โดย : หนุ่มลูกทุ่ง
มีเพื่อนฝูงรุ่นน้องมาเล่าให้ฟังว่า คุณแม่ทักเขาว่าเสื้อลูกไม้ที่ใส่เหมือนของคุณยายเลย บางก็ว่าชุดสมัยนี้คล้ายกับย้อนยุคกลับไปสู่สมัยอดีต เช่น เสื้อลูกไม้แขนพอง เสื้อไม่มีแขนไม่มีคอคล้ายเสื้อคอกระเช้า ชุดเดรสหรือกางเกงยกเอวสูง ฉันเห็นแล้วก็ทำให้ฉันนึกอยากที่จะย้อนกลับไปดูว่าผู้หญิงในสมัยก่อนเขาแต่งกายกับแบบใด
ความอยากรู้ทำให้ฉันเดินทางมายัง “ศูนย์สปันอารยวัฒนศิลป์” หรือ “สปัน แกลเลอรี่” ซึ่งตั้งอยู่ภายในโรงเรียนนานาชาติชาร์เตอร์ ถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ซึ่งศูนย์สปันนี้เกิดจากความชอบ ใจรัก และฝีมือในด้านศิลปวัฒนธรรมและการตับเย็บเสื้อผ้าของ “สปัน เธียรประสิทธิ์” ที่มีความสนใจในเรื่องของเสื้อผ้า และการออกแบบเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายสมัยโบราณทั้งของชาวไทยและประเทศตะวันตกเรื่อยมาจนปัจจุบัน ภายในศูนย์สปันจึงได้เต็มไปด้วยเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายตามยุคสมัยต่างๆทั้งของไทยและนานาประเทศ
เมื่อเข้าไปถึงศูนย์สปันฉันได้รู้จักกับคุณสปันจากภาพถ่ายและข่าวมากมายทางด้านหน้าศูนย์ฯ เมื่อรู้จักคุณสปันแล้วก็ได้ก้าวเข้าไปยังส่วนของการจัดแสดง “การแต่งกายของไทยในอดีต” เริ่มตั้งแต่สมัยที่ประเทศไทยยังเป็นอาณาจักรต่างๆ เช่น ทวาราวดี สมัยนั้นผู้คนจะนุ่งผ้าซิ่นจีบ ย้อมสีกลัก ใช้ผ้าฝ้ายเนื้อบางเป็นสะไบเฉียงเป็นจีบตามยาว
การแต่งกายของผู้หญิงในสมัยลพบุรีจะนิยมประดับศีรษะด้วยเทริด ไม่สวมเสื้อ กรองคอมีลวดลายเป็นแผ่นใหญ่ ตุ้มหูทำเป็นเบ็ดคว่ำซ้อนเหลื่อมเรียวลงมาหลายชั้น สวมกำไลต้นแขนและที่มือทั้ง 2 ข้าง นุ่งผ้าให้ชายซ้อนกันตรงหน้า แล้วปล่อยชายออก 2 ข้างปลี คาดเข็มขัดขนาดใหญ่มีลวดลายวิจิตร
ส่วนของสมัยสุโขทัยการแต่งกายได้รับอิทธิพลของขอม และมีการสู้รบกันบ่อยครั้ง ผู้หญิงในสมัยจึงนุ่งผ้าหยักรั้งไปให้สูงเพื่อความทะมัดทะแมง ต่อมาในสมัยอยุธยา หญิงสมัยนั้นนาฏศิลป์รุ่งเรืองมาก สตรีไทยหันมานุ่งซิ่นยก จีบหน้า ห่มตาด และชุดในงานพิธีจะเป็นเสื้อริ้วทองทำจากไหมสลับเส้นทองแล่น แล้วห่มสะไบทับ
จากสมัยอยุธยาก็มาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ผู้หญิงในช่วงรัชกาลที่ 1– 3 จะนุ่งผ้าจีบห่มสะไบเฉียงนุ่งโจงกระเบนดอกหรือผ้านุ่งจีบเหมือนสมัยอยุธยา ต่อมาในช่วงสมัยรัชกาลที่ 4 จะนุ่งผ้าลายโจงกระเบน ใส่เสื้อคอปิดแขนยาว ห่มสะไบเฉียงทับตัวเสื้ออีกทีหนึ่ง
มาในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ประมาณ พ.ศ.2411-2453 ผู้หญิงส่วนมากหันมานิยมเสื้อแบบตะวันตก คอตั้งแขนยาว ต้นคอพอง มีผ้าห่มหรือแพรสะไบเฉียงทับเสื้ออีกทีหนึ่ง ทรงผมจะนิยมไว้ยาวเสมอต้นคอ เครื่องประดับที่เด่นชัดได้แก่ สร้อยสังวาลย์ เข็มขัดทอง และในช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ 5 ผู้หญิงหันมานุ่งโจงกระเบน นิยมใช้ผ้าแพร ไหม ผ้าลูกไม้ และตัดแบบชาวตะวันตก คือ คอตั้งสูง แขนยาวฟูฟ่อง เอวเสือจีบเข้ารูป คาดเข็มขัด แต่ก็ยังคงห่มสะไบแพรอยู่ เครื่องประดับจะนิยมเป็นสร้อยไข่มุกซ้อนกันหลายๆสาย และในช่วงนี้เองที่ผู้หญิงจะสวมถุงเท้าที่มีลวดลายปักสี และเริ่มสวมรองเท้าส้นสูง
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 จะนุ่งผ้าซิ่นตามพระราชนิยม สวมเสื้อตัวยาวหลวมๆทับซิ่นอีกทีหนึ่ง ส่วนมากเป็นผ้าลูกไม้ฝรั่งปักลวดลายด้วยลูกปัดและไข่มุก ทรงผมจะปล่อยสบายๆแล้วใช้ผ้าคาดศีรษะ บางก็เกล้ามวยแบบฝรั่ง ส่วนในสมัยรัชกาลที่ 7- รัชกาลที่8 การแต่งกายเปลี่ยนแปลงเป็นแบบตะวันตก โดยในช่วงที่จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นช่วงที่สถานการณ์บ้านเมืองวิกฤตอย่างรุนแรงทั้งในยุโรปและเอเชียจนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางประเพณี และวัฒนธรรมของไทยหลายประการ ได้มีการยกเลิกการใช้ผ้าโจงกระเบน ไม่ใช้ผ้าคาดอกผืนเดียวปกปิดท่อนบน ให้เปลี่ยนมาเป็นนุ่งผ้าถุงและใส่เสื้อแทน และต่อมาก็ได้มีการขอความร่วมมือให้สตรีไทยสวมหมวก นุ่งกระโปรง สวมรองเท้า
ในส่วนจัดแสดงถัดมาคือ “การแต่งกายชุดประจำชาติ” ได้แก่ ชุดไทยเรือนต้น ซึ่งก็คือ ชุดไทยแบบลำลอง เป็นลักษณะเสื้อเป็นผ้าฝ้ายหรือผ้าไหม แขนกระบอกสามส่วนกว้างพอสบาย ผ่าอก กระดุม 5 เม็ด คอกลมตื้นไม่มีขอบตั้ง นุ่งกับผ้าซิ่นยาวจรดข้อเท้าป้ายหน้า ใช้ในโอกาสไปวัด ทำบุญ หรืองานมงคลต่างๆ ในตอนเช้า
ต่อไปเป็นชุดไทยจิตรลดา หรือชุดไทยที่มักใส่ในพิธีตอนกลางวัน ใช้ผ้าไหมตัดเป็นเสื้อแขนกระบอกแขนยาว ผ่าอก คอกลม มีขอบตั้งเล็กน้อย นุ่งกับผ้าซิ่นยาวป้ายหน้าอย่างแบบไทยเรือนต้น ใช้ในงานที่ผู้ชายแต่งเต็มยศ เช่น รับประมุขที่มาเยือนอย่างเป็นทางการ และในงานมงคลต่างๆ
