โดย:มะเมี้ยะ
จำได้ว่าเมื่อไม่นานมานี้ เคยเล่าเรื่องของ จัยปูร์ (JAIPUR) เมืองสีชมพู ในประเทศอินเดีย ให้ได้เห็นผ่านหู
ผ่านตากันมาบ้างแล้ว ครั้งนี้ฉันก็มีอีกเมืองหนึ่งที่อยู่ไม่ไกลจากจัยปูร์มาเล่าสู่กันฟัง แถมเมืองนี้ยังมี
เอกลักษณ์เฉพาะที่คล้ายคลึงกับเมืองสีชมพูอย่างจัยปูร์อีกด้วย
เมืองที่ฉันจะพาท่องไปในครั้งนี้ คือเมืองที่มีนามว่า “จ๊อดห์ปูร์” (JODHPUR) เมืองที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ
คือเป็นเมืองที่มีบ้านเรือนร้านรวงเกือบค่อนเมือง ถูกทาทาบด้วยสีฟ้า จะอ่อนจะเข้มก็ตามใจชอบ แต่ต้องโทนฟ้าเท่านั้น
จ๊อดห์ปูร์ หรือ จอดปุระ จัดได้ว่าเป็นเมืองใหญ่อันดับสอง ของรัฐราชสถาน (RAJASTHAN) เป็นรองเพียง จัยปูร์ เมืองสีชมพู หรือ ชัยปุระ เท่านั้น
จ๊อดห์ปูร์ ตั้งอยู่ห่างจากกรุงนิวเดลี เมืองหลวงของอินเดีย ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ราว 580 กิโลเมตร สร้างโดย มหาราชา ราโอ จอดา (RAO JODHA) แห่งราชวงศ์ ราเธอร์ (RATHORE) ผู้สืบเชื้อสายมาจากชาวราชปุท (RAJAPUT) นักรบผู้กล้าแห่งทะเลทราย สร้างในปี พ.ศ. 2002 ยุคเดียวกับกรุงศรีอยุธยาตอนต้น
ลักษณะที่ตั้งของ จ๊อดห์ปูร์ เรียกได้ว่าเป็นเมืองด่านหน้าของทะเลทรายธาร์ ผืนทะเลทรายที่สำคัญอันแห่งหนึ่งของโลก ทำให้ที่นี้เป็นเมืองที่ค่อนข้างแห้งแล้ง มีผู้คนล้มตายไปมาก เพราะทนต่อสภาพความแห้งแล้งไม่ไหว จ๊อดห์ปูร์ จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “มารวาร” (MARWAR) อันหมายถึงดินแดนแห่งความตาย
ใครที่ได้มาเยือน จ๊อดห์ปูร์ แน่นอนว่าสิ่งแรกที่เราอยากเห็น ก็ต้องเป็นบรรยากาศฟ้าๆ ที่ไม่ต้องเสาะแสวงหาก็มีให้เห็นอยู่เกลื่อนเมือง สีฟ้า ที่ใช้ทากันทั่วบ้านทั่วเมืองนี้ ใช่ว่าคนเมืองจ๊อดห์ปูร์ เขาไม่มีเหตุผลนะจะบอกให้
หลักใหญ่ใจสำคัญ ที่เมืองนี้ต้องเป็นสีฟ้า ก็เพราะว่าที่ตั้งของเมืองตั้งอยู่ในแถบทะเลทรายอันร้อนระอุ และเขาก็พิเคราะห์แล้วว่า สีฟ้าสามารถกันรังสีจากแสงแดดได้ดีกว่าสีอื่น อีกประการหนึ่งคือ สีฟ้าเป็นสีของวรรณะพราหมณ์ ซึ่งที่เมืองนี้มีชาววรรณะพราหมณ์อาศัยอยู่มาก คนโน้นทาที คนนี้ทาที ก็กลายเป็นเมืองสีฟ้าอย่างที่เห็น
ในเมืองจ๊อดห์ปูร์ มีที่ท่องเที่ยวสำคัญๆอยู่ไม่มากนัก แต่ทว่าแต่ละแห่งก็แฝงความอลังการและเต็มเปี่ยมไปด้วยคุณค่าทางประวัติศาสตร์ให้ได้ศึกษาอยู่ไม่น้อย เช่นที่ “เมห์รันการ์” (MEHRANGARH)อยู่ห่างจากตัวเมือง 5 กิโลเมตร เห็นเด่นเป็นสง่าบนเนินเขาสูง
