โดย : ปิ่น บุตรี
แม้คนส่วนใหญ่ต่างรู้กันดีว่าไลฟ์สไตล์ของ “พี่เบิร์ด” ธงไชย แมคอินไตย์ ไม่ค่อยนิยมเที่ยวเมืองไทยเท่าไหร่
แต่กระนั้นทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) คงมองเห็นในศักยภาพของซุปเปอร์สตาร์คนนี้ ถึงเลือกดึงให้พี่เบิร์ดมาเป็นพรีเซ็นเตอร์เที่ยวเมืองไทย พร้อมกับอัดโฆษณาพี่เบิร์ดพาเที่ยวไทย ไปที่โน่นที่นี่ออกมาหลายชุดด้วยกัน โดยโฆษณาชุดที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงล้น หนึ่งในนั้นต้องยกให้ชุด“สามพันโบก” ซึ่งหลังโฆษณาชุดนี้ออกมาอวดโฉมได้ไม่นาน ชื่อเสียงของสามพันโบกก็หอมฟุ้งโด่งดังขึ้นมาเพียงชั่วข้ามเดือน
สามพันโบก
“สามพันโบก” เป็นพื้นที่ในลำน้ำโขง ตั้งอยู่ที่บ้านโป่งเป้า ต.เหล่างาม อ.โพธิ์ไทร จ.อุบลราชธานี สามพันโบก มีลักษณะทางธรณีวิทยาที่พิเศษแตกต่างจากพื้นที่ริมโขงทั่วไป เนื่องมาจากถูกน้ำ ลม ฝน แดด กระทำกับพื้นหิน ดิน ทราย เป็นเวลานับแสนนับล้านปี จนกลายเป็นพื้นที่ที่เต็มไปด้วย ประติมากรรมธรรมชาติอันแปลกตาน่าพิศวงมากมาย ไม่ว่าจะเป็น เกาะ แก่ง หลุม รู แอ่ง โพรง เพิงผา โขดหิน แนวหิน เสาหิน พื้นหิน และลักษณะแปลกประหลาดของธรรมชาติอีกมากมาย จนถูกขนานนามให้เป็น “แกรนด์แคนยอนเมืองไทย”
ในยามน้ำหลาก ความงามแปลกตาของสามพันโบกได้ถูกสายน้ำโขงไหลเอ่อท่วมบดบัง แต่เมื่อหน้าแล้งมาถึง สายน้ำโขงลดระดับลงมาก ความงามที่ซุกซ่อนอยู่ใต้ผิวน้ำของสามพันโบกก็จะเผยโฉมปรากฏให้เห็นในพื้นที่ราว 10 ตารางกิโลเมตร โดยจุดน่าสนในในพื้นที่สามพันโบกนอกจากประติมากรรมธรรมชาติรูปร่างแปลกตาชวนให้จิยตนาการแล้ว ที่นี่ยังมี “หาดสลึง”ที่ได้ชื่อว่า“พัทยาแห่งโพธิ์ไทร”เป็นหาดทรายยาวประมาณ 700-800 เมตร,“ปากบ้อง” เป็นส่วนที่แคบที่สุดของแม่น้ำโขงในภูมิภาคนี้,”หินหัวพะเนียง” หินที่ทำให้แม่น้ำโขงแยกออกเป็น 2 สาย และ“สระมรกต” หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า“บุ่งน้ำใส” เป็นสระน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ในเนินแก่งหินมีสีเขียวมรกตอยู่ตลอดทั้งปี
สำหรับดินแดนธรรมชาติแปลกตาแห่งนี้ เดิมไม่ได้เรียกขานกันว่า“สามพันโบก” หากแต่ชาวบ้านต่างเรียกกันว่า “ปู่จกปู” อันเนื่องมาจากตำนานเล่าขานที่ว่า
...นานมาแล้ว ปู่กับหลานคู่หนึ่งได้ล่องเรือหาปลาในลำน้ำโขง และได้มาแวะพักในบริเวณนี้ แล้วฝ่ายหลานเกิดอาการหิวขึ้นมา ปู่จึงเอามือล้วงเข้าไปในหลุม จับได้ปูมาทำเป็นอาหารให้หลานได้กินอิ่มหนำสำราญ...
