โดย : หนุ่มลูกทุ่ง
ในสมัยก่อนเมื่อมีวังแล้วมักจะมีการสร้างวัดไว้ภายในวังด้วยดังเช่น สมัยสุโขทัย ที่มีการสร้างวัดอยู่ในเขตวังมากมาย อาทิ วัดมหาธาตุ วัดตระพังเงิน วัดศรีสวาย วัดสระศรี ดังที่ได้หลงเหลือหลักฐานอยู่ที่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย สมัยอยุธยา ก็มีการสร้างวัดพระศรีสรรเพชรญไว้ในวัง ส่วนในสมัยรัตนโกสินทร์วัดในวังก็คือวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว นั่นเอง
แต่ในสมัยกรุงธนบุรีวัดในวังนั้นไม่ได้มาจากการสร้างวัดในเขตวัง แต่เป็นการสร้างวังครอบคลุมอาณาเขตวัดเดิมที่มีอยู่ก่อนแล้ว และถือเอาวัดนั้นๆมาเป็นวัดในวัง ซึ่งน้อยคนนักจะรู้จักวัดในวังสมัยกรุงธนบุรี
หากย้อนกลับไปในสมัย พ.ศ.2310 หลังจากที่กรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ 2 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งในขณะนั้นดำรงพระยศเป็นเจ้าเมืองตากได้ตีฝ่าวงล้อมข้าศึกออกไปตั้งมั่นที่จังหวัดจันทบุรี จากนั้นก็ได้รวบรวมไพร่พลยกทัพกลับมาตีข้าศึกกู้เอกราชเอาบ้านเมืองกลับคืนมาเป็นของชาวไทยอีกครั้ง
แต่สงครามในครั้งนั้นได้สร้างความเสียหายให้แก่กรุงศรีอยุธยาเป็นอย่างมากจนเกินจะเยียวยาสร้างใหม่ และทรงเห็นว่าข้าศึกรู้จักพื้นที่ในกรุงศรีฯเป็นอย่างดีแล้ว จึงได้มีพระราชประสงค์ย้ายเมืองหลวงจากกรุงศรีอยุธยามาตั้งยังกรุงธนบุรี และได้เสด็จกรีฑาทัพล่องลงมาทางชลมารคจนมาถึงยังหน้าวัดมะกอกเป็นเวลารุ่งอรุณพอดี จึงได้ทรงเปลี่ยนชื่อ "วัดมะกอกนอก" แขวงวัดอรุณฯ เขตบางกอกใหญ่ เป็น "วัดแจ้ง" เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่เสด็จมาถึงวัดนี้เมื่อเวลาอรุณรุ่ง
และพระองค์ได้ตัดสินพระทัยสร้างพระราชวังขึ้นใหม่ในบริเวณนี้ เมื่อสร้างพระราชวังแล้วเสร็จทำให้วัดแจ้งตั้งอยู่ในเขตพระราชวังพอดี
สำหรับพระราชวังสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เป็นพระราชวังกษัตริย์แห่งเดียวในสมัยกรุงธนบุรี มีนามว่า"พระราชวังกรุงธนบุรี" หรือที่ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า"พระราชวังเดิม"
นอกจากนี้สมเด็จพระเจ้าตากสินฯทรงโปรดให้ปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้และมิให้มีพระสงฆ์จำพรรษาเพราะถือเป็นวัดในวัง และยังถือเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองธนบุรีอีกด้วย
จนมาในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ได้โปรดให้มาสร้างพระนครใหม่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาและรื้อกำแพงพระราชวังธนบุรีออก เมื่อไม่ได้อยู่ในเขตวังแล้วพระองค์จึงโปรดให้พระสงฆ์จำพรรษาอีกครั้งหนึ่ง และในสมัยรัชกาลที่ 4 ก็ได้ทรงเปลี่ยนชื่อเป็น "วัดอรุณราชวราราม" ดังที่เรียกกันมาจนถึงปัจจุบัน
