โดย : หนุ่มลูกทุ่ง
เวลาที่เห็นภาพของตึกสูงและความเจริญในกรุงเทพฯทีไร ฉันก็ชอบคิดย้อนไปถึงอดีตวาดภาพไปว่าเมื่อก่อนนี้กรุงเทพฯก็เคยเป็นทุ่งนากว้างใหญ่ ต้นไม้ร่มรื่น มีคูคลองมากมาย คงเป็นบรรยากาศเหมือนบ้านฉันที่บ้านนอกแน่ๆ แต่ก็คงไม่มีโอกาสได้เห็นกรุงเทพฯในสภาพนั้นแล้ว ก็คงได้แต่จินตนาการในใจต่อไป
ในวันนี้ที่ตั้งใจจะมาเดินเที่ยวใน “เขตปทุมวัน” ใจก็คิดย้อนไปเมื่อประมาณสองร้อยปีก่อน ที่บริเวณนี้ยังเป็นเพียงชนบทห่างไกล เป็นทุ่งนากว้างใหญ่ มีเส้นทางคมนาคมเพียงเส้นทางเดียวคือต้องลงเรือล่องคลองแสนแสบที่เชื่อมกับคลองผดุงกรุงเกษม แต่ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ก็ได้เสด็จประพาสมาที่บริเวณนี้ และทอดพระเนตรเห็นว่าในแถบนี้มีบัวพันธุ์ไทยขึ้นอยู่ตามหนองบึงสวยงามมาก จึงทรงมีพระราชประสงค์ให้จัดทำรมณียสถาน หรือสถานตากอากาศนอกพระนครขึ้น
ในการก่อสร้างนั้นได้มีการขุดลอกสระ 2 สระเชื่อมต่อกัน สระทางด้านเหนือเรียกว่าสระใน เป็นเขตหวงห้ามส่วนพระองค์และฝ่ายใน ส่วนทางด้านใต้เรียกว่าสระนอก ทรงอนุญาตให้ข้าราชการและราษฎรทั่วไปมาเล่นเรือกันได้ และภายในสระทั้งสองนั้นก็ปลูกบัวพันธุ์ต่างๆ ไว้ ไม่ว่าจะเป็นบัวสาย บัวผัน บัวเผื่อน บัวหลวง ฯลฯ ออกดอกงดงามเต็มสระ และบริเวณสระบัวนั้นก็ได้สร้างที่ประทับสำหรับพระองค์และที่ประทับของเจ้าจอมต่างๆ โดยพระองค์ให้พระราชทานนามให้แก่สถานที่แห่งนี้ว่า “ปทุมวัน” และทรงเรียกบริเวณที่ประทับว่า “วังสระปทุม”
อีกทั้งพระองค์ยังทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างวัดขึ้นบริเวณด้านทิศตะวันตกของสระนอกเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแก่สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี พระมเหสี และพระราชทานนามวัดว่าวัดปทุมวนาราม แต่ชาวบ้านมักเรียกว่า วัดสระปทุม โดยในเวลาที่พระองค์เสด็จมาประทับที่วังสระปทุมนี้ก็จะโปรดเกล้าฯ ให้พระสงฆ์จากวัดปทุมวนารามพายเรือเข้าไปบิณฑบาตในสระนี้ด้วย
มาจนถึงตอนนี้ก็ไม่มีสระดอกบัวให้เห็นอีกแล้ว จะเหลือก็แต่ชื่อเขตปทุมวันเท่านั้น และภาพของทุ่งนาแถบชนบท สระน้ำกว้างใหญ่ในอดีตก็ได้กลายสภาพเป็นห้างสรรพสินค้า รถไฟฟ้า ตึกสูงเบียดเสียดกันอย่างในปัจจุบันแทน เพราะในตอนนี้เขตปทุมวันกลายเป็นย่านการค้าที่ติดอันดับที่ดินแพงที่สุดในประเทศไทยไปเรียบร้อยแล้ว โดยที่ดินในย่านสยามพารากอนนั้นมีราคาสูงตารางวาละ 8 แสนบาทเลยทีเดียว
เรามาเริ่มท่องเที่ยวในเขตปทุมวันกันที่ “วัดปทุมวนาราม” แวะเข้าไปไหว้พระเอาฤกษ์เอาชัยกันเสียก่อน โดยภายในวัดปทุมฯนี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์จากฝั่งลาวถึง 3 องค์ด้วยกัน นั่นก็คือ "พระเสริม" "พระแสน" และ “พระสายน์”
