โดย : ปิ่น บุตรี
“ปีใหม่คือ ปีดี กว่าปีเก่า
ความโง่เขลา ลดลง ตรงศึกษา
สมาธิ สัมปชัญญ์ และปัญญา
ทวีมา ดีทุกสิ่ง ยิ่งขึ้นไป”
...พุทธทาสภิกขุ...
ปีเก่าผ่านไป ปีใหม่มาเยือน
เป็นธรรมดาสำหรับชาวไทยพุทธส่วนใหญ่ที่พอถึงช่วงปีใหม่ ต่างมุ่งหน้าเข้าวัดไหว้พระ ทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ฟังธรรม เพื่อความเป็นสิริมงคล เอาฤกษ์เอาชัยรับขวัญช่วงปีใหม่ ฟ้าใหม่ พร้อมกับความคาดหวังถึงสิ่งใหม่ๆสิ่งดีๆ แม้รู้ๆกันอยู่ว่าปีนี้สภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย ทำเศรษฐกิจไทยสะเทือน แถมยังโดนการเมืองบั่นทอนประเทศ แต่หากเรามีสติ ไม่ตั้งตนอยู่ในความประมาท อาจช่วยผ่อนหนักเป็นเบาได้ในหลายๆเรื่อง
นั่นจึงทำให้ช่วงปีใหม่นี้ผมขอพาแฟนานุแฟนมิตรรักนักอ่านไปเยือน “วัดพระธาตุสุโทน” จ.แพร่ ที่นอกจากจะงดงามวิจิตรด้วยงานพุทธศิลป์แล้ว ยังมีปริศนาธรรมแฝงอยู่ทั่วไปในวัดแห่งนี้ โดยเฉพาะปริศนาธรรมเรื่องความมีสติ และความไม่ประมาทที่ผมจำได้แม่นขึ้นใจ เพราะทางวัดมีเทคนิคการสอนผ่านงานพุทธศิลป์ที่แยบคายมากๆ
1…
บนถนนหมายเลข 101 จากแพร่มุ่งหน้าสู่เด่นชัย ห่างสามแยกเด่นชัยราว 5 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของวัดพระธาตุสุโทน หรือชื่อเต็มคือ “วัดพระธาตุสุโทนมงคลคีรีสามัคคีธรรม”
วัดแห่งนี้ผมได้ยินกิตติศัพท์ด้านความงามมานานแล้ว ครั้นพอมาเจอด้วยตัวเอง เพียงแรกพบมนต์เสน่ห์ของวัดแห่งนี้ก็พุ่งเข้าจับหมับในดวงใจแบบฉับพลันทันที โดยเฉพาะพระนอนองค์โตพระพักตร์หวาน พุทธสรีระงดงามสมส่วน ที่ประดิษฐานอยู่หน้าวัดนั้น สามารถดึงดูดคนผ่านทางอย่างผมให้เข้าไปค้นหาความงามของวัดแห่งนี้อย่างไม่รีรอ
ขณะที่ถัดองค์พระนอนไปตรงบันไดกลางทางขึ้นวัด มีสิงห์คู่สีทองร่วมด้วยพญานาค 7 เศียรที่ทอดตัวเลื้อยขนาบ 2 ข้างลงมาจากซุ้มประตูที่ดูแล้วเชิญชวนให้อยากเดินขึ้นวัดเสียนี่กระไร
แต่ประทานโทษประตูนี้กลางนี้ปิด เข้าไม่ได้ครับพี่น้อง
พี่ผู้รู้(ไม่ประสงค์จะออกนาม) ผู้นำทริปนี้บอกกับผมว่า นี่เป็นประตูพิเศษที่ทางวัดสร้างไว้สำหรับพระเจ้าแผ่นดิน เชื้อพระวงศ์ พระเถระชั้นผู้ใหญ่ และผู้มีบุญบารมีเดินขึ้น ส่วนปุถุชนคนธรรมดาๆอย่างเราๆท่านๆให้เดินขึ้นทางประตูฝั่งซ้าย-ขวา ด้านข้าง
