โดย : หนุ่มลูกทุ่ง
วันที่ 23 ตุลาคม ที่กำลังจะมาถึง มิใช่เป็นเพียงวันหยุดประจำปีธรรมดาๆ แต่ถือเป็นวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่ปวงชนชาวไทยพร้อมใจกันถวายพระนามแด่พระองค์ว่า “พระปิยมหาราช” พระราชาผู้เป็นที่รักยิ่งของปวงชน
หากใครได้อ่านพระราชประวัติของพระองค์แล้วคงจะทราบดีถึงพระราชกรณียกิจต่างๆที่ทรงทำเพื่อปวงชนชาวไทยทั้งทางด้านการปกครอง การศึกษา การนำเอาวิทยาการต่างๆจากประเทศตะวันตกเข้ามาเพื่อพัฒนาประเทศ หลายสิ่งหลายอย่างที่พระองค์ทรงทำก็ได้ถูกใช้เป็นต้นแบบมาจนถึงยุคปัจจุบัน
แต่สิ่งที่ฉันจะกล่าวเพื่อระลึกถึงพระองค์ท่านในโอกาสวันปิยมหาราชนี้ ก็เป็นเรื่องของมรดกทางสถาปัตยกรรมในกรุงเทพฯที่เกิดขึ้นในช่วงรัชสมัยของพระองค์ ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมอันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของคนไทยทุกคนมาจนปัจจุบัน
เริ่มต้นตั้งแต่ศาสนสถานต่างๆ ที่พระองค์เป็นผู้โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้น “วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม” วัดประจำรัชกาลที่ 5 และยังวัดที่สร้างขึ้นเป็นวัดแรกในรัชกาลของพระองค์ ภายหลังจากเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว 1 ปี ความโดดเด่นของวัดราชบพิธฯนี้อยู่ที่พระอุโบสถที่ภายนอกเป็นศิลปกรรมแบบไทยๆ แต่ภายในบริเวณเพดานและผนังตกแต่งในสไตล์ยุโรปแบบโกธิค คล้ายพระที่นั่งแห่งหนึ่งในพระราชวังแวร์ซาย มีพระ “พระพุทธอังคีรส” เป็นพระประธานในพระอุโบสถประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชีหินอ่อนจากอิตาลี และใต้ฐานพระได้บรรจุพระบรมอัฐิของพระมหากษัตริย์หลายพระองค์ด้วยกัน เช่น พระบรมอัฐิของรัชกาลที่ 2 รัชกาลที่ 3 รัชกาลที่ 4 รัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 7 ไว้ด้วย
“วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม” วัดที่รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้น และได้รับยกย่องให้เป็น “สถาปัตยกรรมที่สมบูรณ์แบบของศิลปะไทย” ซึ่งอันนี้ก็ต้องถวายเครดิตให้แก่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ สถาปนิกผู้ที่ออกแบบแปลนแผนผังของวัดผู้ซึ่งทรงได้รับยกย่องว่าเป็น “นายช่างใหญ่แห่งกรุงสยาม” ซึ่งได้ทรงออกแบบพระอุโบสถและพระระเบียงอย่างวิจิตรงดงามด้วยแบบอย่างศิลปะและสถาปัตยกรรมไทยโบราณ โดยพระอุโบสถของวัดเบญจมบพิตรนั้นเป็นแบบจตุรมุข มีพระระเบียงโอบรอบด้านหลัง ถือเป็นพระอุโบสถที่สร้างได้สัดส่วนสวยงามเป็นอย่างยิ่ง