บรรยากาศในวัดอาจจะดูเหมือนถูกบีบให้เล็กลงด้วยตึกสูงที่อยู่รายรอบ แต่หากใครต้องการความรู้สึกสงบ ไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับโลกภายนอกก็ต้องเดินมาที่บริเวณด้านหลังวัด ที่ "สวนป่าพระราชศรัทธา" ที่มีบรรยากาศร่มครึ้มเต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่ มี "ศาลาพระราชศรัทธา" ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ บนศาลานี้ยังเป็นที่ให้ประชาชนมานั่งสมาธิฟังธรรม โดยจะมีเทปธรรมะเปิดให้ฟังตลอดทั้งวัน
หรือหากใครยังมีที่ยึดเหนี่ยวทางใจไม่พอ ที่บริเวณแยกราชประสงค์ก็ยังมีเทพเจ้าสิ่งศักดิ์ให้กราบไหว้อีกหลายองค์ เรียกได้ว่าเป็น “สี่แยกเทพเจ้า” เลยทีเดียว เริ่มตั้งแต่ท่านท้าวมหาพรหมที่โรงแรมเอราวัณ เรื่องความเคารพศรัทธาไม่ต้องพูดถึงเพราะคนจากทั่วสารทิศต่างก็มุ่งหน้ามากราบไหว้พระองค์ บริเวณหน้าห้างเซ็นทรัลเวิลด์ก็มีองค์พระตรีมูรติ ที่คนมักจะไปขอพรเรื่องความรัก และมีองค์พระพิฆเนศวร เทพแห่งความสำเร็จ ที่มีคนนิยมมากราบไหว้กันมากเช่นกัน
บนห้างสรรพสินค้าเกสรพลาซ่าก็มีรูปเคารพของพระลักษมี พระชายาของพระศิวะ บริเวณหน้าโรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัลก็มีพระนารายณ์ทรงสุบรรณ ส่วนบริเวณห้างสรรพสินค้าอัมรินทร์พลาซ่าก็มีท้าวอัมรินทราธิราชไว้เป็นที่เคารพของผู้คนแถบนั้น ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ เพราะในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ก็ยังมีพระนารายณ์ประทับยืนบนพญาอนันตนาคราชประดิษฐานอยู่กลางสระน้ำ เป็นที่เคารพของคนในสถานที่นั้น
พูดถึง สตช.แล้วฉันก็ของขึ้น มือตบสั่นริกๆอยากจะไปตบบ้องหูคนสั่งการให้ตำรวจใช้แก๊สน้ำตาสลายกลุ่มผู้ชุมนุม ก็ไม่รู้ใช้แก๊สน้ำตาอีท่าไหนผู้มาชุมนุมถึงได้บาดเจ็บล้มตาย ขาขาด แขนขาด เท้าขาด กันเป็นจำนวนมาก อย่างนี้ถ้าไม่เรียกว่าตำรวจ(ชั่ว)เข่นฆ่าประชาชนแล้วจะให้เรียกว่าอย่างไร สงสัยวันนี้ เนื้อเพลง “เกียรติตำรวจของไทย” คงต้องเปลี่ยนเป็น “เกลียดตำรวจของไทย” ซะละมั้ง
เฮ้อ...ขอเปลี่ยนอารมณ์ไปนั่งพักให้หายหงุดหงิดที่ “สวนลุมพินี”กันต่อดีกว่า สวนกว้างใหญ่ร่มรื่นแห่งนี้คงจะทำให้อารมณ์เย็นขึ้นบ้าง สวนลุมพินีนี้ก็เป็นสถานที่สำคัญ เพราะเป็นสวนสาธารณะแห่งแรกในกรุงเทพฯ โดยจุดกำเนิดของสวนลุมพินีนั้นก็เริ่มจากที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงมีพระราชดำริที่จะจัดงานแสดงพิพิธภัณฑ์สรรพสินค้าและทรัพยากรธรรมชาติ ดังเช่นประเทศตะวันตก โดยกำหนดจัดในฤดูหนาวปลายปี พ.ศ. 2468 และมีพระราชดำริว่าเมื่อเลิกจัดงานแล้ว สถานที่นั้นควรจัดทำเป็นสวนพฤกษชาติ เพื่อให้ประชาชนได้ศึกษาและพักผ่อนต่อไป
