โดย : ปิ่น บุตรี
“เมืองในหมอก ดอกไม้งาม”
เอ่ยขึ้นมาลอยๆอย่างนี้ ใครหลายคนอาจนึกว่านี่คือสโลแกนท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคเหนือ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน เพราะถ้อยคำกระทงความมันสื่อออกไปทางนั้น
แต่เมืองในหมอกดอกไม้งามที่ผมจะพูดถึงในทริปนี้ อยู่ตรงข้ามกับภาคเหนือ ห่างจากเชียงใหม่ เชียงราย นับเป็นพันกิโลเมตร นั่นก็คือ อ.เบตง จ.ยะลา ดินแดนใต้สุดในสยาม ซึ่งมีคำขวัญประจำอำเภอว่า
“เมืองในหมอก ดอกไม้งาม ใต้สุดสยาม เมืองงามชายแดน”
เบตง ยังคงโอเค
“โอเค เบตง”
ชื่อหนังได้กล่องแต่ไม่ได้เงินเมื่อหลายปีก่อน ถือว่าสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันของเบตงไม่น้อย เพราะขณะที่สถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่สถานการณ์ที่เบตงได้กลับคืนสู่ความสงบมาร่วม 3 ปีกว่าแล้ว นั่นจึงทำให้สถานการณ์โอเค เบตง นำมาสู่การเป็นเมืองนำร่องในกรณียกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งก็น่าจะช่วยให้สถานการณ์ท่องเที่ยวในเบตงกระเตื้องขึ้นมาบ้าง ไม่มากก็น้อย
“เบตง” ชื่อนี้มาจากภาษามลายู คือ "Buluh Betong" ที่หมายถึง “ไม้ไผ่” หรือ “ไผ่ตง” เนื่องเพราะในอดีตพื้นที่แห่งนี้อุดมไปด้วยต้นไผ่ แต่ปัจจุบันต้นไผ่สูญหายไปตามสภาพเมืองที่เติบโตขึ้น เป็นเหตุผลให้ทางเทศบาลเบตงต้องสร้างต้นไผ่(บ้องไผ่)ยักษ์จำลองขึ้นมา เพื่อรำลึกให้รู้ว่าชื่อเบตงมีที่มาจากไม้ไผ่นะ
เบตง มีประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม แต่ชาวบ้านที่นี้ต่างอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ไม่แบ่งแยก จนมีการผสมผสานทางวัฒนธรรมหลายอย่างเกิดขึ้น ในขณะที่ชาวบ้านชาวเมืองที่นี่ก็น่ารัก มากมิตรไมตรี นับเป็นเสน่ห์สำคัญในการดึงดูดให้ผมหลงใหลในเบตง
เช่นเดียวกับสภาพพื้นที่ที่ถือเป็นอีกหนึ่งเสน่ห์สำคัญ เบตง เป็นเมืองแอ่งกระทะในอ้อมกอดของขุนเขามีที่ราบประมาณ 10 % ของพื้นที่ ทำให้ที่นี่มีบรรยากาศคล้ายภาคเหนือตอนบนของไทย อากาศที่เบตงเย็นสบายตลอดทั้งปี นับเป็นเมืองที่มีชัยภูมิเหมาะกับเมืองท่องเที่ยวอย่างเบตงมาก
เที่ยวนอกเมือง
ใครที่มาเที่ยวเบตง หากอยากสัมผัสกับบรรยากาศ “เมืองในหมอก ดอกไม้งาม” ผมขอแนะนำให้ขึ้นไปที่“โครงการไม้ดอกเมืองหนาว อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ยะลา” และที่ “สวนไม้ดอกเมืองหนาว”ที่อยู่ติดๆกัน
