โดย : ปิ่น บุตรี
”...ทะเลไม่เคยหลับใหล ใครตอบได้ไหมไฉนจึงตื่น บางครั้งยังสะอื้น ทะเลมันตื่นอยู่ร่ำไป...”
สาวบางคนที่เพิ่งกลับจาก“เกาะหลีเป๊ะ”แห่งหมู่เกาะตะรุเตา จ.สตูล บอกกับผมว่า
...เธอได้ยินเสียงทะเลสะอื้นที่เกาะหลีเป๊ะ...
เป็นเสียงสะอื้นที่ลอยมาพร้อมๆกับความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วฉับพลัน จนเปลี่ยนหลีเป๊ะจากเกาะอันพิสุทธิ์สงบงามเป็นเกาะที่มากไปด้วยที่พัก แสงสี และความพลุกพล่าน ที่วันนี้กำลังเดินตามรอยเกาะพีพีเข้าไปทุกที
เรื่องนี้ผมไม่ปฏิเสธเธอ เพราะผมเองก็เพิ่งกลับมาจากเกาะหลีเป๊ะ และไปประสบพบเจอสภาพการณ์บนเกาะไม่ต่างจากเธอนัก นอกจากนี้ผมยังพบว่าบนความเปลี่ยนแปลงที่ถาโถมเข้ามาบนหลีเป๊ะนั้น มันได้ส่งผลสั่นสะเทือนอย่างรุนแรงต่อวิถีชีวิตของชาวเลบนเกาะแห่งนี้ด้วยเช่นกัน
1...
ชาวเลบนเกาะหลีเป๊ะเป็นกลุ่มชาติพันธุ์“อูรักลาโว้ย”(ชาวเลในเมืองไทยมี 3 กลุ่มชาติพันธุ์ ได้แก่ มอแกน มอเกล็น(มอแกลน) และอูรักลาโว้ย)พวกเขาถือเป็นพลเมืองชาวเกาะรุ่นบุกเบิก ทำมาหากินใช้ชีวิตคืบก็ทะเลศอกก็ทะเลอยู่บนเกาะแห่งนี้มาอย่างยาวนาน
แต่เมื่อกาลเวลาล่วงเลยผ่านมาจนถึงวันนี้ ชาวเลบนเกาะหลีเป๊ะที่เดิมเป็น“คนใน”วันนี้ได้กลายเป็นเหมือน“คนนอก”เข้าไปมากขึ้นทุกที
ชาวเลบนเกาะหลีเป๊ะวันนี้ถ้าไม่ปรับตัวก็ใช้ชีวิตลำบาก นั่นจึงทำให้พวกเขาค่อยๆละทิ้งวิถีแบบชาวเลเดิมๆหันมาใช้วิถีแบบคนบนฝั่งแผ่นดินใหญ่มากขึ้น คุณลุงชาวเลคนหนึ่งที่อยู่บนเกาะหลีเป๊ะมาตั้งแต่ยุคบุกเบิก บอกกับผมว่า เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยได้ออกเรือหาปลาแล้ว ออกไปมันไม่ค่อยคุ้มค่าน้ำมัน เพราะปลามันลดจำนวนลงไปมาก แถมยังถูกจำกัดพื้นที่หาปลาอีกต่างหาก สู้มาขับเรือบริการนักท่องเที่ยวไม่ได้ เงินดีกว่ามากแถมเหนื่อยน้อยกว่าด้วย
เช่นเดียวกับชาวเลอีกคนที่เดี๋ยวนี้ไม่ออกเรือแล้ว หากแต่ใช้หัวการค้าที่มีอยู่ปรับเปลี่ยนมาทำร้านอาหาร ร้านเหล้า รับซื้อกุ้งหอยปูปลาสดๆจากพวกเดียวกัน นับเป็นวิถีใหม่ของชาวเลวันนี้ที่ต้องหาลูกค้าแข่งแข่งขันกับผู้ประกอบการต่างถิ่น
ส่วนวิถีที่ดูเหมือนว่าจะล้ำหน้าจากคนบนฝั่งไปมากก็คือเรื่องของการดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ว่าจะเป็นเหล้าหรือเบียร์ ขอให้ดื่มแล้วเมาเหอะ ผู้ชายนักดื่มของที่นี่บ่ยั่นทั้งนั้น โดยการดื่มถือเป็นวิถีปกติของชาวเลยุคใหม่ที่นี่ไปแล้ว พอหลังเลิกงานไม่มีอะไรทำก็ตั้งวงจับกลุ่มสนทนากันโดยมีสุราหรือเบียร์เป็นเครื่องดื่มประจำวง
