคโปร์วันนี้กำลังจะถูกทำให้เปลี่ยนไปด้วยงานศิลปะที่รัฐบาลเลือกหยิบมาใช้เป็นส่วนสำคัญในการสร้างชาติพัฒนาประเทศ ซึ่งในอนาคตบางทีเราอาจจะได้เห็นถึงความเป็นคนโรแมนติกของหนุ่มสาวชาวสิงคโปร์ก็เป็นได้
3...
“ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น”
วาทะยืนยาวของ : ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี
ด้วยความยืนยาวของศิลปะ วันนี้ประเทศเล็กกระจิ๋วริ๋วอย่าง“สิงคโปร์”ได้เลือกใช้“ศิลปะ”มาเป็นส่วนสำคัญในการสร้างชาติพัฒนาประเทศ โดยหวังจะใช้ศิลปะมาสร้างรากฐานใหม่ของชีวิตให้กับคนสิงคโปร์
อย่างไรก็ตามความเป็นประเทศเกิดใหม่ ทำให้สิงคโปร์ถูกมองว่าเป็นประเทศที่มีรากเหง้าทางศิลปวัฒนธรรมอันน้อยนิด
เพราะฉะนั้นการพยายามนำศิลปะมาเป็นส่วนหนึ่งของไลฟ์สไตล์ชาวสิงคโปร์ จึงเปรียบดังการปลูกฝังรากสั้นๆขึ้นมาในวิถีชาวลอดช่อง แต่ถ้าหากผู้ปลูกหมั่นรดน้ำ เอาใจใส่ ดูแลรักษา รากสั้น จะค่อยๆเติบใหญ่กลายเป็นรากแขนงหรือรากแก้วขึ้นมาไม่วันใดก็วันหนึ่ง ซึ่งก่อนไปสิงคโปร์ ผมได้มีโอกาสคุยกับศิลปินนามอุโฆษของเมืองไทย 2 ท่าน ในเรื่องเกี่ยวกับสิงคโปร์
ศิลปินท่านแรกบอกว่า สิงคโปร์ไม่มีทางประสบความสำเร็จในเรื่องนี้เพราะผู้คนในประเทศของเขาไม่รากเหง้าทางศิลปะเอาเสียเลย
ส่วนศิลปินท่านที่สองบอกว่ามีทางเป็นไปได้ แต่รัฐบาลสิงคโปร์ต้องทำอย่างจริงจังและอดทน เพราะจิตวิญญาณ วิถีทางของศิลปะนั้นปลูกฝังกันได้ เพียงแต่ต้องใช้ระยะเวลา อาจเป็น 50 ปี หรือ 100 ปี
สำหรับผมด้วยความที่ไม่ใช่ศิลปินจึงไม่มีความเห็นในเรื่องนี้ เพียงแต่รู้สึกอิจฉาคนสิงคโปร์อยู่ลึกๆว่า อย่างน้อยนักการเมืองสิงคโปร์ก็ยังคิด ยังทำ ยังสร้างอะไรให้กับประชาชนในประเทศของเขา ผิดกับบ้านเราที่บรรดานักการเมืองทั้งหลาย ต่างไม่เคยคิด เคยทำ เคยสร้างอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อชาติและประชาชนในประเทศเลย
ที่น่าสมเพชที่สุดก็คือบรรดานักการเมืองเหล่านี้ ที่ผ่านมามีแต่เฝ้าคิดและเฝ้าทำเพื่อผลประโยชน์ของตัวเองและของพวกพ้องอยู่ร่ำไป
“ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น”
วาทะยืนยาวของ : ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี
ด้วยความยืนยาวของศิลปะ วันนี้ประเทศขนาดเล็กจิ๋วพอๆกับเกาะภูเก็ตอย่าง“สิงคโปร์”ได้เลือกใช้“ศิลปะ”มาเป็นส่วนสำคัญในการสร้างชาติพัฒนาประเทศ โดยหวังจะใช้ศิลปะมาสร้างรากเหง้าใหม่ให้กับชาวสิงคโปร์
พร้อมกันนี้รัฐบาลสิงคโปร์ยังมองไกลไปถึงการทำให้เมืองลอดช่องกลายเป็นจุดนัดพบทางศิลปวัฒนธรรมของเอเชีย
รวมถึงไม่พลาดที่จะมองในเชิงธุรกิจตามสไตล์ถนัดของคนประเทศนี้ว่า จะใช้ความเป็นเมืองศิลปะ(ในอนาคต)มาเป็นแม่เหล็กตัวใหม่ในภาคธุรกิจการท่องเที่ยว ซึ่งรัฐบาลของประเทศนี้เก่งนักในการสร้างสิ่งต่างๆมาดึงดูด(และหลอก)ให้นักท่องเที่ยวในหลายๆชาติเดินทางเข้ามาละลายทรัพย์ในประเทศของตน โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยว“เสียมตือ”นี่เป็นเป้าหมายอันดับหนึ่งเลยทีเดียว
อย่างไรก็ตามความที่ถูกมองว่าเป็นประเทศที่มีรากเหง้าทางศิลปวัฒนธรรมเพียงน้อยนิด ทำให้สิงคโปร์ต้องพิสูจน์ตัวเองอย่างหนักว่า สิ่งที่พวกเขาทำในวันนี้และวันข้างหน้า
มันจะประสบผลสำเร็จตามคาด
หรือมันจะเป็นการกระทำที่สูญเปล่า!?!
