โดย : หนุ่มลูกทุ่ง
"บางอ้อยช้างโอ้ช้างที่ร้างโขลง มาอยู่โรงรักป่าน้ำตาไหล
พี่คลาดแคล้วแก้วตาให้อาลัย เหมือนอกไอยราร้างฝูงนางพัง ฯ"
......โดยสุนทรภู่
ที่ฉันนำกลอนบทนี้มาเปิดเรื่อง ก็เพราะอยากจะพาพี่น้องย้อนเวลากลับไปในอดีตในสมัยอยุธยา ชุมชน "บางอ้อยช้าง" แห่งนี้เคยมีต้นอ้อยช้างอยู่มาก โดยต้นอ้อยช้างไม่เหมือนกับต้นอ้อยธรรมดา แต่เป็นต้นไม้ยืนต้นมีใบคล้ายใบโพธิ์ มีกิ่งเป็นชั้นๆ เป็นไม้เนื้ออ่อนคล้ายต้นงิ้ว มีรสหวานเจือรสฝาด เป็นที่ชื่นชอบของช้าง ซึ่งช้างจะกินเป็นอาหารและเป็นยารักษาโรค อีกทั้งต้นอ้อยช้างนี้ยังใช้เป็นที่รองพระที่นั่งบนหลังช้าง เวลาออกทัพไกลๆอีกด้วย ชุมชนนี้จึงมีหน้าที่ส่งส่วยอ้อยขึ้นไปเลี้ยงช้างหลวงที่กรุงศรีอยุธยา เดิมจึงเรียกชุมชนบางอ้อยช้างว่า "บ้านส่วยช้าง"
ต่อมาในสมัยอยุธยาตอนปลาย ราวพ.ศ.2304 ชาวบ้านก็ได้ร่วมใจกันสร้างวัดขึ้นในบริเวณชุมชนและเรียกกันว่า "วัดบางอ้อยช้าง" ประวัติยังเล่าว่า บ้านบางอ้อยช้างเป็นหนึ่งในสามชุมชนที่รวบรวมเสบียงเวลาเกิดศึกสงครามร่วมกับทัพหลวง รวมถึงส่งชายฉกรรจ์ในพื้นที่ไปร่วมรับใช้ชาติร่วมกับกองทัพของสมเด็จพระเจ้าตากสินในการกู้แผ่นดิน ทำให้มีการสร้าง "อนุสาวรีย์พระเจ้าตากสิน" เพื่อเป็นอนุสรณ์ไว้ที่วัดแห่งนี้ด้วย อีกทั้งพื้นที่ชุมชนบางอ้อยช้างนี้ ยังเป็นที่รักษาพยาบาลทั้งคนและสัตว์ที่ใช้เป็นพาหนะในสมัยนั้นด้วย
สำหรับสิ่งน่าสนใจในวัดบางอ้อยช้างนั้นมีอยู่มากหลาย ซึ่งทริปนี้ฉันโชคดีมากที่ได้คุณธีรวัฒน์ กลีบผึ้ง ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์วัดบางอ้อยช้าง ขันอาสามาเป็นไกด์พิเศษ พาชมสิ่งต่างๆในวัดแห่งนี้ เริ่มจากจุดแรก เพื่อเป็นการปูพื้นความเข้าใจต่างๆในวัดแห่งนี้ คุณธีรวัฒน์ พาฉันไปรู้จักกับ "พิพิธภัณฑ์วัดบางอ้อยช้าง" ที่ทางวัดรวบรวมของเก่าแก่ ของสำคัญในชุมชนมาจัดแสดงไว้ให้เป็นดังมรดกล้ำค่าของชุมชน
คุณธีรวัฒน์ เล่าว่า พระครูนนทวัตร วิบูลย์ อดีตเจ้าอาวาส ได้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ขึ้นเพื่อเก็บรักษาโบราณวัตถุที่มีในวัดและชุมชนบางอ้อยช้าง เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่ประชาชนทั่วไป โดยพิพิธภัณฑ์วัดบางอ้อยช้างแห่งนี้ เปิดอย่างเป็นทางการราวปี พ.ศ.2541-2542 ซึ่งได้ใช้พื้นที่เดิมของหอฉันท์ที่เป็นเรือนไม้เก่าแก่อายุกว่า 100 ปี มาดัดแปลงทำเป็นพิพิธภัณฑ์
