xs
xsm
sm
md
lg

TIDLOR ไตรมาส 3 กำไรสูงกว่าคาด ยังเป็นตัวเลือกที่ดี

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ฝ่ายวิจัย บล.ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) ระบุในบทวิเคราะห์ ว่า TIDLOR รายงานผลประกอบการไตรมาส 3/66 ออกมาดี ทำกำไรสุทธิได้ 1,007 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12% yoy และ 9% qoq สูงกว่าประมาณการของเรา 5% ทั้งนี้ กำไรดีกว่าคาดเป็นผลจากอัตราสำรองหนี้สูญต่ำกว่าคาดที่ 3.04% จากที่เราประมาณการที่ 3.27% ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (NIM) เพิ่มขึ้น 12bp qoq เป็น 15.71% เทียบกับที่เราคาดจะทรงตัว qoq

TIDLOR ยังมีคุณภาพสินทรัพย์โดยรวมดี เห็นได้จากอัตราส่วน NPL ที่เพียง 1.51% ต่ำกว่าประมาณการของเราที่คาดไว้ที่ 1.6% และอัตราการเกิด NPL ใหม่ 280bp นอกจากนี้ พบว่า TIDLOR ยังมี Operating leverage เพิ่มขึ้น เพราะอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ลดลงเหลือ 55.4% เทียบจาก 56.4% ในปี 65
สินเชื่อเติบโตสูงและ NIM เพิ่มขึ้น qoq เรามองว่าเป็นตัวชี้วัดการดำเนินงานโดยรวมของ TIDLOR ที่ยังคงแข็งแกร่งในไตรมาส 3 โดยยอดสินเชื่อรวมยังขยายตัว 21% yoy และ 5% qoq มาอยู่ที่ 9.19 หมื่นล้านบาท รายได้ค่าธรรมเนียมจากธุรกิจนายหน้าประกันเติบโตสูงกว่าคาดที่ 26% yoy เทียบกับประมาณการณ์ของเราที่ 23% NIM อยู่ที่ 15.71% เพิ่มขึ้น12bp qoq เพราะอัตราผลตอบแทนจากสินเชื่อ( loan yield) เพิ่มขึ้น 28bp qoq

ส่วนต้นทุนดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 26bp qoq เป็น 3.11% ทั้งนี้ เราเชื่อว่า loan yield ที่เพิ่มสูงขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากอัตราการใช้งานที่เพิ่มขึ้นของบัตรกดเงินสดหมุนเวียน ซึ่งมักจะมี yield สูงกว่าผลิตภัณฑ์อื่นของ TIDLOR

ในไตรมาส 3 อัตราส่วน NPL ที่ 1.51% เทียบกับสถิติสูงสุดในรอบ 4 ปีที่ 1.66% ในไตรมาส 2/63 ขณะที่เป้าหมายของ TIDLOR ตั้งไว้ที่ 1.8% อย่างไรก็ตาม เพื่อคุม NPL บริษัทจึงตั้งสำรองสูงถึงราว 681 ล้านบาทในไตรมาส 3 เท่ากับอัตราการสำรองหนี้สูญ 3.04% ต่ำกว่าประมาณการของเราที่ 3.27% เราเชื่อว่าจะทำให้ TIDLOR มีคุณภาพสินทรัพย์ดีกว่าคาด

ทั้งนี้ TIDLOR ยังมีการตั้งสำรองแบบ conservative มีอัตราส่วนการตั้งสำรองต่อหนี้ NPL สูงที่สุดในกลุ่มผู้ให้บริการสินเชื่อจำนำทะเบียนรถของไทยที่ 264% ในไตรมาส 3

ยังคงคำแนะนำ “ซื้อ” TIDLOR ที่ราคาเป้าหมาย 34.25 บาท ยังมองว่า TIDLOR เป็นตัวเลือกที่ดีกว่า SAWAD และ MTC เนื่องจาก TIDLOR น่าจะมีกำไรสุทธิเติบโตสูงถึง 22% CAGR (ปี 66-68) และมีงบดุลแข็งแกร่งขึ้นจากอัตราส่วน NPL ต่ำกว่าและอัตราการตั้งสำรองต่อหนี้ NPL สูงกว่าเมื่อเทียบกับคู่แข่ง
เรามองว่าปัจจัยบวกที่จะช่วยหนุนราคาหุ้นคือ รายได้ที่เติบโตแข็งแกร่งและ Operating leverage ที่เพิ่มขึ้นจากแพลตฟอร์มดิจิทัล ส่วน downside risk จะมาจากความเสี่ยงด้านการก ากับดูแล การแข่งขันที่สูงขึ้นจากสงครามราคาและคุณภาพสินทรัพย์ที่ลดลง