ภายในวัดอรุณมีศาสนสถานที่สำคัญมากมาย อาทิ ยักษ์วัดแจ้ง เป็นรูปปั้นยักษ์ยืนอยู่หน้าประตูยอดซุ้มพระมงกุฎ 2 ตน ยักษ์ขาวคือ สหัสเดชะ และยักษ์เขียวคือ ทศกัณฑ์, พระปรางค์ ที่ก่ออิฐถือปูนประดับด้วยกระเบื้องเคลือบจาน ชามเบญจรงค์และเปลือกหอย ทำเป็นลายดอกไม้ ใบไม้ และลายอื่นๆ ยอดพระปรางค์เป็นนภศูลและมงกุฎปิดทอง เป็นต้น
จากวัดอรุณฯ ฉันไปยังอีกหนึ่งวัดในเขตวังธนบุรีได้แก่ "วัดโมลีโลกยาราม" ถ.วังเดิม แขวงวัดอรุณฯ เขตบางกอกใหญ่ เป็นวัดเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาเช่นกัน แต่เดิมเรียกกันว่า "วัดท้ายตลาด" เพราะอยู่ต่อจากตลาดเมืองธนบุรี แต่เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงมาสร้างพระราชวังก็ได้มีอาณาบริเวณครอบคลุมถึงวัดท้ายตลาดนี้ด้วย จึงทำให้วัดท้ายตลาดกลายเป็นวัดในเขตพระราชฐานหรือวัดในพระราชวังกรุงธนบุรีเช่นเดียวกับวัดอรุณฯ
ซึ่งภายในวัดแห่งนี้มีฉางเกลือ หรือที่เก็บเกลือ เนื่องจากในสมัยนั้นเกลือมีความสำคัญมากในการถนอมอาหาร เพื่อจะสามารถเก็บอาหารไว้ได้นานๆ จนถึงคำกล่าวกันว่า "หากจะโจมตีบ้านเมือง จะต้องทำลายฉางเกลือ คลังเสบียง และคลังแสงให้ได้"
แต่เมื่อวิวัฒนาการผ่านไป มีตู้เย็น มีการเก็บถนอมอาหารได้ในรูปแบบต่างๆ ฉางเกลือจึงหมดความจำเป็นและความสำคัญลง ปัจจุบันกลายเป็นพระวิหารลักษณะทรงไทยผสมจีน หลังคามุงกระเบื้องเคลือบดินเผา ช่อฟ้าใบระกาปั้นด้วยปูน ด้านในกั้นเป็น 2 ห้อง ด้านหลังเป็นห้องเล็กมีพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ และพระอัครสาวก
ด้านหน้าเป็นห้องใหญ่ตรงกลางมีแท่นชุกชีประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่าง ๆ ประตูและหน้าต่าง ทุกช่อง เขียนลายรดน้ำงดงามแต่ชำรุด เพดานเขียนลวดลายเป็นกลุ่มดาว เล่าสืบกันมาว่าสมัยกรุงธนบุรีโปรดให้ใช้เป็นฉางเกลือ จนมีผู้ผู้เรียกว่า พระวิหารฉางเกลือ มาจนถึงทุกวันนี้
พระอุโบสถหลังคามุขมุงด้วยกระเบื้องไทย มีช่อฟ้าใบระกา ซุ้มประตู หน้าต่าง และหน้าบันเป็นลายปูนปั้น บานประตูหน้าต่างเป็นไม้แกะสลักรูปต้นไม้ดอกไม้ ใกล้ๆกันมีพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชประทับนั่ง พระหัตถ์ทั้งสองข้างจับดาบ
เมื่อฉันได้สักการะพระองค์แล้ว ก็เดินขึ้นไปบน หอสมเด็จ ซึ่งอยู่ด้านหลังพระบรมรูป ภายในมีรอยพระพุทธบาทจำลอง และอีกฟากมีรูปหล่อสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) ซึ่งเคยเป็นพระราชาคณะของวัดนี้ เป็นที่เคารพนับถือของเจ้านายในสมัยนั้นมาก และยังเป็นพระราชกรรมวาจาจารย์ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อเสด็จออกผนวชด้วย ที่ฐานขอหอสมเด็จฉันเห็นรูปปูนปั้นเป็นทหารฝรั่งหลายคนด้วยกันดูแลรักษาหรือคอยแบกค้ำจุนหอสมเด็จแห่งนี้อยู่กระมัง ดูสวยงามแปลกตา