พูดถึงแหล่งปลูกไม้ดอกเมืองหนาว แน่นอนว่าบ้านเราต้องที่ภาคเหนือ แต่ด้วยสภาพพื้นที่สูงมีภูเขาโอบล้อม มีอากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี ทำให้เบตงสามารถปลูกไม้ดอกเมืองหนาวบางประเภทได้อย่างไม่ยากเย็น แถมไม้เมืองหนาวบางชนิดยังให้ผลผลิตดีกว่าทางภาคเหนืออีกด้วย แต่ไม้บางชนิดก็ปลูกสู้ทางภาคเหนือไม่ได้ และไม้บางชนิดที่นี่ก็ปลูกไม่ได้ เนื่องเพราะมันมีปัจจัยอื่นๆมาเกี่ยวข้อง
อย่างไรก็ดีถ้าพูดถึงบรรยากาศด้านการท่องเที่ยวแล้ว อารมณ์ขุนเขาสายหมอกดอกไม้งาม แบบนี้ทางภาคใต้ตอนล่างก็ต้องยกให้ที่เบตงเขาล่ะ นั่นจึงทำให้เมืองนี้มีชาวมาเลย์เดินทางมาสัมผัสบรรยากาศใต้ที่คล้ายภาคเหนือกันเป็นจำนวนไม่น้อย
สำหรับโครงการไม้ดอกเมืองหนาวฯนั้น เป้าประสงค์หลักในโครงการนี้สร้างขึ้นเพื่อศึกษาทดลองปลูกไม้ดอกเมืองหนาวต่างๆ อาทิ เบญจมาศ กุหลาบ เยอบีรา หน้าวัว ไฮเดนเยีย ดาวเรือง ทานตะวัน ซัลเวีย รวมไปถึงการขยายผล นำร่อง เป็นต้นแบบให้ชาวบ้านในพื้นที่เพาะปลูกพืชเมืองหนาวขาย
แต่ด้วย สภาพอากาศที่เย็นสบาย ความสวยงามของพื้นที่ ความสวยงามของภูมิทัศน์ในโครงการ ความสวยงามของสายหมอกดอกไม้ มันได้กลายเป็นผลพลอยได้ที่ส่งให้โครงการแหงนี้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจขึ้นมา เช่นเดียวกับสวนไม้ดอกเมืองหนาวที่อยู่ติดกันชนิดเดินไปยังไม่ทันเหนื่อย(เพราะอากาศเย็นสบาย)
“สวนไม้ดอกเมืองหนาว” เกิดจากฝีมือของชาวบ้านในหมู่บ้านปิยะมิตรจำนวนหนึ่งที่รวมกลุ่มกันปลูกพืชเมืองหนาวขึ้นมา โดยพวกเขาเดินตามรอยพ่อด้วยการนำต้นแบบมาจากโครงการไม้ดอกเมืองหนาว อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯที่อยู่ติดๆกัน
ไม้ดอกเมืองหนาวที่นี่นอกจากจะส่งขายในพื้นที่ภาคใต้เป็นหลักแล้ว ยังเกิดผลทางอ้อม(เหมือนโครงการต้นแบบ)กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นมา
สวนไม้ดอกเมืองหนาว น่ายล น่าเดินเที่ยวไปด้วย การจัดสวนตกแต่งด้วยไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้ยืนต้น ก้อนหิน สระน้ำ และองค์ประกอบอื่นๆอย่างสวยงาม
ทั้งนี้การมีต้นแบบที่ดีทำให้ชาวบ้านที่นี่เกิดไอเดีย สามารถบริหารจัดการพื้นที่กันได้อย่างมีประสิทธิภาพ พวกเขาสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยว ร้านขายของที่ระลึกชุมชน ร้านอาหาร ไว้บริการนักท่องเที่ยวกับอาหารอร่อยๆสไตล์เบตง รวมถึงมีโฮมสเตย์เอาไว้รองรับนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบในบรรยากาศเป็นธรรมชาติ
นับเป็นการเดินตามรอยพ่อที่เห็นประสบผลสำเร็จอย่างชัดเจน