พระองค์ได้ทรงเลือกบริเวณทุ่งศาลาแดงที่ดินส่วนพระองค์เป็นที่จัดงาน และทรงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในการจัดงานการเตรียมสถานที่ โดยมีการขุดสระน้ำ สร้างเกาะลอยกลางน้ำ ตัดถนน และสร้างถาวรวัตถุต่างๆ และพระราชทานชื่อสวนนี้ว่าว่า "สวนลุมพินี" แต่งานนี้ก็ไม่ได้ถูกจัดขึ้นเพราะพระองค์เสด็จสวรรคตไปเสียก่อน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 7 จึงได้มีการเปิดเป็นสวนสาธารณะมาจนถึงปัจจุบัน
บริเวณด้านหน้าสวนลุมพินีจึงมีพระบรมรูปรัชกาลที่ 6 เพื่อระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ผู้ให้กำเนิดสวนลุมพินี ซึ่งปัจจุบัน สวนแห่งนี้ก็ได้กลายเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจและออกกำลังกายแห่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในกรุงเทพเลยทีเดียว
จากสวนลุมพินีเดินผ่านมาทางโรงพยาบาลจุฬา แล้วแวะเข้ามาที่ “สถานเสาวภา” กันบ้าง มาตื่นเต้นกับสัตว์เลื้อยคลานน่าขนหัวลุกอย่าง “งู” ที่สวนงูภายในสถานเสาวภา สภากาชาดไทย โดยสวนงูแห่งนี้เป็นสวนงูแห่งแรกของเอเชีย และเป็นสวนงูแห่งที่ 2 ของโลก สร้างขึ้นไว้เพื่อเลี้ยงงูพิษสำหรับผลิตเซรุ่มแก้พิษงู
การแสดงอันน่าตื่นเต้นภายในสวนงูนั้นก็คือการสาธิตการจับงูโดยเจ้าหน้าผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างดี และเราก็จะได้รู้จักกับงูชนิดต่างๆ ที่หน้าตาท่าทางและพิษร้ายแรงแตกต่างกันไป งูบางด้วยเลื้อยรวดเร็ว บางตัวก็ดูนิ่งๆ ซึมๆ บางตัวก็มารยาเยอะเพราะแกล้งทำเป็นตายได้ด้วย
ชมการแสดงเสร็จแล้วก็อย่าลืมเข้าไปชมพิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับงูที่ “ตึก 4 มะเส็ง” ที่มีข้อมูลความรู้เกี่ยวกับงูอย่างครบถ้วน โดยจะมีตู้งูที่จัดแสดงตามธรรมชาติของงูต่างๆกว่า 30 ตู้ โครงกระดูกงู พร้อมทั้งสถานที่แสดงการรีดพิษงู ห้องจัดแสดงงู แสดงกายภาพของงู สื่อความรู้แอนนิเมชั่น จัดแสดงนิทรรศการสาธิตการปฐมพยาบาลที่ถูกวิธี
ลัดเลาะต่อมาตามถนนพระราม 4 ผ่านสามย่าน ที่มีมหาวิทยาลัยเก่าแก่อย่าง “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” สถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศไทย เมื่อเริ่มก่อตั้งในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้นยังเป็นเพียงโรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือนอยู่ในพระบรมมหาราชวังเมื่อ ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนมหาดเล็ก ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 พระองค์ก็ทรงคำนึงถึงพระบรมราโชบายของพระบิดาที่จะให้มีมหาวิทยาลัยขึ้นสำหรับเป็นสถาบันอุดมศึกษาของชาวสยามต่อมา ซึ่งถือเป็นคุณูปการต่อการศึกษาของประเทศเป็นอย่างยิ่ง