ประมาณ 400 ฟุต เป็นป้อมปราการขนาดใหญ่ที่มีกำแพงหินหนา 68 ฟุต ความสูงบางช่วง 117 ฟุต ล้อมรอบตัววังยาวเกือบ 10 กิโลเมตร สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับของมหาราชา
สถานที่แห่งนี้ถือกำเนิดขึ้นมาพร้อมกับการสร้างเมือง เพราะก่อสร้างโดยมหาราชา ราโอ จอดา ป้อมนี้สร้างขึ้นด้วย หินทรายสีแดง ที่ผ่านการแกะเกลาสลักหินทรายอย่างวิจิตร
ป้อมเมห์รันการ์นี้ ภายในตกแต่งประดับประดาด้วยแก้วหลากสี แบ่งเป็นห้องหรือท้องพระโรงขนาดใหญ่อีกหลายแห่ง ห้องที่มีชื่อเสียงและจัดเป็นไฮไลท์ต้องยกให้ ห้องไข่มุก (MOTI MAHAL) ที่มีกระจกแก้วหลากสีประดับวิจิตรยิ่ง
นอกจากนี้ที่เมร์รันการ์ยังมีพื้นที่สำหรับจัดแสดงเป็นพิพิธภัณฑ์ ห้องแสดงอาวุธและเครื่องรบอุปกรณ์สมัยโบราณ รวมตลอดไปจนถึงเครื่องใช้ส่วนตัวของมหาราชาจัดแสดงไว้ให้ชมอีกด้วย ที่นี่เรียกได้ว่ามีการจัดระบบการเข้าชมเป็นระเบียบได้มาตรฐานพอสมควร มี ออดิโอ ให้เช่าเพื่อฟังบรรยายในแต่ละจุดได้ด้วยตัวเอง ถึง 7ภาษา แต่ไม่มีภาษาไทย
เมร์รันการ์ มีประตูเข้าทั้งหมด 7 แห่ง แต่ที่นักท่องเที่ยวนิยมไปชมมากที่สุดต้องยกให้ ประตูเหล็ก (LOHAPOL)
ดูแค่ประตูจะน่าสนใจอะไรจริงไหม?
ถ้าคิดแค่นั้นก็เปลี่ยนความคิดได้เลย เพราะสำหรับฉันมันน่าสนใจสุดๆเลยเชียวล่ะ
กลางบานประตูเหล็กอันใหญ่หนานั้น จะมีรอยมือประทับสีแดงจาง ๆ ของมนุษย์ปรากฏอยู่ รอยมือน้อยใหญ่เหล่านี้ มาจากของเหล่าสนมนางในของอดีตมหาราชาประทับไว้ก่อนที่จะกระทำ พิธีศตี (SATI) กระโดดเข้ากองไฟ ตายตามสามี ซึ่งเป็นประเพณีโบราณ
ว่ากันว่ามีเหล่าสนมนางในกว่า 60 คนที่กระทำพิธีศตีนี้ แค่คิดก็ขนพองสยองเกล้าแล้ว ไหนๆก็เล่าเรื่องพิธีศตีแล้วก็ขอร่ายต่ออีกนิดว่า อันพิธีศตี หรือ สัตตี เป็นปฏิบัติการที่หญิงม่ายฆ่าตัวตาย ด้วยการกระโดดลงไปในกองฟืนสำหรับเผาศพสามีผู้เพิ่งเสียชีวิตได้ไม่นาน บางครั้งด้วยความเต็มใจ แต่บางครั้งก็ถูกคนอื่นบังคับ
ถ้าจะบอกว่าเป็นการแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของบุรุษที่เหนือสตรีก็คงไม่ผิดนัก พิธีสตีนี้เมื่ออังกฤษเข้ามาปกครองอินเดียในยุคล่าอาณานิคม ก็ออกอาการรับไม่ได้อย่างรุนแรง อังกฤษพยายามอย่างเต็มที่ในการขจัดพิธีกรรมนี้ให้หมดไป โดยพิจารณาว่ามันป่าเถื่อนและปราศจากคุณค่าในการไถ่ถอนหรือปลดเปลื้องบาป