ช่วงที่ผมไปเที่ยวเกาะหลีเป๊ะ เห็นนักดื่มชาวเลหลายคน พวกเล่นดื่มข้ามคืนกันตั้งแต่เย็นไปจนถึงเช้าแล้วก็น็อคนอนสลบอยู่แถวหาดชาวเลนั่นแหละ
ถึงกระนั้นชาวเลที่นี่ ก็ยังมีวิถีอันเป็นเอกลักษณ์ให้สัมผัสกันในพิธี“ลอยเรือ”ในทุกๆครึ่งปี ตามฤกษ์งามยามเหมาะสมของพวกเขา
ในขณะที่วิถีความเป็นอยู่ตามปกติ ชาวเลวันนี้ยังคงสร้างบ้านเรือนในสไตล์เดิม พื้นที่ใช้สอยเดิม เป็นบ้านสร้างง่ายๆชั้นเดียว มีชานหน้าบ้าน เป็นชานเอนกประสงค์ เอาไว้พักผ่อน นอนเล่น นั่งเล่น กินข้าว ถักแห สานตะกร้า แขวนเปลเลี้ยงลูก เป็นต้น แต่ในเรื่องของวัสดุวันนี้พวกเขาปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ฝาบ้านจากไม้ไผ่ขัดแตะเปลี่ยนมาเป็นฝาสังกะสี หลังคาเปลี่ยนจากมุงจากมามุงสังกะสี หรือบ้านไหนฐานะดีหน่อยก็มุงกระเบื้อง และถ้าจะให้โก้ไปกว่านั้นบนหลังคาต้องติดจานดาวเทียมด้วย
นอกจากนี้บริเวณข้างๆบ้านหรือใกล้ๆบ้านส่วนใหญ่ จะมีบ่อน้ำบาดาลขุดไว้ เป็นแหล่งน้ำจืดสำคัญทั้งดื่มกิน ซักผ้า หุงหาอาหาร ช่วงยามเช้าหรือยามเย็นหากมาเดินท่อมๆที่หมู่บ้านชาวเล จะได้เห็นผู้หญิงนุ่งกระโจมอก ผู้ชายนุ่งผ้าขาวม้า และเด็กๆแก้ผ้ามายืนอาบน้ำข้างบ่อ เป็นภาพที่ดูมีชีวิตชีวาไม่น้อย แต่ถึงอย่างไรนักท่องเที่ยวก็ไม่ควรไปจ้องดูเขาอย่างเอาเป็นเอาตาย เหมือนประหนึ่งว่าเขามีลักษณะที่แปลกประหลาดไปจากเรา เพราะนั่นมันเป็นการกระทำที่น่าเกลียดและเสียมารยาทมาก
ส่วนที่สร้างความงุนงงให้กับผมเล็กน้อยในยามที่ไปเดินเที่ยวหมู่บ้านของพวกเขาก็คือ บริเวณรอบๆตัวบ้านพวกเขาจะเก็บกวาดดูสะอาดสะอ้าน แต่ภายในบ้านหลายหลังนี่สิ เต็มไปด้วยข้าวของอีเหระเขะขะมากมาย ดูแล้วช่างแตกต่างกันดีแท้
2...
ชาวเลบนเกาะหลีเป๊ะจะอาศัยอยู่ที่หมู่บ้านชาวเล บริเวณหาดชาวเล ซึ่งถือจุดเป็นชมพระอาทิตย์ขึ้นชั้นเยี่ยมของเกาะ
ใกล้ๆกับหมู่บ้านมีโรงเรียนประจำเกาะอยู่หนึ่งแห่ง ที่เมื่อเห็นชื่อแล้วผมอดรู้สึกฉงนเล็กน้อยถึงปานกลางไม่ได้ เพราะโรงเรียนที่ว่านั้นชื่อ “โรงเรียนบ้านเกาะอาดัง” แต่กลับมาตั้งอยู่บนเกาะหลีเป๊ะ เป็นโรงเรียนเพียงหนึ่งเดียวบนเกาะหลีเป๊ะ ส่วนบนเกาะอาดังที่อยู่ใกล้ๆกันนั้นหาได้มีโรงเรียนตั้งอยู่ไม่ แต่ครั้นเมื่อมาคิดดูอีกที พบว่านี่มันคือสิ่งที่สะท้อนวิธีคิดแบบราชการไทยได้ดีทีเดียว
โรงเรียนบ้านเกาะอาดัง(บนเกาะหลีเป๊ะ) เป็นโรงเรียนที่มีบรรยากาศสุดยอดมาก ด้านหน้าโรงเรียนติดกับหาดชาวเลอันยาวไกลสวยงาม