ภายในวัดโมลีโลกยารามยังมีหอพระไตรปิฎก หรือ หอไตร เป็นอาคารไม้ทรงไทย หลังคามุงกระเบื้องเคลือบ ใช้ปูนปั้นรูปเจดีย์แทนช่อฟ้า บานประตูหน้าต่างและผนังด้านในเขียนลายรดน้ำ แต่ตอนนี้ชำรุดทรุดโทรมมากจนต้องบูรณะใหม่ บางคนเชื่อว่าที่หอไตรนี้เคยถูกใช้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าตากสินอีกด้วย
ใกล้ๆกับวัดโมลีโลกยาราม คือ "วัดหงส์รัตนาราม" ถ.วังเดิม แขวงวัดอรุณฯ เขตบางกอกใหญ่ เดิมชาวบ้านเรียกว่า "วัดเจ้าขรัวหงส์" ตามชื่อของเศรษฐีชาวจีนผู้สร้างวัดในสมัยอยุธยา ต่อมาในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช แห่งกรุงธนบุรี ได้รับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ และทรงปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ และกุฏิ และในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดหงส์รัตนาราม"
ภายในวัดพระอุโบสถที่สร้างในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสิน เล่ากันว่าพระองค์มักจะเสด็จมานั่งวิปัสสนากรรมฐานที่วัดนี้ ต่อมาได้มีการบูรณะมีพาไลแบบศิลปะรัชกาลที่ 3 ซุ้มประตูลักษณะจีนปนฝรั่ง ลายปูนปั้นที่ซุ้มประตูหน้าต่าง ได้รับการยกย่องในเรื่องฝีมือมาก เสาภายในพระอุโบสถเป็นแบบอยุธยาตอนต้นซึ่งนำแบบอย่าง มาจากสุโขทัยเป็นเสากลมเรียงเข้าไปแบ่งได้ เจ็ดห้อง เขียนลายพุ่มข้าวบิณฑ์ประดับด้วยดอกพุดตาน
จิตรกรรมฝาผนังและลวดลายแกะสลักที่ประตูนั้น เป็นลายดอกพุดตาน และเบญจมาศเป็นพระราชนิยมในรัชกาลที่ 3 ซึ่งดอกพุดตาน เบญจมาศ และโบตั๋นนั้น จะเกี่ยวกับความเชื่อใน ฮก ลก ซิ่วด้วย นอกจากนี้ยังมีจิตกรรมสีฝุ่นเขียนใส่กรอบกระจกเรื่องรัตพิมพวงศ์ หรือตำนานพระแก้วมรกต ฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ 3 และรัชกาลที่ 4
ภายในวิหารด้านข้างพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปทองโบราณ ลักษณะเป็นฝีมือประติมากรชั้นเยี่ยม สมัยสุโขทัย โดยพระพุทธรูปทองโบราณเดิมนั้นองค์พระได้ถูกพอกด้วยปูนปั้น เมื่อทำการกะเทาะปูนออกจึงพบองค์พระเป็นทองเนื้อห้า โดยบริเวณฐานพระมีตัวอักษรสมัยอู่ทองจารึกอยู่ลักษณะองค์พระถือเป็นแบบอย่างพุทธศิลป์สมัยสุโขทัยที่งดงามสมบูรณ์แบบอย่างยิ่ง
อีกทั้งภายในบริเวณวัดยังมีสระน้ำมนต์ ที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจะเสด็จมาสรงน้ำที่นี่เมื่อมีพิธีสำคัญของแผ่นดิน ที่กลางสระน้ำจะมีหินอาคมอยู่ เชื่อกันว่าผู้ใดที่มาอาบ-กิน จะได้ผลสัมฤทธิ์ดังที่อธิษฐานไว้
