โดย:มะเมี๊ยะ
"...เที่ยวไปตามตะวัน บุกบั่นไปตามลม สนุกสุขสมหัวใจหงายคว่ำ ชีพที่ยาวนาน หรือสั้นแค่เพียงคำ เอาตูดแช่น้ำแล้วเดินต่อไป..."
เพลงเที่ยวละไมของวงเฉลียง เป็นหนึ่งในเพลงโปรดของฉันทีเดียว โดยเฉพาะในการเดินทางท่องไปตามที่ต่างๆฉันฟังได้อย่างไม่รู้เบื่อ เพราะมันเป็นเหมือนสิ่งกระตุ้นปลุกเร้าชีวิตการเดินทางที่หลับใหลให้ฟื้นชีพขึ้นมา
แต่ฉันได้รู้ความจริงว่า ชีวิตเพิ่งจะเข้าถึงเพลงนี้เมื่อไม่นานนี่เอง เมื่อมีโอกาสร่วมเดินทางเป็นหนึ่งในคณะของ "คาราวานมิตรภาพไทย ลาว เวียดนาม เปิดน่านสู่อินโดจีน" ที่จัดโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)ในช่วงปลายปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมกิจกรรมท่องเที่ยวทางรถยนต์ เชื่อมโยงในพื้นที่ภาคเหนือ และเป็นการนำร่องสำรวจเปิดเส้นทางการท่องเที่ยวทางรถยนต์สู่ประเทศในแถบอินโดจีนผ่านทางจังหวัดน่าน หนึ่งในประตูสู่อินโดจีน ที่มีกำหนดการเดินทางทั้งสิ้น 7 คืน 8 วัน
สำหรับทริปคาราวานมิตรภาพ 3 ประเทศ ต้นทางของพวกเรา(ชาวคาราวานกว่า 30 ชีวิต)เริ่มจากกรุงเทพฯ เดินทางสู่จังหวัดน่าน เพื่อไปตั้งต้นการท่องเที่ยวแบบเป็นเรื่องเป็นราวในเมืองอันสงบงามแห่งนี้ โดยเริ่มด้วยการแวะกราบไหว้ "พระธาตุแช่แห้ง" ปูชนียสถานที่สำคัญคู่บ้านคู่เมืองน่านและเป็นประจำปีของคนปีเถาะ ตามคติความเชื่อของชาวล้านนา
พระธาตุแช่แห้ง ตั้งอยู่บนเนินเขาลูกเตี้ยๆที่เรียกกันว่า "ภูเพียง" ห่างจากตัวเมืองน่าน 2 กิโลเมตร มีอายุเก่าแก่กว่า 600 ปี สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ได้รับมาจากสุโขทัย หากจะเรียกว่าสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ระหว่างความรักกับมิตรภาพของสองเมืองคงไม่ผิดนัก
สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปะของล้านนา พม่า ล้านช้าง สามารถหาดูความผสมกลมกลืนได้จากที่นี่ ความเด่นสะดุดตาอย่างแรกที่พบเมื่อเข้าสู่เขตคามพระธาตุแช่แห้ง คือ บันไดนาค ที่ทั้งใหญ่ ยาว ลำตัวสีแดง เฝ้าขนาบอยู่บริเวณทางขึ้นสู่องค์พระธาตุแช่แห้งสีเหลืองอร่ามงามตา
หลังนมัสการพระธาตุแช่แห้งเสร็จแล้ว ได้มีโอกาสเดินชม "วิหารหลวง" ที่ตั้งอยู่อยู่ด้านใต้ขององค์พระธาตุ ลักษณะของวิหารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีประตูทางเข้าสี่ด้าน แต่ที่ทางเข้าด้านหน้ามีปูนปั้นรูปสิงห์สองตัวตามแบบศิลปะพม่านั่งเฝ้าอยู่ ส่วนภายในโดดเด่นด้วยองค์พระประธานสีทองสุกปลั่งดูขรึมขลังเปี่ยมศรัทธา