1...
หลังประกาศอิสรภาพในปี ค.ศ.1965 สิงคโปร์ภายใต้การนำของรัฐบาลของนาย ลี กวน ยู ได้เดินหน้าสร้างชาติใหม่อย่างหนัก จนประเทศเล็กกระจิ๋วริ๋วอย่างสิงคโปร์ผงาดขึ้นมาเป็นเสือเศรษฐกิจอันดับต้นๆของเอเชียได้อย่างรวดเร็ว
ต่อจากนั้นทางรัฐบาลได้สานต่อ สร้างความคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนในหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นการวางผังเมืองที่ดี สร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาดสะอ้านให้กับบ้านเมือง สร้างระบบขนส่งมวลชนที่ทันสมัย สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับชาวเมือง โดยเฉพาะการใส่ต้นไม้และสีเขียวลงในไปทั่วเมือง จนรัฐบาลสิงคโปร์คุยนักคุยหนาว่าบ้านเมืองของเราคือ “Green City”
อย่างไรก็ตามแม้สิงคโปร์จะเป็นเมืองแมนเมดที่รัฐบาลพยายามสร้างสิ่งตามๆให้กับประชากรของเขาอย่างมากมาย แต่สิ่งหนึ่งที่ดูเหมือนว่ารัฐบาลของประเทศนี้ลืมไปนั่นก็คือ
ลืมสร้างความมีชีวิตให้กับชาวสิงคโปร์!!!
นั่นจึงทำให้สาวๆชาวสิงคโปร์แอบเมาท์หนุ่มในประเทศของเขาว่า ช่างเป็นผู้ชายที่ไร้ความโรแมนติกเสียเหลือเกิน ขณะที่หนุ่มเมืองลอดช่องก็โต้กลับมาว่า ผู้หญิงสิงคโปร์ส่วนใหญ่เป็นแต่พวก“หิวเงิน”ทั้งนั้น(อันนี้เป็นการเมาท์กันของหนุ่ม-สาวสิงคโปร์กลุ่มหนึ่ง ไม่ได้เหมารวมทั้งหมด)
เรื่องนี้ดูเหมือนว่ารัฐบาลเมืองลอดช่องจะรู้ดี นั่นจึงทำให้ตั้งแต่หลังปี 2000 เป็นต้นมา สิงคโปร์พยายามสร้างภาพลักษณ์ใหม่ของเมืองขึ้นมา ว่าเป็นเมืองที่ให้ความสำคัญกับศิลปะและการออกแบบอย่างสูง
สถาปัตยกรรมยุคใหม่ในสิงคโปร์(ราวๆหลังปี 2000 เป็นต้นมา) ส่วนใหญ่จะเน้นดีไซน์หวือหวาแปลกตา ในลักษณะสถาปัตยกรรมกึ่งประติมากรรมที่มีเอกลักษณ์ สร้างความน่าตื่นตาตื่นใจให้กับเมืองควบคู่ไปกับประโยชน์ใช้สอยของคน ไม่ว่าจะเป็น
ตึกยูเอฟโอหรือตึกจานบิน(อาคารรัฐสภาหลังใหม่) ที่ก็ไม่รู้ว่านักการเมืองที่นี่กลัวประชาชนไปปิดล้อมหรือเปล่า จึงสร้างอาคารนับสภาออกมาเป็นแบบนี้ เพราะเมื่อโกงกินทำผิดจนประชาชนทนไม่ได้ต้องไปปิดล้อมนักการเมืองก็ถือโอกาสขึ้นจานบินหนีซะเลย
ตึกทุเรียน(เอสพลานาด) อาคารเพื่อศิลปะการแสดงที่รัฐบาลคิดและวางแผนมายาวนาน นับเป็นอาคารที่มีระบบเสียงดีมากๆแห่งหนึ่งในเอเชีย ขณะที่รูปร่างภายนอก ตึกนี้น่าจะเป็นตึกเดียวในโลกที่สไปเดอร์แมนไม่กล้าชักใยมาเกาะ เพราะเป็นตึกที่มีหนามแหลมคมเต็มไปหมด เติมนั้นตึกเอสพลานาดได้ไอเดียมาจากตาของแมลงวันแต่เมื่อทำเสร็จออกมา ด้วยลักษณะของตึกที่เป็นลูกกลมมีหนามแหลมเต็มไปหมด คนจึงพร้อมใจกันมองเป็นตึกทุเรียนแทน แบบน่าเจ็บใจแทนคนออกแบบยิ่งนัก