และยังมีเรื่องเล่ากันว่าในปี 2325 เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจะสวรรคต ได้มีการสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทร์ ปรากฏว่าพระโลหิตของพระองค์ตกลงพื้นดินซึ่งเป็นบริเวณหลังวัดหงส์ ประชาชนผู้เคารพนับถือพระองค์จึงได้พร้อมใจกันสร้างศาลขึ้นมา ณ ที่แห่งนี้ โดยสร้างเป็นศาลไม้ เวลาผ่านไปจึงเกิดการชำรุดทรุดโทรม กองทัพเรือจึงได้มาบูรณะสร้างศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชใหม่ใหญ่โตสวยงามในบริเวณเดียวกัน แต่ก็ยังคงรักษาศาลเก่าไว้ให้เรากราบไหว้บูชากันด้วย
ซึ่งหากใครที่ได้ไปกราบไหว้ที่ศาลจะเห็นข้อความในพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าตากว่า "อันตัวกูชื่อว่าพระยาตาก ทนทุกข์ยากกู้ชาติพระศาสนา ถวายแผ่นดินให้เป็นพุทธบูชา แด่ศาสนาสมณะพุทธโคดม ให้ยืนยงคงถ้วนห้าพันปี สมณะพราหมณ์ชีปฏิบัติให้พอสม เจริญสมถะวิปัสสนาพ่อชื่นชม ถวายบังคมแทบบาทพระศาสดา คิดถึงพ่อพ่ออยู่คู่กับเจ้า ชาติของเราคงอยู่คู่พระศาสนา พระพุทธศาสน์อยู่ยงคู่องค์กษัตรา พระศาสดาฝากไว้ให้คู่กัน"
จะเห็นได้ว่านอกจากพระองค์จะทรงเป็นนักรบที่แกล้วกล้าแล้ว พระองค์ยังทรงเป็นนักการศาสนาที่เคร่งครัดอีกด้วย จนกล่าวได้ว่าพระองค์ทรงกอบกู้ชาติมาพร้อมกับการกอบกู้พระศาสนาในคราเดียวกันก็ว่าได้
ในสมัยก่อนเมื่อมีวังแล้วมักจะมีการสร้างวัดไว้ภายในวังด้วยดังเช่น สมัยสุโขทัย ที่มีการสร้างวัดอยู่ในเขตวังมากมาย อาทิ วัดมหาธาตุ วัดตระพังเงิน วัดศรีสวาย วัดสระศรี ดังที่ได้หลงเหลือหลักฐานอยู่ที่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย สมัยอยุธยา ก็มีการสร้างวัดพระศรีสรรเพชรญไว้ในวัง ส่วนในสมัยรัตนโกสินทร์วัดในวังก็คือวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว นั่นเอง
แต่ในสมัยกรุงธนบุรีวัดในวังนั้นไม่ได้มาจากการสร้างวัดในเขตวัง แต่เป็นการสร้างวังครอบคลุมอาณาเขตวัดเดิมที่มีอยู่ก่อนแล้ว และถือเอาวัดนั้นๆมาเป็นวัดในวัง ซึ่งน้อยคนนักจะรู้จักวัดในวังสมัยกรุงธนบุรี
หากย้อนกลับไปในสมัย พ.ศ.2310 หลังจากที่กรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ 2 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งในขณะนั้นดำรงพระยศเป็นเจ้าเมืองตากได้ตีฝ่าวงล้อมข้าศึกออกไปตั้งมั่นที่จังหวัดจันทบุรี จากนั้นก็ได้รวบรวมไพร่พลยกทัพกลับมาตีข้าศึกกู้เอกราชเอาบ้านเมืองกลับคืนมาเป็นของชาวไทยอีกครั้ง
