โดย : ปิ่น บุตรี
ปรากฏการณ์พระวิหาร ทำให้คนไทยตื่นตัวในหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องรักชาติ เรื่องประวัติศาสตร์ เรื่องคนขายชาติ รวมไปถึงเรื่องมรดกโลกด้วย
สำหรับเมืองไทยวันนี้ มีมรดกโลก อยู่ 5 แห่งด้วยกัน คือ มรดกโลกทางธรรมชาติ 2 แห่ง คือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง(อุทัยธานี กาญจนบุรี ตา),ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่(นครราชสีมา สระบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว และบุรีรัมย์) มรดกโลกทางวัฒนธรรม 3 แห่ง คือ แหล่งมรดกโลกสุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร(สุโขทัย-กำแพงเพชร),อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา(พระนครศรีอยุธยา) และแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง(อุดรธานี)
นอกจากนี้ยังมีว่าที่มรดกโลกจ่ออยู่อีก 2 แห่งคือ คือ เส้นทางปราสาทหิน(ราชมรรคา) ปราสาทหินพิมาย-พนมรุ้ง-เมืองต่ำ(นครราชสีมา-บุรีรัมย์) และอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท(อุดรธานี) ซึ่งถ้าหากว่าที่ทั้ง 2 แห่งได้เป็นมรดกโลกในอนาคต นั่นหมายความว่าจังหวัดอุดรธานี จะเป็นจังหวัดเดียวที่มีมรดกโลกถึง 2 แห่งด้วยกัน นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีไม่น้อยเลย
แต่นั่นเป็นเรื่องอนาคตที่มิอาจคาดเดา ส่วน ณ วันนี้ แม้อุดรจะมีมรดกโลกเพียงหนึ่งเดียว แต่ทั้งมรดกโลกและว่าที่มรดกโลกต่างก็จัดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวระดับไฮไลท์ ขึ้นหิ้งของเมืองอุดร ซึ่งผมจะขอฉายภาพแหล่งท่องเที่ยวทั้ง 2 แห่งกันแบบคร่าวๆ เริ่มด้วยมรดกโลก“แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง”ที่ได้รับการประกาศจากยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกปี พ.ศ. 2535
ความสำคัญที่เด่นมากๆของบ้านเชียงก็คือ การเป็นแหล่งขุดค้นพบร่องรอยอารยธรรมของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์พร้อมด้วยเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีอายุกว่า 5,600 ปี ที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการของสังคม และวัฒนธรรมสมัยโบราณในภูมิภาคนี้ รวมถึงมีการพบโครงกระดูกมนุษย์โบราณ เครื่องมือเครื่องใช้โบราณที่ทำด้วยหินและสำริด และเครื่องปั้นดินเผาแบบบ้านเชียงอันเป็นเอกลักษณ์เนื่องจากมีรูปทรง สีสัน และลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยเฉพาะภาชนะดินเผาเขียนเป็นลายสีน้ำตาลแดงที่ขึ้นชื่อมากๆเพราะมีการขุดค้นพบเป็นครั้งแรกในเมืองไทย
สำหรับสิ่งที่ได้จากการขุดค้นและบรรดาข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ สามารถดูได้ใน “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง” (ม.บ้านเชียง ต.บ้านเชียง อ.หนองหาน) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆด้วยกัน