ยังมีผู้เข้าใจผิดว่าวัดเบญจมบพิตรเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 5 แต่แท้จริงแล้วแต่เดิมนั้นวัดนี้มีชื่อว่าวัดเบญจบพิตร ซึ่งมีความหมายว่าเป็นวัดของเจ้านาย 5 พระองค์ หรือวัดที่เจ้านาย 5 พระองค์ทรงปฏิสังขรณ์ขึ้น แต่เมื่อรัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาวัดนี้ขึ้นใหม่ ได้มีการรื้อถอนสิ่งก่อสร้างในวัดเดิมทั้งหมด สร้างสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ขึ้นใหม่ และพระราชทานชื่อให้ใหม่ว่าวัดเบญจมบพิตรฯ นั่นเอง
ส่วน “วัดเทพศิรินทราวาส” ก็เป็นวัดสำคัญอีกแห่งที่รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี พระบรมราชชนนีของพระองค์ที่ทรงสิ้นพระชนม์ไปตั้งแต่รัชกาลที่ 5 ยังทรงพระเยาว์ โดยสิ่งที่น่าสนใจของวัดเทพศิรินทร์ฯนี้อยู่ที่พระอุโบสถที่มีขนาดใหญ่และสง่างาม ด้านนอกมีเสาพาไลต้นใหญ่ๆ อยู่โดยรอบ อีกทั้งภายในยังงดงามด้วยพระประธานที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนวัดอื่นๆ เพราะองค์พระประธานนั้นประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชีทรงประสาทจตุรมุข ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิที่รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้หล่อขึ้นและอัญเชิญมาประดิษฐาน ณ พระอุโบสถวัดเทพศิรินทราวาส มองดูงดงามอลังการไม่น้อยเลยทีเดียว
จากวัดต่างๆ มาดูพระที่นั่งที่สร้างขึ้นในรัชกาลของพระองค์กันบ้าง เริ่มจากในพระบรมมหาราชวัง “พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท” ที่ถูกสร้างขึ้นหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับจากประพาสสิงคโปร์และชวา พระที่นั่งองค์นี้เป็นปราสาท 3 ชั้น 3 องค์ เรียงกันโดยมีมุขกระสันเชื่อมต่อกันโดยตลอด มีลักษณะผสมระหว่างศิลปะแบบไทยและศิลปะแบบยุโรป คือองค์พระที่นั่งเป็นแบบสถาปัตยกรรมยุโรป แต่หลังคาเป็นหลังคายอดปราสาทแบบไทย
แต่เดิมนั้นรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งองค์ใหม่เป็นแบบตะวันตก แต่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) กราบบังคมทูลขอให้ทำเป็นยอดปราสาทแบบไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เปลี่ยนทรงหลังคาเป็นหลังคายอดปราสาท 3 ยอดเรียงกันอย่างที่เห็น
พระที่นั่งองค์นี้ใช้สำหรับเป็นท้องพระโรงสำหรับเสด็จออกให้คณะทูตานุทูตเข้าเฝ้า และเป็นที่ประกอบพระราชพิธีการกุศล หรือประกอบพระราชกรณียกิจอื่นๆ ในรัชกาลที่ 5 ทรงใช้เป็นที่เสด็จออกขุนนางด้วย นอกจากนั้นก็ยังใช้เป็นท้องพระโรงสำหรับรับรองพระราชอาคันตุกะ และภายในท้องพระโรงกลางนั้นยังประดิษฐานพระแท่นพุดตานถม ซึ่งเป็นพระราชบัลลังก์ประจำพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ทำด้วยไม้หุ้มเงินลงยาทาทองอีกด้วย
