โดย : หนุ่มลูกทุ่ง
มาจนถึงตอนนี้ก็นับได้เกือบหนึ่งเดือนแล้วที่ชาวพันธมิตรทั้งหลายมารวมตัวกันไล่รัฐบาลหุ่นเชิด งานนี้ไม่รู้ใครจะทนกว่าใคร ระหว่างพี่น้องพันธมิตรที่ทนร้อนทนฝนมาหลายวัน กับรัฐบาลลูกกรอกที่หน้าทนเสียยิ่งกว่าอะไร
ฉันเองก็เอาใจช่วยฝ่ายพันธมิตรเสียเต็มที่ โดยนอกจากจะช่วยส่งแรงใจแล้ว ก็ยังจะช่วยส่งแรงจิตเพิ่มให้อีกทางหนึ่ง ด้วยการสวดมนต์ไหว้พระขอให้คนเลวแพ้ภัยตัวเอง และขอให้ความอดทนของพี่น้องพันธมิตรสัมฤทธิ์ผลเสียที และเพื่อให้แรงอธิษฐานครั้งนี้ส่งไปถึง ฉันก็เลยเลือกมาไหว้พระที่ "วัดชนะสงคราม ราชวรมหาวิหาร" โดยหวังว่าจะช่วยให้เราชนะสงคราม ล้างความเลวร้าย นักการเมืองชั่วช้าออกไปจากสังคมไทยได้อย่างชื่อวัด
วัดชนะสงครามถือว่าเป็นวัดที่อยู่ใกล้กับถนนข้าวสารมากเลยทีเดียว เรียกว่าเดินจากหัวถนนข้าวสารตรงแยกคอกวัวมาจนสุด ก็จะมาเจอวัดชนะสงครามที่อยู่ติดริมถนนจักรพงษ์พอดี เหมือนกับเป็นการเดินออกจากทางโลกมาเข้าสู่ทางธรรม แต่ฉันว่าคนโดยส่วนมากมักจะเดินออกจากทางธรรมเข้าสู่ทางโลกย์เสียมากกว่า
ปกติฉันเองก็เคยไปไหว้พระที่วัดชนะสงครามมาค่อนข้างจะบ่อย เพราะอยู่ใกล้ออฟฟิศที่บ้านพระอาทิตย์เพียงนิดเดียว ดังนั้นเวลาที่รู้สึกไม่สบายใจ หรือรู้สึกซวยๆ บอกไม่ถูก ก็จะเข้าวัดไปทำบุญทำสังฆทานบ้าง หรือเพียงแค่เข้าไปไหว้พระสงบจิตใจเงียบๆ ก็เคย ทำให้รู้สึกคุ้นเคยกับวัดแห่งนี้เป็นพิเศษ
ในอดีตนั้นวัดชนะสงครามเคยมีชื่อว่า “วัดกลางนา” มาก่อน เพราะบริเวณวัดมีทุ่งนาล้อมรอบ และเป็นวัดเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยอยุธยา
จากวัดกลางนาธรรมดากลายมาเป็นพระอารามหลวงสำคัญอย่างในปัจจุบันนี้ได้ก็เพราะในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ย้ายราชธานีจากฝั่งธนบุรีมายังฝั่งพระนคร ในขณะนั้นบ้านเมืองยังไม่สงบดีนัก ยังคงมีศึกสงครามอยู่เนืองๆ สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท หรือวังหน้าในสมัยรัชกาลที่ 1 ซึ่งเป็นแม่ทัพคนสำคัญก็ได้ทรงรวบรวมชาวมอญจากพื้นที่ต่างๆ เข้ามาเป็นกองกำลังทหารในการสู้รบกับข้าศึก และโปรดเกล้าฯให้ชาวมอญเหล่านั้นตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณใกล้ๆ วัดกลางนา
ส่วนวัดกลางนานั้น พระองค์ก็ได้โปรดเกล้าฯให้พระสงฆ์มอญมาอยู่จำพรรษา คนทั่วไปจึงเรียกวัดนี้เป็นภาษามอญว่า "วัดตองปุ" ซึ่งหมายถึงวัดพระสงฆ์ฝ่ายรามัญ เช่นเดียวกับวัดตองปุที่กรุงศรีอยุธยา
