xs
xsm
sm
md
lg

Krungthai GLOBAL MARKETS เผยบาทเปิดตลาดที่ 34.00 sideways รอประเมินภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เผยค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ (7 เม.ย.) ที่ระดับ 34.13 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่าลงจากระดับปิดวันก่อนหน้าที่ระดับ 33.89 บาทต่อดอลลาร์ (ระดับปิดวันที่ 5 เมษายน) และมองกรอบเงินบาทวันนี้คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 33.95-34.25 บาท/ดอลลาร์ แนวโน้มค่าเงินบาทในช่วงวันหยุดที่ 6 เมษายนที่ผ่านมา ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวผันผวนไปตามทิศทางของเงินดอลลาร์และราคาทองคำ แต่โดยรวมเงินบาทปรับตัวอ่อนค่าลงหลังเงินดอลลาร์พลิกกลับมาแข็งค่าขึ้น ในขณะที่ราคาทองคำย่อตัวลงมาบ้าง หลังราคาทองคำได้ปรับตัวขึ้นใกล้ระดับ 2,040 ดอลลาร์ต่อออนซ์

เราประเมินว่า ในระหว่างวันนี้ค่าเงินบาทอาจเคลื่อนไหวในกรอบ sideways ไปก่อน เนื่องจากผู้เล่นส่วนใหญ่อาจรอประเมินภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ จากรายงานข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯ ในวันนี้ก่อน (จะทยอยรับรู้ในช่วงราว 19.30 น. ตามเวลาในประเทศไทย) อย่างไรก็ดี ควรจับตาทิศทางฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติหลังตลาดหุ้นไทยได้ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง และช่วงที่ผ่านมานักลงทุนต่างชาติยังคงเป็นฝั่งขายสุทธิหุ้นไทยอยู่ ซึ่งแรงขายหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติอาจเป็นปัจจัยที่กดดันให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงได้บ้าง ทั้งนี้ เรามองว่านักลงทุนต่างชาติอาจรอจังหวะ buy on dip หรือรอกลับเข้าซื้อหุ้นไทยหากดัชนี SET ย่อตัวลงใกล้โซนแนวรับที่ผ่านมาแถว 1,520-1,540 จุด

ส่วนปัจจัยหนุนการแข็งค่าของเงินบาทนั้น อาจต้องรอลุ้นโฟลว์ธุรกรรมขายทำกำไรทองคำ หากราคาทองคำสามารถรีบาวนด์กลับขึ้นมาใกล้แนวต้านล่าสุดแถว 2,040 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ซึ่งอาจเป็นไปได้ในช่วงตลาดทยอยรับรู้ข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯ เพราะหากผู้เล่นในตลาดกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ มากขึ้นและเลือกที่จะปิดรับความเสี่ยง ราคาทองคำอาจปรับตัวขึ้นได้ จากความต้องการถือสินทรัพย์ปลอดภัยในช่วงนี้ แต่ราคาทองคำจะปรับตัวขึ้นมากหรือน้อยต้องรอจับตาการเคลื่อนไหวของเงินดอลลาร์ด้วยเช่นกัน

อนึ่ง ควรระมัดระวังความผันผวนในตลาดการเงินในช่วงตลาดทยอยรับรู้รายงานข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯ เพราะหากข้อมูลออกมาดีกว่าคาด ผู้เล่นในตลาดอาจรอไม่มั่นใจในมุมมองปัจจุบัน ที่ต่างกังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะชะลอตัวลงหนัก หรือเฟดอาจหยุดขึ้นดอกเบี้ยและเริ่มลดดอกเบี้ยลงได้ในช่วงไตรมาสที่ 3 ซึ่งในกรณีนี้ผู้เล่นในตลาดอาจคลายกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ เสี่ยงเข้าสู่ภาวะถดถอยได้บ้างและอาจเริ่มกลับมาเปิดรับความเสี่ยง ส่วนเงินดอลลาร์มีโอกาสปรับตัวขึ้นต่อได้บ้าง (การแข็งค่ามาก/น้อย อาจขึ้นกับว่าข้อมูลตลาดแรงงานออกมาดีกว่าคาดขนาดไหน) พร้อมกับการย่อตัวลงของราคาทองคำ ส่วนในกรณีที่ข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯ เป็นไปตามคาด (การจ้างงานและการเติบโตของค่าจ้างชะลอลงบ้าง แต่ไม่มาก) อาจไม่ได้กระทบต่อตลาดการเงินมากนัก แต่ในกรณีที่ยอดการจ้างงานออกมาแย่กว่าคาดไปมาก (เหมือนกับยอดตำแหน่งงานเปิดรับ Job Openings หรือยอดการจ้างงานภาคเอกชนโดย ADP ก่อนหน้า) เราคาดว่า ตลาดอาจยิ่งกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ เสี่ยงเข้าสู่ภาวะถดถอย กดดันให้ตลาดปิดรับความเสี่ยง ซึ่งอาจหนุนให้ราคาทองคำปรับตัวขึ้นต่อได้ แต่ต้องรอดูว่าเงินดอลลาร์จะแข็งค่าด้วยหรือไม่ (ผู้เล่นในตลาดอาจเลือกที่จะถือเงินดอลลาร์เป็นสินทรัพย์ปลอดภัยได้เช่นกัน) ทำให้เงินบาทมีโอกาสแข็งค่าขึ้นได้บ้าง แต่อาจถูกกดดันได้หากเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นด้วย

