โดย หนุ่มลูกทุ่ง
เมื่อเร็วๆนี้ฉันมีโอกาสไปนั่งเรือเที่ยวในคูคลองแถว "ลาดกระบัง" เพราะทางเขตเขาได้จัดกิจกรรม "ล่องเรือศึกษาวัฒนธรรมชาวลาดกระบังกับพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น" พาผู้ที่สนใจไปนั่งเรือเที่ยวชมคลองประเวศบุรีรมย์ คลองสำคัญแห่งหนึ่งใน 46 คลองของเขตลาดกระบัง และยังได้เข้าชมวัดสำคัญๆ ในแถบนี้หลายวัด
ลาดกระบังนั้นแต่เดิมเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดมีนบุรี มีชื่อเรียกว่าอำเภอแสนแสบ แต่ชื่ออำเภอแสนแสบก็ไม่ตรงกับความเป็นจริงนักเพราะคลองแสนแสบเป็นคลองที่อยู่ในอำเภอมีนบุรี จังหวัดมีนบุรีในขณะนั้น ต่อมาจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอลาดกระบัง และกลายมาเป็นเขตลาดกระบังอย่างทุกวันนี้
มีข้อสันนิษฐานถึงคำว่า "ลาดกระบัง" ว่า น่าจะมาจากชื่อเรียกเครื่องมือจับสัตว์น้ำที่มีลักษณะเหมือนร่างแหรูปกรวยแหลมที่เรียกว่า "กระบัง" เพราะในบริเวณนี้มีคูคลองอุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์น้ำหลากชนิด ชาวบ้านจึงนิยมใช้กระบังกั้นทางน้ำไหลบังคับให้ปลาเข้าไปติดในร่างแหนั้น จนเป็นที่มาของชื่อลาดกระบัง หรืออีกข้อสันนิษฐานหนึ่งว่า แต่เดิมบริเวณนี้เป็นเขตรกทึบมีสัตว์ป่าอาศัย ทั้งช้างทั้งเสือใช้เป็นเส้นทางผ่านไปมาเสมอจนทำให้พื้นดินพังทลาย ชาวบ้านจึงเรียกบริเวณนี้ว่า ลาดพัง ก่อนจะเพี้ยนมาเป็นลาดกระบังนั่นเอง
แต่ที่แน่ๆเมื่อได้ยินคำว่าลาดกระบัง หลายๆคนคงต้องนึกถึง "สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง" สถาบันอุดมศึกษาที่โดดเด่นในสาขาวิศวกรรม และ "เจ้าคุณทหาร" ที่เป็นส่วนหนึ่งของชื่อสถาบันนั้น ก็ถือเป็นบุคคลที่มีความสำคัญท่านหนึ่ง โดยท่านเจ้าคุณทหารที่กล่าวถึงนั้นก็คือ "เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์" (วร บุนนาค) บุตรชายใหญ่ของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) กับท่านผู้หญิงกลิ่น ท่านดำรงตำแหน่งเป็นสมุหกลาโหมในรัชกาลที่ 5 และบุคคลทั่วไปเรียกท่านว่า "เจ้าคุณทหาร" หรือ "เจ้าคุณกลาโหม" ท่านได้มาจับจองที่ดินบริเวณริมคลองประเวศฯเนื้อที่กว่า 1,500 ไร่ และมีความประสงค์จะให้ที่ดินผืนนี้เป็นสถานศึกษา ซึ่งต่อมาความประสงค์ของท่านก็เป็นจริงเมื่อได้มีการก่อตั้งสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหาร ลาดกระบังขึ้น