และหลังจากที่สมเด็จฯ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาททรงมีชัยชนะในสงคราม 9ทัพ และได้กรีฑาทัพกลับพระนคร พระองค์ก็ได้มาทรงทำพิธีสรงน้ำและเปลี่ยนเครื่องทรงตามพระราชพิธีโบราณที่วัดแห่งนี้ก่อนเสด็จเข้าพระบรมมหาราชวัง ในครั้งนั้นพระองค์จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดนี้ขึ้นใหม่เมื่อ พ.ศ.2330 ถวายเป็นพระอารามหลวงแก่รัชกาลที่ 1 ซึ่งพระองค์ก็ได้พระราชทานนามให้ใหม่ว่า "วัดชนะสงคราม" เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่สมเด็จฯ กรมพระราชวังบวรทรงมีชัยชนะในการรบกลับมานั่นเอง
มาในปัจจุบัน วัดชนะสงครามนี้ถือเป็นหนึ่งในเส้นทางไหว้พระเก้าวัดที่คนนิยมมาไหว้กันเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในช่วงปีใหม่หรือวันสงกรานต์ เนื่องจากเชื่อว่าจะช่วยให้สามารถเอาชนะต่ออุปสรรคเหมือนอย่างชื่อวัด โดยเมื่อเร็วๆ นี้วัดชนะสงครามก็เพิ่งจะเสร็จสิ้นจากการบูรณะภายนอกไปหมาดๆ แต่ภายในพระอุโบสถยังมีการซ่อมแซมอยู่อีกเล็กน้อย
พระอุโบสถของวัดชนะสงครามนั้นก็งดงามไม่แพ้วัดไหน เพราะเป็นฝีมือของช่างวังหน้าสมัยรัชกาลที่ 1 ด้านในพระอุโบสถค่อนข้างกว้าง ตรงกลางประดิษฐานพระประธานซึ่งมีนามว่า "พระพุทธนรสีห์ตรีโลกเชฎฐ์ มเหทธิศักดิ์ปูชนียะชยันตะโคดม บรมศาสดาอนาวรญาณ" ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทองปางมารวิชัย
แต่เดิมนั้นองค์พระมีขนาดเล็กกว่านี้ แต่เมื่อสมเด็จกรมพระราชวังบวรฯ เสด็จกลับจากสงครามเก้าทัพ ก็ได้มาหยุดพักที่วัดแห่งนี้ และทรงถอดฉลองพระองค์ลงยันต์ (เสื้อยันต์) คลุมองค์พระถวายเป็นพุทธบูชา ต่อมาช่างก็ได้โบกปูนทับทำให้องค์พระใหญ่ขึ้นดังเช่นที่เห็นกันในปัจจุบัน ส่วนที่ฐานชุกชีก็มีพระพุทธรูปโบราณซึ่งสร้างสมัยเดียวกันกับพระประธานประดิษฐานล้อมรอบ 15 องค์
และบริเวณด้านหน้าพระอุโบสถนั้นก็มีศาลาหลังหนึ่งตั้งอยู่ ภายในมีพระรูปของสมเด็จกรมพระราชวังบวรฯ ผู้ปฏิสังขรณ์วัดประดิษฐานไว้ มีผู้คนมากราบไหว้ไม่ขาดสาย หากใครต้องการไหว้ก็เพียงเตรียมธูป 5 ดอก เทียน 1 เล่ม พร้อมดอกบัว 1 ดอกมาสักการะพระองค์
หลังจากเข้าไปกราบพระประธานและสักการะพระรูปของท่านวังหน้าเสร็จแล้ว ฉันแนะนำให้เดินชมรอบๆ อุโบสถเสียหน่อย รอบๆ ช่องหน้าต่างเขียนลวดลายเป็นเรื่องราวพุทธประวัติของพระพุทธเจ้าตั้งแต่ประสูติ ตรัสรู้ ไปจนถึงปรินิพพาน ส่วนภาพเขียนบนบานหน้าต่างนั้นก็เขียนเป็นเรื่องพุทธชาดก เรื่องราวของพระพุทธเจ้าในชาติก่อนๆ ก่อนที่จะมาประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ อีกทั้งยังมีพระพุทธรูปปางต่างๆ ประดิษฐานไว้รอบๆ พระอุโบสถและมีคนเข้ามากราบไหว้อยู่เรื่อยๆ