ยามเช้าวันที่ 2 บนเกาะหลีเป๊ะ หลังมาเฝ้ารอชมพระอาทิตย์ขึ้นที่หาดชาวเลเสร็จสิ้น ขากลับผมเดินโฉบผ่านไปแถวหาดหน้าโรงเรียน เห็นเด็กๆชาวเลนอนเรียงรายอยู่ริมหาดจำนวนหนึ่ง เมื่อพวกเขาตื่นขึ้นมาสอบถามได้ความว่า ที่บ้านยุงเยอะมาก นอนไม่ได้ ต้องหนีมานอนที่ริมหาดแทน
ส่วนเมื่อเดินเลยไปอีก ผมเจอผู้ใหญ่ 2 คนนอนนิ่งเหมือนตายอยู่ที่ริมหาดเหมือนกัน ข้างๆตัวเขามีขวดเหล้าตั้งอยู่ เห็นอย่างนี้แล้ว ผมเดาได้ไม่ยากว่า พวกเขาไม่ได้หนียุงมานอน(เหมือนตาย)ที่ริมหาดแน่นอน แต่ถ้าเป็นหนีเมียมานั่งก๊งกับเพื่อนๆจนสุดท้ายน็อคกลับบ้านไม่ไหวต้องนอนแอ้งแม้งอยู่ที่นี่ละก้อไม่แน่
3…
ด้วยบรรยากาศอันยอดเยี่ยม ทำให้ในเย็นวันนั้นผมเดินกลับมาที่โรงเรียนริมหาดบ้านเกาะอาดัง(บนเกาะหลีเป๊ะ)อีกครั้ง
ในยามเย็นหลังเลิกเรียน นอกจากเด็กๆชาวเลจะเล่นและทำกิจกรรมอันหลากหลายอยู่ในบริเวณสนามเอนกประสงค์ของโรงเรียนแล้ว ที่หาดหน้าโรงเรียนที่เด็กๆใช้หลับนอนหนียุงนั้น ในวันที่ไป ผมเจอกับกลุ่มเด็กๆตั้งแต่อายุราว 6-7 ขวบ ไปจนถึงวัยรุ่นอายุ 13-14 มาจับกลุ่มล้อมวงกันอยู่ดูคล้ายๆพวกไทยมุง
ด้วยความอยากรู้ผมจึงเดินเข้าไปร่วมขอใช้พื้นที่เป็นไทยมุงด้วยอีกคน เห็นพวกเด็กๆกำลังโชว์สเต็ปเท้าไฟ“เต้นบีบอย”บนชายหาดกันอย่างออกรสออกชาติ แม้ตามเนื้อตัว หัว หู จะเปรอะเปื้อนไปด้วยทรายแต่ดูพวกเขากลับสนุกสนานยิ่งนัก
ผมเมื่อเห็นดังนั้น จึงถือโอกาสยุให้เด็กๆโชว์ลีลาบีบอยกันอย่างสุดเหวี่ยงเป็นขวัญตากันสักหน่อย
ในช่วงแรกก่อนที่ผมจะเข้าไปร่วมเป็นไทยมุงดูเด็กๆเต้น พวกเขายังกันแบบดิบๆไม่มีเพลงประกอบ แต่พอได้ลูกยุเท่านั้นแหละ น้องหัวโจกรีบบอกให้เพื่อนเอาเพลงมาเปิด
หะแรกผมนึกว่าเขาจะยกวิทยุมาเปิดเพลงประกอบ แต่ที่ไหนได้ พวกหยิบมือถือ“บีบี”มาเปิดเพลงแดนซ์กระจายให้หลายคนโชว์ลีลากัน ไม่ว่าจะเป็น ท่าพื้นฐานโชว์สเต็ปเท้า โชว์ลีลายักย้าย โชว์การหมุนตัว หรือท่าแปลกๆที่ผมขออนุญาตคิดชื่อท่าเอง อย่าง ท่าหัวเหล็กปึงซีเง็กทำหกสูงใช้หัวยืนแทนเท้า ท่าหนอนลอดสะพานที่ให้คนหนึ่งทำท่าสะพานโค้งแล้วอีกคนนอนลงเต้นแบบหนอนกระดึ๊บๆไปลอดใต้สะพาน และท่าอื่นๆอีกหลากหลาย
หลังดูเด็กๆแด๊นซ์กระจายจนรู้สึกเหนื่อยแทน ผมจึงถือโอกาสพุดคุยกับบรรดาหัวโจก 2-3 คน ได้ความว่า เด็กชายชาวเลที่นี่กลุ่มหนึ่งเขาใช้เวลาว่าง ฝึกเต้นบีบี โดยมีการแบ่งเป็นแก๊งต่างๆ แล้วมาเต้นแข่งกัน หรือไม่ก็เต้นโชว์สาว อย่างแก๊งที่ผมไปดูชื่อแก๊ง “ไอซี ยูเลิฟ” มี “ไก่โต้ง” เด็ก ป.4 แต่มีลีลาการเต็นสุดยอดกว่าใครเป็นหัวหน้าแก๊ง มี “เบ๊” ป.5 เป็นรองหัวหน้า ร่วมด้วยสมาชิกคนอื่นๆตั้งแต่ ป.1- ป.6 รวม 12 คน
“แล้วพวกน้องๆไปฝึกท่าเต้นนี้มาจากไหน”