มาถึงชุดในพิธีตอนค่ำ หรือชุดไทยอมรินทร์ เสื้อจะเป็นแขนยาว คอกลมตั้งติดคอ นุ่งกับผ้าซิ่นป้าย ความสวยงามอยู่ที่เนื้อผ้า มักจะใส่ในงานพิธี เช่น งานเลี้ยงรับรอง ไปดูละครในตอนค่ำ และเฉพาะในงานพระราชพิธีสวนสนามในวันเฉลิมพระชนมพรรษาจะประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ด้วย
ชุดต่อไปก็เป็นชุดที่ใส่ในพิธีตอนค่ำเช่นกันคือ ชุดไทยบรมพิมาน เสื้อจะเป็นลักษณะเข้ารูป แขนกระบอก คอตั้งติดคอ ผ่าหลัง ตัวซิ่นเป็นซิ่นไหมยกดิ้นทองตัดแบบหน้านางมีชายพกยาวจรดข้อเท้า ซึ่งตัวเสื้อและซิ่นจะตัดติดกันหรือแยกกันก็ได้ มักคาดเข็มขัด และใช่ในงานเต้มยศ เช่น งานอุทยานสโมสร หรืองานพระราชทานเลี้ยงอาหารอย่างเป็นทางการ งานฉลองสมรส เป็นต้น
หุ่นถัดไปคือ ชุดไทยจักรี เป็นชุดที่เสื้อตัวในไม่มีแขนไม่มีคอ ห่มทับด้วยสะไบแบบมีชายเดียว ปักดิ้นทอง นุ่งกับซิ่นไหมยกดิ้นทองตัดแบบหน้านาง มีชายพก คาดเข็มขัด ใส่เครื่องประดับต่างๆ นิยมใส่ในงานเลี้ยงฉลองสมรส หรือราตรีสโมสรที่ไม่เป็นทางการ ต่อไปคือ ชุดไทยจักรพรรดิ ซึ่งเป็นชุดห่มสะไบคล้ายไทยจักรี แต่เป็นพีธีรีตรองมากกว่า โดยท่อนบนมีสะไบจีบรองสะไบทึบ ปักเต็มยศบนสะไบชั้นนอก ตกแต่งด้วยเครื่องประดับอย่างสวยงาม ใช้ในงานกลางคืนที่หรูหรา หรือเป็นชุดเจ้าสาว
ส่วนชุดไทยดุสิต เป็นชุดเข้ารูปที่คอกว้าง ไม่มีแขน ปักแต่งลายไทยด้วยลูกปัด นุ่งกับผ้าซิ่นไหมยกดิ้นทอง ใช้ในงานกลางคืนแทนราตรีแบบตะวันตก หรือในงานราตรีสโมสร และสุดท้ายคือ ชุดไทยศิวาลัย คล้ายชุดไทยบรมพิมาย แต่เสื้อตัวในจะไม่มีคอ ไม่มีแขน ห่มทับด้วยสะไบปักทับเสื้ออีกชั้นหนึ่ง มักใช้ในงานเลี้ยงฉลองมงคลสมรส งานพระราชพิธี หรืองานเต็มยศ
ต่อไปเป็นส่วนของการจัดแสดงชุด “เครื่องแต่งกายนานาชาติ” โดยเริ่มที่ประเทศอียิปต์ ที่ใส่ชุดคลุมมิดชิดสวมหมวกประดับด้วยงู ชาวบาบิโลเนียน จะสวมชุดทูนิค เป็นเสื้อตัวตรงๆมีครุยตามชายเสื้อและใช้ผ้าคลุมไหล่ประดับชายด้วยครุยเช่นกัน ชุดของชาวกรีก และชาวโรมัน ที่มีลักษณะคล้ายกันคือสวมชุดทูนิคที่มีลักษณะทรงตรงและหลวมข้างใน ชาวเปอร์เซียส่วมเครื่องแต่งกายเช่นเดียวกับชาวกรีกและโรมัน และได้มีการนำความคิดของชาวบาบิโลเนียนมาด้วยเช่นตกแต่งครุยและขนนก แต่ชาวเปอร์เซียได้มีการริเริ่มเย็บเสื้อคลุมที่มีแขนกว้างและมีเสื้อที่ต่อแขนเป็นชาติแรก