กลับมาเที่ยวกันต่อดีกว่า ที่เมร์รันการ์แห่งนี้ บนมุมสูงนี้จัดได้ว่าเป็นจุดชมวิวเมืองสีฟ้าได้ดีที่สุดจุดหนึ่งเลยทีเดียว ภาพท้องฟ้าสีครามตัดกับเมืองที่เป็นสีฟ้าทั้งเมือง มันตราตรึงยิ่งสำหรับผู้พบเห็น
ทำไมฉันถึงบอกว่าที่นี่เป็นจุดที่ดีสำหรับมองเมืองสีฟ้านะหรือ ก็เพราะว่าความลับอีกอย่างของเมืองสีฟ้า คือ บ้านบางหลังจะทาสีฟ้าเฉพาะมุมที่หันหน้าไปทางป้อมเมร์รันการ์เท่านั้น
ทั้งยังมีวัง “อูเมด พาวัน” ( Umaid Bhawan) ที่ตั้งอยู่ไม่ไกล เป็นฉากหลังอันงดงาม สำหรับที่นี่ หากจะเรียกว่าเป็นวังที่สร้างขึ้นมาใหม่ก็เห็นจะไม่ผิดเท่าไหร่นัก เพราะที่นี้สร้างขึ้นสร้างเมื่อ พ.ศ. 2472 มีอายุแค่ 76 ปี
ก่อสร้างขึ้นตามโครงการจ้างงานชาวบ้านที่ยากจน สร้างโดย มหาราชาอุเมด ซิงห์ (MAHARAJA UMAID SINGH) มีห้องทั้งหมด 347 ห้อง ใช้เวลาสร้าง 15 ปี โดยคนงาน 300 คน ตัวพระราชวังได้รับการออกแบบจากสองสถาปนิกชาวอังกฤษ ตกแต่งแบบ อินโด-โคโลเนียล สร้างด้วยหินทรายสีเนื้อ อยู่บนเนินเขาสูง ปัจจุบันก็เป็นที่พำนักของมหาราชแห่งจ๊อดห์ปูร์และกันบางส่วนไว้สำหรับเป็นโรงแรมระดับห้าดาว สนนราคาต่อคืน ก็เฉียดหมื่นบาทเหมือนกัน ใครอยากลองใช้ชีวิตแบบมหาราชาก็เชิญได้
แหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งในเมืองสีฟ้านี้อย่าง “จัสวัน ธาดา” (jaswant thada) ก็เป็นอีกหนึ่งแหล่งนิยมของท่องเที่ยวที่มายังเมืองจ๊อดห์ปูร์เช่นกัน
ที่นี่เป็นหลุมฝังพระศพและอนุสาวรีย์ของมหาราชา จัสวัน ซิงห์ที่2 จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของที่นี่ คือ ก่อสร้างด้วยหินอ่อนจากแหล่งเดียวกับที่นำไปสร้างทัชมาฮาล เป็นอีกจุดหนึ่งที่จะมองเห็นความเป็นไปของเมืองสีฟ้าจากมุมสูงได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ลงจากที่สูงมาเดินในที่ราบบนถนนกลางเมืองจ๊อดห์ปูร์กันบ้าง เมืองนี้จัดได้ว่าเป็นเมืองหนึ่งที่แลดูเจริญ แต่ใครต้องการเห็นบรรยากาศคนเป็นอินเดียก็ยังมีให้เห็น
เมืองนี้มี“หอนาฬิกา” (clock tower) อันใหญ่และคลาสสิกตั้งอยู่ในบริเวณที่รายล้อมด้วยผู้คนพลุ่นพล่าน
ในยามกลางคืนหอนาฬิกาจะเปิดไฟหลากสี เมื่อสะท้อนออกมาก็งดงามอีกแบบหนึ่ง และที่นี่เป็นอีกจุดหนึ่ง ที่จะมองเห็นความเป็นไปของวิถีชีวิตชาวเมืองจ๊อดห์ปูร์ได้อย่างดีที่สุด
เมืองจ๊อดห์ปูร์ในสายตาฉัน ถือว่าเป็นอีกเมืองหนึ่งที่น่าค้นหาไม่น้อยกว่าเมืองไหนในอินเดียเลย เพราะแค่ได้มาเห็นเมืองที่ถูกอาบด้วยสีฟ้า ก็แสนจะคุ้มค่าแล้ว.
