เอเอฟพี – ประธานาธิบดีซุซิโล บัมบัง ยุโธโยโน แห่งอินโดนีเซีย เรียกร้องให้ประชาชนทั่วประเทศราว 234 ล้านคน พร้อมใจกันสวมใส่เสื้อผ้าบาติกในวันศุกร์ (2) เพื่อเฉลิมฉลองการที่องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) กำหนดจะขึ้นทะเบียนวิธีการทำผ้าบาติกของอินโดนีเซีย ให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ไม่อาจจับต้องได้ (Intangible Cultural Heritage) ของโลกในสัปดาห์นี้ ทำให้อินโดนีเซียอวดได้ว่าสามารถเอาชนะมาเลเซียที่ก็อ้างเช่นกันว่าผ้าบาติกเป็นมรดกของชาติตน
“ผมขอเรียกร้องให้ชาวอินโดนีเซียทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม พร้อมใจกันสวมเสื้อผ้าบาติกในวันที่ 2 ตุลาคม” ประธานาธิบดียุโธโยโนกล่าวกับสำนักข่าวอันตาราของทางการอินโดนีเซีย ในระหว่างที่ยังเข้าร่วมการประชุมผู้นำกลุ่มประเทศ “จี 20” ที่สหรัฐฯ
เขาบอกอีกว่าอินโดนีเซียควรจัด “งานปาร์ตี้บาติก” เพื่อประกาศให้โลกรู้ว่าผ้าดังกล่าวเป็นรูปแบบงานศิลปะที่สร้างสรรค์ขึ้นในอินโดนีเซีย
ก่อนหน้านี้ อินโดนีเซียเคยกล่าวหาว่ามาเลเซียขโมยเทคนิคและแนวคิดในการทำผ้าบาติกไปจากอินโดนีเซีย และตลอดจนขโมยท่าเต้นและบทเพลงไปใช้ในการโฆษณาประเทศมาเลเซียด้วย
ทว่า จูดี อัชจาดี ผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าบาติกจากสมาคมมรดกแห่งอินโดนีเซียกล่าวว่า การยอมรับของยูเนสโกครั้งนี้ไม่ได้หมายความว่ามาเลเซียซึ่งก็มีประเพณีการทำผ้าของตนเอง จะไม่มีสิทธิในการสร้างงานศิลปะจากผ้าบาติกอีก เพราะงานดังกล่าวแพร่หลายไปทั่วเอเชีย ตะวันออกกลาง และแอฟริกา
“จุดเน้นของความสำเร็จครั้งนี้ไม่ควรอยู่ที่ชัยชนะต่อมาเลเซีย” อัชจาดีกล่าว “ชาวมาเลเซียก็มีวิธีทำผ้าบาติกของตนเองเช่นกัน และนี่ไม่ใช่เรื่องที่จะหยุดยั้งการเผยแพร่ผ้าบาติกแบบมาเลเซียด้วย”
ผ้าบาติกชั้นดีผืนหนึ่งมีราคาราว 600 ดอลลาร์ ซึ่งนับว่าแพงมากทีเดียว ในขณะที่การทำผ้าบาติกแต่ละผืนก็ต้องใช้แรงงานถึง 6 คนเป็นเวลาถึงหนึ่งปีเต็ม
“ผมขอเรียกร้องให้ชาวอินโดนีเซียทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม พร้อมใจกันสวมเสื้อผ้าบาติกในวันที่ 2 ตุลาคม” ประธานาธิบดียุโธโยโนกล่าวกับสำนักข่าวอันตาราของทางการอินโดนีเซีย ในระหว่างที่ยังเข้าร่วมการประชุมผู้นำกลุ่มประเทศ “จี 20” ที่สหรัฐฯ
เขาบอกอีกว่าอินโดนีเซียควรจัด “งานปาร์ตี้บาติก” เพื่อประกาศให้โลกรู้ว่าผ้าดังกล่าวเป็นรูปแบบงานศิลปะที่สร้างสรรค์ขึ้นในอินโดนีเซีย
ก่อนหน้านี้ อินโดนีเซียเคยกล่าวหาว่ามาเลเซียขโมยเทคนิคและแนวคิดในการทำผ้าบาติกไปจากอินโดนีเซีย และตลอดจนขโมยท่าเต้นและบทเพลงไปใช้ในการโฆษณาประเทศมาเลเซียด้วย
ทว่า จูดี อัชจาดี ผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าบาติกจากสมาคมมรดกแห่งอินโดนีเซียกล่าวว่า การยอมรับของยูเนสโกครั้งนี้ไม่ได้หมายความว่ามาเลเซียซึ่งก็มีประเพณีการทำผ้าของตนเอง จะไม่มีสิทธิในการสร้างงานศิลปะจากผ้าบาติกอีก เพราะงานดังกล่าวแพร่หลายไปทั่วเอเชีย ตะวันออกกลาง และแอฟริกา
“จุดเน้นของความสำเร็จครั้งนี้ไม่ควรอยู่ที่ชัยชนะต่อมาเลเซีย” อัชจาดีกล่าว “ชาวมาเลเซียก็มีวิธีทำผ้าบาติกของตนเองเช่นกัน และนี่ไม่ใช่เรื่องที่จะหยุดยั้งการเผยแพร่ผ้าบาติกแบบมาเลเซียด้วย”
ผ้าบาติกชั้นดีผืนหนึ่งมีราคาราว 600 ดอลลาร์ ซึ่งนับว่าแพงมากทีเดียว ในขณะที่การทำผ้าบาติกแต่ละผืนก็ต้องใช้แรงงานถึง 6 คนเป็นเวลาถึงหนึ่งปีเต็ม