ความโดดเด่นของวิหารหลวงหลังนี้ อยู่บริเวณเหนือกรอบประตูด้านหน้าและด้านหลังที่ประดับด้วยลายปูนปั้นเป็นรูปนาคเกี่ยวกระหวัดกันแปดตัว หลังคาทรงจั่วซ้อนลดหลั่นกันสามชั้นตามแบบล้านนา ตรงกลางสันหลังคาทำเป็นส่วนหางของนาคสองตัวเกี่ยวกระหวัดกันขึ้นไปเป็นสามชั้น เป็นศิลปกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากล้านช้าง
มัวแต่หลงระเริงอยู่ที่พระธาตุแช่แห้งกันเพลินไปนิด ขากลับลงมาก่อนแสงอาทิตย์อ่อนกำลังลงเรื่อยๆ แต่ยังพอมีเวลาเหลือให้พวกเราได้แวะไปที่ "วัดภูมินทร์" วัดที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นหลายประการ อาทิ มี โบสถ์และวิหาร สร้างเป็นอาคารหลังเดียวกันเป็นทรงจตุรมุข กรมศิลปากร สันนิษฐานว่าเป็นอุโบสถจตุรมุขหลังแรกของประเทศไทย
ก่อนเข้าไปในตัวอุโบสถนั้น หยุดยิ้มเป็นกำลังใจให้นาคสะดุ้งขนาดใหญ่ 2 ตนที่ แห่แหนอุโบสถเทินไว้บนกลางลำตัวเสียหน่อย ระหว่างที่ยืนยิ้มให้นาค พลันหูเจ้ากรรมไปได้ยินคุณตาแก่ๆสองคนที่มานั่งคุกเข่าไหว้อยู่แถวๆเชิงบันไดทางขึ้นบ่นกันพึมพำเป็นภาษาเหนือ ว่า เสียดายนาค ต่อไปนี้ลอดแล้วจะขลังหรือไม่ ฉันเกิดอาการงงเล็กน้อยว่านาค 2 ตนนี้เป็นอะไร
เมื่อเข้าไปสอบถามคุณตาจึงได้รู้ว่า เมื่อไม่นานมานี้ทางวัดภูมินทร์ได้มีการปรับปรุงบูรณะใหม่ เจ้านาค 2 ตนนี้จึงพลอยได้รับอานิสงส์ศัลยกรรมไปด้วย ซึ่งคนเก่าคนแก่ที่เขาเห็นนาคมานาน มองว่าหน้าตามันเปลี่ยนไป สำหรับความสำคัญของนาค 2 ตนนี้ คือ ที่บริเวณลำตัวส่วนหัวและหาง มีช่องให้คนที่มากราบไหว้ได้ลอดเพื่อเป็นการสะเดาห์เคราะห์และขอพร โดยต้องลอดวนไปมาให้ครบ 3 รอบซึ่งฉันก็มีโอกาสได้ลอดนาคเป็นครั้งแรกก็ที่นี่ล่ะ
เมื่อเข้ามาภายในอุโบสถ ตรงใจกลางจะพบพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่สี่องค์ประดิษฐาน ประทับนั่งบนฐานชุกชี หันพระพักตร์ออกด้านประตู ทั้งสี่ทิศ เบื้องพระปฤษฎางค์ชนกัน แต่ละพระพักตร์ล้วนแตกต่างกันไป สื่อถึงพระพุทธเจ้า 4 พระองค์คือ พระเจ้ากกุสันโธ โกนาคม กัสสปะ และโคตมะ โดดเด่นงดงามไม่น้อย
มาวัดภูมินทร์แล้วไม่พูดถึงจิตรกรรมฝาผนังอันเลื่องชื่อของวัดนี้ ก็กลัวเขาว่ามาไม่ถึง จึงขอเล่าพอหอมปากหอมคอ งานจิตรกรรมฝาผนังภายในวัดนี้ โดยหลักแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ แสดงเรื่องชาดก วิถีชีวิตตำนานพื้นบ้าน และความเป็นอยู่ของชาวน่านในอดีต สิ่งที่สะท้อนออกมาทำให้เราได้เห็นวิถีของชาวน่านในอดีต