รู้จักความเป็นมาของลาดกระบังกันไปแล้ว คราวนี้ก็ได้เวลาลงเรือกันเสียที สำหรับคลองที่เราจะล่องเรือกันในวันนี้ก็คือ "คลองประเวศบุรีรมย์" ลำคลองสายหลักที่ใหญ่ที่สุดและยาวที่สุดของเขตลาดกระบัง คลองสายนี้เป็นคลองขุดที่รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ขุดต่อจากคลองพระโขนงไปเชื่อมกับคลองด่าน ออกสู่แม่น้ำบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา เรียกคลองช่วงที่ขุดต่อออกไปนี้ว่าคลองประเวศบุรีรมย์ และต่อมายังได้ขุดคลองแยกจากคลองประเวศบุรีรมย์ อีก 4 คลอง คือ คลองหนึ่ง คลองสอง คลองสาม และคลองสี่
น้ำในคลองประเวศฯยังเป็นน้ำคุณภาพดีอยู่มาก สังเกตได้จากยังมีปลาดำผุดดำว่ายให้เห็น แต่ละบ้านมีกระชังเลี้ยงปลา มีเครื่องมือจับปลา อีกทั้งยังนิยมปลูกผักบุ้งกันริมตลิ่ง ว่ากันว่าในแถบนี้เป็นแหล่งปลูกผักบุ้งส่งขายแหล่งใหญ่เลยทีเดียวละ
และจุดหมายแห่งแรกที่เราจะล่องเรือกันไปนั้นก็คือที่ "วัดลาดกระบัง" หรือที่ชาวบ้านแถบนั้นเรียกว่า "วัดสาม" เพราะเป็นวัดที่ตั้งอยู่ปากคลองสาม วัดนี้เป็นวัดสำคัญของเขตลาดกระบัง สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2424 โดยหมื่นราษฎร์ (น้อย) และบุตรธิดา ได้ถวายที่ดินและจัดสร้างเสนาสนะต่างๆ ขึ้นภายในวัด อีกทั้งภายในวัดยังมี "หลวงพ่อขาว" หรือ “พระพุทธบุศโยภาส” พระพุทธรูปประธานปางมารวิชัยประดิษฐานอยู่ในวิหาร หลวงพ่อขาวเป็นพระพุทธรูปก่อด้วยอิฐพอกปูนทาด้วยสีขาว ถือเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวลาดกระบังให้ความเคารพศรัทธาเป็นอย่างมาก
สิ่งหนึ่งที่ฉันเห็นว่าแปลกในวิหารหลวงพ่อขาวนี้ก็คือ ปกติแล้ววัดอื่นๆจะมีให้ยกพระพุทธรูปเสี่ยงทาย หรือยกช้างเสี่ยงทาย แต่ที่วัดนี้ให้อุ้มพระราหุลเสี่ยงทาย ซึ่งพระราหุลนี้ก็คือบุตรของพระพุทธเจ้า ที่หล่อด้วยสำริดขนาดเท่าๆกับเด็ก 2-3 ขวบ นอนอยู่บนฟูกมีหมอนหนุน มีหมอนข้างเหมือนที่นอนเด็กไม่ผิดเพี้ยน ให้ยกเสี่ยงทายตามแต่จะอธิษฐานกัน ฉันเองก็ไม่สามารถหาคำตอบได้ว่าทำไมจึงต้องเป็นพระราหุล รู้แต่ว่ามีคนนิยมมายกเสี่ยงทายกันไม่น้อยเลย
นั่งเรือกันต่อมาที่ "วัดปลูกศรัทธา" หรือ "วัดสี่" วัดเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งบริเวณปากคลองสี่ สร้างขึ้นใน พ.ศ.2388 โดยนายไสว และชาวจีนชื่อนายโป วัดแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุซึ่งอัญเชิญมาจากประเทศอินเดีย เมื่อปี พ.