จากโครงการพระราชดำริ สวนไม้ดอกเมืองหนาว หากเดินทางต่อไปข้างหน้า(ไม่ย้อนกลับ)บน ก็จะได้พบกับ“อุโมงค์ปิยะมิตร”หรือ“อุโมงค์เบตง”ที่สร้างในปี พ.ศ. 2519 โดยกองกำลังพรรคคอมมิวนิสต์มาลายา เพื่อใช้เป็นฐานปฏิบัติการของมาชิกพรรคฯ มีความกว้างพอคนเดินได้ ยาวประมาณ 1 กิโลเมตร ในอุโมงค์มีรอยอดีต อย่าง อุปกรณ์การสู้รบ ห้องนอนเตียงดินเหนียว ต่างๆ ห้องบัญชาการรบ ทิ้งไว้ให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัส ชื่นชม
บนเส้นทางสายเดิมสายนี้ที่เป็นเส้นทางท่องเที่ยววงรอบ ยังมี “บ่อน้ำพุร้อน” ต.ตาเนาะแมเราะ เป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ
บ่อน้ำพุร้อนที่นี่มีทั้งบ่อเล็กบ่อใหญ่
บ่อเล็ก เป็นการขุดทอนความร้อนของสายน้ำให้นักท่องเที่ยว สามารถนั่งเอาเท้าแช่น้ำสัมผัสความอุ่นความร้อนกันได้ ท่ามกลางบรรยากาศรอบข้างที่ประติมากรรมพญานาคมาตกแต่งช่วยสร้างสีสัน
ส่วนบ่อใหญ่ เป็นเหมือนบึงย่อมๆมีความร้อนมาก บ่อใหญ่แห่งนี้เป็นที่ครั่นคร้ามของผู้ชายคิดถึงหลายๆคน เพราะบ่อแห่งนี้สามารถ“ต้มไข่สุก” ภายในเวลาแค่ 7 นาที เท่านั้น
เที่ยวในเมือง
เบตง แม้เป็นเมืองเล็กๆ แต่ที่นี่กลับมีตู้ไปรณีใหญ่ยักษ์อยู่ถึง 2 ตู้ด้วยกัน
ตู้แรกเป็นตู้คลาสสิกดั้งเดิมตั้งอยู่ที่ใจกลางเมือง บริเวณ 4 แยกหอนาฬิกา ตู้นี้สูง 3 เมตรกว่า มีอายุกว่า 80 ปี เป็นสัญลักษณ์ของเมืองเบตง เคียงคู่กับหอนาฬิกาหินอ่อนเก่าแก่คลาสสิกที่อยู่คู่กันมาช้านาน
เวลาใครหลายคนเวลามาเยือนเบตงมักจะไม่พลาดการเขียนโปสการ์ด-จดหมายแล้วนำมาหย่อนส่งที่ตู้นี้ แม้ว่าโลกยุคใหม่จะไม่นิยมใช้โปสการ์ด จดหมายกันแล้ว แต่การได้ส่งสาส์นความคิดถึงผ่านตู้ไปรณีย์ยักษ์แห่งนี้ มันถือเป็นความทรงจำที่มีคุณค่าไม่น้อยเลย นั่นจึงทำให้ใครและใครบางคนแม้ไม่มีคนที่รู้ใจให้ส่งถึงก็ยังเลือกเขียนส่งให้ตัวเอง เพราะผู้ที่รู้ใจที่สุดในโลกนี้คงไม่มีใครเกินตัวของตัวเองไปได้
ตู้ไปรณีย์สีแดงคลาสสิกตู้นี้ เดิมเคยเป็นตู้ไปรณีย์ที่ได้ชื่อว่าใหญ่ยักษ์ที่สุดในโลก แต่ตอนหลังถูกโค่นแชมป์โดยตู้ไปรษณีย์ตู้ที่ 2 ที่ทางเทศบาลนำไอเดียเดิมไปขยายผลสร้างตู้ไปรณีย์ใหญ่ยักษ์กว่าของเดิมขึ้นมากว่า 3.5 เท่า สูงราวๆ 9 เมตร ตั้งอยู่ที่ศาลาประชาคม แต่ถึงยังไงในความขลังความคลาสสิกแล้ว ตู้ใหม่ยังไงก็เทียบตู้เก่าไม่ได้
อนึ่งบริเวณ 4 แยกใจกลางเมืองยังมีความคลาสสิกประจำเมืองอีกอย่างหนึ่งนั่นก็คือ เจ้า“นกนางแอ่น” เพื่อนต่างสายพันธุ์ที่อยู่คู่ชาวเมืองมาช้านาน จนวันนี้กลายเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของเมืองเบตงไปแล้ว โดยทุกๆปีในช่วงเดือนน ก.ย.-มี.ค.นกนางแอ่นเหล่านี้จะอพยพหนีหนาวจากไซบีเรียมายังเบตง
เพราะพวกนกเหล่านี้ต่างก็โอเค...เบตง