แม้ด้านนอกวัดจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่คึกคักที่สุดแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ แต่ภายในวัดก็ยังคงความเงียบสงบอยู่ได้ ดังนั้นในพระอุโบสถจึงมีคนเข้ามานั่งสมาธิอยู่เสมอๆ ฉันยังเคยเห็นว่าแม้กระทั่งชาวต่างชาติผมทองก็ยังติดใจในความสงบ เข้ามานั่งมองพระพุทธรูปอยู่เงียบๆด้วยเช่นกัน
หากไหว้พระเสร็จเรียบร้อยแล้ว ลองเดินมาทางด้านหลังพระอุโบสถ เพราะด้านหลังนี้เป็นที่ตั้งของ "รอยพระพุทธบาทจำลอง" ที่มักมีคนมากราบไหว้อยู่เสมอ และที่อยู่ฝั่งตรงข้ามของรอยพระพุทธบาทจำลองนั้นก็เป็นบรมธาตุเจดีย์ซึ่งเพิ่งบูรณะเสร็จ ด้านบนสุดประดิษฐานพระสารีริกธาตุไว้ ด้านล่างลงมามีพระรูปของสมเด็จกรมพระราชวังบวรฯ ส่วนชั้นล่างสุดก็เป็นหอกลองและหอระฆังของวัด
และนอกจากจะมีพระพุทธรูปและรอยพระพุทธบาทให้กราบไหว้แล้ว หากเดินมาทางด้านข้างพระอุโบสถใกล้กับลานจอดรถ ก็ยังมี "ศาลหนึงออกวงอิม" หรือศาลเจ้าแม่กวนอิมให้กราบไหว้กันด้วย ศาลหนึงออกวงอิมนี้ภายนอกก็เป็นศาลาแบบจีน มีหลังคาสามชั้นลดหลั่นกันลงมา ด้านหน้าศาลมีเสาสูงสองต้น และมีมังกรตัวยาวพันเกี่ยวเสาเอาไว้ และตรงข้างประตูก็มีเสามังกรอยู่ด้วยเช่นกัน
เมื่อเข้าไปด้านในศาล ฉันก็พบว่านอกจากเจ้าแม่กวนอิมซึ่งตั้งเป็นประธานอยู่ด้านในแล้ว ก็ยังมีเทพเจ้ารูปเคารพต่างๆอยู่อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธรูปแบบไทยๆ หรือเทพเจ้าของจีน เช่น เจ้าแม่กวนอิมปางต่างๆ เทพเจ้ากวนอู พระสังกัจจายน์ เทพเจ้านาจา และเทพเจ้าฮกลกซิ่วที่คุ้นเคยกันดี ฯลฯ เรียกว่าเข้าไปด้านในแล้วละลานตาไปหมด แต่ก็ดูสวยงามน่าเคารพ และที่ศาลนี้ยังมีการสวดมนต์จีนทุกเย็นวันอังคาร พฤหัสบดี และวันเสาร์ด้วย
งานนี้ใครอยากจะมาสวดมนต์ไหว้พระส่งพลังจิตไปช่วยพันธมิตรกันที่วัดชนะสงคราม ฉันก็ขอเรียนเชิญได้ตามจิตศรัทธาและตามเวลาที่สะดวก
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
วัดชนะสงคราม ราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่บนถนนจักรพงษ์ แขวงบางลำพู เขตพระนคร กรุงเทพ 10200 มีรถประจำทางสาย 3, 6, 9, 15, 30, 32, 33, 43, 64, 65, 524 ผ่าน สอบถามรายละเอียดโทร.0-2281-8244
อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง
ที่สุดแห่งข้าวสาร
เยือนถิ่น "วังหน้า" ตามหารอยอดีตต้นกรุงรัตนโกสินทร์
ท่องกรุงมุ่งสักการะ 9 รอยพระพุทธบาท