ทว่าชื่อ“ปู่จกปู” ฟังดูไม่ค่อยเป็นที่ติดหูเท่าไหร่ นั่นจึงทำให้กลุ่มผู้บุกเบิกการท่องเที่ยวของที่นี่ ได้เรียกขานสถานที่แห่งนี้ใหม่เป็น “สามพันโบก” ซึ่งมีที่มาจากแอ่ง หลุม บ่อ ที่มีอยู่มากมายนับไม่ถ้วน เพราะคำว่า“โบก” ในภาษาลาวหมายถึง หลุม แอ่ง บ่อ นอกจากนี้ยังเป็นการตั้งชื่อให้สอดรับกับชื่อ“มหานทีสี่พันดอน” ที่คนลาวใช้เรียกขานแม่น้ำโขงช่วงมีเกาะแก่งมากมายในเมืองจำปาสักอีกด้วย
อย่างไรก็ตามแม้จะเปลี่ยนชื่อใหม่แต่สามพันโบกก็ไม่ได้เป็นที่โด่งดังอะไร จนเมื่อถูกนำเสนอเป็นฉากสำคัญในโฆษณาพี่เบิร์ดชวนเที่ยวเมืองไทยนั่นแหละ ชื่อของสามพันโบกก็โด่งดังเป็นพลุ โด่งดังถึงขนาดมีคนนำชื่อสามพันโบกไปตั้งเป็นชื่อภาพยนตร์ ซึ่งถ้าหากบ้านเรามีรางวัล “แบดอวอร์ด” หนังเรื่องนี้คงติดโผเข้าร่วมชิงรางวัลกับเขาด้วย
หลังโด่งดังเพียงชั่วข้ามเดือน สามพันโบกก็กลายเป็นดินแดนที่ถนนส่วนใหญ่ของนักท่องเที่ยวผู้รักการเที่ยวตามกระแส ต่างพุ่งเป้าโฟกัสไปที่ดินแดนแห่งนี้
แน่นอนว่าในด้านหนึ่งนั้น การท่องเที่ยวได้สร้างธุรกิจ สร้างเม็ดเงิน สร้างรายได้ ให้กับชาวบ้านและชุมชนในละแวกนั้น
แต่อีกด้านหนึ่งการเติบโตทางการท่องเที่ยวอย่างก้าวกระโดดของสามพันโบกแบบไร้ทิศไร้ทาง ขาดการบริหารจัดการที่ดี ขาดการวางแผนรองรับ ก็ได้ส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆตามมา ไม่ว่าจะเป็น เรื่องขยะ ผลกระทบต่อธรรมชาติ สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม ชาวบ้านตั้งรับไม่ทัน ชาวบ้านแก่งแย่งลูกค้ากัน เกิดทัศนอุจาดในพื้นที่อันเนื่องมาจากชาวบ้านรุกล้ำพื้นที่ตั้งร้าน ตั้งแผงขายของ ขายอาหาร เป็นต้น
สำหรับในเรื่องนี้แม้ทางผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้ที่รักในสามพันโบกต่างพยายามหาทางในการแก้ปัญหา
แต่กับปัญหาที่ยังแก้ไม่ตกก็คือ เมื่อสถานที่ท่องเที่ยวใดๆในเมืองไทยโด่งดังขึ้นมาอย่างรวดเร็ว สิ่งต่างๆที่เป็นปัญหาขั้นพื้นฐานตามที่กล่าวมาข้างต้นก็จะเกิดตามมาอย่างรวดเร็วเช่นกัน ชนิดที่ไม่สามารถบริหารจัดการการท่องเที่ยวให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืนได้ และปัญหาเหล่านั้นก็จะกินลึกกลายเป็นแผลเรื้อรัง ส่งผลกระทบต่อชุมชน ทำให้หลายๆชุมชนต้องเสียศูนย์ไป
แต่จะว่าไป นี่แหละมันคือวิถีทางการท่องเที่ยวแบบไทยๆ ซึ่งเมื่อ 20-30 ปีที่แล้วเป็นอย่างไร วันนี้ก็ยังเป็นเช่นนั้นอยู่...ไม่ต่างจากเดิม
สามหมื่นรู