ส่วนที่ 1 อยู่ในวัดโพธิ์ศรี แสดงเรื่องราวการขุดค้นทางโบราณคดีและโบราณวัตถุซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาชนะเผาที่ฝังรวมกับศพตั้งแต่อดีต และส่วนที่ 2 ที่จัดแสดงเรื่องราวทางวัฒนธรรมบ้านเชียง รวมถึงโบราณวัตถุและเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆโดยมีการแบ่งเป็นห้องต่างๆ
นอกจากนี้การค้นพบบ้านเชียงยังทำให้มีการตีความประวัติศาสตร์ไทยกันใหม่ในเรื่องความเชื่อเกี่ยวกับกำเนิดของคนไทย เพราะนักประวัติศาสตร์กลุ่มหนึ่งต่างลงความเห็นว่ากำเนิดคนไทยไม่น่าจะมาจากเทือกเขาอัลไต แต่คนไทยน่าจะมีรกกำเนิดอยู่ ณ ดินแดนที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน เนื่องจากมีแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงเป็นหลักฐานสำคัญ
แต่...เป็นที่น่าเสียดายว่าใครและใครหลายคนไม่รู้ว่าบ้านเชียงเป็นมรดกโลก แถมยังไม่ค่อยรู้ว่าบ้านเชียงมีความสำคัญอย่างไร รู้เพียงแต่ว่าที่นี่มีหม้อ ไห โบราณขึ้นชื่อเท่านั้น
จากมรดกโลกบ้านเชียงเราไปรู้จักกับว่าที่มรดกโลกอย่าง“อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท” (ต.เมืองพาน อ.บ้านผือ)กันบ้าง
อุทยานฯภูพระบาท มีลักษณะทางธรรมชาติพิเศษที่โดดเด่นมาก เกิดจากการกระทำแดด ลม ฝน อากาศ จนเกิดเป็น โขดหินและเพิงหินทรายตั้งกระจัดกระจายอยู่เป็นจำนวนมาก ดูประหนึ่งประติมากรรมธรรมชาติอันมากด้วยจินตนาการ
ไม่เพียงเท่านั้นภูพระบาทยังมีหลักฐานว่าเคยมีมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์อาศัยอยู่ เพราะพบร่องรอยภาพเขียน 2-3 พันปีก่อนประวัติศาสตร์
นอกจากนี้ภูพระบาทยังมีเป็นศาสนสถานสำคัญๆ อาทิ “พระพุทธบาทบัวบก”ที่จำลองมาจาก
แบบองค์พระธาตุพนมองค์เดิม “พระพุทธบาทหลังเต่า”เป็นรอยพระพุทธบาทสลักลึกลงไปในพื้นหิน ประมาณ 25 ซม. ตั้งอยู่ใกล้กับเพิงหินธรรมชาติรูปร่างคล้ายเต่า
ส่วนที่ถือเป็นความแปลกและโดดเด่นของอุทยานฯภูพระบาท ก็คือ โบราณสถานหลายจุดของที่นี่ต่างเกี่ยวพันกับนิทานพื้นบ้านรักอมตะเรื่อง“นางอุสา-ท้าวบารส” ในเวอร์ชั่นย่อนั้นเล่าว่า เป็นเรื่องของ“พระยากงพาน”ผู้พ่อที่หวงแหนนางอุสาลูกสาวเป็นอย่างมากถึงขนาดสร้างหอสูงไว้ให้สาวอยู่ เพื่อป้องกันไอ้หนุ่มจีบ ป้องกันไอ้หนุ่มปีนหา และป้องกันลูกสาวปีนลงหนีตามคนรัก
แต่คนคำนวณมิสู้ฟ้าลิขิต เมื่อวันหนึ่งนางอุสาได้ใช้มาลัยเสี่ยงทายลอยไปตามน้ำจนพบคู่คือท้าวบารสเจ้าชายเมืองปะโคเวียงงัว อันนำมาสู่การแอบสมรู้สมรักกัน
แน่นอนว่าเรื่องแบบนี้ พ่อผู้หวงลูกสาวมากพระยากงพานเมื่อรู้ย่อมต้องโกรธมากแบบเป็นฟืนเป็นไฟ ถึงกับสั่งให้ตัดหัวท้าวบารส แต่ทางอำมาตย์ก็ได้ทัดทานห้ามไว้ อันเป็นเหตุให้พ่อตา(พระยากงพาน)ออกอุบายให้ลูกเขย(ท้าวบารส)สร้างวัดแข่งกับตน แล้วพนันกันว่าใครแพ้ต้องโดนตัดหัวโดยกำหนดให้สร้างเสร็จก่อนดาวประกายพรึกขึ้นตอนเช้า