อาคารธูปและเรือยักษ์(มารีน่าเบย์แซนด์ คอมเพล็กซ์) คอมเพล็กซ์แห่งใหม่ ที่มีทั้งห้างสรรพสินค้า โรงละคร และแหล่งดูดเงินคนไทยอย่างกาสิโน ในรูปแบบอาคารสูง 3 หลัง มีลักษณะคล้ายธูปยักษ์ 3 ดอก มีอาคารรูปเรือตั้งลอยเด่นอยู่บนธูปยักษ์ 3 ดอกอีกที ซึ่งพอผมเห็นเจ้าตึกทรงคล้ายเรือยักษ์ลำนี้ มันอดนึกเล่นๆไม่ได้ว่า ถ้าน้ำท่วมโลก ตึกเรือลำนี้มันอาจจะลอยฉิวเหมือนในหนังก็ได้ ดังนั้นเขาจึงคัดแต่พวกอีลิทมีตั้งเยอะๆไปนอนอยู่บนตึก ส่วนพวกเราก็ทำได้เพียงแหงนมองคอตั้งบ่า พร้อมกับชักภาพเก็บไว้เป็นที่ระทึก เอ้ย!!! ที่ระลึก เท่านั้นเอง
สำหรับสิ่งก่อสร้างใหม่ๆเหล่านี้ แม้จะดูแปลกตาน่าทึ่ง แต่หากใครรู้เบื้องหลังของการก่อสร้างคงจะต้องทึ่งยิ่งกว่า
เพราะบรรดาอาคารต่างๆในสิงคโปร์ที่แสดงถึงความทันสมัยล้ำหน้าแห่งเทคโนโลยีนั้น มันแฝงไว้ด้วยความเชื่อในเรื่อง“ฮวงจุ้ย”อย่างร้ายกาจ แบบไม่สามารถแยกออกจากกันได้
2...
นอกจากลักษณะทางกายภาพของอาคาร สิ่งก่อสร้าง ที่แสดงให้เห็นถึงความมีดีไซน์แล้ว บนถนน ทางเท้า ในสวนสาธารณะ หรือตามที่ว่างของเมือง รัฐบาลสิงคโปร์ได้พยายามใส่งานศิลปะเข้าไปทั้งประติมากรรม สตรีทเฟอร์นิเจอร์ เพื่อสร้างความจรรโลงใจให้กับชาวเมืองลอดช่อง อีกทั้งยังได้เปิดโรงเรียน มหาวิทยาลัยทางศิลปะ เพิ่มขึ้นอีกหลายแห่ง ซึ่งก็ค่อนข้างไปได้สวย เพราะในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา วิชาด้านศิลปะกับการบริการ ถือเป็นเทรนด์ที่มาแรงมากในการเลือกสอบเข้ามหาวิทยาลัยของนักศึกษาในสิงคโปร์
ไม่เพียงเท่านั้น ในประเทศสิงคโปร์ยังเต็มไปด้วยอาร์ทแกลลอรีและพิพิธภัณฑ์ศิลปะมากมาย ผลงานของศิลปินไทยหลายคนก็ถูกทางสิงคโปร์คัดเลือกให้มาจัดแสดงที่นี่ ยกตัวอย่าง งานของคุณวสันต์ สิทธิเขตต์ ที่คนไทยจำนวนมากดูงานของเขาไม่รู้เรื่อง แต่เขากลับเป็นที่นิยมไม่น้อยในสิงคโปร์
ในขณะที่วิถีของเยาวชนชาวสิงคโปร์วันนี้ แม้พวกเขาจะติดมือถือไม่ต่างจากเด็กไทย แต่ไลฟ์สไตล์อย่างหนึ่งที่ต่างไปจากเด็กไทยก็คือ เด็กสิงคโปร์นิยมเข้าพิพิธภัณฑ์ไม่น้อย นั่นคงเป็นเพราะเขาถูกทางรัฐบาลวางรากฐานให้เข้าพิพิธภัณฑ์มาตั้งแต่เด็ก ในขณะที่เด็กไทยนั้นเห็นได้ชัดว่านิยมเข้าห้างสรรพสินค้าหรือร้านเกมส์มากกว่าเข้าพิพิธภัณฑ์ชนิดที่เทียบกันไม่เห็นฝุ่น
ความพยายามอีกอย่างหนึ่งที่น่ายกย่องของสิงคโปร์ ก็คือวันนี้ทางรัฐบาลของเขาได้พยายามนำงานศิลปะมาประเคนให้ประชาชนของเขาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ในสิงคโปร์มีการจัดอีเวนต์งานศิลปะการแสดงใหญ่เล็กๆเกิดขึ้นอยู่อย่างต่อเนื่อง
