xs
xsm
sm
md
lg

WAVE รุกให้บริการรับบินโดรนสำรวจรังวัด นำร่องโครงการ “ปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้ง”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



WAVE BCG บริษัทในกลุ่มเวฟ เอกซ์โพเนนเชียล เตรียมเปิดให้บริการรับบินโดรนสำรวจรังวัดและจัดทำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ โดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิเคราะห์แปลผลข้อมูลแบบมืออาชีพ ย้ำมีความแม่นยำสูง ประหยัดเวลาและงบประมาณ นำร่องใช้ในโครงการ “ปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้ง” โดยใช้โดรนบินสำรวจทั้งก่อนและหลังปลูกข้าว เพื่อตรวจสอบระดับความสูงต่ำของพื้นที่ ตรวจสอบความอุดมสมบูรณ์
 
นายเจมส์ แอนดริว มอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เวฟ เอกซ์โพเนนเชียล จำกัด (มหาชน) หรือ WAVE เปิดเผยว่า บริษัท เวฟ บีซีจี จำกัด (WAVE BCG) ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่ม WAVE มีแผนที่จะนำอากาศยานไร้คนขับ หรือโดรนมาประยุกต์ใช้ในการสำรวจรังวัดและจัดทำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ โดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิเคราะห์แปลผลข้อมูลแบบมืออาชีพ ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาและงบประมาณ อีกทั้งข้อมูลที่ได้ยังเป็นข้อมูลที่ถูกต้องและแม่นยำสูง นอกจากนี้กระบวนการประมวลผลภาพยังให้ผลลัพธ์ที่มีคุณภาพดี สามารถนำไปต่อยอดในการจัดทำข้อมูลแผนที่ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์  
 
ทั้งนี้ WAVE BCG ได้นำโดรนมาใช้กับงานด้านการเกษตร ซึ่งเป็นการใช้โดรนเพื่อบินสำรวจรังวัดในโครงการ “ปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้ง” โดยจะใช้โดรนบินสำรวจทั้งก่อนและหลังปลูกข้าว เพื่อตรวจสอบระดับความสูงต่ำของพื้นที่ ตรวจสอบความอุดมสมบูรณ์และปริมาณความหนาแน่นของข้าวในนา และยังสามารถใช้ตรวจสอบได้ว่าข้าวในนานั้นมีโรคแทรกซ้อนหรือไม่
 
นอกจากนี้ เตรียมที่จะเปิดให้บริการรับบินโดรนสำรวจรังวัดที่หลากหลาย โดยแบ่งออกเป็น 4 บริการคือ 1.งานรังวัดด้วยโดรน ซึ่งจะใช้อุปกรณ์ที่มีมาตรฐาน คุณภาพสูง 2.การให้บริการโดรนตรวจสอบ ยกตัวอย่างเช่น งานตรวจสอบแผงโซลาร์เซลล์พื้นที่ขนาดใหญ่ งานตรวจสอบกังหันลม งานตรวจสอบเสาส่งสัญญาณไฟฟ้า 3.งานทำแผนที่ 2D/3D ด้วยโดรน และ 4.โดรนเพื่องานเกษตร ซึ่งบริษัทใช้โดรนพร้อมกล้อง Multispectral เพื่อดูคุณภาพของพืชผลทางการเกษตร ดัชนีพืชพรรณ ช่วยประเมินสถานการณ์ให้เกษตรกรทำงานได้ง่ายขึ้น ถูกต้องและแม่นยำมากยิ่งขึ้น
 
ในปัจจุบัน อากาศยานไร้คนขับ หรือโดรน เป็นเครื่องมือที่ทำให้เข้าถึงข้อมูลทางอากาศได้ง่ายขึ้น จากในอดีตที่อาจต้องรอภาพถ่ายจากดาวเทียม ปัจจุบันเทคโนโลยีด้านการสำรวจและจัดทำแผนที่ได้มีการพัฒนาและปรับรูปแบบการสำรวจที่แตกต่างไปจากการสำรวจในอดีตมาก ทั้งการสำรวจรังวัดด้วยเทคโนโลยีการระบุค่าพิกัดด้วยดาวเทียม GNSS และการสำรวจด้วยภาพถ่ายทางอากาศ (Arial Photogrammetry) โดยเฉพาะการสำรวจด้วยภาพถ่ายจากอากาศยานไร้คนขับ จะเห็นว่าโดรนมีประโยชน์มากมายหลายด้าน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อุตสาหกรรมภาพยนตร์ อุตสาหกรรมด้านการเกษตร เป็นต้น
กำลังโหลดความคิดเห็น