พระราชวังสำคัญอีกแห่งหนึ่งที่สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระองค์ก็คือ “พระราชวังดุสิต” หลังจากทรงมีพระราชดำริว่า พระบรมมหาราชวังมีความแออัด ในช่วงฤดูร้อนมีอากาศร้อนจัดเพราะมีตึกบังทิศทางลม ความแออัดเหล่านี้ทำให้พระองค์ประชวรอยู่บ่อยครั้ง จึงทรงพระราชดำริที่จะขยายวังโดยทรงโปรดเกล้าฯ ให้ซื้อที่สวนและนาในระหว่างคลองผดุงกรุงเกษมจนถึงคลองสามเสน สร้างพระราชอุทยาน พระราชนิเวศน์ พลับพลาที่ประทับต่างๆ ขึ้น และพระราชทานนามวังนี้ว่า “วังสวนดุสิต” นั่นเอง
พระที่นั่งสำคัญในพระราชวังดุสิตนั้นก็มีอยู่หลายองค์ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น “พระที่นั่งวิมานเมฆ” พระตำหนักไม้สักทองหลังใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งได้รื้อพระที่นั่งมันธาตุรัตนโรจน์จากเกาะสีชังมาสร้างขึ้นใหม่ในพระราชวังดุสิต พระที่นั่งองค์นี้ออกแบบและควบคุมงานโดยนายช่างใหญ่แห่งกรุงสยามเช่นกัน พระที่นั่งองค์นี้งดงามตั้งแต่รายละเอียดเล็กๆน้อยๆอย่างลายฉลุไม้ในสไตล์ขนมปังขิง ภายในแบ่งเป็นห้องต่างๆ มีทั้งห้องสีฟ้า สีเขียว สีชมพู สีงาช้าง และสีลูกพีช (ชมพูอมส้ม) ซึ่งก็จัดแสดงจะเป็นเครื่องใช้ส่วนพระองค์และศิลปวัตถุของรัชกาลที่ 5 และพระมหากษัตริย์พระองค์อื่นๆ รวมถึงของเจ้านายชั้นสูงหลายชิ้นด้วยกัน
นอกจากนั้นแล้วก็ยังมีพระตำหนักอีกหลายองค์ด้วยกันที่มีความงดงามต่างกันไป แต่มีพระที่นั่งองค์สำคัญที่จะพลาดชมไม่ได้เลย นั่นก็คือ “พระที่นั่งอนันตสมาคม” พระที่นั่งองค์สำคัญที่สร้างหลังจากที่มีพระที่นั่งอัมพรสถาน พระที่นั่งวิมานเมฆ และพระที่นั่งอภิเษกดุสิต เป็นที่สำราญพระราชหฤทัยแล้ว รัชกาลที่ 5 ทรงเห็นว่าพระที่นั่งต่างๆ ที่สร้างไว้นั้นยังไม่กว้างขวางพอแก่การพระราชพิธีต่างๆ จึงทรงมีพระราชดำริสร้างพระที่นั่งอนันต์ขึ้นอีกหลังหนึ่งเพื่อเป็นท้องพระโรงสำหรับต้อนรับแขกเมือง หรือประชุมราชการแผ่นดิน
พระที่นั่งอนันต์ นั้นงดงามด้วยศิลปะแบบอิตาเลียนเรเนอซองส์ ผสมกับศิลปะแบบนีโอคลาสสิค โดยรูปทรงของพระที่นั่งอนันตสมาคมนี้เป็นแบบเดียวกับวิหารเซนต์ปีเตอร์แห่งโรม และโบสถ์เซนต์ปอล กรุงลอนดอน ช่วงบนของอาคารซึ่งเป็นรูปโดมซึ่งทำจากทองแดง มีโดมใหญ่อยู่ตรงกลาง และโดมเล็กๆ อยู่รายรอบอีก 6 โดม ตัวอาคารสร้างจากหินอ่อนสีขาวริ้วลายสีน้ำตาลแก่แกมหม่น สั่งเข้ามาจากเมืองคาร์รารา ประเทศอิตาลี
อีกทั้งภายในยังงดงามไปด้วยภาพเขียนแบบเฟรสโก (ภาพเขียนสีบนปูนเปียก) บนเพดานโดม โดยฝีมือของจิตรกรชาวอิตาเลียน คือนายซี. รีโกลี และศาสตราจารย์กาลิเลโอ กินี โดยรูปเหล่านั้นจะเป็นรูปที่แสดงถึงเหตุการณ์เด่นๆ ในแต่ละรัชกาล ตั้งแต่รัชกาลที่ 1-6
แม้พระที่นั่งแห่งนี้จะสร้างขึ้นในรัชสมัยของพระองค์ แต่เมื่อการก่อสร้างดำเนินไปได้เพียงสองปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าก็เสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 จึงรับช่วงการก่อสร้างต่อจนสำเร็จลงในอีก 6 ปีต่อมา