แต่สงครามในครั้งนั้นได้สร้างความเสียหายให้แก่กรุงศรีอยุธยาเป็นอย่างมากจนเกินจะเยียวยาสร้างใหม่ และทรงเห็นว่าข้าศึกรู้จักพื้นที่ในกรุงศรีฯเป็นอย่างดีแล้ว จึงได้มีพระราชประสงค์ย้ายเมืองหลวงจากกรุงศรีอยุธยามาตั้งยังกรุงธนบุรี และได้เสด็จกรีฑาทัพล่องลงมาทางชลมารคจนมาถึงยังหน้าวัดมะกอกเป็นเวลารุ่งอรุณพอดี จึงได้ทรงเปลี่ยนชื่อ "วัดมะกอกนอก" แขวงวัดอรุณฯ เขตบางกอกใหญ่ เป็น "วัดแจ้ง" เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่เสด็จมาถึงวัดนี้เมื่อเวลาอรุณรุ่ง
และพระองค์ได้ตัดสินพระทัยสร้างพระราชวังขึ้นใหม่ในบริเวณนี้ เมื่อสร้างพระราชวังแล้วเสร็จทำให้วัดแจ้งตั้งอยู่ในเขตพระราชวังพอดี
สำหรับพระราชวังสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เป็นพระราชวังกษัตริย์แห่งเดียวในสมัยกรุงธนบุรี มีนามว่า"พระราชวังกรุงธนบุรี" หรือที่ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า"พระราชวังเดิม"
นอกจากนี้สมเด็จพระเจ้าตากสินฯทรงโปรดให้ปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้และมิให้มีพระสงฆ์จำพรรษาเพราะถือเป็นวัดในวัง และยังถือเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองธนบุรีอีกด้วย
จนมาในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ได้โปรดให้มาสร้างพระนครใหม่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาและรื้อกำแพงพระราชวังธนบุรีออก เมื่อไม่ได้อยู่ในเขตวังแล้วพระองค์จึงโปรดให้พระสงฆ์จำพรรษาอีกครั้งหนึ่ง และในสมัยรัชกาลที่ 4 ก็ได้ทรงเปลี่ยนชื่อเป็น "วัดอรุณราชวราราม" ดังที่เรียกกันมาจนถึงปัจจุบัน
ภายในวัดอรุณมีศาสนสถานที่สำคัญมากมาย อาทิ ยักษ์วัดแจ้ง เป็นรูปปั้นยักษ์ยืนอยู่หน้าประตูยอดซุ้มพระมงกุฎ 2 ตน ยักษ์ขาวคือ สหัสเดชะ และยักษ์เขียวคือ ทศกัณฑ์, พระปรางค์ ที่ก่ออิฐถือปูนประดับด้วยกระเบื้องเคลือบจาน ชามเบญจรงค์และเปลือกหอย ทำเป็นลายดอกไม้ ใบไม้ และลายอื่นๆ ยอดพระปรางค์เป็นนภศูลและมงกุฎปิดทอง เป็นต้น
จากวัดอรุณฯ ฉันไปยังอีกหนึ่งวัดในเขตวังธนบุรีได้แก่ "วัดโมลีโลกยาราม" ถ.วังเดิม แขวงวัดอรุณฯ เขตบางกอกใหญ่ เป็นวัดเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาเช่นกัน แต่เดิมเรียกกันว่า "วัดท้ายตลาด" เพราะอยู่ต่อจากตลาดเมืองธนบุรี แต่เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงมาสร้างพระราชวังก็ได้มีอาณาบริเวณครอบคลุมถึงวัดท้ายตลาดนี้ด้วย จึงทำให้วัดท้ายตลาดกลายเป็นวัดในเขตพระราชฐานหรือวัดในพระราชวังกรุงธนบุรีเช่นเดียวกับวัดอรุณฯ
ซึ่งภายในวัดแห่งนี้มีฉางเกลือ หรือที่เก็บเกลือ เนื่องจากในสมัยนั้นเกลือมีความสำคัญมากในการถนอมอาหาร เพื่อจะสามารถเก็บอาหารไว้ได้นานๆ จนถึงคำกล่าวกันว่า "หากจะโจมตีบ้านเมือง จะต้องทำลายฉางเกลือ คลังเสบียง และคลังแสงให้ได้"
