โดย : ปิ่น บุตรี
“สายนที รินหลั่งจากฟ้า แบ่งพสุธาเป็นซ้ายและขวาสองฝั่ง หากน้ำกั้นขวางก็บ่สำคัญ แต่ความสัมพันธ์ของเฮามั่นคงเรื่อยไป
ถึงไกลกัน คนละฝั่งของ ต่างหมายปรองดองมุ่งหวังทั้งสองจนได้ ด้วยความใฝ่ฝันมั่นสุดหัวใจ ฝากฝังทรวงในเหมือนใจเดียวกัน...”
ท่อนแรกของเพลงสองฝั่งโขง(สองฝั่งของ) โดย จำปา(สุลิวัต) ลัดตะนะสะหวัน
เวลาไปลาว เพลงที่ผมนึกถึงเป็นอันดับแรกคือ“ดวงจำปา” แต่ถ้าเวลาไปแถวริมโขงชายแดนไทย-ลาว “สองฝั่งโขง”คือเพลงที่ผมนึกถึงก่อนเพื่อน
สองฝั่งโขง เพลงนี้ฟังทีไรหัวใจมันอดสะสกสะท้อนไม่ได้ พวกเราชาวไทย-ลาว รวมถึงเพื่อนบ้านอื่นๆในแถบอินโดจีน อยู่ด้วยกันมาดีๆฉันเพื่อนพ้องน้องพี่ ฉันคนบ้านใกล้เรือนเคียง แต่จู่ๆกลับถูกคนนอกผู้อวดอ้างตัวเองว่าศิวิไลซ์อย่างอังกฤษ-ฝรั่งเศส เข้ามารุกราน ใช้อำนาจบาตรใหญ่ ยึดครองและแบ่งแยกดินแดนอินโดจีนออกเป็นฝักเป็นฝ่าย จนเกิดความร้าวฉานขึ้นทั่วไปในแผ่นดินอินโดจีน
ตัวอย่างที่เห็นเด่นชัดคงหนีไม่พ้น กรณีเขาพระวิหารที่ถูกระเบิดเวลาลูกใหญ่ของฝรั่งเศสวางไว้ จนเกิดเป็นบาดแผลระหว่างไทยกับเขมรขึ้นมา ยิ่งมีคนขายชาตินำเขาพระวิหารไปเกี่ยวโยงกับผลประโยชน์ทับซ้อนก็ยิ่งทำให้บาดแผลของ 2 ชนชาติร้าวลึกมากขึ้น
หันมาดูที่ริมฝั่งแม่น้ำโขงกันบ้าง ฝรั่งเศสใช้เล่ห์เหลี่ยมแบ่งแม่น้ำโขงออกเป็นฝั่งลาว-ซ้าย ฝั่งไทย-ขวา สร้างความปวดร้าวให้กับคนริมโขงที่เคยไปมาหาสู่กัน ก่อนที่หลายพื้นที่จะถูกเกมการเมืองของชนชั้นปกครองปลุก-ปั่น-ป่วน จนความปวดร้าวถูกยกระดับขึ้นเป็นความร้าวฉานตามมาในภายหลัง
แผลเก่า..