งานนี้พระยากงพานมีไพร่พลจำนวนมาก ส่วนท้าวบารสมีไพร่พลเพียงน้อยนิด แต่คนเยอะยังไงก็สู้ปัญญาเยอะไม่ได้(แม้จะเป็นปัญญาแบบศรีธนญชัยก็ตาม) เพราะพี่เลี้ยงนางอุสาได้ออกอุบายเอาโคมไปแขวนไว้บนยอดไม้ใหญ่เพื่อหลอกให้ฝ่ายไพร่พลพระยากงพานเข้าใจผิดคิดว่าเป็นดาวประกายพรึก เลยทำให้พวกนั้นหยุดสร้างวัดทั้งที่ยังไม่เสร็จ ในขณะที่ท้าวบารสกลับสร้างวัดต่อไปจนเสร็จ ทำให้พระยากงพานพ่ายแพ้ต้องตัดหัวตัวเอง
นั่นจึงทำให้ท้าวบารสได้อยู่กินกับนางอุสาโดยทั้งคู่ไปสร้างครอบครัวกันที่เมืองของท้าวบารส อันเป็นเหตุให้บรรดาชายาของท้าวบารสอิจฉานางอุสา จึงกลั่นแกล้งนางอุสาจนต้องหนีกลับเมืองพานแล้วตรอมใจตาย พอท้าวบารสรู้เรื่องจึงนำศพนางอุสามาฝังแล้วตรอมใจตายตามซึ่งก็ถูกฝังศพไว้ด้วยกัน
ซึ่งที่ภูพระบาทนี้ได้มีการจำลองนิทานเรื่องนี้นำมาตั้งชื่อสถานที่ต่างๆและผูกโยงเป็นเรื่องราวผสมผสานกันได้อย่างกลมกลืนลงตัว ไม่ว่าจะเป็น “คอกม้าน้อย” ที่เป็นเพิงหินที่มีการสกัดแต่งโดยฝีมือของมนุษย์ยุคหินและมนุษย์ยุคต่อๆมา “คอกม้าท้าวบารส” ซึ่งเชื่อว่าก่อนที่ท้าวบารสจะลอบเข้าไปหานางอุสาได้นำม้ามาผูกไว้ที่นี่ “บ่อน้ำนางอุสา” ที่เชื่อว่านางอุสาได้มาเล่นน้ำที่นี่ก่อนพบกับท้าวบารส “หีบศพนางอุสาและหีบศพท้าวบารส” ซึ่งมีลักษณะเป็นหินถูกขุดเจาะจนเรียบมีขนาดใหญ่พอที่คนจะสามารถเข้าไปนอนได้
และที่เป็นไฮไลท์สัญลักษณ์ของที่นี่ก็คือ “หอนางอุสา” ที่สูงจากพื้นประมาณ 10 เมตร มีลักษณะเป็นเพิงหินสูงรูปดอกเห็ด มีการก่อหินล้อมเป็นห้องขนาดเล็กเอาไว้ที่เพิงหินด้านบน และก่อเป็นห้องที่มีประตูและหน้าต่างขนาดเล็กอยู่ที่ผนังทั้งสอง เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมต่างๆ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าหอนางอุษาเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มาช้านานแล้ว
นอกจากนี้อุทยานฯภูพระบาทยังมีสิ่งชวนชมอีกหลายอย่าง โดยเฉพาะภาพเขียนสีและถ้ำ อย่างเช่น “ถ้ำวัว” ที่มีภาพสัตว์คล้ายวัว 2 ตัว “ถ้ำคน” เป็นภาพวาดคน 7 คน จูงมือกันเดินเป็นแถวบนผนังเพิงผา และ“ถ้ำพระ”ที่มีรูปสลักประติมากรรมทางศาสนาอันงดงามหลากหลายแบบ
สำหรับสิ่งต่างๆที่กล่าวมา แสดงให้เห็นถึงศักยภาพ ความโดดเด่น และความหลากหลายของภูพระบาทว่าที่มรดกโลก ที่เผื่อว่าในอนาคตบ้านเมืองสงบ ความยุติธรรมมีจริง ใครที่ไปเยือนอุดรธานีก็สามารถแวะเวียนไปท่องเที่ยว 2 สถานที่ขึ้นชื่อของจังหวัดนี้ได้ตามใจชอบ
ซึ่งเราคนไทยก็คงต้องลุ้นกันว่าในอนาคตภูพระบาทจะได้รับการประกาศจากยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกแห่งใหม่หรือเปล่า ถ้าได้มรดกโลกบ้านเชียงกับภูพระบาทคงจะช่วยสร้างชื่อเสียงโด่งดังทางการท่องเที่ยวให้กับอุดรธานีไม่น้อยเลย ส่วนในวันนี้ “ไอ้สัน”(ดาน) เพื่อนผมมันบอกว่า
“อุดรวันนี้แม้จะยังไม่มีมรดกโลกแห่งที่ 2 แต่ว่าชื่อชั้นก็โด่งดังไปทั่วไทยแล้ว เพราะเมื่อเร็วๆนี้เพิ่งพบว่ามี“มรดกนรก”ปรากฏขึ้นในอุดร”
มรดกนรก!?! ให้ตายเถอะ ชื่อนี้ผมเพิ่งเคยได้ยิน จึงถามกลับไปว่า“แล้วมรดกนรกมีลักษณะเป็นอย่างไร?”