จากวัดและวัง เรามาชมสถาปัตยกรรมเพื่อประชาชนที่เกิดในสมัยรัชกาลที่ 5 กันบ้าง เช่น “สถานีรถไฟหัวลำโพง” สถานีรถไฟหลักของไทยที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 ตัวสถานีนั้นก่อสร้างเป็นรูปโดมสไตล์อิตาเลียนผสมผสานกับศิลปะยุคเรอเนสซอง มีลักษณะคล้ายกับสถานีรถไฟ เมืองแฟรงค์เฟิร์ตในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี อีกทั้งวัสดุในการก่อสร้างก็เป็นวัสดุสำเร็จรูปจากเยอรมันนีเช่นกัน
บริเวณช่องระบายอากาศในสถานีก็ได้ประดับกระจกสีเอาไว้ เมื่อแสงส่องผ่านเข้ามาจึงมองดูงดงาม ให้ผู้ที่รอรถไฟได้ชมความงามไปพลางๆ และนาฬิกาบอกเวลาเรือนใหญ่ในสถานีนั้นก็มีอายุเก่าแก่พอๆ กับตัวอาคารด้วยเช่นกัน หากมองไปรอบๆ ก็จะเห็นลวดลายหินอ่อนต่างๆ ที่ประดับไว้ตามบันไดและเสาอาคารในส่วนของที่ทำการกองโดยสาร และบนเพดานยังเป็นไม้สักสลักลายนูนที่หาดูได้ยากอีกด้วย
“สะพานชุดเฉลิม” ก็ถือเป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นสาธารณะประโยชน์อันสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่เรียกว่าสะพานชุดเฉลิมนั้นก็เนื่องจากว่าสะพานที่พระองค์โปรดเกล้าให้สร้างขึ้นเหล่านี้จะมีชื่อขึ้นต้นว่า “เฉลิม” และลงท้ายด้วยตัวเลขพระชนมายุของพระองค์ในขณะที่สร้างสะพานนั้นๆนั่นเอง
สะพานชุดเฉลิมนี้มีด้วยกันทั้งหมด 17 สะพานด้วยกัน แต่ในปัจจุบันได้ถูกรื้อถอนไปเป็นส่วนใหญ่แล้ว ที่ยังคงหลงเหลือให้เห็นก็เช่นสะพานเฉลิมหล้า 56 หรือที่รู้จักกันในชื่อสะพานหัวช้าง ลักษณะเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก คานเป็นคอนกรีตรูปโค้ง หัวสะพานทั้งสี่มุม มีรูปประดับเป็นช้าง 4 ด้าน ลูกกรงหล่อแบบลูกมะหวดฝรั่ง กลางสะพานมีพระปรมาภิไธยย่อ จปร. อยู่ด้วย นอกจากนั้นสะพานที่ยังเหลืออยู่ก็เช่น สะพานเฉลิมเผ่า 52 สะพานเฉลิมโลก 55 และสะพานเฉลิมสวรรค์ 58 ที่บางสะพานนั้นก็มีการเปลี่ยนรูปทรงไปบ้างในปัจจุบัน
มาปิดท้ายสถาปัตยกรรมในสมัยรัชกาลที่ 5 อย่างตึกแถวย่านท่าช้าง ที่เป็นอาคารพาณิชย์เก่าแก่ เป็นสถาปัตยกรรมแบบนีโอคลาสสิค ด้านหน้าอาคารชั้นบนทำเป็นระเบียง 3 ระเบียง ระเบียงกลางมีขนาดใหญ่ที่สุด ตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้น ผนังอาคารเซาะร่องเป็นแนว ชั้นล่างแต่งด้วยเสาดอริกและเสาแบบโครินเธียนในชั้นสอง ปัจจุบัน ธนาคารนครหลวงก็ได้เช่าอาคารแห่งนี้เปิดเป็นที่ทำการ
นอกจากนั้นตึกแถวในสมัยรัชกาลที่ 5 ในกรุงเทพฯนั้นก็ยังมีอยู่เช่น ตึกแถวริมถนนอัษฎางค์และย่านหลังกระทรวง ตึกแถวถนนตะนาว ช่วงก่อนถึงวัดบวรนิเวศฯ ก็คาดว่าสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ด้วยเช่นกัน
มรดกทางสถาปัตยกรรมเหล่านี้แม้จะมีอายุเป็นร้อยปี แต่ก็ยังคงสภาพดีจนมาถึงปัจจุบัน ให้พวกเราได้ชื่นชม และระลึกถึง “พระปิยมหาราช” ผู้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณยิ่งต่อปวงชนชาวไทย