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
การเดินทาง จากกรุงเทพฯ สู่สนามบินอินธิราคานธี ในกรุงนิวเดลี ( New Delhi ) ใช้เวลาบินราว 4 ชั่วโมง แล้วจึงเดินทางสู่จ๊อดห์ปูร์ ด้วยรถไฟหรือเครื่องบินภายในประเทศ สกุลเงินที่ใช้คือ รูปี :1รูปี=1บาทไทย โดยประมาณ
จำได้ว่าเมื่อไม่นานมานี้ เคยเล่าเรื่องของ จัยปูร์ (JAIPUR) เมืองสีชมพู ในประเทศอินเดีย ให้ได้เห็นผ่านหู
ผ่านตากันมาบ้างแล้ว ครั้งนี้ฉันก็มีอีกเมืองหนึ่งที่อยู่ไม่ไกลจากจัยปูร์มาเล่าสู่กันฟัง แถมเมืองนี้ยังมี
เอกลักษณ์เฉพาะที่คล้ายคลึงกับเมืองสีชมพูอย่างจัยปูร์อีกด้วย
เมืองที่ฉันจะพาท่องไปในครั้งนี้ คือเมืองที่มีนามว่า “จ๊อดห์ปูร์” (JODHPUR) เมืองที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ
คือเป็นเมืองที่มีบ้านเรือนร้านรวงเกือบค่อนเมือง ถูกทาทาบด้วยสีฟ้า จะอ่อนจะเข้มก็ตามใจชอบ แต่ต้องโทนฟ้าเท่านั้น
จ๊อดห์ปูร์ หรือ จอดปุระ จัดได้ว่าเป็นเมืองใหญ่อันดับสอง ของรัฐราชสถาน (RAJASTHAN) เป็นรองเพียง จัยปูร์ เมืองสีชมพู หรือ ชัยปุระ เท่านั้น
จ๊อดห์ปูร์ ตั้งอยู่ห่างจากกรุงนิวเดลี เมืองหลวงของอินเดีย ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ราว 580 กิโลเมตร สร้างโดย มหาราชา ราโอ จอดา (RAO JODHA) แห่งราชวงศ์ ราเธอร์ (RATHORE) ผู้สืบเชื้อสายมาจากชาวราชปุท (RAJAPUT) นักรบผู้กล้าแห่งทะเลทราย สร้างในปี พ.ศ. 2002 ยุคเดียวกับกรุงศรีอยุธยาตอนต้น
ลักษณะที่ตั้งของ จ๊อดห์ปูร์ เรียกได้ว่าเป็นเมืองด่านหน้าของทะเลทรายธาร์ ผืนทะเลทรายที่สำคัญอันแห่งหนึ่งของโลก ทำให้ที่นี้เป็นเมืองที่ค่อนข้างแห้งแล้ง มีผู้คนล้มตายไปมาก เพราะทนต่อสภาพความแห้งแล้งไม่ไหว จ๊อดห์ปูร์ จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “มารวาร” (MARWAR) อันหมายถึงดินแดนแห่งความตาย
ใครที่ได้มาเยือน จ๊อดห์ปูร์ แน่นอนว่าสิ่งแรกที่เราอยากเห็น ก็ต้องเป็นบรรยากาศฟ้าๆ ที่ไม่ต้องเสาะแสวงหาก็มีให้เห็นอยู่เกลื่อนเมือง สีฟ้า ที่ใช้ทากันทั่วบ้านทั่วเมืองนี้ ใช่ว่าคนเมืองจ๊อดห์ปูร์ เขาไม่มีเหตุผลนะจะบอกให้
หลักใหญ่ใจสำคัญ ที่เมืองนี้ต้องเป็นสีฟ้า ก็เพราะว่าที่ตั้งของเมืองตั้งอยู่ในแถบทะเลทรายอันร้อนระอุ และเขาก็พิเคราะห์แล้วว่า สีฟ้าสามารถกันรังสีจากแสงแดดได้ดีกว่าสีอื่น อีกประการหนึ่งคือ สีฟ้าเป็นสีของวรรณะพราหมณ์ ซึ่งที่เมืองนี้มีชาววรรณะพราหมณ์อาศัยอยู่มาก คนโน้นทาที คนนี้ทาที ก็กลายเป็นเมืองสีฟ้าอย่างที่เห็น