ถัดไปเป็นชุดของคุณผู้หญิงชาวอิตาเลียนในสมัยกลางมีการใช้เสื้อรัดทรงเป็นครั้งแรก และสวมกระโปรงติดกันแทนชุดทูนิค โดยตัวกระโปรงเริ่มเห็นเป็นพองกลมเปิดด้านหน้าสองข้างและติดลูกไม้ และนิยมใช้ผ้าคลุมศีรษะด้วย ส่วนในประเทศฝรั่งเศสสมัยกลางช่วงศตวรรษที่ 15 นิยมเสื้อที่เรียกว่าลาโรป มีลักษณะเข้ารูปตรงเอว แขนคับ กระโปรงยาวกางออกคล้ายรูประฆัง
และในช่วงที่ฝรั่งเศสฟื้นฟูในสมัยพระเจ้าเฮนรี่ที่ 4 ตัวเสื้อของคุณผู้หญิงจะมีจีบที่คอหลังให้บานเหมือนพัด โดยที่ปกใช้โครงลวดตรึงติดกับผ้าที่จีบ รัดทรงตรงเอว บริเวณสะโพกหนุนด้วยหมอน กระโปรงจะกางออกจากช่วงเอวเป็นวงกลมโดยใช้โครงเหล็ก จนมาในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เสื้อผ้าสตรีก็ยังคงนิยมใช้เครื่องรัดทรงอยู่ รูปทรงของเสื้อมีลักษณะรัดอก คอกว้างตกแต่งด้วยลูกไม้ เอวเล็ก แขนจีบพองรัดเป็นปล้องติดลูกไม้ กระโปรงจีบพอง 2 ชั้น
สำหรับในส่วนของประเทศอังกฤษ ในสมัยของพระนางเจ้าเอลิซาเบธ ตัวเสื้อคอต่ำมีปกและพองรอบคอ มีเสื้อคลุมตกแต่งด้วยลูกไม้ลักษณะคล้ายปีก กระโปรงมีชั้นใน 2 ชั้น ส่วนชั้นนอกจะเปิดแยกตรงกลางเผยให้เห็นกระโปรงตัวในซึ่งตกแต่งอย่างสวยงาม นอกจากนี้ยังมีชุดของหลากหลายประเทศในแต่ละช่วงสมัย และยังมีการจัดแสดงชุดแต่งงานหลากแบบของครอบครัวตระกูลเธียรประสิทธิ์อีกด้วย
และในส่วนแสดงต่อมาเป็นการจัดแสดงผลงานการปั้นจิ๋วของคุณสปัน โดยจำลองแบบเมืองตุ๊กตา วิถีชีวิต ประเพณีวัฒนธรรม ของคนไทยในอดีต เช่น การแห่ขันหมาก การรดน้ำสังข์ การทำบุญเลี้ยงพระ งานประเพณีทั้ง 12 เดือน และวรรณคดีไทย เช่น สังข์ทอง รามเกียรติ์ พระอภัยมณี เงาะป่า เวนิสวานิช เป็นต้น
ชมสารพัดชุดในหลากหลายประเทศแล้ว ก็ต้องขอยกนิ้วให้กับคุณผู้หญิงเลยทีเดียวโดยเฉพาะในต่างประเทศ เพราะกว่าจะแต่งตัวได้มีหลายขั้นตอนจริงๆ สำหรับผู้ที่ชื่นชอบพวกเสื้อผ้าอาภรณ์ล่ะก็มาที่ศูนย์สปันแห่งนี้ไม่ผิดหวังเป็นแน่
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
ศูนย์สปันอารยวัฒนศิลป์ ตั้งอยู่ในโรงเรียนนานาชาติชาร์เตอร์ ถ.เฉลิมพระเกียรติ ร.9 เขตประเวศ กรุงเทพฯ เปิดบริการทุกวัน เวลา 09.30-15.00 น. โดยในทุกวันพุธเข้าชมฟรี ผู้ที่สนใจเข้าเยี่ยมชมกรุณาติดต่อล่วงหน้าที่เบอร์ 0-2726-8283-4 นอกจากนี้ในเวลาเย็นๆยังสามารถเดินเล่นชมวิวอันเขียวขจีพร้อมลมพัดโชยอ่อนๆในบริเวณสวนหลวง ร.9 ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ๆกับศูนย์สปันฯได้อีกด้วย