คุณธีรวัฒน์ พาฉันขึ้นไปชมยังชั้นที่ 3 ซึ่งเป็นชั้นบนสุดก่อน โดยในชั้นนี้จัดแสดงสมบัติมีค่าอันเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนา เช่น ชุดของหลวงปู่ที่เย็บด้วยมือทั้งหมด ตาลปัตรของร.5 ที่มีสัญลักษณ์นารายณ์ทรงครุฑตามศิลปะของรัชกาลที่ 5 ตะลุ่มหรือพานแว่นฟ้า เป็นศิลปหัตถกรรมชั้นสูงของไทยโบราณ อยู่ในกลุ่มช่างรักงานประดับมุกซึ่งโดยปกติแล้วชาวบ้านจะไม่ค่อยมีใช้กัน ส่วนใหญ่จะมีในสำนักพระราชวังเท่านั้น
ตู้พระธรรมลายรดน้ำ ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ทางพิพิธภัณฑ์ได้จัดแสดงไว้มากมายหลายตู้ ซึ่งอยู่ในสมัยรัตนโกสินทร์ราวรัชกาลที่ 3-5 ตู้ลายรดน้ำต่างๆนี้หากลองพินิจดูแล้วก็จะทำให้ได้เห็นถึงสภาพความเป็นอยู่วัฒนธรรมในสมัยนั้นๆ เช่น ลวดลายหนุมานรามเกียรติ์ต่อสู้กัน หางหนุมานไปเกี่ยวกับตัวคิวปิด บอกถึงความสัมพันธ์ของชาวไทยกับฝรั่ง บางตู้ที่กระจังหน้าแทนที่จะเป็นสัญลักษณ์ครุฑ แต่กลับเป็นลวดลายคิวปิดสวมใส่ชุดครุฑ ซึ่งแสดงถึงสัมพันธไมตรีอันแน่นแฟ้นกับต่างชาติ เป็นต้น
ส่วนด้านในตู้เป็นที่เก็บหนังสือเก่าแก่บอกเล่าความเป็นมาของจังหวัดนนทบุรี และบางตู้ก็จัดไว้เป็นที่เก็บพระไตรปิฎกใบลาน ที่มีอายุราว 200-300ปี บนผนังจัดแสดงภาพเขียนบนกระดาษของขรัวอินโข่ง ที่มีอายุกว่า 250 ปี ถึง 4 ภาพ และในชั้นที่ 3 นี้ยังมีห้องจำวัดของพระครูนนทวัตร และจัดแสดงเครื่องถ้วยชามของจีนในสมัยราชวงศ์ชิง และสมุดข่อยโบราณ อีกด้วย
สำหรับในชั้นที่ 2 คุณธีรวัฒน์ เล่าว่า ได้จัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของชาวสวนเมืองนนท์ เช่น หม้อไว้เพาะทุเรียน หม่อหุงข้าว ไห โอ่งทำมือยุคแรกของจีนมีสีเขียวหยก หนังสือพระไตรปิฎก ตู้ลายรดน้ำไม้สักที่ยังไม่ปิดทอง หีบทองที่ใช้บรรจุศพลายเทพพนม พิกุล และลายบัว เป็นต้น
นอกจากพิพิธภัณฑ์แล้ว วัดบางอ้อยช้างยังมีโบราณวัตถุและปูชนียสถานที่สำคัญอีกมากมาย แต่ก่อนที่จะไปชมกันฉันขอไปกราบไหว้พระประธานภายใน "อุโบสถ"กันก่อน ซึ่งองค์พระประธานนี้เป็นพระพุทธรูปสลักด้วยศิลาแลงสมัยสุโขทัย และถอดได้เป็นท่อนๆ อายุประมาณ 600 ปี สันนิษฐานว่าเอาแบบมาจากลังกา แต่เดิมประดิษฐานในอุโบสถหลังเก่าที่มีลักษณะเป็นแบบมหาอุตย์จนถึง พ.ศ.2495 เพราะเนื่องจากอุโบสถหลังเก่านี้ได้ทรุดโทรมตามกาลเวลา จึงได้อันเชิญพระประธานไปประดิษฐานยังอุโบสถหลังใหม่