วันที่ 23 ตุลาคม ที่กำลังจะมาถึง มิใช่เป็นเพียงวันหยุดประจำปีธรรมดาๆ แต่ถือเป็นวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่ปวงชนชาวไทยพร้อมใจกันถวายพระนามแด่พระองค์ว่า “พระปิยมหาราช” พระราชาผู้เป็นที่รักยิ่งของปวงชน
หากใครได้อ่านพระราชประวัติของพระองค์แล้วคงจะทราบดีถึงพระราชกรณียกิจต่างๆที่ทรงทำเพื่อปวงชนชาวไทยทั้งทางด้านการปกครอง การศึกษา การนำเอาวิทยาการต่างๆจากประเทศตะวันตกเข้ามาเพื่อพัฒนาประเทศ หลายสิ่งหลายอย่างที่พระองค์ทรงทำก็ได้ถูกใช้เป็นต้นแบบมาจนถึงยุคปัจจุบัน
แต่สิ่งที่ฉันจะกล่าวเพื่อระลึกถึงพระองค์ท่านในโอกาสวันปิยมหาราชนี้ ก็เป็นเรื่องของมรดกทางสถาปัตยกรรมในกรุงเทพฯที่เกิดขึ้นในช่วงรัชสมัยของพระองค์ ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมอันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของคนไทยทุกคนมาจนปัจจุบัน
เริ่มต้นตั้งแต่ศาสนสถานต่างๆ ที่พระองค์เป็นผู้โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้น “วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม” วัดประจำรัชกาลที่ 5 และยังวัดที่สร้างขึ้นเป็นวัดแรกในรัชกาลของพระองค์ ภายหลังจากเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว 1 ปี ความโดดเด่นของวัดราชบพิธฯนี้อยู่ที่พระอุโบสถที่ภายนอกเป็นศิลปกรรมแบบไทยๆ แต่ภายในบริเวณเพดานและผนังตกแต่งในสไตล์ยุโรปแบบโกธิค คล้ายพระที่นั่งแห่งหนึ่งในพระราชวังแวร์ซาย มีพระ “พระพุทธอังคีรส” เป็นพระประธานในพระอุโบสถประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชีหินอ่อนจากอิตาลี และใต้ฐานพระได้บรรจุพระบรมอัฐิของพระมหากษัตริย์หลายพระองค์ด้วยกัน เช่น พระบรมอัฐิของรัชกาลที่ 2 รัชกาลที่ 3 รัชกาลที่ 4 รัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 7 ไว้ด้วย
“วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม” วัดที่รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้น และได้รับยกย่องให้เป็น “สถาปัตยกรรมที่สมบูรณ์แบบของศิลปะไทย” ซึ่งอันนี้ก็ต้องถวายเครดิตให้แก่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ สถาปนิกผู้ที่ออกแบบแปลนแผนผังของวัดผู้ซึ่งทรงได้รับยกย่องว่าเป็น “นายช่างใหญ่แห่งกรุงสยาม” ซึ่งได้ทรงออกแบบพระอุโบสถและพระระเบียงอย่างวิจิตรงดงามด้วยแบบอย่างศิลปะและสถาปัตยกรรมไทยโบราณ โดยพระอุโบสถของวัดเบญจมบพิตรนั้นเป็นแบบจตุรมุข มีพระระเบียงโอบรอบด้านหลัง ถือเป็นพระอุโบสถที่สร้างได้สัดส่วนสวยงามเป็นอย่างยิ่ง