มีเพื่อนฝูงรุ่นน้องมาเล่าให้ฟังว่า คุณแม่ทักเขาว่าเสื้อลูกไม้ที่ใส่เหมือนของคุณยายเลย บางก็ว่าชุดสมัยนี้คล้ายกับย้อนยุคกลับไปสู่สมัยอดีต เช่น เสื้อลูกไม้แขนพอง เสื้อไม่มีแขนไม่มีคอคล้ายเสื้อคอกระเช้า ชุดเดรสหรือกางเกงยกเอวสูง ฉันเห็นแล้วก็ทำให้ฉันนึกอยากที่จะย้อนกลับไปดูว่าผู้หญิงในสมัยก่อนเขาแต่งกายกับแบบใด
ความอยากรู้ทำให้ฉันเดินทางมายัง “ศูนย์สปันอารยวัฒนศิลป์” หรือ “สปัน แกลเลอรี่” ซึ่งตั้งอยู่ภายในโรงเรียนนานาชาติชาร์เตอร์ ถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ซึ่งศูนย์สปันนี้เกิดจากความชอบ ใจรัก และฝีมือในด้านศิลปวัฒนธรรมและการตับเย็บเสื้อผ้าของ “สปัน เธียรประสิทธิ์” ที่มีความสนใจในเรื่องของเสื้อผ้า และการออกแบบเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายสมัยโบราณทั้งของชาวไทยและประเทศตะวันตกเรื่อยมาจนปัจจุบัน ภายในศูนย์สปันจึงได้เต็มไปด้วยเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายตามยุคสมัยต่างๆทั้งของไทยและนานาประเทศ
เมื่อเข้าไปถึงศูนย์สปันฉันได้รู้จักกับคุณสปันจากภาพถ่ายและข่าวมากมายทางด้านหน้าศูนย์ฯ เมื่อรู้จักคุณสปันแล้วก็ได้ก้าวเข้าไปยังส่วนของการจัดแสดง “การแต่งกายของไทยในอดีต” เริ่มตั้งแต่สมัยที่ประเทศไทยยังเป็นอาณาจักรต่างๆ เช่น ทวาราวดี สมัยนั้นผู้คนจะนุ่งผ้าซิ่นจีบ ย้อมสีกลัก ใช้ผ้าฝ้ายเนื้อบางเป็นสะไบเฉียงเป็นจีบตามยาว
การแต่งกายของผู้หญิงในสมัยลพบุรีจะนิยมประดับศีรษะด้วยเทริด ไม่สวมเสื้อ กรองคอมีลวดลายเป็นแผ่นใหญ่ ตุ้มหูทำเป็นเบ็ดคว่ำซ้อนเหลื่อมเรียวลงมาหลายชั้น สวมกำไลต้นแขนและที่มือทั้ง 2 ข้าง นุ่งผ้าให้ชายซ้อนกันตรงหน้า แล้วปล่อยชายออก 2 ข้างปลี คาดเข็มขัดขนาดใหญ่มีลวดลายวิจิตร
ส่วนของสมัยสุโขทัยการแต่งกายได้รับอิทธิพลของขอม และมีการสู้รบกันบ่อยครั้ง ผู้หญิงในสมัยจึงนุ่งผ้าหยักรั้งไปให้สูงเพื่อความทะมัดทะแมง ต่อมาในสมัยอยุธยา หญิงสมัยนั้นนาฏศิลป์รุ่งเรืองมาก สตรีไทยหันมานุ่งซิ่นยก จีบหน้า ห่มตาด และชุดในงานพิธีจะเป็นเสื้อริ้วทองทำจากไหมสลับเส้นทองแล่น แล้วห่มสะไบทับ
จากสมัยอยุธยาก็มาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ผู้หญิงในช่วงรัชกาลที่ 1– 3 จะนุ่งผ้าจีบห่มสะไบเฉียงนุ่งโจงกระเบนดอกหรือผ้านุ่งจีบเหมือนสมัยอยุธยา ต่อมาในช่วงสมัยรัชกาลที่ 4 จะนุ่งผ้าลายโจงกระเบน ใส่เสื้อคอปิดแขนยาว ห่มสะไบเฉียงทับตัวเสื้ออีกทีหนึ่ง
มาในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ประมาณ พ.ศ.2411-2453 ผู้หญิงส่วนมากหันมานิยมเสื้อแบบตะวันตก คอตั้งแขนยาว ต้นคอพอง มีผ้าห่มหรือแพรสะไบเฉียงทับเสื้ออีกทีหนึ่ง ทรงผมจะนิยมไว้ยาวเสมอต้นคอ เครื่องประดับที่เด่นชัดได้แก่ สร้อยสังวาลย์ เข็มขัดทอง และในช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ 5 ผู้หญิงหันมานุ่งโจงกระเบน นิยมใช้ผ้าแพร ไหม ผ้าลูกไม้ และตัดแบบชาวตะวันตก คือ คอตั้งสูง แขนยาวฟูฟ่อง เอวเสือจีบเข้ารูป คาดเข็มขัด แต่ก็ยังคงห่มสะไบแพรอยู่ เครื่องประดับจะนิยมเป็นสร้อยไข่มุกซ้อนกันหลายๆสาย และในช่วงนี้เองที่ผู้หญิงจะสวมถุงเท้าที่มีลวดลายปักสี และเริ่มสวมรองเท้าส้นสูง
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 จะนุ่งผ้าซิ่นตามพระราชนิยม สวมเสื้อตัวยาวหลวมๆทับซิ่นอีกทีหนึ่ง ส่วนมากเป็นผ้าลูกไม้ฝรั่งปักลวดลายด้วยลูกปัดและไข่มุก ทรงผมจะปล่อยสบายๆแล้วใช้ผ้าคาดศีรษะ บางก็เกล้ามวยแบบฝรั่ง ส่วนในสมัยรัชกาลที่ 7- รัชกาลที่8 การแต่งกายเปลี่ยนแปลงเป็นแบบตะวันตก โดยในช่วงที่จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นช่วงที่สถานการณ์บ้านเมืองวิกฤตอย่างรุนแรงทั้งในยุโรปและเอเชียจนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางประเพณี และวัฒนธรรมของไทยหลายประการ ได้มีการยกเลิกการใช้ผ้าโจงกระเบน ไม่ใช้ผ้าคาดอกผืนเดียวปกปิดท่อนบน ให้เปลี่ยนมาเป็นนุ่งผ้าถุงและใส่เสื้อแทน และต่อมาก็ได้มีการขอความร่วมมือให้สตรีไทยสวมหมวก นุ่งกระโปรง สวมรองเท้า
ในส่วนจัดแสดงถัดมาคือ “การแต่งกายชุดประจำชาติ” ได้แก่ ชุดไทยเรือนต้น ซึ่งก็คือ ชุดไทยแบบลำลอง เป็นลักษณะเสื้อเป็นผ้าฝ้ายหรือผ้าไหม แขนกระบอกสามส่วนกว้างพอสบาย ผ่าอก กระดุม 5 เม็ด คอกลมตื้นไม่มีขอบตั้ง นุ่งกับผ้าซิ่นยาวจรดข้อเท้าป้ายหน้า ใช้ในโอกาสไปวัด ทำบุญ หรืองานมงคลต่างๆ ในตอนเช้า
ต่อไปเป็นชุดไทยจิตรลดา หรือชุดไทยที่มักใส่ในพิธีตอนกลางวัน ใช้ผ้าไหมตัดเป็นเสื้อแขนกระบอกแขนยาว ผ่าอก คอกลม มีขอบตั้งเล็กน้อย นุ่งกับผ้าซิ่นยาวป้ายหน้าอย่างแบบไทยเรือนต้น ใช้ในงานที่ผู้ชายแต่งเต็มยศ เช่น รับประมุขที่มาเยือนอย่างเป็นทางการ และในงานมงคลต่างๆ