งานนี้พวกเราจึงเลือกเดินขึ้นทางฝั่งขวา ที่พอก้าวเข้าเขตวัด ผมอดตะลึงพรึงเพริศในความงามที่พบเห็นไม่ได้ ซึ่งบรรดาความงามปานเนรมิตในวัดพระธาตุสุโทนนั้น พี่ผู้รู้บอกว่า ถูกสรรค์สร้างโดยท่านเจ้าอาวาส พระครูบามนตรี ธมฺมเมธี(พระครูวิฑิตพิพัฒนาภรณ์)ที่ท่านจะมาพบพวกเราในไม่อีกนาทีนี้
โอ้ว...พระเจ้า หะแรกผมนึกว่าพี่ผู้รู้แกมีญาณวิเศษรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า ประทานโทษ เปล่าเลยเพราะแกบอกกับผมต่อว่า “พี่นัดท่านเอาไว้นะ”
ป้าดโธ่ กลายเป็นงั้นไป แต่ถึงพี่ผู้รู้จะไม่มีญาณวิเศษแต่แกก็รอบรู้เรื่องราวเกี่ยวกับวัดแห่งนี้มากเป็นพิเศษชนิดหาตัวจับยาก แต่ตอนนี้ผมกำลังจับแกเป็นตัวประกันให้อธิบายความต่างๆของวัดนี้ให้ฟังพอสังเขป
พี่ผู้รู้เล่าว่า ท่านเจ้าอาวาส โปรดปรานในงานศิลปะและมีฝีมือทางการปั้น แกะสลักมาตั้งแต่เด็ก ช่วงที่ท่านบวชเรียนนอกจากการปฏิบัติธรรมแล้ว ท่านได้ใช้เวลาส่วนหนึ่งเดินทางไปศึกษางานพุทธศิลป์ระดับมาสเตอร์พีชตามวัดวาอารามต่างๆ ทั้งในเมืองไทยและต่างประเทศ ก่อนจะนำเอาจุดเด่นของงานศิลปกรรมตามวัดต่างๆ โดยเฉพาะวัดทางภาคเหนือมาสร้างเป็นวัดพระธาตุสุโทนในปี พ.ศ. 2527 (ผมเห็นแกแอบดูปี พ.ศ.การสร้างวัดจากเอกสารที่เตรียมวาแว่บนึง)
พี่ผู้รู้เทศน์ต่อ เอ้ย!!! เล่าต่อว่า พระครูบามนตรี นอกจากจะควบคุมงานการก่อสร้างและการผลิตแล้ว งานหลายชิ้นท่านยังลงมือทำด้วยตัวเอง ทั้งการแกะสลัก ปั้นปูน ฯลฯ รวมไปถึงการออกแบบที่ลงมือทำกันกันสดๆหน้าชิ้นงานชนิดที่ไม่ต้องมีการร่างแบบแต่อย่างใด
หลังฟังพี่ผู้รู้ไปพอหอมปากหอมคอ พระครูบามนตรี ท่านเจ้าอาวาสก็เดินมาหากลุ่มพวกเรา
งานนี้พี่ผู้รู้เลยถือโอกาสส่งไม้ต่อให้กับท่านเจ้าอาวาส อธิบายความสิ่งต่างๆในวัดแห่งนี้ต่อ ซึ่งพระครูบามนตรี บอกกับผมว่า เหตุที่ท่านใช้วัดพระธาตุสุโทนเป็นที่รวบรวมงานพุทธศิลป์ระดับสุดยอดต่างนั้น ท่านต้องการให้งานศิลปะเป็นสิ่งช่วยกระตุ้นให้คนเข้าวัดเพื่อศึกษาหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาที่มีอยู่ในวัด
ท่านเจ้าอาวาสบอกว่า“วัดพระธาตุสุโทนเป็นดังสถานพยาบาลทางใจ มีหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นสิ่งช่วยรักษาจิตใจ”
2…
หลังการเดินเข้าเขตวัดพระธาตุมาได้ไม่กี่ 10 ก้าว ผมสังเกตว่าวัดแห่งนี้ดูจะไม่เน้นในสิ่งก่อสร้างประเภทใหญ่โตอลังการ แบบที่วัดเมืองไทยหลายๆวัดนิยมสร้างกัน แต่จะเน้นไปที่ความงาม ความสมส่วนและปริศนาธรรมที่ซ่อนเร้นแฝงอยู่ โดยเฉพาะในเขตกำแพงพระอุโบสถนั้นนอกจากจะงามวิจิตรเพริศแพร้วแล้ว ยังมีหลักธรรมคำสอนแฝงเร้นอยู่มากมาย