มาจนถึงตอนนี้ก็นับได้เกือบหนึ่งเดือนแล้วที่ชาวพันธมิตรทั้งหลายมารวมตัวกันไล่รัฐบาลหุ่นเชิด งานนี้ไม่รู้ใครจะทนกว่าใคร ระหว่างพี่น้องพันธมิตรที่ทนร้อนทนฝนมาหลายวัน กับรัฐบาลลูกกรอกที่หน้าทนเสียยิ่งกว่าอะไร
ฉันเองก็เอาใจช่วยฝ่ายพันธมิตรเสียเต็มที่ โดยนอกจากจะช่วยส่งแรงใจแล้ว ก็ยังจะช่วยส่งแรงจิตเพิ่มให้อีกทางหนึ่ง ด้วยการสวดมนต์ไหว้พระขอให้คนเลวแพ้ภัยตัวเอง และขอให้ความอดทนของพี่น้องพันธมิตรสัมฤทธิ์ผลเสียที และเพื่อให้แรงอธิษฐานครั้งนี้ส่งไปถึง ฉันก็เลยเลือกมาไหว้พระที่ "วัดชนะสงคราม ราชวรมหาวิหาร" โดยหวังว่าจะช่วยให้เราชนะสงคราม ล้างความเลวร้าย นักการเมืองชั่วช้าออกไปจากสังคมไทยได้อย่างชื่อวัด
วัดชนะสงครามถือว่าเป็นวัดที่อยู่ใกล้กับถนนข้าวสารมากเลยทีเดียว เรียกว่าเดินจากหัวถนนข้าวสารตรงแยกคอกวัวมาจนสุด ก็จะมาเจอวัดชนะสงครามที่อยู่ติดริมถนนจักรพงษ์พอดี เหมือนกับเป็นการเดินออกจากทางโลกมาเข้าสู่ทางธรรม แต่ฉันว่าคนโดยส่วนมากมักจะเดินออกจากทางธรรมเข้าสู่ทางโลกย์เสียมากกว่า
ปกติฉันเองก็เคยไปไหว้พระที่วัดชนะสงครามมาค่อนข้างจะบ่อย เพราะอยู่ใกล้ออฟฟิศที่บ้านพระอาทิตย์เพียงนิดเดียว ดังนั้นเวลาที่รู้สึกไม่สบายใจ หรือรู้สึกซวยๆ บอกไม่ถูก ก็จะเข้าวัดไปทำบุญทำสังฆทานบ้าง หรือเพียงแค่เข้าไปไหว้พระสงบจิตใจเงียบๆ ก็เคย ทำให้รู้สึกคุ้นเคยกับวัดแห่งนี้เป็นพิเศษ
ในอดีตนั้นวัดชนะสงครามเคยมีชื่อว่า “วัดกลางนา” มาก่อน เพราะบริเวณวัดมีทุ่งนาล้อมรอบ และเป็นวัดเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยอยุธยา
จากวัดกลางนาธรรมดากลายมาเป็นพระอารามหลวงสำคัญอย่างในปัจจุบันนี้ได้ก็เพราะในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ย้ายราชธานีจากฝั่งธนบุรีมายังฝั่งพระนคร ในขณะนั้นบ้านเมืองยังไม่สงบดีนัก ยังคงมีศึกสงครามอยู่เนืองๆ สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท หรือวังหน้าในสมัยรัชกาลที่ 1 ซึ่งเป็นแม่ทัพคนสำคัญก็ได้ทรงรวบรวมชาวมอญจากพื้นที่ต่างๆ เข้ามาเป็นกองกำลังทหารในการสู้รบกับข้าศึก และโปรดเกล้าฯให้ชาวมอญเหล่านั้นตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณใกล้ๆ วัดกลางนา
ส่วนวัดกลางนานั้น พระองค์ก็ได้โปรดเกล้าฯให้พระสงฆ์มอญมาอยู่จำพรรษา คนทั่วไปจึงเรียกวัดนี้เป็นภาษามอญว่า "วัดตองปุ" ซึ่งหมายถึงวัดพระสงฆ์ฝ่ายรามัญ เช่นเดียวกับวัดตองปุที่กรุงศรีอยุธยา