“มรดกนรกย่อมมาจากนรก เพราะมึงก็เห็นแล้วหนิ ว่าไอ้พวก กุ๊ย ถ่อย สถุล ที่ไล่ตี ไล่ตื้บ ไล่รุมทำร้ายพวกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในเมืองอุดรอย่างเลือดเย็น แบบกะเอาให้ตาย ในตอนเย็นวันที่ 24 ก.ค.(51)นั้น กูว่ามันไม่ใช่พฤติกรรมของคนแล้ว แต่เป็นพฤติกรรมของสัตว์นรกชัดๆ!!!” ไอ้สันโวยลั่นพร้อมสบถตอกย้ำว่า
“พวกสัตว์นรก!!! ย่อมเป็นมรดกนรก ไอ้พวกนี้นรกส่งมาเกิด แต่ไม่อยากรับพวกมันกลับ เพราะกลัวมันไปไล่ตียมบาลตายน่ะ”
ปรากฏการณ์พระวิหาร ทำให้คนไทยตื่นตัวในหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องรักชาติ เรื่องประวัติศาสตร์ เรื่องคนขายชาติ รวมไปถึงเรื่องมรดกโลกด้วย
สำหรับเมืองไทยวันนี้ มีมรดกโลก อยู่ 5 แห่งด้วยกัน คือ มรดกโลกทางธรรมชาติ 2 แห่ง คือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง(อุทัยธานี กาญจนบุรี ตา),ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่(นครราชสีมา สระบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว และบุรีรัมย์) มรดกโลกทางวัฒนธรรม 3 แห่ง คือ แหล่งมรดกโลกสุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร(สุโขทัย-กำแพงเพชร),อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา(พระนครศรีอยุธยา) และแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง(อุดรธานี)
นอกจากนี้ยังมีว่าที่มรดกโลกจ่ออยู่อีก 2 แห่งคือ คือ เส้นทางปราสาทหิน(ราชมรรคา) ปราสาทหินพิมาย-พนมรุ้ง-เมืองต่ำ(นครราชสีมา-บุรีรัมย์) และอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท(อุดรธานี) ซึ่งถ้าหากว่าที่ทั้ง 2 แห่งได้เป็นมรดกโลกในอนาคต นั่นหมายความว่าจังหวัดอุดรธานี จะเป็นจังหวัดเดียวที่มีมรดกโลกถึง 2 แห่งด้วยกัน นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีไม่น้อยเลย
แต่นั่นเป็นเรื่องอนาคตที่มิอาจคาดเดา ส่วน ณ วันนี้ แม้อุดรจะมีมรดกโลกเพียงหนึ่งเดียว แต่ทั้งมรดกโลกและว่าที่มรดกโลกต่างก็จัดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวระดับไฮไลท์ ขึ้นหิ้งของเมืองอุดร ซึ่งผมจะขอฉายภาพแหล่งท่องเที่ยวทั้ง 2 แห่งกันแบบคร่าวๆ เริ่มด้วยมรดกโลก“แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง”ที่ได้รับการประกาศจากยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกปี พ.ศ. 2535