เริ่มจากสิ่งชวนชมภายนอกตัวโบสถ์กันก่อนด้วย งานไฮไลท์อย่าง พระบรมธาตุ 30 ทัศ สีเหลืองทอง อร่ามงามตา พระครูบามนตรี อธิบายว่า ท่านจำลองแบบมาจากวัดพระธาตุนอ(หน่อ) สิบสองปันนา องค์พระธาตุมี 8 เหลี่ยมแทนมรรค 8 พระธาตุมี 3 ชั้น แทน 3 ภพ นรก-โลก-สวรรค์
นอกจากนี้ก็ยังมี เสมาทรงกลมรูปทรงเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใครที่ท่านออกแบบเอง ตัวมอมสัตว์ในตำนานล้านนารูปร่างคล้ายแมวผสมสิงโตที่ช่างปั้นได้ดูมีชีวิตชีวาไม่น้อย
ในขณะที่ภายในโบสถ์นั้นเล่าก็น่ายลไปด้วย สุดยอดงานศิลปกรรมล้านนากว่า 10 วัด ไม่ว่าจะเป็น “พระพุทธชินเรศนวราชบพิตร” ที่จำลองแบบมาจากพระพุทธชินราช จิตรกรรมฝาผนังเรื่องราวไตรภูมิ ชาดกพื้นบ้าน อันงดงามประณีต บุษบกแกะสลักอันวิจิตร พระแก้วมรกตจำลอง เป็นต้น
โบสถ์หลังนี้ แม้จะเป็นโบสถ์หลังเล็กๆแต่ว่าความงามที่ปรากฏทั้งภายนอกภายในนั้นถือว่ายิ่งใหญ่เหลือคณา
3...
ศิลปะเกือบทั้งหมดของวัดพระธาตุสุโทนแม้จะจำลองแบบจากที่อื่นมาสร้าง แต่พระครูบามนตรีท่านสามารถสร้างสรรค์ ร้อยเรียง ออกมาได้อย่างกลมกลืนงดงาม ถึงกระนั้นท่านได้บอกกับผมว่า ที่นี่ก็มีงานระดับมาสเตอร์พีซที่เป็นกลายเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง นั่นก็คือ ยักษ์คู่ 2 ตน ที่นั่งเฝ้าปากประตูโบสถ์
ยักษ์คู่ 2 ตนนี้มีพฤติกรรมที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
ตนหนึ่งเป็น“ยักษ์ตื่น” ดูหน้าตาขึงขังถือกระบองเฝ้ารักษาโบสถ์ที่เป็นตัวแทนของพระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง
อีกตนหนึ่งเป็น“ยักษ์หลับ” ดูขี้เกียจเหลือคณาถือกระบองนั่งหลับ ใบหน้ายังอมยิ้มเล็กน้อย ดูกลายเป็นยักษ์คิกขุไปนั่น(มีหลายแห่งจำลองแบบยักษ์คิกขุตนนี้ไปสร้าง)
ท่านเจ้าอาวาสให้ผมเพ่งพินิจดูยักษ์คู่นี้ก่อนเฉลยปริศนาธรรมที่แอบแฝงให้ฟังว่า หากใครประมาท ขี้เกียจ ก็จะเป็นเช่นยักษ์หลับที่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาพระประธานในโบสถ์อันเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธเจ้าได้ ส่วนใครที่มีสติ ไม่ประมาท ก็จะสามารถปฏิบัติหน้าที่การงานไปได้ด้วยดี ดังเช่นยักษ์ตื่นตนนี้