ไม่ไกลจากสามพันโบกเท่าใด เป็นที่ตั้งของ“บ้านผาชัน”หมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในบริเวณเพิงผาสูงชันริมหุบเหวที่มีแม่น้ำโขงไหลพาดผ่านคั่นระหว่างฝั่งไทยกับฝั่งลาว
บ้านผาชัน เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ริมฝั่งโขง ที่มีวิถีชีวิต ธรรมชาติแปลกตา และสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจหลากหลาย อาทิ เสาเฉลียงใหญ่ ถ้ำโลง ถ้ำนางเข็ญฝ้าย นวัตกรรมแอร์แว ป่าชุมชน สวนหิน ชมพระอาทิตย์ขึ้นที่ท่ากกกระดาน เป็นต้น(เรื่องราวบางส่วนของบ้านผาชันผมได้เขียนนำเสนอไปเมื่อ 2 ตอนที่แล้ว)
นอกจากนี้ในบริเวณหุบเหวที่สายน้ำโขงไหลผ่านเกิดเป็นหน้าผาสูงชัน อันเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้านนั้น ก็มีสิ่งน่าสนใจหลากหลายให้สัมผัส ซึ่งทางกลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บ้านผาชันได้จัดกิจกรรมล่องเรือเที่ยวชมสิ่งน่าสนใจในลำน้ำโขงและรอบๆบริเวณขึ้น โดยนำชมสิ่งน่าสนใจ อาทิ
-ชมวิถีชีวิตการหาปลาและการทำประมงพื้นบ้านแบบพอเพียง
-ชม“ต้นหว้าน้ำ”ต้นไม้สุดแกร่งรูปร่างคล้ายบอนไซที่ขึ้นยืนหยัดต้านความแรงของสายน้ำโขง(ยามน้ำขึ้น)อยู่ทั่วไปใน 2 ฟากฝั่ง
-ชม“ผาตัวเลข”ที่ฝรั่งเศสมาทำบอกระดับความสูงของแม่น้ำโขง ตั้งแต่เลข 0(หมายถึงน้ำโขงขึ้นสูงจากระดับน้ำทะเล 100 เมตร) ไล่เพิ่มทีละ 0.5 เมตรไปเรื่อยจนถึงเลข 11 เพื่อให้เรือที่ล่องผ่านได้รู้ระดับความตื้น-ลึกของแม่น้ำโขง
-ชมทิวทัศน์ของผาชันที่เป็นเพิงผาหินสูงชัน มากไปด้วยหินรูปทรงประหลาดๆ ไม่ว่าจะเป็น “ผาหัวช้าง” ที่เป็นหินยื่นออกมากลางแผ่นผาลักษณะคล้ายหัวช้างจำนวนมาก “ผาหมาว้อ”ที่ชาวบ้านเคารพนับถือในความศักดิ์สิทธิ์ น้ำตกห้วยบอน น้ำออก(จาก)รู และจุดที่เป็นไฮไลท์สำคัญอย่าง “สามหมื่นรู”
สามหมื่นรู(30,000 รู) เกิดจากการสร้างสรรค์ของธรรมชาติ เป็นความมหัศจรรย์เล็กๆริมฝั่งโขงที่หาชมไม่ได้ง่ายๆเลย
สามหมื่นรู มีลักษณะเป็นหน้าผายาวประมาณ 100 เมตร ลึกราว 70 เมตร ตลอดแนวหน้าผาถูกน้ำกัดเซาะ ถูกกรวด-หิน ทำปฏิกิริยาเป็นร่องเป็นรู มากมายมหาศาลทั้งที่อยู่เหนือน้ำและใต้น้ำ มองเห็นเป็นประติมากรรมนูนต่ำฝีมือธรรมชาติรูปร่างแปลกตาพรุนไปทั่วทั้งแนวผา ยิ่งน้ำลดมากเท่าไร ก็จะยิ่งเห็นร่อง-รูมากขึ้น เกินกว่า กว่า 30,000 รู ตามชื่อเรียกขานมากนัก