ไกด์ท้องถิ่นชี้ชวนให้ดูภาพต่างๆเช่น หนุ่มสาวชาวน่านจีบกัน หนุ่มขึ้นบ้านสาว ผู้ชายสักหมึก ภาพบุคคลที่มีขนาดเท่าคนจริงซึ่งสันนิษฐานว่าผู้วาดอาจวาดโดยมีแบบเป็นคนในยุคสมัยนั้น แต่ฉันกลับมาชอบภาพผู้หญิงเปลือยอกกำลังม้วนผม ดูเหมือนคุณไกด์สังเกตเห็นจึงอธิบายให้ฟังว่า ภาพนี้คนน่านยกให้เป็น "โมนาลิซ่าเมืองไทย" เพราะมองมุมไหนหล่อนก็ยิ้มตาม เต็มตาจุใจกับวัดภูมินทร์แล้วก็ลากลับที่พัก
ตั้งใจว่าจะออมแรงไว้เดินทางในวันพรุ่งนี้ดีกว่า และแล้วเช้าวันใหม่ก็มาถึง ขบวนคาราวานของเราปล่อยตัวออกจากเมืองน่านแต่เช้าตรู่ จุดหมายแรกของวันนี้คือ "ด่านห้วยโก๋น" (ที่มีเพื่อนสมาชิกบางคนเรียกผิดเป็นหัวโกร๋นอยู่ประจำ)
เมื่อปล่อยขบวนแล้วรถก็ขับมาเรื่อยๆจนถึง ด่านห้วยโก๋น ด่านชายแดนที่เพิ่งได้รับเป็นจุดผ่อนปรนถาวรเมื่อไม่นานมานี้ ตั้งอยู่ที่อําเภอเฉลิมพระเกียรติ เดิมเป็นด่านท้องถิ่นที่เปิดให้คนจังหวัดน่านและคนเมืองเงินประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวข้ามไปมาหาสู่กัน
ที่ด่านห้วยโก๋นนี้ในวันธรรมดาช่างดูเงียบเหงา แต่ถ้าเป็นช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ จะมีตลาดนัดบรรยากาศจะคึกคักมีการจับจ่ายใช้สอยแลกเปลี่ยนกันระหว่างไทย-ลาว ที่นี่พวกเราแวะพักให้ด่านตรวจคนเข้าเมืองของทั้งสองประเทศตรวจเอกสารกันก่อน ซึ่งก็กินเวลาอยู่พอสมควรเนื่องจากสมาชิกหลายสิบคน
เมื่อเอกสารต่างๆเสร็จเรียบร้อย พวกเราก็มุ่งหน้าเดินเข้าสู่เขตแดนประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวกันทันที โดยมีจุดหมายปลายทางประจำวันนี้คือการเดินทางเข้าสู่ "หลวงพระบาง"เมืองมรดกโลกและเมืองที่กล่าวขวัญกันว่าเป็นคู่แฝดกับเมืองน่าน (ติดตามตอนต่อไป)
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
สอบถามเพิ่มได้ที่ ททท. สำนักงานภาคเหนือ เขต2 โทร. 0-5371-7433, 0-5374-4674-5 โทรสาร 0-5371-7434
อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง
"มะไฟจีน" อีกหนึ่งของดีคู่เมืองน่าน
“งาช้างดำ”ของล้ำค่าเมืองน่าน (โชคดีที่ไม่กลายเป็นงาช้างทอง)/ปิ่น บุตรี
“ชมพูภูคา”หนึ่งเดียวในโลกที่ดอยภูคา
"...เที่ยวไปตามตะวัน บุกบั่นไปตามลม สนุกสุขสมหัวใจหงายคว่ำ ชีพที่ยาวนาน หรือสั้นแค่เพียงคำ เอาตูดแช่น้ำแล้วเดินต่อไป..."
