โบรกเกอร์มองบวกหุ้น DTAC และ TRUE หลังเดินหน้าควบรวมไร้สะดุด คาด New Co เพิ่มศักยภาพแข่งขันระยะยาว คุณภาพสัญญาณ ความครอบคลุม และต้นทุนที่ดีขึ้น พร้อมโอกาสเข้าสู่บริการดิจิทัล 4.0 ผ่านเครือข่าย 5G
วันนี้ (27 ธ.ค.) หุ้น DTAC และ TRUE บวกต่อเนื่อง หลังศาลปกครองยกคำร้องของสภาองค์กรของผู้บริโภคที่ให้ขอคุ้มครองชั่วคราวกรณีการรวมธุรกิจของทั้ง 2 บริษัท พร้อมโบรกฯ ประเมินบวกจากมูลค่าการผนึกกำลังที่เกิดขึ้นจากการควบรวมกิจการ ทั้งรายได้ที่ Upside การประหยัดค่าใช้จ่ายดำเนินการ (opex) และการประหยัดงบลงทุน (capex) อีกทั้งภาพรวมที่นักลงทุนมองเห็นได้ชัดคือ ภาพตลาดการแข่งขันของตลาดโทรคมนาคม ที่จะมีความทัดเทียมกันมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับการควบรวมในหลายประเทศ ทั้งนี้ เพื่อให้เห็นภาพชัดของตลาดโทรคมนาคมหลังเกิด NEW CO
เมื่อไม่นานมานี้ Mckinsey บริษัทที่ปรึกษาระดับโลกได้เผยแพร่บทความเรื่อง อนาคตของการควบรวมในธุรกิจโทรคมนาคม The future of M&A in telecom เขียนโดย จีน คริสโตเฟอร์ เลอ บราวน์ ระบุชัดเจนว่าอุตสาหกรรมจำเป็นต้องทำการควบรวม ด้วย 3 เหตุผลด้วยกัน คือ 1) การควบรวมเพื่อให้ขนาดสามารถแข่งขันได้ (Gain scale for competition) ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมบางประเทศผู้นำตลาดเป็นผู้นำเดี่ยว ทำให้มีความได้เปรียบจากการใช้ Scale Benefit หากนำผลการศึกษามาเปรียบเทียบกับประเทศไทย พบว่า เอไอเอสมีส่วนแบ่งตลาดเกือบครึ่งหนึ่ง ทำให้คู่แข่งขันมีแนวโน้มในการควบรวมเพื่อลดช่องว่างด้านขนาด เป็นต้น 2) การควบรวมของโอเปอเรเตอร์ในประเทศมีมากขึ้น เนื่องจากความต้องการในการลดต้นทุน (The amount of in-country consolidation for cost reduction) เพื่อเพิ่มโอกาสในการนำเสนอบริการที่มีราคาที่แข่งขันได้มากขึ้น ดังตัวอย่างประเทศไทย ที่โอเปอเรเตอร์มีต้นทุนค่าไลเซนสฺ ค่าคลื่น ค่าอุปกรณ์เน็ตเวิร์กในราคาสูงมาก ทำให้ภาวะต้นทุนยากต่อการแข่งขัน อีกทั้งมรสุมเงินเฟ้อ ในอนาคตจะกดดันดอกเบี้ยในอัตราที่สูงขึ้น การที่ผู้ประกอบการปรับตัวจะทำให้ต้นทุนลดลง เป็นต้น 3) ผู้ประกอบการต้องการควบรวม เพื่อให้บริการดิจิทัลอื่นที่มีมูลค่าสูงกว่า Operator decisions to expand aggressively in non-core areas. เพื่อไปแข่งในเวทีดิจิทัล ที่มีการให้บริการแบบบนก้อนเมฆ (Cloud Solution) ครอบคลุม IOT, Digital Service
แหล่งข่าวจากวงการนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ ได้วิเคราะห์ต่อไปว่า จากผลการศึกษาของ Mckinsey ในเรื่องอนาคตของการควบรวมในธุรกิจโทรคมนาคม แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับบริษัทหลังการควบรวมในโทรคมนาคม โดยสามารถวิเคราะห์ได้ 3 ประเด็นสอดคล้องตามผลการศึกษาของ Mckinsey ประเด็นแรก การควบรวมเพื่อให้ขนาดสามารถแข่งขันได้ ในประเด็นนี้หลังการควบรวมจะทำให้การเข้าถึงสัญญาณเครือข่ายดีขึ้น เสาสัญญาณเพิ่มมากขึ้น สัญญาเร็ว แรง และครอบคลุมพื้นที่ใช้งานมากขึ้น เมื่อรวมจำนวนเสาสัญญาณของทรูและดีแทคแล้ว คาดว่าจะมีมากกว่า 49,800 สถานีฐาน ทำให้ไม่ว่าลูกค้าจะอยู่พื้นที่ไหนในประเทศไทยก็สามารถใช้บริการได้อย่างครอบคลุม ลูกค้าดีแทคจะได้ใช้สัญญาณ 5G ของทรูได้อีกด้วย