สิ่งหนึ่งที่อยู่คู่กับจุฬามาโดยตลอดก็คือ “ตลาดสามย่าน” ที่เมื่อไม่นานมานี้ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ มีการย้ายตลาดสามย่านไปอยู่ในที่ใหม่ รื้อห้องแถวเก่าแก่ที่มีอดีตอันยาวนานของสามย่านออกไป สร้างความอาลัยให้แก่คนที่มีความหลังกับตลาดสามย่านเก่าแก่ไม่น้อยเลย
ฉันเดินทอดน่องมาเรื่อยๆจนถึง “สถานีรถไฟหัวลำโพง” สถานที่ประวัติศาสตร์อีกแห่งหนึ่ง เพราะเป็นอาคารเก่าแก่ที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 และยังคงสภาพเดิมและเปิดใช้มาจนปัจจุบัน ตัวอาคารนั้นก่อสร้างเป็นรูปโดมสไตล์อิตาเลียนผสมผสานกับศิลปะยุคเรอเนสซองมีลักษณะคล้ายกับสถานีรถไฟ เมืองแฟรงค์เฟิร์ตในประเทศเยอรมนี มีการประดับกระจกสีที่ช่องระบายอากาศสวยงามมากทีเดียว
ที่หัวลำโพงแห่งนี้ยังคงเป็นสถานีรถไฟที่มีผู้คนมากหน้าหลายตามาใช้บริการอยู่เสมอ โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลนั้นก็จะมีคนพลุกพล่านเป็นพิเศษ เรียกได้ว่าเป็นสถานีที่ไม่เคยหลับใหลก็ว่าได้ และในบริเวณนั้นก็ยังเป็นที่ตั้งสถานีรถไฟอีกแห่งหนึ่ง แต่เป็นรถไฟฟ้าใต้ดิน ซึ่งมีต้นสายปลายทางอยู่ที่หัวลำโพงเช่นกัน
เดินเป็นวงกลมย้อนกลับมาที่สี่แยกปทุมวันอีกครั้ง เพราะที่นี่เขาเพิ่งมีสถานที่พักผ่อนหย่อนใจอย่าง “หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร” ที่เพิ่งสร้างเสร็จใหม่ๆ ให้คนที่สนใจเข้าไปชมงานศิลปะต่างๆ กันได้ด้วย งานศิลปะเหล่านี้ไม่ได้หมายถึงเพียงแค่ภาพวาด ภาพเขียน แต่ยังหมายรวมไปถึงภาพยนตร์ ละครเวที ดนตรี วรรณกรรม การออกแบบสร้างสรรค์ต่างๆอีกด้วย
ภายในอาคารหอศิลป์นี้ก็แบ่งพื้นที่เป็น 9 ชั้นด้วยกัน โดยแบ่งเป็นส่วนของร้านค้า ร้านอาหารต่างๆ ที่ในขณะนี้ยังไม่เปิดให้บริการ ส่วนของห้องสมุดศิลปะ และส่วนของพื้นที่จัดแสดงงานขนาดใหญ่ โดยในขณะนี้งานศิลปะที่กำลังจัดแสดงอยู่ก็ได้แก่งาน “รอยยิ้มสยาม : ศิลปะ+ศรัทธา+การเมือง+ความรัก” ที่มีศิลปินทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติรวมกันกว่า 100 คน มาจัดแสดงงานศิลปะร่วมกัน มีทั้งงานจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพถ่าย ศิลปะการจัดวาง วิดีโออาร์ต ฯลฯ มีให้ชมถึงวันที่ 23 พฤศจิกายนนี้
เดินเที่ยวจนแทบจะทั่วเขตแล้ว ตอนนี้ฉันขอปล่อยให้เป็นเวลาอิสระ สำหรับเดินช้อปปิ้งกันให้เต็มที่ เพราะอย่างที่บอกในตอนแรกว่าย่านปทุมวันนี้เป็นย่านการค้า จึงมีห้างสรรพสินค้านับสิบให้เดินช้อปกันจนขาลากไปเลย จะขอไล่ให้ฟังตั้งแต่ มาบุญครองเซ็นเตอร์ โตคิว สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ เซ็นทรัลเวิลด์พลาซ่า สยามพารากอน เกษรพลาซ่า อัมรินทร์พลาซ่า ห้างโซโก เซ็นทรัลชิดลม นี่ยังไม่นับรวมร้านค้าอีกหลายพันร้านในสยามสแควร์อีก คงต้องใช้เวลาสักหนึ่งอาทิตย์และเงินอีกหนึ่งกระบุงถึงจะช้อปปิ้งได้ทั่วเป็นแน่