ในเมืองจ๊อดห์ปูร์ มีที่ท่องเที่ยวสำคัญๆอยู่ไม่มากนัก แต่ทว่าแต่ละแห่งก็แฝงความอลังการและเต็มเปี่ยมไปด้วยคุณค่าทางประวัติศาสตร์ให้ได้ศึกษาอยู่ไม่น้อย เช่นที่ “เมห์รันการ์” (MEHRANGARH)อยู่ห่างจากตัวเมือง 5 กิโลเมตร เห็นเด่นเป็นสง่าบนเนินเขาสูง
ประมาณ 400 ฟุต เป็นป้อมปราการขนาดใหญ่ที่มีกำแพงหินหนา 68 ฟุต ความสูงบางช่วง 117 ฟุต ล้อมรอบตัววังยาวเกือบ 10 กิโลเมตร สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับของมหาราชา
สถานที่แห่งนี้ถือกำเนิดขึ้นมาพร้อมกับการสร้างเมือง เพราะก่อสร้างโดยมหาราชา ราโอ จอดา ป้อมนี้สร้างขึ้นด้วย หินทรายสีแดง ที่ผ่านการแกะเกลาสลักหินทรายอย่างวิจิตร
ป้อมเมห์รันการ์นี้ ภายในตกแต่งประดับประดาด้วยแก้วหลากสี แบ่งเป็นห้องหรือท้องพระโรงขนาดใหญ่อีกหลายแห่ง ห้องที่มีชื่อเสียงและจัดเป็นไฮไลท์ต้องยกให้ ห้องไข่มุก (MOTI MAHAL) ที่มีกระจกแก้วหลากสีประดับวิจิตรยิ่ง
นอกจากนี้ที่เมร์รันการ์ยังมีพื้นที่สำหรับจัดแสดงเป็นพิพิธภัณฑ์ ห้องแสดงอาวุธและเครื่องรบอุปกรณ์สมัยโบราณ รวมตลอดไปจนถึงเครื่องใช้ส่วนตัวของมหาราชาจัดแสดงไว้ให้ชมอีกด้วย ที่นี่เรียกได้ว่ามีการจัดระบบการเข้าชมเป็นระเบียบได้มาตรฐานพอสมควร มี ออดิโอ ให้เช่าเพื่อฟังบรรยายในแต่ละจุดได้ด้วยตัวเอง ถึง 7ภาษา แต่ไม่มีภาษาไทย
เมร์รันการ์ มีประตูเข้าทั้งหมด 7 แห่ง แต่ที่นักท่องเที่ยวนิยมไปชมมากที่สุดต้องยกให้ ประตูเหล็ก (LOHAPOL)
ดูแค่ประตูจะน่าสนใจอะไรจริงไหม?
ถ้าคิดแค่นั้นก็เปลี่ยนความคิดได้เลย เพราะสำหรับฉันมันน่าสนใจสุดๆเลยเชียวล่ะ
กลางบานประตูเหล็กอันใหญ่หนานั้น จะมีรอยมือประทับสีแดงจาง ๆ ของมนุษย์ปรากฏอยู่ รอยมือน้อยใหญ่เหล่านี้ มาจากของเหล่าสนมนางในของอดีตมหาราชาประทับไว้ก่อนที่จะกระทำ พิธีศตี (SATI) กระโดดเข้ากองไฟ ตายตามสามี ซึ่งเป็นประเพณีโบราณ
ว่ากันว่ามีเหล่าสนมนางในกว่า 60 คนที่กระทำพิธีศตีนี้ แค่คิดก็ขนพองสยองเกล้าแล้ว ไหนๆก็เล่าเรื่องพิธีศตีแล้วก็ขอร่ายต่ออีกนิดว่า อันพิธีศตี หรือ สัตตี เป็นปฏิบัติการที่หญิงม่ายฆ่าตัวตาย ด้วยการกระโดดลงไปในกองฟืนสำหรับเผาศพสามีผู้เพิ่งเสียชีวิตได้ไม่นาน บางครั้งด้วยความเต็มใจ แต่บางครั้งก็ถูกคนอื่นบังคับ
ถ้าจะบอกว่าเป็นการแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของบุรุษที่เหนือสตรีก็คงไม่ผิดนัก พิธีสตีนี้เมื่ออังกฤษเข้ามาปกครองอินเดียในยุคล่าอาณานิคม ก็ออกอาการรับไม่ได้อย่างรุนแรง อังกฤษพยายามอย่างเต็มที่ในการขจัดพิธีกรรมนี้ให้หมดไป โดยพิจารณาว่ามันป่าเถื่อนและปราศจากคุณค่าในการไถ่ถอนหรือปลดเปลื้องบาป
กลับมาเที่ยวกันต่อดีกว่า ที่เมร์รันการ์แห่งนี้ บนมุมสูงนี้จัดได้ว่าเป็นจุดชมวิวเมืองสีฟ้าได้ดีที่สุดจุดหนึ่งเลยทีเดียว ภาพท้องฟ้าสีครามตัดกับเมืองที่เป็นสีฟ้าทั้งเมือง มันตราตรึงยิ่งสำหรับผู้พบเห็น