TU ไตรมาส 3 GPM สูงกว่าคาด มองไตรมาส 4 จะทำกำไรแข็งแกร่ง

ฝ่ายวิจัย บล.ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี ระบุในบทวิเคราะห์ ว่า TU ทำกำไรสุทธิในไตรมาส 3/66 ได้ 1,206 ล้านบาท ลดลง 52% yoy แต่เพิ่มขึ้น 17% qoq แต่เมื่อรวมดอกเบี้ยจ่ายของหุ้นกู้ที่มีลักษณะคล้ายทุน ไม่รวมการปรับปรุงรายการทางบัญชีของ Red Lobster (RL) TU จะมีกำไรดำเนินงานปกติ 1,230 ล้านบาท ลดลง 47% yoy แต่เพิ่มขึ้น 17% qoq สูงกว่าที่เราคาดไว้ 15%

รายได้จากการขายในไตรมาส 3 ลดลง 17% yoy และ 0.4% qoq เพราะลูกค้ายังระบายสินค้าคงคลัง บวกกับราคาขายเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูป OEM และยอดขายผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูปลดลงจากฐานสูงในไตรมาส 2/66 ส่วนอัตรากำไรขั้นต้น (GPM) เพิ่มเป็น 18.4% เทียบกับ 16.9% ไตรมาส 2/66 และ 18.2% ในไตรมาส 3/65 มีปัจจัยหนุนจากต้นทุนวัตถุดิบที่ลดลง และ GPM ของธุรกิจผลิตภัณฑ์อาหารแช่แข็งที่เพิ่มขึ้น

ขณะเดียวกัน RL มีขาดทุนดำเนินงานปกติสูงขึ้นเป็น 395 ล้าน บาท เทียบกับขาดทุน 94 ล้านบาทในไตรมาส 2/66 และ 339 ล้านบาทในไตรมาส 3/65 สาเหตุหลักมาจากราคาวัตถุดิบและค่าแรงที่เพิ่มขึ้น การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยและยอดขายที่ชะลอตัวตามวัฏจักร qoq

อย่างไรก็ตาม ในไตรมาส 3 ส่วนแบ่งขาดทุนจากเงินลงทุนลดลงเหลือ 234 ล้านบาท จาก 256 ล้านบาทในไตรมาส 3/65 เพราะ ส่วนแบ่งจาก Avanti เพิ่มขึ้น

ราคาปลาทูน่า Skipjack ปรับตัวลง qoq มาอยู่ที่เฉลี่ย 1,600 เหรียญสหรัฐ/ตันในเดือนต.ค.66 เพิ่มขึ้น 1.3% yoy แต่ลดงลง 5.9% mom เทียบกับราคาที่ TU รับได้คือ 1,400-1,700 เหรียญสหรัฐ/ตัน โดย TU ให้ข้อมูลว่าเป็นเพราะปริมาณปลาที่จับได้เพิ่มขึ้น เรามองว่าจะส่งผลดีต่อ GPM ในไตรมาส 4/66 และไตรมาส 1/67

เราเห็นสัญญาณการฟื้นตัวของธุรกิจหลักของ TU อย่างชัดเจนในไตรมาส 3 โดยเฉพาะธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง คาดว่า TU จะมีผลประกอบการฟื้นตัวต่อเนื่องในไตรมาส 4 นี้ เพราะเป็นไฮซีซันของธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็ง และอุปสงค์จากลูกค้าจะฟื้นตัว เราเชื่อว่าปีนี้ TU จะกลับมามีกำไรสุทธิเติบโต yoy เป็นครั้งแรกในไตรมาส 4 เนื่องจากอุปสงค์ของผลิตภัณฑ์ของ TU เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอาหารสัตว์เลี้ยง ขณะที่ GPM จะทรงตัวอยู่ในระดับดี จากต้นทุนวัตถุดิบปลาทูน่าลดลงในไตรมาส 3 และไตรมาส 4

เรายังแนะนำ “ซื้อ” TU ปรับราคาเป้าหมายเป็น 17.30 บาท จาก 17.20 บาท หลังเห็น GPM ฟื้นตัวชัดเจนในครึ่งปัแรก และปรับประมาณการ EPS สะท้อน GPM ที่สูงกว่าคาดในไตรมาส 3 แต่เนื่องจากธุรกิจในต่างประเทศและการส่งออกมีรายได้คิดเป็นประมาณ 90% ของรายได้รวม เราจึงมองมี downside risk หากเงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ และเศรษฐกิจโลกชะลอตัวรุนแรง ส่วนการอ่อนค่าของเงินบาทและอุปสงค์สินค้าที่ฟื้นตัวแข็งแกร่งจะช่วยหนุนให้ราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้น


กำลังโหลดความคิดเห็น