เวลาที่เห็นภาพของตึกสูงและความเจริญในกรุงเทพฯทีไร ฉันก็ชอบคิดย้อนไปถึงอดีตวาดภาพไปว่าเมื่อก่อนนี้กรุงเทพฯก็เคยเป็นทุ่งนากว้างใหญ่ ต้นไม้ร่มรื่น มีคูคลองมากมาย คงเป็นบรรยากาศเหมือนบ้านฉันที่บ้านนอกแน่ๆ แต่ก็คงไม่มีโอกาสได้เห็นกรุงเทพฯในสภาพนั้นแล้ว ก็คงได้แต่จินตนาการในใจต่อไป
ในวันนี้ที่ตั้งใจจะมาเดินเที่ยวใน “เขตปทุมวัน” ใจก็คิดย้อนไปเมื่อประมาณสองร้อยปีก่อน ที่บริเวณนี้ยังเป็นเพียงชนบทห่างไกล เป็นทุ่งนากว้างใหญ่ มีเส้นทางคมนาคมเพียงเส้นทางเดียวคือต้องลงเรือล่องคลองแสนแสบที่เชื่อมกับคลองผดุงกรุงเกษม แต่ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ก็ได้เสด็จประพาสมาที่บริเวณนี้ และทอดพระเนตรเห็นว่าในแถบนี้มีบัวพันธุ์ไทยขึ้นอยู่ตามหนองบึงสวยงามมาก จึงทรงมีพระราชประสงค์ให้จัดทำรมณียสถาน หรือสถานตากอากาศนอกพระนครขึ้น
ในการก่อสร้างนั้นได้มีการขุดลอกสระ 2 สระเชื่อมต่อกัน สระทางด้านเหนือเรียกว่าสระใน เป็นเขตหวงห้ามส่วนพระองค์และฝ่ายใน ส่วนทางด้านใต้เรียกว่าสระนอก ทรงอนุญาตให้ข้าราชการและราษฎรทั่วไปมาเล่นเรือกันได้ และภายในสระทั้งสองนั้นก็ปลูกบัวพันธุ์ต่างๆ ไว้ ไม่ว่าจะเป็นบัวสาย บัวผัน บัวเผื่อน บัวหลวง ฯลฯ ออกดอกงดงามเต็มสระ และบริเวณสระบัวนั้นก็ได้สร้างที่ประทับสำหรับพระองค์และที่ประทับของเจ้าจอมต่างๆ โดยพระองค์ให้พระราชทานนามให้แก่สถานที่แห่งนี้ว่า “ปทุมวัน” และทรงเรียกบริเวณที่ประทับว่า “วังสระปทุม”
อีกทั้งพระองค์ยังทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างวัดขึ้นบริเวณด้านทิศตะวันตกของสระนอกเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแก่สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี พระมเหสี และพระราชทานนามวัดว่าวัดปทุมวนาราม แต่ชาวบ้านมักเรียกว่า วัดสระปทุม โดยในเวลาที่พระองค์เสด็จมาประทับที่วังสระปทุมนี้ก็จะโปรดเกล้าฯ ให้พระสงฆ์จากวัดปทุมวนารามพายเรือเข้าไปบิณฑบาตในสระนี้ด้วย
มาจนถึงตอนนี้ก็ไม่มีสระดอกบัวให้เห็นอีกแล้ว จะเหลือก็แต่ชื่อเขตปทุมวันเท่านั้น และภาพของทุ่งนาแถบชนบท สระน้ำกว้างใหญ่ในอดีตก็ได้กลายสภาพเป็นห้างสรรพสินค้า รถไฟฟ้า ตึกสูงเบียดเสียดกันอย่างในปัจจุบันแทน เพราะในตอนนี้เขตปทุมวันกลายเป็นย่านการค้าที่ติดอันดับที่ดินแพงที่สุดในประเทศไทยไปเรียบร้อยแล้ว โดยที่ดินในย่านสยามพารากอนนั้นมีราคาสูงตารางวาละ 8 แสนบาทเลยทีเดียว
เรามาเริ่มท่องเที่ยวในเขตปทุมวันกันที่ “วัดปทุมวนาราม” แวะเข้าไปไหว้พระเอาฤกษ์เอาชัยกันเสียก่อน โดยภายในวัดปทุมฯนี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์จากฝั่งลาวถึง 3 องค์ด้วยกัน นั่นก็คือ "พระเสริม" "พระแสน" และ “พระสายน์”