ความสำคัญที่เด่นมากๆของบ้านเชียงก็คือ การเป็นแหล่งขุดค้นพบร่องรอยอารยธรรมของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์พร้อมด้วยเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีอายุกว่า 5,600 ปี ที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการของสังคม และวัฒนธรรมสมัยโบราณในภูมิภาคนี้ รวมถึงมีการพบโครงกระดูกมนุษย์โบราณ เครื่องมือเครื่องใช้โบราณที่ทำด้วยหินและสำริด และเครื่องปั้นดินเผาแบบบ้านเชียงอันเป็นเอกลักษณ์เนื่องจากมีรูปทรง สีสัน และลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยเฉพาะภาชนะดินเผาเขียนเป็นลายสีน้ำตาลแดงที่ขึ้นชื่อมากๆเพราะมีการขุดค้นพบเป็นครั้งแรกในเมืองไทย
สำหรับสิ่งที่ได้จากการขุดค้นและบรรดาข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ สามารถดูได้ใน “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง” (ม.บ้านเชียง ต.บ้านเชียง อ.หนองหาน) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆด้วยกัน
ส่วนที่ 1 อยู่ในวัดโพธิ์ศรี แสดงเรื่องราวการขุดค้นทางโบราณคดีและโบราณวัตถุซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาชนะเผาที่ฝังรวมกับศพตั้งแต่อดีต และส่วนที่ 2 ที่จัดแสดงเรื่องราวทางวัฒนธรรมบ้านเชียง รวมถึงโบราณวัตถุและเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆโดยมีการแบ่งเป็นห้องต่างๆ
นอกจากนี้การค้นพบบ้านเชียงยังทำให้มีการตีความประวัติศาสตร์ไทยกันใหม่ในเรื่องความเชื่อเกี่ยวกับกำเนิดของคนไทย เพราะนักประวัติศาสตร์กลุ่มหนึ่งต่างลงความเห็นว่ากำเนิดคนไทยไม่น่าจะมาจากเทือกเขาอัลไต แต่คนไทยน่าจะมีรกกำเนิดอยู่ ณ ดินแดนที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน เนื่องจากมีแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงเป็นหลักฐานสำคัญ
แต่...เป็นที่น่าเสียดายว่าใครและใครหลายคนไม่รู้ว่าบ้านเชียงเป็นมรดกโลก แถมยังไม่ค่อยรู้ว่าบ้านเชียงมีความสำคัญอย่างไร รู้เพียงแต่ว่าที่นี่มีหม้อ ไห โบราณขึ้นชื่อเท่านั้น
จากมรดกโลกบ้านเชียงเราไปรู้จักกับว่าที่มรดกโลกอย่าง“อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท” (ต.เมืองพาน อ.บ้านผือ)กันบ้าง
อุทยานฯภูพระบาท มีลักษณะทางธรรมชาติพิเศษที่โดดเด่นมาก เกิดจากการกระทำแดด ลม ฝน อากาศ จนเกิดเป็น โขดหินและเพิงหินทรายตั้งกระจัดกระจายอยู่เป็นจำนวนมาก ดูประหนึ่งประติมากรรมธรรมชาติอันมากด้วยจินตนาการ