ภายในพระอุโบสถยังมีจิตกรรมฝาผนังที่แม้จะเป็นงานเขียนที่เขียนขึ้นมาใหม่ในปี พ.ศ.2549 ด้วยสีอะครีลิก แต่ก็มีความวิจิตรสวยงาม ลักษณะของภาพแบ่งเป็น 4 ผนังคือ ผนังด้านที่1 ตอนมหาสุบินนิมิต ตอนประสูติ ตอนมหาภิเษกรมณ์ ตอนตรัสรู้ ผนังด้านที่ 2 ตอนเสด็จโปรดปัญจวคีย์ ตอนแสดงปาฏิหาริย์ ตอนเสด็จลงจากดาวดึงส์ ตอนปรินิพาน ผนังด้านที่3 (ผนังหุ้มกลองหลังพระประธาน) วาดเรื่องไตรภูมิ และผนังด้านสุดท้าย(ผนังหุ้มกลองด้านหน้าพระประธาน) วาดเป็นตอนมารผจญ โดยภาพจิตกรรมเหล่านี้จะวาดสอดแทรกประวัติศาสตร์ของวัดบางอ้อยช้างเข้าไปด้วย ได้แก่ ภาพวาดตอนร.5เสด็จมาบำเพ็ญพระราชกุศลทางชลมารค เป็นต้น
จากนั้นคุณธีรวัฒน์พาฉันเดินจากอุโบสถไปยังด้านริมน้ำ เพื่อไปกราบไหว้ "รอยพระพุทธบาทเบื้องซ้าย" อันประดิษฐานอยู่ภายในมณฑปที่จัดสร้างเมื่อปี พ.ศ.2535 ตกแต่งแบบไทยเดิมสวยสง่างาม รอยพระพุทธบาทนี้หล่อด้วยทองสำริดขนาด 54 นิ้ว กว้าง 19.5 นิ้ว หนัก190 กิโลกรัม โดยสันนิษฐานว่าท่านพระอธิการทองอยู่ เจ้าอาวาสวัดองค์แรกได้ธุดงด์ไปทางเหนือแล้วพบพระพุทธบาทในป่า และพระศาสดาที่พิษณุโลกเมื่อ พ.ศ.2339 จึงได้อาราธนาลงแพไม้ล่องลงมาประดิษฐาน ณ วัดบางอ้อยช้างแห่งนี้ ส่วนพระศาสดาปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
อีกแห่งหนึ่งที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท ได้แก่ที่ "ศาลาการเปรียญ" โดยเป็นภาพจิตกรรมลวดลายทองรอยพระพุทธบาทเบื้องขวาบนฝ้าเพดานไม้เหนือศีรษะ สันนิษฐานว่าน่าจะมีมานานแล้ว นอกจากนี้ภายในศาลาการเปรียญยังมีธรรมมาสน์บุษบกยอดมหากฐินที่เป็นศิลปะสมัยอยุธยาอันวิจิตสวยงามให้เห็นกันด้วย
นอกจากสิ่งน่าสนใจในวัดแล้ว บรรยากาศริมน้ำในวัดก็ดูสงบร่มเย็นเป็นสะอาดสะอ้านสบายตา ฉันขอแนะนำว่าใครที่ชมวัดและพิพิธภัณฑ์เสร็จแล้ว ลองมาแวะนั่งพักผ่อนหย่อนใจริมน้ำก่อนจะกลับก็ดีไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะจะได้ความอิ่มบรรยากาศ อิ่มใจ และอิ่มบุญ กลับบ้านไปแบบคุ้มค่าไม่น้อยเลย
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