นอกจากนี้ คลื่นที่ครบถ้วนในทุกย่านความถี่ ทำให้ลูกค้าสามารถใช้มือถือได้ทุกรุ่น รองรับทุกย่านความถี่เริ่มตั้งแต่คลื่น 700 MHz มีทั้ง 2 ค่าย คลื่น 850 MHz ดีแทคสามารถใช้ของทรูได้ คลื่น 900, 1800, 2100 MHz มีทั้ง 2 ค่าย และลูกค้าทรูสามารถใช้คลื่นที่ทรูไม่มีเช่น คลื่น 2300 MHz ในขณะที่ดีแทคสามารถมาใช้คลื่น 2600 MHz 5G ของทรูได้ ดังนั้น ลูกค้าจะได้ประโยชน์อย่างมากจากจำนวนคลื่นและแบนด์วิธที่มากขึ้น ทำให้ลูกค้าสามารถโทร.โดยใช้มือถือได้ทุกรุ่น รองรับได้ทุกย่านความถี่
ประเด็นที่สอง คือ การจัดการต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ การควบรวมของโอเปอเรเตอร์ทำให้ได้ประโยชน์จากการลดต้นทุน (The amount of in-country consolidation for cost reduction) เพื่อเพิ่มโอกาสในการนำเสนอบริการที่มีราคาที่แข่งขันได้มากขึ้น ดังตัวอย่างประเทศไทย ที่โอเปอเรเตอร์มีต้นทุนค่าไลเซนส์ ค่าคลื่น ค่าอุปกรณ์เน็ตเวิร์กในราคาสูงมาก ทำให้ภาวะต้นทุนยากต่อการแข่งขัน อีกทั้งมรสุมเงินเฟ้อในอนาคตจะกดดันดอกเบี้ยในอัตราที่สูงขึ้น การที่ New Co มีการศึกษาด้านต้นทุน และสามารถลดต้นทุนได้อย่างมีนัยสำคัญจะส่งผลบวกต่อกำไร ราคาลูกค้าจะได้ความคุ้มค่ามากขึ้น เพราะแพกเกจที่ใช้อยู่สามารถใช้บริการได้อย่างต่อเนื่อง เพราะต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ กสทช. อย่างเข้มงวดอยู่แล้ว และประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราค่าบริการต่ำสุดในโลก ทำให้การจัดการต้นทุนที่ดี คือหัวใจสาระคัญในการประกอบธุรกิจ เช่น เพิ่มความสะดวกมากขึ้น โดยมีศูนย์ให้บริษัทหลังการควบรวมเพิ่มมากขึ้น ทำให้บริการหลังการขายสามารถเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น จำนวนร้าน สาขาของทรู และดีแทคทั่วประเทศ จะให้บริการลูกค้าได้อย่างไร้รอยต่อ และนำมาต่อยอดบริการรูปแบบใหม่ ให้ลูกค้ามีความสะดวก และมี call center รวม 2 ค่ายมากกว่า 5,200 คน
ประเด็นที่สามคือ ผู้ประกอบการต้องการควบรวมเพื่อให้บริการดิจิทัลอื่นที่มีมูลค่าสูงกว่า Operator decisions to expand aggressively in non-core areas. เพื่อไปแข่งในเวทีดิจิทัลที่มีการให้บริการแบบบนก้อนเมฆ (Cloud Solution) ครอบคลุม IOT, Digital Service, Enterprise, SME เป็นต้น ทั้งนี้ หลังการควบรวม ผู้เล่นทุกรายในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยพร้อมปรับตัวเข้าสู่การเป็นบริษัทเทคโนโลยี และเพิ่มขีดความสามารถที่จะแข่งกับผู้ประกอบการระดับโลก