หนึ่งในเมืองที่ได้รับผลกระทบจากการกระทำของฝรั่งเศสผู้รุกรานที่ใช้สายน้ำโขงแบ่งแยกผู้คนริม 2 ฝั่งน้ำเป็นฝัก-เป็นฝ่าย เป็นไทย-เป็นลาว โดยไม่คำนึงถึงมิตรภาพดั้งเดิมของผู้คนแถบนี้ก็คือ “เมืองเชียงคาน”(ปัจจุบันอยู่ใน อ.เชียงคาน จ.เลย)
เมืองนี้ถูกฝรั่งเศสทิ้งรอยแผล(เก่า)คือ การทำให้เกิดเมือง“เชียงคานเดิม” กลับ“เชียงคานใหม่”ขึ้น ใน 2 ฟากฝั่งลำโขง ซึ่งตามประวัติคร่าวๆของเมืองเชียงคานระบุว่า
...เมืองเชียงคานเดิม ตั้งอยู่บนผาฮดทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ.1400 โดยขุนคาน โอรสของขุนคัวกษัตริย์แห่งล้านช้าง ถือเป็นเมืองยุทธศาสตร์สำคัญริมน้ำโขงที่อยู่ภายใต้การปกครองของสยามมาช้านาน
จนกระทั่งในยุคล่าอาณานิยม สมัยรัชกาลที่ 5 ร.ศ. 112(พ.ศ. 2436) ฝรั่งเศสได้รุกรานอินโดจีนอย่างหนัก จนทำให้สยามต้องเสียดินแดนฝั่งซ้ายทั้งหมดของแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศสไป รวมไปถึงเมืองเชียงคาน(เดิม)ด้วย (หลังจากนั้นฝรั่งเศสได้เปลี่ยนชื่อเมืองเชียงคานเดิมเป็น "เมืองสานะคาม" ปัจจุบันอยู่ในแขวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว)
แต่ดูเหมือนว่าชาวเชียงคานเดิมส่วนใหญ่จะไม่ยินยอมพร้อมใจ ไม่ยอมทนต่อการปกครองของฝรั่งเศส พวกเขาจึงพากันอพยพมาตั้งถิ่นฐานสร้างเมืองใหม่ขึ้นทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขง(เยื้องๆกับเชียงคานเดิมไปทางขวาเล็กน้อย) เกิดเป็นเมืองเชียงคานใหม่หรือเชียงคานในปัจจุบันนั่นเอง...
“สมัยก่อนเราเคยพายเรือไปมาหาสู่ ข้ามไปข้ามมาเป็นประจำเป็นปกติสุข คนฝั่งโน้น(ฝั่งลาว)จะข้ามมาซื้อผักผลไม้ที่นี่ ส่วนคนฝั่งนี้(ฝั่งไทย)ก็จะข้ามไปซื้อปลา ซื้อของป่าจากเขา ไม่มีการแบ่งเป็นลาวเป็นไทยมีแต่ความเพื่อนบ้าน แต่เดี๋ยวนี้ทำอย่างนั้นไม่ได้แล้ว เวลาจะข้ามฝั่งทีต้องไปข้ามตรงด่านข้ามแดนโน่น”
ลุงอุดม ชาวเชียงคานโดยกำเนิดผู้เปี่ยมไปด้วยรอยยิ้มและไมตรีเล่าให้ผมฟัง ระหว่างที่นำแพะออกมาเลาะเล็มหญ้าริมฝั่งโขงเมืองเชียงคานในช่วงสายๆของวัน
ซึ่ง ณ วันนี้แม้สายน้ำโขงจะแบ่งแยกความเป็นไทย-ลาว ออกจากกันตามกำหนดของฝรั่งเศส แต่ดูเหมือนว่าสายน้ำโขงจะแบ่งแยกได้แต่เพียงเขตแดนเท่านั้น เพราะลึกๆแล้วสายสัมพันธ์ของคนริมโขงไทย-ลาว ยังคงไปมาหาสู่แน่นแฟ้นผูกพันอยู่ไม่แปรเปลี่ยน
“...โขงสองฝั่ง กั้นกลางด้วยสายนที แต่ประเพณีนั้นบ่ต่างกัน ชาติลาวและไทยก่อนนั้นเคยได้สัมพันธ์ ร่วมสายโลหิตเดียวกัน เพียงน้ำเท่านั้นมากั้นแบ่งทาง
ขอฟ้าดิน ช่วยเป็นสักขี โปรดคิดปรานีจงอย่าได้มีวันห่าง อย่าให้สัมพันธ์นั้นต้องจืดจาง ฝากฝังชีวีเหนือนทีสองฝั่งเอย”
ท่อนหลังของเพลงสองฝั่งโขง
แผลใหม่...