ทุกๆวันยามหัวรุ่งนกเหล่านี้จะหายหน้าหายปีกออกไปหากินในป่าเขา ครั้นพอตกเย็นย่ำ พวกมันจะพร้อมใจกันบินมาเกาะเต็มพรืดอยู่บนสายไฟที่ทอดผ่านระโยงรยางค์ในตัวเมือง พร้อมกับส่งเสียงเซ็งแซ่เป็นสัญญาณบอกชาวเมืองว่า “เย็นแล้ว...ค่ำแล้ว” เป็นอย่างนี่ทุกวันมาชั่วนาตาปี จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตชาวเบตง เป็นความผูกพันที่ซึมลึก ชนิดที่ผมเจอเด็กสาวชาวเบตงกลุ่มหนึ่งถูกนางแอ่นส่งของเหลวหล่น“ปุ๊ ปุ๊”ลงสู่หัว พวกเธอก็ไม่ได้เลียนแบบดารา เซเลบไทย ด้วยการสบถก่นด่านก หรือไปตามด่าต่อแบบอารมณ์ค้างกันในเฟซบุ๊ค แต่พวกเธอกับหัวเราะขบขัน พร้อมๆอุทานแบบรู้ตัวว่าพลาดไปแล้วว่า “ยี้ นกขี้ใส่หัว” แค่นั้นเอง
จาก 4 แยกนาฬิกา หากเดินขึ้นเนินไปอีกหน่อยไม่กี่ 10 ก้าวจะพบกับอุโมงค์รถวิ่งกลางเมืองตั้งตระหง่าน ซึ่งนี่ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ทำให้เบตงมีเสน่ห์ต่างจากที่อื่น(ในเมืองไทย)
อุโมงค์กลางเมืองแห่งนี้มีชื่อไพเราะเพราะพริ้งว่า“อุโมงค์เบตงมงคลฤทธิ์” เป็นอุโมงค์ที่สร้างขึ้นเพื่อให้รถยนต์วิ่งลอดภูเขาแห่งแรกของเมืองไทย เป็นอุโมงค์ขุดโค้งทอดยาว ดูดีมีเสน่ห์กว่าอุโมงค์สมัยใหม่เยอะเลย
ขณะเดียวกันที่บริเวณฟากหนึ่งของอุโมงค์ก็โดดเด่นเป็นสง่าไปด้วย“พิพิธภัณฑ์เมืองเบตง” ที่สร้างในสไตล์สถาปัตยกรรมท้องถิ่นประยุกต์หลังคาซ้อนหลายชั้น
พิพิธภัณฑ์เมืองเบตง เป็นแหล่งเก็บรวบรวมศิลปวัตถุ ข้าวของเครื่องใช้ โบราณวัตถุ และสิ่งที่เกี่ยวข้องกั้บเมืองเบตงต่างๆ เท่าที่จะหามาได้ โดยบริเวณชั้นบนสุดของพิพิธภัณฑ์ที่ต้องเดินบันไดวนขึ้นไปแบบเหนื่อยเอาเรื่อง ถือเป็นจุดชมวิวชั้นดีของเมืองนี้
ในเบตงยังมีสถานที่โดดเด่นอีกแห่งหนึ่งนั่นก็คือ “วัดพุทธาธิวาส” หรือ “วัดเบตง” เดิม
วัดพุทธาธิวาส เป็นวัดที่มีชัยภูมิดีมากตั้งอยู่บนเนินเขามองลงไปเห็นวิวตัวเมืองเบตงได้ดีทีเดียว วัดแห่งนี้มีไฮไลท์อยู่ที่ “พระมหาธาตุเจดีย์พระพุทธธรรมประกาศ” ศิลปะศรีวิชัยอันสวยงามสมส่วน ภายในพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า
ในขณะที่สิ่งน่าสนใจอื่นๆในวัดแห่งนี้ก็มีพระพุทธธรรมกายมงคลปยุรเกศานนท์สุพนิพานองค์โตให้สักการะ และวิหารหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด
นอกจากวัดพุทธแล้ว เบตงยังมีมัสยิดกลางของชาวมุสสลิม มีวัดกวนอิมของชาวไทยเชื้อสายจีน เป็นศาสนสถานสำคัญ แสดงให้เห็นถึงวิถีชาวบ้านของที่นี่ว่า พวกเขาแม้ต่างเชื้อชาติศาสนาแต่เขาก็อยู่อาศัยร่วมกันอย่างปกติสุข ซึ่งนั่นก็เป็นหนึ่งในเครื่องยืนยันสำคัญว่า