เพลงเที่ยวละไมของวงเฉลียง เป็นหนึ่งในเพลงโปรดของฉันทีเดียว โดยเฉพาะในการเดินทางท่องไปตามที่ต่างๆฉันฟังได้อย่างไม่รู้เบื่อ เพราะมันเป็นเหมือนสิ่งกระตุ้นปลุกเร้าชีวิตการเดินทางที่หลับใหลให้ฟื้นชีพขึ้นมา
แต่ฉันได้รู้ความจริงว่า ชีวิตเพิ่งจะเข้าถึงเพลงนี้เมื่อไม่นานนี่เอง เมื่อมีโอกาสร่วมเดินทางเป็นหนึ่งในคณะของ "คาราวานมิตรภาพไทย ลาว เวียดนาม เปิดน่านสู่อินโดจีน" ที่จัดโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)ในช่วงปลายปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมกิจกรรมท่องเที่ยวทางรถยนต์ เชื่อมโยงในพื้นที่ภาคเหนือ และเป็นการนำร่องสำรวจเปิดเส้นทางการท่องเที่ยวทางรถยนต์สู่ประเทศในแถบอินโดจีนผ่านทางจังหวัดน่าน หนึ่งในประตูสู่อินโดจีน ที่มีกำหนดการเดินทางทั้งสิ้น 7 คืน 8 วัน
สำหรับทริปคาราวานมิตรภาพ 3 ประเทศ ต้นทางของพวกเรา(ชาวคาราวานกว่า 30 ชีวิต)เริ่มจากกรุงเทพฯ เดินทางสู่จังหวัดน่าน เพื่อไปตั้งต้นการท่องเที่ยวแบบเป็นเรื่องเป็นราวในเมืองอันสงบงามแห่งนี้ โดยเริ่มด้วยการแวะกราบไหว้ "พระธาตุแช่แห้ง" ปูชนียสถานที่สำคัญคู่บ้านคู่เมืองน่านและเป็นประจำปีของคนปีเถาะ ตามคติความเชื่อของชาวล้านนา
พระธาตุแช่แห้ง ตั้งอยู่บนเนินเขาลูกเตี้ยๆที่เรียกกันว่า "ภูเพียง" ห่างจากตัวเมืองน่าน 2 กิโลเมตร มีอายุเก่าแก่กว่า 600 ปี สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ได้รับมาจากสุโขทัย หากจะเรียกว่าสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ระหว่างความรักกับมิตรภาพของสองเมืองคงไม่ผิดนัก
สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปะของล้านนา พม่า ล้านช้าง สามารถหาดูความผสมกลมกลืนได้จากที่นี่ ความเด่นสะดุดตาอย่างแรกที่พบเมื่อเข้าสู่เขตคามพระธาตุแช่แห้ง คือ บันไดนาค ที่ทั้งใหญ่ ยาว ลำตัวสีแดง เฝ้าขนาบอยู่บริเวณทางขึ้นสู่องค์พระธาตุแช่แห้งสีเหลืองอร่ามงามตา
หลังนมัสการพระธาตุแช่แห้งเสร็จแล้ว ได้มีโอกาสเดินชม "วิหารหลวง" ที่ตั้งอยู่อยู่ด้านใต้ขององค์พระธาตุ ลักษณะของวิหารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีประตูทางเข้าสี่ด้าน แต่ที่ทางเข้าด้านหน้ามีปูนปั้นรูปสิงห์สองตัวตามแบบศิลปะพม่านั่งเฝ้าอยู่ ส่วนภายในโดดเด่นด้วยองค์พระประธานสีทองสุกปลั่งดูขรึมขลังเปี่ยมศรัทธา