ทั้งนี้ แม้ว่าดัชนีหุ้นเทคฯ Nasdaq จะปรับตัวขึ้น +0.76% ส่วนดัชนี S&P500 จะปิดตลาด +0.36% แต่โดยรวมตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังคงเผชิญความผันผวน ท่ามกลางความกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัวลงมากขึ้นและเสี่ยงเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ตามรายงานข้อมูลเศรษฐกิจในสัปดาห์นี้ที่ส่วนใหญ่ออกมาแย่กว่าคาด เช่น ดัชนี ISM PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการที่ปรับตัวลดลงกว่าคาด และล่าสุด ยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานครั้งแรก (Initial Jobless Claims) ที่ปรับตัวขึ้นแตะระดับ 2.28 แสนราย แย่กว่าคาดเช่นกัน ซึ่งความกังวลดังกล่าวได้กดดันให้ผู้เล่นในตลาดเลือกที่จะขายหุ้นกลุ่มที่มีความอ่อนไหวแต่ภาพเศรษฐกิจ เช่น กลุ่มพลังงาน (Exxon Mobil -1.7% Chevron -1.3%) ขณะที่หุ้นกลุ่มเทคฯ (Alphabet +3.8% Microsoft +2.6%) กลับสามารถปรับตัวขึ้นได้ หลังบอนด์ยิลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ได้ย่อตัวลงและแกว่งตัวใกล้ระดับ 3.30% ท่ามกลางความกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งผู้เล่นในตลาดคาดหวังว่าจะกดดันให้เฟดหยุดการขึ้นดอกเบี้ยและทยอยลดดอกเบี้ยลงได้ในช่วงไตรมาสที่ 3
ส่วนในฝั่งตลาดหุ้นยุโรป ดัชนี STOXX600 พลิกกลับมาปรับตัวขึ้น +0.83% หนุนโดยการปรับตัวขึ้นของหุ้นกลุ่มธนาคาร (Santander +3.1% BNP +2.5%) หลังผู้เล่นในตลาดคลายกังวลความเสี่ยงต่อระบบธนาคารยุโรป อย่างไรก็ดี ความกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ รวมถึงยุโรปที่ดูจะชะลอตัวลงมากขึ้น จากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจในสัปดาห์นี้ ได้กดดันให้ผู้เล่นในตลาดทยอยขายทำกำไรหุ้นกลุ่มสินค้าแบรนด์เนม (Hermes -2.0% LVMH -1.8%) และเลือกที่จะเข้าซื้อหุ้นสไตล์ Defensive เช่น หุ้นกลุ่ม Healthcare (Roche +2.4% Novartis +1.0%)

ในฝั่งตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์เคลื่อนไหวผันผวนหนัก โดยเงินดอลลาร์มีจังหวะแข็งค่าขึ้นในช่วงที่ตลาดกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจเสี่ยงเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่ออกมาแย่กว่าคาด ก่อนที่จะอ่อนค่าลงบ้างหลังบรรยากาศในฝั่งตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยรวมกลับมาเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น โดยล่าสุดดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY) ยังคงแกว่งตัวใกล้ระดับ 101.9 จุด ทั้งนี้ เงินดอลลาร์อาจเคลื่อนไหว sideways ในช่วงก่อนที่ตลาดจะรับรู้รายงานข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯ (ยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม) ในวันนี้ได้ ซึ่งมีโอกาสที่เงินดอลลาร์จะเคลื่อนไหวผันผวน เนื่องจากวันนี้จะเป็นวันหยุด (Good Friday ก่อนวันอีสเตอร์) ในหลายประเทศ เช่น ฝั่งยุโรปและสหรัฐฯ ทำให้ปริมาณธุรกรรมในตลาดการเงินอาจเบาบางลงไปได้ ส่วนในฝั่งราคาทองคำ ภาวะเปิดรับความเสี่ยงของตลาดการเงินฝั่งสหรัฐฯ ซึ่งสอดคล้องกับการปรับตัวขึ้นของทั้งเงินดอลลาร์และบอนด์ยิลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ได้กดดันให้ราคาทองคำ (สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน มิ.ย.) ย่อตัวลงใกล้ระดับ 2,024 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ อย่างไรก็ดี ราคาทองคำยังพอได้แรงหนุนจากความต้องการถือทองคำเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย จากความกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ เสี่ยงเข้าสู่ภาวะถดถอยที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ราคาทองคำดูจะมีแนวรับแรกแถว 2,020 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (โซนถัดไป คือ 2,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์) ซึ่งโฟลว์ธุรกรรมซื้อทองคำในจังหวะย่อตัวมีส่วนกดดันให้เงินบาทอ่อนค่าลงได้

สำหรับวันนี้ไฮไลต์สำคัญ คือ รายงานข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯ รายงานข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯ เดือนมีนาคม โดยเฉพาะยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls) และอัตราการเติบโตของค่าจ้าง (Average Hourly Earnings) โดยตลาดคาดว่า ตลาดแรงงานสหรัฐฯ นั้นยังคงแข็งแกร่งและตึงตัว สะท้อนผ่านยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมที่อาจเพิ่มขึ้น +2.4 แสนราย และแม้ว่ายอดตำแหน่งงานเปิดรับ (JOLTs Job Openings) จะลดลงมากกว่าคาด สู่ระดับ 9.9 ล้านตำแหน่ง แต่คิดเป็นเกือบ 1.7 เท่าของจำนวนผู้ว่างงาน ชี้ว่าตลาดแรงงานสหรัฐฯ ยังคงตึงตัวอยู่ ซึ่งอาจทำให้อัตราการเติบโตของค่าจ้างยังคงสูงราว +4.3%y/y และอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อในสหรัฐฯ โดยเฉพาะในส่วนภาคการบริการ (Core Services Inflation) ชะลอตัวลงได้ช้า หากค่าจ้างยังสามารถขยายตัวต่อเนื่องในอัตราดังกล่าวได้
กำลังโหลดความคิดเห็น