หลังฟังท่านเจ้าอาวาสเฉลย ผมพบว่าบนใบหน้าเปื้อนยิ้มอันน่ารักคิกขุของยักษ์หลับที่ผมชื่นชอบนั้น มันเป็นความคิกขุที่เกิดจากความประมาทของยักษ์หลับ ที่มนุษย์อย่างเราไม่สมควรเอาเยี่ยงอย่างแม้แต่น้อย
เพราะหากใครตั้งตนอยู่ในความประมาทอย่างยักษ์หลับ บางทีอาจจะหลับใหลไปตลอดกาลก็เป็นได้
*****************************************
วัดพระธาตุสุโทนมงคลคีรีสามัคคีธรรม ตั้งอยู่ที่ บ้านห้วยพริก หมู่ที่ 5 ต.เด่นชัย อ.เด่นชัย จ.แพร่ อยู่ริมถนนหมายเลข 101(เด่นชัย-ลำปาง) ห่างจากแยกเด่นชัยประมาณ 5 กม. (ใกล้ๆกับค่ายทหาร ม.พันสิบสองหรือค่ายพญาไชยบูรณ์) เป็นวัดบนเนินของดอยม่อนโทน มีเนื้อที่ประมาณ 25 ไร่
นอกเหนือจากงานพุทธศิลปะที่กล่าวมาแล้ว วัดพระธาตุสุโทนยังมีสิ่งชวนชมอย่าง พิพิธภัณฑ์ พระธาตุพนมจำลอง(อนาคตจะสร้างพระธาตุประจำปีเกิด(จำลอง)ทั้ง 12 ราศีที่นี่) พระธาตุช้างค้ำ(น่าน)จำลอง, ศาลาหลวงพ่อเกษม เขมโก, วิหารพระมหาเมียะมุนี, วิหารพระเจ้าเก้าตื้อ,อนุสรณ์สถานทหารกล้า, หอระฆัง(จำลองจากวัดพระธาตุหริภุญชัย : ลำพูน), หอไตร(จำลองจากวัดพระสิงห์ : เชียงใหม่) ฯลฯ
วัดพระธาตุสุโทน เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลาประมาณ 9.00-16.00 น. ไม่เก็บค่าเข้าชมแต่อย่างใด สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0-5353-0138
“ปีใหม่คือ ปีดี กว่าปีเก่า
ความโง่เขลา ลดลง ตรงศึกษา
สมาธิ สัมปชัญญ์ และปัญญา
ทวีมา ดีทุกสิ่ง ยิ่งขึ้นไป”
...พุทธทาสภิกขุ...
ปีเก่าผ่านไป ปีใหม่มาเยือน
เป็นธรรมดาสำหรับชาวไทยพุทธส่วนใหญ่ที่พอถึงช่วงปีใหม่ ต่างมุ่งหน้าเข้าวัดไหว้พระ ทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ฟังธรรม เพื่อความเป็นสิริมงคล เอาฤกษ์เอาชัยรับขวัญช่วงปีใหม่ ฟ้าใหม่ พร้อมกับความคาดหวังถึงสิ่งใหม่ๆสิ่งดีๆ แม้รู้ๆกันอยู่ว่าปีนี้สภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย ทำเศรษฐกิจไทยสะเทือน แถมยังโดนการเมืองบั่นทอนประเทศ แต่หากเรามีสติ ไม่ตั้งตนอยู่ในความประมาท อาจช่วยผ่อนหนักเป็นเบาได้ในหลายๆเรื่อง
นั่นจึงทำให้ช่วงปีใหม่นี้ผมขอพาแฟนานุแฟนมิตรรักนักอ่านไปเยือน “วัดพระธาตุสุโทน” จ.แพร่ ที่นอกจากจะงดงามวิจิตรด้วยงานพุทธศิลป์แล้ว ยังมีปริศนาธรรมแฝงอยู่ทั่วไปในวัดแห่งนี้ โดยเฉพาะปริศนาธรรมเรื่องความมีสติ และความไม่ประมาทที่ผมจำได้แม่นขึ้นใจ เพราะทางวัดมีเทคนิคการสอนผ่านงานพุทธศิลป์ที่แยบคายมากๆ