ความโดดเด่นของวิหารหลวงหลังนี้ อยู่บริเวณเหนือกรอบประตูด้านหน้าและด้านหลังที่ประดับด้วยลายปูนปั้นเป็นรูปนาคเกี่ยวกระหวัดกันแปดตัว หลังคาทรงจั่วซ้อนลดหลั่นกันสามชั้นตามแบบล้านนา ตรงกลางสันหลังคาทำเป็นส่วนหางของนาคสองตัวเกี่ยวกระหวัดกันขึ้นไปเป็นสามชั้น เป็นศิลปกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากล้านช้าง
มัวแต่หลงระเริงอยู่ที่พระธาตุแช่แห้งกันเพลินไปนิด ขากลับลงมาก่อนแสงอาทิตย์อ่อนกำลังลงเรื่อยๆ แต่ยังพอมีเวลาเหลือให้พวกเราได้แวะไปที่ "วัดภูมินทร์" วัดที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นหลายประการ อาทิ มี โบสถ์และวิหาร สร้างเป็นอาคารหลังเดียวกันเป็นทรงจตุรมุข กรมศิลปากร สันนิษฐานว่าเป็นอุโบสถจตุรมุขหลังแรกของประเทศไทย
ก่อนเข้าไปในตัวอุโบสถนั้น หยุดยิ้มเป็นกำลังใจให้นาคสะดุ้งขนาดใหญ่ 2 ตนที่ แห่แหนอุโบสถเทินไว้บนกลางลำตัวเสียหน่อย ระหว่างที่ยืนยิ้มให้นาค พลันหูเจ้ากรรมไปได้ยินคุณตาแก่ๆสองคนที่มานั่งคุกเข่าไหว้อยู่แถวๆเชิงบันไดทางขึ้นบ่นกันพึมพำเป็นภาษาเหนือ ว่า เสียดายนาค ต่อไปนี้ลอดแล้วจะขลังหรือไม่ ฉันเกิดอาการงงเล็กน้อยว่านาค 2 ตนนี้เป็นอะไร
เมื่อเข้าไปสอบถามคุณตาจึงได้รู้ว่า เมื่อไม่นานมานี้ทางวัดภูมินทร์ได้มีการปรับปรุงบูรณะใหม่ เจ้านาค 2 ตนนี้จึงพลอยได้รับอานิสงส์ศัลยกรรมไปด้วย ซึ่งคนเก่าคนแก่ที่เขาเห็นนาคมานาน มองว่าหน้าตามันเปลี่ยนไป สำหรับความสำคัญของนาค 2 ตนนี้ คือ ที่บริเวณลำตัวส่วนหัวและหาง มีช่องให้คนที่มากราบไหว้ได้ลอดเพื่อเป็นการสะเดาห์เคราะห์และขอพร โดยต้องลอดวนไปมาให้ครบ 3 รอบซึ่งฉันก็มีโอกาสได้ลอดนาคเป็นครั้งแรกก็ที่นี่ล่ะ
เมื่อเข้ามาภายในอุโบสถ ตรงใจกลางจะพบพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่สี่องค์ประดิษฐาน ประทับนั่งบนฐานชุกชี หันพระพักตร์ออกด้านประตู ทั้งสี่ทิศ เบื้องพระปฤษฎางค์ชนกัน แต่ละพระพักตร์ล้วนแตกต่างกันไป สื่อถึงพระพุทธเจ้า 4 พระองค์คือ พระเจ้ากกุสันโธ โกนาคม กัสสปะ และโคตมะ โดดเด่นงดงามไม่น้อย
มาวัดภูมินทร์แล้วไม่พูดถึงจิตรกรรมฝาผนังอันเลื่องชื่อของวัดนี้ ก็กลัวเขาว่ามาไม่ถึง จึงขอเล่าพอหอมปากหอมคอ งานจิตรกรรมฝาผนังภายในวัดนี้ โดยหลักแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ แสดงเรื่องชาดก วิถีชีวิตตำนานพื้นบ้าน และความเป็นอยู่ของชาวน่านในอดีต สิ่งที่สะท้อนออกมาทำให้เราได้เห็นวิถีของชาวน่านในอดีต