มาถึงชุดในพิธีตอนค่ำ หรือชุดไทยอมรินทร์ เสื้อจะเป็นแขนยาว คอกลมตั้งติดคอ นุ่งกับผ้าซิ่นป้าย ความสวยงามอยู่ที่เนื้อผ้า มักจะใส่ในงานพิธี เช่น งานเลี้ยงรับรอง ไปดูละครในตอนค่ำ และเฉพาะในงานพระราชพิธีสวนสนามในวันเฉลิมพระชนมพรรษาจะประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ด้วย
ชุดต่อไปก็เป็นชุดที่ใส่ในพิธีตอนค่ำเช่นกันคือ ชุดไทยบรมพิมาน เสื้อจะเป็นลักษณะเข้ารูป แขนกระบอก คอตั้งติดคอ ผ่าหลัง ตัวซิ่นเป็นซิ่นไหมยกดิ้นทองตัดแบบหน้านางมีชายพกยาวจรดข้อเท้า ซึ่งตัวเสื้อและซิ่นจะตัดติดกันหรือแยกกันก็ได้ มักคาดเข็มขัด และใช่ในงานเต้มยศ เช่น งานอุทยานสโมสร หรืองานพระราชทานเลี้ยงอาหารอย่างเป็นทางการ งานฉลองสมรส เป็นต้น
หุ่นถัดไปคือ ชุดไทยจักรี เป็นชุดที่เสื้อตัวในไม่มีแขนไม่มีคอ ห่มทับด้วยสะไบแบบมีชายเดียว ปักดิ้นทอง นุ่งกับซิ่นไหมยกดิ้นทองตัดแบบหน้านาง มีชายพก คาดเข็มขัด ใส่เครื่องประดับต่างๆ นิยมใส่ในงานเลี้ยงฉลองสมรส หรือราตรีสโมสรที่ไม่เป็นทางการ ต่อไปคือ ชุดไทยจักรพรรดิ ซึ่งเป็นชุดห่มสะไบคล้ายไทยจักรี แต่เป็นพีธีรีตรองมากกว่า โดยท่อนบนมีสะไบจีบรองสะไบทึบ ปักเต็มยศบนสะไบชั้นนอก ตกแต่งด้วยเครื่องประดับอย่างสวยงาม ใช้ในงานกลางคืนที่หรูหรา หรือเป็นชุดเจ้าสาว
ส่วนชุดไทยดุสิต เป็นชุดเข้ารูปที่คอกว้าง ไม่มีแขน ปักแต่งลายไทยด้วยลูกปัด นุ่งกับผ้าซิ่นไหมยกดิ้นทอง ใช้ในงานกลางคืนแทนราตรีแบบตะวันตก หรือในงานราตรีสโมสร และสุดท้ายคือ ชุดไทยศิวาลัย คล้ายชุดไทยบรมพิมาย แต่เสื้อตัวในจะไม่มีคอ ไม่มีแขน ห่มทับด้วยสะไบปักทับเสื้ออีกชั้นหนึ่ง มักใช้ในงานเลี้ยงฉลองมงคลสมรส งานพระราชพิธี หรืองานเต็มยศ
ต่อไปเป็นส่วนของการจัดแสดงชุด “เครื่องแต่งกายนานาชาติ” โดยเริ่มที่ประเทศอียิปต์ ที่ใส่ชุดคลุมมิดชิดสวมหมวกประดับด้วยงู ชาวบาบิโลเนียน จะสวมชุดทูนิค เป็นเสื้อตัวตรงๆมีครุยตามชายเสื้อและใช้ผ้าคลุมไหล่ประดับชายด้วยครุยเช่นกัน ชุดของชาวกรีก และชาวโรมัน ที่มีลักษณะคล้ายกันคือสวมชุดทูนิคที่มีลักษณะทรงตรงและหลวมข้างใน ชาวเปอร์เซียส่วมเครื่องแต่งกายเช่นเดียวกับชาวกรีกและโรมัน และได้มีการนำความคิดของชาวบาบิโลเนียนมาด้วยเช่นตกแต่งครุยและขนนก แต่ชาวเปอร์เซียได้มีการริเริ่มเย็บเสื้อคลุมที่มีแขนกว้างและมีเสื้อที่ต่อแขนเป็นชาติแรก