...เบตง ยังคงโอเค
“เมืองในหมอก ดอกไม้งาม”
เอ่ยขึ้นมาลอยๆอย่างนี้ ใครหลายคนอาจนึกว่านี่คือสโลแกนท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคเหนือ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน เพราะถ้อยคำกระทงความมันสื่อออกไปทางนั้น
แต่เมืองในหมอกดอกไม้งามที่ผมจะพูดถึงในทริปนี้ อยู่ตรงข้ามกับภาคเหนือ ห่างจากเชียงใหม่ เชียงราย นับเป็นพันกิโลเมตร นั่นก็คือ อ.เบตง จ.ยะลา ดินแดนใต้สุดในสยาม ซึ่งมีคำขวัญประจำอำเภอว่า
“เมืองในหมอก ดอกไม้งาม ใต้สุดสยาม เมืองงามชายแดน”
เบตง ยังคงโอเค
“โอเค เบตง”
ชื่อหนังได้กล่องแต่ไม่ได้เงินเมื่อหลายปีก่อน ถือว่าสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันของเบตงไม่น้อย เพราะขณะที่สถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่สถานการณ์ที่เบตงได้กลับคืนสู่ความสงบมาร่วม 3 ปีกว่าแล้ว นั่นจึงทำให้สถานการณ์โอเค เบตง นำมาสู่การเป็นเมืองนำร่องในกรณียกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งก็น่าจะช่วยให้สถานการณ์ท่องเที่ยวในเบตงกระเตื้องขึ้นมาบ้าง ไม่มากก็น้อย
“เบตง” ชื่อนี้มาจากภาษามลายู คือ "Buluh Betong" ที่หมายถึง “ไม้ไผ่” หรือ “ไผ่ตง” เนื่องเพราะในอดีตพื้นที่แห่งนี้อุดมไปด้วยต้นไผ่ แต่ปัจจุบันต้นไผ่สูญหายไปตามสภาพเมืองที่เติบโตขึ้น เป็นเหตุผลให้ทางเทศบาลเบตงต้องสร้างต้นไผ่(บ้องไผ่)ยักษ์จำลองขึ้นมา เพื่อรำลึกให้รู้ว่าชื่อเบตงมีที่มาจากไม้ไผ่นะ
เบตง มีประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม แต่ชาวบ้านที่นี้ต่างอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ไม่แบ่งแยก จนมีการผสมผสานทางวัฒนธรรมหลายอย่างเกิดขึ้น ในขณะที่ชาวบ้านชาวเมืองที่นี่ก็น่ารัก มากมิตรไมตรี นับเป็นเสน่ห์สำคัญในการดึงดูดให้ผมหลงใหลในเบตง
เช่นเดียวกับสภาพพื้นที่ที่ถือเป็นอีกหนึ่งเสน่ห์สำคัญ เบตง เป็นเมืองแอ่งกระทะในอ้อมกอดของขุนเขามีที่ราบประมาณ 10 % ของพื้นที่ ทำให้ที่นี่มีบรรยากาศคล้ายภาคเหนือตอนบนของไทย อากาศที่เบตงเย็นสบายตลอดทั้งปี นับเป็นเมืองที่มีชัยภูมิเหมาะกับเมืองท่องเที่ยวอย่างเบตงมาก
เที่ยวนอกเมือง
ใครที่มาเที่ยวเบตง หากอยากสัมผัสกับบรรยากาศ “เมืองในหมอก ดอกไม้งาม” ผมขอแนะนำให้ขึ้นไปที่“โครงการไม้ดอกเมืองหนาว อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ยะลา” และที่ “สวนไม้ดอกเมืองหนาว”ที่อยู่ติดๆกัน