ไกด์ท้องถิ่นชี้ชวนให้ดูภาพต่างๆเช่น หนุ่มสาวชาวน่านจีบกัน หนุ่มขึ้นบ้านสาว ผู้ชายสักหมึก ภาพบุคคลที่มีขนาดเท่าคนจริงซึ่งสันนิษฐานว่าผู้วาดอาจวาดโดยมีแบบเป็นคนในยุคสมัยนั้น แต่ฉันกลับมาชอบภาพผู้หญิงเปลือยอกกำลังม้วนผม ดูเหมือนคุณไกด์สังเกตเห็นจึงอธิบายให้ฟังว่า ภาพนี้คนน่านยกให้เป็น "โมนาลิซ่าเมืองไทย" เพราะมองมุมไหนหล่อนก็ยิ้มตาม เต็มตาจุใจกับวัดภูมินทร์แล้วก็ลากลับที่พัก
ตั้งใจว่าจะออมแรงไว้เดินทางในวันพรุ่งนี้ดีกว่า และแล้วเช้าวันใหม่ก็มาถึง ขบวนคาราวานของเราปล่อยตัวออกจากเมืองน่านแต่เช้าตรู่ จุดหมายแรกของวันนี้คือ "ด่านห้วยโก๋น" (ที่มีเพื่อนสมาชิกบางคนเรียกผิดเป็นหัวโกร๋นอยู่ประจำ)
เมื่อปล่อยขบวนแล้วรถก็ขับมาเรื่อยๆจนถึง ด่านห้วยโก๋น ด่านชายแดนที่เพิ่งได้รับเป็นจุดผ่อนปรนถาวรเมื่อไม่นานมานี้ ตั้งอยู่ที่อําเภอเฉลิมพระเกียรติ เดิมเป็นด่านท้องถิ่นที่เปิดให้คนจังหวัดน่านและคนเมืองเงินประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวข้ามไปมาหาสู่กัน
ที่ด่านห้วยโก๋นนี้ในวันธรรมดาช่างดูเงียบเหงา แต่ถ้าเป็นช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ จะมีตลาดนัดบรรยากาศจะคึกคักมีการจับจ่ายใช้สอยแลกเปลี่ยนกันระหว่างไทย-ลาว ที่นี่พวกเราแวะพักให้ด่านตรวจคนเข้าเมืองของทั้งสองประเทศตรวจเอกสารกันก่อน ซึ่งก็กินเวลาอยู่พอสมควรเนื่องจากสมาชิกหลายสิบคน
เมื่อเอกสารต่างๆเสร็จเรียบร้อย พวกเราก็มุ่งหน้าเดินเข้าสู่เขตแดนประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวกันทันที โดยมีจุดหมายปลายทางประจำวันนี้คือการเดินทางเข้าสู่ "หลวงพระบาง"เมืองมรดกโลกและเมืองที่กล่าวขวัญกันว่าเป็นคู่แฝดกับเมืองน่าน (ติดตามตอนต่อไป)
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
สอบถามเพิ่มได้ที่ ททท. สำนักงานภาคเหนือ เขต2 โทร. 0-5371-7433, 0-5374-4674-5 โทรสาร 0-5371-7434
อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง
"มะไฟจีน" อีกหนึ่งของดีคู่เมืองน่าน
“งาช้างดำ”ของล้ำค่าเมืองน่าน (โชคดีที่ไม่กลายเป็นงาช้างทอง)/ปิ่น บุตรี
“ชมพูภูคา”หนึ่งเดียวในโลกที่ดอยภูคา