ไม่เพียงเท่านั้นภูพระบาทยังมีหลักฐานว่าเคยมีมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์อาศัยอยู่ เพราะพบร่องรอยภาพเขียน 2-3 พันปีก่อนประวัติศาสตร์
นอกจากนี้ภูพระบาทยังมีเป็นศาสนสถานสำคัญๆ อาทิ “พระพุทธบาทบัวบก”ที่จำลองมาจาก
แบบองค์พระธาตุพนมองค์เดิม “พระพุทธบาทหลังเต่า”เป็นรอยพระพุทธบาทสลักลึกลงไปในพื้นหิน ประมาณ 25 ซม. ตั้งอยู่ใกล้กับเพิงหินธรรมชาติรูปร่างคล้ายเต่า
ส่วนที่ถือเป็นความแปลกและโดดเด่นของอุทยานฯภูพระบาท ก็คือ โบราณสถานหลายจุดของที่นี่ต่างเกี่ยวพันกับนิทานพื้นบ้านรักอมตะเรื่อง“นางอุสา-ท้าวบารส” ในเวอร์ชั่นย่อนั้นเล่าว่า เป็นเรื่องของ“พระยากงพาน”ผู้พ่อที่หวงแหนนางอุสาลูกสาวเป็นอย่างมากถึงขนาดสร้างหอสูงไว้ให้สาวอยู่ เพื่อป้องกันไอ้หนุ่มจีบ ป้องกันไอ้หนุ่มปีนหา และป้องกันลูกสาวปีนลงหนีตามคนรัก
แต่คนคำนวณมิสู้ฟ้าลิขิต เมื่อวันหนึ่งนางอุสาได้ใช้มาลัยเสี่ยงทายลอยไปตามน้ำจนพบคู่คือท้าวบารสเจ้าชายเมืองปะโคเวียงงัว อันนำมาสู่การแอบสมรู้สมรักกัน
แน่นอนว่าเรื่องแบบนี้ พ่อผู้หวงลูกสาวมากพระยากงพานเมื่อรู้ย่อมต้องโกรธมากแบบเป็นฟืนเป็นไฟ ถึงกับสั่งให้ตัดหัวท้าวบารส แต่ทางอำมาตย์ก็ได้ทัดทานห้ามไว้ อันเป็นเหตุให้พ่อตา(พระยากงพาน)ออกอุบายให้ลูกเขย(ท้าวบารส)สร้างวัดแข่งกับตน แล้วพนันกันว่าใครแพ้ต้องโดนตัดหัวโดยกำหนดให้สร้างเสร็จก่อนดาวประกายพรึกขึ้นตอนเช้า
งานนี้พระยากงพานมีไพร่พลจำนวนมาก ส่วนท้าวบารสมีไพร่พลเพียงน้อยนิด แต่คนเยอะยังไงก็สู้ปัญญาเยอะไม่ได้(แม้จะเป็นปัญญาแบบศรีธนญชัยก็ตาม) เพราะพี่เลี้ยงนางอุสาได้ออกอุบายเอาโคมไปแขวนไว้บนยอดไม้ใหญ่เพื่อหลอกให้ฝ่ายไพร่พลพระยากงพานเข้าใจผิดคิดว่าเป็นดาวประกายพรึก เลยทำให้พวกนั้นหยุดสร้างวัดทั้งที่ยังไม่เสร็จ ในขณะที่ท้าวบารสกลับสร้างวัดต่อไปจนเสร็จ ทำให้พระยากงพานพ่ายแพ้ต้องตัดหัวตัวเอง
นั่นจึงทำให้ท้าวบารสได้อยู่กินกับนางอุสาโดยทั้งคู่ไปสร้างครอบครัวกันที่เมืองของท้าวบารส อันเป็นเหตุให้บรรดาชายาของท้าวบารสอิจฉานางอุสา จึงกลั่นแกล้งนางอุสาจนต้องหนีกลับเมืองพานแล้วตรอมใจตาย พอท้าวบารสรู้เรื่องจึงนำศพนางอุสามาฝังแล้วตรอมใจตายตามซึ่งก็ถูกฝังศพไว้ด้วยกัน
ซึ่งที่ภูพระบาทนี้ได้มีการจำลองนิทานเรื่องนี้นำมาตั้งชื่อสถานที่ต่างๆและผูกโยงเป็นเรื่องราวผสมผสานกันได้อย่างกลมกลืนลงตัว ไม่ว่าจะเป็น “คอกม้าน้อย” ที่เป็นเพิงหินที่มีการสกัดแต่งโดยฝีมือของมนุษย์ยุคหินและมนุษย์ยุคต่อๆมา “คอกม้าท้าวบารส” ซึ่งเชื่อว่าก่อนที่ท้าวบารสจะลอบเข้าไปหานางอุสาได้นำม้ามาผูกไว้ที่นี่ “บ่อน้ำนางอุสา” ที่เชื่อว่านางอุสาได้มาเล่นน้ำที่นี่ก่อนพบกับท้าวบารส “หีบศพนางอุสาและหีบศพท้าวบารส” ซึ่งมีลักษณะเป็นหินถูกขุดเจาะจนเรียบมีขนาดใหญ่พอที่คนจะสามารถเข้าไปนอนได้