ยังมีผู้เข้าใจผิดว่าวัดเบญจมบพิตรเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 5 แต่แท้จริงแล้วแต่เดิมนั้นวัดนี้มีชื่อว่าวัดเบญจบพิตร ซึ่งมีความหมายว่าเป็นวัดของเจ้านาย 5 พระองค์ หรือวัดที่เจ้านาย 5 พระองค์ทรงปฏิสังขรณ์ขึ้น แต่เมื่อรัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาวัดนี้ขึ้นใหม่ ได้มีการรื้อถอนสิ่งก่อสร้างในวัดเดิมทั้งหมด สร้างสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ขึ้นใหม่ และพระราชทานชื่อให้ใหม่ว่าวัดเบญจมบพิตรฯ นั่นเอง
ส่วน “วัดเทพศิรินทราวาส” ก็เป็นวัดสำคัญอีกแห่งที่รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี พระบรมราชชนนีของพระองค์ที่ทรงสิ้นพระชนม์ไปตั้งแต่รัชกาลที่ 5 ยังทรงพระเยาว์ โดยสิ่งที่น่าสนใจของวัดเทพศิรินทร์ฯนี้อยู่ที่พระอุโบสถที่มีขนาดใหญ่และสง่างาม ด้านนอกมีเสาพาไลต้นใหญ่ๆ อยู่โดยรอบ อีกทั้งภายในยังงดงามด้วยพระประธานที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนวัดอื่นๆ เพราะองค์พระประธานนั้นประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชีทรงประสาทจตุรมุข ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิที่รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้หล่อขึ้นและอัญเชิญมาประดิษฐาน ณ พระอุโบสถวัดเทพศิรินทราวาส มองดูงดงามอลังการไม่น้อยเลยทีเดียว
จากวัดต่างๆ มาดูพระที่นั่งที่สร้างขึ้นในรัชกาลของพระองค์กันบ้าง เริ่มจากในพระบรมมหาราชวัง “พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท” ที่ถูกสร้างขึ้นหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับจากประพาสสิงคโปร์และชวา พระที่นั่งองค์นี้เป็นปราสาท 3 ชั้น 3 องค์ เรียงกันโดยมีมุขกระสันเชื่อมต่อกันโดยตลอด มีลักษณะผสมระหว่างศิลปะแบบไทยและศิลปะแบบยุโรป คือองค์พระที่นั่งเป็นแบบสถาปัตยกรรมยุโรป แต่หลังคาเป็นหลังคายอดปราสาทแบบไทย
แต่เดิมนั้นรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งองค์ใหม่เป็นแบบตะวันตก แต่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) กราบบังคมทูลขอให้ทำเป็นยอดปราสาทแบบไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เปลี่ยนทรงหลังคาเป็นหลังคายอดปราสาท 3 ยอดเรียงกันอย่างที่เห็น
พระที่นั่งองค์นี้ใช้สำหรับเป็นท้องพระโรงสำหรับเสด็จออกให้คณะทูตานุทูตเข้าเฝ้า และเป็นที่ประกอบพระราชพิธีการกุศล หรือประกอบพระราชกรณียกิจอื่นๆ ในรัชกาลที่ 5 ทรงใช้เป็นที่เสด็จออกขุนนางด้วย นอกจากนั้นก็ยังใช้เป็นท้องพระโรงสำหรับรับรองพระราชอาคันตุกะ และภายในท้องพระโรงกลางนั้นยังประดิษฐานพระแท่นพุดตานถม ซึ่งเป็นพระราชบัลลังก์ประจำพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ทำด้วยไม้หุ้มเงินลงยาทาทองอีกด้วย