วัดบางอ้อยช้าง ตั้งอยู่ที่ 79 บ้านบางอ้อยช้าง คลองบางกอกน้อย หมู่ที่ 2 ซ.บางกรวย-ไทรน้อย 29 ถ.บางกรวย-ไทรน้อย ต.บางสีทอง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี พิพิธภัณฑ์วัดบางอ้อยช้างเปิดทำการทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 09.00-13.00 น. หากต้องการเจ้าหน้าที่นำชมกรุณาติดต่อล่วงหน้า โดยผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร.0-2447-5124, 08-1268-1723
การเดินทางสู่วัดบางอ้อยช้าง จากถนนรัตนาธิเบศร์ฝั่งขาออกจากกรุงเทพฯ เลี้ยวซ้ายแยกเข้าถนนนครอินทร์ ตรงมาเรื่อยๆข้ามสะพานพระราม 5 ออกทางคู่ขนานแล้วเลี้ยงซ้ายไปเล็กน้อยฝั่งตรงข้ามจะเห็น ซ.บางกรวย-ไทรน้อย 29 มีซุ้มประตูวัดบางอ้อยช้างตรงเข้าไปสุดซอยจะเจอกับวัดบางอ้อยช้าง หรือมาจากทางถนนสิรินธรขาเข้า (ไปทางสะพานกรุงธน) เลี้ยงซ้ายเข้าถ.บางกรวย-ไทรน้อย ตรงไปเรื่อยๆจนถึงแยกที่จะเลี้ยวขวาขึ้นสะพานพระราม 5 ก่อนถึงแยกเล็กน้อยด้านซ้ายมือเป็น ซ.บางกรวย-ไทรน้อย 29 มีซุ้มประตูวัดบางอ้อยช้างตรงเข้าไปสุดซอยจะเจอกับวัดบางอ้อยช้าง ปัจจุบันมีเรือนำเที่ยวแวะขึ้นที่ท่าเรือวัดบางอ้อยช้างด้วย
"บางอ้อยช้างโอ้ช้างที่ร้างโขลง มาอยู่โรงรักป่าน้ำตาไหล
พี่คลาดแคล้วแก้วตาให้อาลัย เหมือนอกไอยราร้างฝูงนางพัง ฯ"
......โดยสุนทรภู่
ที่ฉันนำกลอนบทนี้มาเปิดเรื่อง ก็เพราะอยากจะพาพี่น้องย้อนเวลากลับไปในอดีตในสมัยอยุธยา ชุมชน "บางอ้อยช้าง" แห่งนี้เคยมีต้นอ้อยช้างอยู่มาก โดยต้นอ้อยช้างไม่เหมือนกับต้นอ้อยธรรมดา แต่เป็นต้นไม้ยืนต้นมีใบคล้ายใบโพธิ์ มีกิ่งเป็นชั้นๆ เป็นไม้เนื้ออ่อนคล้ายต้นงิ้ว มีรสหวานเจือรสฝาด เป็นที่ชื่นชอบของช้าง ซึ่งช้างจะกินเป็นอาหารและเป็นยารักษาโรค อีกทั้งต้นอ้อยช้างนี้ยังใช้เป็นที่รองพระที่นั่งบนหลังช้าง เวลาออกทัพไกลๆอีกด้วย ชุมชนนี้จึงมีหน้าที่ส่งส่วยอ้อยขึ้นไปเลี้ยงช้างหลวงที่กรุงศรีอยุธยา เดิมจึงเรียกชุมชนบางอ้อยช้างว่า "บ้านส่วยช้าง"
ต่อมาในสมัยอยุธยาตอนปลาย ราวพ.ศ.2304 ชาวบ้านก็ได้ร่วมใจกันสร้างวัดขึ้นในบริเวณชุมชนและเรียกกันว่า "วัดบางอ้อยช้าง" ประวัติยังเล่าว่า บ้านบางอ้อยช้างเป็นหนึ่งในสามชุมชนที่รวบรวมเสบียงเวลาเกิดศึกสงครามร่วมกับทัพหลวง รวมถึงส่งชายฉกรรจ์ในพื้นที่ไปร่วมรับใช้ชาติร่วมกับกองทัพของสมเด็จพระเจ้าตากสินในการกู้แผ่นดิน ทำให้มีการสร้าง "อนุสาวรีย์พระเจ้าตากสิน" เพื่อเป็นอนุสรณ์ไว้ที่วัดแห่งนี้ด้วย อีกทั้งพื้นที่ชุมชนบางอ้อยช้างนี้ ยังเป็นที่รักษาพยาบาลทั้งคนและสัตว์ที่ใช้เป็นพาหนะในสมัยนั้นด้วย