ผมยิงถามใส่พวกเขา พร้อมคิดในใจว่า น่าจะจำมาจากลีลาการเต้นของพวกฝรั่งแนวเร็กเก้ หรือไม่ก็จำมาจากพวกโชว์ควงกระบองไฟยามราตรีที่หาดพัทยา 2 แต่เมื่อ“ภาณุ”สมาชิกแก๊ง ชั้น ป.6 ตอบข้อสงสัยมาผมถึงกับอึ้ง
“พวกผมฝึกกันเองครับ”
ภาณุว่าอย่างนั้น ก่อนขยายความว่า พวกเขาแกะลีลาท่าเต้น การใช้ตัว ใช้มือ-เท้า-หัว และสเต็ปต่างๆมาจากหนังเรื่อง“สเต็ป อัพ”(Step Up : สเต็ปโดนใจ หัวใจโดนเธอ)ทั้ง 3 ภาคจากดีวีดี แล้วจึงนำมาคีเอทเป็นท่าเต้นลีลาต่างๆ
โอ้ว...ล้ำซะไม่มี ไอ้น้องพวกนี้ ขนาดผมยังไม่เคยดูหนังเรื่องนี้เลยสักภาค
“นี่ๆพี่แนะนำว่า ให้ไปเต้นโชว์พวกฝรั่งที่หาดพัทยา 2 แล้วหาอะไรไปวางไว้สำหรับใส่เงิน บริจาคจากนักท่องเที่ยว” นักท่องเที่ยวคนหนึ่งที่มายืนเป็นไทยมุงเหมือนผมดูเด็กๆพวกนี้เต้นให้คำแนะนำ
“พี่มันจะดูไม่เหมือนขอทานรึ” เด็กคนหนึ่งถามกลับมา
“ไม่หรอก อย่างนี่ที่กรุงเทพฯเขาเลือกเปิดหมวก เราไม่ได้ไปขอตังค์ใคร แต่เราใช้ความสามารถของเรา แล้วโชว์มันออกมา ถ้านักท่องเที่ยวเห็นแล้วชอบ เขาจะให้เงินเราเอง แล้วน้องๆจะได้มีเงินค่าขนมแบบไม่ต้องไปขอจากพ่อ-แม่” นักท่องเที่ยวคนเดิมบอกน้องๆพวกนั้น ก่อนเดินจากไป
4...
ค่ำวันนั้น ณ มุมหนึ่งของหาดพัทยา 2 ที่ตั้งอยู่บนเกาะหลีเป๊ะคนละฟากกับหาดชาวเล ผมเจอน้องๆกลุ่มนี้มารวมกลุ่มกันเต้น มีนักท่องเที่ยวทั้งฝรั่งและไทยมายืนมุงดู หลายคนเห็นแล้วตบมือชอบใจ ส่วนบางคนตบรางวัลให้กับเด็กๆพวกนี้
“ว่าไงเบ๊ ได้เท่าไหร่แล้ว” ผมถาม
“200 กว่า(บาท)ครับ” เบ๊ตอบยิ้มๆ ก่อนกระโดดเข้าร่วมวงเต้นต่อ
สำหรับใครที่เคยจินตนาการ(เอาเอง)ว่า เด็กๆชาวเลจะต้องเล่นการละเล่นพื้นบ้าน ทำกิจกรรมย้อนยุค อย่างที่นักวิชาการด้านวัฒนธรรมบนหอคอยงาช้างพยายามยัดเยียดให้เป็นนั้น มาเจอบรรยากาศแบบนี้เข้าคงหัวร่อมิได้ ร่ำไห้มิออกแน่นอน แต่นี่แหละคือโลกแห่งความจริง ไม่ใช่โลกแห่งจินตนาการอย่างที่พวกเขาวาดหวัง
ที่สำคัญก็คือการที่เด็กๆชาวเลเหล่านี้หันมาฝึกเรียนรู้ฝึกหัดการเต้นด้วยตัวเอง มันถือเป็นการออกกำลังกายไปในตัว เป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เป็นการฝึกการเรียนรู้นอกห้องเรียน รวมถึงยังสามารถหารายได้เข้ากระเป๋าพวกเขาได้ด้วย ถ้าหากว่าพวกเขาคิดจะทำจริงๆจังๆ ซึ่งการได้เงินวิธีนี้ สำหรับผมแล้วมันดูดีกว่าการมาเดินตื้อขอเงินนักท่องเที่ยวแบบฟรีๆ อย่างที่พบเจอในแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่งมากนัก
”...ทะเลไม่เคยหลับใหล ใครตอบได้ไหมไฉนจึงตื่น บางครั้งยังสะอื้น ทะเลมันตื่นอยู่ร่ำไป...”