พระราชวังสำคัญอีกแห่งหนึ่งที่สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระองค์ก็คือ “พระราชวังดุสิต” หลังจากทรงมีพระราชดำริว่า พระบรมมหาราชวังมีความแออัด ในช่วงฤดูร้อนมีอากาศร้อนจัดเพราะมีตึกบังทิศทางลม ความแออัดเหล่านี้ทำให้พระองค์ประชวรอยู่บ่อยครั้ง จึงทรงพระราชดำริที่จะขยายวังโดยทรงโปรดเกล้าฯ ให้ซื้อที่สวนและนาในระหว่างคลองผดุงกรุงเกษมจนถึงคลองสามเสน สร้างพระราชอุทยาน พระราชนิเวศน์ พลับพลาที่ประทับต่างๆ ขึ้น และพระราชทานนามวังนี้ว่า “วังสวนดุสิต” นั่นเอง
พระที่นั่งสำคัญในพระราชวังดุสิตนั้นก็มีอยู่หลายองค์ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น “พระที่นั่งวิมานเมฆ” พระตำหนักไม้สักทองหลังใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งได้รื้อพระที่นั่งมันธาตุรัตนโรจน์จากเกาะสีชังมาสร้างขึ้นใหม่ในพระราชวังดุสิต พระที่นั่งองค์นี้ออกแบบและควบคุมงานโดยนายช่างใหญ่แห่งกรุงสยามเช่นกัน พระที่นั่งองค์นี้งดงามตั้งแต่รายละเอียดเล็กๆน้อยๆอย่างลายฉลุไม้ในสไตล์ขนมปังขิง ภายในแบ่งเป็นห้องต่างๆ มีทั้งห้องสีฟ้า สีเขียว สีชมพู สีงาช้าง และสีลูกพีช (ชมพูอมส้ม) ซึ่งก็จัดแสดงจะเป็นเครื่องใช้ส่วนพระองค์และศิลปวัตถุของรัชกาลที่ 5 และพระมหากษัตริย์พระองค์อื่นๆ รวมถึงของเจ้านายชั้นสูงหลายชิ้นด้วยกัน
นอกจากนั้นแล้วก็ยังมีพระตำหนักอีกหลายองค์ด้วยกันที่มีความงดงามต่างกันไป แต่มีพระที่นั่งองค์สำคัญที่จะพลาดชมไม่ได้เลย นั่นก็คือ “พระที่นั่งอนันตสมาคม” พระที่นั่งองค์สำคัญที่สร้างหลังจากที่มีพระที่นั่งอัมพรสถาน พระที่นั่งวิมานเมฆ และพระที่นั่งอภิเษกดุสิต เป็นที่สำราญพระราชหฤทัยแล้ว รัชกาลที่ 5 ทรงเห็นว่าพระที่นั่งต่างๆ ที่สร้างไว้นั้นยังไม่กว้างขวางพอแก่การพระราชพิธีต่างๆ จึงทรงมีพระราชดำริสร้างพระที่นั่งอนันต์ขึ้นอีกหลังหนึ่งเพื่อเป็นท้องพระโรงสำหรับต้อนรับแขกเมือง หรือประชุมราชการแผ่นดิน
พระที่นั่งอนันต์ นั้นงดงามด้วยศิลปะแบบอิตาเลียนเรเนอซองส์ ผสมกับศิลปะแบบนีโอคลาสสิค โดยรูปทรงของพระที่นั่งอนันตสมาคมนี้เป็นแบบเดียวกับวิหารเซนต์ปีเตอร์แห่งโรม และโบสถ์เซนต์ปอล กรุงลอนดอน ช่วงบนของอาคารซึ่งเป็นรูปโดมซึ่งทำจากทองแดง มีโดมใหญ่อยู่ตรงกลาง และโดมเล็กๆ อยู่รายรอบอีก 6 โดม ตัวอาคารสร้างจากหินอ่อนสีขาวริ้วลายสีน้ำตาลแก่แกมหม่น สั่งเข้ามาจากเมืองคาร์รารา ประเทศอิตาลี
อีกทั้งภายในยังงดงามไปด้วยภาพเขียนแบบเฟรสโก (ภาพเขียนสีบนปูนเปียก) บนเพดานโดม โดยฝีมือของจิตรกรชาวอิตาเลียน คือนายซี. รีโกลี และศาสตราจารย์กาลิเลโอ กินี โดยรูปเหล่านั้นจะเป็นรูปที่แสดงถึงเหตุการณ์เด่นๆ ในแต่ละรัชกาล ตั้งแต่รัชกาลที่ 1-6
แม้พระที่นั่งแห่งนี้จะสร้างขึ้นในรัชสมัยของพระองค์ แต่เมื่อการก่อสร้างดำเนินไปได้เพียงสองปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าก็เสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 จึงรับช่วงการก่อสร้างต่อจนสำเร็จลงในอีก 6 ปีต่อมา