และสนับสนุนการลงทุนของ TechStartup รุ่นใหม่ บริษัทจะมีความสามารถในการลงทุนเพิ่ม รองรับเทคโนโลยีใหม่ ทำให้ลูกค้าได้รับบริการดิจิทัลมากขึ้น เช่น บริการแพทย์ทางไกล การประชุมทางไกล การเข้าถึงคอนเทนต์ เพลง หนังระดับโลก ในราคาลดลง หลังการควบรวม NEW CO ปรับตัวเข้าสู่การเป็นบริษัทเทคโนโลยี และเพิ่มขีดความสามารถที่จะแข่งกับผู้ประกอบการระดับโลก และสนับสนุนการลงทุนของ TechStartup รุ่นใหม่ บริษัทจะมีความสามารถในการลงทุนเพิ่ม รองรับเทคโนโลยีใหม่ ทำให้ลูกค้าได้รับบริการดิจิทัลมากขึ้น เช่น บริการแพทย์ทางไกล การประชุมทางไกล การเข้าถึงคอนเทนต์ เพลง หนัง ระดับโลกในราคาลดลง
ด้าน บล.กรุงศรี มอง "POSITIVE" กลุ่ม ICT คลายกังวลเรื่องศาลในดีลควบรวม DTAC-TRUE หลังศาลปกครองยกคำร้องของสภาองค์กรของผู้บริโภคที่ให้ขอคุ้มครองชั่วคราวกรณีการรวมธุรกิจของ DTAC และ TRUE ซึ่งหมายความว่าไม่มีประเด็นอื่นอีกจากทางฝั่งศาลที่จะหยุดดีลนี้ แต่อุปสรรคอีกด้านคือ เงื่อนไขของ กสทช. ซึ่งจะทำให้มูลค่า synergy ลดลงอย่างมากยังคงไม่ชัดเจน
ในส่วนของ บล.ทิสโก้ได้มีการออกบทวิเคราะห์ตามรายงานในเดือนมีนาคม 2565 เรื่อง "การปรับสมมติฐานการควบรวมกิจการ" โดยราคาเป้าหมายของเราสันนิษฐานว่า NewCo จะมีมูลค่าโดยรวมอยู่ที่ 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งสันนิษฐานต่อไปว่าการลด Capex และ OPEX จะเป็นยุทธศาสตร์หลักและ แนะนำให้ "ซื้อ" DTAC และ TRUE โดยมีมูลค่าที่เหมาะสม 59.00 บาท และ 5.80 บาทตามลำดับ
ขณะที่ นายณัฐพล คำถาเครือ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) กล่าวว่า ฝ่ายวิจัยมีมุมมองเป็นบวก ภายหลังที่ปรึกษาทางการเงินอิสระเปิดรายงานการควบรวมกิจการ โดยคาดว่าจะมีกำไรราว 4,000-5,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งเป็นผลกำไรที่ยังไม่รวม Synergy ซึ่งหากพิจารณาร่วมด้วยคาดว่าบริษัทใหม่ (Merge Co) จะมีกำไรเพิ่มขึ้นราว 1 หมื่นล้านบาทต่อปี และจะส่งผลให้กำไรสุทธิของ Merge Co อยู่ที่ราว 1.5-2.5 หมื่นล้านบาทต่อปี
สำหรับ นายพิสุทธิ์ งามวิจิตวงศ์ นักวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KS กล่าวว่า หลังศาลปกครองกลางยกคำร้องขอคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ปูทางให้การควบรวมกิจการเดินหน้าต่อไปได้ตามคาด KS คาดว่าการควบรวมกิจการจะเสร็จสมบูณ์ในช่วงปลายเดือน ม.ค.2566 หรือต้นเดือน ก.พ.2566 ผู้บริหารของบริษัทใหม่ที่เกิดจากการควบรวม (mergeco) มีแนวโน้มที่จะใช้โรดโชว์เพื่อโน้มน้าวนักลงทุนให้เห็นถึงการสร้างมูลค่าการผนึกกำลังที่อาจเกิดขึ้นจากการควบรวมกิจการ KS ประเมินมูลค่าควบรวม 1.02 แสนล้านบาท หรือ 2,950 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ประกอบด้วย 1) upside ต่อรายได้ 2) การประหยัดค่าใช้จ่ายดำเนินการ (opex) และ 3) การประหยัดงบลงทุน (capex)