โดย : ปิ่น บุตรี
ปกติ มะนาวมีรสเปรี้ยว
ปกติ ถ้าพูดถึง“อ่าวมะนาว” ขาเที่ยวส่วนใหญ่มักนึกถึงอ่าวมะนาวที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แต่อันที่จริงที่จังหวัดนราธิวาสก็มี“อ่าวมะนาว”เหมือนกัน
อ่าวมะนาวแห่งนี้ มีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในอุทยานแห่งชาติอ่าวมะนาว-เขาตันหยง ต.กะลุวอเหนือ อ.เมือง บนทางหลวงหมายเลข 4084(นราธิวาส-ตากใบ)
แรกเริ่มเดิมทีผมไม่ได้ตั้งใจไปอ่าวมะนาวหรอก เพราะที่นราฯเขามี“หาดนราทัศน์” อันสวยงาม ยาวร่วม 5 กิโลเมตรเป็นไฮไลท์ แถมอยู่ใกล้โรงแรมที่ผมไปพักอีกต่างหาก เวลาถามคนนราในตัวเมืองว่าทะเลที่ไหนน่าเที่ยวส่วนใหญ่เขาแนะนำที่นี่ทั้งนั้น
แต่ประทานโทษ สาวๆเพื่อนร่วมทริปของผมนี่สิเขาอยากไปซื้อผ้าบาติก แถมยังรู้อีกนะว่า แหล่งผลิตผ้าบาติกชั้นดีของนราธิวาสอยู่ที่ไหน
“เคยไปเดินเจอในงานท่องเที่ยวของททท.นะ เขาทำบาติกสวยทีเดียว อีกอย่างในสถานการณ์อย่างนี้เราควรช่วยสนับสนุนเขา”เธอบอกอย่างนั้น แน่นอนว่าผมสนับสนุนเต็มที่ ว่าแล้วเธอก็นำสู่แหล่งผลิตบาติกขึ้นชื่อ ซึ่งเมื่อใกล้ถึงจุดหมายรถพาเลี้ยวเข้าสู่อ่าวมะนาว
...อ้าวไหงเป็นอย่างนั้นล่ะ...ผมนึกในใจ
แต่เมื่อถึงจุดหมายผมจึงถึงบางอ้อว่า แหล่งทำบาติกอยู่ติดกับอ่าวมะนาวนี่เอง
ศูนย์บาติกที่นี่ตั้งชื่อง่ายๆตรงๆว่า“อ่าวมะนาวบาติก”เป็นโอทอประดับ 5 ดาวที่ชาวบ้านอ่าวมะนาวรวมกลุ่มกันผลิตตั้งแต่ปี 2536 ผลงานบาติกที่นี่จัดอยู่ในขั้นยอดเยี่ยม สวยเฉียบเนี๊ยบนิ๊ง ส่งขายในเมืองไทยไม่พอ ยังส่งขายขายถึงเมืองนอกเมืองนา สำหรับลวดลายส่วนใหญ่ที่วาดเขียนเป็นภาพธรรมชาติ ดอกไม้ ท้องทะเล อันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของชาวบ้าน
แต่น่าเสียดายว่าเหตุการณ์ความไม่สงบทำให้อ่าวมะนาวบาติกไม่ค่อยมีลูกค้ามาซื้อถึงแหล่งโดยตรง แต่กระนั้นบาติกที่นี่ก็งานเข้าอยู่ไม่ขาด มีออร์เดอร์สั่งมาอยู่เรื่อยๆ
อย่างไรก็ดีแม้บาติกที่นี่จะสวยเฉียบชนิดที่สาวๆเพื่อนร่วมทริปเห็นแล้ววี๊ดว๊ายกระตู้วู้ แต่กับคนอย่างผมที่สนใจในบาร์เหล้า บาร์เบียร์ มากกว่าบาติก งานนี้แรกๆก็ทนรอสาวๆเขาเดินเลือกสินค้ากันได้หรอก แต่พอสักพักพวกเธอเริ่มออกอาการ“อาร์ตตัวแม่” ผืนนี้ก็สวย ผืนโน่นก็งาม ผืนนั่นก็เจ๋ง สุดท้ายก็มาลงที่เราว่า“พี่ๆช่วยเลือกให้หน่อยสิ”