สาวบางคนที่เพิ่งกลับจาก“เกาะหลีเป๊ะ”แห่งหมู่เกาะตะรุเตา จ.สตูล บอกกับผมว่า
...เธอได้ยินเสียงทะเลสะอื้นที่เกาะหลีเป๊ะ...
เป็นเสียงสะอื้นที่ลอยมาพร้อมๆกับความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วฉับพลัน จนเปลี่ยนหลีเป๊ะจากเกาะอันพิสุทธิ์สงบงามเป็นเกาะที่มากไปด้วยที่พัก แสงสี และความพลุกพล่าน ที่วันนี้กำลังเดินตามรอยเกาะพีพีเข้าไปทุกที
เรื่องนี้ผมไม่ปฏิเสธเธอ เพราะผมเองก็เพิ่งกลับมาจากเกาะหลีเป๊ะ และไปประสบพบเจอสภาพการณ์บนเกาะไม่ต่างจากเธอนัก นอกจากนี้ผมยังพบว่าบนความเปลี่ยนแปลงที่ถาโถมเข้ามาบนหลีเป๊ะนั้น มันได้ส่งผลสั่นสะเทือนอย่างรุนแรงต่อวิถีชีวิตของชาวเลบนเกาะแห่งนี้ด้วยเช่นกัน
1...
ชาวเลบนเกาะหลีเป๊ะเป็นกลุ่มชาติพันธุ์“อูรักลาโว้ย”(ชาวเลในเมืองไทยมี 3 กลุ่มชาติพันธุ์ ได้แก่ มอแกน มอเกล็น(มอแกลน) และอูรักลาโว้ย)พวกเขาถือเป็นพลเมืองชาวเกาะรุ่นบุกเบิก ทำมาหากินใช้ชีวิตคืบก็ทะเลศอกก็ทะเลอยู่บนเกาะแห่งนี้มาอย่างยาวนาน
แต่เมื่อกาลเวลาล่วงเลยผ่านมาจนถึงวันนี้ ชาวเลบนเกาะหลีเป๊ะที่เดิมเป็น“คนใน”วันนี้ได้กลายเป็นเหมือน“คนนอก”เข้าไปมากขึ้นทุกที
ชาวเลบนเกาะหลีเป๊ะวันนี้ถ้าไม่ปรับตัวก็ใช้ชีวิตลำบาก นั่นจึงทำให้พวกเขาค่อยๆละทิ้งวิถีแบบชาวเลเดิมๆหันมาใช้วิถีแบบคนบนฝั่งแผ่นดินใหญ่มากขึ้น คุณลุงชาวเลคนหนึ่งที่อยู่บนเกาะหลีเป๊ะมาตั้งแต่ยุคบุกเบิก บอกกับผมว่า เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยได้ออกเรือหาปลาแล้ว ออกไปมันไม่ค่อยคุ้มค่าน้ำมัน เพราะปลามันลดจำนวนลงไปมาก แถมยังถูกจำกัดพื้นที่หาปลาอีกต่างหาก สู้มาขับเรือบริการนักท่องเที่ยวไม่ได้ เงินดีกว่ามากแถมเหนื่อยน้อยกว่าด้วย
เช่นเดียวกับชาวเลอีกคนที่เดี๋ยวนี้ไม่ออกเรือแล้ว หากแต่ใช้หัวการค้าที่มีอยู่ปรับเปลี่ยนมาทำร้านอาหาร ร้านเหล้า รับซื้อกุ้งหอยปูปลาสดๆจากพวกเดียวกัน นับเป็นวิถีใหม่ของชาวเลวันนี้ที่ต้องหาลูกค้าแข่งแข่งขันกับผู้ประกอบการต่างถิ่น
ส่วนวิถีที่ดูเหมือนว่าจะล้ำหน้าจากคนบนฝั่งไปมากก็คือเรื่องของการดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ว่าจะเป็นเหล้าหรือเบียร์ ขอให้ดื่มแล้วเมาเหอะ ผู้ชายนักดื่มของที่นี่บ่ยั่นทั้งนั้น โดยการดื่มถือเป็นวิถีปกติของชาวเลยุคใหม่ที่นี่ไปแล้ว พอหลังเลิกงานไม่มีอะไรทำก็ตั้งวงจับกลุ่มสนทนากันโดยมีสุราหรือเบียร์เป็นเครื่องดื่มประจำวง
ช่วงที่ผมไปเที่ยวเกาะหลีเป๊ะ เห็นนักดื่มชาวเลหลายคน พวกเล่นดื่มข้ามคืนกันตั้งแต่เย็นไปจนถึงเช้าแล้วก็น็อคนอนสลบอยู่แถวหาดชาวเลนั่นแหละ