บรรยากาศในวัดอาจจะดูเหมือนถูกบีบให้เล็กลงด้วยตึกสูงที่อยู่รายรอบ แต่หากใครต้องการความรู้สึกสงบ ไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับโลกภายนอกก็ต้องเดินมาที่บริเวณด้านหลังวัด ที่ "สวนป่าพระราชศรัทธา" ที่มีบรรยากาศร่มครึ้มเต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่ มี "ศาลาพระราชศรัทธา" ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ บนศาลานี้ยังเป็นที่ให้ประชาชนมานั่งสมาธิฟังธรรม โดยจะมีเทปธรรมะเปิดให้ฟังตลอดทั้งวัน
หรือหากใครยังมีที่ยึดเหนี่ยวทางใจไม่พอ ที่บริเวณแยกราชประสงค์ก็ยังมีเทพเจ้าสิ่งศักดิ์ให้กราบไหว้อีกหลายองค์ เรียกได้ว่าเป็น “สี่แยกเทพเจ้า” เลยทีเดียว เริ่มตั้งแต่ท่านท้าวมหาพรหมที่โรงแรมเอราวัณ เรื่องความเคารพศรัทธาไม่ต้องพูดถึงเพราะคนจากทั่วสารทิศต่างก็มุ่งหน้ามากราบไหว้พระองค์ บริเวณหน้าห้างเซ็นทรัลเวิลด์ก็มีองค์พระตรีมูรติ ที่คนมักจะไปขอพรเรื่องความรัก และมีองค์พระพิฆเนศวร เทพแห่งความสำเร็จ ที่มีคนนิยมมากราบไหว้กันมากเช่นกัน
บนห้างสรรพสินค้าเกสรพลาซ่าก็มีรูปเคารพของพระลักษมี พระชายาของพระศิวะ บริเวณหน้าโรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัลก็มีพระนารายณ์ทรงสุบรรณ ส่วนบริเวณห้างสรรพสินค้าอัมรินทร์พลาซ่าก็มีท้าวอัมรินทราธิราชไว้เป็นที่เคารพของผู้คนแถบนั้น ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ เพราะในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ก็ยังมีพระนารายณ์ประทับยืนบนพญาอนันตนาคราชประดิษฐานอยู่กลางสระน้ำ เป็นที่เคารพของคนในสถานที่นั้น
พูดถึง สตช.แล้วฉันก็ของขึ้น มือตบสั่นริกๆอยากจะไปตบบ้องหูคนสั่งการให้ตำรวจใช้แก๊สน้ำตาสลายกลุ่มผู้ชุมนุม ก็ไม่รู้ใช้แก๊สน้ำตาอีท่าไหนผู้มาชุมนุมถึงได้บาดเจ็บล้มตาย ขาขาด แขนขาด เท้าขาด กันเป็นจำนวนมาก อย่างนี้ถ้าไม่เรียกว่าตำรวจ(ชั่ว)เข่นฆ่าประชาชนแล้วจะให้เรียกว่าอย่างไร สงสัยวันนี้ เนื้อเพลง “เกียรติตำรวจของไทย” คงต้องเปลี่ยนเป็น “เกลียดตำรวจของไทย” ซะละมั้ง
เฮ้อ...ขอเปลี่ยนอารมณ์ไปนั่งพักให้หายหงุดหงิดที่ “สวนลุมพินี”กันต่อดีกว่า สวนกว้างใหญ่ร่มรื่นแห่งนี้คงจะทำให้อารมณ์เย็นขึ้นบ้าง สวนลุมพินีนี้ก็เป็นสถานที่สำคัญ เพราะเป็นสวนสาธารณะแห่งแรกในกรุงเทพฯ โดยจุดกำเนิดของสวนลุมพินีนั้นก็เริ่มจากที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงมีพระราชดำริที่จะจัดงานแสดงพิพิธภัณฑ์สรรพสินค้าและทรัพยากรธรรมชาติ ดังเช่นประเทศตะวันตก โดยกำหนดจัดในฤดูหนาวปลายปี พ.ศ. 2468 และมีพระราชดำริว่าเมื่อเลิกจัดงานแล้ว สถานที่นั้นควรจัดทำเป็นสวนพฤกษชาติ เพื่อให้ประชาชนได้ศึกษาและพักผ่อนต่อไป
