xs
xsm
sm
md
lg

ความท้าทายของบิทคอยน์ ที่ไม่ต้องอยู่ใต้กำกับของ ก.ล.ต.

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ท่ามกลางความสนใจอย่างต่อเนื่องในการอนุมัติหรือการปฏิเสธกองทุนซื้อขายแลกเปลี่ยน Spot Bitcoin ETF โดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ SEC กลับมีการตั้งคำถามจากผู้บริหาร Citigroup ถึงความเป็นอิสระของการลงทุนในสินทรัพย์ที่ไม่ต้องอยู่ภายใต้กรอบหน่วยงานกำกับดูแล หรือ ก.ล.ต.

จากการเปิดเผยของ finbold ระบุถึง Spot Bitcoin ETF ถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่เพิ่งเปิดตัวล่าสุดซึ่งอิงกับสินทรัพย์ดิจิทัลหลักอันดับ 1. คือเหรียญ Bitcoin หรือ BTC โดยการลงทุนในผลิตภัณฑ์ดังกล่าวนี้มีลักษณะคล้ายกับใบถือครองหน่วยลงทุนของอเมริกาโดยผ่านทางกองทุนที่เป็นตัวแทนของบริษัทจดทะเบียนซื้อขายหุ้นที่ครอบคลุมทั้งในและต่างประเทศ

โดยล่าสุดตามรายงานของ Bloomberg บริษัทสตาร์ทอัพ Receipts Depositary Corporation (RDC) มีไอเดียที่จะออกใบสัญญาการถือครองหน่วยลงทุน ซึ่งมีลักษณะคล้ายใบเสร็จรับเงินที่ระบุตัวเลขการถือครอง Bitcoin ให้กับนักลงทุน และสถาบันทั่วโลก ซึ่งระบุถึงสิทธิ์สัญญาการทำธุรกรรมเหล่านี้ จะดำเนินการในลักษณะที่ได้รับการยกเว้นจากการจดทะเบียนภายใต้กฎหมายหลักทรัพย์ปี 1933

"เราเรียกผลิดภัณฑ์การลงทุนแบบนี้ว่า BTC DRs คือการยื่นข้อเสนอที่จะช่วยให้สถาบันสามารถเข้าถึงหลักทรัพย์ Bitcoin ผ่านโครงสร้างพื้นฐานของตลาดที่ได้รับการควบคุมโดยสหรัฐอเมริกา"

อย่างไรก็ดี RDC อ้างว่ารูปแบบผลิดภัณฑ์นี้ตรงกันข้ามกับ Bitcoin ETF ที่ต้องแลกเป็นเงินสด ซึ่งหนังสือสัญญาในลักษณะ BTC receipt ของผู้รับฝากจะทำให้สถาบันการเงินมีสิทธิ์เป็นเจ้าของ crypto นี้โดยตรง เนื่องจากสถาบันที่ได้รับการควบคุมบางแห่ง ไม่นิยมซื้อ Bitcoin โดยตรง เนื่องจากความท้าทายในตลาด crypto เช่น ความเสี่ยงด้านความปลอดภัย และความไม่แน่นอนด้านกฎระเบียบ ที่ให้การซื้อในรูปแบบของหนังสือสัญญาจะทำให้ลดความเสี่ยงลงได้มากกว่า และไม่เข้าเงื่อนไขหลักเกณฑ์การกำกับดูแลของ ก.ล.ต.

ความท้าทายบางประการเหล่านี้คล้ายคลึงกับที่ชาวอเมริกันลงทุนในบริษัทต่างประเทศ ซึ่งได้รับการแก้ไขเงื่อนไขบางอย่าง เพื่อหลีกเลี่ยงข้อบังคับทางกฏหมาย ด้วยการใช้วิธีถือใบเสร็จรับเงินสำหรับชาวอเมริกัน ซึ่งสามารถใช้รับรองได้ตามกฏหมาย

ขณะที่หลักฐานพื้นฐานของสกุลเงินดิจิทัล คือการตัดความยุ่งยากและกำจัดความจำเป็นสำหรับสำนักหักบัญชีแบบรวมศูนย์ โดยการใช้บล็อกเชน แบบกระจายอำนาจ หรือบัญชีแยกประเภทสาธารณะ ซึ่งเทคโนโลยีนี้จะเข้ามาตรวจสอบ บันทึก และชำระธุรกรรมระหว่างผู้ใช้โดยอัตโนมัติ ทำให้ผู้ถือ Bitcoin ยังมีทางเลือกในการจัดเก็บเหรียญได้อย่างอิสระ โดยไม่ต้องพึ่งผู้ดูแลภายนอก อย่างไรก็ตาม ผู้ร่วมก่อตั้ง RDC เชื่อว่าการถือครองเหรียญแบบ BTC receipt จะให้ความสะดวกสบายแก่สถาบันที่พวกเขาอาจพบว่าน่าสนใจยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ไม่ว่า BTC DR จะพิสูจน์วิธีแก้ปัญหาที่ดีกว่า ETF หรือไม่ แต่ดูเหมือนว่าเป็นไปได้ว่าพวกเขาจะเสนอความเป็นส่วนตัวและการทำธุรกรรมที่รวดเร็วกว่า ซึ่งเงื่อนไขข้อกำหนดของสถาบันอาจมีความต้องการทางเลือกที่มากกว่า


กำลังโหลดความคิดเห็น