สำหรับสามหมื่นรูนั้นมีความเหมือนกับสามพันโบกประการหนึ่งคือ เดิมจุดนี้ไม่ได้เรียกว่าสามหมื่นรู แต่ชาวบ้านเรียกกันทั่วไปว่า“ผารู” หรือบางคนก็เรียกว่า “ผาวัวตก” เพราะเคยมีวัว-ควาย มากินหญ้าแล้วพลัดตกหน้าผาที่นี่ตาย
กระทั่งเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา ชื่อของสามพันโบกที่อยู่ใกล้ๆกันโด่งดังขึ้นมา ทางกลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บ้านผาชันจึงเปลี่ยนชื่อหน้าผาแห่งนี้เป็น “สามหมื่นรู” เพื่อให้มันสอดรับกับชื่อ“สามพันโบก”
แม้ชื่อสามหมื่นรูจะฟังดูเหมือนเป็นการเกทับว่า มีปริมาณมากกว่าตั้ง 10 เท่าของสามพันโบก แต่จริงๆแล้วทางกลุ่มผู้ตั้งเขาไม่ได้มีเจตนาอย่างนั้นแต่อย่างใด โดยหนึ่งในพี่ทีมงานผู้ร่วมตั้งชื่อ ซึ่งเป็นตัวจักรสำคัญในการจัดทำกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่บ้านผาชันขึ้นมา บอกกับผมว่า
พวกเขาไม่ขอนำการท่องเที่ยวที่บ้านผาชันและสามหมื่นรูไปสู้กับสามพันโบก ที่หลังจากมีชื่อเสียงปัญหาต่างๆก็เกิดตามมา
“พวกเราไม่อยากให้บ้านผาชันเป็นเหมือนสามพันโบก แต่ขออยู่กันแบบพอเพียงเหมือนเดิม และขอทำการท่องเที่ยวเป็นแค่รายได้เสริมให้ชุมชนแค่นั้นพอ” พี่คนนั้นกล่าว
เรียกว่าเป็นการไม่ขอสู้ที่ชนะใจคนดูข้างเวทีไม่น้อยเลย
แม้คนส่วนใหญ่ต่างรู้กันดีว่าไลฟ์สไตล์ของ “พี่เบิร์ด” ธงไชย แมคอินไตย์ ไม่ค่อยนิยมเที่ยวเมืองไทยเท่าไหร่
แต่กระนั้นทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) คงมองเห็นในศักยภาพของซุปเปอร์สตาร์คนนี้ ถึงเลือกดึงให้พี่เบิร์ดมาเป็นพรีเซ็นเตอร์เที่ยวเมืองไทย พร้อมกับอัดโฆษณาพี่เบิร์ดพาเที่ยวไทย ไปที่โน่นที่นี่ออกมาหลายชุดด้วยกัน โดยโฆษณาชุดที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงล้น หนึ่งในนั้นต้องยกให้ชุด“สามพันโบก” ซึ่งหลังโฆษณาชุดนี้ออกมาอวดโฉมได้ไม่นาน ชื่อเสียงของสามพันโบกก็หอมฟุ้งโด่งดังขึ้นมาเพียงชั่วข้ามเดือน
สามพันโบก
“สามพันโบก” เป็นพื้นที่ในลำน้ำโขง ตั้งอยู่ที่บ้านโป่งเป้า ต.เหล่างาม อ.โพธิ์ไทร จ.อุบลราชธานี สามพันโบก มีลักษณะทางธรณีวิทยาที่พิเศษแตกต่างจากพื้นที่ริมโขงทั่วไป เนื่องมาจากถูกน้ำ ลม ฝน แดด กระทำกับพื้นหิน ดิน ทราย เป็นเวลานับแสนนับล้านปี จนกลายเป็นพื้นที่ที่เต็มไปด้วย ประติมากรรมธรรมชาติอันแปลกตาน่าพิศวงมากมาย ไม่ว่าจะเป็น เกาะ แก่ง หลุม รู แอ่ง โพรง เพิงผา โขดหิน แนวหิน เสาหิน พื้นหิน และลักษณะแปลกประหลาดของธรรมชาติอีกมากมาย จนถูกขนานนามให้เป็น “แกรนด์แคนยอนเมืองไทย”