อ้าว แล้วคนไม่สนใจบาติกอย่างผมจะเลือกเป็นรึ ขืนเลือกไม่ถูกใจ อาจมีบริการโดนด่าหลังซื้อได้ ฉะนั้นเมื่อมีโอกาสชิ่งได้ ผมจึงชิ่งทันที โดนค่อยๆเดินเลี่ยงไปดูชาวบ้านลงสีบาติกที่หลังร้าน ก่อนจะหลบฉากแว่บตัดทะลุทางเดินเล็กๆออกสู่ “อ่าวมะนาว”ที่กินพื้นที่กว้างไกล
อ่าวมะนาว มีหาดทรายสะอาดทอดตัวเป็นแนวโค้งยาวร่วม 3-4 กิโลเมตร ท่ามกลางบรรยากาศของทิวสนริมทะเลอัน ร่มรื่น งามสงบ สงบจนดู“เหงา”ในความรู้สึกของผม เพราะในช่วงเวลานั้น ผมมองไปเห็นมีคนมาเที่ยวอยู่ 3 คนเอง เป็นคุณแม่ยังสาวชาวนราที่พาลูก 2คน ชาย-หญิง มาเล่นเครื่องเล่นในสนามเด็กเล่นริมชายหาด นอกจากนี้บริเวณนั้นยังมี สุนัข 1 ตัว เป็ด 2 ตัว แม่ไก่พร้อมลูก 6-7 ตัว และแพะอีก 1 ตัว เป็นแพะริมทะเลไม่ใช่แพะรับบาปอย่างที่เรามักพบกันในสตช.
อย่างไรก็ดีผมดูจะมีโชคกับนราฯไม่น้อย เพราะระหว่างที่ดูแพะอยู่เพลินๆมีคนในพื้นที่ทั้งเด็กและผู้ใหญ่เกือบ 10 คนมาสมทบ พวกเด็กๆมาหาที่เล่นน้ำทะเล ส่วนผู้ใหญ่มาพักผ่อน เดินเล่น ผมจึงเดินตามพวกเขาไปดูอ่าวมะนาวในมุมอื่นๆในเขตอุทยานฯที่มีสโลแกนชวนฟังว่า “หาดทรายสะอาด ป่าชายหาดเพลินตา ชื่นชมสัตว์ป่า นานาพืชพันธุ์”
ผมเดินไปถ่ายรูปไปท่ามกลางลมทะเลที่พัดพลิ้วปะทะร่าง ผสานไปกับเสียงเกลียวคลื่นม้วนกระทบฝั่งเป็นจังหวะจะโคนอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ถัดขึ้นไปบนบกในพื้นที่อุทยานฯก็ร่มรื่นไปด้วยป่าชายหาดอันอุดมสมบูรณ์ มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติให้ผู้สนใจเดินชมพืชพันธุ์ไม้กัน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นไม้ริมทะเลที่ชอบความแห้งแล้ง อย่าง จักทะเล เตยทะเล(มีผลคล้ายสับปะรด) รวมถึงมะนาวผีที่หากใครเชื่อคนง่าย ระวังจะถูกคนพาไปดู“มะนาวผีหลอก”เอาได้ง่ายๆ(หลอกว่าจะพาไปดูต้นมะนาวผีแต่ที่จริงพาไปดูต้นอะไรก็ไม่รู้)
พ้นจากเขตแนวโค้งหาดยาวไปหาดทรายเปลี่ยนลักษณะไปพอสมควร กลายเป็นเขตโขดหินสลับหาดทราย มีก้อนหินน้อยใหญ่ตั้งแทรกแซมบนพื้นทรายอยู่ทั่วไป โดยมี“หินเรือใบ”เป็นก้อนหินไฮไลท์ หินเรือใบอ่าวมะนาวเป็นก้อนหินใหญ่ 2 ก้อน ตั้งอยู่บนหาดทรายที่น้ำท่วมถึง ซึ่งดูแล้วให้ความรู้สึกต่างจากหินเรือใบเกาะสิมิลันที่ตั้งอยู่บนภูเขาหินริมทะเลพอสมควร
