xs
xsm
sm
md
lg

“สคร. จี้ "รสก." เร่งลงทุนขับเคลื่อน ศก.ไทย ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงทั่วโลก

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



นางปานทิพย์ ศรีพิมล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า ในปี 2566 รัฐวิสาหกิจมีการเบิกจ่ายงบลงทุนจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2566 จำนวน 56,346 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 111 ของแผนการเบิกจ่าย ประกอบด้วยการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจปีงบประมาณ (ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565-เดือนกุมภาพันธ์ 2566) 34 แห่ง จำนวน 43,524 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 107 ของแผนการเบิกจ่าย และรัฐวิสาหกิจปีปฏิทิน (เดือนมกราคม 2566-เดือนกุมภาพันธ์ 2566) 9 แห่ง จำนวน 12,822 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 129 ของแผนการเบิกจ่าย

ผลการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจประจำปี 2566
(ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ของรัฐวิสาหกิจ)

รัฐวิสาหกิจแผนการเบิกจ่ายผลการเบิกจ่ายผลการเบิกจ่าย/
แผนการเบิกจ่าย
ปีงบประมาณ (ต.ค.65-ก.พ.66)
จำนวน 34 แห่ง (5 เดือน)40,71243,524ร้อยละ 107
ปีปฏิทิน (ม.ค.-ก.พ.66)
จำนวน 9 แห่ง (2 เดือน)9,91812,822ร้อยละ 129
รวม 43 แห่ง50,63056,346ร้อยละ 111

น.ส.ปิยวรรณ ล่ามกิจจา ที่ปรึกษาด้านพัฒนารัฐวิสาหกิจ กล่าวว่า โครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่สำคัญยังสามารถเบิกจ่ายได้สูงกว่าแผน เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 1 (ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย โครงการทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกตะวันตก ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย โครงการปรับปรุงกิจการประปาแผนหลัก ครั้งที่ 9 ของการประปานครหลวง และโครงการก่อสร้างรถไฟ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ของ รฟท.

นางปานทิพย์ ศรีพิมล ผู้อำนวยการ สคร. กล่าวเพิ่มเติมว่า ผลการเบิกจ่ายงบลงทุน ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2566 เป็นผลการเบิกจ่ายของรัฐวิสาหกิจปีงบประมาณ 5 เดือน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 34 ของกรอบงบลงทุนทั้งปี และเป็นผลการเบิกจ่ายของรัฐวิสาหกิจปีปฏิทิน 2 เดือน คิดเป็นร้อยละ 9 ของกรอบงบลงทุนทั้งปี ทั้งนี้ สคร. จะยังคงกำกับติดตามการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจอย่างใกล้ชิด เพื่อให้รัฐวิสาหกิจสามารถเบิกจ่ายงบลงทุนให้เป็นไปตามเป้าหมาย (ไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ของกรอบงบลงทุนทั้งปี) เพื่อให้การลงทุนของรัฐวิสาหกิจมีส่วนช่วยสนับสนุนและกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงทางเศรษฐกิจทั่วโลกต่อไป


กำลังโหลดความคิดเห็น