ในยามน้ำหลาก ความงามแปลกตาของสามพันโบกได้ถูกสายน้ำโขงไหลเอ่อท่วมบดบัง แต่เมื่อหน้าแล้งมาถึง สายน้ำโขงลดระดับลงมาก ความงามที่ซุกซ่อนอยู่ใต้ผิวน้ำของสามพันโบกก็จะเผยโฉมปรากฏให้เห็นในพื้นที่ราว 10 ตารางกิโลเมตร โดยจุดน่าสนในในพื้นที่สามพันโบกนอกจากประติมากรรมธรรมชาติรูปร่างแปลกตาชวนให้จิยตนาการแล้ว ที่นี่ยังมี “หาดสลึง”ที่ได้ชื่อว่า“พัทยาแห่งโพธิ์ไทร”เป็นหาดทรายยาวประมาณ 700-800 เมตร,“ปากบ้อง” เป็นส่วนที่แคบที่สุดของแม่น้ำโขงในภูมิภาคนี้,”หินหัวพะเนียง” หินที่ทำให้แม่น้ำโขงแยกออกเป็น 2 สาย และ“สระมรกต” หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า“บุ่งน้ำใส” เป็นสระน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ในเนินแก่งหินมีสีเขียวมรกตอยู่ตลอดทั้งปี
สำหรับดินแดนธรรมชาติแปลกตาแห่งนี้ เดิมไม่ได้เรียกขานกันว่า“สามพันโบก” หากแต่ชาวบ้านต่างเรียกกันว่า “ปู่จกปู” อันเนื่องมาจากตำนานเล่าขานที่ว่า
...นานมาแล้ว ปู่กับหลานคู่หนึ่งได้ล่องเรือหาปลาในลำน้ำโขง และได้มาแวะพักในบริเวณนี้ แล้วฝ่ายหลานเกิดอาการหิวขึ้นมา ปู่จึงเอามือล้วงเข้าไปในหลุม จับได้ปูมาทำเป็นอาหารให้หลานได้กินอิ่มหนำสำราญ...
ทว่าชื่อ“ปู่จกปู” ฟังดูไม่ค่อยเป็นที่ติดหูเท่าไหร่ นั่นจึงทำให้กลุ่มผู้บุกเบิกการท่องเที่ยวของที่นี่ ได้เรียกขานสถานที่แห่งนี้ใหม่เป็น “สามพันโบก” ซึ่งมีที่มาจากแอ่ง หลุม บ่อ ที่มีอยู่มากมายนับไม่ถ้วน เพราะคำว่า“โบก” ในภาษาลาวหมายถึง หลุม แอ่ง บ่อ นอกจากนี้ยังเป็นการตั้งชื่อให้สอดรับกับชื่อ“มหานทีสี่พันดอน” ที่คนลาวใช้เรียกขานแม่น้ำโขงช่วงมีเกาะแก่งมากมายในเมืองจำปาสักอีกด้วย
อย่างไรก็ตามแม้จะเปลี่ยนชื่อใหม่แต่สามพันโบกก็ไม่ได้เป็นที่โด่งดังอะไร จนเมื่อถูกนำเสนอเป็นฉากสำคัญในโฆษณาพี่เบิร์ดชวนเที่ยวเมืองไทยนั่นแหละ ชื่อของสามพันโบกก็โด่งดังเป็นพลุ โด่งดังถึงขนาดมีคนนำชื่อสามพันโบกไปตั้งเป็นชื่อภาพยนตร์ ซึ่งถ้าหากบ้านเรามีรางวัล “แบดอวอร์ด” หนังเรื่องนี้คงติดโผเข้าร่วมชิงรางวัลกับเขาด้วย
หลังโด่งดังเพียงชั่วข้ามเดือน สามพันโบกก็กลายเป็นดินแดนที่ถนนส่วนใหญ่ของนักท่องเที่ยวผู้รักการเที่ยวตามกระแส ต่างพุ่งเป้าโฟกัสไปที่ดินแดนแห่งนี้
แน่นอนว่าในด้านหนึ่งนั้น การท่องเที่ยวได้สร้างธุรกิจ สร้างเม็ดเงิน สร้างรายได้ ให้กับชาวบ้านและชุมชนในละแวกนั้น