พูดถึงแหล่งปลูกไม้ดอกเมืองหนาว แน่นอนว่าบ้านเราต้องที่ภาคเหนือ แต่ด้วยสภาพพื้นที่สูงมีภูเขาโอบล้อม มีอากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี ทำให้เบตงสามารถปลูกไม้ดอกเมืองหนาวบางประเภทได้อย่างไม่ยากเย็น แถมไม้เมืองหนาวบางชนิดยังให้ผลผลิตดีกว่าทางภาคเหนืออีกด้วย แต่ไม้บางชนิดก็ปลูกสู้ทางภาคเหนือไม่ได้ และไม้บางชนิดที่นี่ก็ปลูกไม่ได้ เนื่องเพราะมันมีปัจจัยอื่นๆมาเกี่ยวข้อง
อย่างไรก็ดีถ้าพูดถึงบรรยากาศด้านการท่องเที่ยวแล้ว อารมณ์ขุนเขาสายหมอกดอกไม้งาม แบบนี้ทางภาคใต้ตอนล่างก็ต้องยกให้ที่เบตงเขาล่ะ นั่นจึงทำให้เมืองนี้มีชาวมาเลย์เดินทางมาสัมผัสบรรยากาศใต้ที่คล้ายภาคเหนือกันเป็นจำนวนไม่น้อย
สำหรับโครงการไม้ดอกเมืองหนาวฯนั้น เป้าประสงค์หลักในโครงการนี้สร้างขึ้นเพื่อศึกษาทดลองปลูกไม้ดอกเมืองหนาวต่างๆ อาทิ เบญจมาศ กุหลาบ เยอบีรา หน้าวัว ไฮเดนเยีย ดาวเรือง ทานตะวัน ซัลเวีย รวมไปถึงการขยายผล นำร่อง เป็นต้นแบบให้ชาวบ้านในพื้นที่เพาะปลูกพืชเมืองหนาวขาย
แต่ด้วย สภาพอากาศที่เย็นสบาย ความสวยงามของพื้นที่ ความสวยงามของภูมิทัศน์ในโครงการ ความสวยงามของสายหมอกดอกไม้ มันได้กลายเป็นผลพลอยได้ที่ส่งให้โครงการแหงนี้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจขึ้นมา เช่นเดียวกับสวนไม้ดอกเมืองหนาวที่อยู่ติดกันชนิดเดินไปยังไม่ทันเหนื่อย(เพราะอากาศเย็นสบาย)
“สวนไม้ดอกเมืองหนาว” เกิดจากฝีมือของชาวบ้านในหมู่บ้านปิยะมิตรจำนวนหนึ่งที่รวมกลุ่มกันปลูกพืชเมืองหนาวขึ้นมา โดยพวกเขาเดินตามรอยพ่อด้วยการนำต้นแบบมาจากโครงการไม้ดอกเมืองหนาว อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯที่อยู่ติดๆกัน
ไม้ดอกเมืองหนาวที่นี่นอกจากจะส่งขายในพื้นที่ภาคใต้เป็นหลักแล้ว ยังเกิดผลทางอ้อม(เหมือนโครงการต้นแบบ)กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นมา
สวนไม้ดอกเมืองหนาว น่ายล น่าเดินเที่ยวไปด้วย การจัดสวนตกแต่งด้วยไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้ยืนต้น ก้อนหิน สระน้ำ และองค์ประกอบอื่นๆอย่างสวยงาม
ทั้งนี้การมีต้นแบบที่ดีทำให้ชาวบ้านที่นี่เกิดไอเดีย สามารถบริหารจัดการพื้นที่กันได้อย่างมีประสิทธิภาพ พวกเขาสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยว ร้านขายของที่ระลึกชุมชน ร้านอาหาร ไว้บริการนักท่องเที่ยวกับอาหารอร่อยๆสไตล์เบตง รวมถึงมีโฮมสเตย์เอาไว้รองรับนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบในบรรยากาศเป็นธรรมชาติ
นับเป็นการเดินตามรอยพ่อที่เห็นประสบผลสำเร็จอย่างชัดเจน