สำหรับสิ่งน่าสนใจในวัดบางอ้อยช้างนั้นมีอยู่มากหลาย ซึ่งทริปนี้ฉันโชคดีมากที่ได้คุณธีรวัฒน์ กลีบผึ้ง ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์วัดบางอ้อยช้าง ขันอาสามาเป็นไกด์พิเศษ พาชมสิ่งต่างๆในวัดแห่งนี้ เริ่มจากจุดแรก เพื่อเป็นการปูพื้นความเข้าใจต่างๆในวัดแห่งนี้ คุณธีรวัฒน์ พาฉันไปรู้จักกับ "พิพิธภัณฑ์วัดบางอ้อยช้าง" ที่ทางวัดรวบรวมของเก่าแก่ ของสำคัญในชุมชนมาจัดแสดงไว้ให้เป็นดังมรดกล้ำค่าของชุมชน
คุณธีรวัฒน์ เล่าว่า พระครูนนทวัตร วิบูลย์ อดีตเจ้าอาวาส ได้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ขึ้นเพื่อเก็บรักษาโบราณวัตถุที่มีในวัดและชุมชนบางอ้อยช้าง เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่ประชาชนทั่วไป โดยพิพิธภัณฑ์วัดบางอ้อยช้างแห่งนี้ เปิดอย่างเป็นทางการราวปี พ.ศ.2541-2542 ซึ่งได้ใช้พื้นที่เดิมของหอฉันท์ที่เป็นเรือนไม้เก่าแก่อายุกว่า 100 ปี มาดัดแปลงทำเป็นพิพิธภัณฑ์
คุณธีรวัฒน์ พาฉันขึ้นไปชมยังชั้นที่ 3 ซึ่งเป็นชั้นบนสุดก่อน โดยในชั้นนี้จัดแสดงสมบัติมีค่าอันเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนา เช่น ชุดของหลวงปู่ที่เย็บด้วยมือทั้งหมด ตาลปัตรของร.5 ที่มีสัญลักษณ์นารายณ์ทรงครุฑตามศิลปะของรัชกาลที่ 5 ตะลุ่มหรือพานแว่นฟ้า เป็นศิลปหัตถกรรมชั้นสูงของไทยโบราณ อยู่ในกลุ่มช่างรักงานประดับมุกซึ่งโดยปกติแล้วชาวบ้านจะไม่ค่อยมีใช้กัน ส่วนใหญ่จะมีในสำนักพระราชวังเท่านั้น
ตู้พระธรรมลายรดน้ำ ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ทางพิพิธภัณฑ์ได้จัดแสดงไว้มากมายหลายตู้ ซึ่งอยู่ในสมัยรัตนโกสินทร์ราวรัชกาลที่ 3-5 ตู้ลายรดน้ำต่างๆนี้หากลองพินิจดูแล้วก็จะทำให้ได้เห็นถึงสภาพความเป็นอยู่วัฒนธรรมในสมัยนั้นๆ เช่น ลวดลายหนุมานรามเกียรติ์ต่อสู้กัน หางหนุมานไปเกี่ยวกับตัวคิวปิด บอกถึงความสัมพันธ์ของชาวไทยกับฝรั่ง บางตู้ที่กระจังหน้าแทนที่จะเป็นสัญลักษณ์ครุฑ แต่กลับเป็นลวดลายคิวปิดสวมใส่ชุดครุฑ ซึ่งแสดงถึงสัมพันธไมตรีอันแน่นแฟ้นกับต่างชาติ เป็นต้น