แต่อีกด้านหนึ่งการเติบโตทางการท่องเที่ยวอย่างก้าวกระโดดของสามพันโบกแบบไร้ทิศไร้ทาง ขาดการบริหารจัดการที่ดี ขาดการวางแผนรองรับ ก็ได้ส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆตามมา ไม่ว่าจะเป็น เรื่องขยะ ผลกระทบต่อธรรมชาติ สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม ชาวบ้านตั้งรับไม่ทัน ชาวบ้านแก่งแย่งลูกค้ากัน เกิดทัศนอุจาดในพื้นที่อันเนื่องมาจากชาวบ้านรุกล้ำพื้นที่ตั้งร้าน ตั้งแผงขายของ ขายอาหาร เป็นต้น
สำหรับในเรื่องนี้แม้ทางผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้ที่รักในสามพันโบกต่างพยายามหาทางในการแก้ปัญหา
แต่กับปัญหาที่ยังแก้ไม่ตกก็คือ เมื่อสถานที่ท่องเที่ยวใดๆในเมืองไทยโด่งดังขึ้นมาอย่างรวดเร็ว สิ่งต่างๆที่เป็นปัญหาขั้นพื้นฐานตามที่กล่าวมาข้างต้นก็จะเกิดตามมาอย่างรวดเร็วเช่นกัน ชนิดที่ไม่สามารถบริหารจัดการการท่องเที่ยวให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืนได้ และปัญหาเหล่านั้นก็จะกินลึกกลายเป็นแผลเรื้อรัง ส่งผลกระทบต่อชุมชน ทำให้หลายๆชุมชนต้องเสียศูนย์ไป
แต่จะว่าไป นี่แหละมันคือวิถีทางการท่องเที่ยวแบบไทยๆ ซึ่งเมื่อ 20-30 ปีที่แล้วเป็นอย่างไร วันนี้ก็ยังเป็นเช่นนั้นอยู่...ไม่ต่างจากเดิม
สามหมื่นรู
ไม่ไกลจากสามพันโบกเท่าใด เป็นที่ตั้งของ“บ้านผาชัน”หมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในบริเวณเพิงผาสูงชันริมหุบเหวที่มีแม่น้ำโขงไหลพาดผ่านคั่นระหว่างฝั่งไทยกับฝั่งลาว
บ้านผาชัน เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ริมฝั่งโขง ที่มีวิถีชีวิต ธรรมชาติแปลกตา และสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจหลากหลาย อาทิ เสาเฉลียงใหญ่ ถ้ำโลง ถ้ำนางเข็ญฝ้าย นวัตกรรมแอร์แว ป่าชุมชน สวนหิน ชมพระอาทิตย์ขึ้นที่ท่ากกกระดาน เป็นต้น(เรื่องราวบางส่วนของบ้านผาชันผมได้เขียนนำเสนอไปเมื่อ 2 ตอนที่แล้ว)
นอกจากนี้ในบริเวณหุบเหวที่สายน้ำโขงไหลผ่านเกิดเป็นหน้าผาสูงชัน อันเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้านนั้น ก็มีสิ่งน่าสนใจหลากหลายให้สัมผัส ซึ่งทางกลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บ้านผาชันได้จัดกิจกรรมล่องเรือเที่ยวชมสิ่งน่าสนใจในลำน้ำโขงและรอบๆบริเวณขึ้น โดยนำชมสิ่งน่าสนใจ อาทิ
-ชมวิถีชีวิตการหาปลาและการทำประมงพื้นบ้านแบบพอเพียง
-ชม“ต้นหว้าน้ำ”ต้นไม้สุดแกร่งรูปร่างคล้ายบอนไซที่ขึ้นยืนหยัดต้านความแรงของสายน้ำโขง(ยามน้ำขึ้น)อยู่ทั่วไปใน 2 ฟากฝั่ง