พระองค์ได้ทรงเลือกบริเวณทุ่งศาลาแดงที่ดินส่วนพระองค์เป็นที่จัดงาน และทรงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในการจัดงานการเตรียมสถานที่ โดยมีการขุดสระน้ำ สร้างเกาะลอยกลางน้ำ ตัดถนน และสร้างถาวรวัตถุต่างๆ และพระราชทานชื่อสวนนี้ว่าว่า "สวนลุมพินี" แต่งานนี้ก็ไม่ได้ถูกจัดขึ้นเพราะพระองค์เสด็จสวรรคตไปเสียก่อน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 7 จึงได้มีการเปิดเป็นสวนสาธารณะมาจนถึงปัจจุบัน
บริเวณด้านหน้าสวนลุมพินีจึงมีพระบรมรูปรัชกาลที่ 6 เพื่อระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ผู้ให้กำเนิดสวนลุมพินี ซึ่งปัจจุบัน สวนแห่งนี้ก็ได้กลายเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจและออกกำลังกายแห่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในกรุงเทพเลยทีเดียว
จากสวนลุมพินีเดินผ่านมาทางโรงพยาบาลจุฬา แล้วแวะเข้ามาที่ “สถานเสาวภา” กันบ้าง มาตื่นเต้นกับสัตว์เลื้อยคลานน่าขนหัวลุกอย่าง “งู” ที่สวนงูภายในสถานเสาวภา สภากาชาดไทย โดยสวนงูแห่งนี้เป็นสวนงูแห่งแรกของเอเชีย และเป็นสวนงูแห่งที่ 2 ของโลก สร้างขึ้นไว้เพื่อเลี้ยงงูพิษสำหรับผลิตเซรุ่มแก้พิษงู
การแสดงอันน่าตื่นเต้นภายในสวนงูนั้นก็คือการสาธิตการจับงูโดยเจ้าหน้าผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างดี และเราก็จะได้รู้จักกับงูชนิดต่างๆ ที่หน้าตาท่าทางและพิษร้ายแรงแตกต่างกันไป งูบางด้วยเลื้อยรวดเร็ว บางตัวก็ดูนิ่งๆ ซึมๆ บางตัวก็มารยาเยอะเพราะแกล้งทำเป็นตายได้ด้วย
ชมการแสดงเสร็จแล้วก็อย่าลืมเข้าไปชมพิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับงูที่ “ตึก 4 มะเส็ง” ที่มีข้อมูลความรู้เกี่ยวกับงูอย่างครบถ้วน โดยจะมีตู้งูที่จัดแสดงตามธรรมชาติของงูต่างๆกว่า 30 ตู้ โครงกระดูกงู พร้อมทั้งสถานที่แสดงการรีดพิษงู ห้องจัดแสดงงู แสดงกายภาพของงู สื่อความรู้แอนนิเมชั่น จัดแสดงนิทรรศการสาธิตการปฐมพยาบาลที่ถูกวิธี
ลัดเลาะต่อมาตามถนนพระราม 4 ผ่านสามย่าน ที่มีมหาวิทยาลัยเก่าแก่อย่าง “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” สถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศไทย เมื่อเริ่มก่อตั้งในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้นยังเป็นเพียงโรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือนอยู่ในพระบรมมหาราชวังเมื่อ ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนมหาดเล็ก ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 พระองค์ก็ทรงคำนึงถึงพระบรมราโชบายของพระบิดาที่จะให้มีมหาวิทยาลัยขึ้นสำหรับเป็นสถาบันอุดมศึกษาของชาวสยามต่อมา ซึ่งถือเป็นคุณูปการต่อการศึกษาของประเทศเป็นอย่างยิ่ง