ส่วนอีกสิ่งหนึ่งที่ให้ความรู้สึกต่างไปจากเกาะสิมิลันคล้ายๆกันก็คือ ทะเลที่นี่ปัจจุบันดูเหงาจริงๆ ในวันนั้นนอกจากคณะผมแล้วไม่มีนักท่องเที่ยวต่างถิ่นที่อื่นคน มีแต่คนนรา คนพื้นที่ มาพักผ่อน เล่นน้ำทะเลกันประปรายตามอัตภาพ ซึ่งคุณแม่ยังสาวที่พาลูก 2 มาเล่นในสนามเด็กเล่น บอกกับผมในระหว่างที่พูดคุยกันสั้นๆช่วงขากลับที่ผมมาพบเธออีกครั้งว่า บ้านของเธออยู่แถวนี้ หลังเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบ นักท่องเที่ยวหายไปเลย(หายไปเกือบหมด) นานๆจะมีคนมาเที่ยวสักทีเป็นคนมาเลเซียและคนในยะลาปัตตานี
“คนจังหวัดอื่น(ที่ไม่ใช่ 3 จังหวัดชายแดนใต้) เขากลัวไม่กล้ามากัน ที่นี่จึงมีแต่คนพื้นที่เที่ยวกันเองแบบเหงาอย่างที่เห็นนี่แหละ”
เธอพูดแบบปลงๆ ส่วนผมฟังแล้วเศร้าใจพิกล เพราะหลังจากเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ต้องยอมรับว่า นราธิวาสเมืองที่มีศักยภาพทางการท่องเที่ยวในระดับสูงทั้งป่าเขาชายทะเล เสียโอกาสด้านอื่นๆไปเยอะเลย โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวนั้นนราเสียโอกาสไปอย่างเห็นได้อย่างชัดเจน
ยิ่งสื่อกระแสหลักหลายสำนักเลือกนำเสนอข่าวแบบเน้นความรุนแรง ยิ่งทำให้ภาพของนราฯดูไม่น่าเที่ยวมากขึ้น แต่จากการที่ผมได้ไปสัมผัสมา นราฯมีมุมดีๆมุมสวยๆงามๆอยู่เยอะเลย โดยเฉพาะรอยยิ้มและน้ำใจไมตรีของผู้คน ซึ่งผมได้แต่ภาวนาว่าขอให้เหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ยุติในเร็ววัน
ปกติ มะนาวมีรสเปรี้ยว
ปกติ ถ้าพูดถึง“อ่าวมะนาว” ขาเที่ยวส่วนใหญ่มักนึกถึงอ่าวมะนาวที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แต่อันที่จริงที่จังหวัดนราธิวาสก็มี“อ่าวมะนาว”เหมือนกัน
อ่าวมะนาวแห่งนี้ มีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในอุทยานแห่งชาติอ่าวมะนาว-เขาตันหยง ต.กะลุวอเหนือ อ.เมือง บนทางหลวงหมายเลข 4084(นราธิวาส-ตากใบ)
แรกเริ่มเดิมทีผมไม่ได้ตั้งใจไปอ่าวมะนาวหรอก เพราะที่นราฯเขามี“หาดนราทัศน์” อันสวยงาม ยาวร่วม 5 กิโลเมตรเป็นไฮไลท์ แถมอยู่ใกล้โรงแรมที่ผมไปพักอีกต่างหาก เวลาถามคนนราในตัวเมืองว่าทะเลที่ไหนน่าเที่ยวส่วนใหญ่เขาแนะนำที่นี่ทั้งนั้น
แต่ประทานโทษ สาวๆเพื่อนร่วมทริปของผมนี่สิเขาอยากไปซื้อผ้าบาติก แถมยังรู้อีกนะว่า แหล่งผลิตผ้าบาติกชั้นดีของนราธิวาสอยู่ที่ไหน
