xs
xsm
sm
md
lg

Lighthub-We Lab ลุ้นไลเซนส์เวอร์ชวลแบงก์ ทุ่มเงินทุน 500 ลัานดอลล์ใน 5 ปี

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



นายหิรัญกฤษฎิ์ (ตฤบดี) อุรณานนท์ชัย กรรมการบริหาร Lighthub Asset และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Lightnet Group 1 ใน 5 กลุ่มที่ยื่นขอใบอนุญาตธนาคารไร้สาขา (Virtual Bank) ร่วมกับ We Lab แพลตฟอร์มฟินเทคชั้นนำในเอเชียแปซิฟิก ซึ่งรวมถึง Virtual Bank 2 แห่งในฮ่องกง และอินโดนีเซีย เปิดเผยว่า หากทางกลุ่มได้รับใบอนุญาตจัดตั้ง Virtual Bank ตามที่คาดหวังไว้ มั่นใจว่าจะสามารถดำเนินการจัดตั้งได้เสร็จสิ้นภายใน 12 เดือน โดยขณะนี้ทาง We Lab เองอยู่ระหว่างการสำรวจเก็บข้อมูลต่างๆ เพื่อนำไปวิเคราะห์และปรับปรุงระบบต่างๆ ให้เหมาะสมในลำดับต่อไป

สำหรับในเรื่องของเงินทุนนั้นมีเพียงพออย่างแน่นอน โดยในเบื้องต้นเตรียมไว้ 5,000 ล้านบาท และจะเพิ่มเป็น 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือมากกว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยโครงสร้างการลงทุนนั้น เป็นตามเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ผู้ถือหุ้นสัญชาติไทยไม่ต่ำกว่า 51% โดยการร่วมจัดตั้ง Virtual Bank ของกลุ่มก็เพื่อต้องการเพิ่มโอกาสให้กลุ่มที่ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการของธนาคาร (Unserved) และกลุ่มที่เข้าถึงบริการได้ไม่ทั่วถึง (Underserved) เข้าถึงแหล่งเงินทุน ไม่เพียงแค่นั้น ยังมีบริการ-ผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมเพื่อสร้างรายได้ และอื่นๆ โดยยึดหลักที่ต้อง เร็ว ถูก และใช้ได้ 24 ชั่วโมง-7 วัน

โดยจุดเด่นของกลุ่มนั้นมีใน 4 ประเด็นหลักๆ ได้แก่ กลยุทธ์ Credit-led Strategy ผ่านเครื่องมือ AI ด้วยข้อมูลทางเลือกเพื่อเพิ่มโอกาสในการปล่อยกู้ หลังจากนั้นจึงนำเสนอผลิตภัณฑ์ช่วยเพิ่มรายได้ และผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างความมั่งคั่งในระยะยาว นอกจากนี้ กลุ่มยังเปิดกว้างในการร่วมมือกับพันธมิตรในหลากหลายธุรกิจเพื่อให้การบริการครอบคลุมที่สุด รวมทั้งยังมีผลงานที่ประสบความสำเร็จมาแล้วด้วยใบอนุญาตให้บริการทางการเงินรวมกันกว่า 20 จากธนาคารกลางในเอเชีย ยุโรป และประเทศไทย และประสบการณ์จริงจากการตั้ง Virtual Bank ในฮ่องกง และอินโดนีเซียนของ We Lab โดยการนำเทคโนโลยี AI เข้ามาใช้ในการวิเคราะห์ Data ที่ทางกลุ่มสามารถเข้าถึงฐานลูกค้า Unserver และ Underserved ในประเทศไทยกว่า 46 ล้านรายจาก Ecosystem ที่ครอบคลุมหลายธุรกิจ

"เราไม่ได้จะไปเอามาร์เกตแชร์ของแบงก์ เพราะเราเข้าไปในกลุ่มที่เข้าไม่ถึงแบงก์ หรือเข้าถึงน้อย เมื่อมีช่องว่างตรงนั้นจะไปเติมเต็ม แล้วไม่ใช่แค่การปล่อยกู้ จะมีครบทั้งด้านการออม บัตรเดบิต ระบบการชำระเงิน และการลงทุน จึงมีทั้งการปล่อยกู้ที่รวดเร็วจากการใช้ AI เข้ามาช่วยวิเคราะห์ด้วยข้อมูลทางเลือก การเพิ่มรายได้ การแนะนำการออม เพราะจุดหมายของเราไม่ใช่แค่ DigitalLoan แต่เป็นการเพิ่มรายได้ แก้ไขหนี้ครัวเรือน และเพิ่มจีดีพีให้ประเทศไทยด้วย และการยื่นขออนุญาตในครั้งนี้นับเป็นเกียรติกับทางกลุ่มที่ได้ ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มาเป็นที่ปรึกษา"

ด้านนายไซมอน หลุง ผู้ก่อตั้งประธานเจ้าหน้าที่บริการ WeLab กล่าวว่า ปัจจุบัน We Lab ดำเนินธุรกิจ Virtual Bank อยู่ในเขตการปกครองพิเศษฮ่องกงโดยได้ใบอนุญาตการจัดตั้งในปี 2018 เริ่มดำเนินธุรกิจในปี 2022 และปัจจุบันเริ่มจะสร้างกำไรได้แล้ว ขณะที่ Virtual Bank ที่อินโดนีเซียใช้เวลาในการดำเนินการจัดตั้ง 6 เดือน ดังนั้น จึงมั่นใจว่าหากทางกลุ่มได้รับใบอนุญาตจะสามารถจัดตั้ง Virtaul Bank ในไทยได้เสร็จสิ้นใน 12 เดือนอย่างแน่นอน

"จุดเด่นของเราอยู่ที่การนำเอาเทคโนโลยี AI มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อปล่อยสินเชื่อโดยใช้ข้อมูลที่มีความหลากหลายไม่ใช่แค่ใบรับรองทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายค่าสาธารณูปโภค หรือกระทั่งความเคลื่อนไหวบนโซเชียล มีเดีย เป็นต้น ซึ่งที่ผ่านมา ได้อนุมัติสินเชื่อดิจิทัลไปแล้วกว่า 5 แสนล้านบาท ขณะที่คุณภาพสินเชื่ออยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก โดยสินเชื่อค้างชำระเกิน 1 เดือนของ Virtual Bank ฮ่องกง ณ สิ้นเดือนกรกฎาคมอยู่ที่ 0.50% ต่ำกว่าของอุตสาหกรรมที่อยู่ในระดับ 2.89% แนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยในเรื่องของคุณภาพหนี้ ในทุกประเทศที่เราเข้าไปทำรวมถึงในประเทศไทย จะตั้งเป้าหมายมีสินเชื่อค้างชำระในอัตราที่ต่ำกว่าอุตสาหกรรมรวม"
กำลังโหลดความคิดเห็น