ศ.2547 ในตอนนี้พระบรมสารีริกธาตุได้ประดิษฐานไว้ที่ศาลาการเปรียญเป็นการชั่วคราว โดยทางวัดกำลังสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ เป็นอุโบสถจัตุรมุขสองชั้น ด้านในตกแต่งด้วยจิตรกรรมฝาผนังและไม้สักแกะสลักเป็นภาพพุทธชาดก แม้จะยังสร้างไม่เสร็จแต่ก็เริ่มเห็นความงดงาม และเมื่ออุโบสถสร้างเสร็จเรียบร้อยเมื่อไรก็จะอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุไปประดิษฐานไว้เป็นการถาวร ส่วนอุโบสถหลังเก่านั้นทางวัดก็ยังดูแลรักษาสภาพไว้เป็นอย่างดี แต่ไม่ได้เปิดให้คนเข้าชมแล้ว ยกเว้นในวันสำคัญทางศาสนาต่างๆ
มาที่ลาดกระบังแล้วก็ต้องไม่พลาด "ตลาดหัวตะเข้" ตลาดโบราณริมน้ำในกรุงเทพฯอีกแห่งหนึ่งซึ่งเป็นเรือนแถวไม้เรียงรายริมสองฟากฝั่งคลองประเวศบุรีรมย์ เหตุที่ชื่อว่า "หัวตะเข้" ก็เพราะแต่ก่อนนี้มีจระเข้ชุกชุม แต่ตอนนี้หากจะมีจระเข้สักตัวก็คงเป็นเรื่องแปลก แถมคนคงแตกตื่นกันน่าดู กลับมาดูตลาดกันต่อดีกว่า ตลาดหัวตะเข้นี้เป็นตลาดเก่าอายุกว่าร้อยปี เป็นตลาดยุคเดียวกับตลาดคลองสวนของจังหวัดสมุทรปราการ แต่เดิมเคยมีร้านรวงคึกคัก มีเรือพายขายของสัญจรผ่านไปมา แต่วันนี้ที่ฉันได้มาชมตลาดหัวตะเข้เก่าซึ่งอยู่ริมคลองก็พบว่ามีบรรยากาศเงียบเหงาซบเซา อาจเป็นเพราะเคยเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ไปเมื่อประมาณสิบปีก่อน รวมไปถึงการจราจรทางน้ำไม่เป็นที่นิยมเท่าทางบก ทำให้ปัจจุบันมีร้านค้าเพียงไม่กี่ร้านที่ยังเปิดขายของกินของใช้อยู่ แต่หากได้ลองมาเดินชมบรรยากาศในบริเวณนี้ก็จะได้เห็นภาพอดีตที่หาชมไม่ได้จากที่อื่น
นอกจากนั้น หากเดินลึกเข้าไปด้านหลังตลาดในชุมชนหลวงพรต-ท่านเลี่ยม ก็จะได้เห็นบรรยากาศของชุมชนริมน้ำ หรือจะให้ตรงจริงๆ ก็ต้องเรียกว่าชุมชนบนน้ำ เพราะเนื่องจากมีคลองซอยแยกย่อย ทำให้ดูเหมือนว่าบ้านสร้างอยู่บนน้ำจริงๆ และสำหรับคนที่ชอบชมงานศิลป์ หากเดินลึกเข้าไปในชุมชนจะสามารถเข้าไปชมงานศิลปะชิ้นสวยๆ ในหอศิลป์ของ "วิทยาลัยช่างศิลป์ ลาดกระบัง" ได้ด้วยเช่นกัน
เมื่อเดินกลับออกมาที่ตลาดเก่าริมน้ำ และข้ามสะพานไปยังอีกฝั่งคลองแล้วเดินต่อมาอีกหน่อยก็จะเห็นความคึกคักของตลาดหัวตะเข้ใหม่ได้ โดยที่ตลาดบริเวณนี้ก็จะมีทั้งตลาดสด ร้านอาหาร และร้านขายของกินของใช้ต่างๆ เหมือนตลาดทั่วไป อย่าลืมแวะเข้าไปที่ "โรงเจฮะเฮงตั้ว" ซึ่งมีองค์เซียน หรือพระโพธิสัตว์แป๊ะโค้ว ซึ่งเมื่อร้อยกว่าปีก่อนท่านได้เดินทางมาจากเมืองจีนมาพำนักอยู่ในแถบลาดกระบังนี้ ท่านเป็นผู้ยึดมั่นในหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าด้วยการถือศีลกินเจ สวดมนต์ภาวนาอยู่ในโรงเจแห่งนี้จนได้ฌานสมาบัติ ละสังขารไปในขณะกำลังนั่งสมาธิอยู่ ร่างที่ไม่เน่าเปื่อยของท่านยังคงมีผู้มาเคารพกราบไหว้กันที่โรงเจแห่งนี้