จากโครงการพระราชดำริ สวนไม้ดอกเมืองหนาว หากเดินทางต่อไปข้างหน้า(ไม่ย้อนกลับ)บน ก็จะได้พบกับ“อุโมงค์ปิยะมิตร”หรือ“อุโมงค์เบตง”ที่สร้างในปี พ.ศ. 2519 โดยกองกำลังพรรคคอมมิวนิสต์มาลายา เพื่อใช้เป็นฐานปฏิบัติการของมาชิกพรรคฯ มีความกว้างพอคนเดินได้ ยาวประมาณ 1 กิโลเมตร ในอุโมงค์มีรอยอดีต อย่าง อุปกรณ์การสู้รบ ห้องนอนเตียงดินเหนียว ต่างๆ ห้องบัญชาการรบ ทิ้งไว้ให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัส ชื่นชม
บนเส้นทางสายเดิมสายนี้ที่เป็นเส้นทางท่องเที่ยววงรอบ ยังมี “บ่อน้ำพุร้อน” ต.ตาเนาะแมเราะ เป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ
บ่อน้ำพุร้อนที่นี่มีทั้งบ่อเล็กบ่อใหญ่
บ่อเล็ก เป็นการขุดทอนความร้อนของสายน้ำให้นักท่องเที่ยว สามารถนั่งเอาเท้าแช่น้ำสัมผัสความอุ่นความร้อนกันได้ ท่ามกลางบรรยากาศรอบข้างที่ประติมากรรมพญานาคมาตกแต่งช่วยสร้างสีสัน
ส่วนบ่อใหญ่ เป็นเหมือนบึงย่อมๆมีความร้อนมาก บ่อใหญ่แห่งนี้เป็นที่ครั่นคร้ามของผู้ชายคิดถึงหลายๆคน เพราะบ่อแห่งนี้สามารถ“ต้มไข่สุก” ภายในเวลาแค่ 7 นาที เท่านั้น
เที่ยวในเมือง
เบตง แม้เป็นเมืองเล็กๆ แต่ที่นี่กลับมีตู้ไปรณีใหญ่ยักษ์อยู่ถึง 2 ตู้ด้วยกัน
ตู้แรกเป็นตู้คลาสสิกดั้งเดิมตั้งอยู่ที่ใจกลางเมือง บริเวณ 4 แยกหอนาฬิกา ตู้นี้สูง 3 เมตรกว่า มีอายุกว่า 80 ปี เป็นสัญลักษณ์ของเมืองเบตง เคียงคู่กับหอนาฬิกาหินอ่อนเก่าแก่คลาสสิกที่อยู่คู่กันมาช้านาน
เวลาใครหลายคนเวลามาเยือนเบตงมักจะไม่พลาดการเขียนโปสการ์ด-จดหมายแล้วนำมาหย่อนส่งที่ตู้นี้ แม้ว่าโลกยุคใหม่จะไม่นิยมใช้โปสการ์ด จดหมายกันแล้ว แต่การได้ส่งสาส์นความคิดถึงผ่านตู้ไปรณีย์ยักษ์แห่งนี้ มันถือเป็นความทรงจำที่มีคุณค่าไม่น้อยเลย นั่นจึงทำให้ใครและใครบางคนแม้ไม่มีคนที่รู้ใจให้ส่งถึงก็ยังเลือกเขียนส่งให้ตัวเอง เพราะผู้ที่รู้ใจที่สุดในโลกนี้คงไม่มีใครเกินตัวของตัวเองไปได้
ตู้ไปรณีย์สีแดงคลาสสิกตู้นี้ เดิมเคยเป็นตู้ไปรณีย์ที่ได้ชื่อว่าใหญ่ยักษ์ที่สุดในโลก แต่ตอนหลังถูกโค่นแชมป์โดยตู้ไปรษณีย์ตู้ที่ 2 ที่ทางเทศบาลนำไอเดียเดิมไปขยายผลสร้างตู้ไปรณีย์ใหญ่ยักษ์กว่าของเดิมขึ้นมากว่า 3.5 เท่า สูงราวๆ 9 เมตร ตั้งอยู่ที่ศาลาประชาคม แต่ถึงยังไงในความขลังความคลาสสิกแล้ว ตู้ใหม่ยังไงก็เทียบตู้เก่าไม่ได้
อนึ่งบริเวณ 4 แยกใจกลางเมืองยังมีความคลาสสิกประจำเมืองอีกอย่างหนึ่งนั่นก็คือ เจ้า“นกนางแอ่น” เพื่อนต่างสายพันธุ์ที่อยู่คู่ชาวเมืองมาช้านาน จนวันนี้กลายเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของเมืองเบตงไปแล้ว โดยทุกๆปีในช่วงเดือนน ก.ย.-มี.ค.นกนางแอ่นเหล่านี้จะอพยพหนีหนาวจากไซบีเรียมายังเบตง
เพราะพวกนกเหล่านี้ต่างก็โอเค...เบตง