“เคยไปเดินเจอในงานท่องเที่ยวของททท.นะ เขาทำบาติกสวยทีเดียว อีกอย่างในสถานการณ์อย่างนี้เราควรช่วยสนับสนุนเขา”เธอบอกอย่างนั้น แน่นอนว่าผมสนับสนุนเต็มที่ ว่าแล้วเธอก็นำสู่แหล่งผลิตบาติกขึ้นชื่อ ซึ่งเมื่อใกล้ถึงจุดหมายรถพาเลี้ยวเข้าสู่อ่าวมะนาว
...อ้าวไหงเป็นอย่างนั้นล่ะ...ผมนึกในใจ
แต่เมื่อถึงจุดหมายผมจึงถึงบางอ้อว่า แหล่งทำบาติกอยู่ติดกับอ่าวมะนาวนี่เอง
ศูนย์บาติกที่นี่ตั้งชื่อง่ายๆตรงๆว่า“อ่าวมะนาวบาติก”เป็นโอทอประดับ 5 ดาวที่ชาวบ้านอ่าวมะนาวรวมกลุ่มกันผลิตตั้งแต่ปี 2536 ผลงานบาติกที่นี่จัดอยู่ในขั้นยอดเยี่ยม สวยเฉียบเนี๊ยบนิ๊ง ส่งขายในเมืองไทยไม่พอ ยังส่งขายขายถึงเมืองนอกเมืองนา สำหรับลวดลายส่วนใหญ่ที่วาดเขียนเป็นภาพธรรมชาติ ดอกไม้ ท้องทะเล อันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของชาวบ้าน
แต่น่าเสียดายว่าเหตุการณ์ความไม่สงบทำให้อ่าวมะนาวบาติกไม่ค่อยมีลูกค้ามาซื้อถึงแหล่งโดยตรง แต่กระนั้นบาติกที่นี่ก็งานเข้าอยู่ไม่ขาด มีออร์เดอร์สั่งมาอยู่เรื่อยๆ
อย่างไรก็ดีแม้บาติกที่นี่จะสวยเฉียบชนิดที่สาวๆเพื่อนร่วมทริปเห็นแล้ววี๊ดว๊ายกระตู้วู้ แต่กับคนอย่างผมที่สนใจในบาร์เหล้า บาร์เบียร์ มากกว่าบาติก งานนี้แรกๆก็ทนรอสาวๆเขาเดินเลือกสินค้ากันได้หรอก แต่พอสักพักพวกเธอเริ่มออกอาการ“อาร์ตตัวแม่” ผืนนี้ก็สวย ผืนโน่นก็งาม ผืนนั่นก็เจ๋ง สุดท้ายก็มาลงที่เราว่า“พี่ๆช่วยเลือกให้หน่อยสิ”
อ้าว แล้วคนไม่สนใจบาติกอย่างผมจะเลือกเป็นรึ ขืนเลือกไม่ถูกใจ อาจมีบริการโดนด่าหลังซื้อได้ ฉะนั้นเมื่อมีโอกาสชิ่งได้ ผมจึงชิ่งทันที โดนค่อยๆเดินเลี่ยงไปดูชาวบ้านลงสีบาติกที่หลังร้าน ก่อนจะหลบฉากแว่บตัดทะลุทางเดินเล็กๆออกสู่ “อ่าวมะนาว”ที่กินพื้นที่กว้างไกล
อ่าวมะนาว มีหาดทรายสะอาดทอดตัวเป็นแนวโค้งยาวร่วม 3-4 กิโลเมตร ท่ามกลางบรรยากาศของทิวสนริมทะเลอัน ร่มรื่น งามสงบ สงบจนดู“เหงา”ในความรู้สึกของผม เพราะในช่วงเวลานั้น ผมมองไปเห็นมีคนมาเที่ยวอยู่ 3 คนเอง เป็นคุณแม่ยังสาวชาวนราที่พาลูก 2คน ชาย-หญิง มาเล่นเครื่องเล่นในสนามเด็กเล่นริมชายหาด นอกจากนี้บริเวณนั้นยังมี สุนัข 1 ตัว เป็ด 2 ตัว แม่ไก่พร้อมลูก 6-7 ตัว และแพะอีก 1 ตัว เป็นแพะริมทะเลไม่ใช่แพะรับบาปอย่างที่เรามักพบกันในสตช.