สำหรับจุดหมายปลายทางสุดท้ายของการล่องเรือในวันนี้ก็คือ "วัดสุธาโภชน์" ที่ต้องนั่งเรือเข้าไปในคลองลำปลาทิว คลองเล็กที่แยกออกจากคลองประเวศบุรีรมย์ ที่วัดสุธาโภชน์นี้เป็นวัดสำคัญอีกแห่งหนึ่ง โดยเป็นวัดของชุมชนชาวมอญในเขตลาดกระบัง สร้างโดยเจ้าจอมมารดากลิ่น ในรัชกาลที่ 4 ที่วัดสุธาโภชน์นี้มีสิ่งที่น่าสนใจมากมาย ไม่ว่าจะเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเขตลาดกระบัง พิพิธภัณฑ์เรือมาด อนุสาวรีย์หินอ่อนของเจ้าจอมมารดากลิ่น รวมถึงการ "ตักบาตรพระร้อย" งานสำคัญในวันออกพรรษาซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีที่วัด เนื่องจากความน่าสนใจมีมาก ในคราวหน้าฉันจึงจะขอพาเที่ยววัดสุธาโภชน์แบบเต็มๆ อีกครั้งหนึ่งเสียเลยก็แล้วกัน
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
สอบถามรายละเอียดการนั่งเรือท่องเที่ยวคลองประเวศบุรีรมย์ได้ที่สำนักงานเขตลาดกระบัง โทร.0-2326-9149
เมื่อเร็วๆนี้ฉันมีโอกาสไปนั่งเรือเที่ยวในคูคลองแถว "ลาดกระบัง" เพราะทางเขตเขาได้จัดกิจกรรม "ล่องเรือศึกษาวัฒนธรรมชาวลาดกระบังกับพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น" พาผู้ที่สนใจไปนั่งเรือเที่ยวชมคลองประเวศบุรีรมย์ คลองสำคัญแห่งหนึ่งใน 46 คลองของเขตลาดกระบัง และยังได้เข้าชมวัดสำคัญๆ ในแถบนี้หลายวัด
ลาดกระบังนั้นแต่เดิมเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดมีนบุรี มีชื่อเรียกว่าอำเภอแสนแสบ แต่ชื่ออำเภอแสนแสบก็ไม่ตรงกับความเป็นจริงนักเพราะคลองแสนแสบเป็นคลองที่อยู่ในอำเภอมีนบุรี จังหวัดมีนบุรีในขณะนั้น ต่อมาจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอลาดกระบัง และกลายมาเป็นเขตลาดกระบังอย่างทุกวันนี้
มีข้อสันนิษฐานถึงคำว่า "ลาดกระบัง" ว่า น่าจะมาจากชื่อเรียกเครื่องมือจับสัตว์น้ำที่มีลักษณะเหมือนร่างแหรูปกรวยแหลมที่เรียกว่า "กระบัง" เพราะในบริเวณนี้มีคูคลองอุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์น้ำหลากชนิด ชาวบ้านจึงนิยมใช้กระบังกั้นทางน้ำไหลบังคับให้ปลาเข้าไปติดในร่างแหนั้น จนเป็นที่มาของชื่อลาดกระบัง หรืออีกข้อสันนิษฐานหนึ่งว่า แต่เดิมบริเวณนี้เป็นเขตรกทึบมีสัตว์ป่าอาศัย ทั้งช้างทั้งเสือใช้เป็นเส้นทางผ่านไปมาเสมอจนทำให้พื้นดินพังทลาย ชาวบ้านจึงเรียกบริเวณนี้ว่า ลาดพัง ก่อนจะเพี้ยนมาเป็นลาดกระบังนั่นเอง