ถึงกระนั้นชาวเลที่นี่ ก็ยังมีวิถีอันเป็นเอกลักษณ์ให้สัมผัสกันในพิธี“ลอยเรือ”ในทุกๆครึ่งปี ตามฤกษ์งามยามเหมาะสมของพวกเขา
ในขณะที่วิถีความเป็นอยู่ตามปกติ ชาวเลวันนี้ยังคงสร้างบ้านเรือนในสไตล์เดิม พื้นที่ใช้สอยเดิม เป็นบ้านสร้างง่ายๆชั้นเดียว มีชานหน้าบ้าน เป็นชานเอนกประสงค์ เอาไว้พักผ่อน นอนเล่น นั่งเล่น กินข้าว ถักแห สานตะกร้า แขวนเปลเลี้ยงลูก เป็นต้น แต่ในเรื่องของวัสดุวันนี้พวกเขาปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ฝาบ้านจากไม้ไผ่ขัดแตะเปลี่ยนมาเป็นฝาสังกะสี หลังคาเปลี่ยนจากมุงจากมามุงสังกะสี หรือบ้านไหนฐานะดีหน่อยก็มุงกระเบื้อง และถ้าจะให้โก้ไปกว่านั้นบนหลังคาต้องติดจานดาวเทียมด้วย
นอกจากนี้บริเวณข้างๆบ้านหรือใกล้ๆบ้านส่วนใหญ่ จะมีบ่อน้ำบาดาลขุดไว้ เป็นแหล่งน้ำจืดสำคัญทั้งดื่มกิน ซักผ้า หุงหาอาหาร ช่วงยามเช้าหรือยามเย็นหากมาเดินท่อมๆที่หมู่บ้านชาวเล จะได้เห็นผู้หญิงนุ่งกระโจมอก ผู้ชายนุ่งผ้าขาวม้า และเด็กๆแก้ผ้ามายืนอาบน้ำข้างบ่อ เป็นภาพที่ดูมีชีวิตชีวาไม่น้อย แต่ถึงอย่างไรนักท่องเที่ยวก็ไม่ควรไปจ้องดูเขาอย่างเอาเป็นเอาตาย เหมือนประหนึ่งว่าเขามีลักษณะที่แปลกประหลาดไปจากเรา เพราะนั่นมันเป็นการกระทำที่น่าเกลียดและเสียมารยาทมาก
ส่วนที่สร้างความงุนงงให้กับผมเล็กน้อยในยามที่ไปเดินเที่ยวหมู่บ้านของพวกเขาก็คือ บริเวณรอบๆตัวบ้านพวกเขาจะเก็บกวาดดูสะอาดสะอ้าน แต่ภายในบ้านหลายหลังนี่สิ เต็มไปด้วยข้าวของอีเหระเขะขะมากมาย ดูแล้วช่างแตกต่างกันดีแท้
2...
ชาวเลบนเกาะหลีเป๊ะจะอาศัยอยู่ที่หมู่บ้านชาวเล บริเวณหาดชาวเล ซึ่งถือจุดเป็นชมพระอาทิตย์ขึ้นชั้นเยี่ยมของเกาะ
ใกล้ๆกับหมู่บ้านมีโรงเรียนประจำเกาะอยู่หนึ่งแห่ง ที่เมื่อเห็นชื่อแล้วผมอดรู้สึกฉงนเล็กน้อยถึงปานกลางไม่ได้ เพราะโรงเรียนที่ว่านั้นชื่อ “โรงเรียนบ้านเกาะอาดัง” แต่กลับมาตั้งอยู่บนเกาะหลีเป๊ะ เป็นโรงเรียนเพียงหนึ่งเดียวบนเกาะหลีเป๊ะ ส่วนบนเกาะอาดังที่อยู่ใกล้ๆกันนั้นหาได้มีโรงเรียนตั้งอยู่ไม่ แต่ครั้นเมื่อมาคิดดูอีกที พบว่านี่มันคือสิ่งที่สะท้อนวิธีคิดแบบราชการไทยได้ดีทีเดียว
โรงเรียนบ้านเกาะอาดัง(บนเกาะหลีเป๊ะ) เป็นโรงเรียนที่มีบรรยากาศสุดยอดมาก ด้านหน้าโรงเรียนติดกับหาดชาวเลอันยาวไกลสวยงาม