แต่เมื่อวิวัฒนาการผ่านไป มีตู้เย็น มีการเก็บถนอมอาหารได้ในรูปแบบต่างๆ ฉางเกลือจึงหมดความจำเป็นและความสำคัญลง ปัจจุบันกลายเป็นพระวิหารลักษณะทรงไทยผสมจีน หลังคามุงกระเบื้องเคลือบดินเผา ช่อฟ้าใบระกาปั้นด้วยปูน ด้านในกั้นเป็น 2 ห้อง ด้านหลังเป็นห้องเล็กมีพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ และพระอัครสาวก
ด้านหน้าเป็นห้องใหญ่ตรงกลางมีแท่นชุกชีประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่าง ๆ ประตูและหน้าต่าง ทุกช่อง เขียนลายรดน้ำงดงามแต่ชำรุด เพดานเขียนลวดลายเป็นกลุ่มดาว เล่าสืบกันมาว่าสมัยกรุงธนบุรีโปรดให้ใช้เป็นฉางเกลือ จนมีผู้ผู้เรียกว่า พระวิหารฉางเกลือ มาจนถึงทุกวันนี้
พระอุโบสถหลังคามุขมุงด้วยกระเบื้องไทย มีช่อฟ้าใบระกา ซุ้มประตู หน้าต่าง และหน้าบันเป็นลายปูนปั้น บานประตูหน้าต่างเป็นไม้แกะสลักรูปต้นไม้ดอกไม้ ใกล้ๆกันมีพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชประทับนั่ง พระหัตถ์ทั้งสองข้างจับดาบ
เมื่อฉันได้สักการะพระองค์แล้ว ก็เดินขึ้นไปบน หอสมเด็จ ซึ่งอยู่ด้านหลังพระบรมรูป ภายในมีรอยพระพุทธบาทจำลอง และอีกฟากมีรูปหล่อสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) ซึ่งเคยเป็นพระราชาคณะของวัดนี้ เป็นที่เคารพนับถือของเจ้านายในสมัยนั้นมาก และยังเป็นพระราชกรรมวาจาจารย์ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อเสด็จออกผนวชด้วย ที่ฐานขอหอสมเด็จฉันเห็นรูปปูนปั้นเป็นทหารฝรั่งหลายคนด้วยกันดูแลรักษาหรือคอยแบกค้ำจุนหอสมเด็จแห่งนี้อยู่กระมัง ดูสวยงามแปลกตา
ภายในวัดโมลีโลกยารามยังมีหอพระไตรปิฎก หรือ หอไตร เป็นอาคารไม้ทรงไทย หลังคามุงกระเบื้องเคลือบ ใช้ปูนปั้นรูปเจดีย์แทนช่อฟ้า บานประตูหน้าต่างและผนังด้านในเขียนลายรดน้ำ แต่ตอนนี้ชำรุดทรุดโทรมมากจนต้องบูรณะใหม่ บางคนเชื่อว่าที่หอไตรนี้เคยถูกใช้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าตากสินอีกด้วย
ใกล้ๆกับวัดโมลีโลกยาราม คือ "วัดหงส์รัตนาราม" ถ.วังเดิม แขวงวัดอรุณฯ เขตบางกอกใหญ่ เดิมชาวบ้านเรียกว่า "วัดเจ้าขรัวหงส์" ตามชื่อของเศรษฐีชาวจีนผู้สร้างวัดในสมัยอยุธยา ต่อมาในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช แห่งกรุงธนบุรี ได้รับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ และทรงปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ และกุฏิ และในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดหงส์รัตนาราม"
ภายในวัดพระอุโบสถที่สร้างในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสิน เล่ากันว่าพระองค์มักจะเสด็จมานั่งวิปัสสนากรรมฐานที่วัดนี้ ต่อมาได้มีการบูรณะมีพาไลแบบศิลปะรัชกาลที่ 3 ซุ้มประตูลักษณะจีนปนฝรั่ง ลายปูนปั้นที่ซุ้มประตูหน้าต่าง ได้รับการยกย่องในเรื่องฝีมือมาก เสาภายในพระอุโบสถเป็นแบบอยุธยาตอนต้นซึ่งนำแบบอย่าง มาจากสุโขทัยเป็นเสากลมเรียงเข้าไปแบ่งได้ เจ็ดห้อง เขียนลายพุ่มข้าวบิณฑ์ประดับด้วยดอกพุดตาน