แต่ที่แน่ๆเมื่อได้ยินคำว่าลาดกระบัง หลายๆคนคงต้องนึกถึง "สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง" สถาบันอุดมศึกษาที่โดดเด่นในสาขาวิศวกรรม และ "เจ้าคุณทหาร" ที่เป็นส่วนหนึ่งของชื่อสถาบันนั้น ก็ถือเป็นบุคคลที่มีความสำคัญท่านหนึ่ง โดยท่านเจ้าคุณทหารที่กล่าวถึงนั้นก็คือ "เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์" (วร บุนนาค) บุตรชายใหญ่ของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) กับท่านผู้หญิงกลิ่น ท่านดำรงตำแหน่งเป็นสมุหกลาโหมในรัชกาลที่ 5 และบุคคลทั่วไปเรียกท่านว่า "เจ้าคุณทหาร" หรือ "เจ้าคุณกลาโหม" ท่านได้มาจับจองที่ดินบริเวณริมคลองประเวศฯเนื้อที่กว่า 1,500 ไร่ และมีความประสงค์จะให้ที่ดินผืนนี้เป็นสถานศึกษา ซึ่งต่อมาความประสงค์ของท่านก็เป็นจริงเมื่อได้มีการก่อตั้งสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหาร ลาดกระบังขึ้น
รู้จักความเป็นมาของลาดกระบังกันไปแล้ว คราวนี้ก็ได้เวลาลงเรือกันเสียที สำหรับคลองที่เราจะล่องเรือกันในวันนี้ก็คือ "คลองประเวศบุรีรมย์" ลำคลองสายหลักที่ใหญ่ที่สุดและยาวที่สุดของเขตลาดกระบัง คลองสายนี้เป็นคลองขุดที่รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ขุดต่อจากคลองพระโขนงไปเชื่อมกับคลองด่าน ออกสู่แม่น้ำบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา เรียกคลองช่วงที่ขุดต่อออกไปนี้ว่าคลองประเวศบุรีรมย์ และต่อมายังได้ขุดคลองแยกจากคลองประเวศบุรีรมย์ อีก 4 คลอง คือ คลองหนึ่ง คลองสอง คลองสาม และคลองสี่
น้ำในคลองประเวศฯยังเป็นน้ำคุณภาพดีอยู่มาก สังเกตได้จากยังมีปลาดำผุดดำว่ายให้เห็น แต่ละบ้านมีกระชังเลี้ยงปลา มีเครื่องมือจับปลา อีกทั้งยังนิยมปลูกผักบุ้งกันริมตลิ่ง ว่ากันว่าในแถบนี้เป็นแหล่งปลูกผักบุ้งส่งขายแหล่งใหญ่เลยทีเดียวละ
และจุดหมายแห่งแรกที่เราจะล่องเรือกันไปนั้นก็คือที่ "วัดลาดกระบัง" หรือที่ชาวบ้านแถบนั้นเรียกว่า "วัดสาม" เพราะเป็นวัดที่ตั้งอยู่ปากคลองสาม วัดนี้เป็นวัดสำคัญของเขตลาดกระบัง สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2424 โดยหมื่นราษฎร์ (น้อย) และบุตรธิดา ได้ถวายที่ดินและจัดสร้างเสนาสนะต่างๆ ขึ้นภายในวัด อีกทั้งภายในวัดยังมี "หลวงพ่อขาว" หรือ “พระพุทธบุศโยภาส” พระพุทธรูปประธานปางมารวิชัยประดิษฐานอยู่ในวิหาร หลวงพ่อขาวเป็นพระพุทธรูปก่อด้วยอิฐพอกปูนทาด้วยสีขาว ถือเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวลาดกระบังให้ความเคารพศรัทธาเป็นอย่างมาก