ทุกๆวันยามหัวรุ่งนกเหล่านี้จะหายหน้าหายปีกออกไปหากินในป่าเขา ครั้นพอตกเย็นย่ำ พวกมันจะพร้อมใจกันบินมาเกาะเต็มพรืดอยู่บนสายไฟที่ทอดผ่านระโยงรยางค์ในตัวเมือง พร้อมกับส่งเสียงเซ็งแซ่เป็นสัญญาณบอกชาวเมืองว่า “เย็นแล้ว...ค่ำแล้ว” เป็นอย่างนี่ทุกวันมาชั่วนาตาปี จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตชาวเบตง เป็นความผูกพันที่ซึมลึก ชนิดที่ผมเจอเด็กสาวชาวเบตงกลุ่มหนึ่งถูกนางแอ่นส่งของเหลวหล่น“ปุ๊ ปุ๊”ลงสู่หัว พวกเธอก็ไม่ได้เลียนแบบดารา เซเลบไทย ด้วยการสบถก่นด่านก หรือไปตามด่าต่อแบบอารมณ์ค้างกันในเฟซบุ๊ค แต่พวกเธอกับหัวเราะขบขัน พร้อมๆอุทานแบบรู้ตัวว่าพลาดไปแล้วว่า “ยี้ นกขี้ใส่หัว” แค่นั้นเอง
จาก 4 แยกนาฬิกา หากเดินขึ้นเนินไปอีกหน่อยไม่กี่ 10 ก้าวจะพบกับอุโมงค์รถวิ่งกลางเมืองตั้งตระหง่าน ซึ่งนี่ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ทำให้เบตงมีเสน่ห์ต่างจากที่อื่น(ในเมืองไทย)
อุโมงค์กลางเมืองแห่งนี้มีชื่อไพเราะเพราะพริ้งว่า“อุโมงค์เบตงมงคลฤทธิ์” เป็นอุโมงค์ที่สร้างขึ้นเพื่อให้รถยนต์วิ่งลอดภูเขาแห่งแรกของเมืองไทย เป็นอุโมงค์ขุดโค้งทอดยาว ดูดีมีเสน่ห์กว่าอุโมงค์สมัยใหม่เยอะเลย
ขณะเดียวกันที่บริเวณฟากหนึ่งของอุโมงค์ก็โดดเด่นเป็นสง่าไปด้วย“พิพิธภัณฑ์เมืองเบตง” ที่สร้างในสไตล์สถาปัตยกรรมท้องถิ่นประยุกต์หลังคาซ้อนหลายชั้น
พิพิธภัณฑ์เมืองเบตง เป็นแหล่งเก็บรวบรวมศิลปวัตถุ ข้าวของเครื่องใช้ โบราณวัตถุ และสิ่งที่เกี่ยวข้องกั้บเมืองเบตงต่างๆ เท่าที่จะหามาได้ โดยบริเวณชั้นบนสุดของพิพิธภัณฑ์ที่ต้องเดินบันไดวนขึ้นไปแบบเหนื่อยเอาเรื่อง ถือเป็นจุดชมวิวชั้นดีของเมืองนี้
ในเบตงยังมีสถานที่โดดเด่นอีกแห่งหนึ่งนั่นก็คือ “วัดพุทธาธิวาส” หรือ “วัดเบตง” เดิม
วัดพุทธาธิวาส เป็นวัดที่มีชัยภูมิดีมากตั้งอยู่บนเนินเขามองลงไปเห็นวิวตัวเมืองเบตงได้ดีทีเดียว วัดแห่งนี้มีไฮไลท์อยู่ที่ “พระมหาธาตุเจดีย์พระพุทธธรรมประกาศ” ศิลปะศรีวิชัยอันสวยงามสมส่วน ภายในพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า
ในขณะที่สิ่งน่าสนใจอื่นๆในวัดแห่งนี้ก็มีพระพุทธธรรมกายมงคลปยุรเกศานนท์สุพนิพานองค์โตให้สักการะ และวิหารหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด
นอกจากวัดพุทธแล้ว เบตงยังมีมัสยิดกลางของชาวมุสสลิม มีวัดกวนอิมของชาวไทยเชื้อสายจีน เป็นศาสนสถานสำคัญ แสดงให้เห็นถึงวิถีชาวบ้านของที่นี่ว่า พวกเขาแม้ต่างเชื้อชาติศาสนาแต่เขาก็อยู่อาศัยร่วมกันอย่างปกติสุข ซึ่งนั่นก็เป็นหนึ่งในเครื่องยืนยันสำคัญว่า
...เบตง ยังคงโอเค