และหลังจากที่สมเด็จฯ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาททรงมีชัยชนะในสงคราม 9ทัพ และได้กรีฑาทัพกลับพระนคร พระองค์ก็ได้มาทรงทำพิธีสรงน้ำและเปลี่ยนเครื่องทรงตามพระราชพิธีโบราณที่วัดแห่งนี้ก่อนเสด็จเข้าพระบรมมหาราชวัง ในครั้งนั้นพระองค์จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดนี้ขึ้นใหม่เมื่อ พ.ศ.2330 ถวายเป็นพระอารามหลวงแก่รัชกาลที่ 1 ซึ่งพระองค์ก็ได้พระราชทานนามให้ใหม่ว่า "วัดชนะสงคราม" เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่สมเด็จฯ กรมพระราชวังบวรทรงมีชัยชนะในการรบกลับมานั่นเอง
มาในปัจจุบัน วัดชนะสงครามนี้ถือเป็นหนึ่งในเส้นทางไหว้พระเก้าวัดที่คนนิยมมาไหว้กันเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในช่วงปีใหม่หรือวันสงกรานต์ เนื่องจากเชื่อว่าจะช่วยให้สามารถเอาชนะต่ออุปสรรคเหมือนอย่างชื่อวัด โดยเมื่อเร็วๆ นี้วัดชนะสงครามก็เพิ่งจะเสร็จสิ้นจากการบูรณะภายนอกไปหมาดๆ แต่ภายในพระอุโบสถยังมีการซ่อมแซมอยู่อีกเล็กน้อย
พระอุโบสถของวัดชนะสงครามนั้นก็งดงามไม่แพ้วัดไหน เพราะเป็นฝีมือของช่างวังหน้าสมัยรัชกาลที่ 1 ด้านในพระอุโบสถค่อนข้างกว้าง ตรงกลางประดิษฐานพระประธานซึ่งมีนามว่า "พระพุทธนรสีห์ตรีโลกเชฎฐ์ มเหทธิศักดิ์ปูชนียะชยันตะโคดม บรมศาสดาอนาวรญาณ" ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทองปางมารวิชัย
แต่เดิมนั้นองค์พระมีขนาดเล็กกว่านี้ แต่เมื่อสมเด็จกรมพระราชวังบวรฯ เสด็จกลับจากสงครามเก้าทัพ ก็ได้มาหยุดพักที่วัดแห่งนี้ และทรงถอดฉลองพระองค์ลงยันต์ (เสื้อยันต์) คลุมองค์พระถวายเป็นพุทธบูชา ต่อมาช่างก็ได้โบกปูนทับทำให้องค์พระใหญ่ขึ้นดังเช่นที่เห็นกันในปัจจุบัน ส่วนที่ฐานชุกชีก็มีพระพุทธรูปโบราณซึ่งสร้างสมัยเดียวกันกับพระประธานประดิษฐานล้อมรอบ 15 องค์
และบริเวณด้านหน้าพระอุโบสถนั้นก็มีศาลาหลังหนึ่งตั้งอยู่ ภายในมีพระรูปของสมเด็จกรมพระราชวังบวรฯ ผู้ปฏิสังขรณ์วัดประดิษฐานไว้ มีผู้คนมากราบไหว้ไม่ขาดสาย หากใครต้องการไหว้ก็เพียงเตรียมธูป 5 ดอก เทียน 1 เล่ม พร้อมดอกบัว 1 ดอกมาสักการะพระองค์
หลังจากเข้าไปกราบพระประธานและสักการะพระรูปของท่านวังหน้าเสร็จแล้ว ฉันแนะนำให้เดินชมรอบๆ อุโบสถเสียหน่อย รอบๆ ช่องหน้าต่างเขียนลวดลายเป็นเรื่องราวพุทธประวัติของพระพุทธเจ้าตั้งแต่ประสูติ ตรัสรู้ ไปจนถึงปรินิพพาน ส่วนภาพเขียนบนบานหน้าต่างนั้นก็เขียนเป็นเรื่องพุทธชาดก เรื่องราวของพระพุทธเจ้าในชาติก่อนๆ ก่อนที่จะมาประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ อีกทั้งยังมีพระพุทธรูปปางต่างๆ ประดิษฐานไว้รอบๆ พระอุโบสถและมีคนเข้ามากราบไหว้อยู่เรื่อยๆ