สิ่งหนึ่งที่ฉันเห็นว่าแปลกในวิหารหลวงพ่อขาวนี้ก็คือ ปกติแล้ววัดอื่นๆจะมีให้ยกพระพุทธรูปเสี่ยงทาย หรือยกช้างเสี่ยงทาย แต่ที่วัดนี้ให้อุ้มพระราหุลเสี่ยงทาย ซึ่งพระราหุลนี้ก็คือบุตรของพระพุทธเจ้า ที่หล่อด้วยสำริดขนาดเท่าๆกับเด็ก 2-3 ขวบ นอนอยู่บนฟูกมีหมอนหนุน มีหมอนข้างเหมือนที่นอนเด็กไม่ผิดเพี้ยน ให้ยกเสี่ยงทายตามแต่จะอธิษฐานกัน ฉันเองก็ไม่สามารถหาคำตอบได้ว่าทำไมจึงต้องเป็นพระราหุล รู้แต่ว่ามีคนนิยมมายกเสี่ยงทายกันไม่น้อยเลย
นั่งเรือกันต่อมาที่ "วัดปลูกศรัทธา" หรือ "วัดสี่" วัดเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งบริเวณปากคลองสี่ สร้างขึ้นใน พ.ศ.2388 โดยนายไสว และชาวจีนชื่อนายโป วัดแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุซึ่งอัญเชิญมาจากประเทศอินเดีย เมื่อปี พ.ศ.2547 ในตอนนี้พระบรมสารีริกธาตุได้ประดิษฐานไว้ที่ศาลาการเปรียญเป็นการชั่วคราว โดยทางวัดกำลังสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ เป็นอุโบสถจัตุรมุขสองชั้น ด้านในตกแต่งด้วยจิตรกรรมฝาผนังและไม้สักแกะสลักเป็นภาพพุทธชาดก แม้จะยังสร้างไม่เสร็จแต่ก็เริ่มเห็นความงดงาม และเมื่ออุโบสถสร้างเสร็จเรียบร้อยเมื่อไรก็จะอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุไปประดิษฐานไว้เป็นการถาวร ส่วนอุโบสถหลังเก่านั้นทางวัดก็ยังดูแลรักษาสภาพไว้เป็นอย่างดี แต่ไม่ได้เปิดให้คนเข้าชมแล้ว ยกเว้นในวันสำคัญทางศาสนาต่างๆ
มาที่ลาดกระบังแล้วก็ต้องไม่พลาด "ตลาดหัวตะเข้" ตลาดโบราณริมน้ำในกรุงเทพฯอีกแห่งหนึ่งซึ่งเป็นเรือนแถวไม้เรียงรายริมสองฟากฝั่งคลองประเวศบุรีรมย์ เหตุที่ชื่อว่า "หัวตะเข้" ก็เพราะแต่ก่อนนี้มีจระเข้ชุกชุม แต่ตอนนี้หากจะมีจระเข้สักตัวก็คงเป็นเรื่องแปลก แถมคนคงแตกตื่นกันน่าดู กลับมาดูตลาดกันต่อดีกว่า ตลาดหัวตะเข้นี้เป็นตลาดเก่าอายุกว่าร้อยปี เป็นตลาดยุคเดียวกับตลาดคลองสวนของจังหวัดสมุทรปราการ แต่เดิมเคยมีร้านรวงคึกคัก มีเรือพายขายของสัญจรผ่านไปมา แต่วันนี้ที่ฉันได้มาชมตลาดหัวตะเข้เก่าซึ่งอยู่ริมคลองก็พบว่ามีบรรยากาศเงียบเหงาซบเซา อาจเป็นเพราะเคยเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ไปเมื่อประมาณสิบปีก่อน รวมไปถึงการจราจรทางน้ำไม่เป็นที่นิยมเท่าทางบก ทำให้ปัจจุบันมีร้านค้าเพียงไม่กี่ร้านที่ยังเปิดขายของกินของใช้อยู่ แต่หากได้ลองมาเดินชมบรรยากาศในบริเวณนี้ก็จะได้เห็นภาพอดีตที่หาชมไม่ได้จากที่อื่น
