xs
xsm
sm
md
lg

GPSC กำไรทรุดเหลือ 891 ล้านบาท

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์




"โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่" กำไรทรุด 88% เหลือ 891.44 ล้านบาท หรือลดลงจากปีก่อนที่ทำไว้ 7,318.57 ล้านบาท เหตุกำไรขั้นต้นของโรงไฟฟ้า SPP ลดลง 8,770 ล้านบาท เพราะจากราคาก๊าซธรรมชาติและถ่านหินที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก ทำให้มาร์จิ้นจากการขายไฟฟ้าให้ลูกค้าอุตสาหกรรมลดลง ขณะค่า Ft ไม่สามารถปรับตัวได้ทันราคาต้นทุนเชื้อเพลิง


นายวรวัฒน์ พิทยศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC เผยผลงานผลปี 65 ว่าบริษัทมีกำไรสุทธิ 891.44 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนที่ทำไว้ 7,318.57 ล้านบาท หรือลดลง 88% เหตุกำไรขั้นต้นของโรงไฟฟ้า SPP ลดลง 8,770 ล้านบาท เพราะจากราคาก๊าซธรรมชาติและถ่านหินที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก ทำให้มาร์จิ้นจากการขายไฟฟ้าให้ลูกค้าอุตสาหกรรมลดลง ขณะที่ค่า Ft ยังไม่สามารถปรับตัวได้ทันราคาต้นทุนเชื้อเพลิง

ขณะกำไรขั้นต้นของโรงไฟฟ้า IPP เพิ่มขึ้น 1,200 ล้านบาท สาเหตุหลักจากโรงไฟฟ้าศรีราชา และโกลว์ไอพีพีมีการผลิตโดยใช้เชื้อเพลิงน้ำมันดีเซลแทนก๊าซธรรมชาติ ทำให้มีมาร์จิ้นจากการขายไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ประกอบกับโรงไฟฟ้าศรีราชา มีปริมาณการขายไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นสอดคล้องกับแผนการเรียกรับไฟฟ้าของ กฟผ. และมีส่วนแบ่งกำไรของโรงไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรี เพิ่มขึ้น 330 ล้านบาท เนื่องจากมีปริมาณน้ำมากกว่าปี 64

ทั้งนี้ บริษัทฯ มีรายได้รวมทั้งสิ้น 123,685 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 65% เทียบกับปี 64 ส่วนรายได้ไตรมาส 4 ปี 65 มีรายได้รวม 34,839 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้น 58% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่มีผลขาดทุนสุทธิรวมทั้งสิ้น 436 ล้านบาท ปรับตัวลดลง 137% เพราะราคาก๊าซธรรมชาติ และถ่านหินอยู่ในระดับสูงขึ้นอย่างมาก ส่งผลให้มาร์จิ้นจากการขายไฟฟ้าให้กลุ่มอุตสาหกรรมลดลง แม้ว่าในช่วงเดือนกันยายนจะมีการปรับค่า Ft เพิ่มขึ้นเป็น 93.43 สตางค์ต่อหน่วย ทำให้สามารถชดเชยต้นทุนเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นได้บางส่วน ประกอบกับในไตรมาสนี้ปริมาณการขายไฟฟ้าและไอน้ำให้ลูกค้าอุตสาหกรรมปรับตัวลดลง เนื่องจากลูกค้าอุตสาหกรรมหยุดซ่อมบำรุง อีกทั้งมีการรับรู้ส่วนแบ่งกำไรของโรงไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรีปรับตัวลดลงตามฤดูกาล

อย่างไรก็ตาม ในส่วนผลการดำเนินงาน IPP มีรายได้ และกำไรที่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจาก กฟผ. มีการเรียกไฟฟ้าเข้าระบบเพิ่มขึ้น ขณะที่มีการใช้น้ำมันดีเซลเข้ามาเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าแทนก๊าซธรรมชาติ ทำให้มาร์จิ้นจากการขายไฟฟ้าเพิ่มขึ้น และมีการรับรู้รายได้จากค่าเคลมประกันภัยของโรงไฟฟ้าโกลว์พลังงาน ระยะที่ 5 บางส่วน

โดยปี 65 บริษัทฯ มีการรับรู้มูลค่า Synergy ร่วมกับ GLOW สุทธิหลังภาษี 2,740 ล้านบาท จากการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการผลิต โดยการใช้โครงข่ายไฟฟ้าร่วมกัน การบริหารส่วนการพาณิชย์ด้านต้นทุนการผลิต การขยายฐานลูกค้า และการบริหารจัดการหุ้นกู้ ทำให้บริษัทสามารถลดต้นทุนหลังจากการควบรวมมาอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ดี คณะกรรมการบริษัทอนุัติการจ่ายเงินปันผลอัตราหุ้นละ 0.30 บาท กำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิรับเงินปันผล หรือ Record Date ในวันที่ 27กุมภาพันธ์ 2566 และกำหนดหลังจากจ่ายปันผลระหว่างกาลไปแล้วในอัตราหุ้นละ 0.20 บาท เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2565


กำลังโหลดความคิดเห็น