หลังสภาพการณ์เปลี่ยนผ่าน เชียงคานเดิมเป็นเชียงคานใหม่หรือเชียงคานในปัจจุบัน ณ อ.เชียงคาน จ.เลย มาวันนี้อดีตของเชียงคานใหม่ผ่านร้อนผ่านหนาว ผ่านความรุ่งเรืองร่วงโรย เดินทางเข้าสู่เมืองท่องเที่ยวเล็กๆอันสงบงามริมฝั่งโขง เป็นดังตัวแทนของอดีตอันงดงาม เพราะยิ่งพลวัตแห่งเทคโนโลยีและความเจริญทางด้านวัตถุขับเคลื่อนหมุนเร็วเท่าใด ก็ยิ่งดูเหมือนว่าจะมีผู้คนเดินหนีจากโลกเทคโนโลยีทีรุมเร้าเข้าสู่ธรรมชาติ ความปลีกวิเวก และความสงบในจิตใจมากขึ้น
ในเมืองเชียงคานมีสิ่งน่าสนใจให้ชวนสัมผัส อาทิ วิถีชีวิตชาวบ้านอันสงบงามที่มากไปด้วยรอยยิ้มและน้ำมิตร และแนบแน่นในพุทธศาสนา บ้านเรือนไม้ประตูบานเฟี้ยมสมัยเก่า(ชาวบ้าน“เรือนแรม”)และอาคารสถาปัตยกรรมยุโรปที่สร้างแซมประปราย วัดวาอารามที่มีวัดเด่นๆอย่าง วัดศรีคุณเมือง วัดท่าคก ลำน้ำโขงที่ไหลเลาะเรียบริมเชียงคานและวิถีริมโขง แก่งคุดคู้กลางลำน้ำโขงอันโดดเด่นสวยงาม(ยามหน้าแล้ง)
เชียงคานในวันนี้อาจไม่เป็นที่ถูกใจ ถูกจริต สำหรับผู้นิยมแสงสี-โลกีย์-ความเจริญทางวัตถุ-สิ่งอำนวยความสะดวก รวมถึงการจัดฉากเพื่อการท่องเที่ยวแบบเรียลลิตี้โชว์จอมปลอม แต่ด้วยกระแสเมืองท่องเที่ยวเล็กๆที่กำลังมาแรง ทำให้เชียงคานติดโผเมืองท่องเที่ยวที่กำลังมาแรงในอันดับต้นๆของเมืองไทย
และนั่นก็ทำให้ ทั้งคนใน(คนในพื้นที่ชาวเชียงคาน)และคนนอก(นักท่องเที่ยว,นายทุนต่างถิ่นที่ไปทำกินที่เชียงคาน)ในดินแดนแห่งนี้ จะต้องช่วยกันดูแลรักษาเก็บบรรยากาศอันเรียบง่ายแต่มีเสน่ห์เหล่านี้ไว้ ให้เชียงคานเป็นเมืองท่องเที่ยวเล็กๆอันสงบงาม ยั่งยืน ไม่ให้เชียงคานถูกกระแสธารแห่งการท่องเที่ยวในยุคทุนนิยมถล่มจน "เละ"เหมือนหลายๆเมืองท่องเที่ยวในบ้านเรา ที่มุ่งเน้นแต่กอบโกยเม็ดเงิน แต่ขาดการบริหาร จัดการ และพัฒนาแบบมีทิศทางไม่สะเปะสะปะไร้ทิศไร้ทาง
เพราะนั่นเท่ากับว่าเชียงคานจะมี“แผลใหม่”เกิดขึ้น เป็นแผลจากการท่องเที่ยวที่หากรักษาไม่ดี อาจจะกลายเป็น“แผลเป็น”ติดตัวเชียงคานไปตลอดก็เป็นได้
‘รักเชียงคานจริง ต้องเฝ้าทะนุถนอม ดูการเติบโตอย่างช้าๆค่อยๆเป็น ค่อยๆไป เติบโตอย่างแข็งแรง มีคุณภาพ รู้ทิศทาง ควบคุมตัวเองได้
...ไม่ตกอยู่ในความต้องการของนักท่องเที่ยว ที่มา...แล้วก็ไป อย่าลืม...ว่าพวกเขา มาแล้วก็ไป
ให้เชียงคานเป็นเชียงคาน อย่าไปเสริมเติมแต่งจริตให้มากเกิน
มิฉะนั้น...เสน่ห์เชียงคานจะจางหาย’
ตัดทอนบางส่วนจาก www.chiangkhan.com
“สายนที รินหลั่งจากฟ้า แบ่งพสุธาเป็นซ้ายและขวาสองฝั่ง หากน้ำกั้นขวางก็บ่สำคัญ แต่ความสัมพันธ์ของเฮามั่นคงเรื่อยไป
ถึงไกลกัน คนละฝั่งของ ต่างหมายปรองดองมุ่งหวังทั้งสองจนได้ ด้วยความใฝ่ฝันมั่นสุดหัวใจ ฝากฝังทรวงในเหมือนใจเดียวกัน...”