-ชม“ผาตัวเลข”ที่ฝรั่งเศสมาทำบอกระดับความสูงของแม่น้ำโขง ตั้งแต่เลข 0(หมายถึงน้ำโขงขึ้นสูงจากระดับน้ำทะเล 100 เมตร) ไล่เพิ่มทีละ 0.5 เมตรไปเรื่อยจนถึงเลข 11 เพื่อให้เรือที่ล่องผ่านได้รู้ระดับความตื้น-ลึกของแม่น้ำโขง
-ชมทิวทัศน์ของผาชันที่เป็นเพิงผาหินสูงชัน มากไปด้วยหินรูปทรงประหลาดๆ ไม่ว่าจะเป็น “ผาหัวช้าง” ที่เป็นหินยื่นออกมากลางแผ่นผาลักษณะคล้ายหัวช้างจำนวนมาก “ผาหมาว้อ”ที่ชาวบ้านเคารพนับถือในความศักดิ์สิทธิ์ น้ำตกห้วยบอน น้ำออก(จาก)รู และจุดที่เป็นไฮไลท์สำคัญอย่าง “สามหมื่นรู”
สามหมื่นรู(30,000 รู) เกิดจากการสร้างสรรค์ของธรรมชาติ เป็นความมหัศจรรย์เล็กๆริมฝั่งโขงที่หาชมไม่ได้ง่ายๆเลย
สามหมื่นรู มีลักษณะเป็นหน้าผายาวประมาณ 100 เมตร ลึกราว 70 เมตร ตลอดแนวหน้าผาถูกน้ำกัดเซาะ ถูกกรวด-หิน ทำปฏิกิริยาเป็นร่องเป็นรู มากมายมหาศาลทั้งที่อยู่เหนือน้ำและใต้น้ำ มองเห็นเป็นประติมากรรมนูนต่ำฝีมือธรรมชาติรูปร่างแปลกตาพรุนไปทั่วทั้งแนวผา ยิ่งน้ำลดมากเท่าไร ก็จะยิ่งเห็นร่อง-รูมากขึ้น เกินกว่า กว่า 30,000 รู ตามชื่อเรียกขานมากนัก
สำหรับสามหมื่นรูนั้นมีความเหมือนกับสามพันโบกประการหนึ่งคือ เดิมจุดนี้ไม่ได้เรียกว่าสามหมื่นรู แต่ชาวบ้านเรียกกันทั่วไปว่า“ผารู” หรือบางคนก็เรียกว่า “ผาวัวตก” เพราะเคยมีวัว-ควาย มากินหญ้าแล้วพลัดตกหน้าผาที่นี่ตาย
กระทั่งเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา ชื่อของสามพันโบกที่อยู่ใกล้ๆกันโด่งดังขึ้นมา ทางกลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บ้านผาชันจึงเปลี่ยนชื่อหน้าผาแห่งนี้เป็น “สามหมื่นรู” เพื่อให้มันสอดรับกับชื่อ“สามพันโบก”
แม้ชื่อสามหมื่นรูจะฟังดูเหมือนเป็นการเกทับว่า มีปริมาณมากกว่าตั้ง 10 เท่าของสามพันโบก แต่จริงๆแล้วทางกลุ่มผู้ตั้งเขาไม่ได้มีเจตนาอย่างนั้นแต่อย่างใด โดยหนึ่งในพี่ทีมงานผู้ร่วมตั้งชื่อ ซึ่งเป็นตัวจักรสำคัญในการจัดทำกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่บ้านผาชันขึ้นมา บอกกับผมว่า
พวกเขาไม่ขอนำการท่องเที่ยวที่บ้านผาชันและสามหมื่นรูไปสู้กับสามพันโบก ที่หลังจากมีชื่อเสียงปัญหาต่างๆก็เกิดตามมา
“พวกเราไม่อยากให้บ้านผาชันเป็นเหมือนสามพันโบก แต่ขออยู่กันแบบพอเพียงเหมือนเดิม และขอทำการท่องเที่ยวเป็นแค่รายได้เสริมให้ชุมชนแค่นั้นพอ” พี่คนนั้นกล่าว
เรียกว่าเป็นการไม่ขอสู้ที่ชนะใจคนดูข้างเวทีไม่น้อยเลย