ทำไมฉันถึงบอกว่าที่นี่เป็นจุดที่ดีสำหรับมองเมืองสีฟ้านะหรือ ก็เพราะว่าความลับอีกอย่างของเมืองสีฟ้า คือ บ้านบางหลังจะทาสีฟ้าเฉพาะมุมที่หันหน้าไปทางป้อมเมร์รันการ์เท่านั้น
ทั้งยังมีวัง “อูเมด พาวัน” ( Umaid Bhawan) ที่ตั้งอยู่ไม่ไกล เป็นฉากหลังอันงดงาม สำหรับที่นี่ หากจะเรียกว่าเป็นวังที่สร้างขึ้นมาใหม่ก็เห็นจะไม่ผิดเท่าไหร่นัก เพราะที่นี้สร้างขึ้นสร้างเมื่อ พ.ศ. 2472 มีอายุแค่ 76 ปี
ก่อสร้างขึ้นตามโครงการจ้างงานชาวบ้านที่ยากจน สร้างโดย มหาราชาอุเมด ซิงห์ (MAHARAJA UMAID SINGH) มีห้องทั้งหมด 347 ห้อง ใช้เวลาสร้าง 15 ปี โดยคนงาน 300 คน ตัวพระราชวังได้รับการออกแบบจากสองสถาปนิกชาวอังกฤษ ตกแต่งแบบ อินโด-โคโลเนียล สร้างด้วยหินทรายสีเนื้อ อยู่บนเนินเขาสูง ปัจจุบันก็เป็นที่พำนักของมหาราชแห่งจ๊อดห์ปูร์และกันบางส่วนไว้สำหรับเป็นโรงแรมระดับห้าดาว สนนราคาต่อคืน ก็เฉียดหมื่นบาทเหมือนกัน ใครอยากลองใช้ชีวิตแบบมหาราชาก็เชิญได้
แหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งในเมืองสีฟ้านี้อย่าง “จัสวัน ธาดา” (jaswant thada) ก็เป็นอีกหนึ่งแหล่งนิยมของท่องเที่ยวที่มายังเมืองจ๊อดห์ปูร์เช่นกัน
ที่นี่เป็นหลุมฝังพระศพและอนุสาวรีย์ของมหาราชา จัสวัน ซิงห์ที่2 จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของที่นี่ คือ ก่อสร้างด้วยหินอ่อนจากแหล่งเดียวกับที่นำไปสร้างทัชมาฮาล เป็นอีกจุดหนึ่งที่จะมองเห็นความเป็นไปของเมืองสีฟ้าจากมุมสูงได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ลงจากที่สูงมาเดินในที่ราบบนถนนกลางเมืองจ๊อดห์ปูร์กันบ้าง เมืองนี้จัดได้ว่าเป็นเมืองหนึ่งที่แลดูเจริญ แต่ใครต้องการเห็นบรรยากาศคนเป็นอินเดียก็ยังมีให้เห็น
เมืองนี้มี“หอนาฬิกา” (clock tower) อันใหญ่และคลาสสิกตั้งอยู่ในบริเวณที่รายล้อมด้วยผู้คนพลุ่นพล่าน
ในยามกลางคืนหอนาฬิกาจะเปิดไฟหลากสี เมื่อสะท้อนออกมาก็งดงามอีกแบบหนึ่ง และที่นี่เป็นอีกจุดหนึ่ง ที่จะมองเห็นความเป็นไปของวิถีชีวิตชาวเมืองจ๊อดห์ปูร์ได้อย่างดีที่สุด
เมืองจ๊อดห์ปูร์ในสายตาฉัน ถือว่าเป็นอีกเมืองหนึ่งที่น่าค้นหาไม่น้อยกว่าเมืองไหนในอินเดียเลย เพราะแค่ได้มาเห็นเมืองที่ถูกอาบด้วยสีฟ้า ก็แสนจะคุ้มค่าแล้ว.
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
การเดินทาง จากกรุงเทพฯ สู่สนามบินอินธิราคานธี ในกรุงนิวเดลี ( New Delhi ) ใช้เวลาบินราว 4 ชั่วโมง แล้วจึงเดินทางสู่จ๊อดห์ปูร์ ด้วยรถไฟหรือเครื่องบินภายในประเทศ สกุลเงินที่ใช้คือ รูปี :1รูปี=1บาทไทย โดยประมาณ