ส่วนด้านในตู้เป็นที่เก็บหนังสือเก่าแก่บอกเล่าความเป็นมาของจังหวัดนนทบุรี และบางตู้ก็จัดไว้เป็นที่เก็บพระไตรปิฎกใบลาน ที่มีอายุราว 200-300ปี บนผนังจัดแสดงภาพเขียนบนกระดาษของขรัวอินโข่ง ที่มีอายุกว่า 250 ปี ถึง 4 ภาพ และในชั้นที่ 3 นี้ยังมีห้องจำวัดของพระครูนนทวัตร และจัดแสดงเครื่องถ้วยชามของจีนในสมัยราชวงศ์ชิง และสมุดข่อยโบราณ อีกด้วย
สำหรับในชั้นที่ 2 คุณธีรวัฒน์ เล่าว่า ได้จัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของชาวสวนเมืองนนท์ เช่น หม้อไว้เพาะทุเรียน หม่อหุงข้าว ไห โอ่งทำมือยุคแรกของจีนมีสีเขียวหยก หนังสือพระไตรปิฎก ตู้ลายรดน้ำไม้สักที่ยังไม่ปิดทอง หีบทองที่ใช้บรรจุศพลายเทพพนม พิกุล และลายบัว เป็นต้น
นอกจากพิพิธภัณฑ์แล้ว วัดบางอ้อยช้างยังมีโบราณวัตถุและปูชนียสถานที่สำคัญอีกมากมาย แต่ก่อนที่จะไปชมกันฉันขอไปกราบไหว้พระประธานภายใน "อุโบสถ"กันก่อน ซึ่งองค์พระประธานนี้เป็นพระพุทธรูปสลักด้วยศิลาแลงสมัยสุโขทัย และถอดได้เป็นท่อนๆ อายุประมาณ 600 ปี สันนิษฐานว่าเอาแบบมาจากลังกา แต่เดิมประดิษฐานในอุโบสถหลังเก่าที่มีลักษณะเป็นแบบมหาอุตย์จนถึง พ.ศ.2495 เพราะเนื่องจากอุโบสถหลังเก่านี้ได้ทรุดโทรมตามกาลเวลา จึงได้อันเชิญพระประธานไปประดิษฐานยังอุโบสถหลังใหม่
ภายในพระอุโบสถยังมีจิตกรรมฝาผนังที่แม้จะเป็นงานเขียนที่เขียนขึ้นมาใหม่ในปี พ.ศ.2549 ด้วยสีอะครีลิก แต่ก็มีความวิจิตรสวยงาม ลักษณะของภาพแบ่งเป็น 4 ผนังคือ ผนังด้านที่1 ตอนมหาสุบินนิมิต ตอนประสูติ ตอนมหาภิเษกรมณ์ ตอนตรัสรู้ ผนังด้านที่ 2 ตอนเสด็จโปรดปัญจวคีย์ ตอนแสดงปาฏิหาริย์ ตอนเสด็จลงจากดาวดึงส์ ตอนปรินิพาน ผนังด้านที่3 (ผนังหุ้มกลองหลังพระประธาน) วาดเรื่องไตรภูมิ และผนังด้านสุดท้าย(ผนังหุ้มกลองด้านหน้าพระประธาน) วาดเป็นตอนมารผจญ โดยภาพจิตกรรมเหล่านี้จะวาดสอดแทรกประวัติศาสตร์ของวัดบางอ้อยช้างเข้าไปด้วย ได้แก่ ภาพวาดตอนร.5เสด็จมาบำเพ็ญพระราชกุศลทางชลมารค เป็นต้น