นอกจากนั้น หากเดินลึกเข้าไปด้านหลังตลาดในชุมชนหลวงพรต-ท่านเลี่ยม ก็จะได้เห็นบรรยากาศของชุมชนริมน้ำ หรือจะให้ตรงจริงๆ ก็ต้องเรียกว่าชุมชนบนน้ำ เพราะเนื่องจากมีคลองซอยแยกย่อย ทำให้ดูเหมือนว่าบ้านสร้างอยู่บนน้ำจริงๆ และสำหรับคนที่ชอบชมงานศิลป์ หากเดินลึกเข้าไปในชุมชนจะสามารถเข้าไปชมงานศิลปะชิ้นสวยๆ ในหอศิลป์ของ "วิทยาลัยช่างศิลป์ ลาดกระบัง" ได้ด้วยเช่นกัน
เมื่อเดินกลับออกมาที่ตลาดเก่าริมน้ำ และข้ามสะพานไปยังอีกฝั่งคลองแล้วเดินต่อมาอีกหน่อยก็จะเห็นความคึกคักของตลาดหัวตะเข้ใหม่ได้ โดยที่ตลาดบริเวณนี้ก็จะมีทั้งตลาดสด ร้านอาหาร และร้านขายของกินของใช้ต่างๆ เหมือนตลาดทั่วไป อย่าลืมแวะเข้าไปที่ "โรงเจฮะเฮงตั้ว" ซึ่งมีองค์เซียน หรือพระโพธิสัตว์แป๊ะโค้ว ซึ่งเมื่อร้อยกว่าปีก่อนท่านได้เดินทางมาจากเมืองจีนมาพำนักอยู่ในแถบลาดกระบังนี้ ท่านเป็นผู้ยึดมั่นในหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าด้วยการถือศีลกินเจ สวดมนต์ภาวนาอยู่ในโรงเจแห่งนี้จนได้ฌานสมาบัติ ละสังขารไปในขณะกำลังนั่งสมาธิอยู่ ร่างที่ไม่เน่าเปื่อยของท่านยังคงมีผู้มาเคารพกราบไหว้กันที่โรงเจแห่งนี้
สำหรับจุดหมายปลายทางสุดท้ายของการล่องเรือในวันนี้ก็คือ "วัดสุธาโภชน์" ที่ต้องนั่งเรือเข้าไปในคลองลำปลาทิว คลองเล็กที่แยกออกจากคลองประเวศบุรีรมย์ ที่วัดสุธาโภชน์นี้เป็นวัดสำคัญอีกแห่งหนึ่ง โดยเป็นวัดของชุมชนชาวมอญในเขตลาดกระบัง สร้างโดยเจ้าจอมมารดากลิ่น ในรัชกาลที่ 4 ที่วัดสุธาโภชน์นี้มีสิ่งที่น่าสนใจมากมาย ไม่ว่าจะเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเขตลาดกระบัง พิพิธภัณฑ์เรือมาด อนุสาวรีย์หินอ่อนของเจ้าจอมมารดากลิ่น รวมถึงการ "ตักบาตรพระร้อย" งานสำคัญในวันออกพรรษาซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีที่วัด เนื่องจากความน่าสนใจมีมาก ในคราวหน้าฉันจึงจะขอพาเที่ยววัดสุธาโภชน์แบบเต็มๆ อีกครั้งหนึ่งเสียเลยก็แล้วกัน
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
สอบถามรายละเอียดการนั่งเรือท่องเที่ยวคลองประเวศบุรีรมย์ได้ที่สำนักงานเขตลาดกระบัง โทร.0-2326-9149