อย่างไรก็ดีผมดูจะมีโชคกับนราฯไม่น้อย เพราะระหว่างที่ดูแพะอยู่เพลินๆมีคนในพื้นที่ทั้งเด็กและผู้ใหญ่เกือบ 10 คนมาสมทบ พวกเด็กๆมาหาที่เล่นน้ำทะเล ส่วนผู้ใหญ่มาพักผ่อน เดินเล่น ผมจึงเดินตามพวกเขาไปดูอ่าวมะนาวในมุมอื่นๆในเขตอุทยานฯที่มีสโลแกนชวนฟังว่า “หาดทรายสะอาด ป่าชายหาดเพลินตา ชื่นชมสัตว์ป่า นานาพืชพันธุ์”
ผมเดินไปถ่ายรูปไปท่ามกลางลมทะเลที่พัดพลิ้วปะทะร่าง ผสานไปกับเสียงเกลียวคลื่นม้วนกระทบฝั่งเป็นจังหวะจะโคนอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ถัดขึ้นไปบนบกในพื้นที่อุทยานฯก็ร่มรื่นไปด้วยป่าชายหาดอันอุดมสมบูรณ์ มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติให้ผู้สนใจเดินชมพืชพันธุ์ไม้กัน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นไม้ริมทะเลที่ชอบความแห้งแล้ง อย่าง จักทะเล เตยทะเล(มีผลคล้ายสับปะรด) รวมถึงมะนาวผีที่หากใครเชื่อคนง่าย ระวังจะถูกคนพาไปดู“มะนาวผีหลอก”เอาได้ง่ายๆ(หลอกว่าจะพาไปดูต้นมะนาวผีแต่ที่จริงพาไปดูต้นอะไรก็ไม่รู้)
พ้นจากเขตแนวโค้งหาดยาวไปหาดทรายเปลี่ยนลักษณะไปพอสมควร กลายเป็นเขตโขดหินสลับหาดทราย มีก้อนหินน้อยใหญ่ตั้งแทรกแซมบนพื้นทรายอยู่ทั่วไป โดยมี“หินเรือใบ”เป็นก้อนหินไฮไลท์ หินเรือใบอ่าวมะนาวเป็นก้อนหินใหญ่ 2 ก้อน ตั้งอยู่บนหาดทรายที่น้ำท่วมถึง ซึ่งดูแล้วให้ความรู้สึกต่างจากหินเรือใบเกาะสิมิลันที่ตั้งอยู่บนภูเขาหินริมทะเลพอสมควร
ส่วนอีกสิ่งหนึ่งที่ให้ความรู้สึกต่างไปจากเกาะสิมิลันคล้ายๆกันก็คือ ทะเลที่นี่ปัจจุบันดูเหงาจริงๆ ในวันนั้นนอกจากคณะผมแล้วไม่มีนักท่องเที่ยวต่างถิ่นที่อื่นคน มีแต่คนนรา คนพื้นที่ มาพักผ่อน เล่นน้ำทะเลกันประปรายตามอัตภาพ ซึ่งคุณแม่ยังสาวที่พาลูก 2 มาเล่นในสนามเด็กเล่น บอกกับผมในระหว่างที่พูดคุยกันสั้นๆช่วงขากลับที่ผมมาพบเธออีกครั้งว่า บ้านของเธออยู่แถวนี้ หลังเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบ นักท่องเที่ยวหายไปเลย(หายไปเกือบหมด) นานๆจะมีคนมาเที่ยวสักทีเป็นคนมาเลเซียและคนในยะลาปัตตานี
“คนจังหวัดอื่น(ที่ไม่ใช่ 3 จังหวัดชายแดนใต้) เขากลัวไม่กล้ามากัน ที่นี่จึงมีแต่คนพื้นที่เที่ยวกันเองแบบเหงาอย่างที่เห็นนี่แหละ”
เธอพูดแบบปลงๆ ส่วนผมฟังแล้วเศร้าใจพิกล เพราะหลังจากเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ต้องยอมรับว่า นราธิวาสเมืองที่มีศักยภาพทางการท่องเที่ยวในระดับสูงทั้งป่าเขาชายทะเล เสียโอกาสด้านอื่นๆไปเยอะเลย โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวนั้นนราเสียโอกาสไปอย่างเห็นได้อย่างชัดเจน
ยิ่งสื่อกระแสหลักหลายสำนักเลือกนำเสนอข่าวแบบเน้นความรุนแรง ยิ่งทำให้ภาพของนราฯดูไม่น่าเที่ยวมากขึ้น แต่จากการที่ผมได้ไปสัมผัสมา นราฯมีมุมดีๆมุมสวยๆงามๆอยู่เยอะเลย โดยเฉพาะรอยยิ้มและน้ำใจไมตรีของผู้คน ซึ่งผมได้แต่ภาวนาว่าขอให้เหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ยุติในเร็ววัน