1…
บนถนนหมายเลข 101 จากแพร่มุ่งหน้าสู่เด่นชัย ห่างสามแยกเด่นชัยราว 5 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของวัดพระธาตุสุโทน หรือชื่อเต็มคือ “วัดพระธาตุสุโทนมงคลคีรีสามัคคีธรรม”
วัดแห่งนี้ผมได้ยินกิตติศัพท์ด้านความงามมานานแล้ว ครั้นพอมาเจอด้วยตัวเอง เพียงแรกพบมนต์เสน่ห์ของวัดแห่งนี้ก็พุ่งเข้าจับหมับในดวงใจแบบฉับพลันทันที โดยเฉพาะพระนอนองค์โตพระพักตร์หวาน พุทธสรีระงดงามสมส่วน ที่ประดิษฐานอยู่หน้าวัดนั้น สามารถดึงดูดคนผ่านทางอย่างผมให้เข้าไปค้นหาความงามของวัดแห่งนี้อย่างไม่รีรอ
ขณะที่ถัดองค์พระนอนไปตรงบันไดกลางทางขึ้นวัด มีสิงห์คู่สีทองร่วมด้วยพญานาค 7 เศียรที่ทอดตัวเลื้อยขนาบ 2 ข้างลงมาจากซุ้มประตูที่ดูแล้วเชิญชวนให้อยากเดินขึ้นวัดเสียนี่กระไร
แต่ประทานโทษประตูนี้กลางนี้ปิด เข้าไม่ได้ครับพี่น้อง
พี่ผู้รู้(ไม่ประสงค์จะออกนาม) ผู้นำทริปนี้บอกกับผมว่า นี่เป็นประตูพิเศษที่ทางวัดสร้างไว้สำหรับพระเจ้าแผ่นดิน เชื้อพระวงศ์ พระเถระชั้นผู้ใหญ่ และผู้มีบุญบารมีเดินขึ้น ส่วนปุถุชนคนธรรมดาๆอย่างเราๆท่านๆให้เดินขึ้นทางประตูฝั่งซ้าย-ขวา ด้านข้าง
งานนี้พวกเราจึงเลือกเดินขึ้นทางฝั่งขวา ที่พอก้าวเข้าเขตวัด ผมอดตะลึงพรึงเพริศในความงามที่พบเห็นไม่ได้ ซึ่งบรรดาความงามปานเนรมิตในวัดพระธาตุสุโทนนั้น พี่ผู้รู้บอกว่า ถูกสรรค์สร้างโดยท่านเจ้าอาวาส พระครูบามนตรี ธมฺมเมธี(พระครูวิฑิตพิพัฒนาภรณ์)ที่ท่านจะมาพบพวกเราในไม่อีกนาทีนี้
โอ้ว...พระเจ้า หะแรกผมนึกว่าพี่ผู้รู้แกมีญาณวิเศษรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า ประทานโทษ เปล่าเลยเพราะแกบอกกับผมต่อว่า “พี่นัดท่านเอาไว้นะ”
ป้าดโธ่ กลายเป็นงั้นไป แต่ถึงพี่ผู้รู้จะไม่มีญาณวิเศษแต่แกก็รอบรู้เรื่องราวเกี่ยวกับวัดแห่งนี้มากเป็นพิเศษชนิดหาตัวจับยาก แต่ตอนนี้ผมกำลังจับแกเป็นตัวประกันให้อธิบายความต่างๆของวัดนี้ให้ฟังพอสังเขป
พี่ผู้รู้เล่าว่า ท่านเจ้าอาวาส โปรดปรานในงานศิลปะและมีฝีมือทางการปั้น แกะสลักมาตั้งแต่เด็ก ช่วงที่ท่านบวชเรียนนอกจากการปฏิบัติธรรมแล้ว ท่านได้ใช้เวลาส่วนหนึ่งเดินทางไปศึกษางานพุทธศิลป์ระดับมาสเตอร์พีชตามวัดวาอารามต่างๆ ทั้งในเมืองไทยและต่างประเทศ ก่อนจะนำเอาจุดเด่นของงานศิลปกรรมตามวัดต่างๆ โดยเฉพาะวัดทางภาคเหนือมาสร้างเป็นวัดพระธาตุสุโทนในปี พ.ศ. 2527 (ผมเห็นแกแอบดูปี พ.ศ.การสร้างวัดจากเอกสารที่เตรียมวาแว่บนึง)