สำหรับในส่วนของงานดนตรีและศิลปะการแสดงนั้น นับเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่รัฐบาลเมืองลอดช่องได้พยายามผลักดันอย่างหนักในรอบหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งมันก็เห็นผลชัดเจนว่าไปได้สวยมาก เพราะจากคอนเสิร์ตของวง SSO ที่ผมได้มีโอกาสไปร่วมชมมาด้วยตัวเองนั้น มีคนดูเต็มฮอลล์ของเอสพลานาด ส่วนในการแสดงละครเพลง“ไลอ้อนคิง”ที่มารีน่าเบย์แซนด์นั้น คนก็แน่นไม่แพ้กัน
นับได้ว่าไลฟ์สไตล์ของชาวสิงคโปร์วันนี้กำลังจะถูกทำให้เปลี่ยนไปด้วยงานศิลปะที่รัฐบาลเลือกหยิบมาใช้เป็นส่วนสำคัญในการสร้างชาติพัฒนาประเทศ ซึ่งในอนาคตบางทีเราอาจจะได้เห็นถึงความเป็นคนโรแมนติกของหนุ่มสาวชาวสิงคโปร์ก็เป็นได้
3...
“ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น”
วาทะยืนยาวของ : ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี
ด้วยความยืนยาวของศิลปะ วันนี้ประเทศเล็กกระจิ๋วริ๋วอย่าง“สิงคโปร์”ได้เลือกใช้“ศิลปะ”มาเป็นส่วนสำคัญในการสร้างชาติพัฒนาประเทศ โดยหวังจะใช้ศิลปะมาสร้างรากฐานใหม่ของชีวิตให้กับคนสิงคโปร์
อย่างไรก็ตามความเป็นประเทศเกิดใหม่ ทำให้สิงคโปร์ถูกมองว่าเป็นประเทศที่มีรากเหง้าทางศิลปวัฒนธรรมอันน้อยนิด
เพราะฉะนั้นการพยายามนำศิลปะมาเป็นส่วนหนึ่งของไลฟ์สไตล์ชาวสิงคโปร์ จึงเปรียบดังการปลูกฝังรากสั้นๆขึ้นมาในวิถีชาวลอดช่อง แต่ถ้าหากผู้ปลูกหมั่นรดน้ำ เอาใจใส่ ดูแลรักษา รากสั้น จะค่อยๆเติบใหญ่กลายเป็นรากแขนงหรือรากแก้วขึ้นมาไม่วันใดก็วันหนึ่ง ซึ่งก่อนไปสิงคโปร์ ผมได้มีโอกาสคุยกับศิลปินนามอุโฆษของเมืองไทย 2 ท่าน ในเรื่องเกี่ยวกับสิงคโปร์
ศิลปินท่านแรกบอกว่า สิงคโปร์ไม่มีทางประสบความสำเร็จในเรื่องนี้เพราะผู้คนในประเทศของเขาไม่รากเหง้าทางศิลปะเอาเสียเลย
ส่วนศิลปินท่านที่สองบอกว่ามีทางเป็นไปได้ แต่รัฐบาลสิงคโปร์ต้องทำอย่างจริงจังและอดทน เพราะจิตวิญญาณ วิถีทางของศิลปะนั้นปลูกฝังกันได้ เพียงแต่ต้องใช้ระยะเวลา อาจเป็น 50 ปี หรือ 100 ปี
สำหรับผมด้วยความที่ไม่ใช่ศิลปินจึงไม่มีความเห็นในเรื่องนี้ เพียงแต่รู้สึกอิจฉาคนสิงคโปร์อยู่ลึกๆว่า อย่างน้อยนักการเมืองสิงคโปร์ก็ยังคิด ยังทำ ยังสร้างอะไรให้กับประชาชนในประเทศของเขา ผิดกับบ้านเราที่บรรดานักการเมืองทั้งหลาย ต่างไม่เคยคิด เคยทำ เคยสร้างอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อชาติและประชาชนในประเทศเลย
ที่น่าสมเพชที่สุดก็คือบรรดานักการเมืองเหล่านี้ ที่ผ่านมามีแต่เฝ้าคิดและเฝ้าทำเพื่อผลประโยชน์ของตัวเองและของพวกพ้องอยู่ร่ำไป