และที่เป็นไฮไลท์สัญลักษณ์ของที่นี่ก็คือ “หอนางอุสา” ที่สูงจากพื้นประมาณ 10 เมตร มีลักษณะเป็นเพิงหินสูงรูปดอกเห็ด มีการก่อหินล้อมเป็นห้องขนาดเล็กเอาไว้ที่เพิงหินด้านบน และก่อเป็นห้องที่มีประตูและหน้าต่างขนาดเล็กอยู่ที่ผนังทั้งสอง เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมต่างๆ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าหอนางอุษาเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มาช้านานแล้ว
นอกจากนี้อุทยานฯภูพระบาทยังมีสิ่งชวนชมอีกหลายอย่าง โดยเฉพาะภาพเขียนสีและถ้ำ อย่างเช่น “ถ้ำวัว” ที่มีภาพสัตว์คล้ายวัว 2 ตัว “ถ้ำคน” เป็นภาพวาดคน 7 คน จูงมือกันเดินเป็นแถวบนผนังเพิงผา และ“ถ้ำพระ”ที่มีรูปสลักประติมากรรมทางศาสนาอันงดงามหลากหลายแบบ
สำหรับสิ่งต่างๆที่กล่าวมา แสดงให้เห็นถึงศักยภาพ ความโดดเด่น และความหลากหลายของภูพระบาทว่าที่มรดกโลก ที่เผื่อว่าในอนาคตบ้านเมืองสงบ ความยุติธรรมมีจริง ใครที่ไปเยือนอุดรธานีก็สามารถแวะเวียนไปท่องเที่ยว 2 สถานที่ขึ้นชื่อของจังหวัดนี้ได้ตามใจชอบ
ซึ่งเราคนไทยก็คงต้องลุ้นกันว่าในอนาคตภูพระบาทจะได้รับการประกาศจากยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกแห่งใหม่หรือเปล่า ถ้าได้มรดกโลกบ้านเชียงกับภูพระบาทคงจะช่วยสร้างชื่อเสียงโด่งดังทางการท่องเที่ยวให้กับอุดรธานีไม่น้อยเลย ส่วนในวันนี้ “ไอ้สัน”(ดาน) เพื่อนผมมันบอกว่า
“อุดรวันนี้แม้จะยังไม่มีมรดกโลกแห่งที่ 2 แต่ว่าชื่อชั้นก็โด่งดังไปทั่วไทยแล้ว เพราะเมื่อเร็วๆนี้เพิ่งพบว่ามี“มรดกนรก”ปรากฏขึ้นในอุดร”
มรดกนรก!?! ให้ตายเถอะ ชื่อนี้ผมเพิ่งเคยได้ยิน จึงถามกลับไปว่า“แล้วมรดกนรกมีลักษณะเป็นอย่างไร?”
“มรดกนรกย่อมมาจากนรก เพราะมึงก็เห็นแล้วหนิ ว่าไอ้พวก กุ๊ย ถ่อย สถุล ที่ไล่ตี ไล่ตื้บ ไล่รุมทำร้ายพวกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในเมืองอุดรอย่างเลือดเย็น แบบกะเอาให้ตาย ในตอนเย็นวันที่ 24 ก.ค.(51)นั้น กูว่ามันไม่ใช่พฤติกรรมของคนแล้ว แต่เป็นพฤติกรรมของสัตว์นรกชัดๆ!!!” ไอ้สันโวยลั่นพร้อมสบถตอกย้ำว่า
“พวกสัตว์นรก!!! ย่อมเป็นมรดกนรก ไอ้พวกนี้นรกส่งมาเกิด แต่ไม่อยากรับพวกมันกลับ เพราะกลัวมันไปไล่ตียมบาลตายน่ะ”