พี่ผู้รู้เทศน์ต่อ เอ้ย!!! เล่าต่อว่า พระครูบามนตรี นอกจากจะควบคุมงานการก่อสร้างและการผลิตแล้ว งานหลายชิ้นท่านยังลงมือทำด้วยตัวเอง ทั้งการแกะสลัก ปั้นปูน ฯลฯ รวมไปถึงการออกแบบที่ลงมือทำกันกันสดๆหน้าชิ้นงานชนิดที่ไม่ต้องมีการร่างแบบแต่อย่างใด
หลังฟังพี่ผู้รู้ไปพอหอมปากหอมคอ พระครูบามนตรี ท่านเจ้าอาวาสก็เดินมาหากลุ่มพวกเรา
งานนี้พี่ผู้รู้เลยถือโอกาสส่งไม้ต่อให้กับท่านเจ้าอาวาส อธิบายความสิ่งต่างๆในวัดแห่งนี้ต่อ ซึ่งพระครูบามนตรี บอกกับผมว่า เหตุที่ท่านใช้วัดพระธาตุสุโทนเป็นที่รวบรวมงานพุทธศิลป์ระดับสุดยอดต่างนั้น ท่านต้องการให้งานศิลปะเป็นสิ่งช่วยกระตุ้นให้คนเข้าวัดเพื่อศึกษาหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาที่มีอยู่ในวัด
ท่านเจ้าอาวาสบอกว่า“วัดพระธาตุสุโทนเป็นดังสถานพยาบาลทางใจ มีหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นสิ่งช่วยรักษาจิตใจ”
2…
หลังการเดินเข้าเขตวัดพระธาตุมาได้ไม่กี่ 10 ก้าว ผมสังเกตว่าวัดแห่งนี้ดูจะไม่เน้นในสิ่งก่อสร้างประเภทใหญ่โตอลังการ แบบที่วัดเมืองไทยหลายๆวัดนิยมสร้างกัน แต่จะเน้นไปที่ความงาม ความสมส่วนและปริศนาธรรมที่ซ่อนเร้นแฝงอยู่ โดยเฉพาะในเขตกำแพงพระอุโบสถนั้นนอกจากจะงามวิจิตรเพริศแพร้วแล้ว ยังมีหลักธรรมคำสอนแฝงเร้นอยู่มากมาย
เริ่มจากสิ่งชวนชมภายนอกตัวโบสถ์กันก่อนด้วย งานไฮไลท์อย่าง พระบรมธาตุ 30 ทัศ สีเหลืองทอง อร่ามงามตา พระครูบามนตรี อธิบายว่า ท่านจำลองแบบมาจากวัดพระธาตุนอ(หน่อ) สิบสองปันนา องค์พระธาตุมี 8 เหลี่ยมแทนมรรค 8 พระธาตุมี 3 ชั้น แทน 3 ภพ นรก-โลก-สวรรค์
นอกจากนี้ก็ยังมี เสมาทรงกลมรูปทรงเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใครที่ท่านออกแบบเอง ตัวมอมสัตว์ในตำนานล้านนารูปร่างคล้ายแมวผสมสิงโตที่ช่างปั้นได้ดูมีชีวิตชีวาไม่น้อย
ในขณะที่ภายในโบสถ์นั้นเล่าก็น่ายลไปด้วย สุดยอดงานศิลปกรรมล้านนากว่า 10 วัด ไม่ว่าจะเป็น “พระพุทธชินเรศนวราชบพิตร” ที่จำลองแบบมาจากพระพุทธชินราช จิตรกรรมฝาผนังเรื่องราวไตรภูมิ ชาดกพื้นบ้าน อันงดงามประณีต บุษบกแกะสลักอันวิจิตร พระแก้วมรกตจำลอง เป็นต้น
โบสถ์หลังนี้ แม้จะเป็นโบสถ์หลังเล็กๆแต่ว่าความงามที่ปรากฏทั้งภายนอกภายในนั้นถือว่ายิ่งใหญ่เหลือคณา
3...