ถัดไปเป็นชุดของคุณผู้หญิงชาวอิตาเลียนในสมัยกลางมีการใช้เสื้อรัดทรงเป็นครั้งแรก และสวมกระโปรงติดกันแทนชุดทูนิค โดยตัวกระโปรงเริ่มเห็นเป็นพองกลมเปิดด้านหน้าสองข้างและติดลูกไม้ และนิยมใช้ผ้าคลุมศีรษะด้วย ส่วนในประเทศฝรั่งเศสสมัยกลางช่วงศตวรรษที่ 15 นิยมเสื้อที่เรียกว่าลาโรป มีลักษณะเข้ารูปตรงเอว แขนคับ กระโปรงยาวกางออกคล้ายรูประฆัง
และในช่วงที่ฝรั่งเศสฟื้นฟูในสมัยพระเจ้าเฮนรี่ที่ 4 ตัวเสื้อของคุณผู้หญิงจะมีจีบที่คอหลังให้บานเหมือนพัด โดยที่ปกใช้โครงลวดตรึงติดกับผ้าที่จีบ รัดทรงตรงเอว บริเวณสะโพกหนุนด้วยหมอน กระโปรงจะกางออกจากช่วงเอวเป็นวงกลมโดยใช้โครงเหล็ก จนมาในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เสื้อผ้าสตรีก็ยังคงนิยมใช้เครื่องรัดทรงอยู่ รูปทรงของเสื้อมีลักษณะรัดอก คอกว้างตกแต่งด้วยลูกไม้ เอวเล็ก แขนจีบพองรัดเป็นปล้องติดลูกไม้ กระโปรงจีบพอง 2 ชั้น
สำหรับในส่วนของประเทศอังกฤษ ในสมัยของพระนางเจ้าเอลิซาเบธ ตัวเสื้อคอต่ำมีปกและพองรอบคอ มีเสื้อคลุมตกแต่งด้วยลูกไม้ลักษณะคล้ายปีก กระโปรงมีชั้นใน 2 ชั้น ส่วนชั้นนอกจะเปิดแยกตรงกลางเผยให้เห็นกระโปรงตัวในซึ่งตกแต่งอย่างสวยงาม นอกจากนี้ยังมีชุดของหลากหลายประเทศในแต่ละช่วงสมัย และยังมีการจัดแสดงชุดแต่งงานหลากแบบของครอบครัวตระกูลเธียรประสิทธิ์อีกด้วย
และในส่วนแสดงต่อมาเป็นการจัดแสดงผลงานการปั้นจิ๋วของคุณสปัน โดยจำลองแบบเมืองตุ๊กตา วิถีชีวิต ประเพณีวัฒนธรรม ของคนไทยในอดีต เช่น การแห่ขันหมาก การรดน้ำสังข์ การทำบุญเลี้ยงพระ งานประเพณีทั้ง 12 เดือน และวรรณคดีไทย เช่น สังข์ทอง รามเกียรติ์ พระอภัยมณี เงาะป่า เวนิสวานิช เป็นต้น
ชมสารพัดชุดในหลากหลายประเทศแล้ว ก็ต้องขอยกนิ้วให้กับคุณผู้หญิงเลยทีเดียวโดยเฉพาะในต่างประเทศ เพราะกว่าจะแต่งตัวได้มีหลายขั้นตอนจริงๆ สำหรับผู้ที่ชื่นชอบพวกเสื้อผ้าอาภรณ์ล่ะก็มาที่ศูนย์สปันแห่งนี้ไม่ผิดหวังเป็นแน่
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
ศูนย์สปันอารยวัฒนศิลป์ ตั้งอยู่ในโรงเรียนนานาชาติชาร์เตอร์ ถ.เฉลิมพระเกียรติ ร.9 เขตประเวศ กรุงเทพฯ เปิดบริการทุกวัน เวลา 09.30-15.00 น. โดยในทุกวันพุธเข้าชมฟรี ผู้ที่สนใจเข้าเยี่ยมชมกรุณาติดต่อล่วงหน้าที่เบอร์ 0-2726-8283-4 นอกจากนี้ในเวลาเย็นๆยังสามารถเดินเล่นชมวิวอันเขียวขจีพร้อมลมพัดโชยอ่อนๆในบริเวณสวนหลวง ร.9 ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ๆกับศูนย์สปันฯได้อีกด้วย