ยามเช้าวันที่ 2 บนเกาะหลีเป๊ะ หลังมาเฝ้ารอชมพระอาทิตย์ขึ้นที่หาดชาวเลเสร็จสิ้น ขากลับผมเดินโฉบผ่านไปแถวหาดหน้าโรงเรียน เห็นเด็กๆชาวเลนอนเรียงรายอยู่ริมหาดจำนวนหนึ่ง เมื่อพวกเขาตื่นขึ้นมาสอบถามได้ความว่า ที่บ้านยุงเยอะมาก นอนไม่ได้ ต้องหนีมานอนที่ริมหาดแทน
ส่วนเมื่อเดินเลยไปอีก ผมเจอผู้ใหญ่ 2 คนนอนนิ่งเหมือนตายอยู่ที่ริมหาดเหมือนกัน ข้างๆตัวเขามีขวดเหล้าตั้งอยู่ เห็นอย่างนี้แล้ว ผมเดาได้ไม่ยากว่า พวกเขาไม่ได้หนียุงมานอน(เหมือนตาย)ที่ริมหาดแน่นอน แต่ถ้าเป็นหนีเมียมานั่งก๊งกับเพื่อนๆจนสุดท้ายน็อคกลับบ้านไม่ไหวต้องนอนแอ้งแม้งอยู่ที่นี่ละก้อไม่แน่
3…
ด้วยบรรยากาศอันยอดเยี่ยม ทำให้ในเย็นวันนั้นผมเดินกลับมาที่โรงเรียนริมหาดบ้านเกาะอาดัง(บนเกาะหลีเป๊ะ)อีกครั้ง
ในยามเย็นหลังเลิกเรียน นอกจากเด็กๆชาวเลจะเล่นและทำกิจกรรมอันหลากหลายอยู่ในบริเวณสนามเอนกประสงค์ของโรงเรียนแล้ว ที่หาดหน้าโรงเรียนที่เด็กๆใช้หลับนอนหนียุงนั้น ในวันที่ไป ผมเจอกับกลุ่มเด็กๆตั้งแต่อายุราว 6-7 ขวบ ไปจนถึงวัยรุ่นอายุ 13-14 มาจับกลุ่มล้อมวงกันอยู่ดูคล้ายๆพวกไทยมุง
ด้วยความอยากรู้ผมจึงเดินเข้าไปร่วมขอใช้พื้นที่เป็นไทยมุงด้วยอีกคน เห็นพวกเด็กๆกำลังโชว์สเต็ปเท้าไฟ“เต้นบีบอย”บนชายหาดกันอย่างออกรสออกชาติ แม้ตามเนื้อตัว หัว หู จะเปรอะเปื้อนไปด้วยทรายแต่ดูพวกเขากลับสนุกสนานยิ่งนัก
ผมเมื่อเห็นดังนั้น จึงถือโอกาสยุให้เด็กๆโชว์ลีลาบีบอยกันอย่างสุดเหวี่ยงเป็นขวัญตากันสักหน่อย
ในช่วงแรกก่อนที่ผมจะเข้าไปร่วมเป็นไทยมุงดูเด็กๆเต้น พวกเขายังกันแบบดิบๆไม่มีเพลงประกอบ แต่พอได้ลูกยุเท่านั้นแหละ น้องหัวโจกรีบบอกให้เพื่อนเอาเพลงมาเปิด
หะแรกผมนึกว่าเขาจะยกวิทยุมาเปิดเพลงประกอบ แต่ที่ไหนได้ พวกหยิบมือถือ“บีบี”มาเปิดเพลงแดนซ์กระจายให้หลายคนโชว์ลีลากัน ไม่ว่าจะเป็น ท่าพื้นฐานโชว์สเต็ปเท้า โชว์ลีลายักย้าย โชว์การหมุนตัว หรือท่าแปลกๆที่ผมขออนุญาตคิดชื่อท่าเอง อย่าง ท่าหัวเหล็กปึงซีเง็กทำหกสูงใช้หัวยืนแทนเท้า ท่าหนอนลอดสะพานที่ให้คนหนึ่งทำท่าสะพานโค้งแล้วอีกคนนอนลงเต้นแบบหนอนกระดึ๊บๆไปลอดใต้สะพาน และท่าอื่นๆอีกหลากหลาย
หลังดูเด็กๆแด๊นซ์กระจายจนรู้สึกเหนื่อยแทน ผมจึงถือโอกาสพุดคุยกับบรรดาหัวโจก 2-3 คน ได้ความว่า เด็กชายชาวเลที่นี่กลุ่มหนึ่งเขาใช้เวลาว่าง ฝึกเต้นบีบี โดยมีการแบ่งเป็นแก๊งต่างๆ แล้วมาเต้นแข่งกัน หรือไม่ก็เต้นโชว์สาว อย่างแก๊งที่ผมไปดูชื่อแก๊ง “ไอซี ยูเลิฟ” มี “ไก่โต้ง” เด็ก ป.4 แต่มีลีลาการเต็นสุดยอดกว่าใครเป็นหัวหน้าแก๊ง มี “เบ๊” ป.5 เป็นรองหัวหน้า ร่วมด้วยสมาชิกคนอื่นๆตั้งแต่ ป.1- ป.6 รวม 12 คน