ท่อนแรกของเพลงสองฝั่งโขง(สองฝั่งของ) โดย จำปา(สุลิวัต) ลัดตะนะสะหวัน
เวลาไปลาว เพลงที่ผมนึกถึงเป็นอันดับแรกคือ“ดวงจำปา” แต่ถ้าเวลาไปแถวริมโขงชายแดนไทย-ลาว “สองฝั่งโขง”คือเพลงที่ผมนึกถึงก่อนเพื่อน
สองฝั่งโขง เพลงนี้ฟังทีไรหัวใจมันอดสะสกสะท้อนไม่ได้ พวกเราชาวไทย-ลาว รวมถึงเพื่อนบ้านอื่นๆในแถบอินโดจีน อยู่ด้วยกันมาดีๆฉันเพื่อนพ้องน้องพี่ ฉันคนบ้านใกล้เรือนเคียง แต่จู่ๆกลับถูกคนนอกผู้อวดอ้างตัวเองว่าศิวิไลซ์อย่างอังกฤษ-ฝรั่งเศส เข้ามารุกราน ใช้อำนาจบาตรใหญ่ ยึดครองและแบ่งแยกดินแดนอินโดจีนออกเป็นฝักเป็นฝ่าย จนเกิดความร้าวฉานขึ้นทั่วไปในแผ่นดินอินโดจีน
ตัวอย่างที่เห็นเด่นชัดคงหนีไม่พ้น กรณีเขาพระวิหารที่ถูกระเบิดเวลาลูกใหญ่ของฝรั่งเศสวางไว้ จนเกิดเป็นบาดแผลระหว่างไทยกับเขมรขึ้นมา ยิ่งมีคนขายชาตินำเขาพระวิหารไปเกี่ยวโยงกับผลประโยชน์ทับซ้อนก็ยิ่งทำให้บาดแผลของ 2 ชนชาติร้าวลึกมากขึ้น
หันมาดูที่ริมฝั่งแม่น้ำโขงกันบ้าง ฝรั่งเศสใช้เล่ห์เหลี่ยมแบ่งแม่น้ำโขงออกเป็นฝั่งลาว-ซ้าย ฝั่งไทย-ขวา สร้างความปวดร้าวให้กับคนริมโขงที่เคยไปมาหาสู่กัน ก่อนที่หลายพื้นที่จะถูกเกมการเมืองของชนชั้นปกครองปลุก-ปั่น-ป่วน จนความปวดร้าวถูกยกระดับขึ้นเป็นความร้าวฉานตามมาในภายหลัง
แผลเก่า..