จากวัดและวัง เรามาชมสถาปัตยกรรมเพื่อประชาชนที่เกิดในสมัยรัชกาลที่ 5 กันบ้าง เช่น “สถานีรถไฟหัวลำโพง” สถานีรถไฟหลักของไทยที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 ตัวสถานีนั้นก่อสร้างเป็นรูปโดมสไตล์อิตาเลียนผสมผสานกับศิลปะยุคเรอเนสซอง มีลักษณะคล้ายกับสถานีรถไฟ เมืองแฟรงค์เฟิร์ตในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี อีกทั้งวัสดุในการก่อสร้างก็เป็นวัสดุสำเร็จรูปจากเยอรมันนีเช่นกัน
บริเวณช่องระบายอากาศในสถานีก็ได้ประดับกระจกสีเอาไว้ เมื่อแสงส่องผ่านเข้ามาจึงมองดูงดงาม ให้ผู้ที่รอรถไฟได้ชมความงามไปพลางๆ และนาฬิกาบอกเวลาเรือนใหญ่ในสถานีนั้นก็มีอายุเก่าแก่พอๆ กับตัวอาคารด้วยเช่นกัน หากมองไปรอบๆ ก็จะเห็นลวดลายหินอ่อนต่างๆ ที่ประดับไว้ตามบันไดและเสาอาคารในส่วนของที่ทำการกองโดยสาร และบนเพดานยังเป็นไม้สักสลักลายนูนที่หาดูได้ยากอีกด้วย
“สะพานชุดเฉลิม” ก็ถือเป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นสาธารณะประโยชน์อันสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่เรียกว่าสะพานชุดเฉลิมนั้นก็เนื่องจากว่าสะพานที่พระองค์โปรดเกล้าให้สร้างขึ้นเหล่านี้จะมีชื่อขึ้นต้นว่า “เฉลิม” และลงท้ายด้วยตัวเลขพระชนมายุของพระองค์ในขณะที่สร้างสะพานนั้นๆนั่นเอง
สะพานชุดเฉลิมนี้มีด้วยกันทั้งหมด 17 สะพานด้วยกัน แต่ในปัจจุบันได้ถูกรื้อถอนไปเป็นส่วนใหญ่แล้ว ที่ยังคงหลงเหลือให้เห็นก็เช่นสะพานเฉลิมหล้า 56 หรือที่รู้จักกันในชื่อสะพานหัวช้าง ลักษณะเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก คานเป็นคอนกรีตรูปโค้ง หัวสะพานทั้งสี่มุม มีรูปประดับเป็นช้าง 4 ด้าน ลูกกรงหล่อแบบลูกมะหวดฝรั่ง กลางสะพานมีพระปรมาภิไธยย่อ จปร. อยู่ด้วย นอกจากนั้นสะพานที่ยังเหลืออยู่ก็เช่น สะพานเฉลิมเผ่า 52 สะพานเฉลิมโลก 55 และสะพานเฉลิมสวรรค์ 58 ที่บางสะพานนั้นก็มีการเปลี่ยนรูปทรงไปบ้างในปัจจุบัน
มาปิดท้ายสถาปัตยกรรมในสมัยรัชกาลที่ 5 อย่างตึกแถวย่านท่าช้าง ที่เป็นอาคารพาณิชย์เก่าแก่ เป็นสถาปัตยกรรมแบบนีโอคลาสสิค ด้านหน้าอาคารชั้นบนทำเป็นระเบียง 3 ระเบียง ระเบียงกลางมีขนาดใหญ่ที่สุด ตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้น ผนังอาคารเซาะร่องเป็นแนว ชั้นล่างแต่งด้วยเสาดอริกและเสาแบบโครินเธียนในชั้นสอง ปัจจุบัน ธนาคารนครหลวงก็ได้เช่าอาคารแห่งนี้เปิดเป็นที่ทำการ
นอกจากนั้นตึกแถวในสมัยรัชกาลที่ 5 ในกรุงเทพฯนั้นก็ยังมีอยู่เช่น ตึกแถวริมถนนอัษฎางค์และย่านหลังกระทรวง ตึกแถวถนนตะนาว ช่วงก่อนถึงวัดบวรนิเวศฯ ก็คาดว่าสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ด้วยเช่นกัน
มรดกทางสถาปัตยกรรมเหล่านี้แม้จะมีอายุเป็นร้อยปี แต่ก็ยังคงสภาพดีจนมาถึงปัจจุบัน ให้พวกเราได้ชื่นชม และระลึกถึง “พระปิยมหาราช” ผู้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณยิ่งต่อปวงชนชาวไทย