“แล้วพวกน้องๆไปฝึกท่าเต้นนี้มาจากไหน”
ผมยิงถามใส่พวกเขา พร้อมคิดในใจว่า น่าจะจำมาจากลีลาการเต้นของพวกฝรั่งแนวเร็กเก้ หรือไม่ก็จำมาจากพวกโชว์ควงกระบองไฟยามราตรีที่หาดพัทยา 2 แต่เมื่อ“ภาณุ”สมาชิกแก๊ง ชั้น ป.6 ตอบข้อสงสัยมาผมถึงกับอึ้ง
“พวกผมฝึกกันเองครับ”
ภาณุว่าอย่างนั้น ก่อนขยายความว่า พวกเขาแกะลีลาท่าเต้น การใช้ตัว ใช้มือ-เท้า-หัว และสเต็ปต่างๆมาจากหนังเรื่อง“สเต็ป อัพ”(Step Up : สเต็ปโดนใจ หัวใจโดนเธอ)ทั้ง 3 ภาคจากดีวีดี แล้วจึงนำมาคีเอทเป็นท่าเต้นลีลาต่างๆ
โอ้ว...ล้ำซะไม่มี ไอ้น้องพวกนี้ ขนาดผมยังไม่เคยดูหนังเรื่องนี้เลยสักภาค
“นี่ๆพี่แนะนำว่า ให้ไปเต้นโชว์พวกฝรั่งที่หาดพัทยา 2 แล้วหาอะไรไปวางไว้สำหรับใส่เงิน บริจาคจากนักท่องเที่ยว” นักท่องเที่ยวคนหนึ่งที่มายืนเป็นไทยมุงเหมือนผมดูเด็กๆพวกนี้เต้นให้คำแนะนำ
“พี่มันจะดูไม่เหมือนขอทานรึ” เด็กคนหนึ่งถามกลับมา
“ไม่หรอก อย่างนี่ที่กรุงเทพฯเขาเลือกเปิดหมวก เราไม่ได้ไปขอตังค์ใคร แต่เราใช้ความสามารถของเรา แล้วโชว์มันออกมา ถ้านักท่องเที่ยวเห็นแล้วชอบ เขาจะให้เงินเราเอง แล้วน้องๆจะได้มีเงินค่าขนมแบบไม่ต้องไปขอจากพ่อ-แม่” นักท่องเที่ยวคนเดิมบอกน้องๆพวกนั้น ก่อนเดินจากไป
4...
ค่ำวันนั้น ณ มุมหนึ่งของหาดพัทยา 2 ที่ตั้งอยู่บนเกาะหลีเป๊ะคนละฟากกับหาดชาวเล ผมเจอน้องๆกลุ่มนี้มารวมกลุ่มกันเต้น มีนักท่องเที่ยวทั้งฝรั่งและไทยมายืนมุงดู หลายคนเห็นแล้วตบมือชอบใจ ส่วนบางคนตบรางวัลให้กับเด็กๆพวกนี้
“ว่าไงเบ๊ ได้เท่าไหร่แล้ว” ผมถาม
“200 กว่า(บาท)ครับ” เบ๊ตอบยิ้มๆ ก่อนกระโดดเข้าร่วมวงเต้นต่อ
สำหรับใครที่เคยจินตนาการ(เอาเอง)ว่า เด็กๆชาวเลจะต้องเล่นการละเล่นพื้นบ้าน ทำกิจกรรมย้อนยุค อย่างที่นักวิชาการด้านวัฒนธรรมบนหอคอยงาช้างพยายามยัดเยียดให้เป็นนั้น มาเจอบรรยากาศแบบนี้เข้าคงหัวร่อมิได้ ร่ำไห้มิออกแน่นอน แต่นี่แหละคือโลกแห่งความจริง ไม่ใช่โลกแห่งจินตนาการอย่างที่พวกเขาวาดหวัง
ที่สำคัญก็คือการที่เด็กๆชาวเลเหล่านี้หันมาฝึกเรียนรู้ฝึกหัดการเต้นด้วยตัวเอง มันถือเป็นการออกกำลังกายไปในตัว เป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เป็นการฝึกการเรียนรู้นอกห้องเรียน รวมถึงยังสามารถหารายได้เข้ากระเป๋าพวกเขาได้ด้วย ถ้าหากว่าพวกเขาคิดจะทำจริงๆจังๆ ซึ่งการได้เงินวิธีนี้ สำหรับผมแล้วมันดูดีกว่าการมาเดินตื้อขอเงินนักท่องเที่ยวแบบฟรีๆ อย่างที่พบเจอในแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่งมากนัก