หนึ่งในเมืองที่ได้รับผลกระทบจากการกระทำของฝรั่งเศสผู้รุกรานที่ใช้สายน้ำโขงแบ่งแยกผู้คนริม 2 ฝั่งน้ำเป็นฝัก-เป็นฝ่าย เป็นไทย-เป็นลาว โดยไม่คำนึงถึงมิตรภาพดั้งเดิมของผู้คนแถบนี้ก็คือ “เมืองเชียงคาน”(ปัจจุบันอยู่ใน อ.เชียงคาน จ.เลย)
เมืองนี้ถูกฝรั่งเศสทิ้งรอยแผล(เก่า)คือ การทำให้เกิดเมือง“เชียงคานเดิม” กลับ“เชียงคานใหม่”ขึ้น ใน 2 ฟากฝั่งลำโขง ซึ่งตามประวัติคร่าวๆของเมืองเชียงคานระบุว่า
...เมืองเชียงคานเดิม ตั้งอยู่บนผาฮดทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ.1400 โดยขุนคาน โอรสของขุนคัวกษัตริย์แห่งล้านช้าง ถือเป็นเมืองยุทธศาสตร์สำคัญริมน้ำโขงที่อยู่ภายใต้การปกครองของสยามมาช้านาน
จนกระทั่งในยุคล่าอาณานิยม สมัยรัชกาลที่ 5 ร.ศ. 112(พ.ศ. 2436) ฝรั่งเศสได้รุกรานอินโดจีนอย่างหนัก จนทำให้สยามต้องเสียดินแดนฝั่งซ้ายทั้งหมดของแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศสไป รวมไปถึงเมืองเชียงคาน(เดิม)ด้วย (หลังจากนั้นฝรั่งเศสได้เปลี่ยนชื่อเมืองเชียงคานเดิมเป็น "เมืองสานะคาม" ปัจจุบันอยู่ในแขวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว)
แต่ดูเหมือนว่าชาวเชียงคานเดิมส่วนใหญ่จะไม่ยินยอมพร้อมใจ ไม่ยอมทนต่อการปกครองของฝรั่งเศส พวกเขาจึงพากันอพยพมาตั้งถิ่นฐานสร้างเมืองใหม่ขึ้นทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขง(เยื้องๆกับเชียงคานเดิมไปทางขวาเล็กน้อย) เกิดเป็นเมืองเชียงคานใหม่หรือเชียงคานในปัจจุบันนั่นเอง...
“สมัยก่อนเราเคยพายเรือไปมาหาสู่ ข้ามไปข้ามมาเป็นประจำเป็นปกติสุข คนฝั่งโน้น(ฝั่งลาว)จะข้ามมาซื้อผักผลไม้ที่นี่ ส่วนคนฝั่งนี้(ฝั่งไทย)ก็จะข้ามไปซื้อปลา ซื้อของป่าจากเขา ไม่มีการแบ่งเป็นลาวเป็นไทยมีแต่ความเพื่อนบ้าน แต่เดี๋ยวนี้ทำอย่างนั้นไม่ได้แล้ว เวลาจะข้ามฝั่งทีต้องไปข้ามตรงด่านข้ามแดนโน่น”
ลุงอุดม ชาวเชียงคานโดยกำเนิดผู้เปี่ยมไปด้วยรอยยิ้มและไมตรีเล่าให้ผมฟัง ระหว่างที่นำแพะออกมาเลาะเล็มหญ้าริมฝั่งโขงเมืองเชียงคานในช่วงสายๆของวัน
ซึ่ง ณ วันนี้แม้สายน้ำโขงจะแบ่งแยกความเป็นไทย-ลาว ออกจากกันตามกำหนดของฝรั่งเศส แต่ดูเหมือนว่าสายน้ำโขงจะแบ่งแยกได้แต่เพียงเขตแดนเท่านั้น เพราะลึกๆแล้วสายสัมพันธ์ของคนริมโขงไทย-ลาว ยังคงไปมาหาสู่แน่นแฟ้นผูกพันอยู่ไม่แปรเปลี่ยน
“...โขงสองฝั่ง กั้นกลางด้วยสายนที แต่ประเพณีนั้นบ่ต่างกัน ชาติลาวและไทยก่อนนั้นเคยได้สัมพันธ์ ร่วมสายโลหิตเดียวกัน เพียงน้ำเท่านั้นมากั้นแบ่งทาง
ขอฟ้าดิน ช่วยเป็นสักขี โปรดคิดปรานีจงอย่าได้มีวันห่าง อย่าให้สัมพันธ์นั้นต้องจืดจาง ฝากฝังชีวีเหนือนทีสองฝั่งเอย”
ท่อนหลังของเพลงสองฝั่งโขง
แผลใหม่...