จากนั้นคุณธีรวัฒน์พาฉันเดินจากอุโบสถไปยังด้านริมน้ำ เพื่อไปกราบไหว้ "รอยพระพุทธบาทเบื้องซ้าย" อันประดิษฐานอยู่ภายในมณฑปที่จัดสร้างเมื่อปี พ.ศ.2535 ตกแต่งแบบไทยเดิมสวยสง่างาม รอยพระพุทธบาทนี้หล่อด้วยทองสำริดขนาด 54 นิ้ว กว้าง 19.5 นิ้ว หนัก190 กิโลกรัม โดยสันนิษฐานว่าท่านพระอธิการทองอยู่ เจ้าอาวาสวัดองค์แรกได้ธุดงด์ไปทางเหนือแล้วพบพระพุทธบาทในป่า และพระศาสดาที่พิษณุโลกเมื่อ พ.ศ.2339 จึงได้อาราธนาลงแพไม้ล่องลงมาประดิษฐาน ณ วัดบางอ้อยช้างแห่งนี้ ส่วนพระศาสดาปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
อีกแห่งหนึ่งที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท ได้แก่ที่ "ศาลาการเปรียญ" โดยเป็นภาพจิตกรรมลวดลายทองรอยพระพุทธบาทเบื้องขวาบนฝ้าเพดานไม้เหนือศีรษะ สันนิษฐานว่าน่าจะมีมานานแล้ว นอกจากนี้ภายในศาลาการเปรียญยังมีธรรมมาสน์บุษบกยอดมหากฐินที่เป็นศิลปะสมัยอยุธยาอันวิจิตสวยงามให้เห็นกันด้วย
นอกจากสิ่งน่าสนใจในวัดแล้ว บรรยากาศริมน้ำในวัดก็ดูสงบร่มเย็นเป็นสะอาดสะอ้านสบายตา ฉันขอแนะนำว่าใครที่ชมวัดและพิพิธภัณฑ์เสร็จแล้ว ลองมาแวะนั่งพักผ่อนหย่อนใจริมน้ำก่อนจะกลับก็ดีไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะจะได้ความอิ่มบรรยากาศ อิ่มใจ และอิ่มบุญ กลับบ้านไปแบบคุ้มค่าไม่น้อยเลย
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
วัดบางอ้อยช้าง ตั้งอยู่ที่ 79 บ้านบางอ้อยช้าง คลองบางกอกน้อย หมู่ที่ 2 ซ.บางกรวย-ไทรน้อย 29 ถ.บางกรวย-ไทรน้อย ต.บางสีทอง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี พิพิธภัณฑ์วัดบางอ้อยช้างเปิดทำการทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 09.00-13.00 น. หากต้องการเจ้าหน้าที่นำชมกรุณาติดต่อล่วงหน้า โดยผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร.0-2447-5124, 08-1268-1723
การเดินทางสู่วัดบางอ้อยช้าง จากถนนรัตนาธิเบศร์ฝั่งขาออกจากกรุงเทพฯ เลี้ยวซ้ายแยกเข้าถนนนครอินทร์ ตรงมาเรื่อยๆข้ามสะพานพระราม 5 ออกทางคู่ขนานแล้วเลี้ยงซ้ายไปเล็กน้อยฝั่งตรงข้ามจะเห็น ซ.บางกรวย-ไทรน้อย 29 มีซุ้มประตูวัดบางอ้อยช้างตรงเข้าไปสุดซอยจะเจอกับวัดบางอ้อยช้าง หรือมาจากทางถนนสิรินธรขาเข้า (ไปทางสะพานกรุงธน) เลี้ยงซ้ายเข้าถ.บางกรวย-ไทรน้อย ตรงไปเรื่อยๆจนถึงแยกที่จะเลี้ยวขวาขึ้นสะพานพระราม 5 ก่อนถึงแยกเล็กน้อยด้านซ้ายมือเป็น ซ.บางกรวย-ไทรน้อย 29 มีซุ้มประตูวัดบางอ้อยช้างตรงเข้าไปสุดซอยจะเจอกับวัดบางอ้อยช้าง ปัจจุบันมีเรือนำเที่ยวแวะขึ้นที่ท่าเรือวัดบางอ้อยช้างด้วย