สิ่งหนึ่งที่อยู่คู่กับจุฬามาโดยตลอดก็คือ “ตลาดสามย่าน” ที่เมื่อไม่นานมานี้ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ มีการย้ายตลาดสามย่านไปอยู่ในที่ใหม่ รื้อห้องแถวเก่าแก่ที่มีอดีตอันยาวนานของสามย่านออกไป สร้างความอาลัยให้แก่คนที่มีความหลังกับตลาดสามย่านเก่าแก่ไม่น้อยเลย
ฉันเดินทอดน่องมาเรื่อยๆจนถึง “สถานีรถไฟหัวลำโพง” สถานที่ประวัติศาสตร์อีกแห่งหนึ่ง เพราะเป็นอาคารเก่าแก่ที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 และยังคงสภาพเดิมและเปิดใช้มาจนปัจจุบัน ตัวอาคารนั้นก่อสร้างเป็นรูปโดมสไตล์อิตาเลียนผสมผสานกับศิลปะยุคเรอเนสซองมีลักษณะคล้ายกับสถานีรถไฟ เมืองแฟรงค์เฟิร์ตในประเทศเยอรมนี มีการประดับกระจกสีที่ช่องระบายอากาศสวยงามมากทีเดียว
ที่หัวลำโพงแห่งนี้ยังคงเป็นสถานีรถไฟที่มีผู้คนมากหน้าหลายตามาใช้บริการอยู่เสมอ โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลนั้นก็จะมีคนพลุกพล่านเป็นพิเศษ เรียกได้ว่าเป็นสถานีที่ไม่เคยหลับใหลก็ว่าได้ และในบริเวณนั้นก็ยังเป็นที่ตั้งสถานีรถไฟอีกแห่งหนึ่ง แต่เป็นรถไฟฟ้าใต้ดิน ซึ่งมีต้นสายปลายทางอยู่ที่หัวลำโพงเช่นกัน
เดินเป็นวงกลมย้อนกลับมาที่สี่แยกปทุมวันอีกครั้ง เพราะที่นี่เขาเพิ่งมีสถานที่พักผ่อนหย่อนใจอย่าง “หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร” ที่เพิ่งสร้างเสร็จใหม่ๆ ให้คนที่สนใจเข้าไปชมงานศิลปะต่างๆ กันได้ด้วย งานศิลปะเหล่านี้ไม่ได้หมายถึงเพียงแค่ภาพวาด ภาพเขียน แต่ยังหมายรวมไปถึงภาพยนตร์ ละครเวที ดนตรี วรรณกรรม การออกแบบสร้างสรรค์ต่างๆอีกด้วย
ภายในอาคารหอศิลป์นี้ก็แบ่งพื้นที่เป็น 9 ชั้นด้วยกัน โดยแบ่งเป็นส่วนของร้านค้า ร้านอาหารต่างๆ ที่ในขณะนี้ยังไม่เปิดให้บริการ ส่วนของห้องสมุดศิลปะ และส่วนของพื้นที่จัดแสดงงานขนาดใหญ่ โดยในขณะนี้งานศิลปะที่กำลังจัดแสดงอยู่ก็ได้แก่งาน “รอยยิ้มสยาม : ศิลปะ+ศรัทธา+การเมือง+ความรัก” ที่มีศิลปินทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติรวมกันกว่า 100 คน มาจัดแสดงงานศิลปะร่วมกัน มีทั้งงานจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพถ่าย ศิลปะการจัดวาง วิดีโออาร์ต ฯลฯ มีให้ชมถึงวันที่ 23 พฤศจิกายนนี้
เดินเที่ยวจนแทบจะทั่วเขตแล้ว ตอนนี้ฉันขอปล่อยให้เป็นเวลาอิสระ สำหรับเดินช้อปปิ้งกันให้เต็มที่ เพราะอย่างที่บอกในตอนแรกว่าย่านปทุมวันนี้เป็นย่านการค้า จึงมีห้างสรรพสินค้านับสิบให้เดินช้อปกันจนขาลากไปเลย จะขอไล่ให้ฟังตั้งแต่ มาบุญครองเซ็นเตอร์ โตคิว สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ เซ็นทรัลเวิลด์พลาซ่า สยามพารากอน เกษรพลาซ่า อัมรินทร์พลาซ่า ห้างโซโก เซ็นทรัลชิดลม นี่ยังไม่นับรวมร้านค้าอีกหลายพันร้านในสยามสแควร์อีก คงต้องใช้เวลาสักหนึ่งอาทิตย์และเงินอีกหนึ่งกระบุงถึงจะช้อปปิ้งได้ทั่วเป็นแน่