หลังสภาพการณ์เปลี่ยนผ่าน เชียงคานเดิมเป็นเชียงคานใหม่หรือเชียงคานในปัจจุบัน ณ อ.เชียงคาน จ.เลย มาวันนี้อดีตของเชียงคานใหม่ผ่านร้อนผ่านหนาว ผ่านความรุ่งเรืองร่วงโรย เดินทางเข้าสู่เมืองท่องเที่ยวเล็กๆอันสงบงามริมฝั่งโขง เป็นดังตัวแทนของอดีตอันงดงาม เพราะยิ่งพลวัตแห่งเทคโนโลยีและความเจริญทางด้านวัตถุขับเคลื่อนหมุนเร็วเท่าใด ก็ยิ่งดูเหมือนว่าจะมีผู้คนเดินหนีจากโลกเทคโนโลยีทีรุมเร้าเข้าสู่ธรรมชาติ ความปลีกวิเวก และความสงบในจิตใจมากขึ้น
ในเมืองเชียงคานมีสิ่งน่าสนใจให้ชวนสัมผัส อาทิ วิถีชีวิตชาวบ้านอันสงบงามที่มากไปด้วยรอยยิ้มและน้ำมิตร และแนบแน่นในพุทธศาสนา บ้านเรือนไม้ประตูบานเฟี้ยมสมัยเก่า(ชาวบ้าน“เรือนแรม”)และอาคารสถาปัตยกรรมยุโรปที่สร้างแซมประปราย วัดวาอารามที่มีวัดเด่นๆอย่าง วัดศรีคุณเมือง วัดท่าคก ลำน้ำโขงที่ไหลเลาะเรียบริมเชียงคานและวิถีริมโขง แก่งคุดคู้กลางลำน้ำโขงอันโดดเด่นสวยงาม(ยามหน้าแล้ง)
เชียงคานในวันนี้อาจไม่เป็นที่ถูกใจ ถูกจริต สำหรับผู้นิยมแสงสี-โลกีย์-ความเจริญทางวัตถุ-สิ่งอำนวยความสะดวก รวมถึงการจัดฉากเพื่อการท่องเที่ยวแบบเรียลลิตี้โชว์จอมปลอม แต่ด้วยกระแสเมืองท่องเที่ยวเล็กๆที่กำลังมาแรง ทำให้เชียงคานติดโผเมืองท่องเที่ยวที่กำลังมาแรงในอันดับต้นๆของเมืองไทย
และนั่นก็ทำให้ ทั้งคนใน(คนในพื้นที่ชาวเชียงคาน)และคนนอก(นักท่องเที่ยว,นายทุนต่างถิ่นที่ไปทำกินที่เชียงคาน)ในดินแดนแห่งนี้ จะต้องช่วยกันดูแลรักษาเก็บบรรยากาศอันเรียบง่ายแต่มีเสน่ห์เหล่านี้ไว้ ให้เชียงคานเป็นเมืองท่องเที่ยวเล็กๆอันสงบงาม ยั่งยืน ไม่ให้เชียงคานถูกกระแสธารแห่งการท่องเที่ยวในยุคทุนนิยมถล่มจน "เละ"เหมือนหลายๆเมืองท่องเที่ยวในบ้านเรา ที่มุ่งเน้นแต่กอบโกยเม็ดเงิน แต่ขาดการบริหาร จัดการ และพัฒนาแบบมีทิศทางไม่สะเปะสะปะไร้ทิศไร้ทาง
เพราะนั่นเท่ากับว่าเชียงคานจะมี“แผลใหม่”เกิดขึ้น เป็นแผลจากการท่องเที่ยวที่หากรักษาไม่ดี อาจจะกลายเป็น“แผลเป็น”ติดตัวเชียงคานไปตลอดก็เป็นได้
‘รักเชียงคานจริง ต้องเฝ้าทะนุถนอม ดูการเติบโตอย่างช้าๆค่อยๆเป็น ค่อยๆไป เติบโตอย่างแข็งแรง มีคุณภาพ รู้ทิศทาง ควบคุมตัวเองได้
...ไม่ตกอยู่ในความต้องการของนักท่องเที่ยว ที่มา...แล้วก็ไป อย่าลืม...ว่าพวกเขา มาแล้วก็ไป
ให้เชียงคานเป็นเชียงคาน อย่าไปเสริมเติมแต่งจริตให้มากเกิน
มิฉะนั้น...เสน่ห์เชียงคานจะจางหาย’
ตัดทอนบางส่วนจาก www.chiangkhan.com