xs
xsm
sm
md
lg

กนง.เสียงแตก 4:3 คงดอกเบี้ย ส่งสัญญาณชัดหมดยุคดอกเบี้ยต่ำ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



กนง.เสียงแตก 4-3 คงดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% พร้อมส่งสัญญาณชัดหมดยุคดอกเบี้ยต่ำ “ถอนคันเร่ง” ขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย หลังเงินเฟ้อพุ่งพรวด เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวต่อเนื่อง ปรับขึ้นประมาณการเศรษฐกิจปีนี้จาก 3.2% เป็น 3.3% ปรับประมาณเงินเฟ้อเป็น 6.2% จาก 4.9% ระบผลจากเงินเฟ้อสูงทำค่าครองชีพคนไทยขึ้น 850 บาทต่อเดือน


นายปิติ ดิษยทัต เลขานุการ ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงผลการประชุม กนง. วันที่ 8 มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยมีมติ 4 ต่อ 3 เสียง ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี โดยกรรมการ 3 เสียงเห็นควรให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี ทั้งนี้ ในการประชุมครั้งนี้ เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ต่อเนื่องและมีโอกาสฟื้นตัวดีกว่าที่ประเมินไว้ โดยปรับเพิ่มประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 65 ขึ้นเป็นขยายตัว 3.3% จาก 3.2% ในการประมาณการครั้งก่อน แต่ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจในปีหน้าจากเดิมที่คาดไว้ 4.4% หลือ 4.2%

“การปรับขึ้นประมาณการครั้งนี้เกิดจากแรงส่งของเศรษฐกิจไตรมาสแรกที่ออกมาดีกว่าคาด โดยเฉพาะการใช้จ่าย และการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและอยู่ในระดับสูงนานกว่าที่ประเมินไว้เดิม จากการปรับขึ้นของราคาน้ำมันและการส่งผ่านต้นทุนที่มากและนานกว่าคาด มองไปข้างหน้าจะเห็นได้จากอัตราเงินเฟ้อเดือน พ.ค.ที่ปรับขึ้นสูงถึง 7.1% ส่งผลให้ ธปท.ปรับขึ้นประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของปีนี้ขึ้น 6.2% จากเดิมคาดไว้ที่ 4.9% ขณะที่ปรับเพิ่มอัตราเงินเฟ้อปีหน้าเป็น 2.5% จาก 1.7% และมีความเสี่ยงที่เงินเฟ้อจะปรับตัวสูงกว่าคาด”


นายปิติ กล่าวต่อว่า จากภาพรวมเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง ทำให้ กนง.มองว่า การดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากในระดับปัจจุบันจะมีความจำเป็นลดลง อย่างไรก็ดี เพื่อให้มั่นใจว่าเศรษฐกิจในระยะต่อไปจะฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่องตามคาด จึงคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในการประชุมครั้งนี้ อย่างไรก็ตาม ในภาวะที่อัตราเงินเฟ้อปรับขึ้นไปสูงมาก และส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชน โดยเริ่มที่จะเห็นการกระจายเป็นวงกว้างของราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในหมวดอาหาร และพลังงาน ดังนั้นเพื่อไม่ให้เศรษฐกิจปรับตัวขึ้นร้อนแรงเกินไปในปีหน้า ธปท.อาจจะต้องเริ่มถอนคันเร่งการผ่อนคลายการเงินเพื่อหยุดการพุ่งขึ้นของเงินเฟ้อ แต่ไม่ใช่การชะลอการขยายตัวของเศรษฐกิจ โดยหากจะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายจะต้องดูระยะเวลาที่เหมาะสม และผลกระทบต่อประชน รวมทั้งการเยียวยากลุ่มเปราะบางด้วย

“ธปท.ได้มีการประเมินผลกระทบจากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นต่อค่าครองชีพของประชาชน เทียบกับผลกระทบของการขึ้นอัตราดอกเบี้ย พบว่า ตั้งแต่ต้นปีผลจากเงินเฟ้อสูงกระทบให้ค่าครองชีพเพิ่มขึ้น 850 บาทต่อเดือน หรือ 3.6% ของค่าใช้จ่าย หากขึ้นดอกเบี้ยไป 1% จะกระทบต่อค่าครองชีพ 120 บาทต่อเดือน หรือ 0.5% ของค่าใช้จ่าย ต่ำกว่า 7-8 เท่า แตช่วยให้เงินเฟ้อไม่พุ่งสูงขึ้นได้ เพราะในขณะนี้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นขึ้นจากราคาน้ำมันยังเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง และเราทำอะไรราคาน้ำมันไม่ได้”

การคงดอกเบี้ยไว้ในช่วงที่ผ่านมากระทบกับเงินทุนไหลออกหรือไม่ นายปิติ กล่าวว่า การขึ้นดอกเบี้ยของประเทศตะวันตกนั้นเป็นการขึ้นจากระดับที่ต่ำมาก และยังไม่กระทบต่อเงินทุนไหลออก โดยตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา เงินนอกในตลาดพันธบัตรและตลาดทุนยังคงเป็นสุทธิไหลเข้า ขณะที่ค่าเงินบาทอ่อนลงเพียง 3%




กำลังโหลดความคิดเห็น