แม้ด้านนอกวัดจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่คึกคักที่สุดแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ แต่ภายในวัดก็ยังคงความเงียบสงบอยู่ได้ ดังนั้นในพระอุโบสถจึงมีคนเข้ามานั่งสมาธิอยู่เสมอๆ ฉันยังเคยเห็นว่าแม้กระทั่งชาวต่างชาติผมทองก็ยังติดใจในความสงบ เข้ามานั่งมองพระพุทธรูปอยู่เงียบๆด้วยเช่นกัน
หากไหว้พระเสร็จเรียบร้อยแล้ว ลองเดินมาทางด้านหลังพระอุโบสถ เพราะด้านหลังนี้เป็นที่ตั้งของ "รอยพระพุทธบาทจำลอง" ที่มักมีคนมากราบไหว้อยู่เสมอ และที่อยู่ฝั่งตรงข้ามของรอยพระพุทธบาทจำลองนั้นก็เป็นบรมธาตุเจดีย์ซึ่งเพิ่งบูรณะเสร็จ ด้านบนสุดประดิษฐานพระสารีริกธาตุไว้ ด้านล่างลงมามีพระรูปของสมเด็จกรมพระราชวังบวรฯ ส่วนชั้นล่างสุดก็เป็นหอกลองและหอระฆังของวัด
และนอกจากจะมีพระพุทธรูปและรอยพระพุทธบาทให้กราบไหว้แล้ว หากเดินมาทางด้านข้างพระอุโบสถใกล้กับลานจอดรถ ก็ยังมี "ศาลหนึงออกวงอิม" หรือศาลเจ้าแม่กวนอิมให้กราบไหว้กันด้วย ศาลหนึงออกวงอิมนี้ภายนอกก็เป็นศาลาแบบจีน มีหลังคาสามชั้นลดหลั่นกันลงมา ด้านหน้าศาลมีเสาสูงสองต้น และมีมังกรตัวยาวพันเกี่ยวเสาเอาไว้ และตรงข้างประตูก็มีเสามังกรอยู่ด้วยเช่นกัน
เมื่อเข้าไปด้านในศาล ฉันก็พบว่านอกจากเจ้าแม่กวนอิมซึ่งตั้งเป็นประธานอยู่ด้านในแล้ว ก็ยังมีเทพเจ้ารูปเคารพต่างๆอยู่อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธรูปแบบไทยๆ หรือเทพเจ้าของจีน เช่น เจ้าแม่กวนอิมปางต่างๆ เทพเจ้ากวนอู พระสังกัจจายน์ เทพเจ้านาจา และเทพเจ้าฮกลกซิ่วที่คุ้นเคยกันดี ฯลฯ เรียกว่าเข้าไปด้านในแล้วละลานตาไปหมด แต่ก็ดูสวยงามน่าเคารพ และที่ศาลนี้ยังมีการสวดมนต์จีนทุกเย็นวันอังคาร พฤหัสบดี และวันเสาร์ด้วย
งานนี้ใครอยากจะมาสวดมนต์ไหว้พระส่งพลังจิตไปช่วยพันธมิตรกันที่วัดชนะสงคราม ฉันก็ขอเรียนเชิญได้ตามจิตศรัทธาและตามเวลาที่สะดวก
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
วัดชนะสงคราม ราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่บนถนนจักรพงษ์ แขวงบางลำพู เขตพระนคร กรุงเทพ 10200 มีรถประจำทางสาย 3, 6, 9, 15, 30, 32, 33, 43, 64, 65, 524 ผ่าน สอบถามรายละเอียดโทร.0-2281-8244
อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง
ที่สุดแห่งข้าวสาร
เยือนถิ่น "วังหน้า" ตามหารอยอดีตต้นกรุงรัตนโกสินทร์
ท่องกรุงมุ่งสักการะ 9 รอยพระพุทธบาท