ศิลปะเกือบทั้งหมดของวัดพระธาตุสุโทนแม้จะจำลองแบบจากที่อื่นมาสร้าง แต่พระครูบามนตรีท่านสามารถสร้างสรรค์ ร้อยเรียง ออกมาได้อย่างกลมกลืนงดงาม ถึงกระนั้นท่านได้บอกกับผมว่า ที่นี่ก็มีงานระดับมาสเตอร์พีซที่เป็นกลายเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง นั่นก็คือ ยักษ์คู่ 2 ตน ที่นั่งเฝ้าปากประตูโบสถ์
ยักษ์คู่ 2 ตนนี้มีพฤติกรรมที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
ตนหนึ่งเป็น“ยักษ์ตื่น” ดูหน้าตาขึงขังถือกระบองเฝ้ารักษาโบสถ์ที่เป็นตัวแทนของพระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง
อีกตนหนึ่งเป็น“ยักษ์หลับ” ดูขี้เกียจเหลือคณาถือกระบองนั่งหลับ ใบหน้ายังอมยิ้มเล็กน้อย ดูกลายเป็นยักษ์คิกขุไปนั่น(มีหลายแห่งจำลองแบบยักษ์คิกขุตนนี้ไปสร้าง)
ท่านเจ้าอาวาสให้ผมเพ่งพินิจดูยักษ์คู่นี้ก่อนเฉลยปริศนาธรรมที่แอบแฝงให้ฟังว่า หากใครประมาท ขี้เกียจ ก็จะเป็นเช่นยักษ์หลับที่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาพระประธานในโบสถ์อันเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธเจ้าได้ ส่วนใครที่มีสติ ไม่ประมาท ก็จะสามารถปฏิบัติหน้าที่การงานไปได้ด้วยดี ดังเช่นยักษ์ตื่นตนนี้
หลังฟังท่านเจ้าอาวาสเฉลย ผมพบว่าบนใบหน้าเปื้อนยิ้มอันน่ารักคิกขุของยักษ์หลับที่ผมชื่นชอบนั้น มันเป็นความคิกขุที่เกิดจากความประมาทของยักษ์หลับ ที่มนุษย์อย่างเราไม่สมควรเอาเยี่ยงอย่างแม้แต่น้อย
เพราะหากใครตั้งตนอยู่ในความประมาทอย่างยักษ์หลับ บางทีอาจจะหลับใหลไปตลอดกาลก็เป็นได้
*****************************************
วัดพระธาตุสุโทนมงคลคีรีสามัคคีธรรม ตั้งอยู่ที่ บ้านห้วยพริก หมู่ที่ 5 ต.เด่นชัย อ.เด่นชัย จ.แพร่ อยู่ริมถนนหมายเลข 101(เด่นชัย-ลำปาง) ห่างจากแยกเด่นชัยประมาณ 5 กม. (ใกล้ๆกับค่ายทหาร ม.พันสิบสองหรือค่ายพญาไชยบูรณ์) เป็นวัดบนเนินของดอยม่อนโทน มีเนื้อที่ประมาณ 25 ไร่
นอกเหนือจากงานพุทธศิลปะที่กล่าวมาแล้ว วัดพระธาตุสุโทนยังมีสิ่งชวนชมอย่าง พิพิธภัณฑ์ พระธาตุพนมจำลอง(อนาคตจะสร้างพระธาตุประจำปีเกิด(จำลอง)ทั้ง 12 ราศีที่นี่) พระธาตุช้างค้ำ(น่าน)จำลอง, ศาลาหลวงพ่อเกษม เขมโก, วิหารพระมหาเมียะมุนี, วิหารพระเจ้าเก้าตื้อ,อนุสรณ์สถานทหารกล้า, หอระฆัง(จำลองจากวัดพระธาตุหริภุญชัย : ลำพูน), หอไตร(จำลองจากวัดพระสิงห์ : เชียงใหม่) ฯลฯ
วัดพระธาตุสุโทน เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลาประมาณ 9.00-16.00 น. ไม่เก็บค่าเข้าชมแต่อย่างใด สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0-5353-0138