xs
xsm
sm
md
lg

ทีทีบีเปิดบริการจัดการความเสี่ยงด้วยสกุลหยวน หนุนธุรกิจใช้สกุลเงินภูมิภาค

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ธนาคารทหารไทยธนชาต หรือทีเอ็มบีธนชาต (ทีทีบี) เสนอผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ สะดวก และง่ายสำหรับลูกค้า หนุนผู้ประกอบการใช้สกุลเงินท้องถิ่นในการบริหารจัดการความเสี่ยงเรื่องค่าเงิน เปิดให้บริการ Yuan Pro Rata Forward โซลูชันการบริหารความเสี่ยงเงินหยวนที่ดีที่สุด ใช้วันไหนก็ได้ รู้เรตแน่นอน

น.ส.บุษรัตน์ เบญจรงคกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หัวหน้าธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต
เปิดเผยว่า ธนาคารได้เปิดให้บริการการจัดการความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนด้วยสกุลหยวน “Yuan Pro Rata Forward” ที่สามารถช่วยปิดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนได้ เนื่องจากลูกค้าจะทราบถึงต้นทุนอัตราแลกเปลี่ยนที่แน่นอนในอนาคตได้ตั้งแต่วันที่ทำสัญญา ซึ่งจะช่วยในการจัดการบริหารรายรับ ค่าใช้จ่ายได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ ยังมีความยืดหยุ่นให้ลูกค้าสามารถส่งมอบ (ใช้สัญญา) ได้ในวันใดก็ได้ก่อนสัญญาครบกำหนด โดยผู้ส่งออกและผู้นำเข้าที่มีรายรับและค่าใช้จ่ายในอนาคตเป็นสกุลหยวน สามารถล็อกไว้ด้วยอัตราแลกเปลี่ยนที่ทำสัญญาไว้ โดยไม่มีค่าธรรมเนียมในการทำสัญญา

ทั้งนี้ ธนาคารตั้งเป้าที่จะเป็นผู้นำด้านการบริหารอัตราแลกเปลี่ยน (FX) และการจัดการความเสี่ยงด้วยสกุลเงินท้องถิ่น (Local Currency) โดยมีสกุลเงินที่ขยายบริการเพิ่มขึ้นอีก 4 สกุล ในปีนี้ ได้แก่ เกาหลีวอน (KRW) อินโดนีเซียรูเปียะ (IDR) เวียดนามด่อง (VND) และฟิลิปปินส์เปโซ (PHP)

“การกระจายมาใช้ค่าเงินท้องถิ่นจะช่วยให้ผู้ประกอบการบริหารต้นทุนธุรกิจได้ง่ายขึ้น และลดความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจลดลง และมีเวลาดูแลธุรกิจได้ดีขึ้น โดยสามารถดำเนินการได้ง่ายตลอด 24 ชั่วโมง ผ่านช่องทางดิจิทัลแบงกิ้งอย่าง ttb touch สำหรับลูกค้ารายย่อย และ ttb business one สำหรับลูกค้านิติบุคคล ซึ่งครอบคลุม 18 สกุลเงินรวมทั้งสกุลเงินท้องถิ่น เพื่อให้ลูกค้าสามารถทำธุรกรรมได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ไม่ต้องเดินทางไปสาขา”

ทั้งนี้ ปัจจุบันประเทศไทยมีการค้ากับประเทศในภูมิภาคสัดส่วนสูงถึง 50% โดยเฉพาะประเทศจีนที่เป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของไทยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา คิดเป็นสัดส่วน 18.4%แต่สัดส่วนการค้าด้วยสกุลหยวนยังคงมีเพียงแค่ 1.9% หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 11,500 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่ยังคงใช้สกุลเงินดอลลาร์เป็นหลักในการค้าขายถึง 79.6% ขณะที่ในปีที่ผ่านมา ค่าเงินดอลลาร์ถือว่าเป็นสกุลเงินที่มีความผันผวนสูงถึง 15.5% สูงกว่าสกุลท้องถิ่นทั่วไป ทำให้ผู้ประกอบกอบการต้องเผชิญความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนอย่างมาก ดังนั้น ทีทีบีจึงขอแนะนำให้ผู้ประกอบการเปลี่ยนมาใช้สกุลเงินท้องถิ่น (Local Currencies) ในการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากสกุลเงินท้องถิ่นมีการปรับตัวไปในทิศทางเดียวกับเงินบาท และช่วยลดความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ที่ทำให้ต้นทุนของผู้ประกอบการสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
กำลังโหลดความคิดเห็น