จิตรกรรมฝาผนังและลวดลายแกะสลักที่ประตูนั้น เป็นลายดอกพุดตาน และเบญจมาศเป็นพระราชนิยมในรัชกาลที่ 3 ซึ่งดอกพุดตาน เบญจมาศ และโบตั๋นนั้น จะเกี่ยวกับความเชื่อใน ฮก ลก ซิ่วด้วย นอกจากนี้ยังมีจิตกรรมสีฝุ่นเขียนใส่กรอบกระจกเรื่องรัตพิมพวงศ์ หรือตำนานพระแก้วมรกต ฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ 3 และรัชกาลที่ 4
ภายในวิหารด้านข้างพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปทองโบราณ ลักษณะเป็นฝีมือประติมากรชั้นเยี่ยม สมัยสุโขทัย โดยพระพุทธรูปทองโบราณเดิมนั้นองค์พระได้ถูกพอกด้วยปูนปั้น เมื่อทำการกะเทาะปูนออกจึงพบองค์พระเป็นทองเนื้อห้า โดยบริเวณฐานพระมีตัวอักษรสมัยอู่ทองจารึกอยู่ลักษณะองค์พระถือเป็นแบบอย่างพุทธศิลป์สมัยสุโขทัยที่งดงามสมบูรณ์แบบอย่างยิ่ง
อีกทั้งภายในบริเวณวัดยังมีสระน้ำมนต์ ที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจะเสด็จมาสรงน้ำที่นี่เมื่อมีพิธีสำคัญของแผ่นดิน ที่กลางสระน้ำจะมีหินอาคมอยู่ เชื่อกันว่าผู้ใดที่มาอาบ-กิน จะได้ผลสัมฤทธิ์ดังที่อธิษฐานไว้
และยังมีเรื่องเล่ากันว่าในปี 2325 เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจะสวรรคต ได้มีการสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทร์ ปรากฏว่าพระโลหิตของพระองค์ตกลงพื้นดินซึ่งเป็นบริเวณหลังวัดหงส์ ประชาชนผู้เคารพนับถือพระองค์จึงได้พร้อมใจกันสร้างศาลขึ้นมา ณ ที่แห่งนี้ โดยสร้างเป็นศาลไม้ เวลาผ่านไปจึงเกิดการชำรุดทรุดโทรม กองทัพเรือจึงได้มาบูรณะสร้างศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชใหม่ใหญ่โตสวยงามในบริเวณเดียวกัน แต่ก็ยังคงรักษาศาลเก่าไว้ให้เรากราบไหว้บูชากันด้วย
ซึ่งหากใครที่ได้ไปกราบไหว้ที่ศาลจะเห็นข้อความในพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าตากว่า "อันตัวกูชื่อว่าพระยาตาก ทนทุกข์ยากกู้ชาติพระศาสนา ถวายแผ่นดินให้เป็นพุทธบูชา แด่ศาสนาสมณะพุทธโคดม ให้ยืนยงคงถ้วนห้าพันปี สมณะพราหมณ์ชีปฏิบัติให้พอสม เจริญสมถะวิปัสสนาพ่อชื่นชม ถวายบังคมแทบบาทพระศาสดา คิดถึงพ่อพ่ออยู่คู่กับเจ้า ชาติของเราคงอยู่คู่พระศาสนา พระพุทธศาสน์อยู่ยงคู่องค์กษัตรา พระศาสดาฝากไว้ให้คู่กัน"
จะเห็นได้ว่านอกจากพระองค์จะทรงเป็นนักรบที่แกล้วกล้าแล้ว พระองค์ยังทรงเป็นนักการศาสนาที่เคร่งครัดอีกด้วย จนกล่าวได้ว่าพระองค์ทรงกอบกู้ชาติมาพร้อมกับการกอบกู้พระศาสนาในคราเดียวกันก็ว่าได้